ติดอาวุธทางปัญญาให้คุณลิขิต


แชร์ประสบการณ์
วันนี้ (25 ส.ค. 2549) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดการประชุมติดอาวุธทางปัญญาให้กับคุณลิขิต อำเภอละ 2 คน เป้าหมาย 23 อำเภอ รวม 46 คน แต่ได้รับความสนใจมีผู้เข้าร่วมประชุมเกินเป้าถึง 60 กว่าคน ภาคเช้าได้เชิญวิทยากร จาก ม.วลัยลักษณ์ คือ รศ. ดร. สืบพงศ์ ธรรมชาติ มาให้ความรู้เรื่องหลักการฟังอย่างลึกซึ้ง การจับประเด็นใจความสำคัญ และหลักการประชุม ซึ่งท่านได้ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และ ลปรร. อย่างกว้างขวาง ที่ประชุมให้ความสนใจและขอเทคนิคต่างๆ ในการบันทึกการประชุม หลังจากพักรับประทานอาหารกลางวันแล้ว ในภาคบ่ายได้เชิญวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาชุมชน กิ่ง อ. นบพิตำ คือคุณประมวล วรานุศิษย์ ซึ่งท่านเป็นผู้คลุกคลีอยู่ในเวทีชาวบ้านมาช้านาน มาให้ความรู้ในเรื่องของการถอดบทเรียน ซึ่งคุณประมวลก็ได้ถ่ายทอดความรู้ และ ลปรร. จากประสบการณ์ล้วนๆ ในการทำงานในพื้นที่ไม่มีปิดบัง ผลการประชุมครั้งนี้ คุณลิขิต มีความพอใจอย่างมาก ทางทีมงาน (KM) ได้ทำแบบสอบถาม และซักถามจากผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่บอกว่ามีความเข้าใจ และจะนำไปใช้ในการลงพื้นที่ (หลายท่านบอกว่าน่าจะจัดตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการ) ในการประชุมครั้งนี้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราชต้องขอขอบพระคุณท่านวิทยากร ทั้ง 2 ท่าน ที่ได้กรุณาสละเวลาอันมีค่ามาแบ่งปันความรู้ และแชร์ประสบการณ์ เพื่อเติมเต็มให้กับคุณลิขิตจังหวัดนครศรีธรรมราชอีกครั้งนะคะ
หมายเลขบันทึก: 46421เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจจริงๆ คะ...ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้จัดที่จะจัดกิจกรรมดีๆ เช่นนี้อีกในครั้งต่อๆ ไป...สำหรับเทคนิคในการฟังอย่างลึกซึ่งเป็นเทคนิกที่น่าสนใจและอยากแลกเปลี่ยนจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
การฟังอย่างลึกซึ้งน่าจะมีการแสดงออกใน 3 แบบไหมคะ
1. การแสดงออกทางกาย คือการนั้งในท่าที่แสดงถึงความสนใจ การพยักหน้า การมีสีหน้าที่สนใจและตั้งใจฟัง
2. การแสดงออกทางวาจา คืออาจจะมีการสอบถาม สะท้อนความรู้สึก สรุปประเด็นเป็นระยะเพื่อไม่ให้หลงประเด็น
3. การแสดงออกทางใจ คือการไม่ตัดสินเรื่องราวของผู้ฟังตามประสบการณ์ของตนเอง ฟังและแขวนไว้ในใจ คิดตามและแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอเพิ่มเติมได้ และที่สำคัญ การชื่นชมและกำลังใจที่มีให้แก่กัน
ซึ่งตนเองคิดว่าในการประชุมหรือในการพูดคุยกันในกลุ่มทุกท่านในกลุ่มจะต้องเรียนรู้ทักษะนี้เพื่อให้ทุกคนในที่ประชุมสามารถประคับประคองการประชุมให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ บรรลุตามวัตถุประสงค์ ราบรื่นและมีความสุข
สำหรับการเป็นคุณลิขิต หรือเลขากลุ่มที่จะคอยจดทุกประเด็นในการเล่าเรื่องหรือประชุม จำเป็นต้องฟังให้ลึกซึ่งยิ่งกว่าสมาชิกในกลุ่ม ไม่นำเอาประสบการณ์ของตนเองมาตัดสิน คิดตามหากพบประเด็นสำคัญสามารถ Take note เพิ่มเติมและเมื่อผู้อำนวยการกลุ่มหรือคุณอำนวยให้สมาชิกกลุ่มช่วยกันแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือเรื่องเล่า ได้แก่นของเรื่องหรือประเด็นที่สำคัญซึ่งตรงกับการบันทึกของคุณลิขิต คุณลิขิตสามารถสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นหรือถ้ามีประเด็นเพิ่มเติมก็สามารถเพิ่มเติมได้ หรือหากประเด็นยังไม่ครบก็สามารถสอบถามกลุ่มเพิ่มเติมได้

เป็นเรื่องน่าสนใจและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนหน้างานชาวKMแก้จนเมืองคอน แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้เข้าร่วมเต็มที่เพราะปฏิทินเวทีชุมชนขวางทาง(มีเวลาจำกัดมากๆ) แต่อย่างไรก็ดีใคร่ขอเสนอความเห็นว่า คุณลิขิต ควรจะเป็นเลขาฯคุณอำนวยตำบลทั้งหมด นั่นก็หมายความว่า พนักงานราชการ กศน.จำนวนร้อยคนเศษ เพราะผู้แสดงความเห็นมองในมิติที่ว่า เรา(อำเภอ)ไม่มีเวลาและศักยภาพพอที่จะขยายผลจาก2คนไปสู่คนที่ไม่ได้เข้าประชุมครั้งนี้ แต่ภาระหน้างานยังต้องดำเนินไปอย่างไม่หยุด โอกาสหน้าว่าใหม่เดี๋ยวก็เก่ง
  • ก่อนอื่นต้องขอบพระคุณเป็นอย่างสูงเลยครับที่เข้าไปเยี่ยมชมบล็อคความรู้คือพลังครับ
  • เป็นบันทึกน่าสนใจมาก ๆ เลยครับสำหรับการติดอาวุธทางปัญญาให้คุณลิขิต
  • เพราะการจดการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญครับ บางครั้งการทำ KM บางแห่งก็ลืมให้ความสำคัญตรงนี้ไปครับ เพราะทั้งคุณเอื้อ คุณอำนวย คุณลิขิต และคุณกิจ จะต้องเชื่อมประสานกันเป็นอย่างดีเลยครับ ถึงจะทำให้งานประสบความสำเร็จสูงสุดครับ
  • และถ้าได้ผลสำเร็จหลังจากไปทำงานแล้วอย่างไรคุณเฉลิมลักษณ์ อย่าลืมมาบอกกล่าวเล่าสิบกันเพื่อเติมเต็มและต่อยอดกันอีกนะครับ
ขอขอบพระคุณ ทุกๆ ความคิดเห็นที่เข้ามาเยี่ยมชม และ ลปรร. ทุกความคิดเห็นเป็นประโยชน์สูงสุด จะได้นำไปพัฒนาเพื่อติดอาวุธทางปัญญาให้กับคุณลิขิต ภาค 2 ในวันที่ 12 ก.ย. 49 นี้ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท