ความรักที่มอบให้


น้องหมิวเป็นเด็กที่พูดช้า ไม่ค่อยพูด แต่อยู่บ้านจะเรียกแม่ได้ ครูประจำชั้นรับทราบ และพอถึงเวลาทำกิจกรรม ครูประจำชั้นเรียก น้องหมิวจะไม่ได้ยินและนั่งอยู่กับที่ ในขณะนั้นครูประจำชั้นได้เดินเข้าไปใกล้ๆ และ ลองถามชื่อจริงและนามสกุล น้องหมิวไม่สามารถบอกได้แม้กระทั่งชื่อเล่นของตน
เด็กหญิงปิยนุช เฉลิมสิงห์ (น้องหมิว) ในวันเปิดเรียนวันแรก ผู้ปกครองของน้องหมิว    เดินมาส่งที่ห้องอนุบาล 2/5   ผู้ปกครองได้พูดคุยกับครูประจำชั้นว่า น้องหมิวเป็นเด็กที่พูดช้า         ไม่ค่อยพูด แต่อยู่บ้านจะเรียกแม่ได้ ครูประจำชั้นรับทราบ และพอถึงเวลาทำกิจกรรม ครูประจำชั้นเรียก   น้องหมิวจะไม่ได้ยินและนั่งอยู่กับที่ ในขณะนั้นครูประจำชั้นได้เดินเข้าไปใกล้ๆ และ      ลองถามชื่อจริงและนามสกุล น้องหมิวไม่สามารถบอกได้แม้กระทั่งชื่อเล่นของตน ในหนึ่งวันของ          การเปิดเรียนวันแรก ครูประจำชั้นได้สังเกตพฤติกรรม พอถึงเวลาเลิกเรียนผู้ปกครองมารับ ครูได้เล่าถึงพฤติกรรมน้องหมิวที่อยู่ในห้องเรียนให้ผู้ปกครองฟัง ในตอนแรก ผู้ปกครองไม่เชื่อครู ครูจึงได้มีการทดสอบให้ผู้ปกครองดู เช่น การเรียกชื่อ น้องหมิวจะไม่มีการตอบรับ จะนั่งอยู่กับที่ และคอยสังเกตเพื่อนๆ ว่าทำอะไร ครูได้มีการพูดคุยกับผู้ปกครองอยู่ 2 วันครูประจำชั้นจึงได้มีการเชิญครูพยอมที่สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆ มาให้คำปรึกษา  ครูพยอมสังเกตพฤติกรรมน้องหมิว และได้มีการพูดคุยกับครูประจำชั้น จากนั้นจึงขอให้เชิญผู้ปกครองมาพบ เพื่อปรึกษาหาวิธีช่วยน้องหมิวร่วมกันในวันรุ่งขึ้น  ครูพยอมได้ให้คำแนะนำกับผู้ปกครอง และขอให้เด็กได้รับการตรวจที่จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจากผลการตรวจในครั้งนี้      คุณหมอได้ระบุลงในสมุดประวัติของน้องหมิวว่าได้มีการผิดปกติ เป็นเด็กบกพร่องทางการได้ยิน หลังจากนั้นครูและน้องหมิวได้มีการใกล้ชิดมากกว่าเด็กคนอื่น น้องหมิวไม่ได้ยินที่ครูประจำชั้นพูดหรือสอน ต้องมีการส่งภาษามือ และตัวน้องหมิวเองก็มีการสังเกตดูว่าเพื่อนๆ ทำอะไร และคอย   ทำตาม ซึ่งก็ทำได้พอสมควร ในช่วงระยะเวลา 1 ปี ที่อยู่ในชั้นอนุบาล 2/5 ด้วยกัน น้องหมิวได้มีการพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับ และอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข เรื่องเล่าของ คุณครูสุวรรณา เยือกเย็น
หมายเลขบันทึก: 46912เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องเล่ามาลง   ถ้าอาจารย์ตัดต่อให้สั้นลงเล็กน้อย และมีการใส่สีลงไปหน่อยจะทำให้คนอ่านสนใจมากขึ้นนะคะ

   ติดต่อผู้ดูแลบล็อกแล้วค่ะ  เดี๋ยวจะส่งเมล์มาอธิบายวิธีใส่รุปนะคะ เพราะอยากจะจำสมาชิกทุกท่านในโครงการวิจัยนี้ให้ได้เลยค่ะ

อาจารย์คะ มีคนเข้ามาอ่านเรื่องของอาจารย์ 23 คน แต่ไม่มี ใครเข้ามาตอบ เพราะอย่างที่รู้ๆกัน คนไทยอ่านน้อย เรื่องเขียนยิ่งน้อยไปอีก ต้นเดือนธันวาคม จะมีงานระดับชาติ อยากจะได้ e-book ที่คุณครูเขียนสักเล่มไปแสดงให้แก่ผู้เข้าประชุม ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรคะ อยากจะเผยแพร่ชื่อเสียงของโรงเรียนปรียาโชติน่ะค่ะ เพราะถ้าเราไม่ชมกันเอง ก็จะมีคนติเตียนว่าครู่ไม่ดี โรงเรียนไม่ดี อยากจะตะโกนให้ดังทั่วประเทศว่าครูดีๆมีอยู่มากมาย

รู้สึกว่ครูเป็นคนช่างสังเกต และมีความเอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างมาก รู้ว่าปัญหาบางอย่างมันอาจเล็กน้อย แต่สำหรับครูบางคนก็อาจจะละเลย หรือมองข้ามไป แต่สำหรับครูเองนั้นให้ความสำคัญกับผู้เรียนมาก นับได้ว่าเป็นครูอย่างแจริง ขอชมว่าครูเก่งนะค่ะ และจงพยายามต่อไปเพื่อเยาวชนของประเทศนะค่ะ

อาจารย์คะ

    งงมากค่ะว่าเรื่องของอาจารย์ไม่ไปปรากฏที่ blog ของ edkm   คิดว่า อาจารย์ลองเข้าระบบ แล้วเลือกแก้ไข    และเพิ่มเติม ป้ายคำหลักลงไปว่า edkm นะคะ  จะได้ไปที่ที่ต้องการ  ลองทำดูเรื่องหนึ่งก่อนก็ได้

    เรื่องของโรงเรียนอาจารย์น่าอ่านค่ะ

 

                              ทัศนีย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท