แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานทันตฯ ในผู้สูงอายุ (3) รวมกลุ่มผู้สูงอายุจัดกิจกรรม (ตอนที่ 1 ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี)


งานผู้สูงอายุตั้งใจที่จะให้ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ และทำงานในลักษณะบูรณาการกับงานด้านอื่นๆ

 

ในการประชุมครั้งนี้ เป็นการรวมตัวของผู้ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุ ในรูปแบบต่างๆ นะคะ ดังนั้นในการนำเสนอตอนต่อไปนี้ ท่านผู้ติดตามเรื่องราว อาจได้เห็นภาพกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ กันไป คงถือว่า เป็นหลากหลายรูปแบบของกิจกรรมที่ ต่างก็ต้องการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมทั้ง ในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง ผู้ใกล้ชิด และบุคคลที่ที่เกี่ยวข้องละค่ะ กิจกรรมที่เกิดนั้น ไม่ได้จำกัดในวงสุขภาพช่องปากเท่านั้น แต่จะเปิดให้เข้าไปมีส่วนร่วมกับทุกกิจกรรมที่ทำอยู่ในบริบทของพื้นที่ละคะ

ที่ศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี เป็นหน่วยงานของกรมอนามัยเอง ที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมสุขภาพช่องปากให้กับผู้สูงอายุในครั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้เข้าไปมีส่วนผลักดันให้เกิดกิจกรรมในลักษณะของ การนำผู้สูงอายุจากต่างชมรมมารวมตัวกัน ที่ทำแนวรุกลงไปในครั้งนี้ คือ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี

ลองฟัง คุณหมอดลฤดี แก้วสวาท (หมอยุ้ย) เล่าให้ฟังนะคะ

ที่ศูนย์อนามัยที่ 4 เราเริ่มแรกด้วยการวิ่งไปจีบงานผู้สูงอายุ ของศูนย์ฯ ก่อนเลยค่ะ เพราะโดยปกติเราก็ยุ่งแต่วัยรุ่น และวัยเรียน ไม่ค่อยได้ยุ่งกับผู้สูงอายุเลย อย่างเก่งก็ไปคุยกับ คุณป้าขา คุณปู่ขา อะไรทำนองนี้

และศูนย์ฯ 4 ก็เป็นศูนย์ที่มีความตั้งใจจะพัฒนางานผู้สูงอายุอยู่แล้วด้วย เพราะว่าเราเคยทำในเรื่องประธานผู้สูงอายุ และคลังปัญญาจังหวัดราชบุรี ก็เลยไปชวนพี่เขามาทำเรื่อง งานทันตสาธารณสุขในชมรมผู้สูงอายุกันไหม พี่ก็ว่าดีเหมือนกัน และก็คุยกันในแนวคิด โดยคุยร่วมกับกองทันตสาธารณสุขด้วย เพราะว่าทางงานผู้สูงอายุตั้งใจที่จะให้ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ และทำงานในลักษณะบูรณาการกับงานด้านอื่นๆ ซึ่งเขาก็มีในชมรมผู้สูงอายุอยู่แล้ว เมื่อเห็นตรงกัน เราก็เริ่มทำ

เราจึงไปทำเรื่องแผนทางทันตฯ โดย ให้เขาลองคิดเองว่า เขาจะวางแผนจัดกิจกรรมยังไง workshop ของเขต 4 เป็นการจัดที่สุพรรณบุรี 1 ครั้ง ราชบุรี 1 ครั้ง และเพชรบุรี 1 ครั้ง มีกระบวนการคล้ายๆ กัน ก็คือ

  1. กลุ่มผู้เข้าร่วมการประชุม เป็นผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรม 4 ชมรม (ชมรมละ 10 คน) และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กับทันตบุคลากรจากโรงพยาบาลชุมชน 2 แห่งต่อจังหวัด (ที่สุพรรณบุรี คือ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช ที่เดียว เป็น รพ.ศูนย์ฯ ระดับจังหวัด)
  2. เริ่มด้วยจัดสันทนาการเล็กน้อยเพื่อให้ได้รู้จักกัน ข้ามชมรม เพราะบางทีผู้สูงอายุไม่ได้เจอกันข้ามชมรม
  3. จัดบรรยากาศสนุกสนาน เทียบอายุให้ใกล้เคียงกัน ก็เรียกเป็นคุณพี่
  4. หลังจากทำกลุ่มก็โดนบ่นเล็กน้อย เพราะถูกต่อว่าว่า หลอกให้คิดกันหัวปักหัวปำ ใน 3 ข้อ ก็คือ (1) ปัจจุบัน ท่านดูแลความสะอาดช่องปากของตนเองอย่างไร (2) สุขภาพฟันดีเป็นอย่างไร (3) สุขภาพฟันเกี่ยวข้องกับสุขภาพกายอย่างไร (4) สุขภาพฟันเกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตอย่างไร และคำถามสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงไปให้มีกิจกรรมก็คือ (5) จะทำอย่างไรให้เพื่อนสมาชิกมีฟันดี ... แต่ก็พบว่า คุณพี่ทั้งหลายคิดกันได้นะคะ และก็เยอะแยะมากมายด้วย

 

หมอยุ้ยเล่าให้ฟังว่า ผู้ที่อายุมากๆ เขาก็จะมีอะไรแปลกๆ มาเล่าสู่กันฟัง และเป็นเรื่องความคิดของเขาในเรื่องของสุขภาพช่องปากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างไร ต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุอย่างไร ซึ่งก็เป็นประสบการณ์ของตนเอง และสรุปสุดท้ายที่ว่า "ก็ติดอกใจกันทั้ง 2 ฝ่าย ละค่ะ โดยที่เราก็จะติดใจผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุก็จะติดใจเรา งานผู้สูงอายุก็จะติดใจงานทันตฯ เพราะฉะนั้น งานทันตฯ ก็จะต้องไปช่วยงานผู้สูงอายุทำด้วย ก็รู้สึกว่า กิจกรรมที่ทำไปนี้ก็ทำให้สนิทสนมกันมากขึ้นค่ะ"

รวมเรื่อง แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานทันตฯ ในผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1

 

หมายเลขบันทึก: 46483เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท