ชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง และ Biogas พลังงานหมุนเวียน


โดย ไชยรัตน์ ส้มฉุน
สังคมชุมชน ที่มีประชากรอาศัยอยู่ในความหนาแน่นที่แตกต่าง แต่มักจะมีปัญหาที่คล้ายคลึงกัน คือ ขยะ หรือของเสียที่ทำลายบรรยากาศและสภาพแวดล้อม แต่สิ่งที่เหลือทิ้งเหล่านี้ในความพอเพียง อาจนำไปใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบ ทั้งในด้านเกษตรกรรม (ปุ๋ย) หรือด้านพลังงาน โดยนำไปแปรรูปเป็น Biogas

Biogas คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นขบวนการ Fermentation ของจุลินทรีย์ทำให้เกิดก๊าซมีเทน แล้วนำไปใช้ประโยชน์ตามความต้องการ โดยเฉพาะในภาวะน้ำมันแพงจึงได้นำมาใช้เป็นพลังงานไปหมุนเวียนสร้างกระแสไฟ ฟ้า โดยอาศัยเครื่องยนต์ซึ่งดัดแปลงขึ้นมาเป็นพิเศษเข้ามาเป็นปัจจัยร่วม

นายธนเดช สิทธิวางค์กูล, นายสุยงค์ เลาหะกุลธรรม และ นายจรุง วงศ์วานรุ่งเรือง ได้ดำเนินการนำ Biogas มาใช้ประโยชน์จนเป็นรูปธรรมขึ้น ที่ศูนย์พัฒนาชนบทผสมผสานไทรโยค บ้านพุน้อย หมู่ที่ 7 ต.ลุ่มสุ่ม อ.โทรโยค จ.กาญจนบุรี

นายธนเดช สิทธิวางค์กุล หัวหน้าทีมกล่าวว่า
“หลักการทำงานของระบบ Biogas เกิดจากการหมักของเสียแบบไร้อากาศ ใช้เวลาประมาณ 5-60 วัน ขึ้นอยู่กับของเสียที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ตั้งแต่น้ำเสียจากโรงงานต่างๆ, ฟาร์มปศุสัตว์ หรือของเหลือจากภาคเกษตรกรรม จำพวกข้าวฟ่าง, เศษพืชผัก หรือเแม้กระทั่งขยะจากชุมชนต่างๆ ที่ย่อยสลายได้ คือ พลังงานหมุนเวียน”

“เริ่มขั้นตอนด้วยการขุดบ่อสี่เหลี่ยม ให้มีทางน้ำไหลเข้าและไหลออกบริเวณด้านหน้าไปออกด้านหลัง แล้วใช้แผ่นยางพิเศษเคลือบป้องกันแสงยูวีคลุมทับ จากนั้นนำวัตถุดิบใส่ลงไปด้านหน้าให้ไหลลงท่อเข้าไปในบ่อเก็บกักที่ปิดแผ่น ยางไว้ เพื่อหมักให้เกิดก๊าซแล้วไหลตามท่อเป็นเชื้อเพลิงไปใช้กับเครื่องยนต์ (ที่ดัดแปลงให้ใช้พลังงานก๊าซธรรมชาติ) ไปปั่นมอเตอร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า… หรือจะต่อท่อนำก๊าซนี้ไปติดไว้ใช้ในครัวเรือนหุงต้มอาหารได้อีกทางหนึ่ง”

โรงไฟฟ้าพลังหมุนเวียนชุมชนต้นแบบที่บ้านพุน้อย ได้ขายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ราคายูนิคละ 3.8 บาท มีรายได้วันละประมาณ 6,000 บาท หักต้นทุนรายวัน 3,000 บาท มีรายได้เป็นเงินวันละ 3,000 บาท ยังไม่รวมกากของเหลือที่ออกมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ที่สามารถนำไปใช้ปลูกพืชผักได้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง

ผู้สนใจในการแปรรูปพลังงานหมุนเวียน เข้าไปศึกษาเรียนรู้เพื่อนำไปประกอบการพิจารณษก่อสร้างตามชุมชนเพื่อสร้าง รายได้ โทรไปที่ 0-3452-0914, 0-3453-1552 ในเวลาราชการ
โครงการนี้สามารถขอรับการสนับสนุนการเงินจากกองทุนพัฒนาสังคม SIP ได้ด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 46641เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 11:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤษภาคม 2012 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท