เลี้ยงโคแบบพอเพียง


โคคือเงินออม ความสมบูรณ์ของโคคือกำไร ลูกโคคือดอกเบี้ย มูลโคคือเงินปันผล

การปลูกพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้ง

            ข้อจำกัดของเกษตรกรรายย่อย หรือชาวบ้านทั่วไปที่เลี้ยงโคในปัจจุบันคือ การมีพื้นที่ถือครองจำกัดและสภาพพื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงสัตว์ ดังนั้นเกษตรกรควรใช้การจัดการพื้นที่ให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงโคให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  โดยหันมาใช้พื้นทีปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อเปลี่ยนพืชอาหารสัตว์ให้เป็นเนื้อโคคุณภาพดี

            หลักการของการจัดพื้นที่เพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์และปลูกหญ้านั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง เช่น ขนาดของพื้นที่ คุณภาพดิน ปริมาณน้ำ  ปัจจัยเหล่านี้ควรจัดการให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ของตัวเอง เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่สูงสุด และมีอายุการใช้งานหรือใช้ประโยชน์นานที่สุด เพราะมีผลต่อการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์และการเลี้ยงโคโดยตรง 

            การปลูกพืชอาหารสัตว์นั้นควรปลูกผสมผสาระหว่าง การทำแปลงหญ้า การปลูกพืชตระกูลถั่ว การปลูกไม้ยืนต้นที่ใช้ใบเป็นอาหารโคได้ควบคู่กันไป

           ถ้าเกษตรกรมีพื้นที่ในเขตชลประทานก็สามารถจัดการเป็นแปลงปลูกหญ้าประณีตได้ เพราะสามารถให้ปุ๋ยให้น้ำได้ตลอดปี ผลผลิตที่ได้จะสูงและเพียงพอแก่การเลี้ยงโคได้

           ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ โดยเพาะในภาคอีสานเราที่จะขาดแคลนน้ำมากในฤดูแล้ง ควรจะเลือกปลูกพืชอาหารสัตว์ พืชตระกูลถั่ว พืชพื้นเมืองที่ทนแล้ง และควรปลูกไม้ยืนต้นที่สามารถใช้ใบเป็นอาหารโคและให้ประโยชน์ใช้สอยแก่คนได้ด้วย

            หากเกษตรกรมีพื้นที่เพียงพอที่จะขุดบ่อสำหรับกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการเพราะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้เป็นอาหารโค

           อย่างไรก็ตามการปลูกพืชอาหารสัตว์ในฤดูแล้งนั้น เกษตรกรจะต้องจัดการวางแผนปลูกให้ผสมผสานหลากหลาย โดยเฉพาะในช่วงแรกนั้นไม้ยืนต้นที่ใช้ใบเป็นอาหารโคนั้นอาจจะยังไม่ใหผลผลิต เนื่องจากมีทั้งไม้โตเร็วและไม่โตช้า ก็สามารถพืชตระกูลถั่ว และพืชผักชนิดต่าง ๆ ที่ให้ประโยชน์ทั้งกับคนและโค เช่น ถั่วลิสง ถั่วเขียว ข้าวโพด ผัก  บวบ ฟักทอง ฟักเขียว เนื่องจากพืชผักเหล่านี้เมื่อเราเก็บผลผลิตแล้วจะเหลือใบและลำต้นไว้เป็นอาหารโคได้

           เมื่อเราให้อาหารโคเพียงพอ โคก็จะเจริญเติบโตดี และเราจะได้ประโยชน์จากมูลของโค ไปเป็นปุ๋ยให้กับพืชผักที่ปลูกเป็นการลดรายจ่ายเกี่ยวกับปุ๋ยได้ ดังนั้น การปลูกพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงโคในฤดูแล้งเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะถ้าโคเจริญเติบโตสมบูรณ์ดีก็จะส่งผลต่อรายได้ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคได้ เนื่องจากในฤดูแล้งจะเป็นช่วงที่ตลาดค้าโคจะคึกคัก มีเทศกาลงานบุญมากมายที่ชาวบ้านจะต้องซื้อวัวไปเป็นอาหารเลี้ยงแขก และมีเกษตรกรจะเริ่มจัดหาซื้อโคมาเลี้ยงและทำพันธุ์ใหม่ในฤดูฝนของปีต่อไป ถ้าโคของเกษตรสมบูรณ์ดีราคาของโคที่ขายก็จะสูงตามไปด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 46819เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 11:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท