การศึกษากับนวัตกรรม


นวัตกรรมทางด้านการศึกษานั้นเป็นสิ่งที่ช่วยให้สังคมไทยพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์กลุ่มสำนักพัฒนานวัตกรรม       ผมได้มีโอกาสจัดหลักสูตรการเรียนรู้ระยะสั้น 2 วัน โครงการพัฒนาบุคลากรเรื่องเทคนิคในการจัดการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรม ให้แก่คณะบุคลากรของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (25-26 สิงหาคม 2549) ซึ่งน่าสนใจที่หลังจากได้มีการแลกเป็นความคิดเห็นกันแล้วเห็นว่าที่นี่มีการวางแผนงานดี ๆ ให้กับแวดวงการศึกษาไทยอยู่มากทีเดียว นอกจากนั้นบรรยากาศในการเรียนรู้ก็ยังช่วยให้เกิดพลังความความคิดขึ้นมากมาย หน้าที่ของผมคือเป็นผู้ประสานความคิด และช่วยให้ความคิดต่าง ๆ นั้น มีรูปแบบและทิศทางที่มียุทธศาสตร์ร่วมกัน ผมก็เลยเปิด Blog นี้ให้ทุกท่านที่สนใจเรื่องการศึกษาและนวัตกรรมมาร่วม Share ideas กันที่นี่ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจมากครับ

                                                                จีระ  หงส์ลดารมภ์

 

หมายเลขบันทึก: 46431เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 23:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)
ในการอบรมพัฒนาบุคลากรครั้งนี้ ต้องการรับความรู้  ทฤษฎีการเรียนรู้ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการพัฒนาองค์กร เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับความรู้เก่าและงานในความรับผิดชอบ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้เกิดชิ้นงานในความรับผิดชอบ สอดคล้องกับความต้องการขององค์กร และการศึกษา            การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์กร เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีความรู้มาก่อน จึงสนใจและเป็นความสำคัญในการอบรมรูปแบบการอบรมมาก่อน จึงสนใจและเห็นความสำคัญในการแบรมรูปแบบการอบรมของวิทยากรไม่ทำให้ผู้เข้าอบรมเครียดและเชื่อมโยงกับการเรียนรู้ได้ดี ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น (ต้องใช้เวลาในการทบทวนคิดและเขียนมากกว่านี้ค่ะ)
รุจิเรข แสงจิตต์พันธุ์
 สิ่งที่ได้รับในวันนี้ (25 ส.ค. 49)ได้เรียนรู้การคิดเชิงนวัตกรรม ที่ต้องมีความรู้  ต้องมองกว้าง มองไกล ก็จะได้นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ และที่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพของบุคคลากร            ได้เรียนรู้เทคนิควิธีการพัฒนายกระดับของบุคคลากร ทั้งทฤษฎี 2 R’s  , 2 L’s และ ทฤษฎี 4 L’s
น.ส.สุปราณี สุขประมูล
ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ทฤษฎีต่างๆ ที่มีประโยชน์ เช่น ทฤษฎี 2 R’s  , 2 L’s , 8 K ,  4 L’s  และอื่นๆได้เรียนรู้แนวคิดของหลายๆคน  ทำให้รู้แนวทางต่างๆหลายอย่าง
การได้เข้าร่วมประชุมในโครงการพัฒนาบุคคลากร เรื่องเทคนิคในการจัดการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมในวันนี้ (25 ส.ค. 49) ได้เรียนรู้จากวิทยากร และผู้เข้าร่วมการประชุมในหลายเรื่อง ได้ทำกิจกรรมสำรวจตนเอง ได้พบข้อบกพร่องบางประการของตนเองที่ไม่ได้ตระหนักมาก่อน ซึ่งช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางบวกอย่างมาก ถ้าตั้งใจขจัดข้อบกพร่องนั้นๆไปได้ได้เป็นรูปแบบการให้ความรู้ในลักษณะการจัดการความรู้ให้ผู้ร่วมประชุมทุกคน  ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น วิสัยทัศน์ และประสบการณ์ ออกมาให้ผู้ร่วมประชุมได้เรียนรู้  และวิทยากรได้แทรกเสริมข้อความรู้ที่เตรียมมาในจังหวะที่เหมาะเจาะกับเรื่องราวที่ดึงออกมาจากผู้ร่วมประชุมแต่ละคน
ผอ.ศรีสมร พุ่มสะอาด
การประชุมสัมมนา เทคนิคในการจัดการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาของประเทศไทย  จำเป็นต้องสนองตอบต่อ ปวงชนชาวไทยทุกคนให้* อยู่ดี กินดี มีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข  บนพื้นฐาน ความต้องการของมนุษย์เป็นย่างน้อยจะให้เด็กเป็นอย่างไร คิดอะไร ทำอะไร อยู่ที่คน 3 ฝ่ายคือ พ่อแม่ ครู และสังคม (เพื่อนและมนุษย์ในสังคม)ดังนั้น การจัดการศึกษา ต้องค้นหาทุกวิธีที่จะผลิต และผลักดันให้เด็กไทย คนไทย ทุกฝ่ายดังกล่าว คิดได้ คิดเป็นวิเคราะห์ความถูกผิด ประยุกต์ เป็นความเป็นตัวตนของคน  ฝังลึกอย่างยั่งยืน ถ้าคุณเป็นนักการศึกษาคุณจะใช้นวัตกรรมอะไรสนับสนุนส่งเสริมให้เด็กไทย คนไทย ค้นพบตนเองและพัฒนาตนเองไปสู่เป้าหมายที่เราต้องการวันที่เราเห็นถนนสายใหม่แล้ว ผอ.ศรีสมร  พุ่มสะอาด

ผอ.สำนักพัฒนานวัตกรรมในการจัดการศึกษา สพฐ.

[email protected]การเรียนรู้วันแรกอาจารย์จีระ ได้ให้แนวคิดริเริ่มการพัฒนานวัตกรรมว่าการสร้างนวัตกรรมต้องมีความคิดสร้างสรรค์ความรู้ และประกายความคิดเป็นฐานนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ของการศึกษาคือ การพัฒนาระบบความคิดของนักเรียนพัฒนาให้นักเรียนหิวความรู้ และนวัตกรรมที่สำเร็จจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
นิจวดี เจริญเกียรติขจร
การเข้าร่วมอบรมวันนี้สิ่งที่ประทับใจคือวิทยากรเป็นกันเอง อบอุ่น เป็นการพูดคุย ปรึกษา เสนอแนะโดยผู้เข้ารับการอบรมมีส่วนร่วม ประโยชน์ที่ได้รับ1. ได้สำรวจตัวเอง รู้จักตัวเอง และเปิดใจกว้างรับฟังผู้อื่น 2. ได้รับความรู้ทางเทคนิค กระตุ้นให้เกืดการเปลี่ยนแปลง3. นวัตกรรมเป็นสิ่งใกล้ตัวที่ทุกคนสร้าง และพัฒนานวัตกรรมได้4. ไม่ยึดติดกรอบความคิดเดิม ได้รับแนวทางจากเพื่อนร่วมงาน วิทยากร ทำให้จุดประกายความคิดของเราได้5. การทำงานต้องมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ตั้งใจจริง ติดตาม ประเมินผล และพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่สำคัญต้องมีเป้าหมายชัดเจน ลูกค้าเราคือนักเรียน การะบวนการที่จะส่งต่อถึงลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญ6. วิธีการเรียนรู้เป็นการเรียนแบบมีส่วนร่วม และเกี่ยวข้องกับสถานการณ์จริงของสภาพการทำงานในส่วนที่รับผิดชอบ                                    นิจวดี  เจริญเกียรติขจร                                        [email protected]  
สันติสุข ภูมิสุทธินันท์
           จากบรรยากาศการได้รับความรู้ที่มิใช่เป็นการให้จากการบรรยาย อภิปราย กิจกรรม หรืออื่น ๆ  จากวิทยากรแต่เพียงด้านเดือยวกับการได้รับการเรียนรู้ร่วมกับองค์ความรู้จากโดยบุคลากรของสำนักฯ ได้ให้รายละเอียดของเนื้องาน หรือมุมมองจากคนในวงการการศึกษากับองค์กรภายใน/ภายนอก            ถือว่าวันนี้เกิดความคาดหวัง จากที่เดิมคือจะไม่มาร่วมในวันที่สองเนื่องจากมีงานอื่นที่จะต้องรับผิดชอบอีกที่หนึ่ง ต้องมาให้ได้เพราะโอกาสและสิ่งที่จะได้รับมันคุ้มค่า และช่วยเพิ่มมูลค่า            ผลสะท้อนจากภายนอก/ภายใน เกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันช่วงเช้า            1.      รู้เขารู้เรา2.      สะท้อนความรู้สึก 2 ด้าน ดีและไม่ดี3.      ปรับปรุง พัฒนาและมองโลกในแง่ดีช่วงบ่าย1.      คิดอย่างสร้างสรรค์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและมีประโยชน์2.      ทรัพยากรมนุษย์มีมูลค่าเพิ่ม3.      0pen Mind4.      การมีส่วนร่วมจากองค์กร ยึดความเป็นเลิศของแต่ละคน
            สิ่งที่ได้รับความรู้ในการพัฒนาบุคลากร1.      ได้รู้จักคนหลาย ๆ คนว่ามีความสามารถมากน้อยแค่ไหน2.      กระตุ้นความคิด ความสามารถทางปัญญาของตนเองให้มีความคิดสร้างสรรค์ให้มีความกว้าง ไกล3.      ทุก ๆ คนในองค์กรได้รับความรู้จากวิทยากรและเพื่อนร่วมงาน เชื่อว่าทุกคนต้องนำไปปรับปรุงตัวเองก่อนอื่น และนำไปเผยแพร่กับคนอื่น ๆ ภายนอก4.      ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี5.      ที่สำคัญที่สุดผู้บริหารไทยทุกองค์กรเห็นคนสำคัญที่สุด6.      ทุกคนที่มาอบรมเชื่อว่าอย่างน้อยต้องนำไปวิเคราะห์และคิอดที่ดี ทำในสิ่งที่ดี และต้องนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน ก่อนที่จะไปสู่การพัฒนาเด็ก ครู อาจารย์และสาธารณชน
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 3 C กับ 3 Q ที่ รามคำแหง
 สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
 เช้าวันนี้ ผมแสวงหาอาหารทางสมอง เช่นเคย ด้วยการค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97 อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง 3 C กับ 3 Q ที่รามคำแหง ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ
   ความขัดแย้งทางสังคม ในประเทศของเรามีมากขึ้นเรื่อยๆ คนไทยควรดูตัวอย่างของประเทศอิรักให้ดี เพราะมีการฆ่ากัน ขัดแย้งกัน ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด เกิดสงครามกลางเมืองได้ปัจจุบันคนไทยบริโภคสื่อแบบคิดไม่เป็น ผมจึงขอฝากประเด็นให้สังคมไทยคิด วิเคราะห์ให้ดี ว่าจะทำอะไรและมีผลเสียหายอะไร กรุณานึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่รักของเรา และพยายามอดกลั้นต่อเหตุการณ์ให้มากที่สุด เรื่องความขัดแย้ง กำลังมาแรง พอ ๆ กับ Innovation หรือว่าสองอย่างนี้จะสัมพันธ์กัน ที่ใดมี Innovation ที่นั่นอาจจะมีความขัดแย้ง  Innovation 1มีขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหา กับเพื่อการพัฒนา ทั้งการแก้ปัญหาและการพัฒนา ย่อมมีผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ หรือจะเข้าหลักการที่ว่า เมื่อตัดสินใจแก้ปัญหาใด ปัญหาหนึ่ง ปัญหาอื่นย่อมตามมา  ผมมีความเห็นว่า ใครก็ตามที่คิดเรื่อง Innovation เพื่อการแก้ไขปัญหาหรือเพื่อการพัฒนาก็ตาม ควรนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหาร Innovation คือคิดไว้ล่วงหน้าว่า ถ้าหากเกิดปัญหา จะมีแผนสอง สาม สี่ รองรับอย่างไร ให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด  
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอยู่ขณะนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ท่านนายกฯทักษิณ นำ Innovation ทางการบริหารกิจการบ้านเมือง การบริหารระบบราชการมาใช้  กลุ่มที่มีผลกระทบย่อมมีการเคลื่อนไหว   ผมขอฝากข้อคิดให้กับผู้ที่มีความหวังดีกับประเทศชาติ ทั้งภาครัฐและเอกชน ท่านที่กำลังคิดค้นหา Innovation มาช่วยเหลือสังคมประเทศชาติ ว่า Innovation ที่ท่านคิดค้นได้และจะนำไปสู่การปฏิบัติ ย่อมเท่ากับท่านกำลังแก้ปัญหาหรือกำลังพัฒนาอยู่ ท่านกำลังต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแก่สังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวย่อมจะเกิดผลกระทบทั้งทางดีและไม่ดี ขึ้นได้  การพัฒนาคือการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลง คือการเจ็บปวด ถ้าท่านอาสาเข้ามาเป็นผู้นำ ผู้เปลี่ยนแปลง ต้องพร้อมรับความเจ็บปวด ไว้ให้ดีและเตรียมมาตรการป้องกันเอาไว้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ความเจ็บปวดเกิดขึ้น การพัฒนาจะเกิดขึ้นตามมา  เปรียบเสมือน คนที่ไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนเลย แล้วอยากจะออกกำลังกาย และวันแรกที่ออกไปวิ่ง หรือยกน้ำหนัก ย่อมปวดเมื่อกล้ามเนื้อมาก และถ้าหยุดเพราะความเจ็บปวด การออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพแข็งแรง ก็จะไม่บรรลุผล  การนำ Innovation ไปใช้ก็เช่นกัน ผมส่งกำลังใจ มาให้ผู้ที่พยายามที่จะใช้ Innovation ในการช่วยเหลือสังคม ประเทศชาติ  
ในอดีต สังคมไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างมีสันติสุข ต้องเก็บความดีเหล่านี้ไว้ประโยคนี้ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ในอดีตสังคมไทยมีของดีหลายอย่าง และของดีหลายอย่างกำลังจะสูญสิ้นไป  ส่วนหนึ่งอาจจะมาจาก ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์  ซึ่งดูเหมือนว่าโลกหมุนเร็วขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม องค์ความรู้และเทคโนโลยีฯ มีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วมาก  เพื่อความอยู่รอดของทรัพยากรมนุษย์ มนุษย์บางกลุ่มจึงละเลย ของดีในประวัติศาสตร์ ของสังคม ประเทศชาติไป  ตรงนี้เตือนสติให้นักบริหาร นักจัดการการเปลี่ยนแปลง นักคิดค้น Innovation ทั้งหลาย ขอให้ตระหนักให้ดี  ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่เสีย นวัตกรรม ต้องไม่ทำให้เสียสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อทรัพยากรมนุษย์ ในอนาคต   
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมี 2 งานที่น่าสนใจ ฝากให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อ
เรื่องแรกคือ กลุ่มนวัตกรรมทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เชิญผมและคณะไปทำ workshop เรื่องนวัตกรรมทางการศึกษา 2 วันในวันศุกร์ที่ 25 และวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม ศึกษานิเทศก์กว่า 50 คน เข้าร่วมด้วย ได้หารือกันว่า จะจัดระบบการศึกษาเชิงนวัตกรรมให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้พัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร การที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุณาเชิญผมและทีมงานไปร่วมถือว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง ที่ท้าทายมาก  ผมต้องขอบคุณ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน แทนคนไทย ที่ท่านมีวิสัยทัศน์ ได้เชิญ ศ.ดร.จีระ และทีมมาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและทำ Workshop เรื่อง นวัตกรรมทางการศึกษา ศ.ดร.จีระ ท่านเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้สด มีความสามารถ และที่สำคัญท่านมีคุณธรรม มีความมุ่งมั่นความปรารถนาดีต่อสังคมประเทศชาติอย่างมาก ท่านคิด ท่านทำอะไร มุ่งเพื่อชาติบ้านเมืองเป็นหลัก ผมสังเกตได้จากการบรรยายของท่าน จะสอดแทรกเรื่องการแนวคิด คุณธรรม ในการพัฒนาประเทศ อยู่เสมอ  ท่านทำการ PR .ให้คนรักชาติมากขึ้น และมีแนวคิดใหม่ ๆ มีกำลังใจที่จะทำการใหญ่เพื่อชาติ บ้านเมือง  และที่สำคัญ แนวคิดของท่านจะให้ประเด็นโป๊ะเช๊ะ สั้น ๆ เป็นตัวอักษร เช่น ทฤษฎี 4L’s ก็ถือว่าเป็นนวตกรรมทางการเรียนการสอนได้  ทฤษฎี 8K’s เกี่ยวกับทุนที่จะใช้ในการบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในประเทศ ก็ถือว่าเป็น นวัตกรรมทางด้าน HR .ได้เป็นอย่างดีและผมดีใจ เป็นเกียรติอย่างมาก ที่ได้มีโอกาสไปร่วมแชร์ความรู้กับศึกษานิเทศก์ ผู้เข้าร่วมสัมมนา จาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แต่ละท่านมีความรู้ ความตั้งใจ และมี Innovation ทางการศึกษาที่น่าสนใจอยู่หลายท่าน  ประเทศไทยเราจึงมีความหวัง ที่จะได้ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้ ช่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ  แบบนี้ อยากให้ท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการหันมามอง และให้การสนับสนุน อย่างเต็มทีมากขึ้น เพราะประเทศชาติจะได้รับผลประโยชน์ในที่สุด  
 ผมมีโอกาสได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งจัดหลักสูตร MBA ที่เน้น Innovation เป็นกิจกรรมใหม่ของอาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการและอธิการบดี ศ.รังสรรค์ แสงสุข ทำร่วมกัน และอธิการบดี ศ.รังสรรค์ แสงสุข ทำร่วมกัน ผมถือว่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นตลาดวิชาที่น่าสนใจ และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม ผมกับนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง คุณประจวบ ไชยสาส์น ได้คุยกันถึงวิธีการที่จะเปลี่ยนบัณฑิตของรามคำแหงจาก Quantity ไปสู่ Quality” ผมต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ได้เปิดโอกาสให้ผมได้ไปร่วมแชร์ความรู้และประสบการณ์กับโครงการนี้  ผมสังเกตเห็นว่า นักศึกษา ในหลักสูตรนี้ เป็นผู้มีปัญญา มีความมุ่งมั่น หิวความรู้ ต้องการสร้าง นวัตกรรม เพื่อการพัฒนา การมีปฏิสัมพันธ์ในระหว่างเรียน ทำให้ผมเห็นว่า นักศึกษา ม.รามคำแหงฯ ในปัจจุบันนี้มีคุณภาพมากกว่าในอดีต  และที่สำคัญคือ หลักสูตร MBA ที่เน้น Innovation เป็นกิจกรรมใหม่ ก็เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นที่ ม.รามคำแหง ก็เป็นเรื่องที่ท้าทาย กล้าคิด กล้าทำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิด นวัตกรรมทางการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยของบ้านเมืองเรา ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี  และจะดีมากยิ่งขึ้น ถ้าการศึกษาดังกล่าว สามารถผลิตมหาบัณฑิตที่มีคุณภาพออกสู่สังคมไทย ตามที่ท่านประจวบ ไชยสาส์น ได้คุยกับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งผมเชื่อว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของ ศ.ดร.จีระ อาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการและอธิการบดี ศ.รังสรรค์ แสงสุข ทำร่วมกัน ย่อมทำได้แน่นอน 
  คำว่า "นวัตกรรม" ไม่ใช่แค่ creativity หรือสิ่งประดิษฐ์เท่านั้น ต้องมีความรู้ในเรื่องเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์ มีระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย สุดท้ายคือทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งวัดได้จากการมีลูกค้า ประเทศได้ประโยชน์ องค์กรได้ประโยชน์ ประโยคนี้ ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก Innovation ต้องอาศัย ท. ท้าทายที่จะคิด ที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ และต้องมี ท.ทำ คือ Action ให้เกิดผล เกิดประโยชน์กับสังคม ซึ่งควรคำนึงถึง ท.เที่ยงธรรม เพื่อคุณธรรมและความยั่งยืน ให้สอดคล้องกับจริยธรรม ความดีที่มีอยู่ ซึ่งก็ควรมี ท. ท่าที ที่ดี ที่จะคิด จะทำ ท่าที่ที่ดี จะเกิดจากความคิดดีก่อน อันจะนำไปสู่พฤติกรรม การกระทำที่ดี และควรมี ท.ทบทวน ว่าสิ่งนวตกรรมที่ทำนั้น ควรต้องมีการพัฒนาปรับปรุงอะไรให้ดียิ่งขึ้น ทบทวนดูว่าจะมีผลกระทบที่ดีหรือไม่ดีอย่างไร กับใครและควรจะทำอย่างไรต่อไป 
“2 คือ action plan หรือ project จะต้องทำให้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของทฤษฎี 3 C คือ
- C
แรกคือ คนไทยไม่ชอบ change หรือการเปลี่ยนแปลง
- C
ที่สองคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรโดยมองไปถึงลูกค้า Customer
- C
สุดท้ายคือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ค่อยฟังลูกน้อง มักจะคิดว่าฉันรู้แล้ว ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งการ Command and control ไม่ Listening และ Learning จึงมักจะทำให้โครงการ Innovation ไม่สำเร็จ  
ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง C ตัวสุดท้าย ที่ ท่าน ศ.ดร.จีระ ให้ข้อคิดไว้ เรื่อง Command and Control เป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะเป็นได้ทั้งความสำเร็จและอุปสรรค ในการพัฒนา ในการสร้างนวตกรรม แต่หัวหน้าหรือผู้นำบางคน ก็ลืมตัว ใช้อำนาจสั่งการและควบคุมเท่านั้น  จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา นวัตกรรม ผู้นำยุคใหม่ที่เป็นเลิศ จึงควรสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ลูกน้อง ได้มีโอกาสใช้ความรู้ ความสามารถ มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างนวตกรรมมาเสนอ ผู้นำยุคใหม่ทึ่เป็นเลิศ จึงควรเล่นบทบาทเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนทีมงาน ให้มีความสุข ให้ได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ มาช่วยพัฒนางาน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้องค์การ   รูปแบบการทำงานที่สำเร็จในอดีตอาจจะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคต ได้อีกต่อไป  การส่งเสริมให้ทีมงานได้มีความรู้ใหม่ ๆ เปิดโลกทัศน์ การให้โอกาส การให้ความรู้ การให้อภัย เป็นสิ่งที่ผู้นำยุคใหม่ ควรต้องมีให้กับทีมงาน เพื่อให้เกิดนวตกรรม  ทรัพยากรมนุษย์ทีมีคุณภาพและนวตกรรมที่มี่คุณภาพจะทำให้องค์การอยู่รอดได้  
“3 Q เป็นความคิดของอาจารย์ยม นาคสุข มองแบบกว้าง จึงบอกว่า 3 Q ที่ต้องมีและจำเป็นในเรื่อง HR คือ
- Q
ที่หนึ่ง Quality of HR คือต้องมีคนมีคุณภาพในองค์กรก่อน
- Q
ที่สอง คือคนเหล่านั้นต้องคิดเป็น Quality of Thinking
และถ้ามี Q ที่ 1 และ Q ที่ 2 จะมี Q ที่สาม คือ Quality of Innovation ได้
เมื่ออ่านแล้วลองไปคิดดูว่า จะนำมาใช้อย่างไรในองค์กรของท่าน แต่ที่แน่นอนคือ Innovation มาแรง จำเป็นและใช้ได้ในระบบของคนไทยแน่นอน แต่ HR จะเป็นตัวกระตุ้นหรือตัวถ่วง ซึ่งถ้าเข้าใจก็เอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้  ผมขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ เป็นอย่างมาก ที่กล่าวถึงแนวคิดของผมไว้ในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 26 ส.ค.นี้ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างมาก ทฤษฎี นวัตกรรม 3 Q’s ซึ่งผมได้แชร์กับนักศึกษา MBA การจัดการนวัตกรรม ของ มหาวิทยาลัยราคำแหง ทฤษฎีดังกล่าวต้องการให้นักศึกษามีแนวทางในการบริหารจัดการด้าน นวัตกรรม ได้ดียิ่งขึ้น ถ้านักศึกษานำไปบูรณาการกับทฤษฎี 8K’s ศ.ดร.จีระ  
Quality of Human Resources  หมายถึง คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ นวัตกรรมที่มี่คุณภาพจะเกิดได้จากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเท่านั้น  ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ มักจะมีพื้นฐานทฤษฎีทุน 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ อย่างครบถ้วน เมื่อทรัพยากรมนุษย์ มีคุณภาพ ย่อมทำให้เกิด Q ต่อมา คือ
Quality of Thinking, Action and Continue Improvement ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพเมื่อมีทุน 8K’s ครบถ้วน จะเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่เก่งและดี มีคุณธรรม ซึ่งจะคิดและทำดี คิดสร้างสรรค์ ศึกษาหาความรู้และพัฒนาตนเอง พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิด Q ตัวต่อมาคือ 
Quality of Innovation นวัตกรรมที่มีคุณภาพ ซึ่งได้มาจากทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ และนวตกรรมที่มีคุณภาพ จะทำให้ทรัพยากรมนุษย์ มีคุณภาพขึ้น เข้าหลักการที่ว่า คนพัฒนางาน งานพัฒนาคน ครับ 
ผมขอเชิญชวนท่านผู้อ่าน ติดตาม สาระน่ารู้ กับ ศ.ดร.จีระ จากรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. – 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  
 เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ   
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน 
ยม 
นักศึกษา ปริญญาเอก รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 3 C กับ 3 Q ที่ รามคำแหง
3 C กับ 3 Q ที่รามคำแหง[1]
ความขัดแย้งทางสังคม ในประเทศของเรามีมากขึ้นเรื่อยๆ คนไทยควรดูตัวอย่างของประเทศอิรักให้ดี เพราะมีการฆ่ากัน ขัดแย้งกัน ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักไปหมด เกิดสงครามกลางเมืองได้
ปัจจุบันคนไทยบริโภคสื่อแบบคิดไม่เป็น ผมจึงขอฝากประเด็นให้สังคมไทยคิด วิเคราะห์ให้ดี ว่าจะทำอะไรและมีผลเสียหายอะไร กรุณานึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่รักของเรา และพยายามอดกลั้นต่อเหตุการณ์ให้มากที่สุด
มีข่าวว่ารักษาการนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปต่างประเทศมากขึ้นในช่วงก่อนเลือกตั้ง น่าจะผ่อนคลายบรรยากาศทางการเมืองไปได้ จะได้ไม่เผชิญหน้ากัน ส่วนฝ่ายต่อต้านก็ขอให้ทำอะไรภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย อย่ายั่วยุมากเกินไป สำคัญที่สุดคือ ฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจรัฐ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และมีความอดกลั้น
ในอดีต สังคมไทยเป็นสังคมที่ค่อนข้างมีสันติสุข ต้องเก็บความดีเหล่านี้ไว้
ถ้าคนไทยรู้จักคิด วิเคราะห์ แยกแยะให้ได้ว่า อะไรคืออะไร คงจะมีโอกาสแก้ปัญหานี้ได้ แต่จะสร้างสังคมให้คิดเป็น วิเคราะห์เป็น ต้องใช้เวลา อย่างน้อยตัวผม ทีมงานจะทำหน้าที่เหล่านี้ต่อไปให้ดีที่สุด
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมี 2 งานที่น่าสนใจ ฝากให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อ
เรื่องแรกคือ กลุ่มนวัตกรรมทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เชิญผมและคณะไปทำ workshop เรื่องนวัตกรรมทางการศึกษา 2 วันในวันศุกร์ที่ 25 และวันเสาร์ที่ 26 สิงหาคม ศึกษานิเทศก์กว่า 50 คน เข้าร่วมด้วย ได้หารือกันว่า จะจัดระบบการศึกษาเชิงนวัตกรรมให้โรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้พัฒนาไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร
ผู้จัดได้ดูรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระทาง UBC 7 เห็นผมกับอาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ทำงานเรื่องนวัตกรรมร่วมกัน ผมเห็นว่าการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุณาเชิญผมและทีมงานไปร่วมถือว่าเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่ง ที่ท้าทายมาก เพราะหากนำเอานวัตกรรมไปให้โรงเรียนใช้ได้จริงๆ คงจะช่วยเด็กนักเรียนได้มาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์กรใหญ่ จะทำงาน routine แบบเดิมไม่ได้ การศึกษาไทยจะต้องให้เด็กคิดเป็น วิเคราะห์เป็น เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะมาเล่าในสัปดาห์หน้า
ส่วนที่ได้ทำไปแล้ว เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาคือ ผมมีโอกาสได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งจัดหลักสูตร MBA ที่เน้น Innovation เป็นกิจกรรมใหม่ของอาจารย์ศุภชัย หล่อโลหการและอธิการบดี ศ.รังสรรค์ แสงสุข ทำร่วมกัน ผมถือว่ามหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นตลาดวิชาที่น่าสนใจ ปัจจุบันมีนักศึกษาจบระดับปริญญาตรีขึ้นไปเป็นจำนวนมาก กว่า 600,000 คน และเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม ผมกับนายกสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง คุณประจวบ ไชยสาส์น ได้คุยกันถึงวิธีการที่จะเปลี่ยนบัณฑิตของรามคำแหงจาก Quantity ไปสู่ Quality
ในวันนั้นผมได้ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงพูดถึง HR หรือทรัพยากรมนุษย์กับการสร้างนวัตกรรม มีนักเรียนปริญญาโทจากหลากหลายอาชีพกว่า 100 คน เข้าฟัง ถึงแม้ว่า ห้องเรียนอาจจะใหญ่เกินไป แต่ในเวลา 4 ชั่วโมง สามารถทำให้นักศึกษากว่า 100 คน สนใจ ตั้งใจ นำเอาความรู้เรื่อง Innovation ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
เรื่องแรกคือ คำจำกัดความ
คำว่า "นวัตกรรม" ไม่ใช่แค่ creativity หรือสิ่งประดิษฐ์เท่านั้น แต่จำเป็นต้องมีทั้งสอง
เพียงแค่มี creativity หรือสิ่งประดิษฐ์ ก็ไม่พอ ต้องมีความรู้ในเรื่องเหล่านั้นอย่างสมบูรณ์ มีระบบความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ด้วย เมื่อมี 2 สิ่งแล้ว จะต้องมีสิ่งที่สามตามมาคือ มีกลุ่มคนหรือเจ้าภาพหรือเจ้าของ นำไปทำ จะเป็น action plan หรือ project ให้ได้
สุดท้ายคือทำให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งวัดได้จากการมีลูกค้า ประเทศได้ประโยชน์ องค์กรได้ประโยชน์
2
ขั้นตอนดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ HR ด้วย เช่นเรื่อง creativity หรือสิ่งประดิษฐ์ จะมีอุปสรรคใหญ่คือเรื่องระบบการศึกษาที่ไม่กระตุ้นให้คนไทยคิดเป็น
เรื่องที่สองคือคนไทยชอบพูดแต่ไม่ชอบทำ มักกลัวความผิดพลาด จึงไม่กล้าลงมือ
ประเด็นสุดท้าย คือถ้ามี 1 คือ creativity หรือสิ่งประดิษฐ์ และ 2 คือ action plan หรือ project จะต้องทำให้สำเร็จ จึงเป็นที่มาของทฤษฎี 3 C คือ
- C
แรกคือ คนไทยไม่ชอบ change หรือการเปลี่ยนแปลง
- C
ที่สองคือ คนไทยไม่ชอบทำอะไรโดยมองไปถึงลูกค้า Customer
- C
สุดท้ายคือ คนไทยที่เป็นหัวหน้าหรือผู้นำไม่ค่อยฟังลูกน้อง มักจะคิดว่าฉันรู้แล้ว ชอบทำตัวเป็นผู้สั่งการ Command and control ไม่ Listening และ Learning จึงมักจะทำให้โครงการ Innovation ไม่สำเร็จ
ผู้อ่านน่าจะลองไปศึกษาดูแต่ละกรณีที่กระทบตัวเรา ส่วน 3 Q เป็นความคิดของอาจารย์ยม นาคสุข มองแบบกว้าง จึงบอกว่า 3 Q ที่ต้องมีและจำเป็นในเรื่อง HR คือ
- Q
ที่หนึ่ง Quality of HR คือต้องมีคนมีคุณภาพในองค์กรก่อน
- Q
ที่สอง คือคนเหล่านั้นต้องคิดเป็น Quality of Thinking
และถ้ามี Q ที่ 1 และ Q ที่ 2 จะมี Q ที่สาม คือ Quality of Innovation ได้
เมื่ออ่านแล้วลองไปคิดดูว่า จะนำมาใช้อย่างไรในองค์กรของท่าน แต่ที่แน่นอนคือ Innovation มาแรง จำเป็นและใช้ได้ในระบบของคนไทยแน่นอน แต่ HR จะเป็นตัวกระตุ้นหรือตัวถ่วง ซึ่งถ้าเข้าใจก็เอาชนะอุปสรรคเหล่านั้นได้  
จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]

โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
       ขอบคุณอาหารสมองที่ท่านนำมาฝากพวกเรา  จะลองนำไปใช้กับองค์กรของเรา
ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน   

เช้าวันนี้ ผมค้นหาข้อมูลข่าวสารจาก Internet   รายการแรกที่ผมอ่านในเช้าวันเสาร์ก็คือ บทเรียนจากความจริง ของ ศ.ดร.จีระ จาก เว็บของ น.ส.พ.แนวหน้า http://www.naewna.com/gotocolumn.asp?ID=97อาจารย์เขียน เกี่ยวกับ บทเรียนจากความจริง เรื่อง 9/11 ผลกระทบต่อโลก ในบทความนี้ ศ.ดร.จีระ เขียน บทเรียนจากความเป็นจริงได้น่าสนใจ ข้อความข้างล่าง แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

 

  เหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก

ประโยคนี้ ทำให้ผู้อ่าน นักเรียน ประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับกับ ยุคโลกาภิวัตน์ นี่คือยุค โลกาภิวัตน์ (globalization) ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยีสารสนเทศ อันแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลกโลกาภิวัตน์เกิดจากสี่รูปแบบพื้นฐานของการเคลื่อนทุนในเศรษฐกิจโลก โดยสี่การเคลื่อนย้ายของทุนที่สำคัญคือ:
·        ทุนการเงิน (เช่น เงินช่วยเหลือ หุ้น หนี้ สินเชื่อและการกู้ยืม ฯลฯ) ·
        ทุนทรัพยากร (เช่น พลังงาน โลหะ สินแร่ ไม้ ฯลฯ)
·        ทุนอำนาจ (เช่น กองกำลังความมั่นคง พันธมิตร กองกำลังติดอาวุธ ฯลฯ)  

ผลกระทบเกิดที่เกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์ ย่อมส่งทั้งผลดีและผลเสีย ต่อปัจเจกบุคคล ชุมชน หน่วยธุรกิจ และรัฐบาล ทั่วทั้งโลก  อย่างหลีกหนีไม่พ้น  สังคม องค์กรที่ชาญฉลาดจึงเร่งพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

  

ผลกระทบด้านไม่ดี คืออาจจะสร้างปัญหาได้ในระยะยาว อย่าเช่น กรณีเหตุการณ์ 9/11 ที่ผู้ก่อการร้ายขับเครื่องบินถล่มตึก World trade ในอเมริกา และกระจายผลกระทบด้านลบ ไปทั่วโลก และมีทีท่าว่าจะเกิดสงครามยืดเยื้อ เรียกว่า ปัญหาระยะยาวอย่างยั่งยืน  เมื่อมีความไม่ดียั่งยืน ก็ควรทดแทนด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้รู้จัก หนทางแก้ปัญหา แสวงหาความสงบสุขแบบหาความยั่งยืน  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นหนทางหนึ่ง แต่ในทางพุทธศาสนา ยังมีอีกหลายแนวความคิด ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้  ซึ่งต้องเริ่มที่สถาบันย่อยของสังคม ต้องมีความรู้เรื่องความยั่งยืนเหล่านี้ว่าจะสร้างขึ้นมาได้อย่างไร

 

  ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย 
ประโยคนี้ สะท้อนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาของอเมริกา เราสามารถศึกษาได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนหรือไม่  หรืออาจจะเป็นการแก้ไขปั้ญหา ตามแนวคริสต์ศาสนา  ถ้าเป็นเช่นนั้น ถ้าใช้แนวพุทธศาสตร์ บ้างจะเป็นอย่างไร  ตรงนี้ชี้ชวนให้นักเรียน นักศึกษาได้คิด วิเคราะห์ถึงวิธีการแก้ไขปัญหา แบบไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ประการที่สำคัญ  ผู้นำที่เป็นเลิศ ต้องตัดสินใจแก้ไขปัญหา แต่เมื่อตัดสินใจแก้ไขปัญหาแล้ว ปัญหาอื่น ไม่ควรมีมามากกว่าปัญหาเดิม 
  การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)

 

ที่ ศ.ดร.เขียนมา ว่า สหรัฐอเมริกาขาดอะไรบ้าง ท่านผู้อ่านลองจับประเด็นดู อาจารย์กล่าวว่า สหรัฐฯ ขาด ความอดทน อดกลั้น ขาดคุณธรรม จริยธรรม ขาดความน่าเขื่อถือ ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน ขาดวิสัยทัศน์ สิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ควรต้องมีอย่างยิ่งสำหรับการเป็นผู้นำ  ฉะนั้นถ้าถามว่า ผู้นำควรมีคุณสมบัติอย่างไร  ถ้าตัดคำว่าขาด ออกไปก็คือคุณสมบัติของผู้นำทั้งสิ้น   และอาจกล่าวได้ว่า ถ้าสหรัฐฯ ปล่อยให้ขาดเรื่องเหล่านี้มาก ๆ  แน่นอนว่า จะไม่ได้เป็นผู้นำโลกอีกต่อไปในอนาคตใครก็ตามถ้าเป็นผู้นำ แล้วไม่รักษาคุณสมบัติที่ดีของความเป็นผู้นำ ย่อมไม่รักษาความเป็นผู้นำไว้ได้อีกต่อไป   
 ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ 

 

ปัญหาของโลก นับวันจะมากและรุนแรงยิ่งขึ้น โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน  เมื่อวันที่ 9 – 13 กันยายน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้จัดงานเผยแพร่ผลการวิจัยดีเด่นประจำปี 2549 และมีการจัดเวที ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการได้มาเสวนาเผยแพร่ ผลงานการวิจัย  วันแรกที่มีงาน ในเวทีใหญ่ มี ศ.ดร. องอาจ ชุมสาย ณ อยุธยา และนักวิชาการหลายท่านมา พูดถึง โจทย์ที่ควรตั้งเพื่อหาคำตอบ โดยใชการทำวิจัย  สิ่งที่ ศ.ดร.ชุมสาย ณ อยุธยา ก่ล่าวถึงคือ ผลการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ระดับโลก พบว่า อีก 14 ปีข้างหน้า นำแข็งขั่วโลกเหนือและใต้ จะละลายหมด น้ำในโลกจะเพิ่มสูงขึ้นอีกประมาณ 2 เมตร  เมื่อขั้วโลกไม่มีน้ำแข็ง การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมโลก  
ตรงนี้ผมคิดว่าผลกระทบที่ตามมาคือ กระแสน้ำเย็น กระแสน้ำอุ่น เปลี่ยนทิศทาง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แผ่นดินไหว สินามิ ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว ภัยน้ำท่วม พายุรุนแรง จะมีมากขึ้น แล้วกรุงเทพฯ ถ้าระดับน้ำสูงขึ้นอีกสองเมตร จะไปเหลืออะไร สนามบินสุวรรณภูมิ พื้นที่เกษตร ปริมณฑล พื้นที่อยู่อาศัย โรงเรียน โรงพยาบาล ผลกระทบมากมาย แต่แปลก รัฐบาลแทบไม่เคยกล่าวถึงเรื่องนี้ นโยบายสาธารณะ แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชาติ แทบไม่ได้มีมาตรการป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่มีผลการวิจัย เกี่ยวกับภัยธรรมชาติที่คาดว่าจะเกิดและเสนอเป็นมาตรการป้องกันไว้ให้กับชาติ เพื่อความอยู่รอดและผาสุกของปวงชน  หรือจะรอให้เกิดเหตุการณ์แบบสึนามิ ที่ภาคใต้ ขึ้นอีกหลาย ๆ ครั้งก่อนแล้วค่อยหาทางแก้กัน  
   คนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น ประโยคนี้ ต้องขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่กระตุ้นให้คนไทยสนใจเรื่องของโลกมากขึ้นและคิดหาทางพึ่งพาตนเอง   หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องก็ควรเอาเยี่ยงอย่าง หาทางเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับโลก อันตรายที่อาจจะเกิดกับโลก ถ้าพวกเราไม่ช่วยกัน พร้อมกับสนับสนุนให้มีการวิจัย เกี่ยวกับปัญหาระดับโลก และแนวทางแก้ไข  ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร ข้ามประเทศ ศึกษาวิจัย   ศ.ดร.จีระ เป็นประธานหน่วยงานระดับโลก ในกลุ่ม APEC ขอฝากท่าน กล่าวถึงเรื่องนี้ ในโอกาสต่อๆ ไป จะทำอย่างไร ให้ทรัพยากมนุษย์อยู่รอดได้ หากเกิดภัยพิบัติร้ายแรง ในอีก 14 ปีข้างหน้า ทำอย่างไร ไม่ให้มนุษยชาติสูญพันธุ์ไปอย่างไดโนเสาร์  ขอให้ท่านช่วยระดมความคิดผู้คนระดับโลก ในกลุ่ม APEC ช่วยกันตรงนี้ ไม่หวังพึงอเมริกาอีกต่อไป  ผมเชื่อว่า กลุ่มประเทศใน APEC ก็มีทุนพอที่จะศึกษาวิจัยเรื่องนี้อย่างจริงจัง    

ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ประโยคนี้ ผมอยู่ในเหตุการณ์ด้วย  คือได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมนี้ด้วย ต้องขอขอบคุณ ศ.ดร.จีระ ที่ให้โอกาสอันมีค่านี้  และได้ให้ร่วมแชร์ความรู้ประสบการณ์กับพี่น้องผู้นำที่โรงแรมโอเรียนเต็ล   ประทับใจผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคนที่เป็นผู้นำของโรงแรมฯ  เห็นความตั้งใจ ความมุ่งมั่น พลังความคิด สะท้อนให้เห็นว่ามีทุนมนุษย์สูง ที่น่าประทับใจแต่ไม่มีโอกาสได้พบตัว คือผู้บริหารระดับสูงของโรงแรม ที่มีวิสัยทัศน์ เปิดหลักสูตรนี้ ให้ทีมงานที่โรงแรมฯ ไดมีโอกาสได้รับความรู้  ผมเชื่อว่าการทำดีดังกล่าว จะทำให้โรงแรมนี้ คงความเป็นผู้นำไว้ได้อย่างดี อีกงานหนึ่งที่ ศ.ดร.อาจจะไม่มีเนื้อที่พอที่จะเขียน และผมอดที่จะชี่นชมไม่ได้คือ การที่ ศ.ดร.จีระ ได้มอบหมายให้ นักศึกษา ป.โท เทคโนโลยี่เกษตร ลาดกระบังฯ ไปศึกษาดูงานที่ บริษัท ไทย คิว พี หรือ อสร. ที่ราชบุรี และ ไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมฯ ที่โรงเรียนท่าม่วง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ซึ่งมีนักเรียน โรงเรียนเทพศิรินร์ ที่กาญจนบุรี มาร่วมฟังด้วย งานนี้นอกจาก ศ.ดร.จีระ จะปลูกฝังแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ให้มีอยู่ในหัวของ นักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบังแล้ว  ศ.ดร.จีระ ยังฝึกการบริหารจัดการ การเป็นผู้นำ ให้นักศึกษาได้ออกไปเผยแพร่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียนดังที่กล่าวมา  นับว่าได้คุณค่าถึงสามประการ 

ประการที่หนึ่ง คือ ตัวนักศึกษา ป.โท ได้ความรู้ประสบการณ์ ในเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

 

ประการที่สอง คือ ตัวนักเรียนมัธยมฯ ได้หลักการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปด้วย

 

ประการที่สาม คือ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ป.โท ได้ทำบุญ ให้วิทยาทาน แก่ผู้อื่น เป็นการทำบุญไปในตัวด้วย

 

ขอชื่นชมนักศึกษา ป.โท ที่ลาดกระบัง ที่ไปร่วมกิจกรรมนี้ ทำได้ดี ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคม และได้ความรู้ไปด้วย ควรจดจำไว้บูรณาการสานต่อความดีนี้ และชื่นชมทีมงานของ ศ.ดร.จีระ ที่ผมสั้งเกตเห็นว่ามีความตั้งใจทำงานได้ดีมาก ถ้าพวกเขามีบุญพอ คือสนใจ ใส่ใจ เอาใจใส่ในแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ด้วยปรารถนาอย่างแรงกล้า จะเป็นบุคลากรที่สำคัญของประเทศในอนาคตได้อีกด้วย

 
ศ.ดร.จีระ มีรายการที่น่าสนใจหลายรายการ เช่นรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 และรายการเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์ ทาง ททบ. 5 ทุกวันอังคารและวันพุธ เวลา 9.55 น. – 10.00 น. หรือทาง http://www.chiraacademy.com/   เชิญท่านติดตามศึกษาหาบทความ เรื่อง9/11 ผลกระทบต่อโลก[1] ของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Bloc นี้ ครับ 
  
ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน    
ยม
ยม "บทเรี่ยนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ 9/11 ผลกระทบต่อโลก"
9/11 ผลกระทบต่อโลก[1]
 

ทุกคนคงจำเหตุการณ์ 9/11 ได้ดี ผมเป็นคนหนึ่งที่ไม่ลืมเหตุการณ์นี้แน่นอน เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี แม้ไม่ลืมก็ควรจะต้องใช้โอกาสนี้วิเคราะห์สถานการณ์นี้ไปด้วย หากเราเป็นสังคมการเรียนรู้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น จะเห็นว่าเหตุการณ์ 9/11 ไม่ใช่ธรรมดา และไม่ได้กระทบเฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่กระทบทั่วโลก อาจจะกระทบในทางที่สร้างปัญหาระยะยาว หรือเป็นความยั่งยืนของโลก


ช่วงนี้ ผมจะไม่ค่อยเขียนเรื่องเกี่ยวกับโลก ยิ่งมีวิกฤติการเมืองไทย เรื่องที่คนไทยไม่ใฝ่รู้ เขียนเรื่องระดับโลก คนไม่สนใจ แต่วันนี้ไม่เขียนถึงคงไม่ได้


ข้อแรกคือ ปฏิกิริยาของโลกต่อสหรัฐอเมริกา ในระยะสัปดาห์แรก 3 เดือนแรก 6 เดือนแรกหลังเหตุการณ์ 9/11 เต็มไปด้วยความเห็นใจและเข้าใจ มีความรู้สึกว่าสหรัฐอเมริกาถูกกระทำ แต่สหรัฐอเมริกากลับมองปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นการลูบคมในบ้านของตัวเอง มองลักษณะการต่อสู้เป็นการแก้แค้นผู้กระทำ ประกอบกับความเป็นชาตินิยมสูง ทำให้ประธานาธิบดี Bush ได้รับคะแนนนิยมท่วมท้น จึงใช้คะแนนสนับสนุนจากกลุ่มเน้นการเมืองแบบขวาจัด ด้วยการจัดการกับอัฟกานิสถาน และอิรัก รวมทั้งมองโลกในลักษณะแบ่งฝ่าย


เวลาผ่านไปแล้ว 5 ปี ความสงสาร ความเห็นใจ ต่อสหรัฐอเมริกาในปัจจุบันมีน้อยลง ประเทศที่เคยช่วยเหลือสหรัฐอย่างเต็มที่ลดการสนับสนุน เหลือประเทศหลักคืออังกฤษเท่านั้น ประเทศในยุโรปอื่น ๆ เช่น เยอรมนี หรือฝรั่งเศส เริ่มมองสหรัฐอเมริกาแบบไม่ค่อยพอใจนัก เพราะสหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายล้างแค้น เพื่อเอาใจฝ่ายขวาจัดในประเทศของตัวเองมากกว่า


การล้างแค้นดังกล่าวได้ลุกลามไปถึงอัฟกานิสถาน ขยายวงไปยังอิรักและอาจจะไปถึงอิหร่านด้วย และดูเหมือนว่าสหรัฐอเมริกาจะใช้นโยบาย ZERO SUM GAME คือ มีผู้ชนะและผู้แพ้ ไม่ใช้นโยบาย WIN/WIN หรือสมานฉันท์ ซึ่งวิธีการดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ ต้องใช้การทูต การประนีประนอมมากขึ้น ซึ่ง Bush ไม่เลือกวิธีการสมานฉันท์ แต่เน้นการต่อสู้แบบรุนแรง


ความรุนแรง (Violence) เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การสู้รบในวันนี้ ไม่รู้จะจบลงเมื่อไร ดูอิรัก ปัญหาของอัฟกานิสถาน ที่ปะทุขึ้นมาตลอดเวลา ไม่มีท่าทีว่าจะจบลงอย่างสันติ


การเป็นประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน จะเก่งด้านการทหารอย่างเดียวไม่ได้ จะต้องอดทน อดกลั้น มีคุณธรรม จริยธรรม เพื่อให้สมาชิกของโลกยอมรับ


ปัจจุบัน สหรัฐอเมริกา ดูจะขาด 3 เรื่องใหญ่คือ
-
ขาดความน่าเชื่อถือ (Trust) จากสมาชิกของโลก
-
ขาดคุณธรรม จริยธรรม ที่สังคมโลกปรารถนา
-
ขาดการมองที่โยงไปสู่ความยั่งยืน (Sustainability)


ประเด็นสุดท้ายซึ่งผมจะเน้นเป็นพิเศษ คือ การที่สหรัฐอเมริกาต้องดูแลเรื่องการก่อการร้าย และสงครามในหลายประเทศ จึงไม่มีเวลา ไม่มีทรัพยากร ไม่มีปัญญาที่จะแก้ปัญหาของโลก ซึ่งมีหลายเรื่องที่อยู่ในขั้นวิกฤติ ต้องการความสามารถของผู้นำแบบสหรัฐอเมริกา ที่จะแก้ปัญหาของโลกได้ เช่น
-
ปัญหาโลกร้อน
-
ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำของประชากรโลก
-
ปัญหาประชากรสูงอายุจำนวนมาก และปัญหาแรงงานอพยพ
-
ปัญหาการสร้างสังคมการเรียนรู้ของโลก
-
ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโลก
-
อื่น ๆ


ผมจึงขอสรุปว่า เหตุการณ์ 9/11 สร้างความวุ่นวายให้แก่โลกในระยะยาว เพราะสหรัฐอเมริกาไม่สามารถตั้งสติ ใช้ปัญญาหรือความสามารถต่าง ๆ แก้ปัญหาหลายเรื่องของโลกได้


ดูเหมือนว่าผู้นำของสหรัฐอเมริกาจะมองปัญหาของตัวเองมากกว่าปัญหาของโลก จึงขอสรุปแนวคิดของผมให้ผู้อ่านได้นำไปคิดต่อไป ฉะนั้น ปัจจุบันคนไทยต้องศึกษาปัญหาของโลกมากขึ้น และมีความเข้าใจมากขึ้น เพราะโลกจะพึ่งพามหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา ประเทศเดียวที่จะแก้ปัญหาคงไม่ได้ ประเทศหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งไทยต้องมีบทบาทเพิ่มขึ้น


หันมาดูงานของผมในสัปดาห์ที่แล้ว
ผมได้รับเกียรติจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ช่วยฝึกภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางของโรงแรม Oriental 2 รุ่น ได้สร้างสังคมการเรียนรู้ให้ผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความสามารถมากที่โรงแรมชั้นหนึ่งของคนไทย


ได้มีโอกาสไปทำ workshop ให้แก่กลุ่มปริญญาเอกกว่า 50 คน ด้านวัฒนธรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ผมได้แสดงความเห็นเรื่องนวัตกรรมกับวัฒนธรรม ให้เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรม Cultural capital จำเป็นที่จะต้องสร้างมูลค่า เพื่อให้โลกสนใจ ให้คุณค่า และในอนาคตจะเป็นการหารายได้ให้ประเทศอย่างมหาศาล


ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์ สิ่งที่อยู่กับเราและติดตัวเราคือ อดีตที่เราสะสมมานาน ไม่ว่าจะเป็นหนัง ละคร วรรณกรรม ศาสนา องค์ความรู้ แต่จะหวงแหนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องสร้างนวัตกรรมขึ้นมา นักเรียนปริญญาเอกหลายคน ต่างมีความเห็นว่า วัฒนธรรมพื้นบ้านหลายอย่างในภาคอีสาน รวมทั้งการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เป็นจุดที่น่าสนใจ น่าจะนำมาต่อยอดต่อไป


นอกจากนี้ ผมได้พัฒนาผู้นำของข้าราชการระดับ C8 กระทรวงวัฒนธรรม อีก 120 ท่าน ซึ่งเรียนกับผมรุ่นละ 60 ชั่วโมงจบไปแล้ว สัปดาห์นี้จะไปต่อยอดกัน ดูงานนิทรรศการวัฒนธรรมของไทยที่ฝรั่งเศสและอิตาลี ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้ชาวต่างประเทศทั้ง 2 ประเทศ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้วัฒนธรรมไทยในสังคมโลกต่อไป

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์"

ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]

 

 

ท่านที่ติดตามบทความของผมมาตลอด 7-8 ปี คงจะเห็นแล้วว่าแต่ละสัปดาห์ มีอะไรเกิดขึ้น และตัวเราวิเคราะห์ให้เป็น เราจะเป็นสังคมการเรียนรู้อย่างแท้จริง กระหายความรู้ นำเอาความรู้ไปใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม
สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24
หลายฝ่ายอาจจะไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของท่าน ผมขอเรียนว่า ท่านเป็นทหารมืออาชีพ และเป็นทหารประชาธิปไตย ซี่งดีกว่านักประชาธิปไตยแต่ในรูปแบบ วันนี้ประเทศไทยทำงานแบบ Back to basics ที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือ ความถูกต้องและความพอดี หรือหากจะเรียกว่าเป็นความพอเพียงทางการเมือง สังคมและวิถีชีวิตคนไทยคือเดินสายกลาง ไม่หลุดโลกไปทางใดทางหนึ่ง
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
หนังสือพิมพ์ The Nation เขียนว่า ช่วงที่นายกฯทักษิณชนะการเลือกตั้ง ท่านไป ช็อปปิ้งที่ เอ็มโพเรียม และดื่มกาแฟที่ Starbucks เป็นการเปรียบเทียบวิถีชีวิตของท่านทั้งสองได้ดี
อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต
ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก
ประเด็นนี้น่าสนใจ เพราะยุคคุณทักษิณ ไม่ใช่แค่ระบอบทักษิณ แต่เป็นวัฒนธรรมการคิดแบบคุณทักษิณที่เน้นเงินและอำนาจ แบบทุนนิยมที่ไร้ขอบเขต ไร้จิตวิญญาณเป็นหลัก ซึ่งในที่สุดแล้ว ไม่เหมาะกับสังคมไทยในระยะยาว จึงต้อง back to basics หลังจากเหตุการณ์รัฐประหารผ่านไป 2 สัปดาห์กว่า สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก
จริงอยู่ การศึกษากำหนดมาตรฐานต่างๆ ต้องเน้นทฤษฎี 2 R's ของผมซี่งเน้นว่า จะวิเคราะห์อะไรต้องประกอบด้วย :
Reality
ความจริง
Relevance
ตรงประเด็น
ประชาธิปไตยภายใต้ระบอบทักษิณเป็นเรื่องไม่ปกติ หากปกติคงจะไม่มีการขัดแย้ง ไม่มีคดียุบพรรค ไม่มีคดีฉ้อราษฎร์บังหลวง ความแตกแยกในสังคมไทย ขาดคุณธรรม จริยธรรม
ดังนั้น คนไทยจะต้องอธิบายว่า ปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะอะไร ความจริงคืออะไร และแสดงให้เห็นว่า มาแก้ไขเพื่อไปประชาธิปไตยที่ดีในอนาคต ไม่ใช่เห็นรถถังก็กลัว คล้ายว่าถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
การอธิบายต่อสังคมโลกเป็นสิ่งสำคัญ อย่าให้มาตรฐานของตะวันตกเป็นมาตรฐานโลกมากำหนดตัวเราเท่านั้น สหรัฐอเมริกายังไม่เห็นพูดถึงประชาธิปไตยในปากีสถาน บางครั้งอเมริกาก็มี Double Standard ด้วย จึงขอเรียนว่า อย่าตกใจไปกับข่าวทางลบของต่างประเทศมากเกินไป ผมคิดว่าอธิบายได้ ผมเป็นคนหนึ่งที่อธิบายให้เพื่อนต่างประเทศทุกวัน
หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น โดยเฉพาะในภาคอีสานและภาคเหนือ ประชากรส่วนมาก รอให้รัฐบาลช่วยเหลือ จะทำอย่างไรให้เขาพึ่งตัวเองได้มากขึ้น เพราะงานของรัฐบาลชั่วคราวที่สำคัญ ต้องปรับอุปนิสัยแบมือขอ ที่รัฐบาลไทยรักไทยทำอย่างต่อเนื่องมา 6 ปีเต็ม อบต.หรือองค์กรปกครองท้องถิ่นต่างๆ จะมองการสร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวชนบทอย่างไร การจะให้อะไรแบบประชานิยม ก็ต้องแน่ใจว่าระยะยาวอยู่รอดและเข้มแข็งขึ้น
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย
ขอจบด้วยการเล่าถึงโครงการต่อเนื่องที่ผมทำอยู่ 2 โครงการคือ
โครงการ Learning Forum ที่ Ho Chi Minh ที่ได้จัดไปเมื่อวันศุกร์ที่ 29 กันยายน ซึ่งได้เห็นว่า เศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีคุณค่าต่อผู้นำทางภาคเกษตรของเวียดนามมาก เขาศึกษาอย่างละเอียด และมีบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนความคิดที่น่าสนใจ ยิ่งกว่านั้น เวียดนามจะขอมาดูงานที่ประเทศไทยด้วย ต้องถือโอกาสขอบคุณท่านกงสุลใหญ่ คุณสมปอง สงวนบรรพ์ และเจ้าหน้าที่ของสถานกงสุล คุณปาริฉัตร ลื้อไพบูลย์พันธ์ คุณพิมพ์พิรี ไพรามาน การทูตภาคประชาชนต้องมีรัฐบาลมาเป็นแนวร่วมด้วย
กงสุลใหญ่ ท่านเป็นคนใฝ่รู้ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศมาก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสถานกงสุลมานั่งฟังตลอด ได้เห็นวิธีการเรียนรู้ที่เป็นรูปธรรม
ผมได้กลับไปที่โรงเรียนบ้านแพง จังหวัดมหาสารคาม เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 3 ปี กลับไปสร้างสังคมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียนกว่า 400 คน ผอ.วาสนา เลื่อมเงิน เป็นลูกศิษย์ผม และเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนที่ทำงานนอกกรอบ สนใจการสร้างแนวร่วม Network ลูกศิษย์ก็กระตือรือร้น เช่น กลุ่มมัธยมศึกษา บอกว่า จะให้ผมและมูลนิธิฯ ช่วยสนับสนุนให้มาดูอุทยานวิทยาศาสตร์ในจังหวัดปทุมธานี การศึกษาในอนาคตไม่สามารถจะใช้แบบการบริหารในกล่อง รอให้รัฐบาลมาช่วย ต้องกระโดดออกนอกกล่อง พึ่งตัวเอง และให้นักเรียนเป็นผู้ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ผู้อำนวยการโรงเรียนวิ่งหาตำแหน่ง เพื่อจะได้ C8 ตลอดเวลา

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์" (ต่อ)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ/สมาชิกสมาคมรองผู้อำนวยการสถานศึกษาฯ และท่านผู้อ่านทุกท่าน 

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความ บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ขอต้อนรับ : พลเอกสุรยุทธ์[1]ในบทความนี้          ศ.ดร. จีระ เขียน ถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ และท่านได้เล่าเรื่องสำคัญที่ท่านได้ทำประโยชน์แก่สังคมไว้อย่างน่าสนใจเช่นกัน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  


สิ่งแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 ประเด็นนี้ แสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยะภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ในการตัดสินพระทัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี  งานนี้ ถ้าไม่ใช่คนดี มีคุณธรรม และเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จนเป็นที่ประจักษ์ แก่ราษฎรอย่างท่านองคมนตรี พลเอกสุรยุทธ์ ก็อาจจะทำให้มีประท้วงครั้งใหญ่และอาจนำไปสู่การปฏิวัติซ้อนได้  เป็นแบบอย่างที่ดีในการตัดสินใจแก้ไขปัญหา  เหมือนให้ยาที่ถูกกับโรคที่เกิดขึ้น  ในองค์กรถ้ามีปัญหาแล้วคิดให้รอบคอบ มองการณ์ไกล รองรับปัญหาที่คาดว่าน่าจะเกิด แล้วตัดสินใจบนหลักการและเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ เป็นใหญ่ การตัดสินใจแก้ไขปัญหานั้นก็จะบรรลุวัตถุประสงค์   ผมชื่นชม และขอสรรเสริญคณะองคมนตรีด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูง ที่พวกท่านคอยถวายการดูแล ช่วยเหลือภารกิจ ต่าง ๆ ของพระองค์ท่าน เป็นอย่างดี  เป็นตัวอย่างที่ดีของการทำงานเป็นทีม ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    
มี 2 ประเด็นที่น่าจะเขียนถึงท่านนายกรัฐมนตรีคนที่ 24 คือ
ท่านเป็นคนสมถะ ประหยัดและดำรงชีวิตแบบพอเพียงมาตลอด อุปนิสัยจะช่วยให้บทบาทของท่านนายกรัฐมนตรีคนใหม่เป็นตัวอย่างที่ดี " Role Model " ของคนไทยคือ หลังจากรับตำแหน่ง ท่านได้ไปกราบสมเด็จพระสังฆราช และไปพบผู้ใหญ่ที่ท่านเคารพนับถือ คือ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
ผมสนใจและประทับใจ พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ มากขึ้น เมื่อครั้งทราบข่าวจากหน้าหนังสือพิมพ์หลายฉบับว่า เมื่อท่านพ้นจากตำแหน่งทางราชการแล้ว ท่านหันไปบวช เพื่อต้องสละกิเลสทั้งหลาย ใช้ชีวิตเรียบง่ายสันโดษ มีคุณค่า อันที่จริง คนระดับนี้ พร้อมที่จะเลือกหาความสุขได้หลายรูปแบบ แต่กลับเลือกมาทางพุทธศาสนาเป็นเครื่องชี้นำ เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และน่าสรรเสริญ อย่างยิ่ง  เป็นแบบอย่างที่ดีของการดำเนินชีวิตที่มีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  ภาพที่ท่านใช้ชีวิตเรียบง่าย ชอบเดินป่า และภาพการออกบวช เดินบิณฑบาต ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทยได้ดี 

อีกเรื่องหนึ่ง ภาพของนายกฯ สุรยุทธ์ จะนำไปสู่ภาพของความพอเพียง และเป็นภาพที่สร้างความจริงของสังคมไทย คือจะเจริญทางด้านวัตถุไม่พอ ต้องมี
Heritage
รากเหง้า
Head
คิดเป็น
Heart
มีคุณธรรม
Happiness
มีความสุข ความสมดุลในชีวิต สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวในประเด็นนี้ ผมคิดว่า เป็นรูปแบบของการดำเนินชีวิตที่ยั่งยืน  การดำเนินชีวิต จะเจริญแต่วัตถุนิยมอย่างเดียวนั้นไม่ยั่งยืน  ต้องเจริญด้วย ศีล สมาธิ สติปัญญา เจริญด้วยทุนที่เกี่ยวกับมนุษย์ ตามทฤษฎี 8K’s ของ ศ.ดร.จีระ  เป็นสิ่งที่ผู้นำประเทศ ควรต้องมียุทธ์ศาสตร์ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ให้เจริญตามแนวคิดที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวถึงไว้อยู่เสมอ ผมยังอยากให้ ศ.ดร.จีระ เข้าไปช่วยรัฐบาลชุดนี้ ในตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงานฯ หรือเป็นที่ปรึกษาขอรัฐบาลชุดนี้ เพื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์ ของชาติซึ่งยากที่จะหาคนที่มีสายตาแหลมคม มองเห็นปัญหาเรื่องทรัพยากมนุษย์ได้ลึก กว้างและไกลได้เช่นนี้

 

 

ในช่วง 1 ปีนี้ที่สำคัญคือ รูปแบบผู้นำของท่าน จะทำให้นิสัยของคนไทย ที่ฟุ้งเฟ้อ ลดน้อยลง สิ่งไม่ดีต่างๆ เช่น ความอยากได้ทุกอย่างเร็วๆ นิยมตะวันตก นิยมวัตถุ การไม่เคารพรากเหง้าหรือประวัติศาสตร์ของตัวเอง มองมนุษย์โดยไม่เน้นการเคารพ ( Respect ) และความมีศักดิ์ศรี ( Dignity ) อาจจะดีขึ้นบ้าง โดยเฉพาะหากท่านนายกฯ คนใหม่เน้นเรื่องสังคมเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวิถีชีวิตของคนไทยอย่างเป็นรูปธรรมและมองสังคมแบบยั่งยืนเป็นหลัก ผมมีความเชื่อเช่นเดียวกับ ศ.ดร.จีระ ว่า ถ้าผู้นำประเทศ  กระตุ้นให้ทรัพยากรมนุษย์ของชาติ มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมให้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตของชาวไทย อย่างเห็นผลชัดเจน มีตัวชี้วัดได้ จะเป็นการพัฒนาชาติที่ยั่งยืน ถึงแม้เวลาบริหารประเทศจะกำหนดไว้เพียงไม่เกิน 1 ปี สำหรับรัฐบาลชุดนี้ แต่ถ้ามีทีมคณะรัฐมนตรีที่มีคุณภาพ รู้จริง และอาสา อยากมาช่วยพัฒนา แก้ไขปัญหาบ้านเมืองเพื่อชาติ ก็จะสามารถทำได้ แม้กระทั่งการกำหนดรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็ควรให้มีและใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วย พื่อกู้วิกฤตทางด้านทรัพยากรมนุษย์

 

สิ่งหนึ่งที่ผมได้เขียนไปแล้วช่วงแรกคือ การสร้างความเข้าใจกับประชาคมโลก เพราะโลกาภิวัตน์ มีหลายเรื่องที่กระทบเรา เช่น
- Information Technology
เทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่นๆ เช่น Nanotechnology , Biotechnology
-
เรื่องการค้าเสรี , WTO , FTA
-
เรื่องการเงินเสรี อัตราแลกเปลี่ยน
-
บทบาทของจีน อินเดีย และลาตินอเมริกา
-
เรื่องอิทธิพลของประชาธิปไตย และ human right
-
เรื่อง Global warming , ภัยธรรมชาติ
-
เรื่องสงคราม และการก่อการร้าย
-
เรื่องน้ำมันหมดโลก และพลังงานทดแทน
-
เรื่อง Bird Flu หรือไข้หวัดนก
เรื่องใหญ่คือ เรื่องมาตรฐานประชาธิปไตยกับสิทธิมนุษยชนของตะวันตก

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวมาในประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประเทศ ต่อประชาชนคนไทยทั้งปัจจุบันและอนาคต และเป็นเรื่องใหญ่ เรื่องสำคัญ ที่ควรต้องมีคณะรัฐบาลที่ดี มีฝีมือ มีคุณธรรม มีอุดมการณ์เพื่อชาติ เข้ามาช่วยบริหารจัดการ  และที่น่าเป็นห่วงคือ ท่านจะได้คนดี มีฝีมือเหล่านี้มาอย่างไร เพราะเขาเหล่านั้นมักไม่แสดงตน และใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบท่านนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์  
ถอยหลัง 1 ก้าว เพื่อไปข้างหน้า 2 ก้าวอย่างมั่นคงและยั่งยืน
ผมชอบประโยคนี้ ของ ศ.ดร.จีระ คือเข้าใจง่ายและใช้อธิบายเหตุผลของการปฏิวัติครั้งนี้ให้นักเรียน นักศึกษาเข้าใจได้ดี  เรียกว่า จังหวะของชีวิต บางครั้งในการเดินไปข้างหน้า เมื่อพบปัญหาอุปสรรคบนเส้นทางเดิน ก็จำเป็นต้อง หยุดและถอยหลัง เพื่อก้าวกระโดดไปข้างหน้าให้ได้ไกลกว่าที่ผ่านมา การบริหารจัดการเรียกว่า เป็นศิลปะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ก็ว่าได้ อย่างไรก็ตาม การถอยหลังก็ต้องถอยอย่างรอบคอบ สง่างาม มีการสื่อสารที่ดี มิฉะนั้นประชาคมโลกจะเข้าใจผิด อีกประเด็นหนึ่งก็คือ เมื่อถอยแล้ว การจะก้าวกระโดดไปข้างหน้า ต้องพร้อม มั่นคง ยั่งยืน สง่างามกว่าที่ผ่านมา และช่วงจังหวะหยุดและถอย กับการจะกว้ากระโดด อย่าให้นานจนเกินไป เพื่อรักษาประโยชน์ของชาติ เป็นหลัก


 

หวังว่าข่าวรัฐประหารจะค่อยๆ จางไป แต่จะขอฝากท่านนายกฯ คนใหม่คือ เรื่องปฏิรูปการศึกษา ปฏิรูปให้คนไทยคิดเป็น เป็นสังคมการเรียนรู้ อยากรู้ อยากมีทุนทางปัญญา ไม่ใช่เห็นแก่ใบปริญญาเท่านั้น
ประเด็นนี้ เห็นได้ชัดว่า ระบบการศึกษาสมควรมีการปฏิวัติ และจัดการใหม่  ผมเห็นรัฐบาลหลายคณะ มาบริหารประเทศไม่ค่อยได้เน้นเรื่องนี้อย่างจริงจัง มัวแต่ไปเน้นการก่อสร้าง วัตถุนิยม  ที่อินเดีย เน้นเรื่องการศึกษามากกว่าการสร้างวัตถุนิยม  ผมเชื่อว่าในที่สุดอินเดียจะเป็นประเทศที่พัฒนาแบบยั่งยืนกว่าประเทศจีน ที่ขณะนี้มุ่งเน้นการวางผังเมือง การสร้างอาคารต่าง ๆ อย่างมาก  
หนังสือพิมพ์ Herald Tribune เขียนว่าการทำให้ชาวบ้านพอใจนั้น พรรคไทยรักไทยเก่งมาก เขาเน้นการตลาด การคิดนอกกรอบ การมีนวัตกรรมทางนโยบาย การใช้พลังทุกอย่าง ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่จะต้องมีความเข้าใจ และปรับนโยบายระยะยาว ต้องพิจารณาประเด็นเหล่านี้ด้วย

จุดเด่นของพรรคไทยรักไทย คือทำให้ชาวบ้านพอใจโดยใช้ระบอบประชานิยม ในการบริหารนโยบายสาธารณะ มีทั้งส่วนดีและส่วนไม่ดี  ดีคือสามารถสนองความต้องการของลูกค้า(ประชาชนได้) รัฐฯควรมองประชาชนเป็นลูกค้า และสนองความต้องการของลูกค้าได้  One stop service ในหน่วยงานราชการหลายแห่ง เกิดขึ้นในยุครัฐบาลของท่านทักษิณ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลอิเล็คโทรนิค ก็เช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามจุดอ่อนคือขาดการวิเคราะห์ผลกระทบระยะยาวในนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมือง ยังขาดหลักการแห่งความยั่งยืน  รัฐบาลยุคท่านทักษิณ เป็นครูที่ดี แก่ผู้นำและสัจจะธรรมชีวิต ทุกอย่างในโลกล้วนมีการเปลี่ยนแปลง และไม่มีอะไรแน่นอนในโลกนี้  เมื่อมีมา ย่อม มีไป เมื่อมีเกิด ย่อมมีแก่ มีเจ็บและตาย

 

อดีตนายกฯทักษิณ ให้บทเรียนที่ดีแก่ผู้นำทั้งหลาย ทุกองค์กร พึงสังวร ขอให้มองการณ์ไกลอย่างที่ ศ.ดร.จีระ เคยสอนนักศึกษาปริญญาเอกว่า อีก 20 ปีจะเกิดอะไรขึ้นในประเทศไทย  และจะแก้ไข ป้องกันอย่างไร  ทำให้คิดต่อไปว่า อีก 20 ปี จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา กับเครือข่าย กับทุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต และจะบริหารจัดการอย่างไร เป็นสิ่งที่น่าคิดต่อไปว่า หลังจาก 1 ปี ของรัฐบาลชุดนี้จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย  เศรษฐกิจ ส้งคม การเมือง การศึกษาของไทย จะเป็นอย่างไร จะเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และเป็นสิ่งกำหนดอนาคตประเทศไทย 

ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์สู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ    

ขอความสวัสดีจงมีแด่ทุกท่าน   

ยม  

นักศึกษา ปริญญาเอก  

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

 

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน" เมื่อ

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท