นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาศึกษาดูงาน ณ กรุงปักกิ่งและนครเทียนจิน


สวัสดีครับชาว blog

ผมนำนักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทาไปศึกษาดูงาน ณ กรุงปักกิ่งและนครเทียนจิน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน  ในระหว่างวันที่ 23-27 ตุลาคม 2554 ซึ่งจะไปศึกษาดูงาน ใน China University of Political Science and Law ในกรุงปักกิ่ง ในวันที่ 24 ตุลาคม และ ดูงานใน Tianjin University of Technology ณ เมืองเทียนจิน และกลับมาจากเทียนจิน เข้าเยี่ยมคารวะท่านทูตไพจิตร วิบูลย์ธนสาร ในช่วยบ่าย วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2554

และศึกษาภูมิทัศน์และสถานที่ต่างๆของ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ติดตามภาพบรรยากาศได้ล่างนี้ครับ

ณ.สนามบินสุวรรณภูมิก่อนการเดินทาง เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2554

ณ จัสตุรัสเทียนอันเหมิน

ณ China University of Political Science and Law

 

 

 วันที่ 25 ตุลาคม 2554

ทัศนศึกษาดูงานหอฟ้าเทียนถาน

 

  

หมายเลขบันทึก: 465570เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2011 18:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (26)

ขอให้ท่านอาจารย์และคณะนักศึกษา เดินทางอย่างปลอดภัย และนำชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา สู่ประเทศจีนด้วยครับ

นางสาวอภิชนา สิงสันจิตร

ขอให้เดินทางปลอดภัย ทั้งท่าอาจารย์และคณะนะค่ะ แล้วเล่าประสบการณ์ในการStudy Tour ที่เมืองจีนให้ฟังด้วยนะค่ะ

สรุปการศึกษาดูงาน ณ ประเทศจีน ของคณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารจัดการ

โดย พระมหาสาธิต เมธีจรรยาภรณ์ ศูนย์กรุงเทพ รุ่นที่ 5

คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพและนครราชสีมา

23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. แล้วไปเลือกซื้อของตามอัธยาศัย คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง ที่สนามบินกรุงปักกิ่งแยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอด และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า และเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร ทราบว่า เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร

ช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ China University of political science and law ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งในการศึกษาดูงาน

China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน

การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำความเป็นมา ในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ประกอบด้วย กรุงเทพ นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพและนครราชสีมา รวม 21 คน

หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ

1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านนามธรรม (soft side) ยกตัวประเด็นทุนทางสติปัญญา ในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน และการปลูกฝังความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองตลอดช่วงเวลาของการทำงานของคน เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนานวัตกรรม เชื่อมโยงกับคุณภาพชีวิต

2.นักศึกษาจาก China University ได้ยกประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบประเด็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักการทางพระพุทธศาสนาตามหลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา มีการถามต่อเนื่องในรายละเอียด และตอบอธิบายเพิ่มเติม ถึงหลักการและวิธีปฏิบัติ ซึ่งเชื่อมโยงกับทฤษฎีของ ศ.ดร.จีระ เรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านนามธรรม เช่น ทุนทางจริยธรรม ทุนความยั่งยืน ทุนความสุข

หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ได้เปิดโอกาสในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อเสริมจุดแข็งของกันและกัน และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

นอกจากนี้นักศึกษาของทั้งสองสถาบัน ยังได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตามความสนใจอีกด้วย

สิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นต่อไป คือความร่วมมืออันดีระหว่างสองสถาบัน ทั้งการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ การศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และอาจก้าวหน้าถึงการเปิดหลักสูตรร่วมกัน

วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2554

ทัศนศึกษาดูงาน ณ tianjin University of Technology

ณ สถานทูตไทย ประจำเมืองปักกิ่ง ประเทศจีน

คารวะท่านทูตไพจิตร วิบูลย์ธนสาร

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ Tianjin University of technology ซี่งมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยี 9 สถาบัน เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

ประเด็นที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันคือ การสร้างความผาสุกให้กับประชากร และการเตรียมพร้อมประชากรเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทูตการค้าไทยประจำกรุงปักกิ่ง ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์

การมองเชิงประชากรศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทยในตลาดจีน การทำ fanpage และคุณค่าเพิ่มจากการ่วมกิจกรรมทางสังคม

การมองเชิงภูมิศาสตร์ เช่นการทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ

การนำไปปรับใช้กับคนไทยมีหลายประเด็น เช่น การปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้ประกอบการต่อการค้าขายกับจีน

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม

สำหรับบทบาททางด้านศาสนาได้สนทนานอกรอบกับท่านทูต มีความเห็นสอดคล้องกันในเรื่องของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และการเป็นที่พึ่งทางจิตใจแก่คนในสังคม

รายงาน study tour นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554 โดย วาสนา รังสร้อย ศูนย์กรุงเทพมหานคร

จากการได้ร่วม study tour กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีน คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น.

สนามบินกรุงปักกิ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมเป็นเมือสำคัญทางการค้าของอาณาจักรเยี่ยน เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล หลังการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสู้รบกลางเมือง ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะ จึงประกาศตั้งรัฐบาลและกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนับแต่นั้นมา และสนามบินกรุงปักกิ่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 43 ล้านคนและเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015 ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบสนามบินคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทางที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร แยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอด และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร การจัดระบบนี้เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร นับว่าเป็นความโชคดีของคณะ study tour ของเราที่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว

ท่านอาจารย์ได้พานักศึกษา ศึกษาดูงานตามวัตถุประสงค์ ที่ปักกิ่ง และเทียนจิน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับความรู้ที่หลากหลาย กล่าวคือ

1. ช่วงเช้าวันแรก 24 ตุลาคม เดินทางไปชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างใหญ่ที่สุด

ในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้ามซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร

2. พานักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำในส่วนของการจัดการการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับความเป็นมา ที่เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO Conference ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน จาก MBA EDUCATION CENTER OF CUPL ได้รับคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และตัวแทนนักศึกษาฝ่ายไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

3. นำชมและช้อปปิ้งตลาดรัสเซีย ทานอาหารค่ำ และเข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง

4. 25 ตุลาคม ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ

5. 26 ตุลาคม เวลา 07.00 น. ออกเดินทางชมเมืองเทียนจิน ขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์

ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป ฯ

เวลา 09.30 น. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร

วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ

หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและ

เชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

6. 27 ตุลาคม เริ่มออกเดินทางออกจากที่พักเวลา 07.00 น. เหมือนเดิมไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านการชมรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑล เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกลและพวกเติร์ก จากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ เมื่อทอดสายตาตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่ากำแพงยักษแห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนากีฬาโอลิมปิค สุดท้าย แวะบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน ชนิดต่าง ๆ

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งเมืองจีน ทุกเมือง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักในนามของรัฐบาล เช่น ร้านผ้าไหม นวดฝ่าเท้า ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก ร้านหยก ร้านผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับประเทศจีนได้อย่างยั่งยืน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งฃึ้น อย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งฃึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

จุดแข็งและจุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน

จุดแข็งในการพัฒนา

จีนมีศักยภาพอยู่มาก เช่น

1. การมีประชากร 1,300 ล้านคน ทำให้การผลิตแบบประหยัดจากขนาดใหญ่ (Economy of Scale) ซึ่ง

เป็นขนาดในฝันของนักเศรษฐศาสตร์ นักวางแผนทั้งหลาย

2. จีนมีอัตราการออมในประเทศสูง มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงมาก

3. มีขนาดตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนพึ่งตนเองหรือพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นสัดส่วนสูง

กว่าการพึ่งการค้าระหว่างประเทศมาก

4. การพัฒนาแบบสังคมนิยมที่ผ่านมา 50 กว่าปี (ก่อนที่จะปฏิรูปเป็นระบบตลาดเมื่อ 20 กว่าปีนี้) ทำให้

คนจีนมีพื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป, มีวินัยในการทำงานที่ดี (แม้ว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูง

ยังพัฒนาได้ไม่มากนัก)

5. ไม่มีปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติมาก

6. รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ

7. จีนมีเครือข่ายคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้า ที่พร้อมจะร่วมลงทุน และเข้าไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ

ของจีน

จุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน

เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ และทรัพยากรต่าง ๆ การมีประชากรมากทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมาก จึงจะทำให้คน 1,300 ล้านคน(เป็นคนสูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปถึง 10% หรือ 120 ล้านคน) มีงานทำ มีอาหารการกิน มีปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม

นี่คือโจทย์สำคัญที่ต้องค้นคว้าเจาะลึกอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ว่าจีนจะสามารถพัฒนาให้คน 1,300 ล้านคนมีการกินอยู่ที่ดีขึ้นทั่วถึงหรือไม่ มีความรู้ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอเพียงไร และเศรษฐกิจจีนในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนและการค้ากับประเทศอื่น ๆ จะมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไร

บทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจโลก

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการออม มีการลงทุนภายในประเทศสูง การลงทุนสุทธิ จากต่างชาติในรอบ 10 ปีหลัง ตกปีละกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด จีนกำลังจะเติบโตแน่ ๆ แต่เราไม่อาจมองเฉพาะเส้นกราฟของความเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ต้องมองปัญหาภายในของสังคมจีน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตของคน

ฐานะขนาดใหญ่ของจีนอาจจะทำให้เกิดอำนาจต่อรองในองค์การค้าโลก (WTO) ที่จะถ่วงดุลกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมได้บ้าง แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ จีนก็คงจะคำนึงถึงประโยชน์ตัวเองมากกว่าที่จะหาเสียงทางการเมืองกับประเทศกำลังพัฒนาเหมือนในยุคที่ยังมีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมกันอยู่ การเติบโตของจีนและผลกระทบต่ออาเซียนและต่อไทย

การมองว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนจะเป็นผลดีต่ออาเซียน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเป็นการมองตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่อย่างง่าย ๆ มากไปหน่อย เราต้องพิจารณาให้ดีว่า จะเป็นผลบวกและผลลบอย่างไร และที่ว่าเป็นประโยชน์นั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก,ผู้สั่งเข้า, ผู้ร่วมลงทุน หรือต่อประชาชนทั่วไป จีนองก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ คนที่ได้รับผลลบคือภาคเกษตร ที่ล้าหลัง ยากจนและเคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะแข่งขันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐไม่ได้, พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งขณะนี้มีถึง 70% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างเพราะการยุบเลิก, การแปรรูป, ปรับโครงสร้างใหม่ จีนเองก็คงรู้ว่ามีผลลบด้วย แต่จีนต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทันสมัยจึงยอมเปิดรับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้วเคยเป็นศัตรูทางอุดมการณ์

การมองว่า ถ้าจีนกับอาเซียน หรืออาจจะรวม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (อาเซียน + 3) รวมกันเป็นเขตการค้าเสรี จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่มหึมาในแง่ประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น เป็นการมองแบบคิดเอาในเชิงสถิติเท่านั้น ความจริงก็คือ จีนกับอาเซียนผลิตสินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งกันโดยปริยาย ปัจจุบันจีนกับอาเซียนมีการลงทุนและค้าขายกันน้อย เมื่อเทียบกับที่ทั้งจีนและอาเซียน มีการลงทุนและค้าขายกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นด้านหลัก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ในอนาคตมีแนวโน้มที่จีนกับอาเซียนจะลงทุนและค้าขายระหว่างกันมากขึ้น แต่การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก หมายถึง จีนจะเปิดรับการลงทุน และการค้ากับประเทศทั่วโลก

การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก ซึ่งจะทำให้จีนเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เช่น ลดภาษีมากขึ้น จะมีผลต่อไทยทั้งในแง่บวกและลบ สินค้าที่ไทยมีโอกาสขายให้จีนได้มากขึ้น ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง สินค้าเกษตรแปรรูป น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เส้นด้ายและผ้าผืน ผลไม้ แต่สินค้าที่ไทยและอาเซียนจะถูกจีนแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังซื้อ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก เพราะจีนซึ่งมีค่าแรงงานต่ำกว่า ผลิตได้ถูกกว่า ไทยต้องเร่งรัดปรับตัวพัฒนาสินค้าออกที่มีคุณภาพมากขึ้น และต้องเจาะหาตลาดใหม่ ๆ ดังท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย 9hv’ยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม ในแง่การลงทุน ระหว่างจีนกับไทย ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โอกาสที่ไทยจะไปลงทุนในจีน เป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีการแข่งขันสูง ส่วนการลงทุนของจีนในไทย ก็มุ่งมาใช้ทรัพยากร เช่น ปลูกป่ายูคาลิปตัส หรือขายบริการ เช่น รับเหมา ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ การลงทุนระหว่างสองประเทศยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนมากกว่าแก่ประชาชนในประเทศทั้งสอง ที่นอกจากได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจน้อยกว่านายทุนแล้ว ยังเสียประโยชน์ในแง่การทำลายสภาวะแวดล้อมของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้น

ไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์จากจีนมากขึ้น หากการเจรจากันโดยตรงแบบทวิภาคและแบบภูมิภาค มีข้อตกลงที่พิเศษกว่าข้อตกลงทั่วไปในเวทีองค์การค้าโลก ซึ่งเป็นเวทีที่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมักจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ความจริงถ้าอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ร่วมมือกันได้จริง คือประเทศรวยกว่าใหญ่กว่ายอมผ่อนปรนช่วยเหลือประเทศที่จนกว่าเล็กกว่า ภูมิภาคนี้จะเติบโตและเข้มแข็งได้มาก แต่ทุกวันนี้พวกเขาล้วนมองไปที่สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีความมั่งคั่งและกำลังซื้อ และต่างคนก็ต่างทำเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเอง โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ที่คิดแต่ผลประโยชน์ตัวเองมากเกินไปจนเศรษฐกิจของตนเองถดถอยจนขยับไม่ได้

การลงทุนและการค้ากับจีนรวมทั้งการท่องเที่ยวมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ถ้ามีการร่วมมือกันพัฒนาด้านการคมนาคมผ่านอินโดจีน และพม่าไปจีน ให้ครอบคลุมสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะจะทำให้การขนส่งสินค้าลดต้นทุน และจีนทางภาคใต้ก็มีประชากรมาก และเศรษฐกิจเติบโต แต่การเติบโตแบบนี้

ก็ให้ผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่มมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ และการเปิดประเทศกว้างขึ้น ก็สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย เช่น มีปัญหาแรงงานเถื่อน โสเภณี อาชญากรทางเศรษฐกิจ ยาเสพย์ติด โรคเอดส์ ฯลฯ เพิ่มขึ้น

ดังนั้นดิฉันคิดว่าเราจึงไม่ควรมองเรื่องการคบกับจีนในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจล้วน ๆ หากต้องมองในแง่ผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จีน ไทย อาเซียน ควรจะร่วมมือกันในแง่สังคม การศึกษา การวิจัย วิชาการด้านต่าง ๆ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียนี้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กันและอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ในแง่การค้า การลงทุนในกรอบคิดการพัฒนาเพื่อหากำไรเอกชนของระบบทุนนิยมโลก ซึ่งสร้างปัญหา ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความยากจน

การทำลายสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคมอื่นตามมมากมาย เท่านั้น

ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร

1. ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองใน

ระดับโลก

2. Economy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ

3. มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น

4. สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว

ผลกระทบมีอะไรบ้าง?

1. การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่าง

ทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับ

สถานะการณ์ได้

2. ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ

ให้สามารถสื่อสารได้

3. ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management)

จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

4. สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้าย

แรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับ ผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

5. โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้น ในเรื่องของ

คุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ

6. เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้ มีการวิจัยอย่าง

จริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียน จากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่

คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็น

ผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้

รัตมณี เสนีกาญจน์ สวนสุนันทา กรุงเทพ

การศึกษาดูงาน ณ ประเทศจีน ของคณะนักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรนวัตกรรมการบริหารจัดการ

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 10 สนามบินสุวรรณภูมิ ได้นัดกันที่เคาเตอร์ U เวลาประมาณ 22.00 น. ทั้งศูนย?กรุงเทพและศูนย์นครราชสีมา ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมง

ช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้าม

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมกาวิทยาลัยChina University of political science and law ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งตามแผนที่วางไว้ในการศึกษาดูงาน

การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำตัวและนักศึกษาที่ไปจากสวนสุนันทาด้วย หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน

ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ

1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านโดยใช้ทฤษฏี 2R การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน

2.นักศึกษาจาก China University ได้ถามคำถามว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาทำอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบว่ายึดหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบผลงานการวิจัยให้กับ China University และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

ถึงลูกศิษย์ Ph.D ทุกท่าน

 

·       อย่าลืมส่งการบ้านว่า Study Tour ครั้งนี้ได้อะไรบ้าง ทั้งศูนย์ภูเก็ต ที่มี Study tour ที่ภูเก็ต  1 วัน ศูนย์กลางและศูนย์โคราช ที่มี Study Tour  4 วัน ที่ประเทศจีน

·       แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

1.    Excellence

2.    Benchmark

3.    Quality

4.    Standard

5.    Best Practice

คืออะไร?

 

 

รายงาน study tour นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554 โดย วาสนา รังสร้อย

           ศูนย์กรุงเทพมหานคร จากการได้ร่วม study tour กับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีน คืนวันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่าน ตม. คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. สนามบินกรุงปักกิ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมเป็นเมือสำคัญทางการค้าของอาณาจักรเยี่ยน เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล หลังการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสู้รบกลางเมือง ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะ จึงประกาศตั้งรัฐบาลและกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนับแต่นั้นมา และสนามบินกรุงปักกิ่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 43 ล้านคนและเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015 ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบสนามบินคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทางที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร แยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอด และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร การจัดระบบนี้เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร นับว่าเป็นความโชคดีของคณะ study tour ของเราที่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว ท่านอาจารย์ได้พานักศึกษา ศึกษาดูงานตามวัตถุประสงค์ ที่ปักกิ่ง และเทียนจิน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับความรู้ที่หลากหลาย

1. ช่วงเช้าวันแรก 24 ตุลาคม เดินทางไปชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างใหญ่ที่สุด ในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้ามซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999 ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร

2. พานักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน
ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำในส่วนของการจัดการการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับ ความเป็นมา ที่เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO Conference ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน จาก MBA EDUCATION CENTER OF CUPL ได้รับคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และตัวแทนนักศึกษาฝ่ายไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง

3. นำชมและช้อปปิ้งตลาดรัสเซีย ทานอาหารค่ำ และเข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง

4. 25 ตุลาคม ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ

5. 26 ตุลาคม เวลา 07.00 น. ออกเดินทางชมเมืองเทียนจิน ขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป ฯ

          เวลา 09.30 น. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน

           นอกจากนี้นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและ เชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

6. 27 ตุลาคม เริ่มออกเดินทางออกจากที่พักเวลา 07.00 น. เหมือนเดิมไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านการชมรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑล เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกลและพวกเติร์ก จากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ เมื่อทอดสายตาตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่ากำแพงยักษแห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนากีฬาโอลิมปิค สุดท้าย แวะบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน ชนิดต่าง ๆ เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งเมืองจีน ทุกเมือง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักในนามของรัฐบาล เช่น ร้านผ้าไหม นวดฝ่าเท้า ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก ร้านหยก ร้านผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับประเทศจีนได้อย่างยั่งยืน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งฃึ้น อย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งฃึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

Excellence 

 1. ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ซึ่งดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) และนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพเพื่อความยั่งยืนของประเทศ และประเทศไทยได้เสริมแนวทางพัฒนาเรื่องทุนมนุษย์ให้กับทางมหาวิทยาลัย ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s และ 2R’s โดยท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ซึ่งพุทธศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติอย่าภาคภูมิใจและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่องได้เหมาะสมกับทุกสถานการณ์

2. Tianjin University of Technology เป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และเพื่อความสะดวกในการฝึกงานหรือทำวิจัยของนักศึกษาที่เน้นการปฏิบัติจริง ผลที่เกิดจากการวิจัยใช้พัฒนาปรับปรุงในโครงการงานด้านอุตสาหกรรมของมณฑลตนเอง จะเห็นได้ว่าทางมหาวิทยาลัยได้นำ ทฤษฎี 2R’sและ 2 I’s ประกอบ เพราะสังคมและโลกที่ต้องมองความจริง ในทฤษฎีนี้ต้องมองและวิเคราะห์ปัญหา เรียนรู้จากความจริงอย่างตรงประเด็นที่ส่วนหนึ่งได้องค์ความรู้จากชุมชนที่มีอยู่ ทางด้านวิถีชีวิต วัฒนธรรม ผสมผสานกับการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับทฤษฎี 8K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อคุณภาพของทุนมนุษย์เพื่อความยั่งยืน สามารถวัดความสำเร็จของ Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจที่เป็นงานวิจัยของนักศึกษา เพราะ 8k ‘s คือตัวเรา happy work place เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างบรรยากาศให้มีความสุข

3. เข้าเยี่ยมคารวะท่านดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ ได้รับความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม

Benchmark

           รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาเพื่อผลิต
นักศึกษาที่จบออกแล้วสามารถเป็นแรงงานรองรับงานตามเมืองเศรษฐกิจนั้น ๆ เช่น Tianjin University of Technology การจัดการศึกษาจะเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน ซึ่งจีนมีเครือข่ายคนจีน ซึ่งชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้า ที่พร้อมจะร่วมลงทุน และเข้าไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของจีนด้วย

Quality

           คนจีนมีพื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป, มีวินัยในการทำงานที่ดี (แม้ว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูง ยังพัฒนาได้ไม่มากนัก) การจัดการศึกษาเพื่อผลิตนักศึกษาที่จบออกแล้วสามารถเป็นแรงงานรองรับงานที่เป็นแหล่งเศรษฐกิจของเมืองนั้น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง สามารถวัดความสำเร็จของ Happiness Capital กับองค์ประกอบทางธุรกิจที่เป็นงานวิจัยของนักศึกษา ดังนั้น happy work place เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้นมาเพื่อสร้างบรรยากาศให้มีความสุข

Standard

           จีนไม่มีปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติมาก มีขนาดตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ และมีความชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้าทำให้จีนพึ่งตนเองสูง และ
การจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับงานในด้านเศรษฐกิจของเมืองนั้น ๆ

 Best Practice

           ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการออม มีการลงทุนภายในประเทศสูงที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด ฉะนั้นเครื่องมือในการ Transform คน คือการเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning ที่มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้เพื่อสามารถพัฒนาให้คน 1,300 ล้านคนมีการกินอยู่ที่ดีขึ้นทั่วถึง มีความรู้ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอ มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ต้องนำเอากลยุทธ์ Systematic, Process and Network มาใช้เพื่อสร้าง KM , เครื่องมือต่าง ๆ (H/W) และการเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วประเทศ หรือทั่วโลกมาใช้ในการทำงานเพื่อ การเพิ่มประสิทธิภาพของบุคลากร, เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน, เพื่อเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ และการสร้าง Community ขององค์กรที่มีขีดความสามารถแข่งขัน เรียนรู้และอยู่อย่างยั่งยืน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สอดคล้องกับทฤษฎี 4L’s ของ ศาตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

4L’S

      *Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning

      *Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning

      *Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

      *Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

          ดังนั้นการสร้าง KM ที่ดี และสามารถตอบสนองทฤษฎี 4L’s ได้จะมีส่วนสนับสนุนให้สามารถเกิด Life long Learning ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากขึ้น จึงจะทำให้คน 1,300 ล้านคน(เป็นคนสูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปถึง 10% หรือ 120 ล้านคน) มีงานทำ มีอาหารการกิน มีปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม นี่คือคุณภาพชีวิตของคน ที่สามารถวัดความสำเร็จของ Happiness Capital ได้

รายงาน study tour นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ณ . ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554 นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์ วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 10 สนามบินสุวรรณภูมิ ได้นัดกันที่เคาเตอร์ U เวลาประมาณ 22.00 น. ทั้งศูนย?กรุงเทพและศูนย์นครราชสีมา ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมงช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม (Gu Gong or Imperial Palace or Forbidden City)ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้อง

รายงาน study tour นำโดย ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ณ . ประเทศจีนระหว่าง 23 – 27 ตุลาคม 2554

นักศึกษาปริญญาเอกมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดย นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

วันที่ 23 ตุลาคม 2554 คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 10 สนามบินสุวรรณภูมิ ได้นัดกันที่เคาเตอร์ U เวลาประมาณ 22.00 น. ทั้งศูนย?กรุงเทพและศูนย์นครราชสีมา ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. เป็นเวลาท้องถิ่น ซึ่งเร็วกว่าไทย ประมาณ 1 ชั่วโมงช่วงเช้าวันแรก เดินทางไปเยี่ยมชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน และพระราชวังกู้กง หรือ พระราชวังต้องห้าม (Gu Gong or Imperial Palace or Forbidden City) ตั้งอยู่ด้านหลังพลับพลาเทียนอันเหมิน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือจรดใต้ 961 เมตร กว้าง 753 เมตร มีกำแพงวังล้อมรอบ ยาว 3 กิโลเมตร สูง 10 เมตร มีคูน้ำล้อมรอบ กว้าง 52 เมตร มีประตูวัง 4 ประตู 4 ทิศ มีป้อมหอคอยกำแพงวังอยู่ 4 มุม มีพื้นที่ทั้งหมด 724,250 ตารางเมตร มีตำหนักน้อยใหญ่ถึง 9,999 ห้องสร้างในสมัยพระเจ้าหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิง เมื่อปี ค.ศ. 1406 เป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิงและชิง รวมทั้งสิ้น 24 พระองค์ มีการบูรณะซ่อมแซมไปหลายครั้ง แต่ยังคงสถาปัตยกรรมเดิม มีความสมบูรณ์แบบที่สุด ใหญ่ที่สุดและรักษาไว้ได้ดีที่สุด รวมทั้งมีประวัติที่ยาวนานที่สุดในโลกอีกด้วยภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ วังหน้าและวังใน

- วังหน้าเป็นเขตที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการ จัดงานพิธีต่างๆ รับเข้าเฝ้า

- วังในเป็นเขตหวงห้าม ผู้ชายห้ามเข้า ยกเว้นขันทีเท่านั้น

• วังหน้ามี 3 ตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้

1.ตำหนักไถ่เหอ เป็นตำหนักด้านหน้าที่สำคัญที่สุดและใหญ่ที่สุดในพระราชวังหลวง ตั้งอยู่บนแท่นหินหยกขาวยกพื้นสูง 2 เมตรเศษ ล้อมรอบด้วยรั้วหินหยกขาว แกะสลักเป็นเมฆ มังกร และหงส์ สร้างในปีค.ศ. 1420 สมัยของพระเจ้าหย่งเล่อ กว้าง 11 เมตร ลึก 5 เมตร หลังคาซ้อน 2 ชั้น สูง 35 เมตร พื้นที่ 2,377 ตารางเมตร ปูด้วยอิฐ(ที่นวดด้วยแป้งทองคำ) ตรงกลางมีบัลลังก์มังกรสีทอง(มังกร 5 เล็บ สัญลักษณ์ของฮ่องเต้อันสูงส่ง) ใช้เป็นสถานที่ฮ่องเต้ออกว่าราชการแผ่นดินรับการเข้าเฝ้าจากขุนนางขุนศึก ต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองและอาคันตุกะชาวต่างต่างประเทศ หลังคามุงกระเบื้องสีทอง(สีเฉพาะของฮ่องเต้เท่านั้น)

2.ตำหนักจงเหอ เป็นตำหนักหลังที่ 2 อยู่ด้านหลังตำหนักไถ่เหอ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมียอดแหลม ใช้เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดิน รับการรายงานจากข้าหลวงชั้นใน รวมทั้งพิธีการจัดงานเข้าเฝ้า หากมีงานพิธีแต่งตั้งพระราชินีและจัดงานใหญ่ในพระราชวังจะต้องตรวจเอกสารความเรียบร้อยของงาน ณ ตำหนักแห่งนี้ล่วงหน้า 1 วัน

ช่วงบ่าย เดินทางไปศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับมหาวิทยาลัยChina University of political science and law ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งตามแผนที่วางไว้ในการศึกษาดูงาน การแนะนำฝ่ายไทย นำโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำตัวและนักศึกษาที่ไปจากสวนสุนันทาด้วย หลังจากที่ได้แนะนำการจัดการศึกษาแก่กันและกันแล้ว ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักศึกษาของทั้ง 2 สถาบันได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ประเด็นสำคัญที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ 1.การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บูรณาการข้ามศาสตร์ โดย China University เน้นทางด้านกฎหมาย เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ทางฝ่ายสวนสุนันทา โดย ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้เสริมประเด็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทางด้านโดยใช้ทฤษฏี 2R การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งเสริมให้มีความสุขในการดำเนินชีวิตในการออกแบบพัฒนาทรัพยากรบุคคล ตั้งแต่เกิด จนถึงวัยทำงาน 2.นักศึกษาจาก China University ได้ถามคำถามว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามหลักการทางพระพุทธศาสนาทำอย่างไร ตัวแทนนักศึกษาศูนย์กรุงเทพ ได้ตอบว่ายึดหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา หลังจากที่ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแล้ว ศ.ดร.จิระ หงส์ลดารมภ์ ได้มอบผลงานการวิจัยให้กับ China University และถ่ายรูปร่วมกันเป็นที่ระลึก

การพัฒนากลยุทธ์ของจีนที่มุ่งการสร้างขีดความสามารถในได้รับการยอมรับในนโยบายการศึกษาและเน้นความซับซ้อนมีผลทำให้ในการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของการศึกษา แปลงนี้ได้มีส่วนร่วมผูกพันทรัพยากรที่สำคัญใหม่เพื่อการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในรูปแบบองค์กรสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของจีนเพื่อการเจริญเติบโตสูงอย่างต่อเนื่องผ่านการยกระดับคุณภาพและการผลิตของความคิดและทรัพย์สินทางปัญญาตามที่กำหนดไว้ และ จำนวนของนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในประเทศจีนมีการเติบโตที่ประมาณ 30% จากนั้นนำชมและจับจ่ายสินค้าที่ตลาดรัสเซีย ซึ่งทีทุกอย่างที่นั่น รายการซื้อจะต้อมีการต่อรองลงประมาณ 80% และทานอาหารค่ำ เข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง วันที่ 24 ตุลาคม ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี หอฟ้าเทียนถานเป็นสถานบวงสรวงเทพยดาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งซึ่งยังคงรักษาไว้ในจีน ประกอบด้วยตําหนักฉีเหนียนเตี้ยน ตําหนักหวงฉงอี่ และลานหยวนชิว เทียนถานตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงปักกิ่ง มีเนื้อที่ทั้งหมด ๒๗๓ เฮกต้าร์ เป็นสถานซึ่งจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิงใช้เป็นที่บวงสรวงเทพยดา ในระยะย่างเข้าฤดูหนาวถึงเดือนอ้ายตามจันทรคติทุกปี พระจักรพรรดิจะเสด็จไปประกอบพระราชพิธีบวงสรวงที่นั่นเพื่อให้การเก็บเกี่ยวได้ผลอุดม ตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นตําหนักเอก เริ่มก่อสร้างเมื่อ ค.ศ. ๑๔๒๐ ห่างจากปัจจุบัน ๕๐๐ กว่าปี เป็นรูปทรงกลมหลังคา ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงิน ไม่มีขื่อและอกไก่ อาศัยเสาไม้ ๒๔ ต้น เป็นโครงยึดไว้ซึ่งได้ชื่อว่า "ตําหนักไม่มีขื่อ" ภายในตําหนักมีภาพวาดสีประณีตงดงาม บนเพดานวาดเป็นรูปมังกรและหงส์ ลานหยวนชิวซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ของตําหนักฉีเหนียนเตี้ยนเป็นแบบคล้ายเวทีกลม ๓ ชั้น สร้างด้วยหินอ่อนสีนํ้าเงินและสีขาว แต่ละชั้นล้อมรอบด้วยลูกกรงหินอ่อนสีขาว เป็นสถานซึ่งพระจักรพรรดิบวงสรวงเทพยดาหรือขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตําหนักหวงฉงอี่สร้างเป็นรูปทรงกลมหลังคาชั้นเดียว มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีนํ้าเงินแก่ เป็นสถานสําหรับเก็บรักษาแผ่นป้ายพระนาม"เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์" ตําหนักนี้ล้อมรอบด้วยกําแพงเตี้ย ๆ กําแพงนี้สร้างถูกต้องตามหลักวิชาว่าด้วยเสียง จึงสะท้อนเสียงได้จนเป็นที่เลื่องลือ เมื่อสองคนยืนอยู่ที่กําแพงคนละฟาก คนหนึ่งพูดใส่กําแพงเบา ๆ อีกคนหนึ่งเอาหูแนบกับกําแพง ก็จะได้ยินเสียงพูดจากฝ่ายตรงกันข้าม

ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่ หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ

ชากุหลาบ

ประวัติของชาอูหลง ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน ถ้านับย้อนหลังไปก็รวมระยะเวลา ได้กว่า 4,000 ปี กล่าวคือ เมื่อ 2737 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ชาได้ถูกพบโดยจรรดิพรรดิ นามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิต และนักสมุนไพร เป็นคนรักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนง กำลังพักผ่อนอยู่ที่ใต้ต้นชา และกำลังต้มน้ำดื่มอยู่นั้น ปรากฏว่าได้มีลมโบกกิ่งไม้เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่ม ก็เกิดความรู้สึกกระปรี่กระเปร่าขึ้น พอมาในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านได้รู้ถึงสรรพคุณด้านเป็นยา ในสมัยนั้น จะดื่มชาเป็นยา เป็นเครื่อง บำรุงกำลัง พอชาได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชาและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5 ความนิยมใบชาในประเทศจีนเพิ่ม ขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการปลูกชาตามแนวเทือกเขา บริเวณหุบเขาแม่น้ำแยงซีเกียง ชาจะผลิตในรูปของการอัดแผ่น คือ การนำใบชามานึ่งก่อน และจากนั้นก็นำมากระ แทก จากนั้นนำไปผสมกับลูกพลัม ลักษณะที่ได้จะข้นๆเหนียวๆ จากนั้นนำไปเทลงบนแม่พิมพ์ และนำไปอบให้แห้ง ได้ชาออกมาเป็นแผ่น เมื่อนำมาเตรียมเป็นน้ำชา จะนำไปผิงไฟให้มันอ่อนตัว จนสามารถที่จะบดเป็นผงได้ จากนั้นก็นำไปผสมน้ำต้ม สมัยนั้น เริ่มมีการนำชาไปถวายเป็นของขวัญแด่ จักรพรรดิจีน สมัยราชวงศ์ถัง ถือเป็นยุดทองของชา(ค.ศ.618 - ค.ศ. 906) ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังเพียงอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องดื่มเพื่อ สุขภาพ ในสมัยนี้ขายังเป็นรูปแบบของการอัดเป็นแผ่นอยู่ แต่ในขั้นตอนการเตรียมชา ได้มีการเติมเกลือลงไป เพื่อให้ชามีรสชาติเข้มข้นขึ้น และมีการเต่งรสอื่นๆซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นเครื่องเทศ เช่น หัวหอมหวาน ขิง เปลือกส้ม กานพลู และสารแหน่ สมัยราชวงศ์ซ้อง(ค.ศ. 960 - ค.ศ.1279) ชาได้เติมเครื่องเทศแบบในสมัยถัง แต่จะเพิ่ม รสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว มาถึงราชวงศ์หมิง(ค.ศ.1368 - 1644) ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มีการรวมรวบใบชา นำมานึ่งและอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป แรกเริ่มเป็นชาเขียว เมื่อการค้าพัฒนาขึ้น อย่างต่อเนื่อง ก็มีการพัฒนาการบวนการผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพของใบชาให้นานขึ้น โดนได้คิดค้นกระบวนการที่เรียกว่าการหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็น ที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีนมีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้ สมัยนั้นตลาดยุโรปต้องการมาก ออกเดินทางชมเมืองเทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร

เศรษฐกิจเมืองเทียนจิน นอกจากจัดเป็นเมืองท่าที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศจีนท่าเรือเทียนจินมีสินค้าเข้าออกราว 160 ล้านตัน โดยสินค้าที่ผ่านท่าเรือแห่งนี้กว่า 80% เป็นถ่านหิน แร่ธาตุ และผลิตภัณฑ์น้ำมัน จึงนับเป็นศูนย์ท่าเรือใหญ่ริมทะเลป๋อไห่ทางภาคเหนือของประเทศ ยังเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางทางการค้า การขนส่งการสื่อสารที่สำคัญของจีนตอนเหนือ มีชายฝั่งทะเลยาว 133 กม.ทางฝั่งตะวันออก อุดมด้วยทรัพยากรทางทะเล และยังเป็นเขตเมืองท่าและฐานอุตสาหกรรมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในมหาสมุทร สภาพภายในเมืองยังมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วไป ซึ่งตกค้างมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 19 ในยุคล่าอาณานิคมพื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออกขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนจินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป

เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐได้รับการอนุมัติโดยสภาแห่งรัฐของจีนในปี 1981 เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลากหลายวิชา ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมในการศึกษาภาษาจีน,โปรแกรมสำหรับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาต่างๆ ทั้งวิทยาศาสตร์, วิศวกรรม, การจัดการ, วรรณคดี, ศิลปะและกฎหมาย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัย ยังได้เปิดวิทยาลัยการศึกษานานาชาติ The College of International Education (CIE) ที่จัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาต่างชาติ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะ จนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้รับนักศึกษาต่างชาติจากกว่า 40 ประเทศทั่วโลกย เป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนจิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วย

นอกจากนี้นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร

วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ

หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

ไปสู่กำแพงเมืองจีน ถือว่าเป็นโครงการก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เกิดด้วยฝีมือมนุษย์ มีการเกณฑ์แรงงานเกือบล้านคน และยังมีแรงงานจากพวกนักโทษผู้ซึ่งถูกโกนหัว และมีตรวนเหล็กคล้องคอ คนเหล่านี้ต้องทำงานในถิ่นทุรกันดารท่ามกลางอุณหภูมิเลวร้าย คือ ๓๕ องศาเซลเซียสในฤดูร้อน และ -๒๑ องศาเซลเซียสในฤดูหนาว ต้องอด ๆ อยาก ๆ เพราะเสบียงที่ส่งมามักถูกขโมยกินหรือถูกยักยอกนำไปขาย คนงานนับพันจึงต้องล้มตาย ร่างถูกฝังอยู่ใต้กำแพง กำแพงเมืองจีนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลุมฝังศพที่ยาวที่สุดในโลก” ด้วย

เหตุผลที่ว่า เหตุใดจึงมีการสร้างกำแพงอันยิ่งใหญ่นี้ขึ้นนั้นไม่มีผู้ใดทราบแน่นอน ที่มาเริ่มแรกเข้าใจว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นปราการป้องกันการบุกรุกของชนเผ่ามองโกเลียทางภาคเหนือแต่มีผู้ให้เหตุผลว่า ความจริงกำแพงสูงและยาวขนาดนี้ ไม่อาจป้องกันกองทัพใด ๆ ของผู้คิดจะบุกรุกจีนได้ เพียงทำลายส่วนหนึ่งของกำแพงลง ก็อาจยกทัพผ่านได้ ซึ่งก็เคยปรากฏอยู่เสมอในประวัติศาสตร์จีน กำแพงเป็นเพียงเครื่องสกัดกั้นหรือก่อให้ศัตรูยุ่งยากในด่านแรกเท่านั้น เหตุผลที่น่าฟังอีกอย่างหนึ่งคือ กำแพงนี้ได้ปิดกั้นทางน้ำไม่ให้ไหลออกไปภายนอก ชาวจีนทำไว้เพื่อให้ชนเผ่ามองโกเลียต้องลำบากในการปีนป่ายขึ้นมาหาน้ำเป็นสำคัญ แต่บางฝ่ายก็ให้เหตุผลว่า กษัตริย์จีนทรงสร้างกำแพงขึ้นเพื่อเป็นเครื่องประดับพระเกียรติ ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนสนใจเฉพาะกำแพงตอนที่สร้างไว้รอบเมืองเก่าแก่เท่านั้น แต่ที่แน่นอนก็คือ กำแพงนี้ใช้เป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างชาวตะวันออกกับตะวันตก

ประวัติกำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้นกว่า 2000 ปีมาแล้ว ตั้งแต่สมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิ์องค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยกษัตริย์องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมามีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เรา สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จน เป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมาก เสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความ ยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความ ยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

การขึ้นชมกำแพงเมืองจีนขณะเดินทางได้ผ่านรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา นั่งกระเช้า และเดินต่อเพื่อไปยังกำแพงเมือง ตามแต่จะสามารถเดินได้

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร

แรงบันดาลใจ (Inspiration) ไปสู่

Excellence คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น เห็นได้ว่าประเทศจีนมีการพัฒนา

ไปอย่างรวดเร็ว เห็นได้ทางด้านการพัฒนา การวางผังเมือง แผนพัฒนาในระยะยาวที่ต้องการจะจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่สามารถเดินทางได้ในเวลาอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีแผนที่จะจำสร้างให้ถึงประเทศไทยโดยรัฐบาลยึดหลักของทฤษฏีทุนแห่งความสุข ของประชาชน ที่สำคัญ ประเทศจีนเห็นความสำคัญของการศึกษาในการพัฒนาทางด้านทุนมนุษย์ เพื่ออนาคตในระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทฤษฏีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เกี่ยวกับทฤษฏี 4 L

*Learning Methodology เข้าใจวิธีการเรียนรู้Learning

*Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้Learning

*Opportunities สร้างโอกาสในการเรียนรู้

*Learning Communities สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้

และ 2 R

*Reality ความจริง

*Relevance ที่เกี่ยวข้อง

Benchmark คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น รัฐบาลได้จัดเตรียมการในการก่อสร้างทางด้านอาคารสถานที่ซึ่งจะแบ่งอย่างเป็นระบบ และมีมาตรฐาน รัฐสามารถควบคุมได้ในทุก ๆ เรื่อง เช่นปั้มน้ำมัน จะไม่มีในเมืองใหญ่ ๆ จะมีนอกเมืองเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของประเทศ และประชาชน

อย่างที่สองคือ เมืองเทียนจินเป็นเมืองอุตสาหกรรม จึงมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยทางด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี (Tianjin University of Technology ) จะส่งผลถึงการจัดการศึกษา เพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม ซึ่งส่งผลถึงการจัดการศึกษา ในยุคโลกาภิวัตน์ ดังแนวคิดของทฤษฏี 5 K

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

Quality คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น คนจีนนั้นโดยทั่วไปเป็นคนมีวินัย ขยันหมั่นเพียร อดทน รักตัวเองออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตัวอย่างนักเรียนในประเทศจีนเป็นคนขยันตลอดเวลา รัฐบาลจีนให้ความสำคัญต่อการศึกษาอย่างมากเหนือกว่าการ พัฒนาสาขาใด ๆได้กำหนดนโยบาย "การพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ และการศึกษา" นอกจากนั้น ยังมุ่งที่จะปฏิรูประบบการศึกษาในแนวลึก โดยการจัดการศึกษาแบบให้เปล่าถึง 9 ปี รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐในทุกระดับ เพิ่มการลงทุนทางด้านการศึกษา และส่งเสริมให้ประชาชนทุกสาขาอาชีพมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การศึกษาในทุกช่องทางและทุกวิถีทาง การศึกษายึดมั่นในหลักการ "การพัฒนาสู่ความทันสมัยเปิดสู่โลกและอนาคต" และยังใช้หลักการดังกล่าวนำไปสู่การปฏิรูป และการสร้างการศึกษาให้ก้าวหน้าต่อไป การศึกษาของ จีนมีกระทรวงศึกษาธิการ ( Ministry of Education - MOE ) กำกับดูแล และคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ( State Education Commission - SEC ) เป็นผู้วางแผนการศึกษาตามนโยบายรัฐ และควบคุมคุณภาพการศึกษา

Standard คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น ทางด้านการศึกษา แนวคิดของการพัฒนาโรงเรียนไปสู่มาตรฐานสากล ที่ขับเคลื่อนอยู่ในขณะนี้นับได้ว่าเป็นการต่อยอดของการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีคุณภาพเป็นประเทศชั้นนำของโลกยุคปัจจุบัน บนวิถีของความเป็น มีเรื่องราวอยู่หลายประเด็นที่คนในวงการศึกษา และมีความชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้าทำให้จีนพึ่งตนเองสูง อีกยังต้องหาพันธมิตรเพื่อขยายเครือข่ายให้กว่างขวางมากขึ้นอย่างเป็นระบบ ที่จีนสามารถพัฒนาจนเป็นเช่นนี้ เกิดจากกระแสความคิด 2 กระแส

1. กระแสแรก จีนได้วางพื้นฐานอุตสาหกรรมหนักไว้ตั้งแต่ต้นและไม่เคยละทิ้ง เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องจักรกล เคมี จึงกลายเป็นพื้นฐานรองรับและประกันการพัฒนา

2. กระแสที่สอง ในช่วงที่จีนเปิดประเทศใหม่ๆ ว่าด้วยแนวทางที่จะนำเข้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีกลุ่มหนึ่งเห็นคล้อยตามคำแนะนำของประเทศที่พัฒนาแล้วสมัยนั้นว่า ควรที่จะพัฒนาตามขั้นตอน เนื่องจากเทคโนโลยีจีนขณะนั้นล้าหลังอยู่มาก จึงเลือกนำเข้าเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในระดับก่อนหน้าสมัยนั้น 5-10 ปี ถึงแม้เทคโนโลยีที่จีนใช้ในขณะนั้นจะล้าหลังในสากลโลก แต่ถือว่าทันสมัยมากสำหรับจีน ในการผลิตและจำหน่ายในตลาดของจีน ซึ่งรับความนิยมสูงมาก เช่น รถยนต์ จักรยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

ขณะเดียวกัน ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่า พื้นฐานทางวิชาการและเทคโนโลยีจีนพร้อมอยู่แล้ว จึงเลือกที่จะก้าวกระโดดโดยซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุด ณ ขณะนั้น เช่น ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสาร เทคโนโลยีอวกาศ อุตสาหกรรมเหล็ก ปรากฏในภายหลังว่า ทั้งสองกลุ่มได้พบจุดบรรจบกันในช่วงสิ้นศตวรรษที่ 20 และนำมาซึ่งความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมอีกระลอกดังที่เห็นกันขณะนี้ผลและสภาพของการพัฒนาเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมของจีนที่เราได้เห็นทุกวันนี้ นักวิชาการจีนส่วนใหญ่มองว่าเป็นผลเกิดจากการปูพื้นฐานทางวิชาการและการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักตั้งแต่สมัยแรก กลายเป็นหลักประกันสนับสนุนให้อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งอุตสาหกรรมเบา เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ ให้พัฒนาอยู่บนขาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบ เช่น เหล็กและโลหะอื่นๆ พลาสติก และเคมี ที่เป็นพื้นฐานนำไปแปรรูปต่อจนจีนสามารถพึ่งพาตนเองได้ในระดับสูงดังที่เป็นอยู่ และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเทคโนโลยีและสิทธิบัตรตราสินค้าของตนเอง และยั่งยืนดังแนวคิดทฤษฏีของ ศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ ได้กล่าวว่าทรัพยากรมนุษย์ คือ การลงทุน การลงทุน คือ การเสียโอกาสวันนี้ เพื่อจะให้ได้ประโยชน์ หรือผลตอบแทนที่มากขึ้นในวันหน้า และสิ่งที่สำคัญของการทำงานเรื่องคนให้สำเร็จ คือ ผู้นำหรือองค์กรจะต้องมอง “คน” หรือ “ทรัพยากรมนุษย์” เป็นการลงทุน นั่นคือ หากเราต้องการ คนเก่ง – คนดี เราต้องพัฒนา และทำอย่างต่อเนื่อง..วัดผล

Best Practice คือ จากการเรียนรู้ที่ไป study tour ณ ประเทศจีนนั้น ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการลงทุนภายในประเทศสูงที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอ มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ต้องนำเอากลยุทธ์ของการปลูกและการเก็บเกี่ยว การพัฒนาทุนมนุษย์ สร้างฝันและกำลังใจ ในการทำงาน เพื่อให้ทุนทางความสุขได้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน การปลูกคือการสร้างสิ่งใหม่ สร้างแรงบันดาลใจ แรงผลักเพื่อให้คนในหน่วยงาน สร้างบรรยากาศนำหลักการบริหารองค์กรตามทฤษฏี 8K 5K ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังที่ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวไว้ว่า ”ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดในปัจจุบัน ไม่ใช่เงิน สิ่งของหรือเครื่องจักร แต่เป็นคน” การเก็บเกี่ยวต้องมีวัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศ การกระทำของคน ร่วมด้วย การที่อยากรู้ต้องหาความรู้ ทุนมนุษย์ต้องปลูกก่อนแล้วค่อยเก็บเกี่ยว การปลูกต้องเริ่มจากตัวเราก่อน ปลูกที่ตัวเรา สร้างองค์กร เป็นการปลูกต่อ เพื่อรอเก็บเกี่ยวในภายหลัง การเก็บเกี่ยวคือการดึงศักยภาพของหน่วยงานออกมาให้ได้ การสร้างขวัญและกำลังใจตลอดเวลา เพราะทุกอย่างต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ปลูกตลอดเวลา

ชื่อ นางสาววาสนาไทย สิงหฬ ศูนย์ นครราชสีมา รหัส 53484940004 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา รหัส 53484940004 โทรศัพท์ 084-8341486 อีเมลล์ [email protected] ชื่อชิ้นงาน สรุป Study Tour ประเทศจีน สรุป Study Tour ปักกิ่ง เทียนสิน ประเทศจีน

จากการได้ร่วม study tour กับท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่ประเทศจีน วันที่ 23 ตุลาคม 2554 เริ่มออกเดินทางจากนครราชสีมา เวลา 10.00 น. ถึงสนามบินสุวรรณภูมิเวลา 18.00 น. คณะเดินทางรวมตัวกันที่ ประตู 9 สนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่เวลาประมาณ 21.00 น. มีการทักทายปราศรัย และทำความรู้จักกัน ถ่ายรูปร่วมกันระหว่างผู้เรียนทั้ง 2 ศูนย์ คือ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา ในเวลา 23.30 น. เริ่มทยอยกันเช็คอิน ตรวจเอกสารผ่านตำรวจตรวจคนเข้าเมือง คณะเราออกเดินทางประมาณ 1.00 น. โดยสายการบิน China Airline เที่ยวบินที่ CA980 ถึงสนามบินกรุงปักกิ่ง เวลาประมาณ 6.30 น. สนามบินกรุงปักกิ่งเป็นเมืองประวัติศาสตร์เก่าแก่ เดิมเป็นเมืองสำคัญทางการค้า เมื่อ 500 ปีก่อนคริสตกาล หลังการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและการสู้รบกลางเมือง ค.ศ. 1949 พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ชัยชนะ จึงประกาศตั้งรัฐบาลและกรุงปักกิ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศนับแต่นั้นมา และสนามบินกรุงปักกิ่งนี้เป็นสนามบินนานาชาติ ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 43 ล้านคนและเพิ่มเป็น 55 ล้านคนในปี 2015 ซึ่งใหญ่กว่าเพนตากอนของสหรัฐอเมริกา ผู้ออกแบบสนามบินคือ Foster & Partners สถาปนิกนักเดินทางที่เข้าถึงจิตใจผู้โดยสาร ด้วยการออกแบบทางเดินแต่ละส่วนให้สั้นที่สุด และใช้นวัตกรรมใหม่ที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนภายในตัวอาคาร แยกอาคารผู้โดยสารขาเข้าแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ อาคารผู้โดยสารขาเข้าซึ่งเป็นจุดจอดรถ และตรวจคนเข้าเมือง และเดินทางด้วยรถราง มาอีกอาคาร เพื่อรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดกระจายผู้โดยสาร การจัดระบบนี้เป็นแนวคิดหลักสำหรับการจัดกีฬาโอลิมปิค เมื่อปี 2008 เพื่อลดความคับคั่งของผู้โดยสาร นับว่าเป็นความโชคดีของคณะ study tour ของเราที่ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว ท่านศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้พานักศึกษา ศึกษาดูงานตามวัตถุประสงค์ ที่ปักกิ่ง และเทียนสิน ซึ่งทั้งสองแห่งได้รับความรู้ที่หลากหลาย กล่าวคือ

ช่วงเช้าวันแรก 24 ตุลาคม 2554 เดินทางไปชมจัตุรัส เทียนอันเหมิน ซึ่งเป็นจัตุรัสที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก ชมศาลาประชาคมที่สามารถบรรจุคนได้นับหมื่นคน ชมอนุสาวรีย์วีรชน และพระราชวังกู้กง หรือพระราชวังต้องห้ามซึ่งในอดีตเคยเป็นที่ประทับของจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง รวม 24 รัชกาล ภายในประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ถึง 9,999 ห้องบนเนื้อที่กว่า 720,000 ตารางเมตร หลังจากนั้นนักศึกษาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน China University of political and law ดำเนินการจัดการศึกษาด้วยการบูรณาการหลายศาสตร์ (Multi-disciplinary) โดยนำความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เข้าร่วมกับการจัดการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ๆ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา เศรษฐศาสตร์ และการจัดการ ปัจจุบันมีนักศึกษาเต็มเวลารวม 14,416 คน รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา 5,753 คน ซึ่งในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยได้พูดถึงบทบาทของการทดสอบความรู้ ที่เรียกว่า Programme for International Student Assessment หรือ PISA เป็นโครงการประเมินผลการศึกษาของประเทศสมาชิก ที่ดำเนินการโดย Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจระบบการศึกษาของนานาประเทศว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย PISA เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน โดยจัดให้มีการทดสอบสมรรถนะเด็กนักเรียนวัย 15 ปี หรือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากทั่วโลก โดยเริ่มดำเนินโครงการ ตั้งแต่ ปี 2000 ในปีที่ผ่านมานักเรียนทั้งหมด 470,000 คน จากโรงเรียนต่างๆใน 65 ประเทศ เข้าร่วมการประเมินเชิงเปรียบเทียบนี้ โดยทุกประเทศจะใช้ข้อสอบชุดเดียวกัน และมีการกำหนดพื้นที่ ขนาดโรงเรียนในการสอบที่เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยPISA มีการประเมินสมรรถนะที่เรียกว่า Literacy ใน 3 ด้านคือการอ่าน (Reading Literacy) คณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) ซึ่งจะวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน แต่จะเน้นหนักในด้านใดด้านหนึ่งในการประเมินแต่ละระยะ โดยแบ่งการประเมินเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 (Phase I: PISA 2000 PISA 2003 และ PISA 2006) และรอบที่ 2 (Phase II: PISA 2009 PISA 2012 และ PISA 2015) กล่าวคือ

การประเมินผลระยะที่ 1 (PISA 2000 และ PISA 2009) เน้นด้านการอ่าน ให้น้ำหนักข้อสอบด้านการอ่าน 60% และที่เหลือเป็นด้าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%

การประเมินผลระยะที่ 2 (PISA 2003 และ PISA 2012) เน้นด้านคณิตศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านคณิตศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและวิทยาศาสตร์อย่างละ 20%

การประเมินผลระยะที่ 3 (PISA 2006 และ PISA 2015) เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ให้น้ำหนักข้อสอบด้านวิทยาศาสตร์ 60% และด้านการอ่านและคณิตศาสตร์อย่างละ 20%

ในแต่ละทักษะ ไม่ได้เน้นเรื่องของการการอ่านออกเขียนได้ การคิดเลขเป็น แต่ สิ่งที่ PISA เน้นคือความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโจทย์ที่ซับซ้อนได้ ผลการสอบล่าสุด เด็กนักเรียนเซี่ยงไฮ้ของจีนเป็นกลุ่มที่มีการศึกษาดีที่สุดในโลก ตามด้วยเกาหลี ฮ่องกง-จีน จีนไทเป ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ที่ล้วนมีคะแนนอยู่ในกลุ่ม 5 หรือ 10 ประเทศแรก ทุกวิชา ส่วนนักเรียนไทย แสดงผลการประเมินต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชาเมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000)โดยผลการประเมิน PISA นี้ไม่เพียงแต่เป็นกระจกที่สะท้อนให้เราเห็นได้ว่าความสามารถของเด็กนักเรียนใน ประเทศของตนเองนั้นเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น แต่ยังเป็นตัวที่บ่งชี้เรื่องการเรียนการสอนแบบไหนที่เด็กนักเรียนกำลังได้รับ – มิติได้การศึกษา ร่วมถึงการสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องการพัฒนาและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไปอีกด้วย

จากการประเมินได้ระบุเงื่อนไขและความสำเร็จของประเทศที่พูดภาษาจีนมาจาก ชาติเหล่านี้ตรวจสอบและปรับปรุงระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มุ่งเน้นคุณภาพครูผู้สอน และปรับปรุงโรงเรียนที่มีผลการเรียนระดับต่ำ

ซึ่งจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้ข้อคิดในเรื่องการจัดการศึกษาของไทยในหลายด้านซึ่งด้านที่สำคัญคือการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยเพื่อให้ตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะก้าวไปได้อย่างไรให้มีคุณภาพในอนาคต

ท่าน ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้แนะนำในส่วนของการจัดการการศึกษาในประเทศไทยเกี่ยวกับความเป็นมา ที่เริ่มจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สู่การสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัย ตลอดจนการจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมี 4 ศูนย์ที่จัดการเรียนการสอนแบบ VDO Conference ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา เลย และภูเก็ต สำหรับนักศึกษาที่เดินทางมาศึกษาดูงานครั้งนี้ มี 2 ศูนย์ได้แก่ กรุงเทพมหานครและนครราชสีมา รวมทั้งหมด 21 คน จาก MBA EDUCATION CENTER OF CUPL ได้รับคำถามจากนักศึกษาที่น่าสนใจเรื่องการจัดการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความสุขในวัยรุ่น และการนำศาสนาพุทธเข้ามาพัฒนาทุนมนุษย์ได้อย่างไร ซึ่งท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และตัวแทนนักศึกษาไทยศูนย์กรุงเทพมหานครได้ช่วยตอบคำถาม ในสิ่งที่ทางประเทศไทยเราได้พัฒนาเรื่องทุนมนุษย์มานานแล้ว ทั้งทฤษฎี 8 k’s 5K’s ของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และในแนวพุทธทางด้านศีลธรรม จริยธรรม ศาสนานั้นถือว่าเป็นจุดศูนย์รวมจิตใจของคนไทยมาช้านานแล้ว เป็นวัฒนธรรมของคนที่นับถือศาสนาพุทธทั้งประเทศก็ว่าได้ จะเห็นได้ว่าทั้งทฤษฎีของท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และศาสนาพุทธ เป็นสิ่งที่คนไทยได้นำมาปฏิบัติและประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง ท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้ กล่าวถึงสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จเยือนประเทศจีน เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทย จีน และพระราชกรณียกิจที่ท่านได้เสด็จมาประเทศจีนบ่อยครั้ง

ในช่วงเวลา 16.00 น. เป็นเวลาในประเทศจีน ซึ่งเร็วกว่าไทยหนึ่งชั่วโมง เข้าชมและช้อปปิ้งตลาดรัสเซีย ทานอาหารค่ำ และเข้าชมกายกรรมปักกิ่ง “Legend of jinsha”ที่น่าตื่นเต้นเลื่องชื่อและน่าหวาดเสียวผสมผสานกับความสวยงาม อ่อนช้อยพิเศษกับการแสดงแนวใหม่ที่ตื่นเต้นมากกว่าเดิมกับมอเตอร์ไซด์ไต่ถัง

วันที่ 25 ตุลาคม 2554 ได้ชม”หอบวงสรวงฟ้าเทียนถาน”ซึ่งกษัตริย์จีน ใช้เป็นสถานที่บวงสรวงเทพยดาฟ้าดิน ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ตามความเชื่อในพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีประวัติยาวนานกว่า 500 ปี ชมศูนย์วิจัยทางการแพทย์แผนโบราณ ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการแพทย์แผนโบราณตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน การส่งเสริมการใช้สมุนไพรจีนที่มีมานานนับพันปีพร้อมรับฟังการวินิจฉัยโรคโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้าชมและชิม ชาอวู่หลงของปักกิ่งและชาที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่นชาแดง ชาผลไม้ ชามะลิ และชากุหลาบ

วันที่ 26 ตุลาคม 2554 เวลา 07.00 น. ออกเดินทางชมเมืองเทียนสิน ขณะเดินทางได้สัมผัสกับวัฒนธรรมของจีนโบราณที่ยังคงความสวยงามน่าชม เนื่องจากอาคารทั้งสองฟากฝั่งถนนนั้นยังคงความดั้งเดิมไว้อย่างน่าชื่นชม เมืองเทียนสินเป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง ห่างจากกรุงปักกิ่ง 120 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมและการค้าที่สำคัญของภาคเหนือ เป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งทางเรือไกลและใกล้ และการค้าขายระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมของเมืองเทียนสิน มีเหล็กกล้า การผลิตเครื่องจักร เคมี พลังงานไฟฟ้า ปั่นทอ วัตถุก่อสร้าง ทำกระดาษ และขนม อุตสาหกรรมใหม่มี ทำเรือ รถยนต์ ขุดน้ำมันปิโตเลียม แทรคเตอร์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบศัตรูพืช นาฬิกา โทรทัศน์ และเครื่องถ่ายรูป ฯ และในเวลา 09.30 น. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สถาบัน Tianjin University of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีลักษณะคล้ายสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง หรือเทคโนโลยีราชมงคลของไทยเรา แนวการจัดการศึกษานั้นเป็นการดำเนินการจัดเพื่อรองรับในด้านงานอุตสาหกรรมของเมืองเทียนสิน และได้รับความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาของไทยทางด้านเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน งบประมาณในการจัดการบริหารสถาบันการศึกษาได้งบสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเมืองเทียนสินส่วนหนึ่ง ในเวลาต่อมาออกเดินทางกลับเพื่อพบท่านทูตไทยในกรุงปักกิ่งใน เวลา 14.00 น. นับว่าเป็นโชคดีที่ทางสถานทูตไทย ที่ประจำในประเทศจีน ท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ และคณะ ท่านให้เกียรติกับท่านศาสตราจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์พร้อมกับนักศึกษาเข้าเยี่ยมคารวะท่านและร่วมฟังแนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน ท่านได้แบ่งปันความรู้เรื่องการทำตลาด ในหลายช่องทาง โดยมองจากภาพใหญ่เชิงประชากรศาสตร์ และภูมิศาสตร์ เช่น การตลาดทางวัฒนธรรมบันเทิง คือ T-pop ที่ส่งเสริมภาพลักษณ์ดาราไทย ภาพยนตร์ไทย ในตลาดจีน การทำ คุณค่าเพิ่มจากการร่วมกิจกรรมทางสังคม การทำ logistic ในเขตเมืองหลักและเมืองรอง ผ่านระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ ทั้งเชิงรุกและเชิงรับ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า โดยยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม สุดท้ายท่านได้ให้ข้อคิดว่า ประเทศไทยที่ควรจะได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากคือ การยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด ต้องปรับระบบด้านการคิด การใฝ่รู้อยู่ตลอดเวลา

จากนั้นเดินทางสู่พิพิธภัณฑ์ผีเซียะ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามตำนานของชาวจีนให้ท่านได้ชมและลูบผีเซียะโบราณที่ศักดิ์สิทธิ์ เพื่อขอโชคลาภ

วันที่ 27 ตุลาคม 2554 เริ่มออกเดินทางออกจากที่พักเวลา 07.00 น. เดินทางไปสู่กำแพงเมืองจีน ด่านปาต้าหลิ่ง ด่านที่ได้ชื่อว่า จุดชมวิวกำแพงเมืองจีนที่สวยที่สุด เพราะจะได้เห็นวิวในมุม 360 องศา โดยนั่งกระเช้าขึ้นชม ผ่านทางรถไฟสายเก่าแก่ที่สุดในโลก เส้นทางรถไฟสายไซบีเรีย ที่ยาวที่สุดในโลก ที่สร้างขึ้นขนานราบไปตามแนวภูเขา นำสู่ด่าน จี ยง กวน นำชมกำแพงยักษ์ กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ สิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลก โดยพระจักรพรรดิฉินซี ทรงบัญชาให้สร้างขึ้นรวบรวมกำแพงเมืองต่าง ๆ เข้าด้วยกันมีความยาวถึง 6,700 กิโลเมตร ครอบคลุมอาณาบริเวณทั้งสิ้นรวม 5 มณฑล เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกลและพวกเติร์ก จากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรีย สามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ เมื่อทอดสายตาตลอดแนวกำแพงไปจะเห็นได้ว่ากำแพงยักษ์แห่งนี้เปรียบเสมือนพญามังกรอันยิ่งใหญ่ที่กำลังเริงลีลาอยู่บนยอดเขาด้วยท่าทางอย่างองอาจและสง่างาม จากนั้นชมโรงงานหยกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้ชมหยกโบราณ การแกะสลักหยกในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการดูหยกของแท้ว่าจะทำอย่างไร ได้ผ่านชมสนามกีฬาโอลิมปิค สุดท้าย แวะบริษัท เป่าสู้ถาง ร้านบัวหิมะ ยาจีน ชนิดต่าง ๆ

เวลา 19.40 น. เดินทางกลับสู่กรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งเมืองจีน ทุกเมือง กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้นักท่องเที่ยวทั่วไปได้รู้จักในนามของรัฐบาล เช่น ร้านผ้าไหม นวดฝ่าเท้า ร้านบัวหิมะ ร้านชา ร้านไข่มุก ร้านหยก ร้านผีเซียะ ทุกรายการ บรรจุในโปรแกรมทัวร์ ด้วย เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับประเทศจีนได้อย่างยั่งยืน กฎหมายและกฎข้อบังคับของจีนก็ทวีความสมบูรณ์ยิ่งฃึ้น อย่างต่อเนื่อง ตลาดเปิดกว้างยิ่งฃึ้นมิได้ขาด บรรยากาศการลงทุนได้รับการปรับปรุงดีขึ้นอย่างไม่ ขาดสาย การปฏิรูประบบการเงินได้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ทั้งนี้และทั้งนั้นล้วนได้สร้างหลักประกันที่พึ่งพาอาศัยได้แก่เศรษฐกิจจีนที่จะพัฒนาก้าวหน้าต่อไป

จุดแข็งในทางเศรษฐกิจของจีนจุดแข็งในการพัฒนาจีนมีศักยภาพอยู่มาก เช่น การมีประชากร 1,300 ล้านคน ทำให้การผลิตแบบประหยัดจากขนาดใหญ่ (Economy of Scale) ซึ่ง เป็นขนาดในฝันของนักเศรษฐศาสตร์ นักวางแผนทั้งหลาย จีนมีอัตราการออมในประเทศสูง มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่สูงมาก มีขนาดตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ ทำให้จีนพึ่งตนเองหรือพึ่งตลาดภายในประเทศเป็นสัดส่วนสูงกว่าการพึ่งการค้าระหว่างประเทศมาก การพัฒนาแบบสังคมนิยมที่ผ่านมา 50 กว่าปี (ก่อนที่จะปฏิรูปเป็นระบบตลาดเมื่อ 20 กว่าปีนี้) ทำให้คนจีนมีพื้นฐานทางการศึกษาทั่วไป, มีวินัยในการทำงานที่ดี (แม้ว่าวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับสูงยังพัฒนาได้ไม่มากนัก) ไม่มีปัญหาความแตกต่างทางเชื้อชาติมาก รัฐบาลค่อนข้างมีเอกภาพและประสิทธิภาพ จีนมีเครือข่ายคนจีนโพ้นทะเล ซึ่งชำนาญเรื่องอุตสาหกรรมการค้า ที่พร้อมจะร่วมลงทุน และเข้าไปช่วยพัฒนาเศรษฐกิจ ของจีน

จุดอ่อนในทางเศรษฐกิจของจีน เมื่อเทียบกับขนาดของประเทศ และทรัพยากรต่าง ๆ การมีประชากรมากทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องมีการพัฒนาการบริหารจัดการด้านเกษตร อุตสาหกรรม และบริการที่จำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมาก จึงจะทำให้คน 1,300 ล้านคน(เป็นคนสูงอายุเกิน 60 ปีขึ้นไปถึง 10% หรือ 120 ล้านคน) มีงานทำ มีอาหารการกิน มีปัจจัยสี่ และปัจจัยพื้นฐานอื่น ๆ อย่างเหมาะสม โจทย์สำคัญที่ต้องค้นคว้าเจาะลึกอย่างวิพากษ์วิจารณ์ ว่าจีนจะสามารถพัฒนาให้คน 1,300 ล้านคนมีการกินอยู่ที่ดีขึ้นทั่วถึงหรือไม่ มีความรู้ มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โครงสร้างเศรษฐกิจสังคมเข้มแข็ง เจริญเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างสม่ำเสมอเพียงไร และเศรษฐกิจจีนในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนและการค้ากับประเทศอื่น ๆ จะมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลกอย่างไร

บทบาทของจีนต่อเศรษฐกิจโลก

ปัจจุบัน จีนเป็นประเทศที่มีการออม มีการลงทุนภายในประเทศสูง การลงทุนสุทธิ จากต่างชาติในรอบ 10 ปีหลัง ตกปีละกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดทั้งในเอเชียและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมด จีนกำลังจะเติบโตแน่ ๆ แต่เราไม่อาจมองเฉพาะเส้นกราฟของความเติบโตทางเศรษฐกิจเท่านั้น ต้องมองปัญหาภายในของสังคมจีน โดยเฉพาะปัญหาเรื่องคุณภาพชีวิตของคน ฐานะขนาดใหญ่ของจีนอาจจะทำให้เกิดอำนาจต่อรองในองค์การค้าโลก (WTO) ที่จะถ่วงดุลกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมได้บ้าง แต่ในยุคโลกาภิวัตน์ จีนก็คงจะคำนึงถึงประโยชน์ตัวเองมากกว่าที่จะหาเสียงทางการเมืองกับประเทศกำลังพัฒนาเหมือนในยุคที่ยังมีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยมกันอยู่ การเติบโตของจีนและผลกระทบต่ออาเซียนและต่อไทยการมองว่าการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนจะเป็นผลดีต่ออาเซียน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกเป็นการมองตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เสรีนิยมใหม่อย่างง่าย ๆ มากไปหน่อย เราต้องพิจารณาให้ดีว่า จะเป็นผลบวกและผลลบอย่างไร และที่ว่าเป็นประโยชน์นั้น เป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออก,ผู้สั่งเข้า, ผู้ร่วมลงทุน หรือต่อประชาชนทั่วไป จีนองก็จะได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ คนที่ได้รับผลลบคือภาคเกษตร ที่ล้าหลัง ยากจนและเคยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล จะแข่งขันสินค้าเกษตรจากประเทศอื่น โดยเฉพาะจากประเทศพัฒนา เช่น สหรัฐไม่ได้, พนักงานรัฐวิสาหกิจซึ่งขณะนี้มีถึง 70% ของแรงงานภาคอุตสาหกรรมจะถูกเลิกจ้างเพราะการยุบเลิก, การแปรรูป, ปรับโครงสร้างใหม่ จีนเองก็คงรู้ว่ามีผลลบด้วย แต่จีนต้องการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทันสมัยจึงยอมเปิดรับบริษัทข้ามชาติ ซึ่งเมื่อ 30 ปีที่แล้วเคยเป็นศัตรูทางอุดมการณ์ การมองว่า ถ้าจีนกับอาเซียน หรืออาจจะรวม ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (อาเซียน + 3) รวมกันเป็นเขตการค้าเสรี จะกลายเป็นเขตการค้าเสรีที่ใหญ่มหึมาในแง่ประชากร และผลิตภัณฑ์มวลรวมนั้น เป็นการมองแบบคิดเอาในเชิงสถิติเท่านั้น ความจริงก็คือ จีนกับอาเซียนผลิตสินค้าหลายอย่างใกล้เคียงกัน จึงเป็นคู่แข่งกันโดยปริยาย ปัจจุบันจีนกับอาเซียนมีการลงทุนและค้าขายกันน้อย เมื่อเทียบกับที่ทั้งจีนและอาเซียน มีการลงทุนและค้าขายกับประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม 3 กลุ่มใหญ่ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป เป็นด้านหลัก หรือมากกว่าครึ่งหนึ่งในอนาคตมีแนวโน้มที่จีนกับอาเซียนจะลงทุนและค้าขายระหว่างกันมากขึ้น แต่การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก หมายถึง จีนจะเปิดรับการลงทุน และการค้ากับประเทศทั่วโลก การที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก ซึ่งจะทำให้จีนเปิดเสรีทางการค้าการลงทุน เช่น ลดภาษีมากขึ้น จะมีผลต่อไทยทั้งในแง่บวกและลบ สินค้าที่ไทยมีโอกาสขายให้จีนได้มากขึ้น ข้าว ยางพารา กุ้งสดแช่แข็ง สินค้าเกษตรแปรรูป น้ำตาล ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เส้นด้ายและผ้าผืน ผลไม้ แต่สินค้าที่ไทยและอาเซียนจะถูกจีนแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งมีกำลังซื้อ คือ สหรัฐ ญี่ปุ่น ยุโรป คือ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ พลาสติก เพราะจีนซึ่งมีค่าแรงงานต่ำกว่า ผลิตได้ถูกกว่า ไทยต้องเร่งรัดปรับตัวพัฒนาสินค้าออกที่มีคุณภาพมากขึ้น และต้องเจาะหาตลาดใหม่ ๆ ดังท่าน ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร เอกอัครราชทูต ด้านการพานิชย์ ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีน ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย 9hv’ยกระดับคุณภาพ งานฝีมือ งานบริการ งานศิลปวัฒนธรรม ในแง่การลงทุน ระหว่างจีนกับไทย ยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ โอกาสที่ไทยจะไปลงทุนในจีน เป็นโอกาสของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น เพราะมีการแข่งขันสูง ส่วนการลงทุนของจีนในไทย ก็มุ่งมาใช้ทรัพยากร เช่น ปลูกป่ายูคาลิปตัส หรือขายบริการ เช่น รับเหมา ก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ การลงทุนระหว่างสองประเทศยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ลงทุนมากกว่าแก่ประชาชนในประเทศทั้งสอง ที่นอกจากได้ประโยชน์จากเศรษฐกิจน้อยกว่านายทุนแล้ว ยังเสียประโยชน์ในแง่การทำลายสภาวะแวดล้อมของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นไทยและอาเซียนจะได้ประโยชน์จากจีนมากขึ้น หากการเจรจากันโดยตรงแบบทวิภาคและแบบภูมิภาค มีข้อตกลงที่พิเศษกว่าข้อตกลงทั่วไปในเวทีองค์การค้าโลก ซึ่งเป็นเวทีที่ประเทศพัฒนาอุตสาหกรรมมักจะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศกำลังพัฒนา ความจริงถ้าอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ร่วมมือกันได้จริง คือประเทศรวยกว่าใหญ่กว่ายอมผ่อนปรนช่วยเหลือประเทศที่จนกว่าเล็กกว่า ภูมิภาคนี้จะเติบโตและเข้มแข็งได้มาก แต่ทุกวันนี้พวกเขาล้วนมองไปที่สหรัฐและยุโรป ซึ่งมีความมั่งคั่งและกำลังซื้อ และต่างคนก็ต่างทำเพื่อผลประโยชน์ระยะสั้นของตัวเอง โดยเฉพาะญี่ปุ่น ซึ่งเป็นยักษ์ที่คิดแต่ผลประโยชน์ตัวเองมากเกินไปจนเศรษฐกิจของตนเองถดถอยจนขยับไม่ได้ การลงทุนและการค้ากับจีนรวมทั้งการท่องเที่ยวมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ถ้ามีการร่วมมือกันพัฒนาด้านการคมนาคมผ่านอินโดจีน และพม่าไปจีน ให้ครอบคลุมสะดวกรวดเร็วขึ้น เพราะจะทำให้การขนส่งสินค้าลดต้นทุน และจีนทางภาคใต้ก็มีประชากรมาก และเศรษฐกิจเติบโต แต่การเติบโตแบบนี้ ก็ให้ผลประโยชน์แก่คนบางกลุ่มมากกว่าประชาชนส่วนใหญ่ และการเปิดประเทศกว้างขึ้น ก็สร้างปัญหาเพิ่มขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย เช่น มีปัญหาแรงงานเถื่อน โสเภณี อาชญากรทางเศรษฐกิจ ยาเสพย์ติด โรคเอดส์ ฯลฯ เพิ่มขึ้น ดังนั้นเราจึงไม่ควรมองเรื่องการคบกับจีนในแง่ผลกระทบทางเศรษฐกิจล้วน ๆ หากต้องมองในแง่ผลกระทบทางสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จีน ไทย อาเซียน ควรจะร่วมมือกันในแง่สังคม การศึกษา การวิจัย วิชาการด้านต่าง ๆ วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้วย จึงทำให้ภูมิภาคเอเชียนี้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กันและอย่างยั่งยืน ไม่ใช่คิดแต่ในแง่การค้า การลงทุนในกรอบคิดการพัฒนาเพื่อหากำไรเอกชนของระบบทุนนิยมโลก ซึ่งสร้างปัญหา ความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ความยากจน การทำลายสิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคมอื่นตามมมากมาย เท่านั้น ประโยชน์ที่ไทยได้รับคืออะไร ประชากรเพิ่มเป็น 600 ล้านคนโดยประมาณ ทำให้เพิ่มศักยภาพในการบริโภค เพิ่มอำนาจการต่อรองในระดับโลกEconomy Scale ยิ่งผลิตมาก ยิ่งต้นทุนต่ำ มีแรงดึงดูดเงินลงทุนที่อยู่นอกอาเซียนสูงขึ้น สิบเสียงย่อมดังกว่าเสียงเดียว ผลกระทบมีอะไรบ้าง? การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่าง ทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทัน และยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้ ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้ ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้าย แรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับ ผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้น ในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้ มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียน จากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่ คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วย ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี การสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนานนับแต่โบราณกาล โดยสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ของจีนซึ่งมีบันทึกประวัติศาสตร์เกี่ยวกับชนชาติไทย และที่เด่นชัดก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน ซึ่งมีการติดต่อค้าขายระหว่างกัน และไทยได้รับเทคโนโลยีเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนในช่วงเวลาดังกล่าว ความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน น่าจะเริ่มมีขึ้นในช่วงนี้ด้วยจากการอพยพของชาวจีนในช่วงสงครามสมัยราชวงศ์หยวนและในช่วงต้นราชวงศ์ หมิง และนับจากนั้นมา ก็ได้มีการติดต่อค้าขายกันมาโดยตลอดและมีชาวจีนจำนวนมากเข้ามาตั้งรกราก ในไทย โดยเฉพาะในช่วงสงครามโลกและสงครามกลางเมืองของจีนในทศวรรษที่ 1930-1950 มีชาวจีนจำนวนมากจากมณฑลทางใต้ของจีน อาทิ กวางตุ้ง ไห่หนาน ฝูเจี้ยน และกวางสี หลบหนีภัยสงครามและความ อดอยากเข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทย จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดดุจพี่น้องระหว่างไทย กับจีนได้มีมาอย่างยาวนาน เหมือนคำกล่าวที่ว่า “ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน” แม้กระแสทางการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นจะทำให้ไทยกับจีนขาดการติดต่อกันในระดับทางการอยู่ระยะหนึ่ง แต่กระแสการเมืองโลกดังกล่าวก็ไม่อาจจะตัดความผูกพันและความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างแนบแน่นระหว่างประชาชนไทย-จีนได้ ดังนั้น นับตั้งแต่ที่ทั้งสองประเทศสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 1 กรกฏาคม 2518 เป็นต้นมา ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและราบรื่น และเป็นแบบอย่างหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มี ระบบการปกครองแตกต่างกัน โดยมีพัฒนาการที่เป็นรูปธรรม ดังนี้

ด้านการเมือง

ในทศวรรษแรกหลังจากที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ไทยและจีนประสบความสำเร็จในการเสริมสร้างความเข้าใจและความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกันอันนำไปสู่การเป็นหุ้นส่วนในการแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคนั้น ซึ่งได้ช่วยสนับสนุน การพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากสนามรบกลายเป็นตลาดการค้า นอกจากนี้ พื้นฐานความเข้าใจและความใกล้ชิดดังกล่าวยังมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศอาเซียนอีกด้วย

การที่พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ต่างก็ทรงให้ความสำคัญและทรงใส่พระทัยต่อความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีต่อจีนส่งผลสำคัญต่อการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศให้ยิ่งใกล้ชิดแน่นแฟ้น โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างสองประเทศทั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถได้เสด็จฯ เยือนจีนอย่างเป็นทางการในฐานะผู้แทนพระองค์ฯ ซึ่งถือเป็นการเสด็จฯ เยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการในรอบหลายสิบปี ระหว่างวันที่ 16-31 ตุลาคม 2543 เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 25 ปีของความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ เยือนจีนแล้วหลายครั้ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เยือนจีนครบทั้ง 31 มณฑลและมหานคร ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลในฐานะทูตสันถวไมตรีจากหน่วยงานของจีนหลายรางวัล และเป็นเจ้าฟ้าพระองค์แรกของโลกที่ทรงศึกษาภาษาจีนในมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นระยะเวลา 1 เดือน ในปีนี้ พระองค์ท่านยังได้เสด็จฯ มาทอดพระเนตรพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 ในฐานะผู้แทนพระองค์ด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ก็เสด็จเยือนจีนบ่อยครั้ง เป็น เจ้าฟ้าพระองค์แรกที่ทรงแสดงดนตรี “สายสัมพันธ์สองแผ่นดิน” ในจีน นอกจากนี้ พระราชวงศ์พระองค์อื่นๆ ก็ได้เสด็จฯ เยือนจีนอยู่เสมอ ในขณะเดียวกัน ผู้นำของจีนนับแต่อดีตจนถึงปัจุบันได้เยือนประเทศไทยอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นต้นมา นายเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เยือนไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1978 นับจากนั้นประธานาธิบดีจีนทุกสมัยก็ได้เยือนประเทศไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะพระราชอาคันตุกะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังเช่น นายหลี่ เซียนเนี่ยน นายหยา

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

Thomas A. Stewart กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของหนังสือ Intellectual Capital : The New Wealth of Organizations ว่า ทุนทางปัญญาเปรียบดังหอก ดาบ หรือ อาวุธสำคัญในการแข่งขันของยุคสารสนเทศ ตัวอย่างของทุนทางปัญญาที่เห็นได้ชัดก็คือ ความเฉลียวฉลาดของคนในองค์กร ความภักดีของลูกค้า คุณค่าของเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา การสะสมความรู้ที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมไปจนถึง ระบบโครงสร้างองค์กร แต่ท้ายที่สุดแล้วคนในองค์กรจะไม่เห็นสินทรัพย์หรือทุนนี้ระบุหรือปรากฏอยู่ในงบดุลขององค์กรเลยด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ผลที่ออกมากลับหอมหวานยิ่งกว่างบดุลที่เห็นชัดเจนเสียอีกด้วยซ้ำ

วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุขกับทุนแห่งความยั่งยืน

“8 H’s” โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

“8 K’s” โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องไม่เบียดเบียนใคร

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์ Heritage รากฐานของชีวิต มรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน

Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืนสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในกระแสโลกาภิวัฒน์

ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือการใช้ทุนทางปัญญาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวบุคคลและผู้อื่น รวมทั้งทำการต่าง ๆ ด้วยความสุข ไม่ก่อความทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) การมีทุนทางปัญญาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความผันผวนและความแปรเปลี่ยนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่จะทำให้ทุนทางปัญญามีความยั่งยืนได้ บุคคลต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน ต้องรู้จักการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้ ทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ นั้นสอดคล้องกัน ในเรื่อง ทุนภายในคือทุนที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่บุคคลต้องแสวงหาและต้องมี ส่วนภายนอกคือทุนที่เป็นตัวหนุนให้บุคคลบรรลุเป้าหมาย และทั้งสองอย่างก็มีความสำคัญต่อการนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกว่าสังคมก็ส่งผลต่อคนได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทั้งสองอย่างส่งผลต่อกันและกัน “เมื่อคนเรามีความมั่นใจในความรู้ มีปัญญา และจริยธรรมครบถ้วน ก็จะมีความกล้าที่จะออกสังคม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั่วไปในทางสร้างสรรค์ “คนที่มีทุนทางสังคมดี” เมื่อพัฒนาตัวเองไปถึงระดับหนึ่งจะสามารถบริหารเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม (Network and Partnership) ให้เป็นประโยชน์กับงาน หรือกับสังคมส่วนรวมได้ด้วย (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) วิธีการคือเราต้อง “ให้” เขาก่อนที่เขาจะร้องขอ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้เกียรติให้การยกย่อง ให้ความร่วมมือ และให้การสนับสนุน...หากเรามีความจริงใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เขาก็จะดูออก และพร้อมจะช่วยเราด้วยเหมือนกัน”

การจะเข้าถึงการทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืนจะต้องมีการปลูกและการเก็บเกี่ยวมี สองวิธีคือให้คนอื่นบริหารเรา และเราบริหารตัวเอง การปลูกเมื่อเรามีนักเรียนและได้ เห็นความสามารถ ครูส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถ เป็นการปลูก การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องของการสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวย ในการเรียนรู้ การปลูกคือการสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดในตัวบุคคลการเก็บเกี่ยวคือการทำให้คนมีแรงบันดาลใจ แรงผลักเพื่อให้คนมีความเป็นเลิศ โดยใช้ทฤษฏี 4 L มาใช้พัฒนาทางด้านการศึกษา ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ในห้องเรียน การปลูกและการเก็บเกี่ยวในบางครั้งก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ในหน่วยงาน ผู้นำเป็นคนทีทำหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศนำหลักการบริหารองค์กรตามทฤษฏี 8K 5K ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และในการทำงานก็ปลูก และเก็บเกี่ยวไปในตัว

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

Thomas A. Stewart กล่าวไว้ในส่วนหนึ่งของหนังสือ Intellectual Capital : The New Wealth of Organizations ว่า ทุนทางปัญญาเปรียบดังหอก ดาบ หรือ อาวุธสำคัญในการแข่งขันของยุคสารสนเทศ ตัวอย่างของทุนทางปัญญาที่เห็นได้ชัดก็คือ ความเฉลียวฉลาดของคนในองค์กร ความภักดีของลูกค้า คุณค่าของเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ทรัพย์สินทางปัญญา การสะสมความรู้ที่ฝังอยู่ในวัฒนธรรมไปจนถึง ระบบโครงสร้างองค์กร แต่ท้ายที่สุดแล้วคนในองค์กรจะไม่เห็นสินทรัพย์หรือทุนนี้ระบุหรือปรากฏอยู่ในงบดุลขององค์กรเลยด้วยซ้ำ เพราะมันเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่ผลที่ออกมากลับหอมหวานยิ่งกว่างบดุลที่เห็นชัดเจนเสียอีกด้วยซ้ำ

วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างทุนแห่งความสุขกับทุนแห่งความยั่งยืน

“8 H’s” โดยคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

“8 K’s” โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Happiness การดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข โดยต้องไม่เบียดเบียนใคร

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข หากมนุษย์มีทุนทางความรู้ มีทุนทางปัญญา และมีทุนทางจริยธรรมแล้ว ย่อมเป็นพื้นฐานที่จะมีความสุขได้ง่ายกับทุกสถานการณ์ Heritage รากฐานของชีวิต มรดกทางวัฒนธรรมซึ่งเป็นรากฐานของชีวิตคน

Sustainable Capital ทุนแห่งความยั่งยืนสร้างคุณค่าทางสังคม และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ในกระแสโลกาภิวัฒน์

ทุนแห่งความสุข (Happiness Capital) คือการใช้ทุนทางปัญญาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์และก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวบุคคลและผู้อื่น รวมทั้งทำการต่าง ๆ ด้วยความสุข ไม่ก่อความทุกข์ให้กับตนเองและผู้อื่น

ทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) การมีทุนทางปัญญาอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อความผันผวนและความแปรเปลี่ยนในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ สิ่งที่จะทำให้ทุนทางปัญญามีความยั่งยืนได้ บุคคลต้องมีทุนแห่งความยั่งยืน ต้องรู้จักการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต้องเรียนรู้ตลอดชีพ ต้องไม่หยุดยั้งที่จะเรียนรู้ ทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ และ ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ นั้นสอดคล้องกัน ในเรื่อง ทุนภายในคือทุนที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่บุคคลต้องแสวงหาและต้องมี ส่วนภายนอกคือทุนที่เป็นตัวหนุนให้บุคคลบรรลุเป้าหมาย และทั้งสองอย่างก็มีความสำคัญต่อการนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกว่าสังคมก็ส่งผลต่อคนได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทั้งสองอย่างส่งผลต่อกันและกัน “เมื่อคนเรามีความมั่นใจในความรู้ มีปัญญา และจริยธรรมครบถ้วน ก็จะมีความกล้าที่จะออกสังคม และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนทั่วไปในทางสร้างสรรค์ “คนที่มีทุนทางสังคมดี” เมื่อพัฒนาตัวเองไปถึงระดับหนึ่งจะสามารถบริหารเครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคม (Network and Partnership) ให้เป็นประโยชน์กับงาน หรือกับสังคมส่วนรวมได้ด้วย (ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์) วิธีการคือเราต้อง “ให้” เขาก่อนที่เขาจะร้องขอ ให้ความช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ ให้เกียรติให้การยกย่อง ให้ความร่วมมือ และให้การสนับสนุน...หากเรามีความจริงใจและมุ่งมั่นที่จะสร้างงานที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม เขาก็จะดูออก และพร้อมจะช่วยเราด้วยเหมือนกัน”

การจะเข้าถึงการทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืนจะต้องมีการปลูกและการเก็บเกี่ยวมี สองวิธีคือให้คนอื่นบริหารเรา และเราบริหารตัวเอง การปลูกเมื่อเรามีนักเรียนและได้ เห็นความสามารถ ครูส่งเสริมในเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถ เป็นการปลูก การเก็บเกี่ยวเป็นเรื่องของการสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวย ในการเรียนรู้ การปลูกคือการสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดในตัวบุคคลการเก็บเกี่ยวคือการทำให้คนมีแรงบันดาลใจ แรงผลักเพื่อให้คนมีความเป็นเลิศ โดยใช้ทฤษฏี 4 L มาใช้พัฒนาทางด้านการศึกษา ที่ต้องปลูกฝังตั้งแต่ในห้องเรียน การปลูกและการเก็บเกี่ยวในบางครั้งก็เกิดขึ้นพร้อมกัน ในหน่วยงาน ผู้นำเป็นคนทีทำหน้าที่ในการสร้างบรรยากาศนำหลักการบริหารองค์กรตามทฤษฏี 8K 5K ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และในการทำงานก็ปลูก และเก็บเกี่ยวไปในตัว

ต่อทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

ตัวอย่างจากผู้ที่นำทฤษฎีนี้ไปใช้ประโยชน์

ตัวอย่างคนที่1.

ข้าพเจ้าเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจในบริษัทสายการบินแห่งชาติ ทำให้เข้าใจการทำงานแบบภาครัฐที่ไม่เน้นการแข่งขันแต่ เพราะโลกทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการแข่งขันที่สูงมาก ถ้าเราแค่หยุดคิด ก็ทำให้เราถอยหลัง เพราะทุกๆคนวิ่งไปข้างหน้า ทำให้ข้าพเจ้าต้องเปลี่ยนความคิดเดิมๆทิ้งไป ดังนั้นเราควรเอาทฤษฎี 8H’s และ 8K’s ของทั้ง 2 ท่าน มาประยุกต์ใช้กับตัวเราและในองค์กร สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าคิดจะนำมาใช้เลย คือ Head และ Intellectual Capital คนเราต้องรู้จักคิด และวิเคราะห์ถึงสิ่งที่เราเผชิญอยู่ว่าเราจะต้องทำอย่างไร แก้ไขอย่างไร ถ้าเรามีแต่ความรู้แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ ความรู้เหล่านั้นก็เหมือนสิ่งของที่ไร้ค่าไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ อีกทั้งแนวความคิดที่โดนใจตัวข้าพเจ้ามากๆนั้นคือ Hand และ Talent Capital การที่เรามีหน้าที่รับผิดชอบในองค์กรแม้เราจะเป็นส่วนเล็กๆที่อาจจะไม่สำคัญเท่าคนอื่นแต่ถ้าเรามีความชำนาญในสิ่งที่เราทำ นั่นก็เท่ากับว่าเราบรรลุความสำเร็จของเราไปก้าวหนึ่งแล้ว อีกทั้งการทำงานจนเกิดความเชี่ยวชาญก็ทำให้เรารู้สึกได้รับความสุขจากสิ่งที่เราทำ (Happiness Capital) งานที่ออกมาก็จะมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดผลดีทั้งกับตัวเราเอง ผู้ใช้บริการ แล้วส่งผลดีมาถึงบริษัทด้วย จากความคิดของข้าพเจ้าการที่เราคิดดี ทำดี พูดดี ตามหลักของศาสนา และเชื่อมโยงถึง Heart และ Ethical Capital ที่อ่านในหนังสือนั้น ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามถ้าเราคิดในแง่บวก (Positive Thinking) สิ่งที่ตามมาย่อมมีแต่สิ่งดีๆ ไม่ว่างาน หรือคนที่มีผลกระทบต่อจิตใจของเรา ถ้าเรานำมาคิดหาเหตุผลที่ดีๆก็จะทำให้เราสบายใจ อารมณ์คงที่ เมื่อนั้นก็จะเกิดสติ และสามารถหาทางออกกับปัญหานั้นๆได้( บทความจาก คุณ มัตติมา คณานุวัฒน์ )

ตัวอย่างที่2.

การพัฒนามนุษย์ โดยการพัฒนา 2 ด้านคือ ทางด้านปัญญา และทางด้านจิตใจ หรือ Head กับ Heart ซึ่งทั้งสองอย่างก็แยกออกจากกันไม่ได้ เหมือนกับ ร่างกายและจิตใจ ซึ่งแยกจากกันไม่ได้ คืออิงอาศัยกันและกัน เมื่อพัฒนาอย่างหนึ่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาอีกอย่างหนึ่ง ไม่ได้พัฒนาปัญญาหรือจิตใจเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งความคิดเห็นของทั้งสองท่านได้เปรียบตรงนี้ การพัฒนาปัญญาหรือการพัฒนาความรู้ของคนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดหรือเป็นแกนกลางที่จะทำให้คนบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด การพัฒนาคนจึงต้องเน้นที่การให้ปัญญาหรือเน้นที่ให้ความรู้เพราะศักยภาพสูงสุดของมนุษย์คือปัญญานั่นเอง แต่การพัฒนาคนนั้นต้องทำให้คนมีความศรัทธา หรือมีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์มากต่อการพัฒนามนุษย์ ถ้าคนไม่มีความศรัทธาการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้นไม่ได้ ตรงข้ามถ้าคนพัฒนาปัญญา แต่ไม่ได้พัฒนาจิตก็มีปัญหาเช่นกัน เหมือน เรานั่งอยู่ในห้องอาจารย์ก็สอนอยู่ แต่จิตคิดถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ที่ทำงานหรือที่บ้านใจไม่ได้อยู่ห้องถึงฟังอยู่ก็ไม่ได้พัฒนาปัญญา เพราะฉะนั้นการพัฒนามนุษย์จึงต้องพัฒนาทั้ง Head กับ Heart ทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องเป็นคนเก่ง (ปัญญา) และคนดี (จิตใจ) ต้องควบคู่กันไป การพัฒนาคนก็จะมีประสิทธิภาพพัฒนาง่าย และจึงจะเกิดประสิทธิผลต่อองค์กร ทฤษฎี 8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และ ทฤษฎี 8 K’s ของท่านอาจารย์ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ นั้นสอดคล้องกัน ในเรื่อง ทุนภายในคือทุนที่อยู่ภายในตัวบุคคลที่บุคคลต้องแสวงหาและต้องมี ส่วนภายนอกคือทุนที่เป็นตัวหนุนให้บุคคลบรรลุเป้าหมาย และทั้งสองอย่างก็มีความสำคัญต่อการนำไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือที่เรียกว่าสังคมก็ส่งผลต่อคนได้ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า ทั้งสองอย่างส่งผลต่อกันและกัน (บทความของ พระมหาวชิระ พิมพ์ทอง )

จากมงคลชีวิต 38 ประการที่ถือว่าเป็นธรรมะที่เปิดทางให้แสงสว่างไปยังเป้าหมายชีวิตของการเกิด การมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขได้กล่าวว่า เกิดมาเป็นคนไม่ใช่เพียงแค่ศึกษาหาความรู้สูง ๆ เพื่อให้มีสติปัญญาที่จะทำมาหากินได้สะดวกสบายเท่านั้นยังไม่พอ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะหาความสุขได้ เพราะความรู้ที่เกิดจาการเรียนรู้เป็นสิ่งที่นำไปเลี้ยงส่วนที่เป็นร่างกายเท่านั้น เนื่องจากคนเรามีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ กายและใจ เมื่อร่างกายหิว ก็ต้องการอาหารเพื่อให้พ้นจากโรค คือ ความหิว และทำให้ร่างกายแข็งแรง เจริญเติบโต ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องการอาหารคือ ธรรมะ มาหล่อเลี้ยงเพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวให้พ้นจากความโลภ โกรธ หลง และเพื่อยกระดับจิตใจของคนเราให้สูงขึ้น ก็จะได้พบกับ ความสุข เป็นกุญแจไขความลับของชีวิตอย่างมีสติ ซึ่งมันกลายเป็นพลังที่สามารถเปลี่ยนชีวิตด้วยตัวเราเอง เป็นสิ่งที่หาซื้อไม่ได้ ไม่มีขายในท้องตลาด อยากได้ก็ต้องทำเอง และในสมัยก่อนนั้นเรายังไม่รู้จักเรื่องสมดุลงานกับชีวิต จึงได้ทำระบบต่าง ๆ ขึ้นมาเช่น กิจกรรม 5 ส TQM TPM ISO KPI/BSC HA GMP ฯลฯ เป็นต้น การทำระบบดังกล่าวเป็นการทำลายขวัญและกำลังใจพนักงาน ทำแบบหลอกตนเอง หลอกลูกค้า และหลอกผู้ตรวจการประเมิน คนตรวจประเมินก็ตรวจแบบงานได้ผล คนเสียหาย ทำลายความรู้สึกผูกพัน รู้สึกเครียดกับการทำงาน คนรอบข้างจะไม่มีความสุข แต่ถ้ามีส่วนร่วม(Engagement) และความเป็นเจ้าของของพนักงาน ดังนั้นในรูปแบบ HR แล้วต้องพัฒนาให้ทุกระบบเป็นแบบ Play + Learn คือเพลิน ๆ ถือว่าทุกระบบเป็นการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การตรวจการประเมิน (Audit) สบาย เป็นการสร้างบรรยากาศ ส่งเสริมการเรียนรู้ทุกฝ่ายในองค์กร เพื่อให้ทุกคนในองค์กรรุ้สึกว่าเป็นเรื่องสนุก ได้เกิดการเรียนรู้ ได้มีส่วนร่วม และสิ่งที่ตามมาคือความสุข

ซึ่งสอดคล้องกับ “เทคนิคการทำงานอย่างมีความสุข”ของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ว่า “ชีวิตของเราทำงานมาก ตั้งแต่อายุ 22-60 ปี เราอยู่ที่ทำงานมากกว่ามาก เราจะทำงานให้มีความสุขได้อย่างไร การมีความรับผิดชอบมากทำให้มีความเครียดมาก ก็ต้องมีเทคนิคที่ทำไม่ให้เครียด คนรอบข้างจะได้มีความสุข และประเทศไทยควรมี Happiness Capital Institute ประเทศไทยควรเปลี่ยน entertainment เป็นมูลค่าเพิ่ม ธรรมชาติของโลกให้โอกาสด้านความสุขแก่คน แต่ขึ้นอยู่กับว่าควรจะใช้มันอย่างไร แต่คนเก่งมักไม่มีความสุขในการทำงาน ถ้าความสุขในการทำงานตก productivity ก็จะตก ประโยชน์ของการมีความสุขก็คือ การที่มีความเครียดน้อยจะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ มีสุขภาพดี การที่อาจารย์มีความสุขเท่ากับสร้างโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วม ทำให้ทุนทางความสุขกระจายออกไป”ในการสร้างบรรยากาศการทำงาน ให้คนมีความสุขในการทำงานความสุขเป็นรากฐานไปสู่ความเป็นเลิศความสุขอยู่ที่เป้าหมายของการทำงาน และสิ่งสำคัญควรนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาสร้างความสุข ควรคิดในแง่บวก อย่าคาดหวังอะไรที่สูงเกินไป อย่าคิดว่างานเป็นแค่ job หรือ career แต่ต้องคิดว่าเป็น calling (สิ่งที่เราปรารถนา) จะทำให้ทำงานอย่างมีความสุขมากกว่า

เมื่อได้ทราบถึงเทคนิคการทำงานอย่างมีความสุขของ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้ดิฉันได้นึกถึงและประทับใจ วิธีการบริหารคนของ วิกรม กรมดิษฐ์ ที่มีวิธีการบริหารคน บริหารชีวิตที่น่าสนใจมากที่สุดในเมืองไทยคนหนึ่งเขาเป็นเจ้าของบริษัท อมตะ คอร์เปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยที่มีชื่อเสียงทั้งในระดับโลกและในเมืองไทย ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งจากนักธุรกิจจำนวนมากที่อยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน แถมยังข้ามชั้นไปถึงระดับที่สูงกว่าเขาในเวลาไม่กี่ปี เขาเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจ ความคิดดีๆ ทั้งต่อตนเองและต่อสังคมต่อประเทศชาติ หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนขึ้นมา ความคิดที่ผ่านการพูดในรายการต่างๆ ที่รับเชิญ โดยมีคนรุ่นใหม่สนใจที่จะฟังและคิดตามมากที่สุดคนหนึ่งในเมืองไทยเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีอีกมากมายที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันสูงในระบบทุนนิยมสุดขั้วในปัจจุบันที่ยากจะปฏิเสธได้ “วิกรม กรมดิษฐ์ ต้องถือว่าเป็นตำราชีวิตที่มหาวิทยาลัยโลกนี้ไม่มีสอนแน่นอน” วิกรม มีวิถีชีวิตของตนเองที่กำหนดขึ้น โดยเขาเปรียบช่วงชีวิตของมนุษย์ว่าเป็นเหมือนผีเสื้อ เขากล่าวว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ “ถ้าเราแบ่งชีวิตเป็นสามช่วง ช่วงแรกสร้างเศรษฐกิจ เหมือนหนอนเกิดมาตอนแรกก็เอาแต่กิน พอครบสี่รอบ เราก็ควรเริ่มสงบเหมือนดักแด้ อย่างผมก็จะเอาแต่นึกฝันและเขียนหนังสือ ผมเขียนวันละสิบชั่วโมงขึ้นไป เขียนอยู่ 10 วันใน 2 สัปดาห์ พอเป็นดักแด้เสร็จสุดท้ายก็เป็นผีเสื้อ คือลอยละลิ่วไม่ผูกติดกับอะไรอีกแล้ว” แต่ก่อนจะปล่อยวางเพื่อจะเป็นผีเสื้อได้ วิกรมเคยเป็นมดงานที่ทำงานหนักมากมาก่อน เขาไต่เต้าขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วค่อยคืนสู่ชีวิตความเรียบง่าย แต่ทว่ากำกับด้วยสติและสมาธิอยู่ในทุกข์ช่วงขณะ

ทุกวันนี้คุณวิกรมใช้ชีวิตอย่างสงบอยู่บนแพวิเวก ติดอุทธยานเขาใหญ่เป็นส่วนใหญ่ ในเวลา 2 สัปดาห์เขาจะเดินทางเข้ามากรุงเทพฯ ประมาณ 1-2 วัน เพื่อประชุมกับทีมบริหารของอมตะ ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือผู้บริหารงานด้านนิคมและกลุ่มพัฒนาธุรกิจใหม่ๆ โดยเรียกเฉพาะผู้เกี่ยวข้องมาสอบถามความคืบหน้าของงาน ช่วยแก้ปัญหา วางแผน วางเป้าหมาย ให้คำแนะนำ ฯลฯ ที่เขามักพูดเล่นๆเสมอว่า “...วันนี้จริงๆผมไม่ได้ทำอะไรเลย แค่เป็นคนกำหนดเป้า วางนโยบาย สร้างแรงจูงใจ และคอยบีบพวกพนักงานอีกนิดๆหน่อยๆ...” เขามีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างกว่า ซีอีโอคนอื่นที่อาจจะต้องตามจี้ ตามเช็คทุกฝีก้าว แต่ในมิติของคุณวิกรมลึกซึ้งกว่านั้นมากเขาเป็นผู้สร้างเกมธุรกิจนี้ขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่สมควรหลังจากถ่ายงานในมือออกสู่ผู้บริหารในระดับต่างๆแล้ว เขาจึงมีหน้าที่คอยเฝ้าดูเกมนี้อย่างคนที่เคยผ่านเกมมาอย่างยาวนาน เขาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงการทำงานในยุคนี้ว่าเขามีเวลาว่าง มากขึ้น เขาจึงมองการธุรกิจได้ครบมิติที่ควรจะเป็น ซึ่งเป็นการพัฒนา HRให้มีประสิทธิภาพและให้เกิดผลกระทบในระดับสูงที่มีมิติทางเศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา การบริหารจัดการและกลยุทธ์ และท่านได้ยกตัวอย่าง อย่างเห็นได้ชัดเจนว่า“เหมือนคุณเป็นกัปตันทีมฟุตบอล ผมเป็นโค้ชและเป็นคนดูการมองก็ต่างกันคนที่เป็นกัปตันและนักเตะ มันคิดลำบาก แต่เวลาดูในจอ เราจะเห็นว่าไม่น่าเตะอย่างงั้น ควรทำอย่างงี้ มันก็เกิดอีกมุมมองที่มาเติมให้ครบสามมิติ หรือถ้าเราเป็นกัปตันเรือ ก็ไม่ควรจะไปวิ่ง แย้ว ๆ แล้ว ควรนั่งมองเรือของเราทุกด้านดีกว่า แล้วคิดว่าจะต้องแล่นไปทางไหน อย่างไรให้ถึงเร็วและปลอดภัย จะว่าไปแล้ว มันก็เป็นการปรับหน้าที่ แทนที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ ก็เป็น แอดไวเซอร์ ขณะเดียวกัน พอเราทำน้อยลง ก็มีเวลามากขึ้น ก็มีจินตนาการเรื่องงานมากขึ้น เราก็ยังเป็นถังควมคิด ได้ด้วย ดังนั้นทุกวันนี้เป้าหมายและนโยบายขององค์กรเลยมาจากผมคนเดียว เพราะผมได้มานั่งคิด นั่งฝันอยู่ตรงนี้..”

สิ่งหนึ่งที่โดดเด่นมาก ถือว่าเป็นสไตล์การบริหารคนของคุณวิกรมคือการ “ซื้อใจ” ลูกน้องแบบใจต่อใจ ที่ผู้บริหารระดับบนของบ้านเราอาจไม่เคยมีใครทำมาก่อน หรือมีคนเคยทำแต่รับรองว่าไม่ได้มากกว่าที่เขาให้ลูกน้องแน่นอน ว่ากันว่าในอดีตเขาเคยถอดสร้อยทองจากคอมอบให้ลูกน้องมาแล้ว

เพราะเขาถือว่ามูลค่าทางใจมากกว่าเงินที่อยู่ในซอง และในยุคใหม่นี้ ที่”อมตะ” เป็นปึกแผ่นยิ่งใหญ่มั่นคงแล้ว เขามีการใช้วิธีใหม่ที่จุดฝันในการทำงานและครองหัวใจลูกน้องทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตาม เพราะเขาเปลี่ยนระบบการให้ที่ทุกองค์กรทำเป็นปรกติอยู่แล้วมาใช้แนวคิดที่เรียกว่า “Success Fee” คือการจูงใจด้วยระบบแบ่งผลประโยชน์ ที่ไม่ใช่โบนัส ที่ให้นำกำไรที่ได้แต่ละปีมาแบ่งให้กับคนในบริษัท และค่าตอบแทนที่นำมาใช้สร้างแรงจูงใจครั้งนี้มีมูลค่าสูงสุดถึงระดับ “การเป็นเจ้าของบริษัทลูกของอมตะ” เลยทีเดียว หมายความว่า ทุกคนมีสิทธิ์เป็นเจ้าของบริษัทที่มีอนาคตที่ดีรออยู่ข้างหน้า ไม่ใช่แค่ดักดานเป็นเพียงลูกจ้างตลอดชีวิต

เชื่อว่าการตอบแทนลูกน้องแบบที่ คงยากที่ลูกน้องคนไหนจะปฏิเสธความหวังดีที่คุณมอบให้ ซึ่งมีข้อแม้ก็คือ พนักงานที่อมตะที่มีอายุ 50 ปีหรือมีอายุงานกับอมตะมาแล้ว 10 ปี พวกเขาเหล่านั้นจะถูกผลักดันให้ออกไปเป็นซีอีโอ ในบริษัทลูกของอมตะที่เป็นบริษัทใหม่ โดยหลักการคือ ต้องเป็นบริษัทลูกที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจบริการในนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 3 แห่ง ที่จะมาต่อยอดให้ “อมตะ” เป็นเมืองที่สมบูรณ์แบบและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าหรือธุรกิจของบริษัทแม่ เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจสื่อสาร ธุรกิจสาธารณูปโภค ธุรกิจสุขภาพ ฯลฯ วิกรมตั้งใจแบะตั้งเป้าทั้งหมด ไว้ที่ 100 บริษัท โดยปัจจุบันมีอยู่แล้ว 15 บริษัท

โดยการวางแผนจัดเตรียมให้กับว่าที่ซีอีโอ แห่งบริษัทลูกของอมตะ เป็นแบบแพ็คเกจสำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็นเงินทุนที่อมตะจะเป็นผู้ออกให้ก่อน วงเงินกู้ ซึ่งภายใต้ร่มของอมตะ บริษัทใหม่จะได้อนิสงฆ์ทั้งกู้ง่าย โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์และดอกเบี้ยต่ำ

นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายทางธุรกิจติดไม้ติดมือออกไปด้วยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ รวมถึงต้องมีการตกลงในการแบ่งสัดส่วนกำไรกันอย่างชัดเจนระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมาใหม่ การบริหารนั้นก็ให้อยู่ในมือซีอีโอใหม่ บริษัทจะคอยช่วยเหลือเพียงเรื่องเงินลงทุนและให้คำปรึกษาเท่านั้น และหากบริษัทใหม่ดำเนินไปด้วยดีภายใน 3-5 ปี บริษัทมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อหุ้นจาก บริษัทแม่ๆ ผมถือครองไว้เองก็ยังได้ ในราคาขายที่เป็นเงินต้นบวกดอกเบี้ยที่เป็นจริง เขาเชื่อมั่นว่า ระบบเช่นนี้ย่อมเป็นการจูงใจให้ซีอีโอใหม่ทำงานหนักขึ้น ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รักและหวงแหนบริษัทในภาพรวมมากขึ้น เพราะด้วยความที่เป็นบริษัทของตนเองจริงๆ ได้โดยอัตโนมัติ สำหรับวิกรมแล้ว “เป้าหมายคือเข็มทิศ แรงจูงใจเป็นน้ำมัน และความฮึกเหิมก็เป็นเหมือนไฟคอยผลักดัน” ซึ่งแนวคิดปลุกใจเช่นนี้ให้กำลังใจเขาในการทำงานทุกครั้งและส่งต่อไปในทีมตลอดเวลา รวมถึงกลยุทธ์สำคัญที่วิกรมใช้เพื่อรักษา ความมั่นคงและความอยู่รอดของบริษัทลูก ก็คือ “การร่วมทุน” กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นการประกันความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง โดยวิกรมได้คิดระบบ Balance & Checking ขึ้น แล้วสร้างทีมงานที่คัดเลือกมาอย่างดีโดยวิกรม คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน รวมถึงช่วยเหลือให้คำปรึกษากับซีอีโอบริษัทลูกให้ทำงานได้ยอดตามเป้าและลดต้นทุนให้ได้ตามแผน

เมื่อสื่อมวลชนถามว่าผู้บริหารที่ดี หรือผู้จัดการที่ดีควรจะต้องมีหลักอย่างไร วิกรมตอบแบบสั้นๆแต่ชัดมากนั่นคือ “ทำ(งาน) น้อยลง ได้(กำไร) มากขึ้น” เขามองว่าผู้บริหารหรือผู้จัดการที่เก่งหรือได้รับการยอมรับว่าเป็นมืออาชีพต้องสร้างระบบขึ้นมา เพื่อไม่ให้ธุรกิจนั้นไปยึดอยู่กับที่ตัวบุคคล เป็นศิลปะแห่งการบริหารหรือ Art of Management ที่มีระบบเป็นผู้บริหารจัดการทั้งหมด ซึ่งไม่ว่าใครจะเข้ามาทำงานก็ต้องยอมรับและอยู่ในระบบนี้ให้ได้

โดยระบบจะเป็นตัวนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ แต่องค์กรที่จะทำอย่างนี้ได้ต้องเป็นองค์กรที่อยู่ตัวมาแล้วระดับหนึ่ง มีระบบและเครื่องมือตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานที่ดี ทั้งยังต้องมีพนักงงานที่ทั้งเก่งและมีความสามารถอยู่เป็นจำนวนมาก แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับวิกรมที่อยู่เหนืออื่นใดในการเลือกคนเข้ามากทำงานกับเขาก็คือ ต้องมีจิตวิญญาณแห่งความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ และการระดมความคิดในการทำงาน ที่เขาชอบบอกลูกน้องเสมอ ๆว่า “โต๊ะต้องมีหลายขา” การทำงานก็เช่นเดียวกัน การช่วยกันระดมสมอง ระดมความคิด เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย และไม่มีเรื่องใดที่เป็นไปไม่ได้

ครั้งหนึ่งเมื่อเขาให้สัมภาษณ์กับ นิตยสารซีเคร็ท(Secret) โดยอุษาวดี สินธุเสน ด้วยคำถามที่แหลมคมว่า “หลักในการบริหารงานบริหารคนแบบฉบับของวิกรมเป็นอย่างไร” วิกรมตอบแบบสบาย ๆ ว่า “ผมว่าคนที่จะบริหารงานได้ดี

1. จะต้องเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ สามารถตีความและเข้าใจทุกอย่างได้ถูกต้อง

2. จะต้องมีความยุติธรรม ถ้าเรามีความยุติธรรม ทุกคนก็จะมีความเชื่อมั่นในตัวเราและ

3. เราต้องคิดเสมอว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้”

ตื่นนนอนลืมตามาปิ๊ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ให้คิดเสมอว่า พรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้ เราต้องทำดีไปเรื่อย ๆ ถ้าผู้บริหารไม่หยุดอยู่กับที่ ลูกน้องก็จะไม่อยู่กับที่ และลูกน้องจะมีความเชื่อมั่นในความก้าวหน้าขององค์กรและตัวเองไปด้วยและอีกคำถามว่า “เขามีต้นแบบที่เป็นแรงบันดาลใจคือใคร? ที่ทำให้เป็นวิกรม กรมดิษฐ์ในวันนี้”เขาเฉลยให้ฟังว่า

“...สิ่งที่ดีของคุณพ่อคือ เป็นต้นแบบของความขยัน ความรับผิดชอบ เป็นต้นแบบของคนทำงานที่เราควรจะเอาเป็นแบบ

อย่าง ฉะนั้นวันนี้ ก็เพราะในตัวนี่มียืนของคุณพ่อ คือมีความอดทน ความขยัน ความรับผิดชอบ มีความฉลาดเฉลียว ซึ่งเป็นสิ่งทีดี”

ด้านจิตใจที่มุ่งมั่นต้องเจงกิสข่าน แต่ไม่เหี้ยมเกรียมเหมือนเขานะ ส่วนการบริหารงานต้อง โรนัลด์ เรแกน เลือกคนเก่ง ๆ มาทำงานโดยให้นโยบาย เป้าหมาย สนับสนุนช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษาเขา แล้วคอยตรวจงานเขา คือเป็นผู้จัดการที่ดี

อีกคนคือ เติ้งเสียวผิง ชอบตรงที่เขาไม่แบ่งชั้นวรรณะไม่เลือกว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวขาว ใครก็ได้ที่เป็นคนเก่ง ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวก ก็ไม่ต้องการให้บริษัทของเป็นธุรกิจในครอบครัว จึงกำหนดไว้ว่าจะไม่เอาคนในครอบครัวทำงานในบริษัทเกิน 2 คน และต่อไปถ้าคนในครอบครัว ก็ให้เอาคนอื่นมาเป็นผู้นำ นี่เป็นไอเดียที่ได้จากเติ้งเสี่ยวผิง

อีกคนคือ มหาตมะคานธี ท่านชอบปั่นด้าย ใส่โจงกระเบน อยู่อย่างสมถะ สันโดษ มีความทะเยอทะยานสูงก็ต้องใจเย็นลง อยู่อย่างสันโดษบ้าง ดูอย่างแมงมุมมันยังสร้างรังด้วยตัวมันเอง ไม่ต้องให้ใครมายุ่ง

ส่วน จอร์จ วอชิงตัน ก็มีความคิดเหมือนเขาในการกลับไปสู่ความเป็นความเป็นตัวของตัวเอง จอร์จ วอชิงตัน เคยเป็นผู้นำกองทัพ เขาสามารถเป็นกษัตริย์ได้ แต่กลับไปเป็นชาวไร่ ตอนหลังเขาได้รับเชิญให้ไปเป็นประธานาธิบดี พอทำหน้าที่เสร็จก็กลับไปเป็นชาวไร่เหมือนเดิม ข้อแนะนำว่าต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จอย่างวิกรมบ้าง เข้าตอบว่า”...สำหรับข้อแนะนำที่จะให้ได้ก็คือ

1.ต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองชอบอะไร และต้องรู้ความต้องการของตลาดด้วยยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ที่เขาประสบความสำเร็จเพราะ เขาทำในสิ่งทีตัวเองชอบและรู้ความต้อการของตลาด” ดังนั้นพอเขาทำคอมพิวเตอร์แล้วเขาถึงไปทำซอฟแวร์ ซึ่งตลาดต้องการมาก เพราะอย่างนี้จึงทำให้อายุสามสิบกว่าเขาก็รวยแล้ว

2.จะต้องมีความรับผิดชอบสูง ทำงานหนัก ไม่หนีงานและชอบที่จะทำงานหนัก นี่หมายความว่าเวลาเจองานหนัก ๆ แล้วไม่หนีงาน พวกที่ทำงานอย่างบ้าเลือดที่เรียกว่า”เวิร์คอะฮอลิก(Workaholic)” ผมคิดว่าคนพวกนี้ไม่รู้จักตัวเอง

เราต้องทำงานเป็น รับผิดชอบเป็น รู้จักเลือกงานเป็นแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ คนที่เป็นผู้จัดการที่ดีคือคนทีทำงานน้อย แต่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด และต้องรู้จักดูแลตัวเอง ร่างกายคนมีนาฬิการ่างกายที่เรียกว่า “Body Clock” เมื่อไรที่เราเพลียเราก็พัก เราหิวเราก็ทาน อย่าไปดันทุรัง คนที่รวย ๆ แล้วตาย ก็เพราะทำงานหนักเกินไปและไม่ดูแลตัวเอง

สุดท้ายคือ มีความเป็นสุภาพบุรุษ อะไรที่ไม่ดี ไม่ถูก ไม่ควรอย่าไปเอาเปรียบคนอื่น เราต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเราเองและมีความจริงใจต่อสังคม เงินทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มาต้องได้มาด้วยความภาคภูมิใจ ถ้ารวยบนคราบน้ำตาหรือบนซากศพ พวกนั้นถือว่าไม่เป็นสุภาพบุรุษ...และนี่คือการมองคน มองงาน มองโลกแบบวิกรม กรมดิษฐ์ ที่บอกได้คำเดียวว่า น่าสนใจและน่าลองนำไปใช้กับชีวิตในทุกมิติเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งสอดคล้องกับเรื่อง HRD ของดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ ที่มีลักษณะพิเศษที่สอดคล้องกับทุนแห่งความสุข กล่าวคือ

1. ปัญญา 3 ฐาน ได้แก่ ฐานกาย เป็นเรื่องของการฝึกสติ ความฉลาดในการดูแลร่างกายตนเองได้ และทักษะต่าง ๆ ฐานใจ เป็นเรื่องของจิตอาสา จิตสงบ จิตว่าง ฉลาดทางอารมณ์และฐานคิด เป็นการคิดอย่างมีสติ คิดตอนจิตว่าง คิดโดยไม่อคติและไม่ลำเอียง คิดและทำในสิ่งที่เป็นกุศล เป็นประโยชน์ต่อตนเอง และส่วนรวมด้วยพร้อม ๆ กัน

2. HRD จะใช้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” คือพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนเงื่อนไข ความรู้และคุณธรรม ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในองค์กร ชุมชน ครอบครัวและตนเอง ได้อย่างยั่งยืน ความสุข

จะเห็นได้ว่าการจะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพอย่างวิกรม กรมดิษฐ์ ในส่วนตัวนั้นต้องมี ทุนแห่งความสุข(Happiness Capital)จากทุน 8 ประการของท่าน ศ.ดร.จีระ ซึ่งท่านถือได้ว่าเป็นนักวิชาการที่มีศักยภาพสูง มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวิสัยทัศน์ มองไกล มองลึกและกว้าง คนที่มีวิสัยทัศน์ย่อมมีความสามารถคิดริเริ่มในสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ทันเหตุการณ์ และสู่ความสุขในทฤษฎี 3 วงกลมของท่าน ศ.ดร.จีระ ที่วิกรม กรมดิษฐ์ได้นำหลักตามทฤษฎีมาใช้ ซึ่งเป็นสูตรสำหรับรับมือกับการเปลี่ยน แปลงหรือ Change Management และการดำเนินชีวิตภายใต้การแข่งขันสูงในระบบทุนนิยมสุดขั้วในปัจจุบันที่ยากจะปฏิเสธได้อย่างมีความสุข ดังนี้

วงกลมที่ 1 contex วิกรม กรมดิษฐ์ เขาเป็นผู้สร้างเกมธุรกิจนี้ขึ้นมา เมื่อถึงเวลาที่สมควรหลังจาก

ถ่ายงานในมือออกสู่ผู้บริหารในระดับต่างๆแล้ว เขาจึงมีหน้าที่คอยเฝ้าดูเกมนี้อย่างคนที่เคยผ่านเกมมาอย่างยาวนาน รู้จักตัวเองก่อนว่าตัวเองชอบอะไร และต้องรู้ความต้องการของตลาดด้วยยกตัวอย่าง บิลล์ เกตส์ ที่เขาประสบความสำเร็จเพราะ เขาทำในสิ่งทีตัวเองชอบและรู้ความต้อการของตลาด”

วงกลมที่ 2 Competencies เป็นทฤษฎีเพิ่มศักยภาพ มีความรับผิดชอบสูง ทำงานหนัก ไม่หนีงานและชอบที่จะทำงานหนัก รู้จักเลือกงานเป็นแล้วทำให้เกิดประสิทธิภาพ เป็นผู้จัดการที่ดีคือทำงานน้อย แต่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด และรู้จักดูแลตัวเอง การเลือกคนเข้ามากทำงานกับเขาก็คือ ต้องมีจิตวิญญาณแห่งความซื่อสัตย์และความรับผิดชอบ และการระดมความคิดในการทำงาน

วงกลมที่ 3 Motivation วิกรม มีเครือข่ายทางธุรกิจติดไม้ติดมือออกไปด้วยซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ รวมถึงต้องมีการตกลงในการแบ่งสัดส่วนกำไรกันอย่างชัดเจนระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกที่ตั้งขึ้นมาใหม่ การบริหารนั้นก็ให้อยู่ในมือซีอีโอใหม่ บริษัทจะคอยช่วยเหลือเพียงเรื่องเงินลงทุนและให้คำปรึกษาเท่านั้น และหากบริษัทใหม่ดำเนินไปด้วยดีภายใน 3-5 ปี บริษัทมีสิทธิ์ที่จะขอซื้อหุ้นจาก บริษัทแม่ๆ ผมถือครองไว้เองก็ยังได้ ในราคาขายที่เป็นเงินต้นบวกดอกเบี้ยที่เป็นจริง เขาเชื่อมั่นว่า ระบบเช่นนี้ย่อมเป็นการจูงใจให้ซีอีโอใหม่ทำงานหนักขึ้น ระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รักและหวงแหนบริษัทในภาพรวมมากขึ้น เพราะด้วยความที่เป็นบริษัทของตนเองจริงๆ ได้โดยอัตโนมัติ จากกรณีศึกษา เกี่ยวกับทุนแห่งความสุข ( Happiness Capital) จะต้องมีการเสียโอกาสวันนี้เพื่อจะได้มาในวันหน้า เช่น กลยุทธ์สำคัญที่วิกรมใช้เพื่อรักษาความมั่นคงและความอยู่รอดของบริษัทลูก ก็คือ “การร่วมทุน” กับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ เป็นการประกันความเสี่ยงได้ดีในระดับหนึ่ง โดยวิกรมได้คิดระบบ Balance & Checking ขึ้น แล้วสร้างทีมงานที่คัดเลือกมาอย่างดี โดยวิกรม คอยทำหน้าที่ควบคุมดูแลรักษาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน รวมถึงช่วยเหลือให้คำปรึกษากับซีอีโอบริษัทลูกให้ทำงานได้ยอดตามเป้าและลดต้นทุนให้ได้ตามแผน ดังนั้น คำว่าทุนจึงเป็นหลักการที่จะทำอย่างไรที่เราจะได้รับประโยชน์จากมัน สถานการณ์โลก และบ้านเมืองที่เลวร้ายขึ้นทุกวัน จึงทำให้คนหันมาสนใจธรรมะมากขึ้นเพื่อว่าจะทำให้ภาวะจิตใจที่เร่าร้อนไปตามสถานการณ์ อ่อนลงหรือ เย็นลง มีเหตุผล ถ้อยทีถ้อยอาศัย เช่น สถานการณ์น้ำท่วมถ้าใช้ระบบของCovey หรือระบบของ Synthesis ก็อาจจะหาทางออกที่ดีได้ โดยเฉพาะใส่แว่นตาให้คนไทยที่อยู่ในโลกของความไม่งมงาย เชื่ออะไรง่ายๆ มองสิ่งที่เป็นความจริงมากขึ้น

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

การพัฒนาทุนแห่งความยั่งยืน (Sustainability Capital) หมายถึง “การตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่มีผลกระทบในทางลบต่อความต้องการของคนรุ่นต่อไปในอนาคต” เนื่องจากทุกครั้งที่มีการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นปัจจุบันต้องมีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางลบต่ออนาคต การพัฒนาที่ยั่งยืนจึงเป็นแนวคิดในการแก้ปัญหานี้ โดยการพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติไว้ในลักษณะที่เป็นส่วนรวม คือ หากมีความจำเป็นที่จะดำเนินการให้กระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่ใดที่หนึ่ง ก็จะต้องเสริมสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมในที่อื่นๆ เป็นการชดเชยเพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมคงอยู่ได้ดังเดิม

การพัฒนาทุนแห่งความยั่งยืนในยุคโลกาภิวัตน์

กระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกลไกการตลาด ก่อให้เกิดการเติบโต การผลิต การบริโภคที่เป็นผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณ ดังนั้น การที่มนุษย์ยังคงใช้แนวทางพัฒนาแบบเก่าซึ่งไม่คำนึงถึงข้อจำกัดในการพัฒนา อันหมายถึง ข้อจำกัดด้านสภาพ ความสามารถที่จะรองรับการบริโภค และการใช้ประโยชน์จากโลก และเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่จะนำมาบริโภค และใช้ประโยชน์หมดลง อีกไม่นานทุกชีวิตบนโลกจะต้องจบสิ้น เพราะมนุษย์จะไม่สามารถอาศัยอยู่บนโลกได้อีกต่อไป การพัฒนาที่ยั่งยืน จึงเป็นแนวคิดเพื่อป้องกันมิให้โลกต้องเดินไปสู่จุดจบ

มาตรการเพื่อการพัฒนาทุนแห่งความยั่งยืน

ความล้มเหลวของการพัฒนาแบบดั้งเดิมที่ผ่านมา นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล เนื่องจากรัฐบาลไม่รับผิดชอบ ไม่ฉับไวต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชน ระบบราชการมีคอร์รัปชันสูง ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีความโปร่งใส ฯลฯ นานาชาติจึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อแสวงหาแนวคิดที่เป็นกลางที่สุดมาเยียวยา ภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ผลสรุปที่ได้คือ ทั่วโลกควรปรับเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาเสียใหม่ โดยจะต้องยกเลิกการพัฒนาซึ่งรัฐเป็นผู้ชี้นำและออกคำสั่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ในลักษณะ รัฐประชาชาติ (Nation State) โดยปรับเปลี่ยนเป็น ประชารัฐ (Civil State) ซึ่งเป็น “ความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ระหว่างรัฐกับประชาชนในลักษณะที่เป็นประชาสังคม”ประชาสังคม หรือ Civil Society คือ การพัฒนาที่เกิดขึ้นจากความริเริ่มของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน โดยทุกฝ่ายในสังคมต่างให้ความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน คำว่า “ ประชารัฐ ” จึงหมายถึง รัฐซึ่งมีรัฐบาล เอกชน และประชาชนร่วมมือกันในทุกเรื่องที่เป็นสาธารณะ นั่นเอง ดังนั้น การที่แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนจะสำเร็จลงได้หรือไม่อย่างไรนั้น ทุกประเทศจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด และที่สำคัญ รัฐบาลในหลายๆ ประเทศจะต้องปรับเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ จากที่เคยมองว่ารัฐบาลเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน รัฐบาลจึงสามารถควบคุมและครอบงำประชาชนให้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ มาเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วม ทั้งในระดับการร่วมรับรู้การตัดสินใจขององค์กรของรัฐ และในระดับการร่วมตัดสินใจ และจะต้องมีการตกลงกันให้ชัดเจนว่าสัดส่วนของบทบาทภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนในการพัฒนานั้นควรจะเป็นลักษณะใด หรือที่เรียกว่า “ประชารัฐ” นั่นเอง และเพื่อให้การพัฒนาที่ยั่งยืนสามารถแทรกเข้าไปในทุกส่วนของสังคมโลก เมื่อเริ่มต้นทศตวรรษที่ 1980 องค์การสหประชาชาติ จึงเสนอให้ประเทศกำลังพัฒนาที่ประสบความล้มเหลวในการพัฒนาตามที่กล่าวมาข้างต้น เร่งปฏิรูประบบเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการปฏิรูปการเมือง การบริหาร การศึกษา การขจัดและลดความยากจน การส่งเสริมให้มีการบูร

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

ประโยชน์ที่ได้รับร่วมกันจากการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.ใช้เป็นกรอบในการติดตาม ประเมินผล และการควบคุม กำกับการปฏิบัติงานของหน่วยงานในจังหวัด 2.ใช้เป็นกรอบในการรายงานผลการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดในภาพรวม

3.ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในทุกระดับมองเห็นภาพการดำเนินงานในระดับภาพรวมของจังหวัด

4.ใช้ประกอบการวิเคราะห์และจัดทำนโยบายและแผนงานให้สอดรับกับนโยบายการทำงานแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์

5.ทำให้เกิดแนวทางการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 6.ทำให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน และใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานและประสิทธิภาพการดำเนินงานได้อย่างชัดเจน 7.กระบวนการด้านการจัดทำตัวชี้วัด จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันรวมถึงเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานร่วมกัน 8.เป็นโอกาสในการสร้างระบบฐานข้อมูลให้แก่องค์กร เช่น เทคนิค ระบบ วิธีการจัดการฐานข้อมูลและการวิเคราะห์ผลในรูปดัชนีเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างหน่วยงาน 9.เป็นตัวชี้วัดกลางที่จะใช้เป็นฐานในการประยุกต์ ปรับปรุงหรือต่อยอดเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น การจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ เป็นต้น

แนวคิดในการจัดทำตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนจัดทำภายใต้การประยุกต์หลักการของการประเมินผลการพัฒนาจังหวัดในด้านความสมดุลของ 2 มิติ (เศรษฐกิจ และสังคม) โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์ในการใช้งาน กระบวนการ ประเด็นที่ต้องการวัดระดับของตัวชี้วัด และช่วงเวลาในการวัดและตัวชี้วัดที่ได้จำเป็นต้องมีเกณฑ์ในการวัด และเมื่อได้ผลการวัดออกมาแล้วต้องมีมาตรฐานเปรียบเทียบว่าผลลัพธ์ที่ได้มีค่าน้อย ปานกลาง มากกว่า หรือเกินกว่าระดับที่ควรจะยอมรับได้ เพื่อให้ผู้ประเมินสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไข หรือปรับตัวอย่างไรเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในส่วนของผู้มีหน้าที่ในการวางนโยบายและแผนในการพัฒนาประเทศก็สามารถ ใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือในการประเมินผลเพื่อวางนโยบายและแผนการพัฒนาประเทศในระยะต่อไปได้ ซึ่งตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนนี้จะแสดงให้ทราบว่าการพัฒนาจังหวัดในระยะที่ผ่านมามีสถานการณ์อย่างไร ทิศทางหรือแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร และมีความสมดุลทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับระยะเวลาตามเป้าหมายที่กำหนด เป็นต้น ตัวชี้วัดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีความแตกต่างจากตัวชี้วัดทั่วๆไป เนื่องจาก“ความยั่งยืน” มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องใน 2 มิติ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม โดยมิติทางเศรษฐกิจจะเกี่ยวข้องกับคุณภาพ เสถียรภาพ และการกระจายความมั่งคั่ง มิติสังคมจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพ การพัฒนาคุณภาพชีวิตการสร้างค่านิยม ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมให้เป็นภูมิคุ้มกันของสังคม และการสร้างความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ส่งผลให้มีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องหลายภาคส่วนด้วยกัน ตัวอย่างเช่นความเกี่ยวเนื่องที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้นี้ ทำให้แนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนจึงต้องใช้หลักการการพัฒนาอย่างสมดุลทั้ง 2 ด้าน ไม่พัฒนาด้านใดมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดปทุมธานี พ.ศ.2553 – 2556 คือ “การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคการเกษตร การผลิต การค้าและบริการ และ การพัฒนาสังคมปทุมธานีให้เป็นสังคมคุณภาพ” และสอดคล้องกับการพัฒนาโดยยึดทางสายกลาง กล่าวคือ ความไม่ฟุ่มเฟือยหรืออัตคัดเกินพอดี ซึ่งเป็นแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้ทรงพระราชทานไว้ให้แก่ประชาชนนั่นเองอย่างยั่งยืนมีความ

การประเมินผลความสำเร็จของการพัฒนา

การประเมินผล คือ กระบวนการที่พิจารณาว่า ได้มีการทำอะไรสำเร็จไปแล้วบ้างในสิ่งที่กำหนดได้ตั้งเป้าหมายไว้ ผลที่ได้รับดีหรือไม่อย่างไร หรืออาจกล่าวได้ว่าการประเมินผลเป็นการเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้กับผลที่ปรากฏจากการทำงานตามแผนโดยมีเกณฑ์กำหนดหรือค่าเป้าหมายเป็นเครื่องตัดสิน ซึ่งอาจเป็นค่าทางสถิติหรืออัตราส่วน เป็นต้น สรุปแล้ว การประเมินผลเป็นการนำเอาข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อนำมาประเมินการปฏิบัติงานว่า ผลงานที่ได้ทำไปแล้วนั้นดีหรือไม่อย่างไร มีข้อบกพร่องอะไรบ้าง เช่นเดียวกัน การประเมินผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด คือ การประเมินโดยใช้ตัวชี้วัดที่ได้ทำการรวบรวมและประมวลผลข้อมูล แล้วนำมาเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมายหรือเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด แล้วคำนวณออกมาเป็นค่าร้อยละ ถ้าหากผลการประเมินที่ได้เท่ากับหรือสูงกว่าเป้าหมายคือค่าเข้าใกล้ 100 หรือเกิน 100 หมายความว่า กระบวนการพัฒนาจังหวัดในด้านนั้นๆ ประสบความสำเร็จ มีแนวโน้มที่จะไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น และในทางตรงกันข้าม หากผลที่ประเมินได้ต่ำกว่า 100 หรือต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดมากเท่าไร แสดงว่าการพัฒนาจังหวัดด้านนั้นๆ ในระยะที่ผ่านมา นำไปสู่ความไม่ยั่งยืนหรือไม่ประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้ที่มีหน้าที่ในการวางแผนและนโยบายการพัฒนาในด้านนั้นๆ ต้องพิจารณาปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการพัฒนาเพื่อให้นำไปสู่เป้าหมายหรือความสำเร็จในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด ให้ได้ในปีต่อไป การประเมินผลการพัฒนาต้องมีการประเมินในทุกๆ เดือน หรือ ทุกๆ ปีอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบแนวโน้มของการพัฒนาประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น หากมีการประเมินควบคู่ไปกับแผนในการพัฒนาจังหวัด ควรจะมีการประเมินในช่วงตั้งแต่เริ่มต้นของการดำเนินการตามแผนและระหว่างการดำเนินการตามแผนด้วย เพื่อจะได้ทราบปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถแก้ไขหรือปรับแผนการดำเนินการได้ทันท่วงที

ตัวอย่างตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืน

ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปทุมธานี มีทั้งสิ้น 179 ตัวชี้วัด ซึ่งตัวชี้วัดที่คัดเลือกได้ในแต่ละมิติมีการสะท้อนประเด็นต่างๆดังนี้

- มิติเศรษฐกิจ 39 ตัวชี้วัด สะท้อนถึงการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพ โดยมีการผลิตที่มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับศักยภาพทางการผลิตของจังหวัด และตั้งอยู่บนพื้นฐานของการอนุรักษ์ อีกทั้งมีการพัฒนาอย่างมีเสถียรภาพ สามารถพึ่งตนเองได้และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ รวมทั้งมีการกระจายความมั่งคั่งโดยการสร้างโอกาสของการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ

- มิติสังคม 140 ตัวชี้วัด มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและการปรับตัวบนสังคมพื้นฐานความรู้เพื่อให้เกื้อหนุนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคงในการดำรงชีวิต โดยให้ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสุขภาพแข็งแรง ได้รับความคุ้มครองทางสังคมอย่างเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังรวมถึงการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันด้านวัฒนธรรมและการสร้างความเสมอภาคและการมีส่วนร่วม ทั้งในด้านการเมืองและการปกครอง มีสิทธิในการรับรู้ข่าวสาร และร่วมในกระบวนการตัดสินใจต่อนโยบายสาธารณะต่างๆ

ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปทุมธานีมีดังนี้

ตารางที่ 3.1 ตัวชี้วัดการพัฒนาที่ยั่งยืนของจังหวัดปทุมธานี 179 ตัวชี้วัด

เป้าประสงค์ ดัชนี/ตัวชี้วัด

มิติเศรษฐกิจ

1. ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางการแข่งขัน (Betterment)

1.1 ดัชนีภาพรวมของปัจจัยการผลิต (Total Factor Productivity : TFP)

1. ร้อยละโรงงานอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการใหม่

2. ร้อยละโรงงานอุตสาหกรรมเลิกกิจการ

3. ร้อยละทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการใหม่

4. ร้อยละทุนจดทะเบียนของโรงงานอุตสาหกรรมเลิกกิจการ

5. ร้อยละจำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเปิดดำเนินการใหม่

6. ร้อยละจำนวนแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมเลิกกิจการ

7. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนอุปกรณ์การผลิตและการตลาดสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

1.2 ดัชนีมูลค่าการลงทุนในจังหวัด

8. สัดส่วนงบประมาณเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP)

9. สัดส่วนปริมาณสินเชื่อเทียบกับปริมาณเงินฝากธนาคารพาณิชย์

10. สัดส่วนปริมาณสินเชื่อเทียบกับปริมาณเงินฝากธนาคาร ธ.ก.ส

1.3 ดัชนีการขยายตัวของเศรษฐกิจด้านอุปทาน (ด้านการผลิต)

ภาคการเกษตร

11. อัตราการขยายตัวของผลผลิตสาขาการเกษตร

12 อัตราการขยายตัวของผลผลิตสาขาปศุสัตว์

1.4 ดัชนีการขยายตัวของเศรษฐกิจด้านอุปสงค์ (ด้านการใช้จ่าย)

13. อัตราการขยายตัวด้านการบริโภค

14. อัตราการขยายตัวด้านการลงทุน

2.เสถียรภาพและความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ (Stabilityand Sustainability) 2.1 ดัชนีอัตราการเปลี่ยนแปลงด้านระดับราคา

1. อัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดปทุมธานี

2. ดัชนีราคาผู้บริโภคจังหวัดปทุมธานี

2.2 ดัชนีการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

3. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP

4. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการท่องเที่ยว

5. ร้อยละที่ลดลงของครัวเรือนที่มีที่พักอาศัยไม่มั่นคงแข็งแรง

2.3 ดัชนีการจ้างงาน

6. อัตราการขยายตัวของจำนวนผู้ประกันตนระบบประกันสังคม

7. อัตราการเปลี่ยนแปลงของค่าแรงขั้นต่ำ

3. การกระจายรายได้ ความยากจนและความเท่าเทียมของโอกาสทางเศรษฐกิจ (Equity and Fairness) 3.1 ดัชนีความเท่าเทียมกันในการจ้างงานระหว่างเพศ

1. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ

2. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ

3. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง

4. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ เสมียน

5. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด

6. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง

7. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง

8. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฎิบัติงานด้านการประกอบ

9. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขาย และการให้บริการ

3.2 ดัชนีความเท่าเทียมกันด้านการศึกษาของคนชนบทและคนเมือง

10. ร้อยละเด็กอายุ 3-5 ปีที่ได้เข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก ในชนบท

11. ร้อยละเด็กอายุ 6-12 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษา ในชนบท

12. ร้อยละเด็กอายุ 13-15 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในชนบท

13. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือสายอาชีพ ในชนบท

14. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและไม่ได้เรียนต่อได้รับการฝึกอาชีพ ในชนบท

3.3 ดัชนีความเหลื่อมล้ำของรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน

15. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของจำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15-59 ปี

16. ค่าจ้างขั้นต่ำ

17. อัตราการว่างงาน

3.4 ดัชนีจำนวนคนยากจน ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างภูมิภาค

18. รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน (จปฐ.)

มิติสังคม

1. ด้านพัฒนาการทางสังคม(Social Strength or Social Integrity) 1.1 ดัชนีสุขภาวะ

สุขภาพกายดี

1. ร้อยละของผู้ที่มีโรคเรื้อรัง/โรคประจำตัวต่อประชากร(ความดัน/เบาหวาน)

2. อายุขัยเฉลี่ยเมื่อแรกเกิด

3. อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อประชากรแสนคน

4. ร้อยละของผู้ที่มีหลักประกันสุขภาพต่อประชากร

5. อัตราส่วนของประชากรต่อแพทย์

6. อัตราส่วนของประชากรต่อทันตแพทย์

7. อัตราส่วนของประชากรต่อเภสัชกร

8. อัตราส่วนของประชากรต่อพยาบาล

สุขภาพจิตดี มีคุณธรรม จริยธรรม

9. อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จต่อประชากรแสนคน

10. อัตราจำนวนคดีอาญาต่อประชากรแสนคน

11. จำนวนคดีอาญาทั้งหมด

12. อัตราผู้เจ็บป่วยด้วยโรคจิตต่อประชากรแสนคน

13. อัตราผู้เจ็บป่วยด้วยโรควิตกกังวลต่อประชากรแสนคน

14. อัตราผู้เจ็บป่วยด้วยโรคซึมเศร้าต่อประชากรแสนคน

15. อัตราส่วนของประชากรต่อจิตแพทย์

16. อัตราส่วนของประชากรต่อพยาบาลจิตเวช

มีสติปัญญา และใฝ่รู้

17. มีสติปัญญา และใฝ่รู้

18. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษา

19. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

20. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

21. จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15-59 ปี

1.2 ดัชนีการได้รับการศึกษาของเด็กและเยาวชน

22. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประถมศึกษา

23. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

24. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

25. จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของประชากรอายุ 15-59 ปี

1.3 ดัชนีความเพียงพอของบุคลากรด้านสาธารณสุข

26. จำนวนเตียงต่อประชากร

27. สัดส่วนพยาบาลต่อจำนวนเตียงที่ให้บริการ

28. สัดส่วนพยาบาลต่อประชากรพื้นที่

29. สัดส่วนแพทย์ทั้งหมดต่อประชากรทั้งหมด

30. สัดส่วนทันตแพทย์ทั้งหมดต่อประชากรทั้งหมด

1.4 ดัชนีสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศสมดุล

ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต

31. ร้อยละของครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย

32. ร้อยละของครัวเรือนที่มีน้ำประปาใช้ในครัวเรือนต่อครัวเรือนทั้งหมด

33. ร้อยละของครัวเรือนที่มีน้ำสะอาดดื่มและบริโภคอย่างพอเพียงต่อครัวเรือนทั้งหมด

34. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

35. อัตราจำนวนคดีอาชญากรรมต่อประชากรแสนคน

36. อัตราจำนวนคดียาเสพติดต่อประชากรแสนคน

37. ร้อยละของหมู่บ้านที่มีการใช้ยาเสพติดหรือไม่มีการป้องกันต่อหมู่บ้าน

สิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ

38. ร้อยละของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพอย่างต่ำอยู่ในเกณฑ์พอใช้ต่อแหล่งน้ำ

39. ร้อยละของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีต่อแหล่งน้ำ

40. ร้อยละของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพพอใช้ต่อแหล่งน้ำ

41. ร้อยละของปริมาณขยะอันตรายต่อขยะชุมชน

42. ปริมาณขยะมูลฝอยในแต่ละปี

43. จำนวนการร้องทุกข์ด้านมลพิษ

44. จำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากสารอันตราย

45. ปริมาณขยะอันตราย

46. ปริมาณขยะในชุมชน

ระบบนิเวศสมดุล

47.ร้อยละของปริมาณน้ำใต้ดินที่นำมาใช้ต่อปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถใช้งานได้

48. มูลค่าความเสียหายจากภัยแล้ง

49. มูลค่าความเสียหายจากอุทกภัย

50. มูลค่าการสงเคราะห์ความเสียหายจากอุทกภัย

51. ปริมาณน้ำใต้ดินที่นำมาใช้

1.5 ดัชนีการศึกษากับความต้องการของแรงงาน

การมีสัมมาชีพ

58. อัตราการว่างงาน

59. ร้อยละของครัวเรือนที่มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อครัวเรือน

60. สัดส่วนแรงงานที่ได้รับสวัสดิการต่อกำลังแรงงาน

61. จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยต่อสัปดาห์

62. สัดส่วนผู้มีงานทำจำแนกตามภาคการผลิต (ต่อผู้มีงานทำ)

63. สัดส่วนผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรม

64. สัดส่วนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม

65. สัดส่วนกำลังแรงงานระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า

66. สัดส่วนกำลังแรงงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป

67. รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน

68. รายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของครัวเรือน

69. ร้อยละของครัวเรือนที่มีหนี้สินต่อครัวเรือน

70. หนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือน

71. สัดส่วนผู้ประกันตนต่อกำลังแรงงาน

72. อัตราแรงงานที่ประสบอันตรายจากการทำงานต่อผู้มีงานทำแสนคน

73. จำนวนผู้ว่างงาน

74. จำนวนแรงงานที่ได้รับสวัสดิการ

75. จำนวนผู้มีงานทำภาคเกษตรกรรม

76. จำนวนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรม

77. จำนวนกำลังแรงงานระดับประถมศึกษาและต่ำกว่า

78. จำนวนกำลังแรงงานระดับมัธยมศึกษาตอนต้นขึ้นไป

79. จำนวนแรงงานที่ประสบอันตรายจากการทำงาน

2. ด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางสังคม (Social Stability) 2.1 ดัชนีการมีที่อยู่อาศัยของประชาชน

1.สัดส่วนครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวรต่อครัวเรือนทั้งหมด

2.สัดส่วนครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาด และถูกสุขลักษณะต่อครัวเรือนทั้งหมด

3. สัดส่วนครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษต่อครัวเรือนทั้งหมด

4. สัดส่วนครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่างถูกวิธีต่อครัวเรือนทั้งหมด

2.2 ดัชนีครอบครัวอบอุ่น

บทบาทหน้าที่ของครอบครัว

5. อัตราของเด็กเร่ร่อนและถูกทอดทิ้งต่อเด็กแสนคน

6. ร้อยละของผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียวต่อผู้สูงอายุ

7.ร้อยละของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุเป็นหัวหน้าครัวเรือนต่อครัวเรือนทั้งหมด

8. จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจ

9. จำนวนเด็กเร่ร่อนและถูกทอดทิ้ง

10. จำนวนประชากรวัยเด็ก

สัมพันธภาพในครอบครัว

11. อัตราการจดทะเบียนสมรสต่อพันครัวเรือน

12. อัตราการจดทะเบียนหย่าต่อพันครัวเรือน

13. ร้อยละของประชากรที่ผ่านการสมรสต่อประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป

14. จำนวนการจดทะเบียนสมรส

15. จำนวนการจดทะเบียนหย่า

16. จำนวนประชากรที่สมรสทั้งหมด

2.3 ดัชนีความสามารถในการหลุดพันจากความยากจนของประชาชน

ส่งเสริมการบูรณาการและใช้ประโยชน์จากทุนชุมชน

17. สัดส่วนของผู้กู้ยืมเงินจากกองทุนหมู่บ้านฯ ที่สามารถชำระคืนได้ตามกำหนดเวลา

ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ พัฒนาผลิตภัณฑ์

18. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP

19. ร้อยละการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาส่งเสริมอาชีพ

20. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของสินค้า OTOP ที่ได้รับมาตรฐาน 4 – 5 ดาว

21. ร้อยละการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้า OTOP

22. ร้อยละการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาส่งเสริมอาชีพ

พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

23. สัดส่วนเด็กและคนชราที่อยู่ในครัวเรือนยากจนในเขตเทศบาล

24. สัดส่วนเด็กและคนชราที่อยู่ในครัวเรือนยากจนนอกเขตเทศบาล

25. ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือ

26. ร้อยละของผู้พิการที่ได้รับความช่วยเหลือ

2.4 ดัชนีหลักประกันด้านสังคมของประชาชน

27. สัดส่วนคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์สินต่อประชากรแสนคน

28. สัดส่วนคดีชีวิต ร่างกาย และเพศต่อประชากรแสนคน

29. สัดส่วนคดียาเสพติดต่อประชากรแสนคน

30. ร้อยละของคดีเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดซ้ำต่อ คดีที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจ

2.5 ดัชนีคุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน(ประชากรอายุต่ำกว่า18 ปี)

31. สัดส่วนของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด ต่อประชากรเด็กและเยาวชนหมื่นคน

32. สัดส่วนเด็กและเยาวชนที่ได้รับการส่งเสริมด้านคุณธรรม.จริยธรรม ต่อประชากรเด็กและเยาวชนหมื่นคน

33. สัดส่วนเด็กและเยาวชนที่แต่งงานก่อนวัยอันควร ต่อเด็กและเยาวชนหมื่นคน

34. ร้อยละเด็กอายุ 3-5 ปีที่ได้เข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก

35. ร้อยละเด็กอายุ 6-12 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษา ต่อประชากรในวัยเรียน

36. ร้อยละเด็กอายุ 13-15 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

37. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือสายอาชีพ

38. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและไม่ได้เรียนต่อได้รับการฝึกอาชีพ

3. ด้านความเสมอภาคทางสังคม(Social equality) 3.1 ดัชนีโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน

1. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้บัญญัติกฎหมาย ข้าราชการระดับอาวุโส และผู้จัดการ

2. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านต่างๆ

3. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคนิคสาขาต่างๆ และอาชีพที่เกี่ยวข้อง

4. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ เสมียน

5. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ พนักงานบริการและพนักงานในร้านค้า และตลาด

6. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติงานที่มีฝีมือในด้านการเกษตร และการประมง

7. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติงานด้านความสามารถทางฝีมือ และธุรกิจการค้าที่เกี่ยวข้อง

8. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ ผู้ปฎิบัติการโรงงานและเครื่องจักรและผู้ปฎิบัติงานด้านการประกอบ

9. สัดส่วนแรงงานชายหญิงกลุ่มอาชีพ อาชีพขั้นพื้นฐานต่างๆในด้านการขาย และการให้บริการ

10. จำนวนแรงงานต่างด้าวที่ขึ้นทะเบียน

11. ร้อยละของสถานประกอบกิจการได้รับการส่งเสริมด้านสวัสดิการแรงงาน

3.2 ดัชนีการเรียนรู้ของคนในจังหวัดที่อยู่ในเขตชนบท

12. ร้อยละเด็กอายุ 3-5 ปีที่ได้เข้าเรียนในศูนย์เด็กเล็ก ในชนบท

13. ร้อยละเด็กอายุ 6-12 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษา ในชนบท

14. ร้อยละเด็กอายุ 13-15 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในชนบท

15. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่ได้เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือสายอาชีพ ในชนบท

16. ร้อยละเด็กอายุ 15-18 ปีที่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและไม่ได้เรียนต่อได้รับการฝึกอาชีพ ในชนบท

3.3 ดัชนีความเท่าเทียมกันในการได้รับบริการรักษาพยาบาล

17. จำนวนเตียงต่อประชากรจำแนกรายอำเภอ

18. สัดส่วนพยาบาลต่อจำนวนเตียงที่ให้บริการจำแนกรายอำเภอ

19. สัดส่วนพยาบาลต่อประชากรพื้นที่จำแนกรายอำเภอ

20. สัดส่วนแพทย์ทั้งหมดต่อประชากรทั้งหมดจำแนกรายอำเภอ

21. สัดส่วนทันตแพทย์ทั้งหมดต่อประชากรทั้งหมดจำแนกรายอำเภอ

3.4 ดัชนีความสามารถในการพึ่งตนเอง

ชุมชนพึ่งตนเองได้

22. ร้อยละของกองทุนหมู่บ้านที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

23. ร้อยละของหมู่บ้านที่มีการเรียนรู้โดยชุมชนต่อหมู่บ้าน

24. ร้อยละของครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรทฤษฎีใหม่ต่อครัวเรือนทั้งหมด

25. ร้อยละของผู้มีภูมิปัญญาท้องถิ่น/ชาวบ้านและปราชญ์ชาวบ้านต่อประชากรของหมู่บ้าน

26.ร้อยละของการจัดทำแผนชุมชนที่มีคุณภาพระดับดีต่อการจัดทำแผน (งานวิจัย)

27. จำนวนกลุ่มองค์กรในชุมชน

28. จำนวนกลุ่มผู้ผลิตชุมชนที่ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น otop

29. จำนวนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

30. จำนวนภาคีเครือข่ายการพัฒนา

ชุมชนเกื้อกูลกัน

31. ร้อยละของหมู่บ้านที่มีการจัดสวัสดิการของชุมชนต่อหมู่บ้าน

32.ร้อยละของครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะของชุมชน/หมู่บ้านต่อครัวเรือนทั้งหมด

33. จำนวนอาสาสมัครในองค์กรภาครัฐและเอกชน

การมีส่วนร่วมของชุมชน

34. ร้อยละของครัวเรือนที่เป็นสมาชิกกลุ่มในชุมชน/หมู่บ้านต่อครัวเรือนทั้งหมด

35. ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

ประเมินอย่างไรจึงจะเกิดการพัฒนา(กรณีตัวอย่างโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน)

โรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ มีนักเรียนน้อย ๆ เช่น ประมาณ 60 คนลงมา เป็นโรงเรียนที่ต้องการคำตอบในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

1. เมื่อผู้ประเมินยังเอาจำนวนนักเรียนมาเป็นหลักในการตัดสินคุณภาพ นั่นแสดงว่าเราเชื่อว่าคุณภาพของโรงเรียนและผู้บริหารสถาบันศึกษาขึ้นอยู่กับขนาดของโรงเรียนไปเสียแล้วถ้าเชื่อว่าโรงเรียนที่มีนักเรียนเยอะจะเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพจริง นั่นแสดงว่ากำลังมีความเชื่อว่า การพัฒนาสติปัญญาของคนขึ้นกับจำนวนของคน น่าเศร้าอะไรเช่นนี้ แล้วอย่างนี้ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก จะเอาขวัญกำลังใจที่ไหนไปทำงาน เรื่องขวัญและกำลังใจ แรงจูงใจเป็นสิ่งที่สำคัญในการปลุกเร้าให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ทำไมไม่ให้เขาอยู่ตรงนั้น และพัฒนาไปตามบริบทที่แวดล้อมเขาอยู่ เมื่อเขาวิเคราะห์ปัญหา และต้องการความช่วยเหลืออะไรเราก็เข้าไปช่วยเขาตรงจุดนั้นจริง ๆ จะมีดีกว่าหรือ การพัฒนาจะเกิดขึ้น มันไม่ใช่ความผิดที่ผู้บริหารสถานศึกษาบังเอิญไปอยู่โรงเรียนที่มีขนาดเล็กเลยสักนิดเดียวเราจะเชื่อกันแบบนี้จริง ๆ หรือ มันจะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราให้ผู้บริหารย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่งเอาผู้บริหารโรงเรียนใหญ่ไปไว้โรงเรียนเล็ก แล้วเอาผู้บริหารโรงเรียนเล็กไปไว้โรงเรียนใหญ่ดูบ้าง คงได้มีการลด เพิ่ม ตำแหน่งกันบ้างเป็นแน่ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กนั้นขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง และกลายเป็นผู้บริหารที่ด้อยคุณภาพไปโดยปริยาย ถึงมีโอกาสก็หืดขึ้นคอ ทั้งนี้ดูได้จากเกณฑ์การประเมิน เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาเกณฑ์คุณภาพ และที่ร้ายไปกว่านั้นคือ โรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวนมากได้ผ่านไปโดยอาศัยวัฒนธรรมองค์การที่เป็นระบบอุปถัมภ์ ไม่ต้องอธิบายหรอกว่ามันเป็นไปได้อย่างไร เพราะไม่เห็นจะมีใครสงสัยว่าการเรียนรู้ความก้าวหน้าด้วยวิธีการที่ไม่มุ่งพัฒนางาน แต่มุ่งความสำเร็จส่วนตน ในยุควัตถุนิยมนั้นได้ทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นครูลงไปขนาดไหน มิหนำซ้ำยังไม่อาจคาดคะเนถึงผลร้ายที่จะตามมาในอนาคตได้อีกด้วยนอกจากนั้น แทนที่เราจะมองว่านักเรียนมากหรือน้อยจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพ เราน่าจะคิดใหม่ว่ามันน่าจะเกี่ยวพันกันในเรื่องสำคัญที่สุดคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูมากกว่า ไม่เคยมีตำราที่ไหนที่บอกว่านักเรียนมากจะมีคุณภาพกว่านักเรียนน้อยเลย ว่ากันตามจริงนักเรียนน้อยหรือมาก ต่างก็มีจุดแข็งของตนเอง ขึ้นกับว่าครูจะวางแผนอย่างไรมากกว่า เช่น นักเรียนน้อยก็มีโอกาสที่จะได้เรียนตามความแตกต่างระหว่างบุคคล และการรู้จักนักเรียนรายตัวก็ทำได้ง่ายกว่า ครูก็มีโอกาสใกล้ชิดเด็ก ส่วนนักเรียนมาก ก็มีโอกาสจัดกิจกรรมที่หลากหลาย นักเรียนมีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากกว่า และได้เปรียบในการเลือกเด็กมาแข่งขันกิจกรรมต่าง ๆ ความจริงถ้าคิดเปรียบเทียบกับโรงเรียนเล็ก ก็ต้องเทียบสัดส่วนและแสดงให้เห็นชัด แต่เพราะเราประเมินแบบแข่งขันไม่ประเมินเพื่อพัฒนา เราก็เอาแต่ตัวเลขที่สำเร็จไปแสดง ชาวบ้านเขาไม่รู้เรื่องก็พลอยเชื่อ เมื่อสังคมแข่งกันอยู่อย่างนี้ มีหรือโรงเรียนใหญ่ จะมาช่วยโรงเรียนเล็ก มันเป็นเรื่องที่คิดง่ายแต่ไม่เคยเห็นใครทำได้อย่างถาวรเลยสักคนเดียว ทั้งนี้เพราะมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก ทั้งนี้การแข่งขันระหว่างโรงเรียนยังมีอยู่มาก และครูโรงเรียนใหญ่ก็อาจคิดได้ว่าเป็นการเพิ่มภาระงานที่ไม่ใช่ความรับผิดชอบโดยตรงทั้งปัญหาเรื่องการควบคุมบังคับบัญชา ความเหนื่อยล้า ระยะเวลาในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และอีกจิปาถะสารพัดที่จะอ้างจนน่ารำคาญ

2. แนวคิดของระดับนโยบายส่งผลสะเทือนไม่หยุดยั้ง เราคงเคยได้ยินแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหาโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก โดยการยุบโรงเรียนโดยเหตุผลข้อหนึ่งคือการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่า ทั้ง ๆที่การยุบโรงเรียนไป ซึ่งเท่ากับไม่ได้ใช้เลย มันจะดีกว่าไปได้อย่างไร การยุบโรงเรียนที่มีขนาดเล็กที่พูดขลุม ๆ เป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุดเลยสักนิดเดียว แม้ว่าปัจจุบันอาจกลับมาคิดอีกว่าไม่ต้องยุบ แต่ผลกระทบที่เกิดจากการแกว่งในแนวคิดนั้นยังอยู่ กรรมเวรก็ยังอยู่ที่โรงเรียนเล็กแม้ว่าอาจมีหลาย ๆ โรงเรียนที่น่าจะต้องยุบเลิกไปจริง ๆ ตามสภาวะที่แท้จริงของมัน ไม่ใช่เกิดจากแรงส่ง เพื่อผลประโยชน์บางประการ ซึ่งความจริงโรงเรียนเล็ก ๆ เหล่านี้ ส่วนหนึ่งก็เกิดจากการสร้างขึ้นอย่างไม่รับผิดชอบ แต่ผลักดันให้เกิดการเข้าสู่ตำแหน่ง แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่มีการยุบเลิก หรือยุบรวม เราจะต้องให้ความเสมอภาคกันทุกโรงเรียน เพราะโรงเรียนก็เหมือนบ้าน ต้องการปัจจัยในการเป็นอยู่เหมือนกัน เพียงแต่บ้านเล็กก็ใช้หม้อข้าวหม้อเล็ก บ้านใหญ่ก็ใช้หม้อข้าว หม้อใหญ่ หรือหม้อเล็กหลายหม้อ ไม่ใช่บ้านเล็กไม่ต้องกินข้าว ทรัพยากรในการบริหารที่เป็นพื้นฐานจะต้องจัดให้มี เราจะประเมินมาตรฐานด้านกระบวนการได้เหมือนกันก็ต่อเมื่อสถานศึกษาได้มีโอกาส มีทรัพยากรเท่าเทียมกัน ถ้าโรงเรียนขนาดเล็กไม่มีมาตรฐานด้านปัจจัย เพราะเราไม่ได้จัดให้เขา แล้วไปประเมินว่าเขาต่ำกว่ามาตรฐาน มันเป็นความผิดของใครกันแน่ มิหนำซ้ำยังต้องดิ้นรนแสวงหาทรัพยากรให้ได้มา ถ้าเผื่อหามาได้จะถือว่า ได้แสดงศักยภาพที่เหนือกว่า สถานศึกษาขนาดใหญ่ที่อยู่เฉย ๆก็ได้มา หรือไม่ อย่างไร ตัวอย่างทรัพยากรที่ควรจัดสรรให้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีศักยภาพ ถือว่าจำเป็นต้องมี จะให้ตามสัดส่วน หรือตามความจำเป็นขั้นต่ำก็ยังดี ไม่ใช่ไม่ให้ตัดทั้งวัสดุอุปกรณ์ ตัดทั้งกำลังคน เช่น ภารโรง ด้วยเห็นว่าไม่คุ้มค่า วัสดุอุปกรณ์ การจัดสรรจึงไปลงที่โรงเรียนขนาดใหญ่ คิดเหมือนนักการเมืองไม่มีผิด คือถ้าบริจาคต้องให้โรงเรียนใหญ่ ๆ เพราะคะแนนเสียงมันมาก ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กไม่คุ้มค่า แล้วอย่างนี้จะให้เชื่อได้อย่างไรว่า ความเสมอภาคทางการศึกษามันจะเกิดขึ้น

3. จากการไม่ได้รับจัดสรรทรัพยากรบริหาร ทำให้สถานศึกษาที่มีขนาดเล็กต้องขาดโอกาสในการใช้เวลาในการบริหารงานหลัก ต้องไปบริหารงานสนับสนุน เป็นการเพิ่มภาระให้หนักแสนหนักเข้าไปอีกทำไม จึงคิดว่าสถานศึกษาที่มีขนาดเล็กมีปริมาณงานน้อย เป็นโรงเรียนที่อยู่สบาย อย่าลืมว่าสถานศึกษาขนาดไหนก็มีขอบข่ายภาระงานเหมือนกันทั้งนั้น ผิดแต่ว่าสถานศึกษาขนาดเล็กจะมีจำนวนนักเรียนน้อย จำนวนครูน้อย นักเรียนก็ตัวเล็ก ๆ แถมโรงเรียนที่ถูกตัดตำแหน่งภารโรง ครูจะต้องทำงานหนักขึ้นไปอีกเป็นกี่เท่า ภาระงานที่เราคิดไม่ออกเพราะไม่เคยลงไปเป็นผู้ปฏิบัติมีอีกมากมายก่ายกอง เช่น ใครจะตัดหญ้า ใครจะปิดหน้าต่าง ใครจะลามไฟรอบโรงเรียนที่ติดทุ่งนา ซ่อมถนน ซ่อมอาคารที่ชำรุด ยกโต๊ะเก้าอี้ เวลาจัดประชุม โดยเฉพาะโรงเรียนที่มีแต่ครูสตรีกับเด็กไม่กี่คน หวังให้ผู้ปกครองช่วย เขาจะเอาอะไรมาช่วย เพราะเขาก็จน ต้องหาเช้ากินค่ำ ไม่มีปัญญาจะส่งลูกหลานไปโรงเรียนใหญ่ และเด็กน้อย ๆ ผู้ปกครองก็น้อย ที่เป็นหนุ่มเป็นสาวก็ไปทำงาน อยู่แต่คนแก่ นึกภาพออกไหมว่าโรงเรียนเล็กเขาจะอยู่กันอย่างไร ต้องการให้ยุบก็ย่อมได้ แล้วจะให้ยุบไปอยู่ที่ไหน ข้อสำคัญคือ ไม่มีโรงเรียนที่มีตำแหน่งให้อยู่ มันเต็มไปหมด แล้วโรงเรียนที่ผู้บริหารจะเกษียณอายุ หรือใกล้ตายนี่ ก็มีคิวแย่งกันให้วุ่นวายไปหมด ไม่รู้เส้นใครเป็นเส้นใคร มีคนอยากไปอยู่จนตัวสั่น อาจจะแช่งชักหักกระดูกด้วยซ้ำไป ทั้ง ๆ ที่ผู้บริหารเขาก็ยังนั่งตาปริบ ๆ อยู่เลย เห็นไหมว่าไม่มีใครอยากจะอยู่โรงเรียนเล็ก ถ้าพูดถึงความก้าวหน้าแล้ว คนแรกที่อยากย้ายไปคือผู้บริหาร ดังนั้นเวลาอยากย้ายก็อาจต้องไปยุแยงตะแคงรั่ว หาเรื่องเลื่อยขาเก้าอี้ผู้บริหารในโรงเรียนขนาดใหญ่ออก เพื่อตัวเองจะได้มีโอกาสเข้าไปอยู่ ภาวการณ์สาวไส้ให้กากิน จึงปรากฏต่อสาธารณชน ทำลายความน่าศรัทธาของวิชาชีพครูอย่างไม่หยุดหย่อน ถ้าแก้เกมทันก็รอดตัวแต่ชื่อเสียงก็เน่าไปแล้ว ถ้ารู้ทันตัวคนยุก็อดไปด้วย คนเก่าก็ต้องย้าย ขวัญหนีดีฝ่อ เกิดการเตะหมูเข้าปากหมาไปอีก คนที่มาก็ไม่รู้ว่าคนของใคร ที่แน่ ๆ เป็นผลกระทบจากการต้องการเข้าไปอยู่ในโรงเรียนที่มีปริมาณงานมาก ๆ อยากอยู่โรงเรียนใหญ่ ฝีมือแค่ไหนไม่รู้ แต่พออยู่ครบตามเกณฑ์ปีสองปีก็ประเมินได้เงินประจำตำแหน่งสบายไป ดังนั้นวิธีแก้ไขคือ เมื่อยังไม่มีการยุบเลิก ยุบรวมโรงเรียนที่มีขนาดเล็ก ก็ต้องช่วยให้เขาทำงานได้ ไม่ให้อุปกรณ์ ก็ต้องขวัญกำลังใจ ต้องไปมีส่วนร่วม ต้องสร้างแรงจูงใจให้เขา พัฒนางานในบริบทของเขา เมื่อปัจจัยที่ให้ทำได้แค่เทียน อุตส่าห์ทำให้สว่างได้อย่างเทียน แถมเชิงเทียนอีก ก็ต้องถือว่ามีคุณภาพแล้ว ไม่ใช่ไม่ได้ไม่ดีก็บอกว่าต้องสว่างอย่างไฟนีออนเท่านั้น ถึงจะพึงพอใจ ก็ถ้าปัจจัยนำเข้ามันมีแค่เชือกไส้กับไข คุณทำได้ทำไมไม่ลองทำให้ดูสักอย่างล่ะ การมีความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ และมาตรฐาน ทั้งความเข้าใจ และกระบวนการทุกวันนี้ดูเหมือนว่า คำว่าคุณภาพเราจะไม่ได้เทียบจากตัวของมันเอง ไม่ได้ดูปัจจัยนำเข้า แต่เราจะนำมาตรฐานซึ่งมีฐานความคิดจากเรื่องการเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่พึงพอใจเข้ามาเป็นฐานในการประเมิน ซึ่งเป็นปัญหาอย่างยิ่งในการพัฒนาเพราะมีคำถามว่า เมื่อปัจจัยต่างกัน แต่ผ่านกระบวนการที่มีประสิทธิภาพ และได้ผลผลิตที่เต็มตามปัจจัยแล้ว เราจะนับได้ว่ามีคุณภาพ และมาตรฐานแล้วหรือยัง สมมติว่า ถ้าสามารถสอนคนปัญญาอ่อนให้เขาใส่กระดุมเสื้อได้แล้ว รับอาหารครบ มีปัจจัยดำรงชีพพื้นฐานครบ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี จัดให้ครบทุกประการ ถามว่า ถ้าไปตั้งเป้าว่าเขาจะต้องพัฒนาไอคิว เรียนจบอย่างต่ำการศึกษาขั้นพื้นฐาน มันจะเป็นไปได้อย่างไร เขาถึงจัดการศึกษาพิเศษให้ไงล่ะ โรงเรียนขนาดเล็กก็ต้องมีการประเมินมาตรฐานแบบพิเศษด้วย ผู้บริหารและผู้สอน ต้องสามารถที่จะพัฒนาวิชาชีพของตนตามสภาพที่ตนเองรับผิดชอบ ไม่ถูกจำกัดด้วยจำนวนนักเรียน

เศรษฐกิจเพียงพอ หนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ยุค“โลกาวิวัฒน์” สร้างระบบทุนนิยมโดยใช้กลไกลตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยเน้นเศรษฐกิจเป็นตัววัดปัจจัยของการเจริญเติบโต และการแสดงว่าประเทศพัฒนาจะใช้รายได้ประชาชาติต่อหัวเป็นตัวตัดสิน ดังนั้นจึงเกิดสิ่งที่เรียกว่าการแข่งขัน การชิงไหวชิงพริบ การแกร่งแย่ง เพื่อให้นำมาซึ่งความร่ำรวยของประเทศตน สิ่งที่เป็นผลพวงตามมาก็คือ ทรัพยากรของโลกถูกทำลายโดยน้ำมือมนุษย์ เพื่อที่ จะสนองความต้องการ ความยิ่งใหญ่ จนเกิดภาวะเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อมและสภาพจิตใจ และเกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย โดยเฉพาะปัญหาสภาพแวดล้อม เช่น การเกิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การเกิดภัยธรรมชาติ เนื่องจากมนุษย์บุกรุกทำลายป่า ปัญหาสังคม ยาเสพติด อาชญากรรม และตามมาด้วยโรคภัยไข้เจ็บอีกมากมาย แม้แต่ประเทศไทยเอง ก็ได้รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นการบริโภค การแต่งกาย ความเป็นอยู่ บนพื้นฐานของความฟุ่มเฟือยหรูหรา นิยมวัตถุจนเกิดเป็นวัฒนธรรมบริโภคนิยม วัตถุนิยมส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมทางศีลธรรม จริยธรรม คุณธรรม จนสภาพสังคมไทยตกอยู่ในสภาพเลวร้าย วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามที่บรรพบุรุษสั่งสมไว้แทบจะไม่หลงเหลือให้ชื่นชม คนไทยเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว สังคมที่มีมิตรไมตรีความเอื้ออาทรต่อกันเหลือน้อยเต็มทน เพราะต้องแข่งขัน แกร่งแย่งเพื่อความอยู่รอด รัฐบาลเองก็บริหารประเทศโดยใช้ระบบทุนนิยม มุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนจากต่างประเทศใช้เงินมากมายในการที่จะต้องซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เป็นการก่อหนี้จำนวนมหาศาล ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย เพราะต้องนำไปในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม รัฐบาลให้ความสำคัญกับภาคเกษตรที่ถือเป็นหัวใจและสิ่งที่หล่อเลี้ยงชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่บรรพกาลน้อยมาก ประเทศจึงมีสภาพเศรษฐกิจที่คลอนแคลนไม่มั่นคง ไม่สามารถยืนบนขาตัวเองได้ เพราะต้องพึ่งพาต่างประเทศ ถ้าคนไทยยังคงอยู่ในสภาพนี้ต่อไปก็คงจะถึงเวลาที่ประเทศจะต้องประสบภัยความ “ล่มสลาย”

ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้เล็งเห็นถึงสิ่งเหล่านี้ จึงได้สร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมา

คือ “เศรษฐกิจพอเพียง” โดยทรงเน้นย้ำแนวทางแก้ไขเพื่อให้ประเทศรอดพ้นและยื่นหยัดภายใต้กระแสโลกาวิวัฒน์ และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างมั่นคง เพื่อเป็นหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้ถึงแนวทางการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกระดับ ไม่ว่าจะในระดับครอบครัว ชุมชน หรือ รัฐ ในการปฏิบัติงานหรือบริหารพัฒนาประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอประมาณ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ประมาท มีเหตุผล และสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบต่าง ๆ อันอาจจะเกิดขึ้นจากภายนอกและภายในอย่างรอบคอบ ในขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนให้มีความสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ และความรอบรู้ที่เหมาะสม การดำเนินชีวิตควรใช้ความอดทน ความเพียร มีสติปัญญา พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงจากสภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การดำรงชีวิตและปฏิบัติตนมุ่งเน้นการอยู่รอดปลอดภัย และวิกฤต สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้

- ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคอยู่ในระดับพอประมาณ

- ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

- การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล การดำเนินกิจการต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องมีความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

- ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ

- คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียง ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต จึงกล่าวได้ว่าการนำปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงพอมาปฏิบัติ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี เป็นแนวทางในการพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองในระดับต่าง ๆ อย่างเป็นขั้นตอน ลดความเสี่ยงเกี่ยวกับธรรมชาติ หรือการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยต่างๆ โดยอาศัยความพอประมาณและสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี มีความรู้ ความเพียร และความอดทน สติ และปัญญา การช่วยเหลือเกื้อกูล และความสามัคคี โดยภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับหลักวิชาการ ใช้การพิจารณาวางแผนและขั้นตอนการปฏิบัติอย่างรอบคอบโดยตระหนักในคุณธรรม ความซื่อสัตย์ สุจริต ใช้สติปัญญาและความเพียรในการดำเนินชีวิต

ทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่เป็นเรื่องเฉพาะของเกษตรกรในชนบทเท่านั้น แต่หมายรวมไปถึงทุกคน ทุกอาชีพ รวมทั้งรัฐบาล สามารถนำเอาแนวพระราชดำรัสไปยุกต์ใช้ได้ทั้งสิ้น หลักสำคัญของความพอดีมี 5 ประการ คือความพอดีด้านจิตใจ : ต้องเข้มแข็งสามารถพึ่งตนเองได้มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร

ประณีประนอม นึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

ความพอดีด้านสังคม : ต้องมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข็มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลังและที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคง และแข็งแรง

ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ

เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และที่สำคัญใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป

ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองและสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อม

ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร พออยู่ พอกิน สมควรตามอัตภาพ และฐานะของตน

กรอบแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่เริ่มงานพัฒนาเมื่อ 50 ปี ที่แล้ว และทรงยึดมั่นหลักการนี้มาโดยตลอด แต่นโยบายเกี่ยวกับเกษตรที่ผ่านมาของรัฐบาลเน้นการ ผลิตสินค้า เพื่อส่งออกเป็นเชิงพาณิชย์ คือ เมื่อปลูกข้าวก็นำไปขาย และก็นำเงินไปซื้อข้าว เมื่อเงินหมดก็จะไปกู้ เป็นอย่างนี้มาโดยตลอดจนกระทั่ง ชาวนาไทยตกอยู่ในภาวะหนี้สิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาด้านนี้ จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งธนาคารข้าวธนาคาร โค–กระบือขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎร นับเป็นจุดเริ่มต้นแห่งที่มาของ“เศรษฐกิจ-พอเพียง” นับตั้งแต่อดีตกาล แม้กระทั่งโครงการแรก ๆ แถวจังหวัดเพชรบุรี ก็ทรงกำชับหน่วยราชการมิให้นำเครื่องกลหนักเข้าไปทำงาน รับสั่งว่าหากนำเข้าไปเร็วนัก ชาวบ้านจะละทิ้งจอบ เสียม และในอนาคตจะช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งก็เป็นจริงในปัจจุบัน

จากนั้นได้ทรงคิดค้นวิธีการที่จะช่วยเหลือ ราษฎรด้านการเกษตร จึงได้ทรงคิด “ทฤษฎีใหม่” ขึ้น เมื่อปี2535 ณ โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับการทำการเกษตรให้แก่ราษฎร ในการจัดการด้านที่ดินและแหล่งน้ำในลักษณะ 30 : 30 : 30 : 10 คือ ขุดสระและเลี้ยงปลา 30 ปลูกข้าว 30 ปลูกพืชไร่พืชสวน 30 และสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย ปลูกพืชส่วนและเลี้ยงสัตว์ใน 10 สุดท้าย

ต่อมาได้พระราชทานพระราชดำริเพิ่มเติมมา โดยตลอดเพื่อให้เกษตรกร ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศมีความแข็งแรงพอ ก่อนที่จะไปผลิตเพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์ โดยยึดหลักการ “ทฤษฎีใหม่” 3ขั้น คือ

ขั้นที่1 มีความพอเพียงเลี้ยงตัวเองได้บนพื้นฐานของความประหยัดและขจัดการใช้จ่าย

ขั้นที่2 รวมพลังกันในรูปกลุ่ม เพื่อการผลิตการตลาด การจัดการ รวมทั้งด้านสวัสดิการ

การศึกษา การพัฒนาสังคม

ขั้นที่3 สร้างเครือข่าย กลุ่มอาชีพและขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย โดยประสานความร่วมมือกับภาคธุรกิจภาคองค์การ พัฒนาเอกชนและภาคราชการในด้านเงินทุนกาลตลาด การผลิต

การจัดการและข่าวสารข้อมูล

สำหรับในภาคอุตสาหกรรม ก็สามารถนำ “เศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ได้ คือ เน้นการผลิตด้านการเกษตรอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เกินไป เพราะหากทำอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ก็จะต้องพึ่งพิงสินค้าวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ เพื่อนำมาผลิตสินค้า เราต้องคำนึงถึงสิ่งที่มีอยู่ในประเทศก่อน จึงจะทำให้ประเทศไม่ต้องพึ่งพิงต่างชาติอย่าง เช่น ปัจจุบัน ดังนั้น เราจะต้องช่วยเหลือประเทศให้มี ความเข้มแข็ง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เป็นผู้จุดประกายระบบเศรษฐกิจแบบพอเพียง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดปัญหาการนำเข้าวัตถุดิบ และชิ้นส่วนที่เรานำมาใช้ในการผลิตให้เป็นลักษณะพึ่งพา ซึ่งมีมาแล้วเกือบ 20 ปี แต่ทุกคนมองข้ามประเด็นนี้ไป ตลอดจนได้รับผลจากภายนอกประเทศทำให้ประชาชนหลงลืม และมึนเมาอยู่กับการเป็นนักบริโภคนิยม รับเอาของต่างชาติเข้ามาอย่างไม่รู้ตัว และรวดเร็วจนทำให้เศรษฐกิจของไทยตกต่ำ

หนทางไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้หลักพุทธธรรม

การที่ “คน” จะดำเนินชีวิตไปสู่เศรษฐกิจพอเพียงได้นั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนจะต้องพัฒนาจิตใจให้ละเลิกลดจากกิเลสตัณหา โดยใช้หลักพุทธธรรม ซึ่งมุ่งเน้นให้เข้าใจธรรมชาติของโลก และชีวิตให้สามารถดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้สังคมนำสู่ความสุข โดยนำหลักพุทธธรรม 3 ประการ คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นองค์ความรู้ที่ครอบคลุมการดำรงชีวิตทุกด้าน เพื่อฝึกฝนและปัญญาให้คนเป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งด้านพฤติกรรมจิตใจ และสติปัญญา

ด้านพฤติกรรมและวิธีใช้ชีวิต ได้แก่ วินัย ตลอดจนการทำมาหากินเลี้ยงชีพเป็นระดับที่ปรากฏของการแก้ปัญหา และวิธีปฏิบัติในการผลิตและบริโภคแข่งขันและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อม

ด้านจิตใจ เช่นพัฒนาคุณธรรม ความเข้มแข็ง มั่นคงของจิตใจ และสภาพจิตใจที่ดีงาม รวมทั้งความสุข

ด้านปัญญาหรือปรีชาญาณ คือ ความรู้ ความเข้าใจต่างๆ ร่วมทั้งแนวคิด ทัศนคติ และค่านิยม

หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ถือ เป็นระบบการศึกษาที่ทำให้บุคคลพัฒนาอย่างมีบูรณาการ และให้มนุษย์เป็นองค์รวมที่พัฒนาอย่างมีคุณภาพ

จุดหมายปลายทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดังนั้นรัฐบาลจึงได้กำหนดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และ 9 ที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคนให้ “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา”และดุลยภาพเป็นเงื่อนไขของความยั่งยืน ดังนั้น จุดหมายปลายทางของการพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่ทำให้เกิดดุลยภาพของ เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ดีมีสุขของประชาชนชนตลอดไป

เศรษฐกิจ ที่ทำให้เกิดดุลยภายของการพัฒนาคือเศรษฐกิจที่มีรากฐานมั่นคงมีขีดความสามารถในการแข่งขันและสามารถพึ่งตนเองได้ โดยมีเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแนวคิดหลัก

สังคม ให้รวมหมายถึง วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นระเบียบวิถีชีวิตของสังคม ที่ให้มนุษย์ปรับตัวและดำรงชีวิตอยู่กับสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นได้โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และให้รวมถึงศาสนธรรม ซึ่งเป็นระเบียบจิตใจของคนในสังคมที่ทำให้สังคมอยู่ได้โดยสงบสุข

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต เกี่ยวโยงสัมพันธ์กันเป็นระบบนิเวศน์ ที่สามารถให้คุณและให้โทษต่อมนุษย์ได้ ขึ้นกับความสมดุล หรือไม่สมดุลของระบบนิเวศ

สิ่งแวดล้อม หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันเป็นระบบนิเวศน์ ที่สามารถให้คุณและให้โทษต่อมนุษย์ได้ ขึ้นกับความสมดุลหรือไม่สมดุลของระบบนิเวศความสมดุลและเชื่อมโยงระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับจุดหมายการพัฒนาที่ทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุขตลอดไป

หนทางนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คงจะมีความชัดเจนในภาพของปัจจัยทั้ง 3 ด้าน คือ เศรษฐกิจพอเพียง คนและการพัฒนาที่ยั่งยืน ในที่นี้จะขอเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทั้ง 3 ปัจจัย ให้เห็นว่ามีส่วนที่ส่งเสริมและเกื้อหนุนกันอย่างไร ดังจะเห็นได้จากกรอบแนวคิดข้างล่างนี้

จากกรอบแนวคิดข้างต้นในที่นี้จะขอกล่าวถึง “คน” เป็นปัจจัยแรก เพราะ “คน” เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน “คน” เป็นผู้สร้างปัญหาทั้งหลายทั้งปวงให้เกิดขึ้น เพราะ ตัวกิเลส ตัณหาที่มีอยู่ในตัวคน จึงเป็นปัญหาอุปสรรค์ขีดขวาง ที่จะให้โลกไม่สามารถเดินไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ กิเลส 3 ตัว คือ ตัณหา มานะ ทิฎฐิ ดังที่พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตโต) ได้อธิบายความไว้ดังนี้

ตัณหา คือ ความอยากได้ อย่างบำรุงบำเรอตัวเอง ให้มีความสุขสะดวกสบาย พรั่งพร้อมด้วยวัตถุที่มากมายสมบูรณ์ พูดง่ายๆว่าความอยากได้ ผลประโยชน์

มานะ คือ ความต้องการยิ่งใหญ่ อยากมีอำนาจครอบงำผู้อื่นตั้งแต่ระดับบุคคลถึงระดับสังคมประเทศชาติพูดง่ายๆว่าความใฝ่อำนาจ

ทิฎฐิ คือ ความยึดมั่นตลอดจนคลั่งไคล้ในค่านิยม แนวความคิดสิทธิศาสนาอุดมการณ์ต่าง ๆ ข้อนี้เป็นผู้ร้ายที่สุดที่รองรับ สำทับปัญหาไว้ให้เหนียวแน่นยึดเยื้อ และแก้ไขยากเหมือนกับตัณหา และมานะที่นอนก้นแล้วจะเห็นได้ว่าตัวกิเลสเป็นสิ่งที่ขัดขวางต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ถ้าไม่สามารถขจัด หรือลดละออกจากตัวมนุษย์ได้ เพราะตัวกิเลสตัณหานี้แหละเป็นตัวที่ทำลายทุกอย่าง ในโลก เพื่อสนองความอยากได้ผลประโยชน์ ความอยากมีอำนาจความยิ่งใหญ่ หรือ ความยึดมั่นถือมั่นในค่านิยมอุดมการณ์ มนุษย์ทำร้ายสิ่งรอบตัวไม่ว่าจะเป็นทรัพยากร-ธรรมชาติ สัตว์ สรรพสิ่ง หรือแม้แต่มนุษย์ด้วยกันเอง เพื่อสนองต่อกิเลส จึงเป็นเรื่องที่น่าสะพรึงกลัวยิ่งนัก ท่านลองวาดภาพดูว่า ถ้ามนุษย์ชาติทุกคนในโลกนี้มีกิเลสตัณหาครอบงำ อะไรจะเกิดขึ้น โลกจะเป็นอย่างอย่างไร เพราะทรัพยากรธรรมชาติ สัตว์ สรรพสิ่ง หรือ แม้แต่มนุษย์ด้วยกัน จะไม่มีวันยอมให้ถูก ทำร้ายแต่เพียงฝ่ายเดียว จะต้องมีการตอบโต้ ดังจะเห็นได้จากการเกิดภัยธรรมชาติ น้ำท่วม สึนามิ ต้นเหตุเกิดจากมนุษย์ไปทำการตัดไม้ทำลายป่า และทำลายระบบนิเวศวิทยา ในโลกจึงเต็มไปด้วยความวุ่นวาย ไม่สงบสุข เพราะทุกสิ่งในโลกอยู่อย่างทำลายล้างกัน และผลสุดท้ายก็คือ มนุษย์นั่นเองที่จะประสบกับความพินาศล่มสลาย ดังนั้นการที่จะทำให้มนุษย์ลดละจากกิเลสที่เป็นตัวปัญหาก็คือ การพัฒนา “ด้านจิตใจ” ให้มนุษย์มีมโนสำนึกที่ดี มีความรักความโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีเหตุผล สามารถแยกแยะสิ่งดีสิ่งชั่ว รู้ว่าสิ่งไหนควรทำหรือไม่ควรทำ ด้วยใช้หลักพุทธธรรมมาขัดเกลา และจรรโลงจิตใจ ด้วยใช้หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อมนุษย์ได้รับการพัฒนาจิตใจให้ดีงามแล้ว มนุษย์ก็จะเกิดปัญญา “รู้แจ้งเห็นจริง” ลดละจากกิเลสตัณหาทั้งปวง ลดความอยากได้ใคร่มี อยากมีอำนาจ อยากยิ่งใหญ่ ยึดมั่นถือมั่นในอุดมการณ์ มนุษย์ก็จะกลายเป็นผู้ให้ผู้เกื้อหนุน ผู้จรรโลงโลก ให้เกิดความสงบสุข โดยสร้างดุลภาพให้เกิดขึ้นระหว่าง มนุษย์ สิ่งแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี ทุกที่จะอยู่อย่างเกื้อกูลกันและกัน มนุษย์จะรักษาและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติก็จะให้ประโยชน์ในการดำรงชีพของมนุษย์ มนุษย์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยสร้างสรรค์ให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ในที่สุดสังคมก็จะเป็นสังคมแห่งความสงบสุข มีความเกื้อกูลต่อกัน และการดำรงชีวิตของมนุษย์ที่มีแต่ความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม ฟุ่มเฟือย นิยมวัตถุ ก็จะกลับมาดำรงชีวิตแบบพอเพียง โดยใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบพอมีพอกิน หมายความว่าอุ้มชูตัวเองได้ ให้มีความพอเพียงกับตัวเอง อยู่ได้อย่างไม่ต้องเดือนร้อน สามารถยืนอยู่บนขาตัวเอง โดยที่ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น นั่นคือฐานชีวิตที่มั่นคง เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้หมายความว่า ไม่คบค้าสมาคมไม่ค้าขายกับผู้อื่น เมื่อเรายืนด้วยตัวเองอย่างมั่นคง เราก็สามารถเอาสิ่งที่เราเหลือกินเหลือใช้ไปทำการค้ากับผู้อื่น นำเงินเข้ามาเพื่อเป็นเงินออม หรือเงินที่จะลงทุนต่อไปในอนาคต เปรียบเสมือนบ้านที่มีรากฐานที่แข็งแรง เมื่อเกิดความแข็งแรงแม้ลมพายุที่พัดโหมกระหน่ำ ก็ไม่สามารถทำให้บ้านพังทลายได้ เปรียบเสมือนภูมิคุ้มกันภัยอย่างดี ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการทำเอาวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนใน ทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจให้คนดำรงอยู่ด้วยคุณธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต นั้นเป็นเครื่องแสดงอย่างชัดเจน

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ มองโลกแบบวิกรมด้วยทุนแห่งความสุข

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

ตัวอย่างทุนแห่งความยั่งยืน

ทางการเกษตร การเกษตรแบบยั่งยืนเป็นอีกหนึ่งของการผลิตอาหารที่สามารถสร้างอุดมสมบูรณ์ได้โดยไม่ต้องสิ้นเปลืองทรัพยากรของโลกหรือก่อให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยการทำเกษตรที่เป็นไปตามหลักการของธรรมชาติ คือจะพัฒนาระบบนั้นให้มีการเพิ่มการปลูกพืชและสัตว์ที่เป็นเช่นธรรมชาติด้วยตนเองอย่างยั่งยืน การทำการเกษตรแบบการเกษตรแบบยั่งยืนนั้นนอกจากจะเป็นการสร้างคุณค่า หรือสร้างค่านิยมให้เกิดมีในสังคมเกษตรด้วยกันให้ประสบความสำเร็จแล้วยังทำให้ชุมชนในชนบทได้มีวิถีชีวิตที่สดใสในครอบครัว ชุมชน ที่มีการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ ซึ่งอาศัยระบบเกื้อกูลกันอย่างเป็นวงจร ทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสังคม คือมีความสามารถในการบริหารจัดการกันเองได้ภายในชุมชน ทำให้เกิดความรักความสามัคคี ซึ่งจะต้องอาศัยความเสียสละในการที่จะร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน และต้องมีการปลูกฝังระบบความคิด จิตสำนึกให้กับคนรุ่นต่อไปซึ่งก็คือเด็กเล็ก เยาวชน เพื่อให้เขาเกิดความรัก ความผูกพัน อยากที่จะพัฒนาชุมชนของเขาให้เป็นชุมชนที่ดี เป็นชุมชนที่พัฒนาไปแบบยั่งยืนด้วยวิถีที่กลมกลืน สมดุลกับธรรมชาติแบบบูรณาการทั้งภูมิปัญญาดั่งเดิมกับวิทยาการ เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างลงตัวและเหมาะสม แต่ในช่วงทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 การเกษตรแบบยั่งยืน ยังดูเหมือนว่าเป็นชุดปฏิบัติที่ยอมรับกันโดยทั่วไปหรือว่าเป็นโมเดลของระบบฟาร์มแบบผสมผสานซึ่งยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ที่เราอาจจะได้ยินกันว่าชุมชนต้นแบบ ชุมชนพอเพียง ซึ่งยังอาจจะยังไม่แข็งแรงนัก ยังต้องอาศัยภาครัฐ หรือกลุ่มองค์กรที่มีจิตอาสามองเห็นความสำคัญตรงนี้เข้ามาสนับสนุน เข้ามาให้ความรู้ ความเข้าใจ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ ปลูกจิตสำนึก ให้กับชุมชนที่น่าจะเป็นต้นแบบให้สังคมอื่นได้ ได้มีความเข้มแข็ง เติบโตและมีความมั่นคงยั่งยืน เปรียบเหมือนกับการเลี้ยงเด็ก เมื่อเขาเติบโตขึ้นเขาก็จะสามารถดูแลช่วยเหลือน้องของเขาลดภาระของพ่อแม่ได้ พ่อแม่ผู้ปกครองก็มีเวลาไปทำมาหากินอย่างอื่น และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่เขาก็จะสามารถดูแลพ่อแม่ของเขา ตลอดจนครอบครัวของเขาได้ และนี่ก็ก็เป็นส่วนช่วยสร้างครอบครัวให้มีความเข็มแข็ง มั่นคง อบอุ่น มีความสุขไปตามอัตภาพ ที่นี้เรื่องเศรษฐกิจเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งในลักษณะดังกล่าวจะเป็นไปไม่ได้เลยถ้ามันยังอยู่ในรูปแบบของความคิด หรือปรัชญา โดยไม่นำมาใช้หรือนำมาปฏิบัติกันอย่างจริงจังหรือจำกัดอยู่ในวงแคบๆเล็กๆ โดยไม่มีการขยายกระจายออกไปในรูปแบบของเครือข่าย แบบพี่ แบบน้องที่จะต้องอาศัยเกื้อกูลพึ่งพิงอาศัยกันและโตไปพร้อมกันอย่างเข้มแข็งและมีความสุข ขบวนการสามขั้นตอนจากเกษตรทฤษฏีใหม่ของในหลวงที่ได้พระราชทานให้แก่พสกนิกรของท่านได้น้อมนำไปปฏิบัตินั้น มีหลายครอบครัวมีหลายชุมชนประสบความสำเร็จแล้ว และพร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำให้ปรึกษากับผู้ที่สนใจ และพร้อมจะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สังคมก้าวไปอย่างมั่นคงยั่งยืน แม้ว่าความยั่งยืนในภาคเกษตรจะยังคงเชื่อมโยงกับปัญหาที่กว้างขึ้นของเศรษฐกิจโลก ทั้งปริมาณสำรองปิโตรเลียมและความมั่นคงด้านอาหารในประเทศ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ยังขาดการเหลียวแลอย่างแท้จริงจากผู้ที่มีหน้าที่กำหนดนโยบายของรัฐบาล แต่เกษตรกรรายย่อย นักสิ่งแวดล้อม และนักวิชาการหรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องทางด้านการเกษตร ซึ่งคนเหล่านี้ได้เล็งเห็นถึงการทำลายล้าง ของการทำการเกษตรเมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 20 ที่ได้ก่อให้เกิดความเสื่อมของดิน น้ำ ระบบนิเวศ วิถีชีวิตของชุมชน อย่างเห็นได้ชัด การเกษตรแบบเดิมในช่วงของศตวรรษที่ 20 นั้นจะเป็นการเน้นผลิตเพื่อป้อนเข้าสู้โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูป ก็มีการผลิตเป็นสินค้าแปรรูปออกมาจำนวนมากและตั้งราคาขายไว้ถูก ดังนั้นสินค้าเกษตรที่ต้องป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจึงต้องเพิ่มตาม เกษตรแบบเดิมที่เคยปลูกพืชหลายอย่าง การปลูกพืชหมุนเวียน ก็กลายมาเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว มีการบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ ผลที่ตามมาคือ ระบบนิเวศเสียไป ดินค่อยๆเสื่อมโทรม จากการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีจำนวนมากเพื่อเร่ง หรือให้ได้ผลผลิตที่มีจำนวนมาก ได้ลักษณะผลผลิตตรงกับลักษณะความต้องการและช่วงเวลาของตลาดที่ตลาดต้องการ เมื่อดินและน้ำเสื่อมโทรมลงก็ทำให้อาหารที่เราได้จากการทำการเกษตรแบบดังกล่าวมีความปลอดภัยน้อยลง คือมีความปนเปื้อนสารเคมี สารพิษอะไรต่างที่ยังเหลือตกค้างอยู่ อีกทั้งการทำเกษตรแบบดังกล่าวจะต้องพึ่งพาปัจจัยภายนอกมากเช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง น้ำมัน เครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆอีกมากมาย อีกทั้งยังส่งผลกระทบทางด้านสุขภาพร่างกายของเกษตรกรเองอีกด้วย การพึ่งพากันเองในชุมชนลดลง ต้นทุนค่าแรงงานสูงขึ้น มีความเสี่ยงจากโรคของพืชและสัตว์มาก ต้นทุนการป้องกันในเรื่องนี้ก็มีมากขึ้นตามมา เมื่อต้นทุนสูง ก็ต้องมีการกู้เงิน ยืมเงิน เพื่อมาลงทุน ถ้าหากเกิดภัยจากธรรมชาติ หรือมีโรคระบาดเกิดขึ้น อาจทำให้ไม่มีเงินมาชำระหนี้ได้ตามจำนวนตามระยะเวลา บางครั้งต้องจำนองหรือขายที่ดินเพื่อชำระหนี้ ลงทุนอีกก็ต้องกู้ยืมอีก บางทีสินค้าก็ขายไม่ได้ราคาตามกลไกทางการตลาด บางครั้งก็ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางที่กดราคาสินค้า นี่เป็นสิ่งที่กำลังสร้างความอ่อนแอให้กับเกษตรกรรายย่อย ที่ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนนโยบายของทางภาครัฐที่เน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทางอุตสาหกรรม จนลืมมองหรือมองข้ามหรือเห็นเป็นเพียงปัญหาเล็กๆ และปัญหาเล็กๆเหล่านี้กระจายตัวอยู่ทั่วของประเทศ และกำลังกลายเป็นปัญหาใหญ่ขึ้น เหมือนมะเร็งที่ค่อยๆก่อตัวขึ้นทีละเล็กทีละน้อย และก็ลามไปทั่ว หากปล่อยไว้นานเข้าการรักษาก็ยากขึ้นไปทุกที ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยของเราเติบโตมาด้วยเกษตรกรรม มีเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน เป็นฐานรากของประเทศ หากฐานรากอ่อนแอ โครงสร้างทั้งระบบก็ไร้ความมั่นคง พร้อมจะล้มหรือทรุดได้เสมอ เมื่อมีแรงมาอื่นมากระทบกระทั่ง วันนี้การเกษตรแบบยั่งยืนยังเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับสังคมไทย ว่าจะก้าวไปได้อย่างสง่างามเพียงใด ประสบความสำเร็จได้มากน้อยแค่ไหน เกษตรกรมีความเป็นอยู่ดีหรือไม่ สุขภาพ ร่างกาย จิตใจ ครอบครัว เป็นสุขดีหรือไม่ นี้คือตัวชี้วัดที่ดี ส่วนรายได้ กำไร ขอให้มันเป็นเสมือนโบนัสของชีวิต เป็นแรงหนุนเสริมกำลังใจ ของการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ชีวิตที่เดินบนทางสายกลาง มีชีวิตให้สมกับการเป็นชาวพุทธ สู่พุทธเกษตร คือทำการเกษตรอย่างผู้ตื่นรู้ รู้เท่ารู้ทัน รู้กัน รู้แก้ เป็นเกษตรธรรมชาติ เป็นเกษตรที่สมดุล เป็นเกษตรที่ลงทุนด้วยตัวเงินน้อย แต่ต้องอาศัยกำลังใจที่เข้มแข็ง ด้วยอิทธิบาท4 นี่แหละที่จะเป็นการทำการเกษตรแบบเกษตรยั่งยืน สังคมยั่งยืนประเทศชาติมั่นคง

ตัวอย่างงานวิจัยตัวอย่างทุนแห่งความยั่งยืน (งานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ไทย)

งานวิจัยเกษตรอินทรีย์ไทยเกิดขึ้นก่อนที่เกษตรอินทรีย์จะเกิดขึ้นในประเทศไทยเสียอีก งานวิจัยในระยะแรกจะเป็นแนวเกี่ยวกับเกษตรยั่งยืน/เกษตรทางเลือก โดยองค์กรพัฒนาเอกชน เช่น เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งเป็นมูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ประเทศไทย) ซึ่งได้พยายามจัดทำงานวิจัยเกี่ยวกับปัญหาการพัฒนาเกษตรกระแสหลัก ที่ส่งเสริมการใช้สารเคมีการเกษตร และในขณะเดียวกัน ก็พยายามนำเสนอประสบการณ์ของผู้นำเกษตรกรบางท่าน ที่ได้ยีนหยัดและพัฒนาแนวคิดและเทคนิคการทำการเกษตรแบบต่างๆ ที่มีสอดคล้องกับนิเวศการเกษตรในท้องถิ่นของตัวเอง แนววิจัยของมูลนิธิเกษตรยั่งยืนจะเน้นการจัดทำกรณีศึกษา โดยในระยะแรกอาจเป็นการศึกษาเกี่ยวกับผู้นำเกษตรกรเป็นรายๆ แต่ในระยะหลังได้ปรับเป็นกรณีศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มผู้ผลิตมากขึ้น และบางครั้งก็เริ่มทำการศึกษาในลักษณะของประเด็นศึกษาด้วย งานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งขององค์กรพัฒนาเอกชนมาจากงานของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท ที่มุ่งเจาะไปในเรื่องเกษตรกรอินทรีย์โดยตรง โดยครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ การตลาด การตรวจรับรองมาตรฐาน และสถานการณ์ภาพรวมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

งานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งจัดทำโดยนักวิชาการจากหน่วยงานราชการ โดยในระยะแรก (ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1990) เมื่อแนวคิดเกษตรอินทรีย์เริ่มได้รับการยอมรับจากหน่วยราชการ มีการทำวิจัยโดยนักวิจัยจากสถานีวิจัยเกษตรต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยเคมีกับปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งผลออกมาค่อนข้างจะสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ ยกตัวอย่างเช่น จากงานวิจัยเกี่ยวกับข้าวเกษตรอินทรีย์ 19 โครงการ ปรากฎว่า มี 18 ผลวิจัยยืนยันว่าการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ได้ผลดีกว่า หรืออย่างน้อยไม่แตกต่างไป จากการใช้ปุ๋ยเคมี

หลังจากงานวิจัยชุดนี้ ไม่พบชุดงานวิจัยแบบเดียวกันในพืชอื่นๆ อีกเลย ในปัจจุบัน อาจมีนักวิชาการบางคนในหน่วยงานภาครัฐที่สนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์ และอาจทำงานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อยู่บ้าง แต่ก็เป็นไปในลักษณะของความสนใจโดยส่วนตัวมากกว่า เพราะไม่มีหน่วยงานราชการใดที่มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยเกษตรอินทรีย์โดยตรง

กลุ่มที่สามเป็นงานวิจัยของนักวิชาการจากสถาบันการศึกษา/วิชาการซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการรับจ้างวิจัยให้กับหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือภาคธุรกิจเอกชน แต่ก็มีนักวิชาการที่สนใจเรื่องเกษตรอินทรีย์จริงๆ อยู่จำนวนหนึ่ง ที่พยายามทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ในแง่มุมต่างๆออกมาเผยแพร่นอกจากนี้ ยังมีนักศึกษา ตั้งแต่ในระดับปริญญาตรี โท เอก ที่สนใจทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ไทยมากพอควรซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสนใจของคนรุ่นใหม่ต่อเรื่องเกษตรอินทรีย์เมื่อเปรียบเทียบกับนักวิชาการอาวุโสหน่วยงานที่ให้ให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยด้านเกษตรอินทรีย์ในปัจจุบันก็คือ หน่วยสนับสนุนการวิจัยทั่วไปของประเทศ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติซึ่งหน่วยงานเหล่านี้ไม่ได้มีแผนหรือนโยบายในการส่งเสริมการวิจัยเกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะ

สถานภาพงานวิจัยเกษตรอินทรีย์ไทย

จากการสำรวจข้อมูลในระหว่างช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ.2551 โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน/กรีนเนท พบงานวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์จำนวน 270 ชิ้น ซึ่งเป็นงานวิจัย-นวัตกรรมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา รวมเป็นเวลา 19 ปี งานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา โดยเฉลี่ยมีงานวิจัยประมาณ 20 – 30 งานวิจัยต่อปี ยกเว้นในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีจำนวนชิ้นงานวิจัยค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เกิดขึ้นจากโครงการนำร่องเกษตรยั่งยืนเพื่อเกษตรกรรายย่อย ที่ดำเนินการโดยมูลนิธิเกษตรยั่งยืน (ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ราว 600 ล้านบาท ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544 – 2546) แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2548 ที่รัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาทให้กับหน่วยงานราชการต่างๆ ภายใต้กรอบโครงการ “วาระแห่งชาติ เกษตรอินทรีย์” แต่ไม่ปรากฎว่ามีผลทำให้งานศึกษาวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้นแต่อย่างใดหน่วยงานที่มีการผลิตงานวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์มากที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คือ มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นผลงานที่ดำเนินการโดยสถาบันการศึกษา (รวมทั้งนักศึกษาปริญญาโท-เอก และนักวิชาการ) โดยมีการทำการศึกษาวิจัยมากกว่าครึ่งหนึ่งของงานวิจัย-นวัตกรรมในประเทศไทย รองลงมาลำดับสองคือองค์กรพัฒนาเอกชนและตามด้วยหน่วยงานราชการขอบเขตเนื้อหางานวิจัย-นวัตกรรม พบว่า งานวิจัยบางส่วนที่มีเนื้อหาครอบคลุมมากกว่าหนึ่งเรื่อง โดยงานวิจัย-นวัตกรรมส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับด้านการส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์ รองลงมาเป็นงานศึกษาวิจัยเกี่ยวกับข้าวเกษตรอินทรีย์ เทคโนโลยีการผลิตผักเกษตรอินทรีย์ ระบบฟาร์มเกษตรอินทรีย์ และตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศ

ตัวอย่างกรณีศึกษา 3 ชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เรื่องรูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวเข้มแข็งและยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชน 3 แห่งใน จังหวัดอุบลราชธานี มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ เพื่อศึกษาลักษณะรูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน ศึกษาปัจจัยที่ทาให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง ปัญหาและอุปสรรคที่ทาให้สถาบันครอบครัวขาดความเข้มแข็งและยั่งยืนของ 3 ชุมชน ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มประชากรมีส่วนร่วมในการวิจัย จานวน 3 ชุมชน คือ ชุมชน บ้านบัวงาม หมู่ 3 ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม ชุมชน บ้านตาแย ตำบลม่วงสามสิบ อำเภอม่วงสามสิบ และชุมชน บ้านปะอาว หมู่ 3 ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบความเป็นสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน ในชุมชน 3 แห่งมีลักษณะที่เหมือนกัน ประกอบด้วย 1.มีโครงสร้างทางครอบครัวขนาดใหญ่ มีคนหลายวัย มีอิสระในการเลือกคู่ครอง การเลือกที่อยู่อาศัย มีการสืบทอดมรดกและสืบทอดวงศ์สกุล 2.มีความมั่นคงทางอาชีพรายได้ในการดารงชีวิต 3 ครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน 4 มีการใช้อานาจในการแก้ไขปัญหาต่างๆในครอบครัวร่วมกัน 5.มีการอบรมเลี้ยงดูและขัดเกลาสมาชิกในครอบครัวให้เป็นคนดี 6. มีการเอาใจใส่ดูแลสุขภาวะของสมาชิกในครอบครัว 7.การสืบทอดสถาบันครอบครัวในอนาคต ปัจจัยที่ทาให้สถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืนของชุมชุมชน เกิดจาก การมีที่อยู่อาศัยที่เป็นของตนเองและมั่นคง มีเศรษฐกิจที่ดี ครอบครัวทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่ดีและเท่าเทียมกันครอบครัวยึดหลักศาสนาและความเชื่อในการส่งเสริมจริยธรรมและคุณธรรมในการดาเนินชีวิต มีการสาธารณสุขที่สมาชิกในครอบครัวรู้จักดูแลตนเอง ครอบครัวมีภาษาถิ่นและประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสื่อสารท้องถิ่นที่สามารถนาไปใช้ในครอบครัวสมัยใหม่อย่างรู้เท่าทันครอบครัวมีกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน มีระบบการเมืองท้องถิ่นและกฎหมายที่มีความยุติธรรมในชุมชน และปัจจัยอื่นๆ เช่น มีผู้นาชุมชนที่เสียสละ และสมาชิกในครอบครัวมีความซื่อสัตย์ ปัญหาและอุปสรรค ที่ทาให้ครอบครัวขาดความเข้มแข็ง คือปัญหาที่มีผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม และทางเศรษฐกิจ เช่น รายได้น้อย ความยากจน ยาเสพติด การไม่ไว้วางใจกันและกันในครอบครัว การพนัน หนี้สิน ปัญหาทางการเกษตร เช่น การใช้ปุ๋ยเคมี มีผลกระทบต่อดิน น้า สัตว์ต่างๆ ปัญหาเด็กและเยาวชนที่ก้าวร้าวและสอนยาก โรคภัยที่น่า กลัวและรักษายากขึ้นล้วนเป็นตัวบั่นทอนให้สถาบันครอบครัวอ่อนแอลง และ แนวทางที่จะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีแก่ สถาบันครอบครัวก็คือ ครอบครัวมีส่วนร่วมในการเรียนรู้และมีกิจกรรมร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหากัน และกันในชุมชน จนกระทั่งเกิดเป็นโครงการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่สถาบันครอบครัวในชุมชนขึ้น จานวน 3 ชุมชน 7 โครงการ ผลการดาเนินตามโครงการทาให้ครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในชุมชน เป็นบทเรียนและแบบฝึกหัด ที่จะสร้างทักษะให้เกิดการเรียนรู้แก่สถาบันครอบครัว ให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาทางครอบครัวด้วย ตนเอง และนาไปสู่การสืบทอดและการดารงอยู่ในรูปแบบสถาบันครอบครัวที่เข้มแข็งและยั่งยืน สืบไป

ตัวอย่างกรณีศึกษาโรงเรียนสัตยาไส ( แม่แห่งความจริง )

โรงเรียนสัตยาไส ตั้งอยู่เลขที่ 95 หมู่ 2 ตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี มีพื้นที่ประมาณ 300 ไร่เศษ เป็นธรรมชาติ ป่าเขา หนองบึง สงบ ร่มรื่น มีนักเรียน 352 คน ครู 49 คน อัตราส่วนครูต่อนักเรียน 1 : 6 โดยประมาณ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6 จำนวน 12 ห้องเรียน ห้องเรียนละไม่เกิน 30 คน เป็นโรงเรียนประจำ นักเรียนพักค้างภายในโรงเรียน ยกเว้นนักเรียนชั้นอนุบาลไป-กลับ และรับเฉพาะเด็กบ้านใกล้โรงเรียนโรงเรียนสัตยาไส เกิดจากแรงบันดาลใจของ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้พบกับท่านสัตยาไส หรือไสบาบา ผู้นำทางจิตวิญญาณในประเทศอินเดีย เมื่อ หลายปีที่ผ่านมา ท่านสัตยาไส บอกว่า ชีวิตที่เหลืออยู่ขอให้อุทิศให้กับการศึกษา ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา จึงมาบุกเบิกโรงเรียนสัตยาไสกับทีมงาน ซึ่งดำเนินมาแล้วกว่า 15 ปี และมีผู้สนใจแนวทางของโรงเรียนสัตยาไส และนำแนวทางการจัดการศึกษาแบบสัตยาไสไปใช้ทั่วโลก จนขณะนี้ มีโรงเรียนสัตยาไส 57 โรงเรียน ใน 37 ประเทศ โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ได้สร้างสำนักมาตรฐานคุณภาพโรงเรียนสัตยาไสขึ้นที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และทำการประเมินโรงเรียน ทุก 3 ปี โรงเรียนสัตยาไส ในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

ด้านหลักสูตร

1 ใช้หลักสูตรสถานศึกษาโดยยึดมาตรฐานแกนกลาง มีการเรียนรู้สาระครบทั้ง 8 สาระ

2 เพิ่มกิจกรรมการเรียนรู้อีก 1 กิจกรรมคือกิจกรรมทักษะชีวิต

ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

โรงเรียนสัตยาไส ใช้หลัก “Educare” โดยมุ่งดึงสิ่งที่ดีจากนักเรียน ตั้งคำถามที่ดีและสร้างสรรค์ โน้มนำให้สวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิ ระลึกถึงบุญคุณของผู้อื่น บุญคุณของสรรพสิ่ง มีความนอบน้อม มีความเคารพ มีความเมตตากรุณา ฯลฯ อยู่เป็นปกตินิสัย “คุณธรรม 5 ประการ” ซึ่งถือเป็นหลักในการดำเนินชีวิตและดำเนินกิจกรรมทั้งหลายในโรงเรียนสัตยาไส คือ

1.เปรมา (ความรักความเมตตา)

2.สัตยา (ความจริง) (สัตยาไสย = มารดาแห่งความจริง)

3 ธรรมา (การประพฤติชอบ)

4 สันติ (ความสงบสุข)

5 อหิงสา (การไม่เบียดเบียน)

เป้าหมายในการจัดการศึกษาตามอักษรย่อที่รวมกันเป็นคำว่า “EDUCATION” ดังนี้

1. Enlightenment (การรู้แจ้ง)

2. Duty and Devotion (การปฏิบัติหน้าที่และการเสียสละอุทิศตน)

3. Understanding (ความเข้าใจถ่องแท้)

4. Character (อุปนิสัยที่ดีงาม)

5. Action (การนำความรู้ไปปฏิบัติ)

6. Thanking (การมีใจกตัญญูรู้คุณ)

7. Integrity (ความมีเกียรติ)

8. Oneness (ความมีใจสมาน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)

9. Nobility (ความสง่างาม)

โรงเรียนสัตยาไสได้นำหลัก “ศีล สมาธิ ปัญญา” มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เน้น “ความรักความเมตตา” และ “คุณธรรม” โดยบูรณาการเข้าไปในการเรียนการสอนและกิจกรรมทั้งหลาย เช่น ก่อนรับประทานอาหาร จะมีการสวดมนต์ ขอบคุณพ่อแม่ ครู ธรรมชาติ โดยมีนักเรียนเป็นผู้นำ นักเรียนทุกคนกล่าวถ้อยคำ “ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง .....” ตามด้วย การพูดเป็นภาษาอังกฤษ (เด็กอนุบาลก็พูดอย่างนี้ ทั้งสองภาษา) หลักการสอนของโรงเรียน เน้นหลัก 3 H คือ Head = สมอง Heart = หัวใจ Hand =การกระทำ การเรียนการสอนเริ่มจากความคิดดี คิดด้านบวกแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นการกระทำ ที่ดีเวลาพูดก็พูดจากใจ การสอนคุณธรรมสอนผ่านนิทานคุณธรรม

ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

จัดกิจกรรมโฮมรูมในห้องจริยธรรม หรือห้องสวดมนต์ เรียกว่า กิจกรรมคุณค่าของความเป็นมนุษย์จัดทุกวัน วันละ 50 นาที ในเวลา 08.00 – 08.50 น. ซึ่งดำเนินการโดย ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ช่วงนี้จัดได้ว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจของนักเรียน รายละเอียดของกิจกรรม คือ การไหว้พระ สวดมนต์นั่งสมาธิ ฟังการอบรมคุณธรรมจริยธรรม มีเกมและกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในทุกสาระการเรียนรู้ สอนทักษะชีวิตในการอยู่ร่วมกัน นักเรียนได้เรียนรู้ตามศักยภาพของตน ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพของนักเรียน โดยใช้กิจกรรมชมรมตามความสนใจ ฝึกให้นักเรียนรู้จักคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล เพื่อเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ นักเรียนจึงกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น เน้นการเรียนการสอนแบบโครงงานตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมศึกษา มีแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีอย่างเพียงพอต่อนักเรียน มีครู เพื่อน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เป็นกัลยาณมิตร ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยครูจะเป็นที่ปรึกษาดูแลอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดความอบอุ่นมีความรัก ความผูกพันต่อกัน

บทบาทของครู

เป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ครูไม่เป็นผู้สอน แต่ครูเป็นแบบอย่างและพยายามดึงความดีออกมาจากนักเรียนใช้วิธีจัดการเรียนรู้แบบ “ร่วมมือกัน” ไม่ใช่แบบ “แข่งขันกัน” ให้นักเรียนมีบทบาทในการเลือกว่าจะเรียนอะไร เรียนที่ไหน และเรียนอย่างไร เป็นต้น ครูของโรงเรียน รวมทั้งผู้บริหาร มีกฎอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือ เป็นตัวอย่างที่ดี ข้อสองคือ ถ้าจำข้อหนึ่งไม่ได้ให้กลับไปดูข้อหนึ่งใหม่ ครูจะอยู่ร่วมกับเด็กและปฏิบัติตนประหนึ่งแม่ของเด็กๆที่เปี่ยมด้วยความรัก ความเมตตา

ชาวต่างชาติศึกษาดูงาน

การศึกษาดูงานจากโรงเรียนสัตยาไส นอกจากคณะครูโรงเรียนต่าง ๆ ในประเทศไทยได้มาศึกษาดูงานแล้ว ส่วนหนึ่งเป็นชาวต่างชาติ เพราะโรงเรียนนี้ได้จัดการเรียนการสอนเป็นสองภาษา จึงทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จ ชาวต่างชาติจึงให้ความสนใจ มาศึกษาดูงาน พักในโรงเรียนเป็นเวลาหลายสัปดาห์ และยังช่วยสอนภาษาอังกฤษและให้การสนับสนุน ในเรื่องของทุนการศึกษาแก่โรงเรียนด้วย

ด้านการบริหารจัดการ

โรงเรียนมีคณะกรรมการบริหารโรงเรียน เป็นผู้กำหนดเป้าหมาย และนโยบายในการจัดการศึกษา มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เน้นคุณธรรมจริยธรรมนำหน้าวิชาการ รูปแบบการจัดโรงเรียนเป็นโรงเรียนประจำกินนอน มูลนิธิสัตยาไส เป็นผู้บริจาคเงินให้แก่โรงเรียนในการดำเนินกิจการ โรงเรียนไม่เก็บค่าเล่าเรียน

ผลผลิต

นักเรียนที่สัตยาไส มีคุณธรรมและความรู้ เพราะนักเรียนโรงเรียนสัตยาไส มีวินัย พึ่งพาตนเอง จากการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัย ได้ร้อยละ 100 เกินเป้าหมายที่เขตพื้นที่กำหนด

การนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโรงเรียน

1 ด้านหลักสูตร ควรจะเพิ่มกิจกรรมทักษะชีวิตเข้าไปทุกกลุ่มสาระทั้ง 8 กลุ่มสาระ

2 ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน สอนแบบบูรณาการ จัดให้การเรียนการสอนแบบยืดหยุ่น นำ

หลักการจัดกิจกรรมที่สอนให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล คิดเป็น พูดเป็น กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออกในทางที่ถูกที่ควรไปใช้ในโรงเรียน ปลูกฝังให้นักเรียน ฝึกให้เห็นคุณค่าแห่ง ความเป็นมนุษย์ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีอุปนิสัยที่ดีงาม ฝึกการเป็นผู้นำให้กับนักเรียน

3 บทบาทของครู เป็นกัลยาณมิตร มีความเอื้ออาทรเป็นแบบอย่างที่ดี การส่งเสริมผู้เรียนให้เรียนตามศักยภาพอย่างสูงสุด

4 การจัดบรรยากาศสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและห้องเรียน ให้เป็นธรรมชาติ และสงบร่มเย็น ได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ 5 การบริหารจัดการศึกษา ผู้บริหาร ครู และชุมชนต้องร่วมมือกัน

ข้อคิด สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงานและสามารถนำมาปฏิบัติได้ทันที

1 การนำนิทานคุณธรรมมาพัฒนานักเรียน นิทานที่เรามีอยู่มากมาย ทั้งนิทานพื้นบ้าน นิทานอีสป นิทานชาดก และนิทานร่วมสมัย เราควรนำมาจัดเป็นกลุ่ม ๆ เช่น นิทานสอนกตัญญู นิทานสอนความขยัน การพึ่งพาตนเอง นิทานสอนเรื่องความซื่อสัตย์ นิทานสอนเรื่อง ความเพียร พยายาม ความอดทน แล้วนำเข้าสู่หลักสูตร จัดให้เข้ากับวัยของนักเรียน ชั้นเรียน

2 การฝึกนั่งสมาธิก่อนเรียนทุกกลุ่มสาระ เพื่อให้นักเรียนมีสมาธิในการเรียน

3 การปฏิบัติ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก ครูทำตนเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นแม่เด็ก เป็นครูสอนตลอดเวลา ทำให้เด็กกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ ด้วยทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

ผังกระบวนการสร้างทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ ด้วยทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

ผังกระบวนการสร้างทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

ต่อ

กรณีศึกษา การพัฒนาผู้นำ ด้วยทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืน

นางวาสนา รังสร้อย

นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา

การออกแบบการพัฒนาทุนมนุษย์โดยการนำหลักของทุนแห่งความสุขและทุนแห่งความยั่งยืนมาใช้ที่มุ่งเพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ตามกระบวนการ การพัฒนา การดำเนินการ กำกับ องค์ประกอบ ด้วย ผลลัพธ์ ทางการดำเนินการที่มีการวิเคราะห์ ขั้นตอนต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กัน จะได้แนวทางที่มีความยืดหยุ่นสำหรับการพัฒนา ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยพิจารณาในช่วงอายุ 25 – 60 เมื่ออยู่ในวัยทำงานเราจะต้องสร้างให้เกิดการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์เป็นแบบ Creativity Innovation การออกแบบการพัฒนาทุนมนุษย์ต้องพัฒนาและทำอย่างต่อเนื่อง ทุนมนุษย์มีความสัมพันธ์กับทุนอื่น ๆ มาก เพราะจะเกี่ยวข้องกันและสามารถทำให้ทุกระบบมีความสุขทำให้เกิดความเชื่อในปัญญา 3 ฐานซึ่งได้แก่ ฐานกาย ฐานใจ และฐานคิด ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมด้วยพร้อม ๆ กันโดยผสมผสานกับการใช้เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่ประกอบด้วย 3 ห่วง คือ พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน และบน2 เงื่อนไข คือความรู้และคุณธรรม ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในองค์กร ชุมชน ครอบครัว และตนเอง

กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดย นางวาสนา รังสร้อย
นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัชสวนสุนันทา


           กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค


1. โครงการใน Phase 1 กับ Phase2 ต่างกันอย่างไร 
          Step ที่ 1 การกำหนดและบริหารกลยุทธทั่วทั้งองค์กรกำหนดให้ สอดคล้องกับ ปัจจัยภายนอก ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและ เทคโนโลยีเป็นการสร้างความตระหนักเรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Organization Awareness โดยอาศัยหลักคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และแนวคิด 2 R's ของท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ก็เกิดขึ้นที่นี่ด้วย คือ Reality and Relevance หมายถึงการเรียนรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับตัวเราและตรงประเด็น เช่น “การเรียนรู้ควรเรียนรู้จากประสบการณ์ ความล้มเหลวหรือความเจ็บปวด และเรียนรู้ข้ามศาสตร์ด้วย องค์กร ถึงจะอยู่รอด” อีกทั้งต้อง "...ยึดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบใหญ่ การทำกิจการต่าง ๆ คำนึงถึงความ ยั่งยืน คือการเป็นคนดี และมีความสุข บนพื้นฐานของความพอเพียง.." "การตั้ง กฟภ. ตั้งแต่อดีตตั้งมาเพื่อเน้นไปทาง Operation excellence รักษาความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าอนาคตต้องปรับทิศทางไปทาง Customer Intimacy คือเอาลูกค้าเป็นที่ตั้งมากขึ้นการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าขั้นพื้นฐานให้ สอดคล้องกับความพอเพียง ทั้งรัฐบาล ผู้ใช้ไฟกลุ่มต่างๆ องค์กรเอกชน สื่อมวลชน ชุมชนรอบๆหน่วยงาน กฟผ. เป็นต้น 
         Step ที่ 2 เป็นการกระตุ้นให้เกิดการรักการเรียนรู้ มีการแลกเปลี่ยน และแสดงความคิดเห็น และความรู้จากเพื่อนต่างการไฟฟ้า บุคลากรขององค์กรตื่นตัวมีความใฝ่รู้มากขึ้นสามารถผลักดันการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างมีความสุข โดยให้ความสำคัญกับบุคลากร (ของมนุษย์)เป็นการพัฒนาต่อยอดให้กับหน่วยงานปฏิบัติงานด้านต่างๆ ให้มีความสำเร็จได้ง่ายขึ้นดังคำพูดที่ว่า “คนสำราญ งานสำเร็จ” อีกทั้งเป็นการ ตรวจและติดตามผลการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Audit & Monitoring) และให้โอกาส องค์กรได้พักผ่อนและท่องเที่ยวในสถานที่ไม่เคยมา พนักงาน กล้าคิด กล้านำเสนอ กล้าแสดงออก และยังเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งให้การทำงานขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Shave show)
2. วิเคราะห์การดำเนินโครงการระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2

ความเหมือน  

         1.การกำหนดและบริหารกลยุทธ์  
         2.Customer Intimacy คือเอาลูกค้าเป็นที่ตั้งมากขึ้น         
         3.การบริหารบุคลากร ให้ความสำคัญต่อคนเก่งและดีที่องค์กรต้องการ         
         4.คัดเลือก ดูแล ให้การตอบแทน ตลอดจนโอกาสในการสร้างความสำเร็จ

ความต่าง

       
1. ทางด้านประสบการณ์ภายนอกของพนักงานในองค์กร
        2. ความใฝ่รู้ โดยการศึกษาหาความรู้ของพนักงาน
        3. ปัจจัยแวดล้อมขององค์กร
        4. เข้าใจและเรียนรู้ความแตกต่างของคนรุ่นต่างๆ และบริหารได้ถูกต้อง

เป้าหมาย

ระยะที่ 1 สร้างความตระหนักในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร

ระยะที่ 2 ติดตามประเมินผล

            2.1 กิจกรรมการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Audit & Monitoring)
            2.2 กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 4L’s เป็นกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งให้การทำงานขององค์กรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Shave show)

ระยะที่ 1 เรียนรู้หลักคิด หลักการ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ เห็นความสำคัญขององค์กร แห่งการเรียนรู้ กระบวนการที่ทำให้เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้

ระยะที่ 2 ติดตามประเมินผลการนำหลักคิด หลักการ การแลกเปลี่ยนรู้กันและกัน ไปปรับ ใช้กับการทำงาน วัฒนธรรมการเรียนรู้ การแบ่งปันความรู้ ทั้งในระดับบุคคล ระดับ องค์กร และอาจต่อยอดถึงระดับสังคม และประเทศ

ระยะเวลาดำเนินการ

ศูนย์ภูมิภาคละ ประมาณ 2 วัน

2. ทำไม Phase 2 ต้องทำวิจัย และมีอะไรบ้าง

ระยะที่ 2 ที่มีการทำวิจัย เพื่อติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทำให้บุคลากรขององค์กรตื่นตัวมีความใฝ่รู้มากขึ้นสามารถผลักดันการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างมีความสุข บางครั้งการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องใช้เหตุการณ์ต่าง ๆตามบริบท ประกอบด้วย ทุกความรู้ ความสามารถ ความคิดเห็น มีผลตอบแทน และพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของตนสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้ไปถึงจุดหมายได้

ระดับองค์กรทุกคนต้องคุณสมบัติดังนี้

         1. ตื่นตัว ใฝ่รู้มากขึ้น
         2. สนใจอ่านหนังสือมากขึ้น
         3. สนใจหาความรู้จากแหล่งความรู้อื่น ๆ เช่น
            3.1) ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาความรู้
            3.2) ศึกษาข่าวจากหนังสือพิมพ์ จากการดูโทรทัศน์ เพื่อหาความรู้ 
            3.3) ฟังวิทยุเพื่อหาความรู้ ติดตามข่าว 
            3.4) ใช้ e-learning
            3.5) เข้าห้องสมุด เป็นต้น
         4. รับฟังความคิดเห็นของ เพื่อนร่วมงาน
         5. กล้าแสดงออกในที่ประชุม
         6. กล้าแสดงความคิดเห็นต่อหน้านาย
         7. มีการแบ่งปันความรู้ (Share) ในองค์กร
         8. ทำงานใหม่ ๆ โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์
         9. ได้นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด / เผยแพร่แก่คนในองค์กร
        10. วางแผนการจัดการความรู้ในองค์กร
        11. ผลักดันการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ภายในองค์กร 
        12. วางแผนการจัดการความรู้และนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอด / เผยแพร่แก่คนในชุมชน/สังคม/ประเทศชาติ 
        ผู้นำจะต้องประกอบด้วย 7 คุณลักษณะ ดังนี้
o มาดให้ กล่าวคือ ผู้นำต้องมี
     - ภูมิรู้(IQ) รู้ฉลาดเรื่องวิชาการ รู้หน้าที่งาน รู้วิชาคน รู้สภาพแวดล้อม และรู้อนาคต  
     - ภูมิฐาน(HQ) สุขภาพทั้งกาย จิตใจ และปัญญา
     - ภูมิธรรม (MQ) เป็นทั้งผู้หลัก(มีหลักเกณฑ์และทั้งกฏกติกา) เป็นทั้งผู้ใหญ่ที่มีคุณธรรมจริยธรรม
     - ภูมิศิลป์ ต้องมีแรงจูงใจคนเป็น ทั้งทักษะการพูด การฟัง และการเขียน
oใจถึง นั่นหมายความว่าต้องมีกิ๋น ที่จะกล้าคิด ออกนอกกรอบ กล้าริเริ่ม กล้าทำ กล้าตัดสินใจและกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
o พึ่งได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในหน้าที่หรือส่วนตัว
o จ่ายบ้าง รู้จักแบ่งงาน หมาหมายงาน มอบอำนาจในการตัดสินใจ ให้โอกาสแสดงความสามารถ เสียสละไม่เห็นแก่ตัว
o ช่างซ่อม (Skill) มีทักษะการแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาตนเองตลอดเวลา
o ถ่อมตน (SQ) ยิ่งสูงยิ่งมองต่ำ (เหมือนรวงข้าวที่มีเมล็ดเต็มรวง) หลัก HR
o อดทนเยี่ยม (AQ) อดทนต่อความยากลำบาก การวิพากษ์ วิจารณ์ ความล้มเหลว ความโดดเดี่ยว พร้อมจะลุกขึ้นมาสู้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดี

ระดับสังคม จัดทำโครงการเพื่อส่วนรวมเช่น 
         โครงการนักประหยัดพลังงานตัวน้อยสำหรับนักศึกษามัธยม   
         โครงการ “พี่สอนน้อง” เป็นโครงการที่เราทำมานานแล้วสำหรับนักศึกษาเทคนิค ร่วมประชุมกับส่วนราชการในท้องถิ่น เผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน      โครงการห้องเรียนสีขาวสำหรับชุมชน  
          โครงการนักประหยัดตัวน้อยให้เยาวชนใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย  
          โครงการสร้างฝายแม้วถวายในหลวงเพื่อกักเก็บน้ำและนำพลังงานจากธรรมชาติไปใช้

3. การทำ Questionaire มีจุดอ่อนอะไรบ้าง

จุดอ่อนของการทำ Questionaire

1. ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานที่มีหน้าที่ต่างกัน หน่วยงานย่อยมักจะคำนึงถึงเป้าหมายหรืองานของแผนตนเองมากกว่าเป้าหมายขององค์กรโดยส่วนรวม
2. มีการปฏิบัติตามกฎและระเบียบตายตัว ไม่ยืดหยุ่น
3. ยังไม่ได้สร้างบรรยากาศในการ Share ความรู้ร่วมกันในองค์กร
4. การบริหารส่วนใหญ่ยังเป็นแบบ Top down อยู่ ซึ่งจะเน้น Command and Control 5. การทำงานเป็นทีมมีแต่ในระดับ Function ได้ดีแต่ไม่ Cross Function

4. ถ้าอยากจะปรับปรุง Questionnaire เสนอมาว่าจะปรับปรุงอย่างไร

 1. ควรจัดโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking)และเกิดความยั่งยืน Sustainabilityและความสุข ความสมดุลขององค์กร
 2. การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ต้องใช้เหตุการณ์ต่างประกอบด้วย เป็นความหลากหลายในความคิด และวิถีชีวิตต่างๆ
 3. มีความพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของตนสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องวัดผลองค์กรและบุคลากรด้วยข้อสอบความรู้เป็นระยะด้วย 
 4. บุคลากร กฟภ. ส่วนใหญ่ยังยึดติดกับระบบเก่า ทำให้ยากต่อการพัฒนา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองสำหรับโครงการ Knowledge Audit &Monitoring
 5. การสร้างความตระหนักองค์กรแห่งการเรียนรู้มีความจำเป็นเห็นสมควร ฝึกอบรมให้ครบทุกคน
 6. เกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นเรื่องใกล้ชิด เป็นเรื่องที่นำไปใช้ในชีวิตประจำวันและ จะทำให้ผู้มีความสนใจมากขึ้น การได้รับองค์ความรู้ใหม่ ทำให้เกิดวิสัยทัศน์มีมากขึ้น

5. ประโยชน์ จากการลงทุนไปคุ้มกับเงินที่ลงทุนหรือไม่

           ประโยชน์ จากการลงทุนไปคุ้มกับเงินที่ลงทุน เพราะ เป็นการสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ เรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนสามารถปรับพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น สามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับตนเองและองค์กรได้โดยมีโลกทัศน์ที่พร้อมจะเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีทัศนคติที่เป็นบวก (Positive Thinking) และถ้าดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องก็จะพบกับความยั่งยืน Sustainabilityและความสุข ความสมดุลขององค์กร

กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

โดย นางสาวรัตมณี เสนีกาญจน์

นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารจัดการการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัชสวนสุนันทา

กรณีศึกษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

โครงการใน Phase 1 กับ Phase2 ต่างกันอย่างไร

Phase 1 เรื่อง "โครงการสร้างความตระหนักองค์กรแห่งการเรียนรู้"

1. สร้างความตระหนักแห่งการเรียนรู้สิ่งที่ได้รับ

2. การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์

3. สร้างแรงกระตุ้นในการใฝ่หาการเรียนรู้ในทุกๆสื่อไม่ว่าจะเป็นทางด้านอินเตอร์เน็ต จากห้องสมุด และบุคลรอบๆตัว เพื่อจะได้นำความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าในระดับสากลและการเรียน L.O.A. จะช่วยให้พัฒนาคนให้มีประสิทธิภาพในการทำงานและมีความรักในองค์กรของตนเองและสร้างงานต่างๆให้ลูกค้าได้มีความพึงพอใจสูงสุด

4.ได้รับความรู้เรื่อง HR. และการบริหาร HR. เพื่อนำไปใช้กับงานของ กฟภ. เพื่อนำไปใช้กับความคิดของ กฟภ. ให้ได้รับความเจริญก้าวหน้าต่อไป

5. การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯมายึดหลักในการเรียนรู้ควบคู่ไปกับทฤษฎี 4L's ได้อย่างดี

6. การพัฒนาความคิดใหม่และมีคุณธรรม จรรยาบรรณและจริยธรรมแห่งการเรียนรู้และทำงานด้วยความรักและมีความสุขเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จโดยใช้ 4L's, 8K's, ทฤษฎี5K's, ร่วมกันโดยทำงานเป็นทีม ยึดหลักและเหตุผล

Phase 2

1."พลังงานทดแทน" แนวคิดการจัดการทางด้านพลังงานหรือการหาพลังงานทดแทน

2.การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจด้วยการทูตภาคประชาชนด้วยครับ

3.สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ยังคงเป็นลักษณะของการระดมสมอง โดยวิธีการทำกิจกรรมกลุ่ม และนำเสนอแนวคิดของกลุ่ม

4.จัดโครงการให้ชุมชนเกิดการยอมรับเรามากขึ้น จะเห็นว่าคนที่เป็น NGOs บางครั้งไม่ค่อยอยากเข้ามา กฟผ. เท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ต้อง Win-Win ปัจจุบันสิ่งที่ต้องมีคือสังคมการเรียนรู้ การมองสังคมเป็นมิตร การมอง NGO เป็นแนวร่วม

5.กฟผ.มีความพร้อมที่จะสร้าง พร้อมที่จะทำทั้งหมด แต่ขาดความสนับสนุนของรัฐบาล บอกว่าเป็นการจัดการของประเทศ ปัญหาเชื้อเพลิง ปัญหาโรงไฟฟ้าที่ซื้อให้เขา มีปัญหาจริง ๆ รัฐบาลควรเป็นผู้นำ ไม่ใช่การไฟฟ้าเป็นผู้นำ เรื่อง PDP

6.กฟผ. ให้ประโยชน์และส่งผลกระทบกับประชาชน ทำได้ทั้งคุณและโทษ มีโครงการที่สนับสนุนชุมชน การไฟฟ้าแม่เมาะ กฟผ. สามารถใช้โครงการเจรจาอย่างสันติวิธีได้ มีการศึกษาผลกระทบแบบบูรณาการ อย่างเหมาะสม ทั้ง สังคม สิ่งแวดล้อม ประชาชน คิดให้รอบด้าน เพื่อให้เกิดผลดี เพื่อไม่เกิดผลกระทบ

วิเคราะห์การดำเนินโครงการระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2

Phase 1 สร้างความตระหนักแห่งการเรียนรู้ ให้กับคนในองค์กรเพื่อสร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับทุนมนุษย์ การบริหารงาน การให้ความรู้เกี่ยวกับ HR ความเหมือน จัดการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากร การกำหนดและบริหารกลยุทธ์ เอาลูกค้าเป็นที่ตั้งมากขึ้น การบริหารบุคลากร ให้ความสำคัญต่อคนเก่งและดีที่องค์กรต้องการ ไม่ว่าจะเป็นคนในองค์กร หรือคนภายนอกองค์กร

ความต่าง เพิ่มความรู้ทางด้านประสบการณ์ภายนอกของพนักงานในองค์กรให้มีความใฝ่รู้ โดยการให้การศึกษาแก่พนักงาน ปรับสิ่งแวดล้อมขององค์กรให้เอื้อต่อการทำงาน และส่งเสริมให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข ส่งเสริมความเข้าใจในความแตกต่างของคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ให้สามารถปรับพฤติกรรมและทำงานร่วมกันได้

Phase2 กิจกรรมระดมสมอง กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 4L และ 2R แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในกระบวนการพัฒนาเพื่อก่อให้เกิดกระบวนการคิดที่ยั่งยืน มีการแลกเปลี่ยนความคิดตลอดจนการบริหารงานภาครัฐ สร้างความตระหนักในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในองค์กร ติดตามประเมินผลการเรียนรู้

เป้าหมาย

ระยะที่ 1 สร้างความตระหนักในการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้

ระยะที่ 2 ติดตามประเมินผล กิจกรรมการสร้างองค์กรแห่งการ กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ 4L’s เป็นกิจกรรมการสร้างการมีส่วนร่วม

ระยะเวลาดำเนินการ ศูนย์ภูมิภาคละ ประมาณ 2 วัน

ระดับองค์กรทุกคนต้องคุณสมบัติดังนี้

การไฟฟ้า เป็นองค์กรธุรกิจของรัฐขนาดใหญ่ ที่การดำเนินงานมีส่วนสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีการบริหารงานเพื่อให้เกิดความผาสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าตลอดจนประโยชน์สูงสุดของ กฟภ. ซึ่งได้ดำเนินกิจการมาเป็นระยะเวลายาวนานด้วยความมั่นคงและความมั่นคงและความมีชื่อเสียงในการบริหารกิจการที่ดี ได้รับการยกย่องและเชื่อถือ สืบเนื่องมาจากการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามของพนักงานทุกคน จึงได้มาซึ่งจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ ดังต่อไปนี้

1.ความรับผิดชอบต่อลูกค้าและประชาชน จัดหาและให้บริการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ มั่นคง ปลอดภัย และเชื่อถือได้ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของลูกค้าและประชาชนเป็นสำคัญ

2.ความรับผิดชอบต่อผู้เป็นเจ้าของกิจการ บริหารกิจการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลคำนึงถึงความคุ้มค่าของภารกิจ สนองนโยบายของรัฐอย่างเป็นรูปธรรม ทำรายได้และกำไรให้ กฟภ. เจ้าของกิจการ และพนักงานอย่างเป็นธรรม

3.ความรับผิดชอบต่อพนักงานให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ และมาตรฐานการครองชีพพร้อมด้วยสวัสดิการที่ดี ฝึกอบรมและพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความรู้สามารถเหมาะสมกับตำแหน่ง หน้าที่ และศักยภาพ พิจารณาให้คุณและโทษด้วยด้วยความเสมอภาค โปร่งใส และยุติธรรม

4.ความรับผิดชอบต่อรัฐให้ความร่วมมือกับรัฐในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบของราชการ

5.ความรับผิดชอบต่อสังคมให้บริการอย่างทั่วถึงตามมาตรฐานที่กำหนด สนับสนุนกิจกรรม สาธารณะประโยชน์ อนุรักษ์สภาวะแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า และสร้างสัมพันธภาพที่ดีและยั่งยืนต่อสังคม

6.ความรับผิดชอบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร

จรรยาบรรณของผู้บริหาร

1.ปฏิบัติหน้าที่ และให้ความร่วมมือ หรือควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย นโยบายของรัฐ และข้อบังคับของ กฟภ.

2.มีการบริหารจัดการที่ดีตามนโยบายของ กฟภ. โดยการใช้ความรู้ ความสามารถและทักษะ ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต รอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของ กฟภ.

3.เป็นผู้นำและแบบอย่างที่ดี มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีวิจารณญาณที่ถูกต้องเที่ยงธรรม ลดความขัดแย้ง เน้นความสามัคคี และการมีส่วนร่วม มีเมตตาธรรมรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะของพนักงานทุกระดับอย่างเท่าเทียมและมีเหตุผล

4.บริหารทรัพยากรบุคคลด้วยการให้ผลตอบแทนตามผลงาน ความรู้ ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงาน ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ และความสามารถของพนักงานอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

5.มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ประชาชน และผู้ร่วมงาน

6.ดูแลพนักงานให้มีสวัสดิภาพและสวัสดิการในการทำงานที่ดี

7.จัดให้มีระบบบริการลูกค้าที่ดี มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว โปร่งใส ยุติธรรม และตรวจสอบความพึงพอใจได้

8.ปลูกฝังให้พนักงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณ และบทบาทหน้าที่พนักงานต้องปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีต่อ กฟภ.

9.ปลูกฝังให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจัดให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์สังคมอย่างสม่ำเสมอ

10.ไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาประโยชน์ให้ตนเองหรือพวกพ้อง และไม่ทำการใดๆที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ กฟภ.

11.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารความเสี่ยง และระบบการความคุมภายในองค์กรโดยการส่งเสริมวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยงและทำให้มั่นใจว่ากระบวนการบริหารความเสี่ยงได้รับการปฏิบัติทั่วองค์กร

การทำ Questionaire มีจุดอ่อนอะไรบ้าง

จุดอ่อนของการทำ Questionaire

1.กองทุนรอบโรงไฟฟ้าจัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการดำเนินนโยบายที่ดีแต่ยังที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับในการจัดตั้งกองทุน ทำให้มีภาระภาษีที่ต้องชำระตามกฎหมายจึงทำให้เงินที่นำส่งเข้ากองทุนยังไม่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่

2.การนำส่งเงินเข้ากองทุนตามปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ ทำให้บางกองทุนมีเงินจำนวนน้อยไม่เพียงพอในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนรอบโรงไฟฟ้าอย่างทั่วถึง ในขณะที่บางกองทุนมีเงินจำนวนมากแต่ยังไม่มีรูปแบบการบริหารการใช้จ่ายเงินที่เป็นระบบ ทำให้เกิดการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของชุมชน รวมทั้ง มีการร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการบริหารงานของรรมการบริหารในบางกองทุน

3.ประเมินผลการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ในปี 2551 ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ เนื่องจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน 40 กองทุน และอยู่ระหว่างการติดตามรายงานในส่วนที่เหลืออีก 32 กองทุน และงบการเงินเพียง 35 กองทุน และอยู่ระหว่างการติดตามรายงานในส่วนที่เหลืออีก 37 กองทุน เพื่อรายงานผลให้คณะอนุกรรมการติดตามฯ และ กพช. พิจารณาต่อไปการใช้จ่ายเงินที่ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์และความต้องการของชุมชน รวมทั้ง มีการร้องเรียนขอให้ตรวจสอบการบริหารงานของกรรมการบริหารในบางกองทุน

3. การติดตามและประเมินผลกองทุนรอบโรงไฟฟ้าในปัจจุบัน กำหนดเป็นเพียงแนวทางปฏิบัติให้มีการรายงานผลการดำเนินงานและงบการเงินเสนอต่อคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเผยแพร่ให้ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าและสาธารณชนโดยทั่วไปทราบ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบภายใน ซึ่งยังไม่มีกฎ ระเบียบ หรือบทลงโทษในทางปกครอง ทำให้การติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายเงินกองทุนฯ ในปี 2551 ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้ เนื่องจาก สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้รับรายงานผลการดำเนินงาน 40 กองทุน และอยู่ระหว่างการติดตามรายงานในส่วนที่เหลืออีก 32 กองทุน และงบการเงินเพียง 35 กองทุน และอยู่ระหว่างการติดตามรายงานในส่วนที่เหลืออีก 37 กองทุน เพื่อรายงานผลให้คณะอนุกรรมการติดตามฯ และ กพช. พิจารณา

ความคิดเห็นที่ได้รับ

ประเด็นสรุปความคิดเห็น

การจัดสรรเงิน

• ควรมีการกำหนดสัดส่วนการจัดสรรเงินในแต่ละวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาไฟฟ้าให้มีความชัดเจน

• ควรนำเงินที่จัดเก็บจากโรงไฟฟ้าทั้งหมดไปใช้เพื่อการพัฒนาและฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้า ในมาตรา 97(3)

• ควรกระจายงบประมาณให้ทั่วถึงประชาชนในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้

• ไม่ควรโอนเงินให้หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบ

• การใช้จ่ายเงินควรอยู่ในอำนาจการบริหารของแต่ละพื้นที่ เพราะมีมุมมองในการพัฒนาไม่เหมือนกัน

• การเกลี่ยเงินรายได้จากกองทุนใหญ่ให้กับกองทุนเล็ก ในบางพื้นที่เห็นควรให้มีการเกลี่ยรายได้ แต่ในบางพื้นที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว

• ค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนในมาตรา 97(6) ควรรวมถึงท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่ไม่มีการจัดตั้งกองทุนด้วย

การกำหนดขอบเขต

• การกำหนดรัศมีควรขึ้นอยู่กับผลกระทบ และเป็นไปตามที่คณะกรรมการในแต่ละพื้นที่เห็นสมควร

• การกำหนดรัศมี 5 กิโลเมตร ในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการดำเนินงานระดับหนึ่ง

กระบวนการมีส่วนร่วม

• ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อกระบวนการมีส่วนร่วมและการบริหารจัดการกองทุน

• ควรมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการยกร่างระเบียบกองทุนใหม่

• ควรมีการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความรู้ให้แก่ประชาชนในวิธีนำเสนอโครงการตามวัตถุประสงค์ในการพัฒนาชีวิต

โครงสร้างการบริหาร จัดการกองทุน

• ควรมีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนและผู้จัดการกองทุน สำหรับกองทุนที่มีงบประมาณตั้งแต่20 ล้านบาทขึ้นไป

• ควรให้อำนาจอิสระในการบริหารจัดการ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีปัญหาแตกต่างกัน

• ควรกำหนดระเบียบกลาง สำหรับใช้ปฏิบัติในลักษณะเดียวกันทั่วประเทศ

• ควรมีตัวแทนจากหน่วยงานจังหวัดเข้าร่วมเพื่อให้การพัฒนาเป็นตามยุทธศาสตร์จังหวัด

• ควรคงรูปแบบคณะกรรมการในลักษณะไตรภาคีเช่นเดียวกับปัจจุบัน

• คณะกรรมการกองทุนขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาและมีการบริหารงานที่ไม่โปร่งใสการคัดเลือกคณะกรรมการ

• ควรมีแนวทางการคัดเลือกกรรมการบริหารที่ชัดเจน โดยกำหนดผู้แทนในแต่ละภาคส่วนกำหนดวิธีการสรรหา และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการคัดเลือกกรรมการ

• ควรกำหนดจำนวนคณะกรรมการตามกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าการดำเนินการจัดทำโครงการ

• การนำเสนอโครงการ ควรมีการกำหนดระยะเวลาในการนำเสนอโครงการที่ชัดเจน โดยให้มีการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และการประชาพิจารณ์สอบถามความต้องการของประชาชนในพื้นที่

• การอนุมัติโครงการ ควรมีหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์และกลั่นกรองโครงการรวมทั้งควรมีการแจ้งผลการพิจารณาอนุมัติโครงการ/ไม่ได้รับอนุมัติโครงการ/มีความล่าช้าในการพิจารณาโครงการ ให้ผู้นำเสนอโครงการรับทราบ

• ควรให้ชาวบ้านได้มีโอกาสในการนำเสนอโครงการการติดตามประเมินผล

• ควรมีคณะกรรมการจากภายนอกเข้าไปติดตามและประเมินผลโครงการที่ได้รับอนุมัติ เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารจัดการ

ถ้าอยากจะปรับปรุง Questionnaire เสนอมาว่าจะปรับปรุงอย่างไร

1.สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนา

ชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า ได้ติดตามผลการดำเนินงานประจำปี และผลการตรวจสอบบัญชีของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

1.1 มีหนังสือถึงประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า

1.2 ประชาสัมพันธ์การจัดส่งรายงานในการสัมมนาเรื่อง “แนวทางการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า”

1.3 สอบถามสถานภาพการดำเนินการจัดทำรายงานฯ ของกองทุนฯ จากพลังงานจังหวัดในเบื้องต้น 2.คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ ในการประชุม

2.1 รับทราบความคืบหน้าการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานฯ และมอบหมายให้ สนพ.

ประสานแจ้งให้พลังงานจังหวัด เร่งรัดการจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานและรายงานเพื่อรายงานผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าให้ กพช. ทราบ

2.2 เห็นชอบแผนงานติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้าตามที่ สนพ. เสนอ ซึ่ง สนพ. จะต้องดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณในการว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อช่วยงาน สนพ. ในการดำเนินงานในวงเงิน 1 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน

2.3 สนพ. ได้ดำเนินการลงนามในสัญญาว่าจ้างที่ปรึกษาโครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า โดยคาดว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการแล้วเสร็จ

2.4 สนพ. ได้มีหนังสือถึงพลังงานจังหวัดตามมติคณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ โดยให้พลังงานจังหวัดจัดส่งรายงานให้ สนพ. ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2552 เพื่อรายงานให้คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลฯ และ กพช. พิจารณาต่อไป อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ สนพ. ได้รับรายงานการดำเนินงานจำนวน 40 กองทุน และรายงานงบการเงินจำนวน 35 กองทุน และอยู่ระหว่างการติดตามรายงาน

ประโยชน์ จากการลงทุนไปคุ้มกับเงินที่ลงทุนหรือไม่

ประโยชน์ จากการลงทุนไปคุ้มกับเงินที่ลงทุน เพราะ เป็นการสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ เรื่ององค์กรแห่งการเรียนรู้ ทุกคนสามารถปรับพฤติกรรมในการทำงานในทางที่ดีขึ้น และองค์กรมีการปรับพฤติกรรมและพร้อมที่จะเรียนรู้และรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น สามารถทำงานเป็นทีมและมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน เป็นเรื่องดีที่สังคมจะมีกลไกในการเยียวยาและชดเชยกับผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ชุมชนโดยรอบโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ มี ผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะได้เรียกร้องให้ภาครัฐจัดตั้งกองทุนเพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้า “กองทุนพัฒนาชุมชนในพื้นที่รอบโรงไฟฟ้า” จะทำให้บุคลากรมีความสุขทั้งคนในองค์กรและชุมชนภายนอกองค์กร

ทำไม Phase 2 ต้องทำวิจัย และมีอะไรบ้าง

ระยะที่ 2 ที่มีการทำวิจัย ก็เพื่อติดตามประเมินผลการนำหลักคิด หลักการ การแลกเปลี่ยนรู้กันและกัน ไปเพื่อปรับใช้กับการทำงาน และดูการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในองค์กร มีการแบ่งปันความรู้ทั้งในระดับบุคคล ระดับองค์กร เช่น สนับสนุนให้พนักงานไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม มีเป้าหมายให้กับตนเองในการทำงาน ให้พนักงานมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและสร้างบรรยากาศในองค์กร

การสร้างบรรยากาศองค์กรให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ดังนี้

1.ความไว้วางใจ ความเชื่อถือ และความมั่นคงของบุคลากรทุกระดับ

2.การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

3.การให้การสนับสนุน

4.ความเปิดเผยในการสื่อสารจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง

5.การรับฟังความคิดเห็นจากเบื้องล่างสู่เบื้องบน

บรรยากาศในองค์กร จะนำไปสู่ความพึงพอใจในการทำงาน เมื่อบุคลากรมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นอย่างดี มีความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกันสูง ย่อมส่งผลถึงการมีบรรยากาศในการทำงาน มีความพึงพอใจในการทำงานมากขึ้น ผลงานดีขึ้น โดยที่บุคลากรไม่เบื่อหน่ายในการทำงาน และปฎิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี

การสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร

การสร้างบรรยากาศในองค์กรกับความก้าวหน้าของบุคลากร และการพัฒนาองค์กรจำเป็นต้องมีลำดับขั้นตอนในการดำเนินงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จขององค์กร ซึ่งพอสรุปได้ คือ 1. องค์กรควรจะกำหนดแผนระยะยาว ซึ่งในแผนนั้นจะต้องมีเป้าหมาย และวัตถุประสงค์เฉพาะเจาะจง 2. องค์กรจะต้องกำหนดความต้องการด้านกำลังคนจากวัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อบุคลากรคนปัจจุบันจะได้เตรียมตัว หรืออาจแสวงหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อความก้าวหน้าในการทำงานของเขา 3. องค์กรควรทำการสำรวจบุคลากรที่มีอยู่ เพื่อจะได้รู้ว่าปัจจุบันมีกำลังคนลักษณะและคุณสมบัติอย่างไร 4. องค์กรควรคำนึงถึงกำลังคนที่มีปัจจุบัน กับความต้องการกำลังคนขององค์กรในกิจการงานที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อจะได้จัดคนให้เหมาะสมกับงานหรือหน้าที่ 5. องค์กรควรจะกำหนดโครงการฝึกอบรมตามความต้องการ เพื่อส่งเสริมบุคลากรให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน หรือปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือการสรรหาบุคลากรเพิ่มเติมตามความจำเป็นขององค์กร 6. องค์กรควรจะสื่อสารบอกกล่าวให้บุคลากรรู้ถึงความต้องการกำลังคนประเภทต่าง ๆ เพื่อให้บุคลากรได้มีความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองเสมอ 7. องค์กรควรจัดรับสมัคร สัมภาษณ์ คัดเลือก และตระเตรียมบุคลากรให้อยู่ในสภาพพร้อมที่ทำงาน จัดทำคำบรรยายลักษณะงานไว้อย่างชัดเจน วางแผนงานให้เหมาะสมตามสภาพกำลังคนที่มีอยู่ และที่รับเข้ามาใหม่ 8. องค์กรควรมีระบบตรวจสอบการสื่อภายใน เพื่อรักษาบรรยากาศขององค์กร

การศึกษาดูงานการจัดการทุนมนุษย์ ปักกิ่ง-เทียนสิน23-27ตุลาคม2554

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ หัวหน้าคณะ

อนันต์ สุดขำ Ph.D มรภ.สวนสุนันทา นครราชสีมา

รหัส 53484931007

เรียน ศาสตราจารย์ดอกเตอร์จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่เคารพอย่างสูง

ผมรู้สึกยินดีและภาคภูมิใจที่อาจารย์ได้ให้ความสำคัญพานักศึกษาปริญญาเอก มรภ.สวนสุนันทา ไปศึกษาแลกเปลี่ยนการจัดการทุนมนุษย์ที่ประเทศจีนครั้งนี้

อาจารย์เป็นบุคคลสำคัญของชาติที่ต้องบริหารเวลาให้เป็นประโยชน์สูงสุด อาจารย์จะพูดกับพวกเราอยู่เสมอว่า อาจารย์รักลูกศิษย์ทุกคนให้ความสำคัญกับทุกคนทุกคนมีคุณค่าต่อประเทศ อาจารย์จะไม่หยุดการทำงาน หวังดีกับลูกศิษย์ทุกคน

แม้จะเห็นหน้ากันทางจอ online ก็ดีที่ได้มีโอกาสร่วมกัน

การเปลี่ยนในโลก จีนมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ที่สุดประเทศหนึ่ง ขณะนี้จีนมีรายได้ต่อหัวต่ำกว่าสิงคโปร์ 10 เท่า จีนถ้าไม่ระมัดระวังเรื่องการจัดการทุนแห่งความยังยืนก็จะไปไม่รอด ฉะนั้น 8K 5kจึงมีความสำคัญมากสำหรับจีน

วันแรก ตื่นเต้นกับอุบัติเหตุรถแท็กซี่ตัดหน้ารถบัสเรา ชนเข้าอย่างจัง ข้างซ้ายของแท็กซี่ยุบเกือบครึ่งคัน โชคดีที่คนขับและผู้โดยสารนั่งท้ายสองคนไม่ได้รับบาดเจ็บ

เราต้องเปลี่ยนรถ ขอบอกว่าที่เมืองจีนขับรถเลนซ์ขวา แม้ถนนหนทางในกรุงปักกิ่งจะกว้างขวางกว่าบ้านเรา แต่การขับขี่จะได้ยินเสียงแตรรถบีบเสียงสนั่น

พระราชวังต้องห้ามกู้กง : จัตุรัสเทียนอันเหมิน

พระราชวังต้องห้ามตั้งอยู่ด้านหลังจัตุรัสเทียนอันเหมิน พื้นที่ 720,000 ตร.ม.ล้อมรอบด้วยกำแพงยาวทั้งสิ้น 3 กม.สูง 10ม.มีตำหนักน้อยใหญ่รวมทั้งสิ้น 9,999ห้องครึ่ง

สร้างเมือง คศ.1406สมัยราชวงศ์หมิง

ประกอบด้วยสองส่วน

- วังหน้า เป็นเขตที่ฮ้องเต้ออกว่าราชการ

- วังใน เป็นเขตผู้ชายห้ามเข้ายกเว้นขันที

วังหน้ามี 3 ตำหนัก

1 ตำหนักไถ่เหอ อยู่ด้านหน้าหลังใหญ่สุดสำคัญที่สุด

2 ตำหนักจงเหอ เป็นสถานที่พักรอก่อนออกว่าราชการแผ่นดินรับรายงานจากข้าหลวง

3 ตำหนักเป่าเหอ อยู่หลังตำหนักจงเหอ เป็นสถานที่จัดงานเลี้ยงรับรองอภิเษกสมรสของ

ฮ้องเต้หรือโอรสธิดา และเป็นสถานที่สอบจอหงวน โดยฮ้องเต้เป็นผู้ออกข้อสอบและคุมสอบเอง

วังใน เป็นเขตต้องห้ามสำหรับผู้ชาย มีตำหนักตะวันตกและตำหนักตะวันออก เป็นที่ประทับของฮ้องเต้ ตรวจเอกสาร นัดพบปะพูดคุยกับเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

ตำหนักใหญ่น้อยในพระราชวังโบราณมีมากมายดูกันไม่ทั่ว ส่วนใหญ่จะปิดเอาไว้ มีร่องรอยทรุดโทรมไปตามเวลา แต่ทางการก็บูรณะไว้อย่างดี ขณะเดินชมก็เห็นความเป็นจริงเรื่องอนิจจังไม่เที่ยง มันเป็นที่เกิดของเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของแหล่งอารยธรรมใหญ่ของตะวันออก นับเวลาได้ต่อเนื่องหลายศตวรรษ มีความยิ่งใหญ่อลังการตัดกับความยากจนข้นแค้นของประชาชนภายนอก ความหรรษาตรงข้ามกับความหฤโหดแอบแฝงอยู่เบื้องหลังในยามลงโทษ หรือผลัดเปลี่ยนแผ่นดินด้วยการกบฏหรือลอบปลงพระชนม์ เป็นที่รวมของหญิงงามมากที่สุด ทรัพย์สมบัติอเนกอนันต์ที่สุด และความร่าเริงบันเทิงใจราวกับสรวงสรรค์ ท่ามกลางนางสนมกำนัล 3,000คน แต่ก็เจือปนด้วยความทุกข์ทรมานและความตายของบุคคลตั้งแต่สูงสุดจนต่ำต้อยที่สุดในสถานที่นี้เช่นกัน

สังเกตเห็นว่า ผู้ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นชาวจีน หนุ่มสาว จนถึงผู้สูงอายุ และไม่มีคนอ้วนลงพุง

จะมีการออกกำลังกาย ด้วยท่าทางต่างๆ ผู้คนแน่นขนัดเต็มไปหมด เราเพลิดเพลินกับความยิ่งใหญ่

ภายใต้ศิลปวัฒนธรรม อารยธรรมเก่าแก่และความสวยงามจุใจ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ให้แง่คิดมุมมองไว้น่าสนใจ ระหว่างเดินชมตำหนักต่างๆว่า ชาวจีนมีพันกว่าล้านคน แต่ความเจริญทางเศรษฐกิจของจีนพุ่งสูงมาก เขาจะบริหารความแตกต่างระหว่างคนในเมืองและคนชนบทอย่างไร จึงจะทำให้คนในชาติมีความสุข และยั่งยืน หากเขาไม่ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง หรือสร้างทุนแห่งความยั่งยืนให้แก่คนในชาติ เขาจะลำบาก เหมืออเมริกาหรือยุโรปขณะนี้

คณะเราได้ชมพระราชวังต้องห้าม ไหว้ฟ้าดิน ชมพระราชวังจนจุใจ จนใกล้เที่ยงรับประทานอาหารกลางวัน ศ.ดร.จีระ พูดคุยแนะนำพวกเราก่อนเข้าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง

China university of Political science and Law

เป็นศูนย์กลางของปักกิ่งซึ่งจัดการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการเมือง วิทยาศาสตร์ และกฎหมาย ก่อตั้งมานานกว่า 30 ปีมีความเข้มแข็ง

เราได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา หลายคนตื่นเต้นตกใจที่เห็นภาพบรรยากาศห้องประชุมและคณะผู้บริหารของจีนต้อนรับพวกเราขนาดนี้ เราแลกเปลี่ยนแนวความคิด ความรู้วัฒนธรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์ การจัดการให้ประชาชนชาวจีนมีความสุข และนักศึกษาจีนก็สนใจเรื่องของการนำหลักศีลธรรมมาใช้ในการพัฒนาทุนมนุษย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ พูดคุยกับผู้บริหารอย่างออกรส บันทึกภาพร่วมกันและมอบของที่ระลึก พวกเราประทับใจกับการต้อนรับของมหาวิทยาลัย

สังเกตเห็นว่า นักศึกษาจีนกล้าพูดกล้าถาม มีความกระตือรือร้น และยังคงรักษาเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของความเป็นประชาชนจีนอย่างมั่นใจ

ประเด็นของการแลกเปลี่ยน

1 China University of Political Science and Law (CUPL;2011) เป็นสถาบันจัดการศึกษาระดับปริญญาโท เน้นทางเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด บุคคลตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ให้จะต้องได้รับการพัฒนา ปลูกฝัง ความคิดสร้างสรรค์ เชื่อมโยงกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงจะทำให้มีความสุข

2 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมจากคำถามว่า จีนมีอัตราความเจริญระดับต้นๆของโลก จะต้องระมัดระวังและความแตกต่างระหว่างคนจนกับคนรวย ชนบทกับในเมือง

3 นักศึกษาจีนถามการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยอาศัยหลักพุทธศาสนา ศีล สมาธิ ปัญญาทำอย่างไร

คณาจารย์และนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนของที่ระลึก ด้วยความประทับใจ

Tianjin University of Technology

เช้าเดินทางไปเมืองเทียนสิน Tianjin ซึ่งเป็นเมืองท่าด้านอุตสาหกรรมใช้เวลาเดินทางเกือบสองชั่วโมง เป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโลโลยีคล้าย เทคโลยีพระจอมเกล้า แต่จัดการศึกษาอย่างหลากหลาย

ผลิตบุคลากรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว

ประเด็นการแลกเปลี่ยน เรามาสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างกันเพื่อเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นทูตภาคประชาชน นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ทั้งในเมืองและชนบท

สถานอักราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่ง Office of Commercial Affairs,Royal Thai Embassy

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร Minister(Commercial) ทูตไทยประจำปักกิ่ง ให้การต้อนรับ ท่านบรรยายและให้ความรู้ถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน จำนวนประชากร 1,400 ล้านคน สามเท่าของกลุ่มประเทศอาเซียน การค้าขายที่เกิดขึ้นในเมืองจีนถ้าเราสามารถจับตลาดจีน มีลูกค้าให้ความสนใจซัก ร้อยละ5 แสดงว่าเรามีลูกค้าชาวจีน 70 ล้านคนมากกว่าคนไทยทั้งประเทศ ดังนั้นตลาดจีนเป็นตลาดที่กว้างใหญ่มาก อยู่ที่เราจะสามารถเจาะตลาดให้คนจีนสนใจสินค้าผลิตภัณฑ์เราได้อย่างไร

ท่านทูตเล่าถึงการใช้ดาราในการPresent เมืองไทย สิ่งหนึ่งที่เป็นข้อสังเกตคือ ฝ่ายการเมืองหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องจึงใจและช่วยเหลือภาคธุรกิจอย่างจริงจัง เช่นเมื่อมีโรดโชว์ อย่าแค่พากันไปเที่ยวจัดบูทแต่ให้มันเสร็จๆ ไม่มีอะไรโดดเด่น

ตลาดเมืองจีนยังมีอะไรอีกเยอะ ขอให้สร้างแบรนด์สินค้าเราให้มีคุณภาพ น่าสนคุ้มค่า ก็จะสามารถสู้ตลาดได้

กำแพงเมืองจีน

กำแพงเมืองจีนสร้างเมื่อกว่า 2,500 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน จุดประสงค์ก็เพื่อป้องกันการรุกรานจากชนเผ่าทางตอนเหนือ โดยมีการก่อสร้างเพิ่มเติมโดยฮ่องเต้องค์ต่อมาอีกหลายพระองค์ จนสำเร็จในที่สุด กำแพงเมืองจีนถือเป็นงานก่อสร้างที่มหัศจรรย์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเท่าที่เคยมีมา

มีข้อเท็จจริงบางประการเกี่ยวกับกำแพงเมืองจีนดังนี้

1. เราไม่สามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนจากดวงจันทร์ ไม่มีสิ่งก่อสร้างที่สร้างโดยมนุษย์ แม้แต่อย่างเดียวที่สามารถมองเห็นจากดวงจันทร์ ในระดับ low earth orbit เราสามารถมองเห็นกำแพงเมืองจีนโดยใช้ radar การมองเห็นกำแพงเมืองจีนเป็นไปได้ยากเนื่องจาก สีของกำแพงเมืองจีนจะกลืนไปกับสีของธรรมชาติ ก็คือสีของดิน หิน

2. กำแพงเมืองจีนไม่ใช่กำแพงยาวตลอด ความจริงแล้วกำแพงเมืองจีน ถูกสร้างขึ้นในหลายยุคหลายสมัยกินเวลานับพันปี โดยเป็นการเชื่อมต่อกำแพงแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน จนเป็นแนวทอดยาวหลายพันกิโลเมตร

3. กำแพงเมืองจีนเป็นเสมือนสุสานของผู้ก่อสร้าง มีการบันทึกไว้ว่า นักโทษจากสงครามและทาสกว่า 1 ล้านคนถูกใช้เป็นแรงงงานเพื่อก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งจำนวนมากเสียชีวิตลงเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อย และความหิวโหย ซึ่งศพผู้เสียชีวิตก็จะถูกฝังอยู่ข้างใต้กำแพงนั่นเอง นานนับศตวรรษแล้ว ที่กำแพงเมืองจีนได้ชื่อว่าเป็นสุสานที่มีความยาวที่สุดในโลก เป็นที่กล่าวขานกันว่าทุกๆ หนึ่งฟุตของกำแพงเมืองจีนก็คือหนึ่งชีวิตของผู้ก่อสร้างกำแพง

4. ความยาวของกำแพงเมืองจีน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีใครทราบความยาวที่แท้จริงของกำแพงเมืองจีน ในภาษาจีน จะเรียกกำแพงเมืองจีนว่า "กำแพงยาวหมื่นลี้" (หนึ่งลี้มีความยาวประมาณ 1/3 ไมล์) โดยคร่าวๆ กำแพงเมืองจีนมีความยาวประมาณ 4 พันไมล์ หรือ 6,350 กิโลเมตร ทอดผ่านทุ่งหญ้า ทะเลทราย และเทือกเขาสูง ความสูงของกำแพงคือ 7 เมตร และกว้าง 5 เมตร

5. การก่อสร้างกำแพงเมืองจีน ช่วยป้องกันการรุกรานได้หรือไม่ การเข้าครองอำนาจของมองโกล และแมนจู ทั้งสองครั้งเกิดขึ้นจากความอ่อนแอ ของราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนในขณะนั้นๆ พวกเขาใช้โอกาสในขณะที่เกิดกบฏภายใน เข้ายึดครองประเทศจีน โดยมีการต่อต้านที่น้อยมาก

6. กำแพงเมืองจีนไม่ได้เป็นแค่กำแพง ทุกๆ 300 ถึง 500 หลา จะมีฐานบัญชาการเพื่อใช้สับเปลี่ยนเวรยามและใช้เป็นจุดสังเกตการณ์ มีหอสังเกตการณ์กว่า 1 หมื่นแห่ง

7. กำแพงเมืองจีนเป็นเส้นทางคมนาคม ในระยะแรก ประโยชน์ของกำแพงเมืองจีนก็คือ มันช่วยให้การคมนาคมและขนส่งในเส้นทางทุรกันดาร เช่นตามเทือกเขาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น

8. กำแพงเมืองจีนสร้างขึ้นโดยใช้อะไรเป็นส่วนประกอบ ก่อนที่จะมีการใช้อิฐในการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างขึ้น โดยใช้หิน ดิน และไม้ บางครั้งมีการแพ็คดินไว้ระหว่างไม้แผ่นใหญ่ และมัดไว้ด้วยกันโดยเสื่อทอ บริเวณใกล้กรุงปักกิ่ง กำแพงเมืองจีนถูกสร้างโดยใช้หินอ่อน ในบางสถานที่กำแพงถูกสร้างโดยใช้หินแกรนิต บางแห่งก็ใช้ดินเผา ทางตะวันตกของจีน กำแพงถูกสร้างโดยใช้โคลน ทำให้ชำรุดได้ง่ายกว่า กำแพงเมืองจีนที่เราเห็นกันทุกวันนี้ ส่วนใหญ่ถูกสร้างในราชวงศ์หมิง โดยใช้วัตถุที่ทนทานกว่าเช่นหิน

9. สภาพของกำแพงเมืองจีนในขณะนี้ รายงานผลการสำรวจของนักอนุรักษ์เมื่อปี 2004 กล่าวว่า ขณะนี้ กำแพงเมืองจีนที่ยาว 6,350 กิโลเมตร เหลือให้เห็นเพียง 1/3 เท่านั้น และกำลังสั้นลงเรื่อยๆ ปัญหาเกิดขึ้นเนื่องจากการขาดการดูแลและอนุรักษ์ โดยเฉพาะจากชาวไร่ชาวนาซึ่งอาศัยอยู่ใกล้กำแพงเมืองจีน ไม่สนใจประกาศของรัฐบาลที่กำหนดให้กำแพงเมืองจีนเป็นสมบัติของชาติ

แรงบันดาลใจจากการศึกษาดูงาน

Excellence

1 ความยิ่งใหญ่ในความพยายามก่อสร้างกำแพงเมืองจีนภายใต้เลือดเนื้อชีวิตผู้คนนับล้าน ถึงวันนี้เป็นทรัพยากรที่ล้ำค่าของโลก

2 ความยิ่งใหญ่ของพระราชวังต้องห้ามมีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน มี9,999ห้อง พื้นที่720,000ตรม. ศิลปหัตถกรรมและทุนทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่

Quality

1 ประชาชนส่วนใหญ่ที่พบไม่มีคนอ้วน แสดงให้เห็นถึงการบริโภคของประชาชนคนในประเทศ

2 การปรับภูมิทัศน์สวยงามริมถนนในเมืองเทียนสิน

3 คุณภาพของชาวจีนที่มีระเบียบเคารพในกฎระเบียบของบ้านเมือง มีความอดทน พยายาม

Standard

1 มาตรฐานและกฎเกณฑ์ด้านการก่อสร้างอาคาร ตึก ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันรูปทรง

2 ถนนกว้างขาวมีระบบมาตรฐานขอสนามบิน มีระบบการตรวจเข้มใช้เวลาน้อย

Benchmark

1 ความสามารถของไกด์และพนักงานขายในสถานที่ต่างด้านภาษาไทย มีขั้นตอนและดำเนินการอย่างเป็นระบบ น่าสนใจ

2 ตลาดรัสเซียเป็นจุดแข็งที่ดึงดูดความสนใจของชาวจีนและชาวต่างประเทศ

Best-Practice

1 กายกรรม โรงน้ำชา สถานนวดเท้า บัวหิมะ สนามบินภูมิทัศน์ความสวยงามกลางเมืองกำแพงเมืองจีนจัตุรัสเทียนอันเหมิน

2 เอกลักษณ์และอัตลักษณ์ด้านการปกครอง วัฒนธรรมและความเชื่อเป็นจุดแข็งของจีน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท