เตรียมงานการจัดการความรู้สู่คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรงและสุขภาพชายแดน


เป็นการใช้AIนำเข้าสู่Knowledge Sharing

การจัดการความรู้สู่คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรงและสุขภาพชายแดน

Knowledge Management: Healthy Thais, Healthy Thailand,Border Health

โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์วันที่ 20-22 กันยายน  2549

คณะกรรมการอำนวยการ : นพ. สสจ.ตาก,ผอก. ร.พ.ทุกแห่ง, สาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง, หัวหน้ากลุ่มงาน,ผชชว.,ผชช ส.,จบส.8

คณะกรรมการดำเนินการ : ผชช. ว. CKO, ผชช. ส. ประธานFacilitator, ทีมงานของฝ่ายพัฒน์, ทีมงานของโครงการTUC-GFT, ทีมงานจากโรงพยาบาลบ้านตาก 9 คน, ปรานหรือตัวแทนFacilitatorจากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดตาก

รูปแบบงาน : ตลาดนัดการเรียนรู้ (Tak Learning supermarket) มีการนำเสนองานเด่นทางด้านวัณโรคของทุกอำเภอๆละ 1 บอร์ด, มีการนำเสนองาน/กิจกรรมเด่นทางด้านHealthy Thailandของทั้ง 9 อำเภอๆละ 1 บอร์ด พร้อมทั้งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณกิจ (KM practitioner) จากทุกอำเภอโดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard story telling) และสุนทรียสนทนา (Dialouge) เพื่อถอดบทเรียน รวมทั้งแจกรางวัลกิจกรรมดีเด่น เจ้าหน้าที่ดีเด่นด้านต่างๆของจังหวัดตาก

วันที่ 20 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมป้องกันวัณโรค (TUC project)

08.00-08.30             ลงทะเบียน(กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งบประมาณของTUC 165 คน)

09.00-09.30             ชี้แจงกิจกรรม จัดแบ่งกลุ่ม

09.30-10.30             แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 18 กลุ่ม(ตามหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจากทั้ง 9 อำเภอ)10.30-10.45             พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00             แลกเปลี่ยนเรียนรู้(ต่อ)

12.00-13.00             พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30             แลกเปลี่ยนเรียนรู้(ต่อ)

14.30-14.45             พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-15.45             ถอดบทเรียน สกัดขุมความรู้ของกลุ่ม

15.45-16.30             นำเสนอบทเรียน/ขุมความรู้ของกลุ่ม

วันที่ 21  KM : Healthy Thailand + KM : TUC Tbc

08.00-08.30             ลงทะเบียนกลุ่มที่ใช้งบส่งเสริมป้องกัน จำนวน 130 คน

08.30-9.00               พิธีเปิดมหกรรมการจัดการความรู้สู่คนไทยแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรงและสุขภาพชายแดนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดตาก  กล่าวรายงานโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตากและมอบรางวัลดีเด่น

09.00-09.30             บรรยายพิเศษ การจัดการความรู้สู่สังคมฐานความรู้ โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก

09.30-10.00             นโยบาย แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก โดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตาก

10.00-10.15             พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-11.00             เล่าเรื่องการจัดการความรู้ โดย นพ.พิเชฐ  บัญญัติ  CKO สสจ.ตาก11.00-12.00             แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Healthy Thailand 6 กลุ่มตามภารกิจแบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้TUCตามกลุ่มวิชาชีพ 9 กลุ่ม (แต่ละคนไม่ซ้ำอำเภอกัน)

12.00-13.00             พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30             กลุ่มHealthy Thailand แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อ กลุ่มTUC จัดทำตารางอิสรภาพเพื่อเปรียบเทียบผลงานในปีต่อไป

14.30-14.45             พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-16.30             กลุ่มHealthy Thailand แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนเพื่อเตรียมนำเสนอ    กลุ่มTUC สรุปการจัดทำตารางอิสรภาพ แผนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปและจัดทำทบทวนหลังปฏิบัติ (AAR)

18.00-23.00             ร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (เลี้ยงส่งเจ้าหน้าที่เกษียณอายุราชการ) และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้เกษียณ

วันที่ 22  เฉพาะกลุ่มแลกเปลี่ยน KM : Healthy Thailand

08.30-10.30             นำเสนอขุมทรัพย์ความรู้ แบ่งปันสู่กลุ่มอื่น

10.30-10.45             พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00             แบ่งกลุ่ม จัดทำตารางอิสรภาพเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในปีต่อไป

12.00-13.00             พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.30             จัดทำตารางธารปัญญา(ต่อ)

14.30-14.45             พักรับประทานอาหารว่าง

14.45-15.45             นำเสนอตารางธารปัญญา

15.45-16.30             จัดทำกิจกรรมทบทวนหลังปฏิบัติ (AAR) และพิธีปิด 

หมายเหตุ

1.  ทีมของTUC ในวันแรก แบ่งออกเป็น 18 กลุ่มย่อย ตามกลุ่มเฉพาะงานของตนเอง แลกเปลี่ยนโดยใช้สุนทรียสนทนา ในวันที่สองรวมกลุ่มเหลือ 9 กลุ่ม โดยพยายามให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำเรื่องเดียวกันและไม่ซ้ำอำเภอกัน

2.  ทีมของHealthy Thailand มี 6 กลุ่มคือคุ้มครองผู้บริโภค ควบคุมโรคติดต่อ ควบคุมโรคไม่ติดต่อ เอดส์และยาเสพติด ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม แต่ละกลุ่มจะมาจาก รพ. 1 คน จาก สสอ. 1 คน และจากอสม. 1คน

3.  Facilitatorของกลุ่มจะใช้ทีมงานของโรงพยาบาลบ้านตากที่เคยเป็นวิทยากรกลุ่มแล้ว 9 คนคือเกศราภรณ์, จารุวรรณ, พวงพยอม, ศรัณยา, พัชรียา, สุภาภรณ์, วรวรรณ, รัชดา, ปิย์วรา จับคู่ร่วมกับตัวแทนFacilitatorจากโรงพยาบาลต่างๆและจากสำนักงาน สสจ.ตากเพื่อเรียนรู้การเป็นวิทยากรกลุ่มไปในตัวและช่วยเป็นคุณลิขิต (Note taker) ด้วย

4.  น่าจะเชิญทีมงานจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) เข้าร่วมด้วยหรือตัวแทนจาก สสจ.ต่างๆในเขต 2  สักแห่งละ 1 คน

5.  ทำการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างและเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์

6.  นัดประชุมทีมงานเพื่อเตรียมการในวันที่ 23 หรือ 24 หรือ 25 สิงหาคม 1 ครั้ง และก่อนจัดงานในเดือนกันยายนอีก 1 ครั้งเพื่อเตรียมความพร้อม

หมายเลขบันทึก: 46738เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท