การพัฒนาพฤติกรรม"สมาธิสั้น"


การพัฒนาพฤติกรรม"สมาธิสั้น"

บทคัดย่อ : การพัฒนาพฤติกรรม"สมาธิสั้น" ของเด็กชายแก๊ง

                     การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการช่วยเหลือตนเอง  ในชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติ ของนักเรียนชั้นปรถมศึกษาปีที่ โดยมีสมมติฐานที่ว่าผลการพัฒนาความสามารถ  ด้านการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน และการอยู่ร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนปกติของเด็กชายแก๊งโดยใช้กิจกรรมการส่งเสริมให้เกิดความรักมุ่งมั่นอดทนในสิ่งที่ทำ และการสร้างจินตนาการเพื่อกระตุ้นแรงจูงใจให้นักเรียนเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามข้อมูล แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบบันทึกพฤติกรรม แบบบันทึกกิจกรรม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลพื้นฐานก่อนการปรับพฤติกรรม และหลังการปรับพฤติกรรมแสดงข้อมูลโดยการใช้ข้อสังเกต การอธิบาย

                     ผลการวิจัย : ระยะที่ 1 พบว่าเด็กชายแก๊งมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น มีความไว้วางใจเพื่อน และไม่มีความกลัว ความกังวลแต่อย่างใด อารมณ์เบิกบานหน้าตาแจ่มใส มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนมากขึ้น

                                          ระยะที่ 2  พบว่าเด็กชายแก๊งพยายามทดลองฝึกฝนทำซ้ำๆ ติดต่อกันหลายครั้งแม้บางครั้งจะไม่ประสบผลสำเร็จแต่ครูก็ชมเชยให้กำลังใจจนสามารถตีลูกโป่งให้ลอยอยู่ได้หลายครั้งหลายนาที

                                          ระยะที่ 3 พบว่าเด็กชายแก๊งได้มีโอกาสแสดงความสามารถได้กำลังใจจากครูและเพื่อน แกีงมีความภาคภูมิใจที่ได้เขียนความดีของตนเองส่งครูอีกถึงแม้ว่ากิจกรรมนี้จะสิ้นสุดไปแล้ว.

                                                            นางชวนพิศ  สุขแย้ม  ผู้วิจัย

หมายเลขบันทึก: 46762เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อ.ชวนพิศคะ..

กะปุ๋มอยากให้อาจารย์ช่วยเล่า...พฤติกรรมหรืออาการ"สมาธิสั้น"ของ ดช.แก๊งสักหน่อยได้ไหมคะว่าเป็นอย่างไรบ้าง...และหลังจากที่ศึกษานั้น..อาการหรือพฤติกรรมที่สมาธิสั้นดีขึ้นอย่างไร..

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

อยากให้อาจารย์ให้คำแนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กที่มีสมาธิสั้นเพราะลูกสาวก็เป็นเหมือนกันเคยพาไปหาคุณหมอมาแล้วและก็ฝึกเองที่บ้านแต่อยากจะได้คำแนะนำจากอาจาร์ยที่มีประสบการณ์ในการฝึกเด็กที่พฤติกรรมเหล่านี้

ขอบคุณคะ

คนเพชรบูรณ์

อยากให้อาจารย์เล่าถึงอาการของน้องเขาให้ฟังหน่อยค่ะ คือจะเอาข้อมูลไปทำรายงาน ต้องการ case study เอาไปเป็นตัวอย่างค่ะ ตอนนี้หาไม่ได้เลย

ขอบคุณค่ะ 

   สวัสดีค่ะ  น้องกระปุ๋ม

         ยินดีมากค่ะที่สอบถามมา พี่ยินดีให้ข้อมูลที่ได้รับจากประสบการณ์ตรง  และจากการศึกษาอีกทั้งหาแนวทางแก้ไขพฤติกรรมของดช.แก๊ง ขณะนี้ดช.แก๊งเข้าใจตนเองมากขึ้นกว่าเดิม ทุก ๆคนที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหา และได้รับการยอมรับจากครูและเพื่อนๆ  เมื่อได้รับกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนา   มีแนวโน้วว่าจะดีขึ้น ขณะนี้ยังคงคอยติดตามดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ ขอบคุณมากที่ให้ความสนใจ.

                                                    ชวนพิศ

ตอบ  เด็กมธ.ค่ะ

           สำหรับ case study ของน้องแก๊ง ยืนดีให้มาศึกษาและดูแนวทางได้ค่ะ แต่เนื้อหาและกรรมวิธีค่อนข้างมากค่ะ หากน้องมีเวลาแวะมาที่โรงเรียนซิคะ อยู่ตลาดพลูแค่นี้เอง จะได้พูดคุยกันในรายละเอียด และจะได้พูดคุยกับน้องแก๊งด้วยค่ะ

                                                          ชวนพิศ

กรณีของผู้ใหญ่ :คือว่าคนข้างๆผมเค้าดู ทีวี ชอบเปลี่ยนช่องบ่อยๆ และบ่อบมาก เข้าใจว่าเป็นหนึ่งในอาการ สมาธิสั้น อาการนี้สามารถถ่ายทอดไปสู่เด็กๆที่นั่งดูทีวีด้วยได้ โดยติดเป็นนิสัยหรือจดจำ จากคนที่ใกล้ชิดที่สุด

เหมือนกับว่าเด็กมีพัฒนาการการใช้ชีวิตจากสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว มากกว่าที่จะคิดเอาเอง ปมนี้อาจต้องเริ่มจากครอบครัว...มากกว่าที่จะเริ่มจากโรงเรียนโรงเรียน

ครูคนแรกคือ พ่อแม่

แต่อย่างไรก็ตามเด็กปกติการสามารถมีอาการเหล่านี้ได้ดังนั้นการวินิจฉัยจะต้องอาศัยเกณฑ์คือ

1. พฤติกรรมเหล่านี้จะต้องเกิดก่อนอายุ 7 ขวบ

2. เป็นติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน

3. พฤติกรรมของเด็กจะต้องรุนแรงและมากกว่าเด็กปกติ

4. และที่สำคัญพฤติกรรมเหล่านี้ต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่งเช่น บ้าน โรงเรียน ที่ทำงาน ที่สาธารณะ

โรคอื่นที่มีลักษณะคล้ายกับเด็กสมาธิสั้น

การที่จะวินิจฉัยว่าเด็กเป็นโรค ADHD จะต้องระวังเพราะหากว่าเป็นโรคนี้แล้วจะต้องให้การรักษาเป็นระยะเวลานานดังนั้นจะต้องแยกโรคที่มีลักษณะใกล้เคียงดังตัวอย่างเช่น เด็กปกติมาตลอดแต่เมื่อพ่อแม่เสียชีวิต เด็กมีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เด็กที่หูชั้นกลางอักเสบจะมีปัญหาการสื่อสารกันทำให้เด็กมีปัญหาความสัมพันธ์ โรคที่มีลักษณะคล้ายกันเช่น

- ความบกพร่องในการเรียนรู้ learning disability

- โรคลมชัก

- มีปัญหาการได้ยิน

- เด็กเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

ผู้ป่วยโรคสมาธิสั้นมักจะพบร่วมกับโรคอะไรบ้าง

ผู้ป่วยที่เป็นโรคสมาธิสั้นมักมีปัญหาทางพฤติกรรม การเรียนรู้ และการเข้าสังคมดังนั้นเด็กบางคนอาจจะมีปัญหาที่พบร่วมกันโรคต่างที่อาจจะพบร่วมกันได้แก่

- มีความบกพร่องในการเรียนรู้

- Tourette's syndrome ผู้ป่วยจะมีการกระตุกของหน้า ร่วมกับการกระพริบตาถี่ๆ

- มีภาวะต้านสังคม เริ่มแรกอาจจะมีการดื้อคำสั่ง ทำร้ายเพื่อเมื่อไม่พอใจ หรือ

 

ผมเคยเขียนบทความเรื่องการจัดการเรียนรู้เด็กสมาธิสั้น ในวาสารวิชากรอยู่ครับ เด็กสมาธิสั้นจะหุนหันพลันแล่น แต่บางทีเขาอาจะเป็นเด็กอัฉริยะได้นะครับหากครูแก้เขาถูกจุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท