หน่วยเสียงวรรณยุกต์


หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย

ใบความรู้ เรื่อง อักษรสามหมู่ (ไตรยางศ์)

ไตรยางศ์  คือ การแบ่งพยัญชนะในภาษาไทยออกเป็น  3  กลุ่มตามคุณสมบัติการผันวรรณยุกต์ โดยจัดพยัญชนะที่ผันด้วยวรรณยุกต์ได้เหมือนกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน  ดังนี้

                                         ก. อักษรกลาง  คือ กลุ่มพยัญชนะที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง
                                             เมื่อเป็นคำเป็นและเป็นกลุ่มพยัญชนะที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้มาก
                                             เสียงที่สุดมี  9  ตัว คือ

                                         ก    จ     ฎ     ฏ     ด     ต     บ     ป     อ

                                         หมายเหตุ  เราอาจจะใช้การจำง่าย ๆ ว่า  ไก่จิกเด็กตายเด็กตายบนปากโอ่ง 

                                                         (เอาเฉพาะตัวพยัญชนะ)

                                         ข. อักษรสูง  มี  11  ตัว  คือ

                                         ข     ฃ     ฉ     ฐ     ถ     ผ     ฝ     ศ     ษ     ส     ห

            หมายเหตุ  เราอาจจะใช้วิธีจำง่าย ๆ ว่า 

                             ไข่ ฃวด ฉิ่ง ฐาน ถุง ผี เฝ้า 3 สอ  หีบ ก็ได้

                                         ค. อักษรต่ำ  มีทั้งหมด  24  ตัวแบ่งเป็น  2  กลุ่มตามลักษณะการผัน                                วรรณยุกต์ คือ

                                             -อักษรต่ำเดียว  คือกลุ่มอักษรต่ำที่ไม่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ  5 เสียง จะต้องใช้ตัว ห และ ตัว อ นำจึงจะสามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้
                                              ครบ 5 เสียงมี  10  ตัว  คือ

                                 ง     ญ  น       ย       ณ      ร        ว        ม       ฬ       ล

            หมายเหตุ  เราอาจจะใช้วิธีจำง่าย ๆ ว่า

                             งู ใหญ่ นอน อยู่ ณ ริม วัด โม ฬี โลก

                                             -อักษรต่ำคู่  คือ  อักษรต่ำที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้ครบ 5 เสียง โดยใช้อักษรสูงประสมในกลุ่มเสียงนั้นด้วย  มี  14  ตัว  คือ

                                         ค     ฅ      ฆ       ช        ซ        ฌ      ท
                                ธ     ฒ     ฑ       พ       ภ       ฟ       ฮ

 

ใบความรู้ เรื่อง คำเป็น  คำตาย

1. คำเป็น  เป็นคำที่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้หลายเสียงกว่า คำตาย คำเป็นมีลักษณะดังต่อไปนี้

                              ก. เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา (ไม่มีตัวสะกด) เช่น

                                    กา  มา  นี้   แก่  ยา  เป็นต้น

                              ข. คำที่มีตัวสะกดในแม่  กง  กน  กม  เกย  และ  เกอว  เช่น

                                    การ  กัน  กาง  กาม  เจียม  เดียว  บ่าย  เป็นต้น

                              ค.  คำที่ประสมด้วยสระเกิน  อำ  ไอ  ใอ  และ  เอา  เช่น

                                    กำ  น้ำ  ใจ  ไว้  เขา  เรา  เป็นต้น

2. คำตาย  คือ คำที่ไม่สามารถผันด้วยวรรณยุกต์ได้มากเสียงเหมือนคำเป็น คำตายมีลักษณะดังต่อไปนี้

                              ก. คำที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก กา (หมายถึงคำที่ไม่มีตัวสะกด)  เช่น

                                    จะ  และ  โต๊ะ  เถอะ  จุ  เป็นต้น

                              ข. คำที่มีตัวสะกดในแม่  กก  กด  และ  กบ  เช่น

                                    นก  กาพย์  เลข  ลาภ  กับ  เป็นต้น

 

 

ตารางการผันวรรณยุกต์

ที่

หน่วยเสียงวรรณยุกต์

รูปที่ใช้

ลักษณะคำ

ตัวอย่างคำ

1.

สามัญ

ไม่มีรูป

อักษรกลาง คำเป็น

กา  ตาล  จาม  โอม

 

 

 

อักษรต่ำ คำเป็น

ตา  มา  นาน

2.

เอก

เอก

อักษรกลาง คำเป็น

ปี่  ก่า  ต่อ

 

 

ไม่มีรูป

อักษรกลาง คำตาย

จับ  ปวด  ตก

 

 

เอก

อักษรสูง คำเป็น

ขี่  ฉิ่ง  ผ่าน

 

 

ไม่มีรูป

อักษรสูง คำตาย

ขับ  ถูก  ผูก 

 

 

เอก

อักษรต่ำเดียวมี ห และ อ นำคำเป็น

อย่า  หมี่  อยู่  หยิ่ง

 

 

ไม่มีรูป

อักษรต่ำเดียวมี ห และ อ นำ คำตาย

หยิบ  หนับ

3. 

โท

โท

อักษรกลางทั้งหมด

อ้าง  ปล้ำ  อ้อม

 

 

โท

อักษรสูงทั้งหมด

ผ้า  ฝ้าย  ห้าม

 

 

เอก

อักษรต่ำ คำเป็น

ย่า  น่า  ง่าย ค่า

 

 

เอก

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงยาว มีตัวสะกด

มาตร  โยก  แคบ   ลูก

4.

ตรี

ตรี

อักษรกลางทั้งหมด

โป๊ะ  จี๊ด 

 

 

โท

อักษรต่ำ คำเป็น

ค้า  ล้ม  น้อง  น้ำ

 

 

ไม่มีรูป

อักษรต่ำ คำตาย สระเสียงสั้น

ซิ  คะ  ลุ  เฟะ

5.

จัตวา

จัตวา

อักษรกลางทั้งหมด

เก๋ง  จ๋า  เต๋า

 

 

ไม่มีรูป

อักษรสูง คำเป็น

ขา  ฉาง  ผี  หู  หา

 

 

ไม่มีรูป

อักษรต่ำเดียว มี ห และ อ นำ

อยาก  หยาม  ไหว

 แบบทดสอบ เรื่อง หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทย

๑.  เพราะเหตุใดหน่วยเสียงวรรณยุกต์จึงถือว่าเป็นหน่วยเสียงหน่วยเสียงหนึ่งในภาษาไทย

                   ก.  เพราะเป็นหน่วยเสียงเฉพาะของภาษาไทย

                   ข.  เพราะวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีหลายหน่วยเสียง

                   ค.  เพราะเรามีเครื่องหมายวรรณยุกต์ในการเขียนด้วย

                   ง.  เพราะวรรณยุกต์ทำให้คำในภาษาไทยเปลี่ยนแปลงได้

๒.  เสียงวรรณยุกต์เกิดขึ้นในตำแหน่งใดของพยางค์

                   ก.  ต้นพยางค์

                   ข.  กลางพยางค์

                   ค.  ท้ายเสียงสระ

                   ง.  ท้ายเสียงพยัญชนะ

๓.  การออกเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมีลักษณะอย่างไร

                   ก.  ลมถูกกักในช่องปาก

                   ข.  กระแสลมผ่านได้สะดวก

                   ค.  สูง ๆ ต่ำ ๆ คล้ายเสียงดนตรี

                   ง.  ออกเสียงพร้อมกับหน่วยเสียงพยัญชนะ

๔.  หน่วยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยมาตรฐานมีกี่หน่วยเสียง

                   ก.  ๔  หน่วยเสียง

                   ข.  ๕  หน่วยเสียง

                   ค.  ๖  หน่วยเสียง

                   ง.  ๗  หน่วยเสียง

 ๕.  นอกจากภาษาไทยแล้วภาษาใดมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ด้วย

                   ก.  จีน

                   ข.  มอญ

                   ค.  เขมร

                   ง.  มลายู

๖.  คำใดออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์สามัญ

                   ก.  ตา

                   ข.  หา

                   ค.  สา

                   ง.  ขา

๗.  คำใดออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์สามัญ

                   ก.  แกม

                   ข.  แขม

                   ค.  แหม

                   ง.  แถม

  ๘.  คำว่า “คู่” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

                   ก.  เอก

                   ข.  โท

                   ค.  ตรี

                   ง.  จัตวา

๙.  คำว่า “จู่” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

                   ก.  เอก

                   ข.  โท

                   ค.  ตรี

                   ง.  จัตวา

๑๐.  คำใดออกเสียงเป็นหน่วยเสียงวรรณยุกต์จัตวา

                   ก.  โอบ

                   ข.  กอด

                   ค.  ผลัก

                   ง.  ไส

 ๑๑.  คำในข้อใดออกเสียงเป็นหน่วยเสียงวรรณยุกต์เอกทุกคำ

                   ก.  ฉ่ำ                             พี่

                   ข.  น่า                             ย่า

                   ค.  ห่า                             เขี่ย

                   ง.  ถี่                                เที่ยว

๑๒.  คำใดมีเสียงวรรณยุกต์เหมือนคำว่า “โลภ”

                   ก.  ฉาบ

                   ข.  เสือก

                   ค.  เสี่ยว

                   ง.  กล้าม

๑๓.  คำใดออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์โท

                   ก.  ฟ้า

                   ข.  ต้อ

                   ค.  ย้ำ

                   ง.  ม้า

๑๔.  คำว่า “โอย” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

                   ก.  สามัญ

                   ข.  เอก

                   ค.  ตรี

                   ง.  จัตวา

จงใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ  ๑๕  ถึง ข้อ  ๒๒

                   ก.  สามัญ

                   ข.  เอก

                   ค.โท

                   ง.  ตรี

                   จ.  จัตวา

๑๕.  คำว่า “อีก” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๑๖.  คำว่า “สรรพ” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๑๗.  คำว่า “เลข” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๑๘.  คำว่า “มัก” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๑๙.  คำว่า “หญิง” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๒๐.  คำว่า “เล็บ” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๒๑.  คำว่า “คะ” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๒๒.  คำว่า “แผน” ออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

๒๓.  คำว่า “คู่” มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำใด

                   ก.  แม้

                   ข.  ง้ำ

                   ค.  น้ำ

                   ง. ผ้า

๒๔.  คำว่า “นะ” มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำใด

                   ก.  จับ

                   ข.  ขับ

                   ค.  งับ

                   ง.   หลับ

๒๕.  คำว่า “พอ” มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำใด

                   ก.  กอ

                   ข.  ขอ

                   ค.  สอ

                   ง.  หงอ

๒๖.  คำว่า “ล่าง” มีเสียงวรรณยุกต์ตรงกับคำใด

                   ก.  น้า

                   ข.  ป้า

                   ค.  ลุง

                   ง.   แม้น

๒๗.  คำว่า “เชิรต์” มีเสียงวรรณยุกต์อรงกับคะไร

                   ก.  เอก

                   ข.  โท

                   ค.  ตรี

                   ง.   จัตวา

 ๒๘.  คำใดออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ “จัตวา”

                   ก.  ทิ

                   ข.  เจ็บ

                   ค.  แล็บ

                   ง.  เต๋า

๒๙.  คำใดออกเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ “จัตวา”

                   ก.  มือ

                   ข.  ตา

                   ค.  หู

                   ง.  คอ

๓๐.  คำว่า “ปัก” มีเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์อะไร

                   ก.  สามัญ

                   ข.  เอก

                   ค.  โท

                   ง.  ตรี

๓๑.  คำในข้อใดมีหน่วยเสียงวรรณยุกต์ตรงกันทุกคำ

                   ก.  ห้า                             ป้า                    น้า

                   ข.  ตู้                                ซิ                      มัด

                   ค.  ด้าม                           ฆ่า                    ฟูก

                   ง.   กรัม                          ติ                      จิตร

๓๒.  คำในข้อใดมีเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ครบห้าเสียง

                   ก.  ฝนตกชุกนะ

                   ข.  อีกสองวันเท่านั้น

                   ค.  ไม่อยากให้เขามา

                   ง.   เขาเป็นพี่น้องกัน

๓๓.  คำในข้อใดมีเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ตรงกับรูปทุกคำ

                   ก.  นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง

                   ข.  จับไม้เรียงเคียวคู่สอง

                   ค.  เหมือนพี่นี้ประคอง

                   ง.  รับขวัญน้องต้องมือเบา

 ๓๔.  คำในข้อใดมีเสียงหน่วยเสียงวรรณยุกต์ต่างไปจากข้ออื่น ๆ

                   ก.  รูป

                   ข.  ตัว

                   ค.  คง

                   ง.   แปลง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 467764เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 09:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รู้ถึงสระต่างๆ

นางสาวปาริชาติ พัฒนศิลป์

ม.5/2 เลขที่15

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท