บันทึกถึงระหว่างทางการเปลี่ยนผ่านจากความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ของคนมอญอพยพสามรุ่นในรัฐไทย


เพราะชีวิตจริงของครอบครัวนี้ได้บอกเล่าให้เรียน-รู้จักถึงความเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สิทธินับตั้งแต่คนรุ่นที่หนึ่ง คือสันที หญิงชาวมอญผู้เป็นแม่ นายสอน ชายพม่าผู้เป็นพ่อ ซึ่งเดินเท้าอพยพเข้ามาในประเทศไทย มาถึงคนรุ่นที่สองและสามคือลูกๆ ๕ คนและหลานอีกหนึ่งที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดินไทย ชีวิตที่ดำเนินไปของคนทั้งสามรุ่นนี้ยังได้บอกเล่าถึงความพยายามที่จะเดินตามกติกาของสังคมไทย (กฎหมายและนโยบายฉบับต่างๆ) เพื่อเปลี่ยนหรือพัฒนาสถานะที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สิทธิซึ่งติดตัวมานับตั้งแต่วันที่พวกเขาปรากฎตัวในผืนแผ่นดินนี้

บันทึกถึงระหว่างทางการเปลี่ยนผ่านจากความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และไร้สิทธิ
ของคนมอญอพยพสามรุ่นในรัฐไทย
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ แก้ไขเพิ่มเติม ๖ ธันวาคม ๒๕๕๔

๑. เกริ่นนำ
แสนถีหรือสันทีหรือป้าสันที และครอบครัว นับเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับนักกฎหมายด้านสถานะบุคคลและสิทธิ หรือพูดให้กว้างขึ้นก็คือคนที่สนใจกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลในส่วนของสิทธิของบุคคลภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล รวมถึงคนทำงานในแวดวงเรื่องนี้ฅ

เพราะชีวิตจริงของครอบครัวนี้ได้บอกเล่าให้เรียน-รู้จักถึงความเป็นคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สิทธินับตั้งแต่คนรุ่นที่หนึ่ง คือสันที หญิงชาวมอญผู้เป็นแม่ นายสอน ชายพม่าผู้เป็นพ่อ ซึ่งเดินเท้าอพยพเข้ามาในประเทศไทย มาถึงคนรุ่นที่สองและสามคือลูกๆ ๕ คนและหลานอีกหนึ่งที่เกิดและเติบโตบนผืนแผ่นดินไทย ชีวิตที่ดำเนินไปของคนทั้งสามรุ่นนี้ยังได้บอกเล่าถึงความพยายามที่จะเดินตามกติกาของสังคมไทย (กฎหมายและนโยบายฉบับต่างๆ) เพื่อเปลี่ยนหรือพัฒนาสถานะที่ไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ไร้สิทธิซึ่งติดตัวมานับตั้งแต่วันที่พวกเขาปรากฎตัวในผืนแผ่นดินนี้

  • คนมอญอพยพที่ถูกบันทึกว่าเป็นผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า และมีสถานะเป็นราษฎรต่างด้าวของรัฐไทย
ที่บ้านหม่องสะเทอนี้เอง เมื่อทางอำเภอสังขละบุรี ดำเนินการสำรวจและจัดทำบัญชีรายชื่อบุคคลในบ้าน (พ.ถ.๒) [1] สอน สันทีและลูกๆ ทั้ง ๖ คน (ได้แก่ดญ.ปัจจรา ดญ.เบญจพร ดช.อำพล ดช.อดุลย์ ดช.ชาญชัย และดช.บุญชัย) รวม ๘ คนจึงได้รับการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า และได้รับเอกสารพ.ถ.๒ และทะเบียนบ้านประเภทท.ร.๑๓ ฉบับสำเนาถือไว้เป็นหลักฐาน

ท.ร.๑๓ ฉบับสำเนา ระบุว่าสมาชิกครอบครัวทุกคนอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ ๗๘๓ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และได้รับการกำหนดเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลัก ขึ้นต้นด้วยเลข ๖-๗๑๐๘-๐๐๐๓๙-xxx

อย่างไรก็ดี ก่อนที่สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะได้รับการถ่ายบัตรประจำตัวกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า(บัตรสีชมพู) นายสอนได้เสียชีวิตลง ด้วยเอกสารติดตัวที่มีเพียง พ.ถ.๒ และท.ร.๑๓ ฉบับสำเนา-สันทีพาลูกๆ ย้ายออกจากบ้านหม่องสะเทอ มุ่งหน้าไปที่บ้านทุ่งก้างย่างอีกครั้ง อำพล อดุลย์ ชาญชัยหรือสัญชัย และบุญชัยได้เข้าเรียนในโรงเรียนแถวบ้าน ส่วนปัจจราและเบญจพรไปรับจ้างตัดไม้ไผ่ขายที่บ้านบ้องตี้ อำเภอไทรโยค และช่วงนี้เองที่เบญจพรเสียชีวิตด้วยโรคไข้มาลาเรีย
ประมาณปี ๒๕๓๓ ขณะที่ปัจจราพบรักกับนายเล็ก ชายเชื้อสายมอญ  จึงย้ายไปทำงานเป็นลูกจ้างในโรงงานพลากสติกแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ส่วนแสนถีและลูกๆ คนอื่นๆ คืออำพล อดุลย์ ชาญชัย และบุญชัยย้ายที่อยู่อีกครั้ง โดยย้ายมาอาศัยอยู่ที่อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จนถึงปัจจุบัน

๘ ธันวาคม ๒๕๓๗ ปัจจราและนายเล็กมีลูกด้วยกันคือ เด็กชายวิษณุ โดยคลอดที่โรงพยาบาลบ้านโป่ง อำเภอบ้านโป่ง

ปี ๒๕๓๘ ปัจจราและครอบครัวได้ย้ายมาอยู่กับแม่และน้องๆ ที่จังหวัดสมุทรปราการ

จนถึงปัจจุบัน ทุกคนอาศัยอยู่ที่บ้าน(ไม่มีเลขที่) ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ โดยที่ไม่ได้ย้ายกลับไปที่อำเภอสังขละบุรี หรือไม่ได้ย้ายไปที่ไหนอีกเลย

อ่านฉบับเต็มได้ที่ บันทึกถึงระหว่างทางการเปลี่ยนผ่านจากความไร้รัฐ ไร้สัญชาติ และไร้สิทธิของคนมอญอพยพสามรุ่นในรัฐไทย



 

[1] เอกสารประกอบการพัฒนาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกหัวข้อ “แนวคิดทางกฎหมายในการพัฒนาและพิสูจน์สิทธิในสถานะบุคคล”

วัตถุประสงค์เริ่มต้นนั้นเกิดจากการต้องการพัฒนางานเขียนที่(ตั้งใจจะใช้)ชื่อว่า “สิทธิที่จะได้รับการรับรองตัวบุคคลในทะเบียนบ้าน (ท.ร.๑๓) ศึกษากรณีครอบครัวนางแสนถีหรือสันที เนื่องจากเป็นผู้ตกหล่นนโยบายพัฒนาสถานะบุคคลกลุ่มผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า” แต่กลับพบว่าข้อเท็จจริงของกรณีศึกษานี้มีความกระจัดกระจาย ไม่ต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องบันทึกข้อเท็จจริงของกรณีศึกษานี้ก่อน โดยจะไม่ลึกลงถึงการวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสิทธิในสถานะบุคคลด้านต่างๆ ของกรณีศึกษา

บันทึกข้อเท็จจริงฉบับนี้ เขียนหรือเล่าเรื่องโดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ ซึ่งเขียน รวบรวมโดยหลายบุคคล รวมถึงตัวผู้เขียนเองด้วย ในระหว่างการทำงานในฐานะนักกฎหมาย ให้กับสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (SWIT)

ขอบคุณอาจารย์กิติวรญา รัตนมณี สำหรับข้อมูลที่อยู่ในความรับผิดชอบระหว่างการดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่สันทีและครอบครัว


 

หมายเลขบันทึก: 469711เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท