เราจะมั่นใจในประสิทธิภาพและคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เราสร้างขึ้นได้อย่างไร


ประสิทธิภาพ คุณภาพ CAI
ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ประกอบด้วย
  • ขั้นการทดลองหาประสิทธิภาพ
  • ขั้นการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง
  • ขั้นประเมินผลและปรับปรุงแก้ไข

    การหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หมายถึง การนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปทดลองใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อนำข้อมูลมา   ปรับปรุงแล้วจึงนำไปใช้จริง  ทั้งนี้เหตุที่ต้องหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์     ช่วยสอนเพราะ

1     เพื่อให้มีความมั่นใจว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นมีคุณภาพ

2   เพื่อให้มีความแน่ใจว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้น สามารถทำให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างแท้จริง

3     การทดสอบประสิทธิภาพจะเป็นหลักประกันในการสำเนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวนมาก

หมายเลขบันทึก: 46460เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2006 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 11:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ioc ดัชนีความสอดคล้อง

ทดลอง

80 : 80

ทดลองกลุ่ม 1 : 1

เกณฑ์มาตรฐาน

เกณฑ์การวัดประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2520) กล่าวว่า  ระดับประสิทธิภาพของชุดการสอนที่จะช่วย ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เป็นระดับที่ผู้ผลิตชุดการสอนจะพึงพอใจว่า หากชุดการสอนมี ประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว ชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียน และ  คุ้มค่าแก่การลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพกระทำได้  โดยการประเมินผลพฤติกรรมของ    ผู้เรียน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) และพฤติกรรมขั้นสุดท้าย      (ผลลัพธ์) โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E1 (ประสิทธิภาพของกระบวนการ)            E2  (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์)

1.   การประเมินพฤติกรรมต่อเนื่อง (Transitional Behavior) คือประเมินผล ต่อเนื่องซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมย่อยหลายๆ พฤติกรรม เรียกว่า กระบวนการ” (Process) ของผู้เรียนที่สังเกตจากการประกอบกิจกรรมกลุ่ม (รายงานของกลุ่ม) และรายงานบุคคล ได้แก่งานที่มอบหมาย และกิจกรรมอื่นใดที่ผู้สอนกำหนดไว้

2.   การประเมินพฤติกรรมขั้นสุดท้าย (Terminal Behavior) คือ ประเมินผลลัพธ์ (Product) ของผู้เรียน  โดยพิจารณาจากการสอบหลังเรียน และการสอบไล่

ประสิทธิภาพของชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์  ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียน จะเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของผลเฉลี่ย           ของคะแนนการทำงานและการประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมดต่อเปอร์เซ็นต์     ของผลการสอบหลังเรียนของผู้เรียนทั้งหมด  นั่นคือ E1/E2 คือประสิทธิภาพของ กระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากชุดการสอนแล้ว  ผู้เรียนจะสามารถ  ทำแบบฝึกหัด หรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ผลเฉลี่ย 80%

การที่จะกำหนดเกณฑ์ E1/E2 ให้มีค่าเท่าใดนั้นให้ผู้สอนเป็นผู้พิจารณาตามความ พอใจโดยปกติเนื้อหาที่เป็นความรู้ความจำมักจะตั้งไว้ 80/80, 85/85 หรือ 90/90 ส่วนเนื้อหาที่เป็นทักษะหรือเจตนศึกษาอาจตั้งไว้ต่ำกว่านี้ เช่น 75/75 เป็นต้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท