ความหมายของคำว่า "ครู"


ความหมายของคำว่า "ครู"

ความหมายของคำว่า “ครู”

เมื่อเช้าของวันนี้ วันที่ 17 ตุลาคม 2554 ผู้เขียนได้เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีการอบรม เรื่อง “การพัฒนาข้อสอบประกอบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ของนักศึกษากลุ่มใหญ่” ที่ห้องประชุม ท.209 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ชิตพงษ์ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้ให้ความหมายของคำว่า “ครู” ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างจากสมัยก่อนโดยสมัยปัจจุบันเป็นสมัยของกระแสโลกโลกาภิวัตน์ นั้น ความหมายของคำว่า “ครู” มีดังนี้

ครู ในสมัยก่อนคนส่วนใหญ่จะให้หมายถึง “การเป็นแม่พิมพ์ของชาติ” โดยครูทำหน้าที่ในการสอนหนังสือ ขอเน้นคำว่า “สอนหนังสือ” ซึ่งไม่ใช่สอนคน สำหรับการเป็นแม่พิมพ์ ก็หมายถึง คนสอนเป็นอย่างไรก็ต้องการให้ลูกศิษย์เป็นเช่นนั้น เป็นแบบพิมพ์เดียวกันหรือเรียกว่า "copy" กันมา ซึ่งมิได้เกิดการพัฒนาในตัวคน

แต่ คำว่า “ครู” ในสมัยยุคปัจจุบันซึ่งเป็นสมัยของกระแสโลกโลภาภิวัตน์ นั้น คำว่า “ครู” จึงหมายถึง คนที่ทำหน้าที่ในการพัฒนาลูกศิษย์ให้ดีขึ้นมากกว่าคนที่เป็นครู ขอเน้นย้ำคำว่า “พัฒนา” ผู้เขียนมีความเห็นตรงกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ชิตพงษ์ เกี่ยวกับเรื่อง “การพัฒนา” ซึ่งมีความหมายตรงกับความต้องการของภาครัฐในปัจจุบันที่ต้องการให้ส่วนราชการแต่ละส่วนราชการเกิดการพัฒนาคนในองค์กร โดยส่วนราชการทุกส่วนต้องกระตุ้นให้เกิด “การพัฒนา” ในแต่ละบุคคล เพราะที่แล้ว ๆ มา ส่วนราชการ ขอใช้คำว่า “ไม่ค่อยให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาคนสักเท่าไร" เพราะถ้ามีการพัฒนากันจริง ๆ สภาพของการเกษียณก่อนกำหนดคงไม่เกิดขึ้นมากเช่นนี้...(เพราะคนที่มีการพัฒนาอยู่เสมอจะมีภูมิคุ้มกันที่สามารถทำงานให้กับส่วนราชการได้ต่อไปอีก...ไม่เกิดอาการท้อแท้ เบื่อหน่าย เกิดการสนุนกับงานและเกิดอาการกระตุ้นที่อยากจะทำงานอยู่ตลอดเวลา...เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันในเรื่องต่าง ๆ หลาย ๆ ด้าน เนื่องจากตนเองมีความรู้ รู้เท่าทันเหตุการณ์ต่าง ๆ รอบข้าง ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ฯลฯ)...ซึ่งการพัฒนานั้น เป็นไปได้หลายรูปแบบ เช่น การเข้ารับการอบรม การศึกษาต่อ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การทำในสิ่งที่ดีขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น สมัยก่อนไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในระบบการทำงาน แต่ต่อมาในปัจจุบันคนในองค์กรได้พัฒนาตนเอง ได้ศึกษาหาความรู้จนสามารถพัฒนาตนเองให้เกิดองค์ความรู้ขึ้นในตนเองและปัจจุบันก็สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างผู้ชำนาญ นี่คือ “การพัฒนา” ซึ่งจะเป็นการพัฒนาตนเองก่อน ต่อเมื่อตนเองได้รับความรู้แล้ว ก็จะสามารถนำความรู้ที่สะสมเป็นองค์ความรู้ในตัวนั้น นำไปพัฒนางานในหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบอยู่ให้ดีขึ้น

ครูในสมัยปัจจุบัน ไม่ต้องกลัวว่า ลูกศิษย์จะเก่งกว่าอาจารย์ เพราะความหมายของคำว่า “ครู” ในสมัยปัจจุบันนั้น ครูต้องมีหน้าที่ที่ต้องพัฒนาลูกศิษย์ให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถ้าลูกศิษย์เก่งขึ้นกว่าเดิม ก็หมายความว่า ครูได้ทำหน้าที่นั้นประสบผลสำเร็จตามหน้าที่แล้ว แต่ถ้าลูกศิษย์คนไหนยังแย่เหมือนเดิม นั่นหมายถึงว่า ลูกศิษย์คนนั้นมิได้รับการพัฒนา ย่อมหมายถึง ครูนั้นยังทำหน้าที่นั้นไม่ประสบผลสำเร็จตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้เท่าที่ควร อย่าลืมว่า!!!...มนุษย์เรามีต้นทุนมาไม่เหมือนกัน เช่น ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ความอบอุ่น การคิดเห็น พฤติกรรมที่แสดงออก ฯลฯ เรียกว่า “พื้นฐานเบื้องต้นของความเป็นมนุษย์” โดยแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งนั่นหมายถึง ต้นทุนเดิม แล้วทำอย่างไร ไม่ว่าครู หรือส่วนราชการจะทำให้คน ๆ นั้น ใช้ความรู้เดิมนั้น ไปในด้านการพัฒนาตน พัฒนางานให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติได้มากที่สุด โดยมีเรื่องศีลธรรม จริยธรรม ความสำนึกชั่ว – ดี ความรับผิดชอบเข้ามาเป็นองค์ประกอบของการมี Competency ในตัวและสามารถวัดออกมาเป็นพฤติกรรมที่ดีได้...โดยครูหรือส่วนราชการนั้นก็ควรเพิ่มเติมความรู้ใหม่ ๆ ที่คน ๆ นั้นต้องการได้รับเข้าไปอีก...นี่คือ..."กระบวนการของการพัฒนา"...

ผู้เขียนจำความได้ เมื่อสมัยเด็ก ๆ ประมาณชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผู้เขียนได้เรียนหนังสือแล้วก็ทราบมาว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา แต่ต่อมาไม่กี่ปีก็ได้ยินว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อาจเนื่องมาจากการยกระดับตัวเองกระมัง...ซึ่งคำ ๆ นี้ ในปัจจุบันก็เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ...เวลาก็ผ่านไปหลายปีอยู่ แต่ทำไมประเทศไทยไม่เปลี่ยนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว...ทำไมยังเป็นประเทศที่กำลังพัฒนาอยู่...(ในเมื่อมีอดีต...ปัจจุบันแล้ว...ทำไมยังไม่ถึงอนาคตสักทีซึ่งก็นานมากแล้ว หรือต้องใช้คำว่า “กำลังพัฒนา” ไปตลอดกาล)...ก็น่าแปลกดีเหมือนกัน...ทำไมคำว่า “กำลังพัฒนามันยาวนานจัง”...ซึ่งทุกคนหรือทุกภาคส่วนราชการก็ต้องมานั่งคิดกันแล้วว่า ที่ทุกคนได้กินเงินเดือน ได้รับเงินประจำตำแหน่ง + เงินค่าตอบแทนประจำตำแหน่งหรือได้รับเงินวิทยะฐานะนั้นคุ้ม (คุ้มทุน) หรือไม่กับการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ทำอยู่ หรือจะปล่อยให้เวลาผ่านไปวัน ๆ...จนสิ้นชีวิตลงกระนั้นหรือ...ขอฝากให้เป็นข้อคิดสำหรับคนที่ทำหน้าที่ที่เรียกว่า “มนุษย์เงินเดือน”... ทุกคน

หมายเลขบันทึก: 465155เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2011 00:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2016 14:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาเป็นกำลังใจให้ครูนะครับ

  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ ท่าน ผศ.โสภณ Ico48
  • และขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ คุณอุดมพันธ์...Ico24

เรียนอาจารย์บุษยมาศ

ครู คือผู้ยกระดับคนให้เป็นมนุษย์ครับ

จากคนไม่เก่ง ให้เก่ง

จากคนเก่ง ให้เก่งยิ่งขึ้น

คำว่าครูจึงดูมีความสำคัญมากครับ

  • ค่ะ ท่าน ผอ.พรชัย...Ico48
  • และต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยนะคะ แต่ต้องไม่ใช่มนุษย์ที่ชื่อ "สมบูรณ์"...55555555...
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ และขอขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ...

สวัสดีค่ะ

  • อ่านบันทึกแล้วเข้าใจความหมายของคำว่าครูมากขึ้น
  • ครูส่วนใหญ่ก็พัฒนาตนเองให้ทันต่อยุคปัจจุบัน ทันต่อสื่อ เครื่องมือ และเทคโนโลยีสมัยใหม่อยู่แล้ว ซึ่งเป็นการปรับตัวอย่างหนึ่งของคน ที่ไม่ต้องการให้ตัวเองตกยุคและถูกหลงลืมไปอย่างคนไร้ค่า
  • ในขณะเดียวกันต้องปกป้องไม่ให้ศิษย์ของตนเองใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิด ให้รู้จักใช้ในทางที่ถูกที่ควร  เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กหลงผิด...ก่อนจะได้รับการพัฒนา
  • หน้าที่ของครูจึงยิ่งใหญ่และเพิ่มมากขึ้นทุกวันแต่เป็นอาชีพที่เราเลือกและศรัทธาจึงไม่เหนื่อยเลย
  • ขอบคุณที่เป็นกำลังใจให้ครูค่ะ

สวัสดีค่ะ krusorn Ico48

  • ค่ะ ก็การเป็นครูต้องมีจิตสาธารณะไงค่ะ
  • ปัจจุบันครูมีหน้าที่ในการพัฒนาคนให้เป็นคนที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นค่ะ
  • ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม + ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจด้วยค่ะ...
  • ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจค่ะ ท่าน ผอ.บวร Ico24

ผมอยากรู้ว่ากว่าจะเป็นครูต้องเรียนอะไรบ้าง


ตอบ คุณทัตพวศ์

ความรู้ของครูควรมีเกี่ยวกับเรื่องหลักสูตรและการสอน วัดผลและประเมินผล จิตวิทยา เทคโนโลยีทางการศึกษาและความเป็นครู ฯลฯ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท