คุณธรรม vs จริยธรรม vs ค่านิยม(Virtue, Ethics and Value)


คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม(Virtue, Ethics and Value)

 เนื่องจากมีความสงสัยเป็นการส่วนตัวและเชื่อว่าหลายคนก็คงสังสัยในการใช้คำและความหมายของคำว่า คุณธรรม (Virtue) จริยธรรม (Ethics) และค่านิยม (value) ซึ่งคำทั้งสามคำนี้มีความสำคัญมาก และมีการใช้กันทั่วไปและแพร่หลายในชีวิตประจำวัน การใช้ให้ถูกต้องและเข้าใจความหมายของคำทั้งสามจริงเป็นสิ่งจำเป็น เฉพาะวงการศึกษาด้วยแล้ว

  ก่อนอื่นเรามาพิจารณาคำว่า "คุณธรรม" "Virtue"

คุณธรรม ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2546 หมายถึง สภาพคุณงามความดี

Virtue ตามความหมายของ Wikipedia หมายถึง คุณลักษณะในทางที่ดี (Virtue is moral excellence. A virtue is a positive trait)

สรุปจากความหมายที่นักการศึกษาหลายท่านได้ให้ไว้ คุณธรรม หมายถึง คุณงามความดีที่สั่งสมในจิตใจมนุษย์โดยผ่านการเรียนรู้หรือประสบการณ์ต่างๆ หรือ ความดีงามที่อยู่ในจิตใจ หรือจิตวิญญาณของปัจเจกบุคคล หรือหลักธรรมที่รู้สึกถึงความผิดชอบชั่วดีซึ่งฝังรากอยู่ในจิตใจ

 ความหมายของ "จริยธรรม" "Ethics"

จริยธรรม มีรากศัพย์มาจากภาษาบาลี_สันสกฤต คือ จริย =ความประพฤติ การปฏิบัติ หรือกริยาที่ควรประพฤติ

ธรรม =คุณงามความดี บุญกุศล กฏ ข้อบังคับ หลักคำสอนทางศาสนา เป็นต้น

จริยธรรม ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2546 หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ หรือศีลธรรม หรือกฏศีลธรรม

Ethics ตามความหมายของ Cambridge การศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ดีและไม่ดี (the study of what is morally right and what is not)

จากการประมวลของข้าพเจ้าในการให้ความหมายของนักการศึกษา พบว่า จริยธรรม หมายถึง คุณสมบัติทางความประพฤติที่สังคมมุ่งหวัง เป็นสิ่งที่พึงประสงค์ของสังคม หรือประพฤติตามค่านิยมที่พึงประสงค์ โดยเน้นที่การประพฤติชอบ ถ้านิยามสั้นๆ คือ "หลักของการประพฤติ" หรือ "แนวทางของการประพฤติ" (ดวงเด่น นุเรนรัมย์) ซึ่งต่างจากศีลธรรมตรงที่ ศีลธรรม คือ สิ่งที่กำลังประพฤติอยู่ หรือประพฤติแล้ว โดย จริยธรรม หรือ Ethics จะอยู่ในรูปของปรัชญาเป็นความหมายที่กว้างกว่าศีลธรรม

ส่วน "ค่านิยม" "Value" เป็นความคิดหรือสิ่งที่ยอมรับว่าดีมีคุณค่าหรือ เป็นการยอมรับนับถือและพร้อมที่จะปฏิบัติตามคุณค่าที่คนหรือกลุ่มคนในสังคม ส่วน Phenix (1992) ให้นิยามว่า “ค่านิยมคือความชอบ ความสามารถจำแนกให้ความเห็นความแตกต่างของความชอบกับกับความไม่ชอบได้โดยการประเมินผล”

จึงสรุปได้ว่า ค่านิยม เป็นสิ่งกำหนดคุณค่าการกระทำของมนุยษ์ เช่น ค่านิยมการแต่งตัวของคนอีสาน ค่านิยมการไว้ทรงผมของเด็กวัยรุ่น เป็นต้น ซึ่งอาจจะดีหรือไม่ดีก็ได้

ถ้าค่านิยม ที่ดี เช่น การประหยัด การเสียสละ อดทน เป็นต้น ค่านิยมเหล่านี้ฝักรากลึกในจิตใจจะเรียกว่า คุณธรรม และถ้าประพฤติออกมาด้วย จะเรียกว่า จริยธรรม

ดังนั้นความต่างระหว่าง คุณธรรม กับ จริยธรรม คือคุณธรรม เป็นคุณสมบัติภายในใจใดๆ ส่วนจริยธรรม เป็น ส่ิงที่ควรประพฤติ

สรุปได้ว่า คุณธรรม และจริยธรรม หมายถึง คุณงามความดีของบุคคลที่กระทำด้วยความสำนึกดีในจิตใจ โดยยึดถือจนเป็นความเคยชิน

บางครั้งคำสองคำนี้ มักถูกใช้ควบคู่กัน "คุณธรรมจริยธรรม"

หมายเลขบันทึก: 469445เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2011 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท