คุณอำนวยตำบลเล่างานแก้จนที่ทำในพื้นที่ให้คุณเอื้อตำบลได้รับทราบ


3 เวทีที่ผ่านไป ทำให้เห็นการก่อตัวเรียนรู้กันเป็นกลุ่มอย่างชัดเจนมากขึ้นในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมประเภทลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การออม หรือกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีตัวอย่างคุณกิจ ตัวอย่างกลุ่มต่างๆบ้างแล้ว 3 เวทีที่เหลือก็จะทำให้เด่นชัดขึ้นไปอีก

         บันทึกนี้ต่อจากบันทึกที่แล้ว (ลิ้งค์ )จะพูดถึงสาระที่ครูอาสาฯในฐานะตัวแทนคุณอำนวยตำบลแต่ละตำบล สรุปงานจัดการความรู้แก้จนเมืองนครที่ดำเนินการอยู่ในแต่ละตำบลให้คณะของคุณเอื้อตำบลได้รับทราบเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

         ประเด็นหลักๆที่ครูอาสาฯแต่ละตำบลนำเสนอได้แก่

        การทำความเข้าใจกับแกนนำหมู่บ้านๆละ 8 คน ว่ายากง่ายอย่างไร  ทีมงานคุณอำนวยตำบลประกอบไปด้วยใครจากหน่วยงานใดบ้าง เพราะคุณอำนวยแต่ละตำบลประกอบด้วยคณะบุคคลที่ไม่เหมือนกัน เวลาจะออกไปส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้หรือทำเวทีชาวบ้าน(คุณกิจครัวเรือน) คุณอำนวยตำบลทั้งสามคนหรือมากกว่านี้หลังจากที่ได้ทำแผนการออกไปทำเวทีแต่ละหมู่บ้านในตำบลเสร็จแล้ว จะออกไปทำเวทีชาวบ้านแต่ละครั้งนั้นจะทำกันอย่างไร  เช่น อาจจะตกลงกันเองว่าในทีมคุณอำนวยตำบลใครจะทำหน้าที่นัดหมายชาวบ้าน สถานที่ โต๊ะเก้าอี้ เครื่องเสียง อาหารเครื่องดื่ม วัสดุอุปกรณ์ที่จะต้องใช้แต่ละครั้ง ใครจะนำกระบวนการให้เกิดบรรยากาศของการเรียนรู้ ประเด็นการพูดคุยหรือเรื่องราวที่เรียนรู้กันแต่ละครั้งคือประเด็นใดเรื่องใดบ้าง จะแบ่งกลุ่มย่อยกันอย่างไร จะบันทึกความรู้กันอย่างไร (ลงในสมุดบันทึกความรู้แก้จนตามวิถีคนคอน) ใครจะบันทึกเรื่องราว ร่องรอยการเรียนรู้แต่ละครั้งแต่ะลเวที จะเก็บหลักฐาน และนัดหมายก็สรุปผลการทำงานหรือถอดบทเรียนกันเมื่อใด เป็นต้น

         ลำดับให้เห็นถึงกระบวนการเรียนรู้ในเวทีชาวบ้าน ว่าจะเริ่มจากการชี้แจงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์เป้าหมายของโครงการ การทบทวนแผนชุมชนพึ่งตนเองที่ได้จัดทำกันไว้ (ปกครองจังหวัดนครศรีฯคือหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการส่งเสริมกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนพึ่งตนเอง )ว่าจะนำมาแปลงเป็นภาคปฏิบัติได้อย่างไร อะไรคือสิ่งที่ทำได้ก่อน ก็ให้ตั้งเป้าหมายแก้จนในแต่ละครัวเรือนแต่ละกลุ่ม เน้นเป้าหมายเล็กๆที่ทำได้เองทำได้ทันที (ททท) อาศัยทุนหรือกำลังตัวเองแบบพึ่งตนเองเป็นหลัก หากในแผนดังกล่าวที่คิดไว้ไม่อาจหยิบมาดำเนินการแก้จนตามหลักการที่ว่าได้ก็คิดประเด็น เนื้อหา หรือเรื่องราวที่จะใช้ปฏิบัติการแก้จนเอาจากความเห็นของผู้เข้าร่วมเวทีชาวบ้านได้เลย  การออกแบบกิจกรรมเรียนรู้ ปฏิบัติการแก้จนของแต่ละครัวเรือน ของแต่ละกลุ่ม การร่วมกันค้นหาคนเก่งคนดีของหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นวิทยากรนำเสวนา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ การกระตุ้นให้สมาชิกที่เข้าร่วมเวทีชาวบ้านได้เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้  การจดบันทึก การอภิปราย การรับฟังความคิดเห็น การเล่าถึงประสบการณ์การทำงาน ความฝันหรือเป้าหมายที่จะใช้เรียนรู้ต่อเนื่องต่อไป

        จำนวนคุณกิจครัวเรือนที่เข้าร่วมเวทีชาวบ้านแต่ละครั้งก็มีแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ มีมากตั้งแต่ร้อยะละ  100 จนไม่ถึงร้อยละ 50 โดยเฉพาะในเวทีหลังๆ จะมีผู้เข้าร่วมน้อย จะร่วมกันกระตุ้น ส่งเสริมอย่างไร เป็นประเด็นฝากจากตัวแทนคุณอำนวยตำบล

          การทำงานแก้จนทำกันหลายหน่วยงาน คุณอำนวยตำบลต้องปลีกตัวไปทำภาระกิจในส่วนนั้นอีกทั้งๆที่เป้าหมายเดียวกัน จะหลอมรวมการทำงานเข้าด้วยกันได้ไหมในภาคปฏิบัติถ้ากระบวนการมันไปด้วยกันได้ หรือถ้าหลอมเข้ากันไม่ได้ด้วยข้อจำกัดต่างๆ จะเสริมซึ่งกันและกันได้ในส่วนใหนอย่างไร ระดับที่เหนือจากคุณอำนวยตำบล(คุณเอื้ออำเภอ -จังหวัด)น่าจะได้ส่งสัญญาณลงมา มีคุณอำนวยตำบลท่านหนึ่งนำเสนอว่า โครงการแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร โครงการลักษณะนี้แม้ไม่เหมาะกับการพูดคุยในเวทีแก้จนที่เน้นการตั้งเป้าหมายเล็กๆไม่ใหญ่โต แต่เมื่อชาวบ้านหยิบยกมาพูดคุยในเวทีแก้จนนี้ก็น่าจะใช้เป็นประเด็นเรียนรู้ได้เช่นกัน พยายามค้นหาประเด็นเรียนรู้เล็กๆจากประเด็นใหญ่ๆเหล่านั้นให้เจอ แล้วใช้ในการเรียนรู้ ซึ่งเขาได้นำประเด็นเล็กๆเรื่องการเปิดปิดน้ำเข้านามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าจะทำอย่างไรดีให้ได้ประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย เป็นต้น

             สุดท้ายของช่วงนำเสนอของตัวแทนคุณอำนวยตำบล ตัวแทนคุณอำนวยตำบล ก็ได้รายงานว่า 3 เวทีที่ผ่านไป ทำให้เห็นการก่อตัวเรียนรู้กันเป็นกลุ่มอย่างชัดเจนมากขึ้นในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มที่ทำกิจกรรมประเภทลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ การออม หรือกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มสุขภาพอนามัย สิ่งแวดล้อม ฯลฯ มีตัวอย่างคุณกิจ ตัวอย่างกลุ่มต่างๆบ้างแล้ว 3 เวทีที่เหลือก็จะทำให้เด่นชัดขึ้นไปอีก

          สำหรับเพื่อนคุณอำนวยตำบลด้วยกัน หากว่าท่านใดไม่ได้เข้าร่วมในเวทีเรียนรู้ชาวบ้านครั้งใด คุณอำนวยที่ได้เข้าร่วมก็จะส่งข่าวให้ทราบ

        นี่ก็เป็นเรื่องสะท้อนจากตัวแทนคุณอำนวยตำบล บันทึกมาเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

หมายเลขบันทึก: 46619เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2006 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
เข้ามาซึมซับเอาประสบการณ์จาก...ครูนง...ค่ะ.....  ยอดคุณอำนวย ยอดคุณลิขิตเอาไปอีกสองตำแหน่ง
ดูต่อเนื่องได้จังหวะ การทำงาน....ลื่นไหลไปได้ตามบริบท.....คุณเมตตา....ตอนนี้...งง....งง...กับเวทีคุณอำนวยใน ม.อ. ต้องใช้พลังงานในการผลกดันอีกพอสมควรแต่.....คงไม่ไกลเกินฝัน.....เข้ามาอ่านของครูนงเป็นประจำ...แอบไปประยุกต์กับ งานตน....ขอบคุณค่ะ  "ทบทวนแผนที่เคยมี เคยทำ นำมาหยิบดูสิ่งไหนทำได้ก่อน...."  ให้เห็นว่าสำเร็จ.....ว่าแล้วก็มีแรงทำสิ่งถัดไป...."  ถึงเป้าหมายใหญ่ได้แน่นอน....เป็นสิ่งที่คิดได้จากการอ่านบันทึกนี้ ที่จริงก็รู้มาก่อน...แต่ไม่เข้าใจ....มาอ่านบันทึกนี้มีแรง.....ขอบคุณครูนงค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท