การสอนแบบ ไฮสโคป


แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป

แนวคิดการสอนแบบ ไฮสโคป

หลักการ
           โปรแกรมไฮสโคปเน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมเล่นที่หลากหลาย ด้วยสื่อและ กิจกรรมที่เหมาะ สมกับพัฒนาการของเด็ก และการแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้น

ทฤษฎีที่มีอิทธิพล
           ในระยะเริ่มต้น การพัฒนาโปรแกรมไฮสโคปใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา (Cognitive Theory) ของเปียเจต์ (Piaget) เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียนซึ่งเน้น การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning) ระยะต่อมามีการผสมผสานทฤษฎี และแนวคิดอื่นๆ เช่น ทฤษฎีของอีริกสัน (Erikson) ในเรื่องการให้โอกาสเด็กเป็นผู้ริเริ่มการเล่นหรือกิจกรรมต่างๆ อย่างอิสระและทฤษฎีของ ไวก๊อตสกี้ (Vygotsky) ในเรื่อง ปฏิสัมพันธ์และการใช้ภาษา เป็นต้น


การเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active Learning)
           หลักการที่สําคัญของไฮสโคปในระดับปฐมวัย คือ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ซึ่งถือว่าเป็น พื้นฐานสําคัญ ในการพัฒนาเด็ก การเรียนรู้แบบลงมือกระทําจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพมาก ที่สุดในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กอย่าง เหมาะสมกับพัฒนาการ การเรียนรู้แบบลง มือกระทํา หมายถึง การเรียนรู้ซึ่งเด็กได้จัดกระทํากับวัตถุ ได้มีปฏิสัมพันธ ์กับบุคคล ความคิดและเหตุการณ์ จนกระทั่ง สามารถสร้างองค์ความรู้ด้วย ตนเอง (Hohmann and Weikart,1995) ทั้งนี้ องค์ประกอบของ การเรียนรู้แบบลงมือกระทํา ได้แก่

            1. การเลือกและตัดสินใจ เด็กจะเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมจากความสนใจและความตั้งใจของตนเอง เด็กเป็นผู้เลือกวัสดุอุปกรณ ์และตัดสินใจว่า จะใช้วัสดุอุปกรณ์นั้นอย่างไร การที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจทํา ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตน เองมากกว่าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ใหญ่ ดังนั้นผู้ใหญ่ที่ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่อง การเลือก และการตัดสินใจต้องจัดให้เด็กมีอิสระที่จะเลือกได้ตลอด ทั้งวันขณะที่ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ใช่่เฉพาะ ในช่วงเวลาเล่นเสรีเท่านั้น

            2. สื่อ ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบลงมือกระทำจะมีเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ หลากหลาย เพียงพอ และเหมาะสมกับระดับอายุของเด็ก เด็กต้องมีโอกาสและมีเวลา เพียงพอ ที่จะเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างอิสระ เมื่อเด็กใช้เครื่องมือหรือวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เด็กจะมีโอกาส เชื่อมโยงการ กระทำต่าง ๆ การเรียนรู้ในเรื่องของความสัมพันธ์ และมีโอกาส ในการแก้ปัญหา มากขึ้นด้วย

            3. การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การเรียนรู้ด้วยการลงมือกระทำเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 การให้เด็กได้สำรวจ และจัดกระทำกับวัตถุโดยตรงทำให้เด็กรู้จักวัตถุ หลังจากที่เด็กคุ้นเคยกับวัตถุ แล้วเด็กจะนำวัตถ
ุต่าง ๆ มาเกี่ยวข้องกันและเรียนร ู้เรื่องความสัมพันธ์ ผู้ใหญ่มีหน้าที่จัดให้เด็กค้นพบความสัมพันธ ์เหล่านี้ด้วยตนเอง

            4. ภาษาจากเด็ก สิ่งที่เด็กพูดจะสะท้อนประสบการณ์และความเข้าใจของเด็ก ในห้อง เรียนที่เด็กเรียนรู้ แบบลงมือกระทําเด็กมักจะเล่าว่าตน กําลังทําอะไร หรือทําอะไรไปแล้วใน แต่ละวัน เมื่อเด็กมีอิสระในการใช้ภาษา เพื่อสื่อความคิดและรู้จักฟังความคิด เห็นของผู้อื่น เด็กจะเรียนรู้วิธีการพูด ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น ได้พัฒนาการ คิดควบคู่ ไปกับการพัฒนา ความเชื่อมั่นในตนเองด้วย

            5. การสนับสนุนจากผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ในห้องเรียนการเรียนรู้แบบลงมือกระทําต้องสร้างความสัมพันธ์กับเด็ก สังเกตและค้นหา ความตั้งใจ ความสนใจของเด็ก ผู้ใหญ่ควรรับฟังเด็ก ส่งเสริมให้เด็กคิดและ ทําสิ่งต่าง ๆ ด้วยตน เอง ในห้องเรียนที่เด็กเรียนรู้แบบ ลงมือกระทํา เด็กจะเผชิญกับประสบการณ์สําคัญ ซํ้าแล้วซํ้า อีกในชีวิตประจําวันอย่าง เป็นธรรมชาติ ประสบการณ์สําคัญเป็นกุญแจที่จําเป็นในการสร้าง องค์ความรู้ของ เด็กเป็นเสมือนกรอบความคิด ที่จะทําความเข้าใจการเรียนรู้แบบลงมือ กระทํา เราสามารถให้คําจํากัดความได้ว่า ประสบการณ์สําคัญเป็นส่วนหนึ่งของ ความรู้ที่เด็กจะต้องหามา ให้ได้โดยการปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ คน แนวคิดและเหตุการณ์ สำคัญต่างๆ อย่างหลากหลาย ประสบ การณ์สำคัญเป็นกรอบ ความคิดให้กับผู้ใหญ่ในการเข้าใจการเรียนรู้ของเด็ก สามารถวางแผน การจัดประสบ การณ์เพื่อส่งเสริมและประเมินพัฒนาการของเด็กอย่างเหมาะสม

ดร.เดวิด ไวคาร์ท (Dr.David Weikart) ประธานมูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคป (High/Scope Educational Research Foundation) เป็นผู้ริเริ่มและร่วมกับคณะนักวิชาการและนักวิจัย อาทิ แมรี่ โฮแมน (Mary Hohmann) และ ดร.แลรี่ ชไวฮาร์ต (Dr.Larry Schweinhart) พัฒนาขึ้นจาก โครงการเพอรี่ พรี สคูล (Perry Preschool Project) ตั้งแต่พ.ศ.2505 ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Head Start เพื่อช่วยเหลือ เด็กด้อยโอกาสให้มีการศึกษาที่เหมาะสม และประสบความสําเร็จ ในชีวิต

           มูลนิธิวิจัยการศึกษาไฮสโคปได้ศึกษาเปรียบเทียบเด็ก 3 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มที่ ได้รับการสอน จากครูโดยตรง (Direct Instruction) กลุ่มเนอร์สเซอรี่แบบดั้งเดิม (Traditional Nursery) และกลุ่มที่ได้รับ ประสบการณ์โปรแกรมไฮสโคป จากการศึกษาติดตามเด็กเหล่านี้ ตั้งแต่ ระดับปฐมวัยจนถึงอายุ 29 ปี พบว่ากลุ่มที่เรียนด้วยโปรแกรมไฮสโคปมีปัญหาพฤติกรรม ทางสังคม-อารมณ์ เช่น การถูกจับข้อหาลักขโมย ทำร้ายผู้อื่น บกพร่องทางอารมณ์ และล้มเหลว ในชีวิตน้อยกว่าอีก 2 กลุ่ม ดังนั้น โปรแกรมนี้จึงพิสูจน์ได้ว่าช่วย ป้องกันอาชญากรรรม เพิ่มพูน ความสำเร็จทางการศึกษาและผลผลิตตลอดชีวิต (Weikart and others, 1978 และ Schweinhart, 1988 และ 1997)

           นอกจากนี้ มูลนิธิฯ ได้พัฒนาระบบการฝึกอบรมบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ เรียนรู้ได้ง่าย เผยแพร่ในประเทศสหรัฐ อเมริกาและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา ครูจำนวนมากกว่า 33,000 คน ได้รับ การฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และจากการสำรวจสมาชิก มากกว่า 200,000 คน ของสมาคมการศึกษาปฐมวัยแห่งชาติ (NAEYC) พบว่า ร้อยละ 28 ของสมาชิกได้รับการฝึกอบรมในเรื่องไฮสโคป และร้อยละ 44 ใช้โปรแกรมไฮสโคปในบาง
บริบทด้วย (Schweinhart, 1997)

คำสำคัญ (Tags): #ปฐมวัย
หมายเลขบันทึก: 46851เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 12:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 ธันวาคม 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
นาย สุวโรจน์ โรจนศิริชัยนาม

เรียนท่าน ศน.นฤมล โล่ห์ทองคำ

ผมจะขอความกรุณาขอวิธีการสอนแบบไฮสโคป เพื่อจะทำรายงานส่งอาจารย์ครับ

แต่ผมพยายามค้นหาข้อมูลทางเน็ตแล้วแต่ข้อมูลยังไม่พอและน้อยจริงๆครับ

จึงใคร่ขอความกรุณาจากท่านอาจารย์ เพื่อจะขอข้อมูลเพื่อทำรายงานครับ

หากได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์จะเป็นพระคุณอย่างสุง

ดูแล้วไม่ค่อยต่างจากมอนเตอสเซอรี่เท่าไรนะครับ

มีการประยุกต์ใช้การสอนแบบนี้ในเมืองไทยอย่างจริง ๆ จังไหมครับ

เผื่อว่าจะมีโอกาสไปเรียนรู้

วิธีการสอนแบบไฮสโคป

กระบวนการการจัดการเรียนรู้ควรเริ่มจากวางแผน การลงมือปฏิบัติจริง และการตรวจสอบทบทวน

การวางแผน (Plan)

คือ กระบวนการคิดของเด็กเกี่ยวกับเป้าหมายที่จะกําหนดการกระทําที่คาดหวัง การวางแผนของเด็กขึ้นอยู่กับอายุ ความสามารถทางการสื่อสาร และการใช้ภาษาของ เด็ก เด็กอาจวางแผนโดยการกระทําท่าทางหรือคําพูด การวางแผนมีความสําคัญเนื่องจากเป็นการสนับสนุนความคิด การเลือกและการตัดสินใจของเด็กที่ชัดเจน ส่งเสริมความรู้สึกเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก และความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ทําให้เด็กมีความสนใจการเล่นที่ได้วางแผนไว้ ส่งเสริมพัฒนาการการเล่น ที่มีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น

ในช่วงการวางแผนเด็กจะได้พัฒนาความสามารถในการสื่อถึงความตั้งใจ การวางแผนของเด็กอาจมีทั้ง แผนงานที่ไม่ชัดเจน คือ เด็กสามารถบอกได้เพียงว่าจะเลือกมุมใดแต่ยังไม่มีภาพในใจว่าต้องการทําอะไร แผนงานที่เป็นกิจวัตร คือ เด็กบอกได้ว่าจะเลือกเล่นมุมใด และมีภาพในใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสบการณ์หรือควรใช้วัสดุอุปกรณ์ในแต่ละมุมอย่างไร แผนงานที่มีความละเอียดชัดเจน คือ เด็กสามารถวางแผนงานที่มีความซับซ้อนซึ่งจะกล่าวถึงกิจกรรม กระบวนการ หรือวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นเป้าหมายหรือผลผลิต เด็กจะได้วางแผนที่หลากหลายตลอดเวลา ได้สร้างแผนงานจริงๆ ซึ่งเกิดขึ้นในขณะทํางาน

ครูสามารถสนับสนุนการวางแผนของเด็กได้โดยการสังเกตลักษณะแผนงานของเด็กแต่ละคน วางแผนกับเด็กอย่างใกล้ชิด จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ และประสบการณ์ที่ช่วยทําให้เด็กมีความสนใจในการวางแผนสนทนากับเด็กเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับแผนงานของเด็ก ทั้งนี้ วิธีที่เด็กใช้วางแผนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

การลงมือปฏิบัติจริง /การทํางาน (Do/Work time)

เป็นช่วงเวลาที่เด็กได้ลงมือกระทํา เล่น และแก้ปัญหาอย่างมีจุดมุ่งหมาย ตั้งอกตั้งใจ และได้เรียนรู้ตามประสบการณ์สําคัญ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงตามสิ่งที่ตั้งใจไว้ ค้นพบความคิดใหม่ๆ เป็นช่วงที่เด็กต้องเลือกและตัดสินใจใช้วัสดุอุปกรณ์บริเวณและขั้นตอนในการเล่น ซึ่งทําให้เด็กเป็นผู้ทํางานอย่างจริงจัง เด็กได้การเล่นของเด็กคือความต้องการที่จะสํารวจ ทดลอง ประดิษฐ์ สร้างสรรค์และเลียนแบบ

ดังนั้น เมื่อเด็กได้ทำการวางแผน กิจกรรมจึงมีลักษณะทั้งการลงมือปฏิบัติจริงหรือการทํางานที่จริงจัง การเล่นที่มีความสนุกสนาน และการสร้างสรรค์อย่างเป็นธรรมชาติ

ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เด็กได้มีส่วนร่วมในสังคมจากการวางแผนเล่นเป็นคู่หรือกลุ่ม หรือทํางานคนเดียวแต่ตระหนักถึงผู้อื่น และได้แก่ ปัญหาจากการทํางานที่เด็กจะพบว่ามีทั้งสิ่งที่เป็นไปตามที่เขาคาดหวังและปัญหา เขาจะค้นพบความรู้ใหม่ที่ทําให้เข้าใจความจริงเกี่ยวกับลักษณะกายภาพและสังคม การลงมือกระทําจากสิ่งที่เด็กริเริ่มและประสบการณ์ตรงทําให้เด็กได้ มีโอกาสสรรค์สร้างความรู้ด้วยตนเอง

บทบาทของครูคือการสังเกต เรียนรู้ และสนับสนุนการเล่นของเด็ก ในช่วงการทํางานครูสามารถค้นพบได้ว่าเด็กแต่ละคนมีวิธีการคิดและใช้เหตุผลอย่างไร มักจะเล่นกับใครเสมอๆ เด็กได้ใช้ความรู้อย่างไรในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นแนวทางให้ครูมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กตลอดวัน สิ่งที่เด็กปฏิบัติในช่วงเวลาของการทํางาน คือ การทําตามแผนงาน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และทําให้แผนงานสมบูรณ์เด็กได้เล่นในบริบททางสังคมที่มีความหลากหลายในรูปแบบต่างๆ ทั้งการเล่นแบบสํารวจ สร้างสรรค์ บทบาทสมมติ และเกม เด็กได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิดกับเพื่อนและครูอย่างเป็นธรรมชาติ

ครูสามารถสนับสนุนเด็กในช่วงเวลาของการปฏิบัติงานจริงหรือการทํางานได้โดยการสังเกตลักษณะการทํางานของเด็กแต่ละคน จัดเตรียมบริเวณการทํางาน ค้นหาสิ่งที่เด็กกําลังทํา ได้แก่ สถานภาพของการเล่น ( การเริ่มต้น พฤติกรรมระหว่างที่กําลังทําเปลี่ยนแปลงหรือ แม้แต่ขั้นสุดท้าย ความเสร็จสมบูรณ์ของงานตามแผนงาน ) บริบททางสังคม (การเล่น เล่นอย่างไรคนเดียวหรือ เป็นคู่ หรือกลุ่ม ) รูปแบบการเล่น ( การสำรวจ การสร้างสรรค์ การเล่นบทบาทสมมติ การเล่นเกมการศึกษา ) และประสบการณ์สําคัญ ครูสังเกตเด็กเพื่ออํานวยความสะดวก มีส่วนร่วมในการเล่นกับเด็ก สนทนาและส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็ก พิจารณาปฏิสัมพันธ์จากสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกการสังเกตเด็ก

การตรวจสอบทบทวน (Recall time)

ช่วงของการตรวจสอบทบทวนเป็นช่วงที่เด็กได้สะท้อน พูดคุย และนำเสนอเกี่ยวกับสิ่งที่ทําในช่วงการทํางาน ในกระบวนการวางแผนเด็กได้ตั้งเป้าหมาย และคาดเดาการกระทําล่วงหน้า ในกระบวนการทบทวนเด็กได้ทําความเข้าใจโดยการใช้ภาษา การอภิปราย และการวิเคราะห์เชื่อมโยงสะท้อนความคิดเกี่ยวกับการกระทําและประสบการณ์ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความเข้าใจและตีความสิ่งที่ได้ปฏิบัติ ได้ตระหนักถึงความเกี่ยวเนื่องจากการวางแผน การกระทํา และผลที่ได้รับ ได้พูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง เป็นโอกาสดีที่เด็กจะได้ฝึกการเล่าเรื่อง การบรรยาย เด็กจะได้ฝึกความสามารถในการแสดงให้ผู้อื่นเห็น และเข้าใจประสบการณ์ของตน ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เป็นอดีต การทบทวนทําให้เด็กสะท้อนกลับไปยังเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ การกระทําซึ่งได้สำรวจหรือการปรับปรุงแผนงานที่วางไว้ และผลผลิตที่ได้รับในปัจจุบัน ทำให้เขาได้พิจารณาตั้งแต่อดีตซึ่งเป็นตัวชี้นําปัจจุบันและอนาคต นับเป็นทักษะที่นําไปใช้ได้ในชีวิต

ครูสามารถส่งเสริมเด็กในช่วงของการตรวจสอบทบทวนโดยการสังเกตการทบทวนของเด็กแต่ละคน ทบทวนกับเด็กในบรรยากาศที่สงบ อบอุ่น เช่น ทบทวนในกลุ่มอย่างใกล้ชิด ในการทบทวนครูควรช่วยกระตุ้นการระลึกประสบการณ์ของเด็ก จัดหาวัสดุอุปกรณ์ หรือประสบการณ์ที่ทําให้เด็กสนใจ เช่น การเยี่ยมชมตามมุมที่เด็กสร้างไว้ ใช้เกม เช่น เก้าอี้ดนตรีโดยให้เด็กที่ได้นั่งได้ทบทวนก่อน เป็นต้น ใช้เพื่อนร่วมงานหรืออุปกรณ์ร่วมด้วย หรืออาจใช้สัญลักษณ์ เช่น ละครใบ้ แผนภูมิ การวาดรูป เป็นต้น

การประเมิน (Assessment)

ในโปรแกรมไฮสโคป การประเมินถือเป็นงานโดยตรงของครูที่จะต้องตั้งใจปฏิบัติและเอาใจใส่อย่างเต็มที่ ครูไฮสโคปจะทํางานร่วมกันเป็นคณะ ในแต่ละวันครูทุกคนจะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก

ข้อมูลนี้ได้จากการสังเกตและการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กในกิจวัตรประจําวัน โดยครูจะจดบันทึกสั้นตามสิ่งที่เห็น(ด้วยการสังเกต)และได้ยินอย่างเที่ยงตรง(เห็นและได้ยินอย่างไรบันทึกอย่างนั้น) สมาชิกครูที่ร่วมกันสอนจะมีการวางแผนประจำวันร่วมกันก่อนที่เด็กจะมาถึงโรงเรียน หรือหลังจากที่เด็กกลับบ้าน หรือในขณะที่เด็กนอนพักผ่อนตอนกลางวัน ครูจะแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการสังเกตเด็ก ทําการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านประสบการณ์สําคัญ และเตรียมการวางแผนสำหรับวันต่อไป

จุดมุ่งหมายหลักของการประเมิน

คือ การประเมินคุณภาพของโปรแกรม และพัฒนาการเด็กซึ่งไฮสโคปได้สร้างแบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (High/Scope Program Quality Assessment หรือ PQA) และแบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (High/Scope Child Observation Record หรือ COR) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. แบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (PQA)

ไฮสโคป ได้จัดทําแบบประเมินคุณภาพโปรแกรม (PQA) ประกอบด้วยมาตรฐานคุณภาพด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดห้องเรียน สื่อ วัสดุ ครุภัณฑ์ กิจวัตรประจําวัน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก การวางแผน และการประเมินเป็นคณะ ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ผู้ปกครองการฝึกอบรมครูระหว่างประจําการและการนิเทศ ในแต่ละด้านจะแยกออกเป็นข้อย่อย แต่ละข้อย่อยกําหนดเป็นระดับ 1-5 มีขั้นตอนการให้คะแนน PQA ดังนี้

ขั้นที่ 1 บันทึกข้อมูลสนับสนุน รวมทั้งรายการสื่อ วัสด เหตุการณ์สั้นๆ ที่ได้จากการสังเกต รวมทั้งจดบันทึกคําพูดของเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งการจดบันทึกนี้ จะต้องสั้น ตรง กระชับ เฉพาะเจาะจง เป็นจริงตามที่ครูและเด็กพูดหรือปฏิบัติ

ขั้นที่ 2 ขีดเส้นใต้ประโยค พยางค์ ข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นคุณภาพโปรแกรม

ขั้นที่ 3 วงกลมระดับที่เหมาะสม ในแบบประเมินคุณภาพโปรแกรมปฐมวัย (PQA) ว่าอยู่ในระดับ 1, 2, 3, 4 หรือ 5

2. แบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (COR)

COR เป็นเครื่องมือประเมินพัฒนาการเด็กที่ไฮสโคปสร้างขึ้นเพื่อนํามาใช้แทนแบบทดสอบซึ่งถือว่าไม่เหมาะสมกับเด็ก เครื่องมือชิ้นนี้ ไฮสโคปใช้กับเด็กอายุ 2 - 6 ปี โดยสังเกตเด็กขณะทํากิจกรรมปกติในแต่ละวัน ผู้ที่สังเกตจะต้องผ่านการฝึกอบรมการสังเกตและบันทึกพฤติกรรมเพื่อที่จะสามารถใช้ COR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แบบสังเกตบันทึกพฤติกรรมเด็ก (COR)

ช่วยให้ครูที่ทํางานอยู่ในโปรแกรมที่พัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการ ได้สังเกตเด็ก และบันทึกพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกในกิจวัตรประจําวันอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ COR จะช่วยชี้ให้เห็นทักษะและศักยภาพของเด็กแต่ละคน ทําให้ครูวางแผนการสอน และปรับสื่อการเรียนการสอน เทคนิควิธีการและกิจกรรมให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของเด็กเป็นรายบุคคล

รายการสังเกตใน COR มี 6 รายการ ตามประสบการณ์สำคัญในไฮสโคป คือ

1. การริเริ่ม (Initiative)

2. ความสัมพันธ์ทางสังคม (Social Relations)

3. การนําเสนออย่างสร้างสรรค์ (Creative Representation)

4. ดนตรีและการเคลื่อนไหว (Music and Movement)

5. ภาษาและการรู้หนังสือ (Language and Literacy)

6. ตรรกและคณิตศาสตร์ (logic and Mathematics)

ส่วนการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตอสเซอรี่

วิธีการสอนเริ่มจากสังเกตเด็ก ศึกษาพัฒนาการของเด็ก ความต้องการและความมั่นใจของเด็ก โดยมีแนวปรัชญาที่เชื่อมโยงทุกสิ่ง และคำนึงว่าเด็กทุกคนมีความสำคัญ

โดยมอนเตสซอรี่จะให้ความสำคัญกับสิ่งต่อไปนี้คือ

1) ห้วงเวลาหลักของชีวิต ความสนใจของเด็กจะเปลี่ยนแปลงไปตามอายุและพัฒนาการจากการสังเกตพบว่าเด็กดำเนินวิถีชีวิตไปในรูปแบบที่คล้ายคลึงกันคือ เริ่มจากอยาก

เรียนรู้การกินด้วยตนเอง การเดิน การพูด และการสัมผัสสิ่งของจนกระทั่งอยากเรียน อ่าน คิดเลข และเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว สิ่งที่ค้นพบทำให้ถึงขั้นพัฒนาการของเด็กที่แตกต่างกัน เด็กมีความรู้สึกอยากแสวงหาความรู้จากแหล่งที่แตกต่างกัน ช่วงเวลา

นี้สำคัญในการที่จะติดตามสิ่งที่เด็กสนใจ เรียกว่า “ช่วงเวลาหลักของชีวิต”

2) การให้เด็กได้ทำงานอย่างอิสระในสิ่งที่เด็กเลือกเนื่องจากความสนใจของเด็กเองเป็นแรงกระตุ้นที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ และจะช่วยให้เด็กมีสมาธิในการทำงานที่ตนเองสนใจ

ดังนั้นการให้เด็กได้ทำงานอย่างอิสระในสิ่งที่เขาเลือก สิ่งที่มุ่งหวังคือ ให้เด็กมีวิจารณญาณที่ดีต่อบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อมได้ทำงานโดยไม่มีใครมารบกวนและทำงานตามความสนใจของตนเอง

3) การให้เด็กได้เรียนกิจกรรมต่าง ๆ และได้เคลื่อนไหว มอนเตสซอรี่ได้จัดอุปกรณ์ต่างๆ หลาหลายตามความสนใจ และวุฒิภาวะที่แตกต่างกันของเด็ก อุปกรณ์ของมอนเตส

ซอรี่มีทั้งส่วนที่ช่วยพัฒนาทางประสบการณ์ชีวิต วิชาการ และประสาทสัมผัส

4) การสอนจากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่นามธรรมดังนั้นอุปกรณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ อุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่ได้วางแผนมาให้ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น เด็กเล็กๆ อาจจะใช้

อุปกรณ์ประสาทสัมผัส และพัฒนาไปจนใช้อุปกรณ์เพียง 1 ชิ้นและในวัตถุประสงค์เดียวกันอาจใช้อุปกรณ์หลายชิ้น

5) การจัดอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพะสำ หรับวางอุปกรณ์ทุกอย่าง เด็กต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อยเมื่อทำงานเสร็จ เด็กได้เรียนรู้จากการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการรอโอกาสของตน เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน

6) การจัดสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก มอนเตสซอรี่จะจัดสิ่งแวดล้อมไว้สำหรับเด็ก เด็กจะได้รับความช่วยเหลือด้วยวิธีที่ถูกต้อง และเด็กจะรู้จักการพึ่งตนเองในการทำงานสิ่งที่ตน

สนใจโดยเฉพาะเด็กปกติจะสามารถทำอะไรได้มากมายเกินความคาดคิดของผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ควรให้การยอมรับนับถือแก่เด็กๆ ให้เด็กมีอิสระมีโอกาสแสดงความรับผิดชอบ เกิดความตระหนักในตนเอง เกิดการเรียนรู้โดยการซึมซับจากข้อมูลและ

สิ่งแวดล้อมรอบๆตัว

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่

1) จุดมุ่งหมาย มอนเตสซอรี่กล่าวว่า เด็กมีสิทธิในการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองในการเรียน สิทธิที่จะมีอิสระในการทำกิจกรรม สำรวจโลกสำหรับตนเอง และเรียกร้องสิทธิในการที่จะมีสถาพการทำงานที่เหมาะสม โดยเด็กปกติในสิ่งแวดล้อมของมอนเตสซอรี่จะพัฒนาการเรียนรู้ในการทำงานด้วยตนเอง และ

ความรู้สึกถึงความรับผิดชอบมีวิธีการควบคุมตนเองให้ทำงาน

ได้สำเร็จ เรียนรู้ในการรับผิดชอบต่อตนเองเป็นเบื้องแรก และต่อสถานการณ์ต่างๆ ให้ค้นพบตัวเอง

2) หลักสูตร มอนเตสซอรี่มีความเชื่อว่าการที่เด็กได้เรียนรู้ตามความต้องการด้วยตนเอง และการซึมซับกรเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม จะทำให้เด็กได้รับสิ่งที่ต้องการ เด็กจะได้รับ

เสรีภาพในขอบเขตที่จำกัดจากสิ่งแวดล้อมที่ได้เตรียมไว้ และได้รับผลสำเร็จตามความต้องการของเด็กหลักสูตรพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 3 - 6 ปี แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ 1) การศึกษาทางด้านทักษะกลไก(Motor Education)

2) การศึกษาทางด้านสัมผัส (Educationof the Senses)

3) การเตรียมสำหรับการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation for Writing and Arithmetic)

3) อุปกรณ์การสอนสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ที่ได้เตรียมไว้อย่างพร้อมเพรียง เป็นองค์ประกอบสำคัญ สำหรับวิธีการสอนแบบมอนเตสซอรี่ สิ่งแวดล้อมของห้องเรียนต้องจัดให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก จัดวางรูปแบบเพื่อช่วยให้เด็กพบความสำเร็จ เกิดความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรวบตัวด้วยการที่เด็กได้เข้าไปสัมผัสกับงานที่ตนได้พบเห็นในชีวิตประจำวันอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่แต่ละชิ้นจะมี

จุดมุ่งหมายเฉพาะจุดเน้นอยู่ที่การรับรู้โครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ เพื่อทำให้เกิดการรับรู้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว อุปกรณ์แต่ละชิ้นครูจะต้องสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ด้วยวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทำงานกับอุปกรณ์นั้นต่อไป อุปกรณ์จะมีลำดับความยากง่ายต่อเนื่องกันไป มีความสัมพันธ์กับวิชาที่เรียนต่อไป และตอบสนองความต้องการสำหรับช่วงเวลาหลักของชีวิต สำหรับอุปกรณ์พื้นฐานในห้องเรียนแบบมอนเตสซอรี่ ประกอบด้วยอุปกรณ์สำหรับพัฒนาประสบการณ์ชีวิต อุปกรณ์ทางด้านประสาทสัมผัส และอุปกรณ์สำหรับการศึกษาด้านวิชาการ

4) การประเมินผลการสอน การประเมินผลการสอนแบบมอนเตสซอรี่ใช้การสังเกตความสามารถในการทำกิจกรรมของเด็กในแต่ละกลุ่มวิชา สังเกตการณ์การใช้อุปกณ์การเรียนแต่ละชิ้นของเด็กโรงเรียนจะรายงานผลการเรียนของนักเรียนโดยการส่งผลงาน

ของนักเรียนกลับบ้านทุกวันศุกร์ กำหนดช่วงเวลาให้ผู้ปกครองได้สังเกตการณ์เรียนการสอนของโรงเรียน ครูและผู้ปกครองได้พบปะพูดคุยเกี่ยวกับความสามารถของเด็ก

นอกจากนี้มีแบบการประเมินผลความสามารถของนักเรียนในการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ โดยลงวันที่หรือขีดเครื่องหมายถูกหลังรายการอุปกรณ์ที่นักเรียนทำได้คล่องแคล่ว และเข้าใจในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องแล้ว และพร้อมที่จะรับการสาธิตจากครูสำหรับการใช้อุปกรณ์ขั้นที่ยากขึ้นไปอีก แล้วจัดทำเป็นรายงานให้ผู้ปกครองได้ทราบ

อีกครั้ง

5) การสอนสามขั้นตอนของมอนเตสซอรี่ แนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่เพื่อเชื่อมโยงภาษากับอุปกรณ์หรือสิ่งของมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 การสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นทำให้เชื่อมโยงสิ่งที่สาธิตให้ดูกับชื่อของสิ่งนั้นได้ “นี่คือ....”

ขั้นที่ 2 การสังเกตเห็นความแตกต่าง เพื่อให้มั่นใจว่า เขาเข้าใจเมื่อบอกเด็กว่า “อันไหน...”

ขั้นที่ 3 การเห็นความแตกต่างระหว่างสิ่งที่คล้ายคลึงกัน และสามารถบอกชื่อของสิ่งของสิ่งนั้นได้ ขั้นตอนนี้

เพื่อจะได้ทราบว่า เด็กจำชื่อสิ่งต่าง ๆ ที่ครูสาธิตให้ดูได้หรือไม่ เช่น ชี้ที่สิ่งของแล้วถามว่า “อันนี้อะไร...”

บทบาทและความรับผิดชอบของครูในระบบมอนเตสซอรี่

- เป็นผู้เชื่อมโยงระหว่างเด็กและสิ่งแวดล้อมที่เตรียมไว้

- เป็นผู้สังเกตและแปลความหมายสิ่งที่เด็กต้องการ

- เป็นผู้ทำการทดลอง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะกับความสนใจและความต้องการของเด็ก

- เป็นผู้จัดเตรียมสิ่งแวดล้อมให้กับเด็กในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด

- ประเมินการทำงานของตนเอง และประเมินความก้าวหน้าของเด็กแต่ละคนทุกด้าน

- เป็นบุคคลที่ให้ความเคารพและปกป้องดูแลเด็กได้

- เป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้ความรัก และดูแลเอาใจใส่เด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียมกัน

- เป็นผู้รายงานผลความก้าวหน้าของเด็กให้ผู้ปกครองทราบ

- เป็นผู้ชักชวนให้เด็กรู้สึกชอบ และอยากทำอุปกรณ์ที่ครูสาธิตให้ดู โดยไม่ต้องกระตุ้น

- เป็นแบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมให้กับเด็ก

- เป็นผู้ที่รู้จักประนีประนอม สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น มีความสุภาพอ่อนโยน

- รู้จักวินัย ไม่ตัดสินเด็กแต่ละคนจากความรู้สึกของตนเอง

คุณลักษณะของเด็กมอนเตสซอรี่

เด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนที่ใช้การสอนแบบมอนเตสซอรี่แล้ว ควรจะได้รับการพัฒนาให้เกิดสิ่งที่ดีงามต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

- มีความรักในความมีระเบียบ

- รักในการทำงาน

- สัมพันธ์กับความจริง

- รักความสงบและทำงานได้คนเดียว

- ความเป็นเจ้าของ

- มีความเชื่อฟัง

- พลังในการปฏิบัติจากสิ่งที่เลือก

- ความมีอิสระและการริเริ่ม

- วินัยในตนเอง

- ร่าเริง

- การทำงานร่วมกับผู้อื่น

ขอตอบเท่านี้ก่อนนะคะคงมีประโยชน์บ้างนะคะ

ดิฉันอยากจะขอรายชื่อหนังสือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบไฮสโคปเพราะว่าดิฉันต้องทำรายงานส่งอาจาย์แต่ข้อมูลมีน้อยมาก ดิฉันจึงอยากหาข้อมูลเพื่อทำรายงานเพิ่มค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอร่วมเสริมวิธีการสอนด้วยค่ะ

แนวการสอน สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว ถ้ามีใครสักคนมาถามว่า ลูกเรียนที่ไหน โรงเรียนนี้เป็นอย่างไร แล้วเขาใช้แนวการสอนแบบไหน สองคำถามแรกคุณอาจจะตอบได้โดยไม่ขัดข้อง แต่คำถามท้ายที่สุดว่า โรงเรียนนี้สอนแนวไหน คงไม่ง่ายที่จะคิดคำตอบขึ้นมา และแม้ว่าจะได้คำตอบว่าแนวนั้น แนวนี้ แต่ถ้าจะให้อธิบายว่าแนวที่ว่านั้นเป็นอย่างไร พ่อแม่หลายคนคงยังอธิบายได้ไม่ชัดเจนนัก เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคุณพ่อคุณแม่ และเป็นแนวทางในการเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูกต่อไปในอนาคต ครูเมย์มีข้อมูลเรื่องแนวการสอนของโรงเรียนในเมืองไทยมานำเสนอค่ะ การสอนของมอนเตสซอรี ผู้คิดค้นคือดร.มาเรีย มอนเตสซอรี แนวการสอนของมอนเตสซอรี เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมีความเชื่อว่าเด็กควรได้พัฒนาประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว ได้มีการหยิบจับกระทำ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ (Independence) อุปกรณ์ในการฝึกประสาทสัมผัสของมอนเตสซอรี่ที่เรียกว่า didactic apparatus มีชื่อเสียงมาก มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความมีระเบียบ จึงเน้นการเตรียมการสอนของครูให้เป็นไปตามขั้นตอน และเน้นการเรียนรู้รายบุคคล โดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็นรายบุคคล แต่การแนะนำการใช้อาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ก่อน การสอนของ วอลดอร์ฟ ผู้คิดค้นคือ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จะเน้นการสอนตามพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ด้วยการเล่น เพื่อพัฒนาการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ สไตเนอร์เน้นการใช้อุปกรณ์และวิธีสอนที่เป็นกิจกรรม (Activity) ที่ให้เด็กได้กระทำได้แสดงเพื่อฝึกการคิดและจินตนาการ วิชาทางด้านศิลปะ ดนตรี การวาดเขียนและงานภาคปฏิบัติ เช่น ทำสวน ประกอบอาหาร หรืองานประดิษฐ์ซึ่งจะเหมาะกับเด็ก สไตเนอร์ไม่เน้นการสอนทางวิชาการโดยกล่าวว่า ในวัยนี้การเล่นสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก การเล่นนอกจากเด็กได้พัฒนาการ เคลื่อนไหว การคิด และสมาธิหรือความจดจ่อในงานหรือสิ่งที่กระทำ การเล่นยังเป็นการสร้างเจตคติที่จะมีต่อชีวิตภายหน้าของเด็ก “Children's attitude to play shows later at their attitude to life” การสอนแบบ นีโอฮิวแมนนิส จุดเริ่มของแนวคิดนี้ มาจากโยคีชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ พี. อาร์. ซาร์การ์ ที่นำศาสตร์ทางตะวันออกกับความทันสมัยแบบตะวันตกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น มีการให้เด็กๆ ฝึกสมาธิ ทำโยคะ ขณะเดียวกันก็ใช้เสียงเพลงและวิธีการสอนใหม่ๆ รวมเข้าไปด้วย การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach) แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ตั้งต้นจากจุดสำคัญที่ว่าเด็กเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่วัยทารกและการเรียนรู้ภาษาจะมาจากประสบการณ์ที่มีความหมาย ได้รับการสนับสนุนให้กำลังใจจากผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างในการพูด ฟัง อ่าน เขียน การเรียนรู้ภาษาจะง่ายและสนุกสำหรับเด็กถ้าเด็กเข้าใจ มีประสบการณ์ตรงและได้อภิปรายพูดคุยในบรรยากาศที่อบอุ่น ยอมรับ ทั้งเด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดี ประสบการณ์ วัสดุอุปกรณ์และหนังสือชนิดต่างๆ การสนทนา อภิปรายกับเพื่อนและครู การเล่น การมีโอกาสเลือกกิจกรรมโดยอิสระ การได้รับการยอมรับนับถือในตน การช่วยเหลือแนะนำและให้กำลังใจเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเรียนอย่างมีความสุขและมีความใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง มิใช่ต้องถูกบังคับหรือหลอกล่อจากแรงจูงใจภายนอก การสอนแบบไฮ/สโคป หลักสูตรไฮ/สโคป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) ความสำคัญของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่หลากหลายด้วยวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก การแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นได้รับการส่งเสริมในขณะเด็กวางแผนในแต่ละวันว่าจะทำอย่างไร ปฏิบัติตามที่วางแผนและทบทวนสิ่งที่พวกเขาได้ทำ ครูใช้การสอนกลุ่มย่อยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการการใช้คำถาม การสนับสนุนและการขยายการเรียนรู้ของเด็กๆ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร การสอนแบบโครงการ (Project Approach) การสอนแบบโครงการเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ โครงการคือการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครูหรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม การสอนแบบพหุปัญญา โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้ค้นพบว่ามนุษย์เราเกิดมาย่อมมีความฉลาดแตกต่างกัน บางคนฉลาดในเรื่องของคณิตศาสตร์ บางคนเก่งด้านภาษา การ์ดเนอร์จึงได้แบ่งความฉลาดของมนุษย์ออกมาเป็นด้านๆ อันได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะหรือคณิตศาสตร์ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง ด้านตนและการเข้าใจตนเอง ด้านร่างกาย ด้านดนตรีและการเคลื่อนไหว ฯลฯ ทั้งนี้เราควรจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้มีความฉลาดรอบด้าน การสอนภาษาต่างประเทศ ปัจจุบันมีหลายๆ โรงเรียนที่เปิดสอนภาษาต่างประเทศมากมาย อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ โดยนำรูปแบบการสอนจากประเทศนั้นๆ มาใช้สอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาก เด็กจะได้เรียนภาษาที่สองเพิ่มขึ้น โดยคุณครูเจ้าของภาษา เด็กจะได้คุ้นเคย สนุก และมีความสุขกับกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านภาษา [ ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ vol.16 Issue 181 August 2008 ]

ขอร่วมเสริมวิธีการสอนด้วยค่ะ

แนวการสอน สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่แล้ว ถ้ามีใครสักคนมาถามว่า ลูกเรียนที่ไหน โรงเรียนนี้เป็นอย่างไร แล้วเขาใช้แนวการสอนแบบไหน สองคำถามแรกคุณอาจจะตอบได้โดยไม่ขัดข้อง แต่คำถามท้ายที่สุดว่า โรงเรียนนี้สอนแนวไหน คงไม่ง่ายที่จะคิดคำตอบขึ้นมา และแม้ว่าจะได้คำตอบว่าแนวนั้น แนวนี้ แต่ถ้าจะให้อธิบายว่าแนวที่ว่านั้นเป็นอย่างไร พ่อแม่หลายคนคงยังอธิบายได้ไม่ชัดเจนนัก เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคุณพ่อคุณแม่ และเป็นแนวทางในการเลือกโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูกต่อไปในอนาคต ครูเมย์มีข้อมูลเรื่องแนวการสอนของโรงเรียนในเมืองไทยมานำเสนอค่ะ การสอนของมอนเตสซอรี ผู้คิดค้นคือดร.มาเรีย มอนเตสซอรี แนวการสอนของมอนเตสซอรี เน้นให้เป็นไปตามพัฒนาการและความต้องการของเด็ก โดยมีความเชื่อว่าเด็กควรได้พัฒนาประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหว ได้มีการหยิบจับกระทำ เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้ (Independence) อุปกรณ์ในการฝึกประสาทสัมผัสของมอนเตสซอรี่ที่เรียกว่า didactic apparatus มีชื่อเสียงมาก มอนเตสซอรีเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความมีระเบียบ จึงเน้นการเตรียมการสอนของครูให้เป็นไปตามขั้นตอน และเน้นการเรียนรู้รายบุคคล โดยเด็กจะฝึกกระทำกับอุปกรณ์ที่เตรียมไว้เป็นรายบุคคล แต่การแนะนำการใช้อาจจะเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ก่อน การสอนของ วอลดอร์ฟ ผู้คิดค้นคือ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ จะเน้นการสอนตามพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้ด้วยการเล่น เพื่อพัฒนาการใช้อวัยวะส่วนต่างๆ สไตเนอร์เน้นการใช้อุปกรณ์และวิธีสอนที่เป็นกิจกรรม (Activity) ที่ให้เด็กได้กระทำได้แสดงเพื่อฝึกการคิดและจินตนาการ วิชาทางด้านศิลปะ ดนตรี การวาดเขียนและงานภาคปฏิบัติ เช่น ทำสวน ประกอบอาหาร หรืองานประดิษฐ์ซึ่งจะเหมาะกับเด็ก สไตเนอร์ไม่เน้นการสอนทางวิชาการโดยกล่าวว่า ในวัยนี้การเล่นสำคัญสำหรับชีวิตเด็ก การเล่นนอกจากเด็กได้พัฒนาการ เคลื่อนไหว การคิด และสมาธิหรือความจดจ่อในงานหรือสิ่งที่กระทำ การเล่นยังเป็นการสร้างเจตคติที่จะมีต่อชีวิตภายหน้าของเด็ก “Children's attitude to play shows later at their attitude to life” การสอนแบบ นีโอฮิวแมนนิส จุดเริ่มของแนวคิดนี้ มาจากโยคีชาวอินเดียผู้ยิ่งใหญ่ พี. อาร์. ซาร์การ์ ที่นำศาสตร์ทางตะวันออกกับความทันสมัยแบบตะวันตกมาผสมผสานเข้าด้วยกัน เช่น มีการให้เด็กๆ ฝึกสมาธิ ทำโยคะ ขณะเดียวกันก็ใช้เสียงเพลงและวิธีการสอนใหม่ๆ รวมเข้าไปด้วย การสอนภาษาแบบธรรมชาติ (Whole Language Approach) แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ ตั้งต้นจากจุดสำคัญที่ว่าเด็กเรียนรู้ภาษามาตั้งแต่วัยทารกและการเรียนรู้ภาษาจะมาจากประสบการณ์ที่มีความหมาย ได้รับการสนับสนุนให้กำลังใจจากผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างในการพูด ฟัง อ่าน เขียน การเรียนรู้ภาษาจะง่ายและสนุกสำหรับเด็กถ้าเด็กเข้าใจ มีประสบการณ์ตรงและได้อภิปรายพูดคุยในบรรยากาศที่อบอุ่น ยอมรับ ทั้งเด็กจะเรียนรู้ภาษาได้ดี ประสบการณ์ วัสดุอุปกรณ์และหนังสือชนิดต่างๆ การสนทนา อภิปรายกับเพื่อนและครู การเล่น การมีโอกาสเลือกกิจกรรมโดยอิสระ การได้รับการยอมรับนับถือในตน การช่วยเหลือแนะนำและให้กำลังใจเหล่านี้จะช่วยให้เด็กเรียนอย่างมีความสุขและมีความใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเอง มิใช่ต้องถูกบังคับหรือหลอกล่อจากแรงจูงใจภายนอก การสอนแบบไฮ/สโคป หลักสูตรไฮ/สโคป เน้นการเรียนรู้แบบลงมือกระทำ (Active learning) ความสำคัญของการเรียนรู้แบบลงมือกระทำผ่านมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่หลากหลายด้วยวัสดุอุปกรณ์และกิจกรรมที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก การแก้ปัญหาอย่างกระตือรือร้นได้รับการส่งเสริมในขณะเด็กวางแผนในแต่ละวันว่าจะทำอย่างไร ปฏิบัติตามที่วางแผนและทบทวนสิ่งที่พวกเขาได้ทำ ครูใช้การสอนกลุ่มย่อยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการการใช้คำถาม การสนับสนุนและการขยายการเรียนรู้ของเด็กๆ ไปพร้อมๆ กับการเพิ่มพูนทักษะการสื่อสาร การสอนแบบโครงการ (Project Approach) การสอนแบบโครงการเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีที่สามารถส่งเสริมให้เด็กรู้จักตัดสินใจ โครงการคือการสืบค้นหาข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรแก่การเรียนรู้ พยายามที่จะค้นหาคำตอบจากคำถามที่เกี่ยวกับหัวเรื่อง ไม่ว่าคำถามนั้นจะมาจากเด็ก จากครูหรือจากเด็กและครูร่วมกันก็ตาม จุดประสงค์ของโครงการก็คือการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวเรื่องมากกว่าการเสาะแสวงหาคำตอบที่ถูกต้องเพื่อตอบคำถามที่ครูเป็นผู้ถาม การสอนแบบพหุปัญญา โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ได้ค้นพบว่ามนุษย์เราเกิดมาย่อมมีความฉลาดแตกต่างกัน บางคนฉลาดในเรื่องของคณิตศาสตร์ บางคนเก่งด้านภาษา การ์ดเนอร์จึงได้แบ่งความฉลาดของมนุษย์ออกมาเป็นด้านๆ อันได้แก่ ด้านภาษา ด้านตรรกะหรือคณิตศาสตร์ ด้านมนุษย์สัมพันธ์ ด้านการควบคุมอารมณ์ตนเอง ด้านตนและการเข้าใจตนเอง ด้านร่างกาย ด้านดนตรีและการเคลื่อนไหว ฯลฯ ทั้งนี้เราควรจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้มีความฉลาดรอบด้าน การสอนภาษาต่างประเทศ ปัจจุบันมีหลายๆ โรงเรียนที่เปิดสอนภาษาต่างประเทศมากมาย อาทิ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ โดยนำรูปแบบการสอนจากประเทศนั้นๆ มาใช้สอน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาก เด็กจะได้เรียนภาษาที่สองเพิ่มขึ้น โดยคุณครูเจ้าของภาษา เด็กจะได้คุ้นเคย สนุก และมีความสุขกับกิจกรรมที่ส่งเสริมด้านภาษา [ ที่มา.. นิตยสารบันทึกคุณแม่ vol.16 Issue 181 August 2008 ]

อยากได้ข้อมูลเยอะกว่านี้คะ จะนำไปทำรายงานคะ

เรียนท่าน ศน.นฤมล โล่ห์ทองคำ

ดิฉันกำลังทำรายงานเรื่อง การศึกษาแนววอลดอร์ฟ แต่ยังหาข้อมูลเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลไม่ได้ อยากทราบข้อมูลการวัดประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้วัด เพื่อทำรายงานคะ

จึงใคร่ขอความกรุณาจากท่านอาจารย์ เพื่อจะขอข้อมูลเพื่อทำรายงาน

หากได้รับความกรุณาจากท่านอาจารย์จะเป็นพระคุณอย่างสุง

ขออนุญาตให้สืบค้นจาก url http://www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php นี้ก่อนนะคะ อาจมองเห็นแนวทางดีขึ้น

ช่วงนี้ ศน.งานเยอะมากเลยค่ะ เอามีเวลาจะดำเนินการให้ค่ะ

ที่นี่เด็กไม่เบื่อโรงเรียน เพราะวอลดอร์ฟเข้าใจธรรมชาติมนุษย์ เด็กๆ ได้เรียนรู้สิ่งที่สนใจ รักการค้นคว้า และได้พัฒนาตัวเองอย่างสมบูรณ์แบบ

ที่นี่เด็กไม่เบื่อโรงเรียน เพราะ 'วอลดอร์ฟ' มาจากความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ เด็กๆ ได้เรียนรู้สิ่งที่อยากเรียน รักการค้นคว้า และแนวทางนี้นักการศึกษาเชื่อว่า สามารถพัฒนามนุษย์ได้สมบูรณ์แบบ

14 ปีที่แล้ว หมอพร พันธุ์โอสถ ริเริ่มทำการศึกษาแนววอลดอร์ฟ โดยใช้บ้านเป็นสถานที่เรียน มีลูกของเขา 4 คนและลูกเพื่อนอีก 3 คนรวม 7 คนเป็นนักเรียนวอลดอร์ฟ ตอนนั้นเราคุยกันในห้องเล็กๆ ละครหุ่นของผู้ปกครองกำลังแสดงให้เด็กๆ ดู และมีเด็กวิ่งไปวิ่งมาระหว่างการสนทนา

ปัจจุบันเรากลับมานั่งคุยในห้องเรียนเล็กๆ รายล้อมด้วยเด็กๆ ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมปีที่ 6 กว่า 200 คนและคุณครูอีก 20 คนในโรงเรียนปัญโญทัยที่สอนตามแนวทางวอลดอร์ฟ

จำได้ว่า ช่วงที่หมอพรริเริ่มการศึกษาแนวนี้ เขาย้ำเสมอว่า เป็นการศึกษาเพื่อสอนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบทั้งกาย ใจและจิตวิญญาณ

"สิ่งที่สอนเด็กๆ ไม่สูญเปล่าแน่นอน เขานำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ผมคิดว่า มาถูกทางแล้ว ที่นี่ผมเป็นครูธรรมดาคนหนึ่ง สอนวิชาฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และการปั้นดิน แม้ผมจะเป็นคนริเริ่ม แต่โรงเรียนแห่งนี้ทำในนามมูลนิธิ”

ธรรมชาติของมนุษย์

วอลดอร์ฟ เป็นการศึกษาทางเลือกอีกรูปแบบในสังคมไทย โรงเรียนแห่งนี้ไม่มีการสอบ ไม่ต้องแต่งชุดนักเรียน เด็กๆ เรียนรู้จากการคิดและทำด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ ทุกครั้งที่ทำงานเสร็จต้องบันทึกการเรียนรู้ไว้ในสมุด

ช่วง 7 ปีแรก เด็กๆ จะเรียนรู้ผ่านการกระทำและการเลียนแบบ ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ผ่านสมองหรือการคิด การเรียนรู้ผ่านร่างกายในช่วงวัยนี้สำคัญมาก กระทั่งถึงช่วงวัย 7-14 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ผ่านความรู้สึก ศิลปะและดนตรี เพื่อเชื่อมโยงให้รู้จักชีวิตที่งดงาม เด็กเริ่มคิดอ่าน เคลื่อนไหว ร้องเพลง วาดภาพ และเรียนรู้งานหัตถกรรม ซึ่งมีบทบาทสำคัญมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งเด็กผู้ชาย

รูดอร์ฟ สไตเนอร์ ผู้ริเริ่มแนวคิดวอลดอร์ฟจะให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพทุกๆ ด้านของมนุษย์ การศึกษาจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ เรียนจากความเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์แต่ละช่วงวัย

ดังนั้นไม่จำเป็นต้องบังคับให้เด็กเล็กเขียนหนังสือก่อนวัย 7 ปี เพราะช่วงเวลานั้นมนุษย์ตัวเล็กๆ ร่างกายกำลังพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ การเล่นจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเด็กเล็ก

“เด็กเล็กเรียนรู้จากการทำตามแบบครูและแม่ การศึกษาวอลดอร์ฟบอกว่า บางครั้งพ่อแม่สามารถเป็นเสมือนครู สามปีแรกในชั้นอนุบาลไม่สอนเขียนอ่านเลย” ครูอุ้ย- อภิสิรี จรัลชวนะเพท เจ้าของโรงเรียนอนุบาลบ้านรัก เล่าถึงการนำการศึกษาวอลดอร์ฟมาใช้ในโรงเรียนกว่า 10 ปี แม้โรงเรียนอนุบาลของเธอจะผ่านวันเวลามานานกว่า 25 ปีแล้ว

กว่าจะนำแนวทางวอลดอร์ฟมาใช้ ครูอุ้ยต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ เธอบอกว่า ถ้าเข้าใจความเป็นมนุษย์ ก็จะเข้าใจเหตุผลการศึกษาแนวนี้ ซึ่งบอกไว้ชัดเจนว่า เมื่อเด็กฟันน้ำนมหัก ฟันแท้ขึ้น ก็เริ่มเรียนได้เลย

"ในช่วงอนุบาล ต้องมีครูอนุบาลที่เข้าใจเด็กจริงๆ ครูก็เหมือนแม่ที่สอนเด็ก โรงเรียนจึงหน้าตาเหมือนบ้าน”

การพัฒนาเด็กเล็กเป็นช่วงวัยที่สำคัญและไม่ควรมองข้าม ครูอุ้ยอธิบายต่อว่า แนวทางการศึกษาทั่วไปไม่ได้บอกว่า ถ้าให้การศึกษาผิดๆ อะไรจะเกิดขึ้น แต่การศึกษาแนวนี้เตือนพ่อแม่ชัดเจนว่า ถ้าให้มากไปหรือผิดวิธีจะเป็นอันตรายกับเด็กในอนาคต ดังนั้นพ่อแม่และครูต้องรู้ว่า เรื่องใดเป็นการเรียนรู้ที่เหมาะสม

“ทำไมผู้ใหญ่ต้องจับเด็กอนุบาลแต่งหน้าแต่งตาขึ้นเวทีแสดง แนวคิดนี้ต่างจากวอลดอร์ฟ ถ้าเป็นการแสดงพ่อแม่จะเข้ามามีบทบาท บางครั้งคุณแม่รำละคร คุณครูรำไทย เด็กเล็กๆ ก็ไต่ไปไต่มาอยู่กับพ่อแม่และครู เป็นชุมชนที่ทำงานร่วมกัน โรงเรียนของเรามีคณะละครหุ่นของผู้ปกครอง เด็กๆ ได้เห็นสิ่งที่ผู้ใหญ่ทำให้ดู”

แต่ละช่วงวัยต้องพัฒนาให้เหมาะสม วัย 14-21 ปีจะเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดในวิชาการต่างๆ เชื่อมโยงกับสังคมและการปฏิบัติ โดยไม่ทิ้งเรื่องศิลปะ ดนตรีและหัตถกรรม ซึ่งเติมเต็มบางอย่างให้เด็กๆ

“การพัฒนาตามแนวทางนี้ เพื่อให้เด็กตระหนักรู้ว่า เขาเป็นใคร ทำอะไรได้บ้าง เป็นสภาวะเพื่อให้รู้จักตัวเอง ไม่ใช่แค่รู้ว่า ตัวเองชอบหรืออยากเป็นอะไร แต่ต้องรู้ศักยภาพของตัวเอง"

การเรียนรู้ศักยภาพของตัวเองในความหมายของหมอพร ถูกอธิบายเพิ่มเติมว่า ในระบบการศึกษาวอลดอร์ฟ เด็กๆ จะถูกสอนให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง และพัฒนาตามวุฒิภาวะ

“หลายคนที่มาดูงานที่นี่ ต่างเห็นว่าเด็กปัญโญทัยมีความเยาว์วัยสดใสแบบเด็กๆ แต่มีความรับผิดชอบสมวัย ต่างจากเด็กไทยส่วนใหญ่มีบางเรื่องทำให้เขาแก่เกินวัย แต่ความรับผิดชอบมีไม่มาก”

เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงมัธยม หมอพรบอกว่า พวกเขาจะตั้งคำถามกับโลกว่า เขาจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกได้อย่างไร

“เราไม่มีการวัดผลจากการสอบ แต่มีการวัดผลการเรียนรู้ตลอดเวลา เรารู้ว่า เด็กเป็นอย่างไร จะช่วยเขาแก้ปัญหาได้อย่างไร”

โจทย์นี้มีคำตอบ

“เด็กๆ จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ไหม และเข้ากับสังคมอย่างกลมกลืนหรือไม่“ คำถามยอดฮิตที่ผู้ปกครองและคนในสังคมซักถามหมอพรอยู่เรื่อยๆ

หากค่อยๆ ทำความเข้าใจระบบการศึกษาวอลดอร์ฟ ก็จะคลายความสงสัย ช่วงแรกที่เริ่มทำโรงเรียนแนวนี้ หมอพรต้องตอบคำถามครั้งแล้วครั้งเล่า จนปัจจุบันผู้ปกครองเริ่มเข้าใจปรัชญาการศึกษา

“คนที่พูดเรื่องนี้ได้ดีที่สุดคือ พ่อแม่เด็ก พวกเขาได้เห็นคุณภาพในตัวเด็ก เด็กมีความรู้ ความสามารถ ความตระหนักรู้ในตัวเอง แรกๆ ผมบอกผู้ปกครองว่า เด็กอาจไม่เป็นอย่างที่คุณคิด จะเป็นตามแนวทางนี้ ถ้าคุณคิดว่า ใช่...แนวทางที่คุณต้องการ ก็ส่งลูกมาเรียน" หมอพร บอกถึงการศึกษาที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์

“ถ้าการศึกษาแนวนี้ทำง่ายๆ ผมคงไม่ทำ เมื่อทำยากก็เหมือนได้ใบประกาศ เพราะได้ทำสมศักดิ์ศรีแล้ว ผมเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่มุ่งมั่นทำสิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคม”

หมอพร บอกอีกว่า ถ้าตอบโจทย์ที่ตั้งไว้ไม่ได้ โรงเรียนในปัจจุบันก็จะเปลี่ยนแนวทาง แต่สิ่งที่เห็น ยังคงเป็นไปตามแนวทางเดิม

“คำถามเรื่องเด็กจะสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ไหม ข้อนี้ผมอยากบอกว่า แม้เด็กจะไม่เรียนในมหาวิทยาลัย ก็สามารถเอาตัวรอด และมีมหาวิทยาลัยทั้งในประเทศและต่างประเทศยินดีรับเด็กวอลดอร์ฟ พวกเขาจะรู้พลังของตัวเองในทุกๆ ด้าน ทั้งความรู้ ความต้องการของตัวเอง และตระหนักรู้ว่า ความสามารถของเขาทำเพื่อผู้อื่นในสังคมได้อย่างไร” หมอพร ย้ำและบอกว่า

เด็กวอลดอร์ฟได้เรียนรู้การแก้ปัญหาการทำงานด้วยตัวเอง มีหลักสูตรต้องออกไปเรียนนอกสถานที่ เด็กประถมปีที่ 3 -4 ต้องเรียนรู้การทำนาและอยู่ในฟาร์ม บางครั้งพาไปแล่นเรือใบ ใช้ชีวิตกับครูฝึกทหาร

การปรับตัวเป็นเรื่องจำเป็นที่เด็กวอลดอร์ฟต้องเรียนรู้ผ่านเรื่องราวชีวิต หมอพรยกตัวอย่าง เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ครูพาเด็กประถมปีที่ 5 ไปช่วยกันจัดของให้สภากาชาดในเหตุการณ์สึนามิ

ส่วนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต้องทำวิทยานิพนธ์ในเรื่องที่ตัวเองสนใจ และใช้ชีวิตร่วมกับคนในชุมชนเพื่อเรียนรู้ปัญหาสังคม

“ผมให้พวกเขาเขียนบทความการใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน ตอนนี้ออกมาเป็นหนังสือ ‘ความจริงที่โลกเมิน’ บันทึกประสบการณ์ชีวิตของเด็กหนุ่มสาว 12 คน ซึ่งมีการพิมพ์ออกจำหน่าย นำรายได้ทั้งหมดมอบให้องค์กรที่ทำงานเพื่อสังคมโดยไม่หักค่าใช้จ่าย บทเรียนที่เด็กได้เรียนรู้ คุณคิดว่าธรรมดาไหมที่เด็กตั้งคำถามกับสังคม เขาบอกผมว่า แม้เขายังเด็กและไม่รู้จะทำอะไร แต่เพื่อให้สังคมดีขึ้น เขาจะทำแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี” หมอพรเล่าและยกตัวอย่างวิทยานิพนธ์ที่เด็กทำ

"เด็กคนหนึ่งตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็นผู้ควบคุมวงดนตรี นอกจากความรู้ที่มีอยู่และการค้นคว้าหาข้อมูล เขายังติดต่อขอเข้าไปนั่งในชั้นเรียนมหาวิทยาลัย ส่วนเด็กอีกคนคิดว่า ตัวเองไม่ได้ชาญฉลาดนัก แต่มีความสามารถด้านตีกลองก็ทำอัลบัมของตัวเอง บางคนทำหนังสั้น เขาก็ติดต่อไปดูงานกับคนทำหนัง รวมถึงถ่ายทำด้วยตัวเอง และบางคนทำโครงการผลิตก๊าซไบโอดีเซล

ในชั่วโมงเรียนทั่วไป เราให้เด็กทำแผนที่รังวัด เรายืมเครื่องมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา ฯ แล้วส่งแผนที่ที่เด็กทำไปให้คณบดีดู เขาบอกว่า นักศึกษาวิศวะปี 2-3 ก็ทำเหมือนกัน แต่เด็กปัญโญทัยทำได้ดีกว่า “หมอพรเล่า เพื่อจะบอกว่า

“ถ้าไม่ลงมือทำ ความคิดและความฝันก็จะล่องลอย ครูมีหน้าที่แนะนำ เมื่อเด็กลงมือทำ เด็กก็จะรู้ว่า สิ่งที่คิดไว้จะเป็นจริงได้อย่างไร”

ลงมือทำคือหัวใจการเรียน

สิ่งที่ไม่เคยลืมในแนวทางนี้คือ ความงดงามของศิลปะ ไม่ว่าการปั้น การวาดรูป ดนตรี หัตถกรรม และจินตลีลา (ยูริธมี่) ฯลฯ

ศิลปะจะถูกนำมาผสมผสานในทุกวิชา เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา ยกตัวอย่างเรียนคณิตศาสตร์ผ่านการเคลื่อนไหว จังหวะ และการคำนวณ โดยใช้สีสันของศิลปะฝึกการคิดที่งดงาม พวกเขาเรียนภาษาต่างประเทศด้วยวิธีธรรมชาติ โดยเลียนแบบการฟัง พูดผ่านเพลง เกม และนิทาน จากนั้นค่อยๆ เขียนอ่าน นอกจากนี้เด็กทุกคนต้องมีประสบการณ์การทำสิ่งของและเครื่องใช้ด้วยมือตัวเอง

“ผมสอนที่นี่มา 3 ปีแล้ว ผมเคยสอนในโรงเรียนวอลดอร์ฟที่ออสเตรเลีย ตอนนี้สอนให้เด็กทำแปลงสวนครัว” ครูทอม เล่าขณะดัดลวดเหล็ก เพื่อสอนวิชาช่างข้างรั้วโรงเรียน ส่วนวิชาหลักที่เขาสอนคือ ภาษาอังกฤษ รวมถึงการละเล่นในคณะละครสัตว์ที่ครูทอมเรียนมาตั้งแต่เด็ก อาทิ โยนบอลสามใบสลับไปมา

ส่วนมุมนอกห้องเรียน หมอพรกำลังสอนเด็กๆ ปั้นดินอย่างสนุกสนาน และหมอพรถามเด็กคนหนึ่งว่า “เมื่อวานช่วยครูจัดโต๊ะด้วยไหม"

“ช่วยจัดเก้าอี้ครับ ไม่ได้จัดโต๊ะ”

หมอพรได้ยินคำตอบยอกย้อน แม้จะไม่ตั้งใจ แต่แสดงถึงความไม่เคารพครูที่แสดงความห่วงใย จึงให้วิดพื้น 5 ครั้ง เพราะแนวทางนี้นอกจากสอนวิชาความรู้แล้ว ยังต้องสอนให้เด็กๆ ตระหนักรู้เรื่องจิตใจที่ดีงามด้วย

“เคยมีคนถามว่า เด็กวอลดอร์ฟจะกลมกลืนกับสังคมไหม...ถ้าความกลมกลืนหมายถึงเป็นส่วนหนึ่งของฝูง เขาไม่กลมกลืนหรอก แต่เขาจะกลมกลืนในการใช้ชีวิตที่ไม่มีปัญหา เพราะสังคมเรามีสมมติฐานที่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ทำก็คิดว่าเป็นเรื่องถูกต้อง ถ้าอย่างนั้นระบบการศึกษาไทยน่าจะมีปัญหา ยกตัวอย่างเด็กคนหนึ่งเรียนเก่งมาก พอสอบตกสักวิชา ก็ฆ่าตัวตาย นั่นหมายถึงเด็กปรับตัวไม่ได้”

หากถามว่า การศึกษารูปแบบนี้จะมีโอกาสเข้าไปอยู่ในระบบไหม หมอพรบอกว่า คงมีสักวัน เพราะโลกเปลี่ยน ผู้คนก็ต้องเปลี่ยน มีคนจำนวนมากอยากทำแบบนี้ แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร

“ถ้าเราคิดว่าต้องทำก็ทำได้ สิ่งที่พวกเราคิดและทำอาจล้ำสมัย ล้ำความคิดผู้คน เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ได้คิดอย่างนี้ ในโรงเรียนของเรา ผมไม่เคยบอกเด็กว่าต้องเชื่อมั่นในตัวเอง ภารกิจคือการลงมือทำ ก็จะหล่อหลอมความมั่นคงภายใน” หมอพรเล่าและย้ำว่า

“ระบบการศึกษาตอนนี้ไม่ได้สอนให้คิด ไม่ได้ลงมือทำจริงจัง ไม่เน้นคุณค่าที่แท้จริงภายในมนุษย์”

รูดอล์ฟ สไตเนอร์ ต้นแบบแนวคิด

การศึกษาแบบวอลดอร์ฟมาจากแนวคิดของ รูดอล์ฟ สไตเนอร์ เขาคนนี้เกิดในหมู่บ้านเล็กๆ บริเวณพรมแดนฮังการี-โครเอเชีย เมื่อปี ค.ศ.1861

สไตเนอร์ เป็นคนใฝ่รู้ ชอบที่จะเรียนรู้ในทุกๆ เรื่อง ตอนอายุ 14 ปีเขาเริ่มสอนพิเศษให้เด็กและผู้ใหญ่ในวิชาใดก็ตามที่ลูกศิษย์อยากเรียน และเขาสามารถหาเลี้ยงตัวเองด้วยการสอนพิเศษเพียงอย่างเดียวจนถึงอายุ 30 ปี

ที่น่าทึ่งคือ เขาสามารถนำแนวคิดเกี่ยวกับจิตวิญญาณอิสระของมนุษย์มาใช้กับการเรียนรู้ทุกสาขาวิชา โรงเรียนวอลดอร์ฟแห่งแรกตามแนวทางสไตเนอร์อยู่ที่สตุทการ์ท ประเทศเยอรมนี ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1919

สไตเนอร์เชื่อในธรรมชาติของมนุษย์ ตลอดชีวิตของเขาใช้เวลาในการค้นหารายละเอียดปลีกย่อยของความสัมพันธ์ระหว่างจิตวิญญาณกับวัตถุ เพราะเขาเชื่อว่า “วิทยาศาสตร์จะต้องกลายเป็นศิลปะ เมื่อเราต้องการเข้าถึงความลับแห่งการดำรงอยู่ของมนุษย์”

การศึกษาในแนวทางของเขา สอนให้เด็กเป็นนักคิดและศิลปินในตัวเอง เป็นนักจิตวิทยา และนักสรีรวิทยา ผสมผสานอย่างลงตัวในคนคนเดียวทั้งมิติกาย จิตวิญญาณ และจิตใจ

แนวการศึกษาของสไตเนอร์ค่อยๆ ขยายไปยังต่างประเทศ จนเมื่อเขาถึงแก่กรรมเมื่อปี คศ. 1925 โรงเรียนวอลดอร์ฟกลายเป็นโรงเรียนเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป แม้สมัยฮิตเลอร์ปกครองจะสั่งปิดโรงเรียนวอลดอร์ฟเมื่อปี คศ.1938 แต่แนวความคิดยังสืบทอดต่อมาจนถึงปัจจุบัน

90 ปีวอลดอร์ฟในปี 2552 แนวคิดนี้ยังแพร่หลายไปทั่วโลก ปัจจุบันมีโรงเรียนอนุบาลตามแนวนี้กว่า 90 แห่ง โรงเรียนประถมและมัธยมศึกษากว่า 640 แห่ง ศูนย์บำบัดกว่า 300 แห่งและสถาบันฝึกหัดครูกว่า 50 แห่งใน 56 ประเทศ

หลักสูตรวอลดอร์ฟ วิชา Gardening จาก url http://parentschool.wordpress.com/2009/06/24

ฝากให้ศึกษาค่ะ

หลักสูตรชุดนี้แปลโดยกลุ่มพ่อแม่บ้านเรียนมัธยม ที่รวมกลุ่มกันจัดการศึกษาวอลดอร์ฟให้ลูกๆของตนเอง แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษ โดยบางวิชาอาจมีเนื้อหาครบทุกระดับชั้น บางวิชาอาจมีแค่บางช่วงชั้น เนื้อหาและการใช้ภาษารวมถึงคุณภาพในการแปลอาจไม่สมบูรณ์ ผมจะทยอยนำมาลงให้ทีละวิชา และถือเป็นเพียงแค่แนวทางหนึ่งเท่านั้น อาจจะมีหลักสูตรวอลดอร์ฟที่แตกต่างกันไปบ้าง หวังว่าน่าจะพอใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป

Gardening

ชั้นเรียนที่ 6 – 10

กฎเกณฑ์โดยทั่วไป และ จุดหมาย

การทำสวนทำให้เด็กเข้าใจถึงธรรมชาติอันแท้จริงเพราะเขาจะได้รับประสบการณ์ผ่านการกระทำกิจกรรมจากการทำงานและสังเกตการณ์ ตามกาลเวลาที่ล่วงเลยมาเป็นปี ๆ รวมถึงการรายงานผลที่ได้ผ่านการเรียนรู้ การก่อร่างความรู้สึกไปในทิศทางเดียวกับความเป็นไปของธรรมชาติ ผ่านการทำงานร่วมกันในสวนของโรงเรียน เพื่อที่จะ สามารถเข้าถึงพื้นฐานศักยภาพของการพินิจพิจารณา และความรับผิดชอบ

บทเรียนของวิชาทำสวนสำหรับเด็กในวัยเล็กสามารถนำไปสู่ตัวตนที่แท้จริงของการศึกษา เด็ก ๆ จะเริ่มเรียนรู้ตระหนักถึงความเป็นตัวตนในแบบของปัจเจกบุคคลที่ประจักษ์ชัดขึ้นตั้งแต่แรกเริ่ม โดยตระหนักถึงสิ่งที่รบกวนในจิตใจ ที่ขาดซึงความสงบในใจ ถึงเวลาแล้วเมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือจากมือที่มั่นคง เพื่อเปิดไปสู่หนทางตามกำลังความสามารถของพวกเขา ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งของความขะมักเขม้นทำงานในสวนกับธรรมชาติ และครูเองก็จะกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญให้เด็กเห็นถึงขบวนการของขั้นตอนความซับช้อนของการทำงานกับธรรมชาติ

ทุกโรงเรียนอาจจะมีความเป็นได้ของงานทำสวนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่น ขนาด ความหลากหลายของที่ทำสวนในโรงเรียนควรได้รับการดูแลจากบรรทัดฐานของแนวการศึกษาเป็นหลักในที่สุด

พื้นที่อำนวย และส่วนประกอบที่สำคัญดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ คือ

-บ้านในสวนมีพื้นที่สำหรับงานตามหลักวิชา งานปฏิบัติโดยเฉพาะในหน้าฝน ไปจนถึงหน้าหนาว

-โรงเก็บอุปกรณ์ ซึ่งต้องมีหลากหลายตาประเภทของเครื่องมือในการขุด กระถางเพาะชำ รวมถึงไม้สำหรับค้ำยันต้นที่ยังอ่อน เป็นต้น

-ที่เพาะต้นอ่อน สวนต้นไม้ที่ยังอ่อน ต้นไม้ ผลไม้พุ่ม พันธุ์ไม้ดอก รวมถึงหญ้าปูสนาม

-แปลงผักประจำปี สมุนไพร ไม้ดอก สำหรับเก็บเกี่ยว

-ที่สำหรับทำปุ๋ยหมัก

โปรแกรมการทำสวนสามารถทำต่อยอดไปจนที่สุดในช่วงการฝึกฝนงานกสิกรรมในชั้นเรียนที่ ๙ – ๑๐ หรือในช่วงของวิชาการป่าไม้ในชั้นเรียนที่ ๑๐

ความเห็น และ แก่นสารโดยทั่วไป

มาทำความรู้จักกับ และ รู้ถึงคุณค่าของความสามารถเรียนรู้จากการทำสวน การเรียนรู้นี้จะช่วยให้เด็กเคารพในความเชี่ยวชาญของผู้อื่น และยังเรียนรู้ถึงความเชี่อมั่นที่มีต่อตนเองแล้วแปรผันไปสู่การประเมินความสามารถที่เป็นไปได้ในตนได้ดีขึ้น

ความเก่าแก่ของโลก (รุ่นกระเตาะ) - การทำงานร่วมกับโลกจะช่วยได้มากมาย

การทำสวนทำให้ความเข้มข้นของความมั่นคงในช่วงที่ด้านร่างกาย และ จิตใจที่กำลังเปลี่ยนแปลง ความใส่ใจเต็มที่กับงานที่ทำให้แขนขามีพลังมากขึ้น คุณภาพในด้านจิตใจ เช่น ความเคารพ ความอดทน ความรู้สึกขอบคุณ

และ ความประหลาดใจที่ปลุกให้ตื่นขึ้น ด้วยการเล่าเรียนด้วยประสาทสัมผัสในความหมายของความคิดที่ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ มีผลที่จะเกิดขึ้นตามมาในด้านบวกเพื่อที่จะพัฒนาความสามารถของการเรียนรู้อย่างละเอียด ตลอดจนถึง ความสามารถที่จะคิดได้อย่างแจ่มแจ้ง

การวางพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติในความหมายของความรับผิดชอบ

ทางที่ดีที่สุดเพื่อที่จะได้รับผลนี้โดยการให้เด็กได้ดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยง และก็ยังหมายรวมถึงประสบการณ์ตรงจากการได้ดูแลผืนดินเป็นเวลาหลายปี การปรับปรุงดิน เรียนรู้การทำปุ๋ย และการใช้ปุ๋ย หรือเมื่อเวลาที่เพาะพืชและดูแลรักษาเรือนเพาะชำต้นกล้า รวมถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลตนเอง

ความกลมกลืน และ เงียบสงบ ที่พบผ่านการทำงานกับธรรมชาติ

การทำงานที่นำไปสู่ “ ความเหน็ดเหนื่อยเพื่อสุขภาพ ” ( โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชั้นเรียนที่ ๘ – ๙ ) ความงดงามของสวน และ ความเกี่ยวเนื่องอย่างเป็นแบบแผนระหว่างสรรพสิ่งของธรรมชาติ ( ต้นไม้ ดิน สัตว์ อากาศ พระอาทิตย์ เป็นต้น รวมถึงเมื่อผ่านประสบการณ์กฎเกณฑ์ที่เที่ยงตรงของฤดูกาล สามารถนำไปสู่ความประสมกลมกลืนด้านจิตวิญญาณได้ในระยะยาว

ยังมีปัญหาทางการศึกษาบางลักษณะที่สามารถนำไปสู่ความรู้สึกแพร่กระจายของความสิ้นหวัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของยุวชน อาทิ เช่น การเป็นผู้ทำลายล้างของธรรมชาติที่น่าขนลุก การขู่เข็ญที่มีให้เห็นอยู่ทั่วไปบ่อยครั้งที่ผ่านพ้นไปได้ และในช่วงอายุหนึ่งซึ่งเขาตั้งมั่นที่จะหันเหชีวิตไปสู่อนาคตที่ตั้งไว้ บ่อยครั้งที่เขาพบว่าถูกกระทำให้อ่อนเปลี้ยเพลียแรงไปกับรากเหง้าของความรู้สึกละทิ้ง เหล่านี้น่าจะเยียวยาโดยผ่านความเป็นขั้นตอนของความใส่ใจดูแลสวนในโรงเรียน ในฟาร์ม หรือ ในช่วงปฏิบัติการงานป่าไม้ เด็กจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงผ่านสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสวน ฟาร์ม และป่า เพื่อกำหนดความต้องการโดยตรงถึงเด็ก และความสามารถเฉพาะตัวที่มีอยู่เหนี่ยวนำไปในทางสร้างสรรค์สู่ “ ชีวิตใหม่ ”ได้อย่างไร จากจุดนี้เองที่สาระของหลักสูตรสำหรับพวกเขาก็คือ ความต้องการที่จะช่วยเหลือ และ แบ่งปันความรับผิดชอบ ดังนั้นช่วงเวลาของ การฝึกฝนงานเกษตรกรรมจึงมีความสำคัญมากในช่วงเชื่อมต่อของชั้น ๙ หรือ ชั้น ๑๐

คำแนะนำของงานสำหรับกลุ่มอายุที่แตกต่างกันไปไม่มีเกณฑ์ที่ตายตัวนัก ขนาดของพื้นที่สวนในโรงเรียน สถานที่ตั้ง ลักษณะดิน อากาศ และส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ท้องถิ่นอื่นๆ คือ อำนาจชักจูงความสามารถในการที่เราจะทำสวนกับกลุ่มเด็กนักเรียนได้อย่างไร และ ความคิดเกี่ยวกับงานใหม่ ๆ ที่จะนำเข้ามาสู่การเรียนในชั้นที่แตกต่างก็คงเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ ให้เหมือนกับในชีวิตจริง ซึ่งจำเป็นมากสำหรับเด็กที่โตกว่าได้รับผิดชอบงานที่เขาเคยทำมาแล้วในตอนที่ยังเด็ก วนเวียนไปเป็นงานประจำของสวน เช่น การตัดถอนหญ้า ซึ่งเด็กสมควรที่จะได้รับการสอนถึงวิธีการทำ

สถานที่ซึ่งเหมาะสำหรับให้เด็กสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับงานป่าไม้ และงานไม้ ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าเราจะต้องอาศัยอยู่ในชนบทเพื่อที่จะทำสิ่งนี้ แต่สวนสาธารณะในเมืองก็มีต้นไม้ใหญ่ รวมถึงต้นไม้เตี้ย ๆ ให้เลือกมากมาย

คำแนะนำงานที่เหมาะสำหรับชั้น ๖

เพื่อที่จะทราบ และ ปฏิบัติกิจกรรมพื้นฐาน ดังเช่น

การร่อนดิน และ การหมักปุ๋ย

การเตรียมที่สำหรับเพาะชำ

การขุดพรวนดินด้วยจอบ และ เสียม

การตัดหญ้าด้วยเคียว

การจัดช่อดอกไม้ หรือ พุ่มพืชสมุนไพร

การจัดเก็บหญ้าเป็นแผ่นตามขนาดที่เหมาะสม

พื้นที่งานไม้

การเก็บสะสมเมล็ดพันธุ์พืช และ เพาะเมล็ด

งานคัดเลือกพันธุ์ไม้และเพาะเมล็ด

ปุ๋ยหมักพิเศษ

คัดแยกเมล็ดพันธุ์

ในชั้นที่ ๗ อาจเพิ่มตังนี้

การเพาะพันธุ์เมล็ดพืชที่ต้องการ การดูแลเป็นพิเศษ คัดเลือกเมล็ดที่งอกแล้ว และ ปลูกในกระถาง

ทำ และ ขยายเชื้อปุ๋ยหมัก

ผสมเมล็ดพันธุ์พืช และ บรรจุในภาชนะใส่ปุ๋ย

เรียนรู้เกี่ยวกับการผสมของดิน และ การขุด

หาความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของธรณีวิทยาของดินที่อยู่ใต้ลงไปในสวน

ทำที่สำหรับเพาะต้นอ่อนใหม่ ในแนวของสวน โดยเครื่องเจาะ คราด

เก็บเกี่ยว ทำความสะอาดพืชผักให้พร้อมออกวางตลาด

ทำการตลาดพืชผักในสวน และ ทำบัญชี

เก็บเกี่ยวไม้พันธุ์อ่อน และ ต้นอ่อนของชา ตระเตรียมให้ถูกต้อง

ทำพวงหรีดตามเทศกาล

ทำฟางหญ้า และ พรมจากหญ้า

พื้นที่งานไม้

ปลูกต้นไม้

ถอนหญ้า และ บำรุงรักษา เมล็ด และหน่อของต้นไม้

ตัดเล็มต้นไม้ โดยการโค่น

งานที่ทำจากต้นไม้สด ทำเป็นรั้ว และ ที่แขวนอุปกรณ์

ในชั้น ๘ อาจรวมถึง

การทำสวน

งานทำสวนโดยทั่วไปที่ต้องการความชำนาญ อดทน และ ความแข็งแรงของร่างกาย

การตัดหญ้าด้วยที่ตัดหญ้ารูปโค้ง และ ทำหญ้าแห้ง

การซ่อมแซมเครื่องมือ และ อาคารต่าง ๆ

การผลิตอาหารจากผลิตผลที่ปลูก ( ผักดอง ผลไม้กวน เกลือสมุนไพร แยม – โดยการใช้ขี้ผึ้งถ้ามีการเก็บรังผึ้ง )

การเรียนเกี่ยวกับการเพาะต้นไม้ และเตรียมดินตามที่ต้องการ การปลูกต้นไม้หมุนเวียนแบบง่าย ๆ เป็นระยะ ๆ และ ข้อดี ข้อเสีย

พื้นที่งานไม้

ก่อตั้ง ดูแลรักษา และเก็บเกี่ยวพืชจำพวกสับสนุ่นสำหรับทำกระถางเพาะชำ

ตัดต้นเฮเซลนัททำฟืน

เผาถ่าน

ดัดแปลงลำไม้ ตัดปลายทำเก้าอี้ตอไม้ หรือ บันไดลิง

ในชั้น ๙ ซึ่งโดยปกติแล้วมีชั่วโมงหลักของวิชาการทำสวนที่ยาวนานขึ้น เด็กนักเรียนเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของสวนโดยกว้าง การทำทางเดินเท้า ขั้นบันได และ รั้ว สระน้ำ การนำน้ำมาหมุนเวียนใช้ในระบบรีไซเคิล

เทคนิคในการแพร่พันธุ์ทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ

การดูแลไม้ผลพันธุ์พุ่ม ต้นไม้ยืนต้นให้ผล ไม้ประดับพันธุ์เล็ก และการเล็มกิ่ง

ในชั้นเรียนที่ ๑๐

เด็กได้เรียนรู้ถึงความพิศวงของการตอน และทาบกิ่ง (แนะนำโดยสไตน์เนอร์ ) ซึ่งเป็นหัวข้อที่จัดสรรการเรียนได้มากในด้านลึก การจัดเวลาในด้านอื่นให้น้อยลง ซึ่งขึ้นอยู่กับเวลาที่มีมากหรือน้อย

ในชั้นเรียนที่สูงขึ้นไป การศึกษาด้านสภาวะแวดล้อม และ ระบบนิเวศวิทยาจะเกี่ยวเนื่องกันในวิชาการทำสวน

ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรที่มีในโรงเรียน ซึ่งมักจะอยู่ในลู่ทางของสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมตามความเป็นจริง และ แผนการทางภูมิทัศน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับวงจรชีวิตของต้นไม้ เมื่อได้ตระเตรียมท่อนไม้สำหรับช่างไม้ และ วิชาช่างไม้ การจัดการกับการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ และ บ่อน้ำ สามารถทำได้ในอัตราส่วนที่เล็กลง ในที่นี้การสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ มีส่วนสำคัญมาก สิ่งเหล่านี้สามารถนำไปสู่โครงการที่แยกย่อยออกไปในทางปฏิบัติ เช่น ด้านวิทยาศาสตร์ หรือ ศิลปะทางธรรมชาติ

ในส่วนที่จะกล่าวถึงต่อไป แนวทางเฉพาะของการปฏิบัติตามแบบฉบับของวอร์ดอฟท์ที่ได้อธิบายไว้แล้ว ดังนั้นเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า นวัตกรรม และ ความหลากหลายที่มีมากขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวทางเช่นตัวอย่างที่จะกล่าวต่อไป

จุดประสงค์และใจความโดยทั่วไป

ขั้นตอนความสำคัญทั้งหมดจากการสำรวจที่ดินเพื่อการร่างแผนที่จะครอบคลุมด้วยการปฏิบัติ นักเรียน(เด็ก) ได้ความคิดจากวิชาสามัญในแต่ละวันที่จัดขึ้น และเรียนรู้ความสำคัญของการสำรวจขั้นพื้นฐาน เช่นการก่อสร้างได้ที่สามารถที่จะวางแผนได้ เด็กเรียนรู้ที่จะเลือกวิชาเรียนเองตามความจำเป็นเพื่อจุดมุ่งหมายของงานที่ได้ถูกจัดตั้งขึ้น วิธีการที่ใช้ในการวัดและเครื่องมือที่ใช้ในการวัด ความใส่ใจ ความอดทน การวิเคราะห์ การประเมินผลตนเอง เด็ก ๆ ค้นพบหนทางทั้งหมดของสิ่งที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้น และได้ประจักษ์ความเป็นจริงว่าอะไรคือความหมายของการทำงานด้วยความชัดเจนแม่นยำ

Ÿ การวัดค่าส่วนใหญ่ทำงานกันเป็นกลุ่ม

Ÿ มีการตกลงร่วมกัน โดยขึ้นกับว่าใครจะทำอะไร

Ÿ ทั้งช่องว่างและเวลาอยู่ในส่วนของกระบวนการวัด

Ÿ เด็กกลุ่มที่แยกย่อยต้องมีความระมัดระวังเกี่ยวกับกระบวนการทั้งหมด เพื่อที่จะไม่พลาดจุดสำคัญ เมื่อผลงานของกลุ่มตนได้ถูกนำเสนอ

Ÿ การเขียนแผนผังจำเป็นต้องมีการระมัดระวังและแม่นยำ

Ÿ ความสามารถที่จะให้ภาพแทนความคิดและคิดในมุมกลับที่ชัดเจน

Ÿ แนวความคิดเกี่ยวกับความชัดเจนต้องเปิดกว้างและวิธีการวัดและการเขียนต้องถูกต้อง

Ÿ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับทุกคนและแนวทางที่จะแก้ไขสามารถที่จะถกเถียงและแก้ไขได้โดยง่าย

ช่วงเวลาการสำรวจแบ่งแยกจากทั้งการวางแผนและเน้นหนัก ขึ้นกับสถานที่และความเป็นไปได้ของโรงเรียน ระยะเวลาคือ ๑-๒ สัปดาห์ ถ้ามีเวลาอีก ๑ สัปดาห์จะใช้ในการเตรียมการ และแผนที่จะไม่เขียนที่แหล่งที่ตั้ง แต่จะเพิ่มเติมในบทเรียนหลัง ๆ ระหว่างบทเรียนของปีการศึกษา

หัวข้อวิชาต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันสามารถโยงถึงกันเช่น การสำรวจสายไฟฟ้าแห่งชาติ วิชาการทำแผนที่ การวางแผนทางภูมิศาสตร์และดาราศาสตร์

การป่าไม้

ชั้นเรียนที่ ๑๐

จุดประสงค์ทั่วไปและจุดมุ่งหมาย

สามารถจัดอยู่ในชั่วโมงเรียนของชั้น ๙ หรือชั้น ๑๑ แต่การเน้นความสำคัญอาจต่างกันออกไป เพื่อคุณภาพช่วงเรียนวิชาการป่าไม้จะอยู่ระหว่างวิชาการสำรวจและสังคมศึกษา การสำรวจรวมถึงเทคนิคของความเข้าใจเกี่ยวกับเวลากำเนิดและการเปลี่ยนแปลงของธรณีวิทยาผ่านการวัดค่า ขณะที่การทำงานเพื่อส่วนรวมสัมพันธ์กับความเสียสละเพื่อสิ่งจำเป็นในแต่ละชีวิตของมนุษย์ วิชาการป่าไม้ครอบคลุมจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง

ขอบเขตของวิชานิเวศวิทยาและวิชาป่าไม้ช่วยในการค้นคว้าเกี่ยวกับระบบนิเวศของบริเวณที่ปลูกต้นไม้ ดังนั้นจึงสามารถเข้าใจได้อย่างถูกต้องและการวัดค่าป่าไม้ที่จำเป็นดำเนินไป

กรอบงานของหลักสูตรที่จะกล่าวต่อไปจำเป็นที่จะต้องปรับตามความเป็นไปได้ในท้องถิ่น

ความเห็นและใจความโดยทั่วไป

เด็ก ๆ ต้องการที่จะขยายขอบเขตความรู้ซึ่งรวมถึงการดำรงชีวิตและความจำเป็นของทั้งพืชและสัตว์เพื่อที่จะขยายความเข้าใจของเขาในเรื่องของป่าไม้ในเชิงระบบนิเวศน์ และการที่เด็กได้ฝึกฝนงานในป่า มีประสบการณ์ใกล้ชิดว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นสำหรับป่าไม้

หลักสูตรชุดนี้ถือเป็นเพียงแค่แนวทางหนึ่งเท่านั้น อาจจะมีหลักสูตรวอลดอร์ฟที่แตกต่างกันไปบ้าง ผมจะทยอยนำมาลงให้ทีละวิชา โดยบางวิชาอาจมีเนื้อหาครบทุกระดับชั้น บางวิชาอาจมีแค่บางช่วงชั้น เนื้อหาและการใช้ภาษารวมถึงคุณภาพในการแปลอาจไม่สมบูรณ์ แต่น่าจะพอใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการไปแสวงหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป

แปลโดยกลุ่มพ่อแม่บ้านเรียนมัธยมที่ตั้งใจจัดการศึกษาวอลดอร์ฟให้ลูกๆของตนเอง

นางสาวเนาวรัตน์ เจตดุ

สวัสดีคะ ท่านอาจารย์

หนูต้องขอบคุณอาจารย์สำหรับข้อมูลที่หาให้นะคะ ทำให้มองภาพของการศึกษาวอลดอร์ฟ ได้ชัดเจนขึ้นคะ แต่ที่หนูสังเกตคือเวลาวัดผลหากไม่ทำแบบทดสอบแล้วจะใช้วิธีการใดในการทราบว่านักเรียนพัฒนาขึ้น ดูจากการสังเกตพฤติกรรมอย่างเดียวหรือคะ

ขอบคุณอาจารย์มากคะ

ศน.นฤมล โล่ห์ทองคำ

ลองอ่านดูนะคะ อาจช่วยให้คุณๆและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องการการจัดการศึกษาระดับนี้ เลือกนำการวัดและประเมินผลด้วยวิธีหลากหลาย ตามบริบทของผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นวิทยาทานและเพื่อประโยชน์ของสังคมและประเทศชาติต่อไปค่ะ

การวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัย

การประเมินผลพัฒนาการเด็ก หมายถึง การนำข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการมาสรุป เพื่อตัดสินใจจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กแต่ละด้านเป็นรายบุคคล และจะต้องมีการบันทึกและรวบรวมไว้ ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมแก่เด็ก เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของเด็กแต่ละคนให้ถึงขั้นสูงสุด และใช้รายงานผู้ปกครอง

ความหมายการวัดผล (Measurement)

หมายถึง กระบวนการที่กำหนดตัวเลขเพื่อแสดงปริมาณของพฤติกรรมของนักเรียน หรือการกำหนดตัวเลขให้กับวัตถุหรือเหตุการณ์ต่างๆ อาจเป็นการสังเกต หรือทดสอบพฤติกรรมของบุคคลใด บุคคลหนึ่งแล้วกำหนดตัวเลข หรือคะแนนให้กับสิ่งที่วัดตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ความหมาย การประเมินผล( Assessment)

 หมายถึงกระบวนการพิจารณาตัดสินคุณภาพ หรือคุณลักษณะของพฤติกรรม หรือปริมาณของพฤติกรรมว่า ไปตามจุดมุ่งหมายของการสอนหรือไม่

 โดยใช้กระบวนการหลายรูปแบบรวมถึงเครื่องมือต่าง ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 เช่นแบบทดสอบที่ใช้ในชั้นเรียน และผลงานต่างๆ แบบทดสอบมาตรฐาน การประมาณค่า ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลาย เช่น การทดสอบโดยตรง การสัมภาษณ์ และการสังเกต

สรุป

 การประเมินผลมีความหมายกว้างกว่าการวัดผล และมีความหมายครอบคลุมไปถึงการวัดผลด้วย เพราะการประเมินผลเป็นการบรรยายทั้งคุณภาพและปริมาณ แต่การวัดผลเป็นการบรรยายถึงปริมาณของพฤติกรรมเท่านั้น

การประเมินผลพัฒนาการ

 หมายถึง ความรู้ความเข้าใจของครูที่มีต่อพัฒนาการ การเรียนรู้ ความสนใจและความต้องการของ เด็กแต่ละคน การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่สำคัญและจำเป็นมากในการจัดการเรียนการสอน

จุดมุ่งหมายการประเมินผลพัฒนาการ

๑. อธิบายสภาพพัฒนาการ และความพร้อมในการเรียนของเด็ก

๒. เพื่อหาข้อมูลไปใช้กำหนดแนวทางในการพัฒนาเด็ก

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลพัฒนาการ

๑. การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นเนื่องจากความ ต้องการที่จะเข้าใจพัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็กปฐมวัย

๑.๑ พัฒนาการและความก้าวหน้าของเด็ก ในแต่ละ ช่วงเวลา

๑.๒ ความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงของเด็กเกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

๑.๓ บทบาทและสถานภาพในกลุ่มของเด็ก

๒. ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะมีประโยชน์ในการวางแผนการเรียนการสอนและการสอนและการตัดสินใจต่างๆที่มีผลต่อเด็กปฐมวัย

๓. การประเมินผลเด็กปฐมวัยจะช่วยให้ทราบถึง เด็กซึ่งอาจต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ

๔. การประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีจุดประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเด็กโดยมีการรายงานผลและสื่อสารให้พ่อแม่ ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ การบันทึกข้อมูลอย่างเป็นระบบมีความต่อเนื่องและสม่ำเสมอ และข้อมูลไม่ควรมาจากความคาดหวังของครู หรือข้อสรุปกว้างๆ

หลักการประเมิน

๑. การประเมินผลพัฒนาการเด็กต้องประเมินทุกด้าน

๒. การประเมินผลถือเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง

๓. ผลการประเมินเด็กแต่ละคนควรเก็บเป็นความลับ

๔. การเลือกวิธีการประเมินผลต้องเลือกให้เหมาะสม

๕. การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์

๖. การเปรียบเทียบระดับพัฒนาการเด็กกับเกณฑ์

๗. การเลือกพฤติกรรมที่จะประเมิน

เทคนิคการประเมินพัฒนาการเด็ก

๑. การสังเกตพฤติกรรมเด็ก( Observation )

๒. การสัมภาษณ์ ( Interview )

๓. การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก(Anecdotes )

๔. แฟ้มผลงานเด็ก ( Portfolios )

๕. การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการ(Checklists )

๖. การเขียนบันทึก ( Journal )

๗. การทำสังคมมิติ ( Sociogram )

การสังเกตพฤติกรรมเด็ก(Observation

การสังเกตอาจเกิดขึ้นเป็นกิจวัตประจำวันอย่างไม่เป็นทางการ หรืออาจมีการสังเกตอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นระบบ การสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นเนื่องจาก ในสภาพจริงการจัดชั้นเรียนหนึ่งๆ

องค์ประกอบของการบันทึกการสังเกตพฤติกรรม

๑. การบรรยายเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น คือการบรรยายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่กำลังดำเนินการอยู่อย่างตรงไปตรงมาให้มากที่สุด

๒. ความรู้สึกและความคิดเห็นส่วนตน

๓. การตีความ แปลความตลอดถึงการสรุปพฤติกรรมการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้จากการสังเกต

หลักในการบันทึกการสังเกต

๑. การบันทึกการสังเกตจำเป็นต้องมีการบันทึกสภาวะแวดล้อมและพฤติกรรมต่างๆของเด็กรวมตลอดถึงพฤติกรรมของคนรอบข้างเด็กด้วย

๒.การรายงานการบันทึกการสังเกตต้องมีการรายงาน ตามลำดับก่อนหลัง

๓.การบันทึกการสังเกต ควรบรรยายสิ่งที่เด็กทำได้มากกว่าสิ่งที่เด็กทำไม่ได้

ข้อดีของการบันทึกการสังเกต

๑.เด็กไม่จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการอ่านและเขียน

๒. เด็กจะไม่รู้สึกว่าตนกำลังถูกสังเกต หรือถูกบันทึกข้อมูลอยู่

๓. กิจวัตรประจำวัน หรือตารางเวลาในการเรียน หรือการทำกิจกรรมของเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลง

๔. ช่วยให้ครูได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับพฤติกรรมบางอย่างของเด็ก

๕. เป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนักการศึกษาปฐมวัยว่าเป็นวิธีที่เหมาะสม

สรุป การบันทึกการสังเกต

 บันทึกการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบถือเป็นวิธีการพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่ง

 ในการประเมินผลพัฒนาการเด็กและถ้าผู้สังเกตมีความถี่ถ้วนในการสังเกตมากเท่าไร โอกาสที่ผู้สังเกตจะจัดการเรียนการสอนเพื่อสนองความต้องการของเด็กแต่ละคนก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

ประเภทของการสังเกต

 การสังเกตแบบบรรยาย

 ระเบียนพฤติการณ์ ( Anecdoctal Record ) เป็นการบันทึกพฤติกรรมของเด็กตามที่สังเกตได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยบันทึกหลังจากพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นและเป็นการบันทึกจากความทรงจำ

ข้อสำคัญ ของการสังเกต

 จะต้องบันทึกตามพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจริง โดยไม่แทรกข้อคิดเห็นหรือการประเมินของผู้สังเกต เนื้อหาของบันทึกพฤติกรรมแบบนี้มีส่วนประกอบสำคัญ คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดที่ไหน เมื่อไร มีการพูด หรือการกระทำอะไรเกิดขึ้นบ้าง

ตัวอย่างการบันทึกการสังเกตแบบบรรยาย

 ชื่อเด็ก ....ด.ญ. แก้วใจ รักดี ....... อายุ....4...... ปี วันที่.......10 มิถุนายน 2545..............

 ผู้สังเกต...นาง……………

 เวลา 10.30 น. ในช่วงกิจกรรมกลางแจ้งสังเกตเห็นพฤติกรรมการผลักเพื่อนของด.ญ. แก้วใจ รักดี 3 ครั้ง

 ข้อสรุปของครู : จากการสังเกตพฤติกรรมของด.ญ. แก้วใจ รักดี ในวันนี้ เห็นว่าด.ญ. แก้วใจ รักดี มีพฤติกรรม ................ ครูจะต้องปรึกษาและพูดคุยกับผู้ปกครอง

การบันทึกการสังเกตแบบบรรยาย

 การบันทึกขณะสังเกต ( Rumming Record ) เป็นการบันทึกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยผู้สังเกตเป็นผู้จดบันทึกขณะที่เกิดขึ้นจริง การจดบันทึกแบบนี้ให้ประโยชน์มากในแง่ที่สามารถสะท้อนให้รู้พฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กอย่างละเอียด ชัดเจน

ตัวอย่างการบันทึกการสังเกตแบบบรรยาย

 ชื่อเด็ก : ด.ช.วริศ วรคุณ อายุ 3 ปี วันที่ 2 มิถุนายน 2546.

 ผู้สังเกต : นางบังอร บัวศรี สถานที่ ห้องเรียน เวลา 09.30 น. พฤติกรรมที่สังเกต

 วริศนั่งกับกฤษที่โต๊ะปั้นแป้งโด วริศนำแป้งมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว แล้วคลึงเป็นแผ่น สามารถตัดออกมาเป็นวงกลมตามที่ต้องการได้โดยการกดครั้งเดียว และใช้นิ้วมือหยิบเศษแป้งที่อยู่นอกวงกลมนั้นออก

 ข้อคิดเห็นวริศมีกล้ามเนื้อเล็กที่แข็งแรง และสามารถใช้มือทั้งสองทำงานประสานสัมพันธ์กันในการปั้น วริศมีสมาธิดี ให้ความสนใจในกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้พูดคุยจนงานเสร็จ

การสัมภาษณ์ ( Interview )

การสัมภาษณ์อาจเกิดขึ้นระหว่างครูกับเด็ก หรือระหว่างครูกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวเด็ก การสัมภาษณ์ต่างจากการสังเกต คือ การสัมภาษณ์เปิดโอกาสให้มีการซักถามในสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์ต้องการทราบ

หลักในการสัมภาษณ์

๑. การกำหนดจุดมุ่งหมายและวางแผนการสัมภาษณ์

๒. เตรียมตัวและเตรียมเครื่องมือ

๓. ผู้สัมภาษณ์ควรเป็นผู้ฟังที่ดี

๔. ขั้นยุติการสัมภาษณ์

ประเภทของการสัมภาษณ์

๑. การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ( Structured Interviews ) ผู้สัมภาษณ์จะต้องเตรียมคำถามที่จะถามไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นการสะดวกต่อผู้สัมภาษณ์

๒. การสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง หรือไม่เป็นทางการ ( Unstructured หรือ Informal Interviews )

เป็นวิธีการที่ใช้มากในการสัมภาษณ์เด็กเล็ก เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมหลังจากที่มีการสังเกตเด็กอย่างเป็นระบบแล้ว ครูอาจเตรียมหัวข้อที่ต้องการคุยหรือสนทนากับเด็กไว้อย่างคร่าวๆ แต่ไม่ได้จดคำถามให้เด็กตอบทีละข้อเหมือนการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ครูอาจซักถามหรือคุยกับเด็กในเรื่องที่ครอบคลุมหัวข้อที่ครูเตรียมไว้ การสัมภาษณ์แบบนี้ผู้สัมภาษณ์ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในการถามคำถามและการตอบสนองต่อคำตอบของเด็ก ในขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์จะต้องเป็นผู้ฟังที่ดี มีการกำหนดจุดมุ่งหมาย หรือวางแผนการสัมภาษณ์มาก่อน และสามารถกระตุ้นหรือถามคำถามให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เข้าสู่ประเด็น

ข้อดีของการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง

สัมภาษณ์และผู้ถูกสัมภาษณ์มีอิสระมากขึ้นในการถาม ตอบและช่วยให้ครูรู้จักเด็กในชั้นของตนมากขึ้น มีโอกาสพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ เด็กบางคนที่ขี้อายหรือพูดน้อยในชั้นเรียน อาจจะช่างพูดมากขึ้นเมื่อมีโอกาสสนทนา พูดคุยกับครูสองต่อสอง ช่วยให้ครูได้ภาพรวมของเด็กมากขึ้น และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างควรใช้ร่วมกับเครื่องมือประเมินผลชนิดอื่นๆ

ข้อจำกัดของการประเมินผลแบบใช้วิธีการสัมภาษณ์

๑. คำถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์

๒. จำนวนเวลาที่ใช้ในการตอบคำถาม

๓. ความไว้วางใจและความคุ้นเคยของผู้ถูกสัมภาษณ์

ที่มีต่อผู้สัมภาษณ์

๔. การตีความและวิเคราะห์ข้อมูล

๓.การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ( Partially Structured Interviews )

นำเอาสองวิธีมารวมกัน

การเขียนบันทึกเกี่ยวกับตัวเด็ก ( Anecdotes

การเขียนเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับตัวเด็ก จากเหตุการณ์ที่ความหมายทั้งกับตัวครูและตัวเด็ก การเลือกเหตุการณ์ที่นำมาเขียนจะบ่งบอกถึงการให้ความสำคัญของครูต่อพฤติกรรมเด็ก และช่วยให้ครูตอบคำถามที่ตนอยากรู้ได้ดีขึ้น

ตัวอย่างการเขียนบันทึกเกี่ยวกับเด็ก

 กิจกรรม :กิจกรรมกลุ่มใหญ่

 บันทึกพฤติกรรมและคำพูด :ครูนั่งที่เก้าอี้ตัวเล็กที่กลางห้อง เด็กๆทั้งหมดนั่งที่พื้นด้านหน้าของครู ครูวางหนังสือนิทานเล่มใหญ่เรื่อง แม่ไก่แดง ไว้บนที่วางหนังสือสำหรับอ่านให้เด็กฟัง

 ครู : วันนี้เราจะอ่านหนังสือด้วยกันนะค่ะ

 วิเคราะห์ :การที่น้องโมได้ร่วมกิจกรรมกลุ่มใหญ่ทำให้น้องโมได้มีประสบการณ์ร่วมกับเพื่อนๆ และครู ได้สร้างความรู้สึกว่าตัวน้องโมเองเป็นส่วนหนึ่งของห้องเรียน ได้เรียนรู้บทบาทของผู้นำและผู้ตาม น้องโมได้เผชิญกับประสบการณ์สำคัญหลายข้อ ได้แก่ การร้องเพลง การรับรู้ความต้องการของเพื่อนๆ การเล่าประสบการณ์ของตนเองและการสนุกกับภาษาด้วยการฟังนิทาน

แฟ้มผลงานเด็ก ( Portfolios

แฟ้มผลงานเด็ก เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บรวบรวมและตีความข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับเด็กเพื่อใช้ในการประเมินผล ดังนั้นแฟ้มผลงานเด็ก ถือเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่มีจุดประสงค์และกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แฟ้มผลงานเด็กช่วยให้ตัวเด็กตระหนักถึงประสบการณ์ ความพยายาม ความก้าวหน้าและความสำเร็จของตนเอง

แฟ้มผลงานเด็กจึงถือเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กที่มีจุดประสงค์และกระทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ แฟ้มผลงานเด็กช่วยให้ตัวเด็กตระหนักถึงประสบการณ์ ความพยายาม ความก้าวหน้าและความสำเร็จของตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการประเมินผลพัฒนาการเด็กและการจัดโปรแกรมการเรียนการสอนต่อไป

ลักษณะของแฟ้มผลงานเด็ก

 ๑. สามารถยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้

 ๒. สามารถรวบรวมพัฒนาการและการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของเด็ก

 ๓. มุ่งเน้นที่ความสามารถ หรือจุดเด่นของเด็ก

 ๔. เอื้อต่อการประเมินผลพัฒนาการแบบต่างๆ

 ๕. เด็กสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกผลงานต่างๆ เข้ามาเก็บในแฟ้ม

๖. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

 ๗.จัดทำขึ้นเพื่อประเมินผลได้อย่างต่อเนื่องมากกว่าที่จะจัดทำเพื่อการประเมินผลที่คงที่

 ๘.จัดขึ้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูล

ประเด็นสำคัญที่เกิดขึ้นในการใช้แฟ้มผลงานเด็ก

 ๑.ผลงานเด็กจำเป็นต้องมีการปรับปรุงดัดแปลงให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

 ๒. การเลือกผลงานเพื่อเก็บรวบรวมใส่ในแฟ้มผลงาน

 ๓. แฟ้มผลงานเป็นการทบทวนสะท้อนความคิด

การทำสังคมมิติ ( Sociogram )

เป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเพื่อประเมินความสัมพันธ์ในกลุ่มและความสัมพันธ์ทางสังคมของเด็กปฐมวัย ทำให้ครูทราบว่าเด็กในชั้นของตนมีความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นอย่างไร การทำสังคมมิติถือเป็นการทำวิจัยแบบหนึ่งที่แสดงให้เห็นรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในกลุ่ม

วิธีการ

 การประเมินแบบสังคมมิติมีวิธีการ ๒ วิธี

 การทายลักษณะ

 การสร้างภาพทางสังคม

การเขียนบันทึก ( Journal )

 เป็นการบันทึกประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน ในบางครั้งการเขียนบันทึกอาจเน้นเฉพาะ

 เด็กรายที่ต้องการศึกษา หรือเฉพาะศูนย์การเรียนหนึ่งๆ การเขียนบันทึกจะไม่เป็นทางการเท่ากับ

 การสังเกตพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ ในการบันทึกประกอบด้วยเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับเด็กการสังเกตพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ ในการบันทึกประกอบด้วยเรื่องราวสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก

 ในชั้นเรียน

ข้อดีของการเขียนบันทึก

 1. การเขียนบันทึกช่วยให้ครูมีโอกาสสะท้อนความคิดและวิเคราะห์การสอนของตนเอง ซึ่งจะส่งผลให้ครูตระหนักในหลักสูตรและการสอนของตนเอง

 2. การเขียนบันทึกช่วยให้ครูทราบและรับรู้เรื่องราวของเด็กเป็นรายบุคคล ทำให้ครูเข้าใจเด็กที่สอนมากขึ้น

3. ครูทราบรายละเอียดและเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากขึ้น

ข้อจำกัด

 ต้องใช้เวลาในการเขียนบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งบางครั้งครู ไม่มีเวลาในการบันทึก

การใช้แบบทดสอบ ( Test )

การใช้แบบทดสอบเป็นการทดสอบเพื่อต้องการทราบความรู้สึกของเด็กปฐมวัยโดยการสร้างสถานการณ์ ( รูปภาพ ) มาถาม แล้วให้เด็กตอบโดยเลือกรูปที่แสดงอารมณ์ต่างๆ กันทั้งนี้เพื่อประเมินความรู้สึกนึกคิดของเด็กที่มีต่อเหตุการณ์ต่างๆ เช่น แบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านภาษา แบบทดสอบประเมินพัฒนาการด้านสติปัญญา แบบทดสอบประเมินด้านการสังคมแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

เกณฑ์การเลือกแบบทดสอบ

๑. ความจำเป็นของการใช้แบบทดสอบ

๒. ลักษณะข้อมูลที่ต้องการ

๓. ความเชื่อถือได้ ( Reliability ) และความเที่ยงตรง ( Validity )

ของแบบทดสอบ

๔. ความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก

๕. ความเหมาะสมและความสะดวกที่จะนำไปใช้

ประเภทของแบบทดสอบ

แบบทดสอบในระดับปฐมวัยแบ่ง ออกเป็น ๒ แบบ

๑.แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น ( Teacher - made )

๒. แบบทดสอบมาตรฐาน ( Standardized test )

ข้อพึงตระหนักในการใช้แบบทดสอบกับเด็กปฐมวัย

๑. ถ้าจำเป็นต้องใช้แบบทดสอบกับเด็กปฐมวัย ครูจำเป็นต้องทราบจุดประสงค์ของการใช้แบบทดสอบนั้นๆ

๒. ครูต้องพิจารณาว่าแบบทดสอบที่ตนเลือกใช้ มีความเชื่อถือได้( Reliability ) และความเที่ยง ( Validity )

๓. ครูต้องไม่ใช้แบบทดสอบเพียงอย่างเดียวเป็นเครื่องมือในการประเมินผลพัฒนาการเด็กต้องใช้เครื่องมืออื่นๆด้วย

๔. ครูต้องตระหนักว่าแบบทดสอบแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตรในชั้นเรียนของตนได้

๕. กระบวนการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบเพียงอย่างเดียว

๖. ความรับผิดชอบประการหนึ่งของครูและผู้บริหารโรงเรียน คือการให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการสอน และการตีความผลของการสอบ

การใช้แบบบันทึกการประเมินผลพัฒนาการ ( Checklists )

เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้ครูเข้าใจพฤติกรรมเด็กได้ดีขึ้น การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการนั้นครูประจำชั้นจะต้องตั้งวัตถุประสงค์ว่าต้องการจะศึกษาอะไร หลังจากนั้นนำมาสร้างแบบประเมินผลพัฒนาการโดยอาศัยทฤษฎีพัฒนาการเป็นหลัก

การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการจะได้ผลดีที่สุด ถ้ามีการใช้ควบคู่กับการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างเป็นระบบ การใช้แบบประเมินผลพัฒนาการช่วยประหยัดเวลาครูได้ แต่ถ้าใช้แบบประเมินผลพัฒนาการเพียงอย่างเดียว ครูอาจไม่ทราบถึงรายละเอียดของพฤติกรรม พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก

ข้อควรระมัดระวัง

ครูมีแนวโน้มที่จะเช็คพฤติกรรมที่เกิดขึ้นของเด็กให้อยู่ในช่วงกลางๆ มากกว่าที่จะเป็นช่วงต่ำสุด หรือสูงสุด

สรุป

เทคนิคการประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีวิธีการต่างๆมากมายหลายวิธี และวิธีการประเมินผลที่ดีควรคำนึงถึงความสนใจของเด็กเป็นสำคัญ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก และเป็นส่วนหนึ่งของโปแกรมการเรียนการสอน ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็ก และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันของเด็ก

ขอบคุณมากคะ หนูได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องของการประเมิน แสดงว่า การศึกษาตามหลักสูตรวอลดอร์ฟ ก็ใช้หลักการเหมือนกับหลักสูตรของอนุบาลทั่วไปใช่ไหมคะ ซึ่งแตกต่างกับไฮสโคปซึ่งได้สร้างเครื่องมือวัดโดยเฉพาะคือ เครื่องมือโปรแกรมกับแบบสังเกตพฤติกรรม COR ซึ่งตอนแรกหนูคิดว่าวอลดอร์ฟ ก็เน้นการศึกษาพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก และเน้นการลงมือปฏิบัติของนักเรียน หากอาจารย์ไขข้อข้องใจได้หนูขอขอบพระองค์มา ณ ที่นี้คะ

ขอตัวอย่างแผนการสอนไฮสโคป แผนคะ

ขอตัวอย่างแผนการสอนไฮสโคป กิจกรรมสร้างสรรค์ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท