ย้อนรอย ... ค้น และควานหา ... อัญมณี “คุณค่าของคนทำงาน” ... เพื่อจัดแสดง ในตลาดนัด KM กรมอนามัย (2)


การค้น และควานหา อัญมณี ... น้ำงาม .... เริ่มต้นขึ้น ... ด้วย concept ในใจ ... คือ ต้องประกอบด้วย คนทำงาน KM ที่มีหลายบทบาท หลายประสบการณ์ และหลากหลายของการใช้ KM ที่ไปเนียนอยู่ในแต่ละงาน

 

KM learning process

ประเด็นที่ 1 .... นับตั้งแต่หัวปลาย่อยตัวแรก คือ “เส้นทางสู่ความสำเร็จ : ประสบการณ์การทำงาน KM” ซึ่งเป็นหัวข้อแรกของวันงาน (19 กค.49) ที่มีผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6 ท่าน คือ บุคคล (KM Team) ในกรมอนามัย 4 ท่าน และ เพื่อนร่วมทาง KM อีก 2 ท่าน ซึ่งเป็นบุรุษ จังหวัดกำแพงเพชร และนครศรีธรรมราช ดำเนินการโดย แพทย์หญิงนันทา อ่วมกุล ที่ปรึกษา KM กรมอนามัย
การค้น และควานหา อัญมณี ... น้ำงาม .... เริ่มต้นขึ้น ... ด้วย concept ในใจ ... คือ ต้องประกอบด้วย คนทำงาน KM ที่มีหลายบทบาท  หลายประสบการณ์ และหลากหลายของการใช้ KM ที่ไปเนียนอยู่ในแต่ละงาน ซึ่งแน่นอนจะต้องควานหาให้มีความแตกต่างกัน แต่ท้ายสุดเป้าหมายเดียวกัน

  • เริ่มจาก ... พี่ชูศรี ผลเพิ่ม ซึ่งรับตำแหน่ง CKO ของศูนย์อนามัยที่ 1 ต่อจาก ทันตแพทย์หญิงณัฎฐา บูรณสรรค์ หลังจากที่ท่านลาออกมายืนข้าง KM Team ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่1 เพื่อทำงานอยู่แบบว่า ... ไม่ขอตำแหน่ง ... (Freelance)

    พี่ชูศรี เป็นนักวิชาการสาธารณสุข 9 หัวหน้ากลุ่มพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม ... บอกกับดิฉัน ชัดถ่อยชัดคำว่า ในฐานะ CKO พี่ยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์นัก แต่ดิฉันคะยั้นคะยอให้ขึ้นเวที เพราะทราบจากทางพี่จิ๋ว เพชรัตน์ คีรีวงก์ ในการสนทนาทางโทรศัพท์ครั้งหนึ่งว่า พี่ชูศรีมีการนำ KM ไปใช้ในงานศูนย์เด็กเล็ก และเกิดสัมฤทธิผล ... มีนวตกรรมของเด็กเล่นที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงสนทนา เพื่อใช้ทดแทนของเด็กเล่น ที่มาจาก โครงการถุงรับขวัญเด็กแรกเกิด ซึ่งทางรัฐจัดสรรให้ และน่าจะหมดลง เมื่อหมดงบประมาณ

    ... บนน้ำเสียงที่พี่ชูศรี ... ในค่ำหนึ่ง หลังเลิกงาน บ่งบอกความภูมิใจ ความตื่นเต้นของผลลัพธ์นั้น อันเป็นผลพวงต่อยอดจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ .... เพียงเท่านี้กับบทบาท CKO ที่นำ KM มาใช้ด้วยตนเอง ... โอ๊ย! … สุดยอดสำหรับดิฉันแล้วค่ะ พี่ชูศรี จึงเป็น 1 ใน 6 ที่ถูกดิฉันทาบทามในงานนี้
  • ท่านต่อมา คือ ผอ.ดาริณี นาคะประทีป ผู้อำนวยการกองคลัง ผู้หญิงที่งามที่สุด ด้วยวัยใกล้เกษียณ สำหรับดิฉัน ท่านไม่ได้มีตำแหน่ง CKO เพราะ CKO คือ พี่เปี๊ยก พรรณี  หัวหน้าพัสดุกรมอนามัย จะเรียกตำแหน่ง ผอ. ว่าอย่างไรดีค่ะ อาจารย์หมอวิจารณ์ และอาจารย์ประพนธ์ คุณเอื้อ และเอื้อ คุณเอื้อยกกำลัง 2 หรือเจ้ดัน ... เหมือนที่อาจารย์หมอนันทาท่านเรียกตัวท่านไว้

    ... ที่ประกบ ผอ.ดาริณี หรือพี่อ๋อย...ของน้องๆ และตั้งใจไว้เนิ่นนานมากว่า ... ต้องเชียร์ให้ขึ้นเวทีให้ได้ เพราะ ผอ. จะเป็นผู้บริหารที่สนใจ และสนับสนุนลูกน้องมากๆ จะรู้ทุกครั้ง ว่า เวลานี้ดิฉันกำลังอธิบายอะไร และลูกน้องท่าน โดยเฉพาะพี่เปี๊ยก กำลังเข้าใจอย่างไร ท่านจะส่งสัญญาณ แบบจูงมือกัน กอดเอวกับดิฉันเสมอว่า ... พี่ว่า ... พี่เปี๊ยกเขาเข้าใจไม่ตรงกับที่ศรีวิภาคุยกับพี่นะ  ไม่รู้หล่ะอาจารย์ (บางที ผอ. ก็จะแซวดิฉันเล่นแบบนี้ว่า ... ต้องเข้าไปเคลียร์อีกทีนะ พี่ว่ามันทะแม่งๆ ยังไง ... เดี๋ยวออกมาไม่ตรงกัน) หรือเวลาที่ดิฉันถูกพี่เปี๊ยกตามมาเคลียร์ทุกเรื่อง เกี่ยวกับ KM กองคลัง ผอ.ดาริณีท่านก็จะช่วย ... แปลไทยเป็นไทย ... จากภาษาดิฉันพูด มาสู่ภาษาที่คุ้นเคย ของคนกองคลัง ... แล้วก็ย้ำเสมอว่า ... นี่แหล่ะวัฒนธรรมคนกองคลัง ไอ้ตั้งใจทำนะตั้งใจแน่ๆ ผิดถูกไม่รู้ก็พยายามจะทำ แต่ช้าหน่อย แล้ว ผอ. ก็รับคำเชิญดิฉันแบบว่า ... กองคลังยังทำเพียงจุดเล็กๆ ไม่เหมือนนักวิชาการหรือกองอื่นๆ ที่เขาไปเร็ว ... ทำเพียง ... (ซึ่งเป็นเรื่องเล่า ...)

    แล้วดิฉันก็บอกว่า ผอ. คะ ... เอาแบบนี้เลย ... แบบที่ ผอ. พูดกับศรีวิภาน่ะค่ะ โอเค ... สุด ... สุดเลย
  • ท่านที่ 3 คือ คุณฐิฎา ไกรวัฒนพงษ์ นักวิชาการสาธารณสุข 7 ศูนย์อนามัยที่ 1 เธอถูกดิฉันเชื้อเชิญ ด้วยเพราะเป็น Note taker มือใหม่ แต่คุณสมบัติแตกต่างจากหลายท่าน และอยากนำออกโชว์คุณสมบัติส่วนนี้ สิ่งที่ต่างจากจาก Note taker ท่านอื่นๆ คือ เธอมีประสบการณ์เพียงครั้งเดียว เป็นมือบันทึก ที่เพิ่งได้ถูกกำหนดบทบาท ในงานสรุปบทเรียนเมืองน่าอยู่ ของ พี่ฉัตรลดา กาญจนสุทธิแสง หรือพี่อ้วน ... KM Team กรมอนามัย คุณฐิฎา...ทำหน้าที่ note taker ให้กับดิฉัน ในขณะทำหน้าที่ fa ของหัวปลาเรื่องดังกล่าว แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นต่างจากหลายคน คือ เธอช่างสังเกต และตั้งใจเรียนรู้การทำงานไปคู่กับ Fa เช่น ถามว่า พี่ ... note taker ถาม-คุย ได้หรือเปล่า หรือสังเกตว่า การบันทึกได้รายละเอียด มีtacit K. ให้อะไรมากมาย จากเรื่องเล่า ... Fa ต้องมีประสบการณ์และ How to ... เน๊าะ เรื่องเล่ามันจึงลื่นไหล โอ้โห! เวลาเล่า (Story Telling) แล้วอิน ... เนี่ยะ ... มันลืมเวลาไปเลยเน๊าะ .... คนเล่าก็ได้ระบายอารมณ์ คนฟังก็อิน ปกติเท่าที่เคยจัดประชุมมาไม่เคยเห็นแบบนี้จริงๆ เลย ... ผู้เข้าประชุมไม่ยอมกลับก่อนเวลา แถมเลยไปจนเย็น
  • ท่านที่ 4 คือ คุณยุพิน โจ้แปง หรือน้องโจ้ ... น้องโจ้ดูจะถูกโฉลกกัน ตั้งแต่ตอนทีมเรา โดย อาจารย์หมอนันทา พี่ติ๊ก ... สร้อยทอง และดิฉัน ไปช่วย Train Fa ให้กับศูนย์อนามัยที่ 5 จำได้ว่า โฉลกนี้ ... มาดลใจตอนคุยกันนอกงาน หลังจากการอบรมปฏิบัติการผ่านไป จนทานอาหารค่ำ เพราะเรานั่งตรงข้ามกัน การถ่ายทอดเรื่องราวพร้อมกิจกรรม KM ที่ทีมกลางไปทำมาอย่างมากมายนั้น ได้เล่าสู่บรรยากาศสบายๆ เราสะกิดน้องในหลายประเด็น เพราะด้วยเห็นแววมุ่งมั่นในตัวน้องโจ้ ... และประสานเธออีกครั้ง เมื่อทีมงานอาจารย์หมอนันทาลงพื้นที่ รพ.มหาราช ในการสรุปบทเรียน เรื่อง Food safety ในโรงพยาบาล (ตามที่ดิฉันเคยเขียนเรื่องเล่าขึ้นบล็อกไปแล้ว) โดยโยนเธอพร้อมทีมลงน้ำ มาช่วยทำหน้าที่Fa/Note takerในงานนั้น หลังจากกลับจากมหาราช ดิฉันก็เล่าต่อให้ พร้อมกระซิบบอกพี่ติ๊กฟังว่า... เจ้าโจ้ดูหน่วยก้านดี น่าจะเข้าที่เข้าทางหลังจากเวทีของอาจารย์หมอนันทาค่ะ

    บวกกับสิ่งที่เห็นอีกอย่าง คือ เธอพยายามนำทีมงานตะลุยทำ KM ทำทั้งแทนบทบาท CKO ทำทั้งหน้าที่ของ Fa และสารพัดของความพยายามจนอ่อนล้า เมื่อดิฉันโทรไปคุยกับน้องโจ้ และถามว่า ... เฮ้ย! โจ้ KM ไปถึงไหน ... เสียงเธอก็ตอบมาว่า ... เจ๊ ... CoP มันทำไม่ได้ เวลาคนส่วนใหญ่ก็ไม่ตรงกัน นักวิชาการก็ต้องออกพื้นที่ พวกหนูเลยมาทำ KM Spy … แล้วดิฉันก็เริ่มให้เธอเล่าอย่างเมามัน ... และบอกว่า ... เฮ้ย! โจ้ ... มาเลย ... เอาแบบนี้มาเล่าในเวทีตลาดนัด KM CoP ได้ก็ได้ ไม่ได้ยูทำแบบไหน เอาแบบนั้นเลย ... เจ๊ชอบ
  • ท่านที่ 5-6 คือ อาจารย์จำนง หนูนิล และอาจารย์วีรยุทธ สมป่าสัก เป็นวิทยากรนอกที่ตั้งใจ๊ ... ตั้งใจให้เป็นผู้ชาย เพราะ 1). บนเวทีมีแต่สุภาพสตรี 2). คุณสมบัติพิเศษที่เลือกสรร คือ อาจารย์ 2 ท่าน เป็นมือ note taker (อ่านจากผลงานบนเว็ปบล็อก) ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของงาน KM 3)อาจารย์ 2 ท่าน แม้โดยตำแหน่งจะเป็น คุณอำนวย แต่ในชีวิตจริงในพื้นที่ เป็นคนไทย หัวใจหนุ่ม ที่ทำหน้าที่แบบหลายบทบาท หลายสไตล์ และ 4) งานที่ทำเชื่อมโยงกับคนหลายภาคี และเครือข่าย ซึ่งประเด็นนี้ เป็นไฮไลท์ ของ KM กรมอนามัย ในปี 49 ที่ระบุเป็น หนึ่งในเกณฑ์การจัดการความรู้ของกรมอนามัย คือ มีการนำ KM มาใช้ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย ในงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองหัวปลาใหญ่ของกรมอนามัย และ 5) คือ เป็นการเรียนรู้ KM ข้ามหน่วยงาน คือ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.นครศรีธรรมราช และสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ... เรียกว่า complete in one
  • มาถึงท่านที่ 7 คือ ผู้ดำเนินการ ก็คงไม่พ้นกุนซือ อย่างอาจารย์หมอนันทา อ่วมกุล ตามที่ท่านประธาน KM นายแพทย์สมศักดิ์ บอกว่า ... ศรีวิภา ... ผมไม่เป็นพระเอกคนเดียวนะ ... คุณสมบัติของอาจารย์ และประสบการณ์ KM เพียบ แบบไม่ต้องอธิบาย ... ว่า ... นุ่ม ... ซะไม่มี

 

หมายเลขบันทึก: 46852เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท