แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔ การอ่านร้อยแก้ว และร้อยกรอง ท ๓๑๑๐๒


ยังไม่สมบูรณ์

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๔  เรื่องอ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรอง

รหัสวิชา ท ๓๑๑๐๒ชื่อรายวิชาภาษาไทย ๒      กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาไทย

สาระการเรียนรู้ที่  ๔ เรื่องอ่านร้อยแก้ว และร้อยกรอง       ชื่อหน่วยการเรียนรู้ รักการอ่าน

เวลา ๒ชั่วโมง     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑-๘     ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔

ผู้สอน นายสมเกียรติ  คำแหง

.......................................................................................................................................................

๑.มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น

สาระที่  ๑  การอ่าน

                มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่าน สร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน

๒. ตัวชี้วัด

๑.๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วและร้อยกรองอย่างถูกต้องและไพเราะ

๓.จุดประสงค์การเรียนรู้

๓.๑ สามารถอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้องชัดเจน

๓.๒ อ่านทำนองเสนาะจากบทร้อยกรองได้ถูกต้องไพเราะ

 

๔.      สาระสำคัญ

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว และร้อยกรอง เป็นการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดเจน และมีลีลาการอ่านเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง  ทำให้เกิดความคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือบทประพันธ์ที่อ่าน

๕.สาระการเรียนรู้

๕.๑ อ่านออกเสียงร้อยแก้ว บทความ ข่าว เรื่องสั้นได้ถูกต้อง ชัดแจน น่าฟัง

๕.๒ อ่านทำนองเสนาะบทร้อยกรองประเภทร่ายได้ถูกต้อง และไพเราะ

 

๖.กระบวนการจัดการเรียนรู้

(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ: กระบวนการปฏิบัติ)
การอ่านบทร้อยแก้ว
๑. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ
๒. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ภาษาในการดำเนินรายการของพิธีกรรายการ  หรือผู้อ่านข่าวทางโทรทัศน์ เรื่อง การใช้ภาษา  เช่น  การอ่านคำควบกล้ำ  การอ่านเน้นเสียงหนักเบา
๓. ให้นักเรียนยกตัวอย่างบุคคลที่สามารถเป็นแบบอย่างการอ่านที่ดีได้  และบอกเหตุผลที่นักเรียนชื่นชอบ

๔. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า  การอ่านสคริปต์ หรืออ่านข่าวให้น่าฟังจะต้องอ่านออกเสียงให้ชัดเจน  มีลีลาการอ่านที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่องที่อ่าน
๕. ให้นักเรียนศึกษาหลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว  จากหนังสือเรียน 
๖. ให้นักเรียนฝึกอ่านบทความที่ครูแจกให้  โดยให้จับคู่กับเพื่อน เพื่อฝึกอ่านตามหลักเกณฑ์ในการอ่านที่ได้ศึกษามา

 

ย้อนหลังไปเพียง ๒ ปี คนอเมริกันส่วนใหญ่ไม่เคยได้ยินชื่อบารัค โอบามา เลยด้วยซ้ำ แต่วันนี้เขากลับเป็นว่าที่ประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมทั่วโลก และกำลังสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ในฐานะผู้นำผิวสีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ชัยชนะของโอบามาบนเส้นทางสู่ทำเนียบขาวนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความเบื่อหน่ายและผิดหวังที่ประชาชนมีต่อพรรครีพับลิกันอันมีประธานาธิบดีบุชเป็นตัวแทน ยิ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำเติมด้วยแล้วก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำความไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลรีพับลิกันแต่โอบามาจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลยหากปราศจากการรณรงค์หาเสียงที่มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็ง ทรงประสิทธิภาพและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชนิดที่เป็นแบบฉบับให้แก่นักการเมืองรุ่นหลังไปได้อีกนาน สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อน ก็คือ การระดมอาสาสมัครมาช่วยหาเสียงให้เขานับล้าน ๆ คน อาสาสมัครเหล่านี้เปรียบเสมือน “กองทัพมด” ที่กระจายกำลังไปทั่วประเทศ และช่วยระดมทุนให้เขาอย่างมากมายเป็นประวัติการณ์ ต่างคนต่างคิดและริเริ่มทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากส่วนหัว กล่าวได้ว่า การรณรงค์ของโอบามามีฐานจากประชาชนระดับรากหญ้าอย่างแท้จริง

๗. ครูสังเกตการอ่านออกเสียงของนักเรียน แล้วเสนอแนะในส่วนที่บกพร่องให้นักเรียนนำไปปรับแก้ไขการอ่านให้ถูกต้อง
๘. ให้นักเรียนแต่ละคู่ฝึกการอ่านออกเสียงให้ถูกต้อง  และทำเครื่องหมายแบ่งวรรคตอนในการอ่านเพื่อให้ฝึกอ่านได้ง่าย
๙. ให้นักเรียนทบทวนความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว
๑๐. ครูอธิบายเกี่ยวกับวิธีการอ่านออกเสียงแบบบรรยาย   การอ่านแบบพรรณนาให้เห็นภาพ  แล้วอ่านเป็นตัวอย่างให้นักเรียนเห็นความแตกต่างของวิธีการอ่านทั้ง 2 แบบ
๑๑. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนคนเดิมเพื่อฝึกอ่านตามตัวอย่าง จากหนังสือเรียน   โดยให้เพื่อนประเมินการอ่านออกเสียงของคู่ตนเอง  แล้วแลกเปลี่ยนหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อบกพร่องของการอ่าน  แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข
๑๒. ให้อาสาสมัครนักเรียน ๒  คน  ออกมาอ่านออกเสียงหน้าชั้นเรียน  แล้วครูเสนอแนะส่วนที่ควรปรับปรุงเพื่อเป็นประโยชน์ในการนำไปปรับแก้ไข

ชั่วโมงที่ ๒ การอ่านบทร้อยกรอง

นักเรียนศึกษาใบความรู้เรื่องการอ่านบทร้อยกรอง

 ๑. ให้นักเรียนอ่านทำนองเสนาะตามที่ครูอ่านพร้อมๆ กัน

 ๒.ให้นักเรียนไปค้นหาวิธีการอ่านทำนองเสนาะที่ถูกต้องจากห้องสมุด  และอินเทอร์เน็ต   

  ๓. ครูสุ่มนักเรียนจำนวน  ๒  คน ออกมาอธิบายการอ่านทำนองเสนาะให้เพื่อนฟังหน้าชั้นเรียน

  ๔. ครูอธิบายวิธีการอ่านและอ่านทำนองเสนาะที่ถูกต้องให้นักเรียนฟังอีกครั้ง

  ๕.  นักเรียนอ่านคำประพันธ์ประเภทร่าย เป็นรายบุคคล

๗.กิจกรรมบูรณาการ

 

๘.สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
๑. หนังสือเรียน  ภาษาไทย : หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย  ม.๔
๒. ตัวอย่างบทความ
แหล่งการเรียนรู้
๑. ห้องสมุด
๒. สื่อต่างๆ เช่น  วิทยุ โทรทัศน์    

๓.  อินเตอร์เน็ต    www.eduzones.com        และ        www.thaigoodview.com   

 

๙.       สมรรถนะที่สำคัญ

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว และร้อยกรอง ถ้าอ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ชัดเจน และมีลีลาการอ่านเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  เป็นถ่ายทอดอารมณ์ไปสู่ผู้ฟัง  ทำให้เกิดความคล้อยตามไปกับเรื่องราว หรือบทประพันธ์ที่อ่าน

๑๐.คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. มีวินัย
๒. ใฝ่เรียนรู้

๑๑.ภาระงาน/ชิ้นงาน

๑. อ่านออกเสียงร้อยแก้วประเภทบทความ สารคดี ฯลฯ  ๑ เรื่อง

๒. อ่านบทร้อยกรองประเภทร่าย  ตามที่กำหนดให้  ๑  เรื่อง

๑๒.การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

 

ด้าน

วิธีการวัด

เครื่องมือประเมิน

เกณฑ์การวัด

ความรู้ (K)

ทดสอบ

แบบทดสอบ

ด้านคุณลักษณะ (A)

สังเกต

แบบสังเกต

 

ด้านทักษะ(P)

อ่านร้อยแก้วและร้อยกรอง

แบบประเมินการอ่าน

 

๑๓.บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้

       

1.    ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้...............................................................................................
                        แนวทางการพัฒนา...................................................................................................................

2.    ปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนรู้........................................................................................

        แนวทางแก้ไข...........................................................................................................................

3.    สิ่งที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแผน.........................................................................................................

        เหตุผล.......................................................................................................................................

4.    การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้...........................................................................................

 

ลงชื่อ.........................................................................(ผู้สอน)

................................/............................../..............................

 

 

 

 

 

 

๑๔.ปัญหา/สิ่งที่ต้องพัฒนา/วิธีการแก้ไข พัฒนา  เพื่อนำไปสู่การวิจัยในชั้นเรียน

 

ปัญหา/สิ่งที่พัฒนา

สาเหตุของปัญหา

วิธีการแก้ไข/พัฒนา

ผลการแก้ไข/พัฒนา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๕. ข้อเสนอแนะ (หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ .............   …………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

ลงชื่อ………………………

     ( ..........................................................................  )

  ตำแหน่ง หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้...............................................

               วันที่…….  เดือน…………………….  พ.ศ.  …………….

 

๑๖. ข้อเสนอแนะ (ฝ่ายวิชาการ )

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

 

 

       ลงชื่อ……………………........................................

     ( นายณัฐวุฒิ   รัตนอรุณ )

ตำแหน่ง  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

                        วันที่…. … เดือน………………………….  พ.ศ.  ………

หมายเลขบันทึก: 468626เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011 12:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท