เรามั่นใจในประสิทธิภาพและคุณภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราสร้างขึ้นอย่างไร


ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ควรมีลักษณะการนำเสนอเป็นตอน ตอนสั้นๆ ที่เรียกว่า เฟรม หรือ กรอบ เรียงลำดับไปเรื่อยๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถศึกษาได้ด้วยตนเอง (Self Learning) และควรจัดทำปุ่มควบคุม หรือรายการควบคุมการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น มีส่วนที่เป็นบททบทวน หรือแบบฝึกปฏิบัติ แบบทดสอบ หลังจากที่มีการนำเสนอไปแต่ละตอน หรือแต่ละช่วง ควรตั้งคำถาม เพื่อเป็นการทบทวน หรือเพื่อตรวจสอบความเข้าใจ ในเนื้อหาใหม่ที่นำเสนอแก่ผู้เรียน สำหรับการตอบสนองต่อการตอบคำถาม ควรใช้เสียง หรือคำบรรยาย หรือภาพกราฟิก เพื่อสร้างแรงจูงใจ ความมั่นใจในการเรียนรู้ โดยเฉพาะเนื้อหาสำหรับเด็กเล็ก นอกจากนี้ควรมีส่วนที่เสริมความเข้าใจ ในกรณีที่ผู้เรียนตอบคำถามผิด ไม่ควรข้ามเนื้อหา โดยไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่องเวลาในการเรียน ควรให้อิสระต่อผู้เรียน ไม่ควรจำกัดเวลา เพื่อเปิดโอกาสให้เรียนตามความต้องการของผู้เรียนเอง เนื้อหาบทเรียนควรมีทางเลือกหลากหลาย เช่น ถ้าผู้เรียนรับรู้ได้เร็ว ก็สามารถข้ามเนื้อหาบางช่วงได้ เป็นต้น

ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จึงหมายถึง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สามารถ นำไปใช้ในกการสอนแล้ว ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างสมบูรณ์  และผู้เรียนมีความพึงพอใจ      
         การหาประสิทธิภาพ  ก็หมายถึงการหาคุณภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนตามเกณฑ์ที่กำหนด     โดยไปวัดจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง เมื่อได้เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจบบทเรียนแล้ว  เช่น  จะใช้เกณฑ์  80/80 โดย
         80 ตัวแรก คือ ค่าคะแนนเฉลี่ยของจำนวนคำตอบที่กลุ่มตัวอย่างตอบถูกต้อง จากการทำแบบฝึกหัดคิดเป็นร้อยละ 80
         80 ตัวหลัง คือ ค่าคะแนนเฉลี่ยของจำนวนคำตอบที่กลุ่มตัวอย่างตอบถูกต้อง จากการทำแบบฝึกหัดคิดเป็นร้อยละ 80
         แบบฝึกหัด หมายถึง ข้อสอบที่ให้กลุ่มตัวอย่างทำหลังจากเรียนจบ ในแต่ละบทเรียนเพื่อประเมินผลความก้าวหน้าทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่าง
         แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ข้อสอบที่ให้นักศึกษาทำภายหลังจากเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจบแล้ว

การสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้มีความน่าสนใจและตรงตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้ผลิตควรพิจารณาถึงขั้นตอน

 และวิธีการสร้าง เพื่อสะดวกในการวางแผน การทำงาน และการตรวจสอบ มีขั้นตอนดังนี้

      1. ศึกษาหลักสูตรและผู้เรียนเป้าหมาย   เพื่อที่จะได้ทราบรายละเอียดของเนื้อหาวิชา พื้นความรู้และความพร้อม

            ของผู้เรียน เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนและประกอบการสร้างบทเรียน

      2. กำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม  หรือสิ่งที่คาดหวังของหลักสูตร เพื่อเป็นกำหนดรูปแบบและ

            ลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาและกิจกรรม

      3. วิเคราะห์เนื้อหา  จัดทำแผนภูมิข่ายงานให้มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน แสดงลำดับก่อน หลัง ของหัวเรื่องต่าง ๆ

            อย่างสมบูรณ์

      4. จัดแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนย่อย ๆ

      5. สร้างข้อความในแต่ละกรอบเนื้อหาวิชาที่กำหนดไว้

             ข้อความของกรอบควรสัมพันธ์กับเนื้อหาและหน้าที่ของแต่ละกรอบ ซึ่งจะประกอบด้วยกรอบต่าง ๆ 4 กรอบ ดังนี้

             5.1 กรอบหลัก (Set frame) เป็นกรอบที่จะให้ข้อมูล โดยที่ผู้เรียนสามารถจะเรียนรู้ในเรื่องที่ไม่เคยเรียนมาก่อน

            5.2 กรอบฝึกหัด (Practice frame )    เป็นกรอบที่จะให้ผู้เรียนได้ฝึกหัดข้อมูลที่ได้จากกรอบหลัก

            5.3 กรอบรองส่งท้าย (Sub-terminal frame )  เป็นกรอบที่เขียนเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิด หรือตอบผิดต่าง ๆ

                    ซึ่งอาจข้ามกรอบนี้ไป ถ้าผู้เรียนตอบถูก

            5.4 กรอบส่งท้าย (Terminal frame ) เป็นกรอบทดสอบโดยผู้เรียนจะนำความรู้ในกรอบหลักมาตอบ

      6. เข้ารหัสตามโปรแกรมที่ตั้งไว้     ซึ่งต้องแปลงรหัสตามโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับโปรแกรมที่ใช้

      7. ป้อนบทเรียนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์   ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลา และทักษะทางคอมพิวเตอร์ พอสมควรในการสร้างบทเรียน        

       8. ตรวจสอบความเรียบร้อยของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาตามแผนที่กำหนดไว้ 

             และความเรียบร้อยว่ามีความบกพร่องหรือมีปัญหาอย่างไรบ้างให้แก้ไขให้ถูกต้อง

       9. ทำการทดลองใช้กับผู้เรียนเพื่อหาข้อบกพร่องเพื่อแก้ไข   ก่อนนำไปใช้จริงลองหากลุ่มตัวอย่างมาทดลองใช้

              ดูแล้ว ลองสังเกต สอบถาม หรือสัมภาษณ์ดูว่าเขามีปฏิกริยาอย่างไร  แล้วปรับปรุงแก้ไข  เช่น สังเกตว่าผู้เรียน

              เกิดอาการเบื่อ  เครียด  ไม่เข้าใจ หรือตอบคำถามในบทเรียนผิดบ่อยครั้งแสดงว่าต้องปรับปรุง  การเลือกกลุ่มตัวอย่าง

              ควร หาทั้งคนที่เก่ง ปานกลาง และอ่อน  เพื่อจะได้หาข้อบกพร่องของแต่ละกลุ่ม

      10. นำไปใช้จริงเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน   เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วควรนำไปใช้จริงเพื่อหาประสิทธิภาพ

               โดยศึกษาวิธีหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในบทต่อไป

       11. ติดตามผล เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขต่อไป

หมายเลขบันทึก: 46488เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ดีครับ แต่จะดีกว่านี้หากเรียบเรียงความคิดมาจากความเข้าใจของตนเอง
สงสัยคำอธิบายเกี่ยวกับ 80 ตัวแรก และ 80 ตัวหลัง เพราะว่าเขียนมาเหมือนกันเลย  จึงไม่เข้าใจว่าต่างกันอย่างไร่
80 ตัวหลังน่าจะแก้เป็นมาจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท