ยางพาราพันธุ์ RRIM 1200


พิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะดำเนินการปลูกยาง

ยางพารา  RRIM1200

  • ปัจจุบันยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักพืชหนึ่งของประเทศไทย 
  • ก่อนนี้ถ้าพูดถึงพืชเศรษฐกิจหลักข้าว  อ้อย  มัน  ถั่ว
  • อนาคตต้องจับตามองปาล์มน้ำมันและไม้ผลบางชนิด

พันธุ์ยางพารา

การเลือกพันธุ์ยางจัดว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากต่อการปลูกสร้างสวนยางโดยเฉพาะท้องที่ไม่เคยปลูกสร้างสวนยางมาก่อน ยางเป็นพืชยืนต้นที่ให้ผลผลิตเป็นเวลานานประมาณ 25-30 ปี จำเป็นต้องพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนที่จะดำเนินการปลูกยาง

  •       พันธุ์ที่ทางราชการ(สถาบันยางฯ)         ให้คำแนะนำยางพาราชั้น 1 สถาบันวิจัยยาง251 สงขลา36  BPM24 PB255 PB260  PR255 RRIC110  และ RRIM600  แนะนำให้ปลูกโดยไม่จำกัดเนื้อที่ปลูก พันธุ์ยางในชั้นนี้ ได้ผ่านการทดลองและศึกษาลักษณะต่างๆ อย่างละเอียด
    พันธุ์ยางพาราชั้น 2  สถาบันวิจัยยาง226   สถาบันวิจัยยาง250 BPM1  PB235  RRIC100   และ RRIC101  แนะนำให้ปลูกโดยจำักัดเนื้อที่ปลูกๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางชั้นนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาลักษณะบางประการเพิ่มเติม
    พันธุ์ยางพาราชั้น 3   สถาบันวิจัยยาง163   สถาบันวิจัยยาง209 สถาบันวิจัยยาง214   สถาบันวิจัยยาง218   สถาบันวิจัยยาง225 Haiken-2 PR302  PR305 และ   RRIC121(ไม่แนะนำให้ปลูก) แนะนำให้ปลูกโดยจำกัดเนื้อที่ปลูกๆ ได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของเนื้อที่ปลูกยางที่ถือครอง แต่ละพันธุ์ควรปลูกไม่น้อยกว่า 7 ไร่ พันธุ์ยางชั้นนี้ส่วนใหญ่อยู่ในระหว่างการทดลองและต้องศึกษาลักษณะต่างๆ เพิ่มเติม
  • พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก  ให้คำแนะนำโดยการบอกต่อ บอกต่อและบอกต่อเป็นอย่างชั้น1ตลอดการลของเจ้าของสวนยางทางภาคใต้คือพันุ์ RRIM 1200

                 -ที่มา การขยายพันธุ์ยางพารานิยมการติดตาจากต้นตอ(stock)พื้นเมือง หรือPB 5/51 , GT 1 , PB 620 เพราะมีรากแก้วและต้นที่แข็งแร

                  - กำเนิด RRIM 1200  แปลงกล้ายางหรือเกษตรกรที่ปลูกยางพาราดดยการติดตาในแปลงหาต้นตอที่เป็นพันธุ์พื้นเมือง หรือPB 5/51 , GT 1 , PB 620 ไม่ได้จำต้องเก็บเมล็ด RRIM 600  ต้นตอ(stock)แล้วติดตาด้วย RRIM 600  ต้นตอ  600  ตา 600 กลายเป็นRRIM 1200 

                ผลที่เกิดขึ้นขณะนี้ในบางพื้นที่มีการระบาดของโรคเกี่ยวกับระบบรากยางพาราขั้นรุนแรง(ท้องที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร)จะเกี่ยวกับเพราะเษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ RRIM 1200  หรือไม่ยังไม่มีการศึกษา ฝากผู้รู้ในแวดวงเกษตรกรและยางพาราหากมีข้อมูลกรุณาให้คำแนะด้วยจะเป็นพระคุณยิ่ง ถ้าพันธุ์RRIM 1200  มีปัญหาจริงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจในการอนุญาตจดทะเบียนเพาะพันธุ์ยางด้วย
     

คำสำคัญ (Tags): #km#เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 46546เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • ทำไม พันธุ์ที่ทางราชการ (สถาบันยางฯ) ให้คำแนะนำว่าเป็น ยางพาราชั้น 1, ชั้น 2 และชั้น 3 จึงไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายจากเกษตรกรผู้ปลูก ?
  • ทำไม พันธุ์ RRIM 1200 จึงได้ชื่อว่า เป็น "พันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูก ให้คำแนะนำโดยการบอกต่อ...บอกต่อและบอกต่อ ว่าเป็นยางชั้น1ตลอดกาลของเจ้าของสวนยางทางภาคใต้" ?
  • นี่คือตัวอย่างประการหนึ่งของสิ่งที่เราเคยวิเคราะห์ร่วมกันในการฝึกปฏิบัติการ KM ที่วิทยาลัยสารพัดช่าง เมื่อวันที่ 15-16 มิถุนายน 2549 เป็นประเด็นที่อยู่ในกลุ่ม C2 : การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตามรูปแบบที่เป็นอยู่ทำให้เกษตรกรรู้และเข้าใจในเทคโนโลยีที่เหมาะสมซึ่งควรจะนำมาประยุกต์ใช้ในสวนเกษตรของตนเองมากน้อยเพียงใด ?
  • และประเด็นที่พี่วิเวกหยิบยกขึ้นมาว่าทั้ง
    - การระบาดของโรคเกี่ยวกับระบบรากยางพาราขั้นรุนแรง (ท้องที่ อ.ละแม จ.ชุมพร)จะเกี่ยวกับเพราะเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกพันธุ์ RRIM 1200  หรือไม่ยังไม่มีการศึกษา
    -
    ถ้าพันธุ์ RRIM 1200 มีปัญหาจริงฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีอำนาจในการอนุญาตจดทะเบียนเพาะพันธุ์ยางด้วย
    ทั้ง 2 ประเด็น เกี่ยวข้องกับเรื่องของ A : มาตรฐาน/ตัวชี้วัด และ B : เทคโนโลยีที่เหมาะสม
  • ทั้งหมดนี้เป็น คำถาม ที่ควรหยิบยกขึ้นมา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อแสวงหาความจริงอันจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตร
  • ข้อมูลบางอย่างจะแสวงหามาพิสูจน์ความจริงต้องใช้เวลาทำงานวิจัยโดยหน่วยงานที่มีความชำนาญ ตัวอย่างที่ผมเห็นจาก Blog นี้ ได้แก่
    - การเปิดรับ (Perception) ข้อมูลข่าวสารของเกษตรกรในการตัดสินใจเลือกปลูกยางพันธุ์ RRIM 1200
    - ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดโรคเกี่ยวกัยระบบรากยาง
    เป็น "หนังชีวิต" ที่ต้องใช้เวลาในการรับชมและ Built อารมณ์
  • แต่ในการทำงานของพวกเรา ซึ่งมุ่งมั่นใช้กระบวนการ KM เป็นแนวทางหลักในการแสวงหาความรู้เพื่อแก้ปัญหา พัฒนางาน, บุคลากร และพัฒนาองค์กร เราเลือกใช้วิธี Capture ความรู้จากหน่วยงานอื่น ๆ ที่มีความชำนาญโดยเชื้อเชิญให้นำเรื่องเล่ามาขายในตลาดนัดความรู้ KM เกษตรชุมพร ของเรา ให้เราได้ใช้ทักษะ คว้า และ ควัก เพื่อยกระดับความรู้ทั้งผู้ให้และผู้รับ เป็นวิธีการที่เร็วกว่า นำมาใช้ได้ทันที
  • วิธีการนี้ในโมเดลของการจัดการความรู้ SECI-Model เราเรียกว่า Externalization ครับ.

ี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท