เครื่องตรวจสอบเครื่องช๊อคหัวใจด้วยไฟฟ้า


       เราจะคุ้นเคยกับเครื่องช๊อคหัวใจ...ที่เมื่อคนไข้หัวใจหยุดเต้นแล้วแพทย์จะใช้ช๊อคหัวใจของคนไข้...เป็นการปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ...เครื่องนี้จะใช้มากในหน่วยที่ต้องมีการดูแลผู้ป่วยหนัก หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤต เช่น ห้องฉุกเฉิน ห้องผ่าตัด ห้อง ICU เป็นต้น...

...
       จากเกริ่นนำข้างต้นนั้น...ดิฉันอยากจะเล่าให้ฟังถึงเครื่องที่นำมาใช้ตรวจสอบเครื่องดังกล่าวที่ว่านั้น ว่ามีค่ามาตรฐานเที่ยงตรงหรือไม่...พอดีดิฉันได้มีโอกาสได้รับทราบการศึกษาและพัฒนานวัตกรรมที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คนไทยเราทำขึ้นมาเอง ที่ ดร.วรวัฒน์ เสงี่ยมวิบูลได้ศึกษาและพัฒนาขึ้น...เป็นเครื่องมือแพทย์ที่สามารถลดต้นทุนในการสั่งซื้อราคาแพงจากต่างประเทศได้...เครื่องทดสอบดังกล่าวดิฉันไม่สามารถที่จะอธิบายตามหลักการทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าได้ แต่หากพอเข้าใจตามการรับรู้ของตนเอง คือ นำมาใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องกระตุ้นหัวใจ จากการทดลองและพัฒนาตัวนวัตกรรมนี้...พบว่า มีเครื่องกระตุ้นหัวใจจากโรงพยาบาลหลายแห่งมีการปล่อยกระแสไฟฟ้าสลับผิดขั้วกัน...แต่ผู้ใช้งานไม่ทราบ ... จากการทดสอบดังกล่าวจึงได้มีการเก็บเครื่องมือเพื่อส่งตรวจสอบไปที่ทางบริษัทที่สั่งซื้อ...

...
       ดร.วรวัฒน์ กรุณาให้ข้อมูลเมื่อดิฉันขออนุญาตนำมาบอกเล่าใน Blog เพราะคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ต่อไป...หากมีใครสนใจนำไปพัฒนาต่อ...หรือทาง ดร.วรวัฒน์เองท่านก็ยังศึกษาต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ภายใต้ทุน สกว. ที่ได้รับ...

       "การออกแบบและสร้างเครื่องตรวจสอบเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ตรวจสอบเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าซึ่งเป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีความสำคัญมากในสภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องรีบให้การช่วยชีวิต ความเชื่อถือได้ และความถูกต้องของพลังงานที่ปล่อยออกมาจากเครื่องมือแพทย์เหล่านี้จึงมีความสำคัญ และจะต้องได้รับการตรวจสอบหรือปรับเทียบให้พร้อมที่จะทำงานอย่างถูกต้องเสมอ เครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าที่มีใช้ในประเทศไทยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่ใช้ในโรงพยาบาลในส่วนภูมิภาคไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเครื่องตรวจสอบหรือปรับเทียบเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้ามีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศจึงทำให้มีจำนวนจำกัด
 
       เครื่องตรวจสอบเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ออกแบบให้มีความถูกต้องสูง ใช้วัสดุภายในประเทศ มีราคาถูก สามารถจัดหาไว้ตามโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพทั่วไปได้ และลดการนำเข้าจากต่างประเทศ เครื่องต้นแบบของเครื่องตรวจสอบเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ตรวจสอบค่าพลังงาน กระแสสูงสุด แรงดันสูงสุด และช่วงเวลาของสัญญาณ สามารถบันทึกรูปร่างของสัญญาณที่ออกจากเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าได้ ส่วนประกอบหลักของเครื่องต้นแบบ คือ วงจรแบ่งแรงดัน วงจรขยายผลต่างของแรงดัน วงจรเลือกช่วงค่าพลังงาน วงจรแปลงสัญญาณอะนาลอกเป็นดิจิตัล และไมโครคอนโทรลเลอร์ (เบอร์ 80C535) ที่มีหน่วยความจำ 64 kbyte สามารถนำข้อมูลในหน่วยความจำส่งผ่านพอร์ตอนุกรม เพื่อนำไปเก็บ วิเคราะห์และคำนวณค่าต่างๆ ในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์

       เครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นได้รับการทดสอบการทำงานโดยวัดค่าพลังงาน 0 - 400 J ค่ากระแสสูงสุด ค่าแรงดันสูงสุด และช่วงเวลา ของเครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าที่มีใช้ทั่วไปในโรงพยาบาลของรัฐบาล จำนวน 10 เครื่อง และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการวัดได้ทำการทดสอบ โดยการวัดเปรียบเทียบกับเครื่องวิเคราะห์เครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้า Bio-tek รุ่น QED-6 ที่ค่าพลังงานต่างๆ ผลการทดสอบ ปรากฎว่าเครื่องต้นแบบที่สร้างขึ้นสามารถใช้วัดค่าต่างๆได้ตามต้องการและมีความถูกต้องของการวัดไม่เกิน ? 2.5 % เมื่อเทียบกับเครื่องวิเคราะห์เครื่องช็อคหัวใจด้วยไฟฟ้าที่ใช้อ้างอิง"

หมายเลขบันทึก: 46564เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 20:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยังมองไม่เห็นภาพค่ะน้องกะปุ๋มยังไงก็ช่วยถ่ายภาพให้ดูได้มั๊ยคะจะได้ติตามมาพัฒนาบ้างค่ะ

ได้คะพี่เล็ก...

กะปุ๋มเรียนให้ ดร.วรวัฒน์ทราบแล้วคะว่าขออนุญาตเผยแพร่ทั้งภาพและเรื่องราว...พอดีช่วงนี้กะปุ๋มเดินทางตลอด...เดี๋ยวสายๆ จะเจอกันกับ ดร.วรวัฒน์เพราะต้องเดินทางไป กทม.พร้อมกันน่ะคะ...จะทวงถามภาพจากท่านให้คะ...พอดีผลงานที่เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ท่านมีเยอะนะคะ...อยากมาบอกเล่าหากเป็นประโยชน์ต่อไป เพราะผลงานท่านส่วนใหญ่จะอยู่แต่ในแวดวงวิศวกรรมศาสตร์น่ะคะ...

...

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท