ความดี ความชอบ คือแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการจริงหรือ?


มนุษย์ ปุถุชน คนทุกคนยังมีกิเลส และตัณหา เข้ากับทฤษฎีของมาสโลว์ คือความต้องการของมนุษย์ มี 5 ระดับ และในระดับที่ 5 นั้นไม่มีมนุษย์ตนใด ที่ประสบความสำเร็จถึงขั้นนี้ เพราะมนุษย์ทุกคนยังไม่เพียงพอกับสิ่งที่ตนเองมีอยู่.....

การปฏิบัติหน้าที่ราชการ มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน และโบนัสประจำปี ซึ่งในแต่ละปีงบประมาณ ก็มีการพิจารณาความดี ความชอบ 2 ครั้ง คือ วันที่ 1 เม.ย.  และวันที่ 1 ต.ค.  แต่ละคนก็จะได้มากน้อย ลดหลั่นกันไปตามกฎเกณฑ์ที่ ก.ค. กำหนด ถ้าปีใหนโชคดีหน่อย ก็จะได้ 2 ขั้น ถ้าไม่ค่อยดีนัก ก็ 1 ขั้น  ....บางคนบอกว่าไม่ต้องได้ 2 ขั้นหรอก ขอ ขั้นครึ่งทุกปี...ก็บานบุรีแล้ว.......

            การพิจารณาความดีความชอบนั้น บางคนบอกว่าเป็นตัวสร้างบารมีให้กับผู้บริหารโรงเรียน   แต่ผมมองว่า น่าจะเป็นตัวสร้างความเกลียดชังให้กับผู้บริหารเองมากกว่า......เพราะ  เค้ก มีก้อนเดียว...แต่คนที่อยากรับประทาน มีเป็นสิบคน   ดังนั้นคนรัก ก็จะมีแค่คนเดียวที่ได้เค้กไปทาน ส่วนอีก เก้าคน ย่อมไม่พึงพอใจ แน่นอน........

             ช่วงนี้เป็นช่วงฤดู พิจารณา ความดีความชอบ วันนี้ ผมจัดทำบัญชี แบบ กท.ต่างๆ เพื่อส่งสำนักงานเขตพิจารณาอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งขั้นตอนของโรงเรียนเริ่มโดยแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา และนำผลการประเมินการปฏิบัติราชการครั้งที่ 2 ระหว่าง 1 เม.ย 49 - 30 ก.ย. 49 ซึ่งเป็นการประเมินตนเองและประเมินเพื่อนร่วมงาน โดยให้คณะกรรมการพิจารณาฯ ได้แก่หัวหน้าช่วงชั้น สรุปในสายช่วงชั้นของตน......ซึ่งก็เป็นที่ยินดีที่ครูทุกคน อยู่ในเกณฑ์ดีมาก 80 % ขึ้นทุกคน เข้าข่ายในการพิจารณาหนึ่งขั้น และหนึ่งขั้นครึ่ง......

             เมื่อทุกคนเข้าข่ายในการพิจารณา  ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ที่จะต้องจัดอันดับความดี  ผสมผสานกับระดับความชอบ ซึ่งส่วนใหญ่ ที่โรงเรียนทำกันเป็นประเพณีเลย ก็คือ ใครที่ได้ 1 ขั้นในรอบแรก  รอบที่สอง ถ้าไม่เลวร้ายเกินไป ก็คงจะได้ 1 ขั้น ตามวิธีปฏิบัติ   หรือบางคนรอบแรกได้ 0.5 ขั้น  ถ้ารอบสองผลการปฏิบัติหน้าที่โดดเด่น มีผลงานระดับเขตฯ ระดับชาติ  ในรอบนี้ก็อาจจะได้ หนึ่งขั้นครึ่ง ก็เป็นไปได้........

              ซึ่งในการพิจารณานั้น มีหลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องเช่น วันลา , จำนวนวันที่ปฏิบัติราชการ, การถูกดำเนินทางวินัย.....ฯลฯ  และ 15 % ของกลุ่มซี  เม็ดเงิน 6% ของเงินเดือนรวมทั้งหมด เป็นต้น.....ตรงเม็ดเงิน 6 % นี้ มีผลกับโรงเรียนที่มีครูเงินเดือนสูงๆ เม็ดเงินที่ได้ก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว....ดังนั้นครูบางคน...ที่เล็งเห็นตรงนี้ ก็จะขอย้ายตัวเอง ไปอยู่โรงเรียนที่มีเม็ดเงินมากๆ เพราะอย่างน้อย ก็ได้ หนึ่งขั้นครึ่งทุกปี ก็แฮปปี้ แน่นอน........

               ครับทั้งหมด ก็คือกระบวนการ สรรหาตัวบุคคล ให้ได้รับรางวัล เค้ก ก้อนนี้ไปครอง.....  ในส่วนตัวของผม ก็สร้างความปวดใจให้กับตัวเองพอสมควร...เพราะอยากจะให้เพื่อนร่วมงานสองขั้นกันทุกคนจริง ๆ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ด้วยกรอบหลักเกณฑ์ อย่างที่บอกไว้เบื้องต้น

               ผมผ่านการดำเนินการในเรื่องดังกล่าว มาสองปีงบประมาณ โชคดี ที่ไม่มีปัญหาอะไร.....แต่ลึกๆ แล้ว ผมเชื่อแน่ว่า....ก็มีบางส่วนที่คิดว่า ไม่ยุติธรรม......  ตรงนี้ผู้บริหารต้องทำใจ.... เพราะผลประโยชน์ตรงนี้...เป็นที่ยึดมั่น และไขว่คว้า ของข้าราชการเกือบทุกคน

                ก็เลยต้องกลับมามองว่า.......รางวัลที่ให้กันแบบนี้....ทำให้เกิดประโยชน์ต่อวงการของราชการส่วนรวม....และทำให้ประสิทธิผลของงานส่วนรวมดีขึ้นหรือไม่?.....หรือสร้างความร้าวฉาน และเพิ่มช่องว่างให้กับผู้บริหาร และครู  .....เป็นการสร้างกิเลส ให้พอกพูน มากกว่าที่จะเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?............น่าจะทำวิจัยในเรื่องนี้กันบ้างนะ........

                 เพื่อน ๆคิดเห็นอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยครับ.......

              

หมายเลขบันทึก: 46790เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2006 02:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

สวัสดีค่ะ ผอ.นิพนธ์  พบกันในวันใหม่ที่ยังไม่ได้นอนใช่ไหมคะ

หัวข้อบันทึกของ ผอ.น่าสนใจมากเลยค่ะ ในความคิดเห็นของดิฉันนั้น  การให้ความดีความชอบของฝ่ายบริหารเป็นไปตามปลายปากกาของท่านผู้บริหาร  มันบั่นทอนสภาพความมั่นคงทางจิตใจของคนในองค์กรเสียส่วนใหญ่  ในแต่ละครั้งที่มีการให้ความดีความชอบนั้น แต่ละองค์กรแตกต่างกัน  แต่ละที่แต่ละอย่าง  จะสะอิดสะเอียนกับเทศกาลนี้เสียเหลือเกิน

บางคนคิดว่าเป็นเกียรติแก่ตนเองที่ได้ความดีความชอบ  แต่นั่นต้องมาจากความยุติธรรมและมีหลักการ

หากมาจากปลายปากกาของฝ่ายบริหารแล้ว  อย่ามีดีกว่า  หาก ผอ.มีความปวดใจมากในการพิจารณา  เพราะท่านมีความยุติธรรมในจิตใจและการกระทำ

แต่ที่ปรากฎอยู่ในปัจจุบัน  บางแห่งพิจารณาเพียงเพื่อการดึงคนที่อยู่ในอาณัติของตน  ไม่ได้มองความสามารถหรือความดีอะไรเลย  ชอบเท่านั้นที่ท่านพิจารณา ท่านชอบท่านก็ให้  พูดมากไม่ได้หรอกค่ะ  ตามใจท่าน

ต้องบอกว่าเป็นอีกคนหนึ่ง ที่รู้สึกเหมือนกับ อ.สิริพร ค่ะ  เพราะเป็นเทศกาลที่ทำให้เพื่อนเกือบจะเสียเพื่อน เคยมีความคิดหลายครั้งแล้ว ว่าระบบการพิจารณาขั้นเงินเดือนเป็นการสร้างหรือบ่อนทำลายทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของหน่วยงาน เพราะในชีวิตที่รับราชการมาเกือบ 15 ปี ก็พอจะมองเห็นจุดบกพร่อง เนื่องจาก ในหน่วยงานพิจารณาความดีความชอบค่อนข้างยุติธรรม แต่เพราะด้วยความยุติธรรม ทำให้คนที่ได้สองขึ้นหรือขั้นครึ่ง ก็คือคนเดิมๆ เกือบทุกปี ในขณะที่คนที่ยังไม่ได้รางวัลนี้ ก็ยังเป็นคนเดิมๆ เหมือนกัน ประเด็นอยู่ที่ว่า "แล้วคนที่ไม่เคยได้รับเลย เขาจะมีกำลังใจทำงานกันได้อย่างไร"  ที่มองอย่างนี้ไม่ใช่เพราะ ไม่เคยได้นะคะ แต่เป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มที่ได้รางวัลนี้กับเขาค่อนข้างบ่อย ยังมีความรู้สึกว่า เหมือนไม่ยุติธรรม ก็อาจจะจริงผลงานสร้างคุณค่าบุคคล แต่สังคมไม่อาจอยู่ได้ด้วยคนเพียงไม่กี่คน ทรัพยากรบุคคลเป็นส่งที่มีคุณค่าที่สุด องค์กรหรือผู้บริหารควรมองตรง "การสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน"  อาจต้องทนทำใจให้กับคนที่เรามองว่า ไม่มีผลงาน เพราะนั่นอาจเป็นจุดเล็กๆ ที่ส่งประกายให้เขาคนนั้นก้าวขึ้นมาเป็นบุคลากรที่มีคุณค่าของหน่วยงานกับเขาได้บ้าง ดีไม๊คะ  นี่เขียนจากประสบการณ์จริงและมุมมองที่ต้องเอามาคิดเสมอๆ เวลาที่หน่วยงานที่ทำงานพิจารณาสองขั้น อยากให้ผู้บริหารมองคนที่เหมือนไม่มีคุณค่าที่ต้องพิจารณาให้สองขั้นบ้างน่ะ "เขาอยู่มาในหน่วยงานของเราได้จนบัดนี้ ก็ต้องมีดีบ้างล่ะนะ"  อยากให้เพื่อนร่วมงานทุกคนมีความสุข แล้วเค้าจะผลิตผลงานให้กับองค์กรด้วยใจค่ะ

การปฏิบัติหน้าที่ราชการนั้น....เราหนีไม่ออกกับลักษณะนิสัย วัฒนธรรม คนไทย ในระบบอุปถัมภ์...... ผมปฏิบัติหน้าที่ราชการมา เกือบ 25 ปี...ถ้าถามว่าประสบความสำเร็จใหม....ก็ยังไม่สามารถตอบได้..เพราะ ประสบความสำเร็จนั้น วัดกันที่ตรงไหน?....ถ้าวัดกันที่ความดีความชอบ........ผมก็ต้องต้องว่าไม่!!!ประสบความสำเร็จ.....เพราะชีวิตการทำงานที่ยาวนานขนาดนี้ ผมได้รับพิจารณา 2 ขั้น เพียง สองครั้งเท่านั้น และผลงานต้องโดดเด่นจริงๆ  .....เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูประวัติการรับราชการของผมได้ ใน http://www.bannaipol.org   (คลิกที่บล็อคเรื่องจากผู้บริหาร / ประเมินตนเอง /ประวัติการรับราชการ )  ปัจจุบันเงินเดือนผม น้อยกว่าเพื่อนๆ รุ่นเดียวกันเกือบทุกคน......แม้จะสอบเปลี่ยนสายงานผู้บริหารมาตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา ผมได้ขั้นเดียวตลอด คำว่า หนึ่งขั้นครึ่ง  ยังว่างเว้นมา เจ็ดปี เพิ่งมาได้ขั้นครึ่งเมื่อปี 47 ครับ ...........ใครที่เห็นประวัติการรับราชการของผม ก็ต้องคิดว่า.....ผมคงร้าย.....ผมคงไม่ทำงาน....ส่วนใหญ่คิดมุมลบครับ......แต่ผมก็ไม่เคยอธิบาย..เพราะมันน่าละอาย....ที่จะพูดเรื่องกิเลส........ส่วนผมเองไม่เคยโวยวาย  และคิดเสมอว่า จังหวะไม่ดี.....โชคไม่ดี...และเรายังทำงานไม่ดีเท่าเพื่อน....คิดแล้วก็สบายใจครับ......ผู้บริหารที่อยู่กับผม รู้สึกสบายใจ เพราะ จะให้เราทำอะไรก็ทำให้ได้...สอนแทน...ครูที่ลาคลอด...ปีหน้าครูขาด...เอกไหนวิชาอะไร  นิพนธ์ สอนได้หมด......แม้แต่จะลดความกดดันในเรื่องขั้น....เราก็สามารถเสียสละให้ได้.....เพราะผมเป็นคนพูดง่าย และรู้จักผู้บริหารดี เลยเอาไว้ที่หลัง....อิ อิ...พอจะได้ ก็เกิดมีครูเกษียณ ต้องให้ครูเกษียณก่อน พออีกปีจะได้....เกิดลาเกินซะอีก....พอจะให้ปีนี้....ผู้บริหารเกษียณ  .....พอย้ายโรงเรียน ก็ต้องไปเริ่มเข้าคิวใหม่...อะไรทำนองเนี้ยะ.....ผมก็เลยไม่โทษใครครับ...คิดแล้วก็มีความสุขดี.........ท้งๆที่เป็นเจ้าของโครงการหลักๆ ของโรงเรียน...พิธีกร...ปะทะกับผู้ปกครองแทนผู้บริหารก็มี...ทำงานให้ศูนย์วิชการเขต...ทำงานกีฬาระดับ กทม.   วิทยากรบรรยายขั้นตอนการเลือกตั้ง ส.ก. สข..สว. และ สส.  ของสำนักงานเขตฯ  .....ซึ่งทั้งหมดไม่ได้เลวร้าย...อะไรเลย...เพียงแต่จังหวะ โอกาส และเป็นคนพูดง่าย ....ก็เท่านั้นเองครับ.....

               ตอนนี้เรามาเป็นผู้บริหารโรงเรียน...ผมเข้าใจความรู้สึกของครูดี...เพราะผมเคยเจ็บปวดมามาก ก็เลยปฏิญาณตนไว้ว่า......ต้องยุติธรรมให้ถึงที่สุด....และให้โอกาส....คนที่ไม่เคยได้รับรางวัลตรงนี้ก่อน...เพื่อฉุดให้เขารู้สึกว่ามีความสุขกับการทำงาน  คืนมาอีกครั้งหนึ่ง.......

               ผมชอบคำว่า สะอิสะเอียนกับเทศกาลดังกล่าว ของครูอ้อย ผมก็รู้สึกอย่างนั้นจริงๆ  และมุมมองการให้โอกาสคน ของ คุณยุพา.....

               แต่อย่างน้อย  ผมก็ยังมีความสุขกับการทำงานครับ......

เรียน คุณยุพา

ดิฉันเคยเป็นทั้งสองอย่างคือ หนึ่งไม่เคยได้รับการพิจารณาความดีความขอบเลยเนื่องจากไม่ได้เป็นคนในพื้นที่  และสองได้รับการพิจารณาความดีความชอบสองขั้นสองปีซ้อน

ดิฉันปวดใจในความสัมพันธ์กับเพื่อนๆที่พูดว่า  เธอเก่งจริงๆ เธอถึงได้สองขั้นบ่อย  เงินเดือนก็ไปเทียบกับคนที่อายุมากๆ และเป็นที่รังเกียจของเพื่อนๆ  จะทำงานอะไรที่ดีๆ ที่มีประโยชน์ เพื่อนก็มองว่าจะเอาสองขั้น

มันทำให้ดิฉันล้ามากในความรู้สึกเช่นนี้

มันทำให้คนที่เคยทำงานแล้วไม่อยากทำงาน  อยากหลีกหนีจากงานเพื่อให้คนที่ไม่เคยได้เขาโดดเด่นขึ้นมา

ทั้งที่  หันมาดูบ้างซิว่า  จะทำงานเพื่ออะไรกันแน่

การพิจารณาความดีความชอบจึงทำให้เสียคนทำงานไป

ดิฉันก็มีความสุขกับการทำงาน  มีผลงานเป็นที่ประจักษ์  ไม่ได้ดีแต่พูดก็แล้วกันค่ะ  ท่าน ผอ.  ขอบคุณค่ะ  สวัสดีค่ะ

โพสต์ที่ 3 ผมเองครับ..ลืมใส่ชื่อและล็อคอิน  

 

สำหรับครูอ้อย....เห็นกระบวนการคิด และผลงานแล้ว...ถ้าผมเป็นผู้มีอำนาจ...นอกจากจะให้ 2 ขั้น ปีเว้นปีแล้ว......ยังจะให้ความรู้สึกที่ดี ทะนุถนอม รักษาบุคลากรที่มีคุณค่าขององค์กรเอาไว้ให้ได้......

สิริพร ไม่ได้ล็อกอิน

เรียน ผอ.นิพนธ์

ดิฉันก็ใฝ่ฝันที่จะได้ ผอ.ที่มีคุณธรรม  ไม่ใช่  คุณ นะ ทำ

เข้ามาในบล็อก 212  เลยไม่ได้ล็อกอินค่ะ

รักษาสุขภาพค่ะ  ถ้าอยู่ใกล้กันจะต้มน้ำสำรองไปฝาก  แก้เจ็บคอและเป็นหวัดค่ะ

ไม่ได้อยาก 2 ขั้นจาก ผอ.นะคะ

จากผู้มีน้ำใจแก่เพื่อร่วมโลก(โรค)ค่ะ

ครูอ้อย

ผอ.นิพนธ์  คะ

  • ไม่ได้สนทนาใน 212 มีบันทึกให้อ่านใหม่อีก  comment ให้ด้วยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
  • ความเก่งของคนทำงานได้ระบุประเภทของคนเก่งขึ้นอีก 1 ประเภทแล้วค่ะ
  • จะเหมือนที่อื่นในประเทศไทย...อีกหรือเปล่า
คิด คิด คิด คิด แปลก ๆ
ทฤษฎี
ความหมายของการจูงใจ

การจูงใจ หมายถึง การนำเอาปัจจัยต่าง ๆ มาเป็นแรงผลักดันให้บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาอย่างมีทิศทาง เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมายที่ต้องการความสำคัญของการจูงใจ

การศึกษาเรื่องของการจูงใจเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้เราได้เข้าใจถึงพฤติกรรม และวิธีการในการสร้างหนทางเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทิศทางที่ต้องการ กระบวนการจูงใจ
1. ความต้องการ (Needs)
2. แรงขับ (Drive)
3. สิ่งล่อใจ (Incentive) หรือ เป้าหมาย (Goal)

ทฤษฎีมานุษยนิยม (Humanistic View of Motivation)
แนวความคิดนี้เป็นของมาสโลว์ (Maslow) ที่ได้อธิบายถึงลำดับความต้องการของมนุษย์ โดยที่ความต้องการจะเป็น ตัวกระตุ้นให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมเพื่อไปสู่ความต้องการนั้น ดังนี้ถ้าเข้าใจความต้องการของมนุษย์ก็สามารถ อธิบายถึงเรื่องแรงจูงใจของมนุษย์ได้เช่นเดียวกันทฤษฎีของมาสโลว์
(Maslow’s Hierachy of Needs)
มาสโลว์กล่าวว่า มนุษย์เราทุกคนต่างพยายาม ดิ้นรนเพื่อต่อสู้สู่จุดมุ่งหมายของตนเอง แต่เนื่องจากการที่มนุษย์มีความแตกต่างกัน ฉะนั้นการที่จะได้รับการตอบสนองถึงขั้นไหนย่อมขึ้นอยู่กับศักยภาพของแต่ละบุคคล
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางร่างกาย
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการทางสังคม
ขั้นที่ 4 ความต้องการการยอมรับนับถือ
ขั้นที่ 5 ความต้องการความสำเร็จ

ทฤษฎีแรงจูงใจ
Herzberg และคณะ พูดถึงเรื่องตัวจูงใจ ซึ่งผลต่อความพอใจในงานที่ทำ ซึ่งหมายถึง ลักษณะของงาน ความก้าวหน้า ความรับผิดชอบ การยกย่อง เป็นต้น และพูดถึงปัจจัยด้านสุขอนามัย หมายถึง สภาพแวดล้อมในการทำงาน ความมั่นคงของงาน เงินเดือน นโยบาย การบังคับบัญชา การบริหารงาน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ ถ้าบุคคลพอใจก็จะมีแรงจูงใจให้เกิดการปฏิบัติ (สุพัตรา, 2536)

ดำรงศักดิ์และประสาน (2532) ได้เขียนเกี่ยวข้องกับเรื่องการจูงใจได้ดังนี้ “ผู้บริหาร หัวหน้างานหรือผู้นำ มีภาระหน้าที่ในการบริหารองค์การมากมาย เช่น การกำหนดนโยบายการวางแผน การสร้าง ขวัญและกำลังใจ หรือการลงโทษ พร้อมกันนี้จะต้องปฏิบัติตน ผู้บริหารจะต้องใช้กลยุทธ์ในการน้อมจิตใจให้ทำงานอย่างสม่ำเสมอ มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน
ผลของการจูงใจ
1.การเปลี่ยนแปลงในทัศนคติ และความเชื่อ
2.การเปลี่ยนแปลงในด้านความคิดเห็นที่แสดงออก
3.การเปลี่ยนแปลงการรับรู้
4.การเปลี่ยนแปลงความตั้งใจ
5.การเปลี่ยนแปลงการกระทำ
6.การเปลี่ยนแปลงอารมณ์และความรู้สึก

******* ศึกษาแล้วเกิดแนวคิด***********

แนวความคิดการให้ความ ดีความชอบ
(เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น " ความดี ความมีผลงาน")

ขั้นตอน/กระบวนการ หาตัวบุคคลที่ได้รับความดีความชอบตัวจริง และประกาศให้ทราบทั่วกัน

1.จัดวางตัวบุคคลทั้งโรงเรียน โดยจัดออกเป็น 3 กลุ่ม คือ
**** บุคคลที่ได้ความดีความชอบในครึ่งปีแรก (เมษายน - กันยายน)
***** บุคคลที่ได้ความดีความชอบในครึ่งปีหลัง (ตุลาคม – มีนาคม )
******.บุคคลที่ยังไม่ได้ความดีความชอบ

2. รวมบุคคล 2 กลุ่ม คือบุคคลที่ยังไม่ได้ความดีความชอบ กับ บุคคลที่ได้ความดีความชอบในครึ่งปีแรก (เมษายน - กันยายน) เมื่อได้จำนวนบุคคลทั้ง 2 กลุ่มแล้ว
3 .จัดลำดับ 1,2,3 ........... โดยการยึดหลักความถี่ ความห่าง เป็นหลัก และถ้าความถี่ห่าง เท่ากัน ก็พิจารณาครั้งสุดท้ายที่ได้ บุคคลใดนานกว่า ก็จัดให้อยู่ลำดับต้น ๆ และถ้าความถี่ห่างเท่ากัน ก็ให้จับสลากใครอยู่ก่อนอยู่หลัง
4. เมื่อได้ตัวจริงที่จะได้รับขั้นพิเศษเรียงลำดับแล้ว ก็ประกาศทราบโดยทั่วกัน
5. มอบหมายงานให้กับผู้ที่จะได้ขั้นพิเศษในแต่ละช่วง ได้ปฏิบัติอย่างโดดเด่น
สมมุติว่า (เมษายน - กันยายน) บุคคลที่จะได้รับขั้นพิเศษจำนวน 7 ท่าน ก็ลำดับที่ 1- 7 ได้แน่นอน และ จัดสำรองลงปฏิบัติด้วย 3-5 คน คือ เลขที่ 8-12 ถ้าตัวจริงปฏิบัติงานไม่ผ่าน 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ดึงตัวสำรองที่ผ่านตามลำดับเข้าทดแทน โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องปฏิบัติงานตามที่รับมอบหมายผ่านเกณฑ์การประเมิน ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
6. งานที่ได้รับมอบหมายมาจาก โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา เช่น
6.1. ฝ่ายวิชาการ ต้องปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้
****.ต้องมีแผนการสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา
**** ปฏิบัติการสอนไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของคาบสอนในภาคเรียนนั้น ๆ
**** ต้องมีงานวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง
***** อื่น ๆ ตามแต่ งาน กลุ่ม ในฝ่ายวิชาการจะมอบหมาย
6.2 ฝ่ายอำนวยการ มอบหมายงานให้ปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้
*****การร่วมงานกิจกรรม สำคัญๆ ในสถานที่ราชการ
*****งานต้อนรับแขกต่าง ๆ
******3 อื่น ……………………………. ฯลฯ
6.3 งานพัฒนาผู้เรียน ต้องปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้
*****.เวร-ยาม ตอนกลาง
*****.เวร- ยาม ตอนกลางคืน
***** คุมแถว เช้า-เย็น
***** เวรประจำวัน (เช้า กลาง วันเย็น)
****** อื่น ๆ
6.4 ฝ่ายวางแผนพัฒนา ต้องปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้
****จำนวนวันลา
****. อื่นๆ .................................
6.5. อื่น ๆ ................................

หมายเหตุ : ผลการประเมิน ต้องผ่าน 80 เปอร์เซ็นต์ (ผู้ประเมิน ผู้บริหารและประธานกลุ่มสาระ) ตัวสำรองที่ลงปฏิบัติงานพร้อมตัวจริงถ้าผ่าน 80 เปอร์เซ็นต์ ก็ไปรอเป็นตัวจริงในช่วงต่อไปโดยไม่ต้องรับงานให้โดดเด่นอีก

ส่วนครูที่ยังไม่อยู่ในคิว ก็ปฏิบัติงานทั่วไปตามที่เคย เคยปฏิบัติ แต่ก็คงปฏิบัติงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายทั่วไป (ไม่ใช่นั่งดูคนอื่นเขาทำงาน)

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. .เป็นการลดภาระฝ่ายบริหารด้วยตัวของระบบ
2. การปฏิบัติงานของบุคลากรได้ตามเป้าหมายที่ฝ่ายบริหารกำหนด
3. เกิดขวัญและกำลังใจปฏิบัติงาน และตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มที่
4. เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
5.ไม่เกิดการฟ้องร้อง
6. ไม่เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้วงการครูเสียหาย
7. ระบบระเบียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้นจากเดิม
8. จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ( อ่านออกเขียนได้ ระเบียบวินัยดีผู้ปกครอง)
9. คณะผู้บริหารจะเป็นที่รักของครูผู้น้อย
10. ครูเกิดการพัฒนาตนเอง เรียนรู้งานต่างๆ ได้ทั่วหน้า(คำว่าทำไม่ ทำไม่เป็นในงานที่ฝ่ายบริหารมอบหมาย คงจะไม่ได้ยินจากครูอีก )
11. การลาออกจากงานประจำน้อยลง (เปลี่ยนม้ากลางลำธาร)สร้างความลำคาญให้กับเพื่อนร่วมงานอย่างมาก ไม่พอใจบันทึกลาออก หาคนใหม่กันให้วุ้น และหนักใจกับคนที่รับงานเพิ่ม )
12. อื่น ๆ .....................................................................................

****** ผอ. / รอง ผอ. จะขาดคนเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษเพราะทุกคนมุ่งทำงานด้วยฝีมือและความสามารถ ******* เพราะใครจะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของตนเอง ใครผิดหวังฟ้อง ผอ. เขต ก็ไม่ได้ เพราะตัวเองทำตัวเอง หลักฐานชัดเจน (ดูแลด้วยทำงานด้วยก็ดีนะครับ แต่ประเภทดูแลแต่ไม่ทำงาน ชอบฟ้องสร้างความแตกแยกในโรงเรียนแย่หน่อยนะ)


สรุป
1. จัดลำดับผู้ที่จะได้การเลื่อนขั้น(โดยจัดลำดับใช้เกณฑ์ความนานเป็นหลัก) เช่น 1,2,3--------คนสุดท้าย
2. ประกาศให้ทุกคนทราบว่าในช่วง เมษา , ตุลา เป็นคิวของใครที่จะได้รับการเลื่อนขั้น แน่นอน
3. มอบหมายงานให้รับผิดชอบเพื่อให้การปฏิบัติงานโดดเด่น กับผู้ที่ได้รับเลื่อนขั้นและผู้สำรองอีก 3 คน (เช่น ลำดับที่ 1-7 ได้แน่นอน ช่วง เมษา ) ก็จัดงานให้ปฏิบัติและสำรองไว้ อีก 3 คน คือ ลำดับ 8-10
4. ในช่วง ตุลา ก็คือลำดับที่ 8-35 ถึง 40 และสำรองไว้อีก 5 คน
5. ก็จัดเป็นวงจรตลอดไปจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง จากคณะผู้บริหาร เช่น ช่วง เมษายนได้ 7 คน 1 2 3 4 5 6 7 สำรอง 8 9 10 ช่วงตุลาคม 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38 39 40 สำรอง 41 42 43 44 45 46 เป็นต้น

********* ****************************** ********************* *********************

ความดีซื้อได้ด้วยเงิน เป็นความจริงหรือ

ความดีความชอบเป็นการพิจารณาที่บั้นทอนจิตใจ 13 ปีแย้ว มีผลงานเหรียญทองระดับภาค ประเทศยังสู้คนที่ใช่ของ ผ.อ ไม่ได้เลย น่าเศร้าใจจัง. อาจเป็นเพราะเราคู่กันแต่ปางชาติไหน แอบร้องเพลง. ไมีให้ก็ไม่ได้ ไมีได้ก็ไม่เอา เท่าไหร่ก็เท่านั้น สู้กันต่อไปด้วยความเป็นครูด้วยใจครูต้องสอนให้นักเรียนเป็นคนมีคุณธรรม หากมีคุณธรรม ทุกอย่างจะตามมามีแต่สิ่งดีงาม. ฉะนั้น ใครที่โตมาแบบขาดคุณธรรมนั้นแสดงว่ายังขาดความซาบซึ้งในคุณธรรม หรือยังไม่เคยจดจำคำสั่งสอนของครูมาแต่เด็ก พูดง่ายคือขาดการอบรมสั่งสอนนั้นเอง

อย่าไปหมดความตั้งใจดีกับงานของเราไปกับคนไม่มีคุณธรรม

สอนเด็กมา 21 ปี แต่ไม่เคยได้รับการพิจารณาความดีความชอบ 2 ขั้นเลย ครูย้ายมาทีหลัง ได้ไปแล้ว 4-5 ครั้ง

ก็ได้แต่ให้เทวดาฟ้าดินสงสาร

ผลงาน ครูหลายคนชื่นชม แต่หนังหมาไม่เข้าตาเจ็ก อย่างที่เขาว่าแหละ

เห็น จ. 18 ทีไร คนนี้ได้อีกแล้ว

ช่วงหลังๆแอบร้องไห้ สงสารตัวเอง เคยคิดว่า ผอ.คนไหนจะเห็นคุณงามความดี ผลงานเยี่ยมของตัวเองบ้าง แล้วให้ 2 ขั้นเป็นรางวัลแห่งความสำเร็จ กำลังรอ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท