ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์
ผศ.ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์ อาจารย์ โทนี่ ปัญญโรจน์

การพัฒนาทักษะการเขียน


www.drsuthichai.com การพัฒนาทักษะการเขียน มีความสำคัญมากต่ออาชีพนักเขียนหรือผู้ซึ่งต้องการพัฒนาตนเองในงานเขียน การพัฒนาทักษะการเขียนก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การพัฒนาทักษะการพูด การพัฒนาทักษะการฟัง การพัฒนาทักษะการอ่าน กล่าวคือ มี 3 ขั้นตอน มีขั้นตอนก่อนการเขียน มีขั้นตอนลงมือเขียนและขั้นตอนหลังการเขียน

การพัฒนาทักษะการเขียน

โดย...ดร.สุทธิชัย ปัญญโรจน์(ดร.โทนี่)

www.drsuthichai.com

                การพัฒนาทักษะการเขียน มีความสำคัญมากต่ออาชีพนักเขียนหรือผู้ซึ่งต้องการพัฒนาตนเองในงานเขียน การพัฒนาทักษะการเขียนก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับการพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น การพัฒนาทักษะการพูด  การพัฒนาทักษะการฟัง การพัฒนาทักษะการอ่าน กล่าวคือ มี 3 ขั้นตอน มีขั้นตอนก่อนการเขียน  มีขั้นตอนลงมือเขียนและขั้นตอนหลังการเขียน
                ซึ่งทั้ง 3 ขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ขั้นตอนก่อนการเขียน 

1.1.ผู้เขียนควรทำความเข้าใจรูปแบบต่างๆ ในงานเขียน เนื่องจากงานเขียนแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ทั้งรูปแบบการนำเสนอ ลักษณะ ความหมาย  เช่น การเขียนบทความ การเขียนสารคดี การเขียนรายงาน การเขียนเรียงความ การเขียนจดหมาย การเขียนเรื่องสั้น การเขียนนวนิยาย ฯลฯ

1.2.การเลือกเรื่องที่จะเขียน ควรคำนึงถึงองค์ความรู้ ประสบการณ์ ของผู้เขียน , ความสนใจของผู้อ่าน , ความแปลกใหม่ที่จะนำเสนอ , ความสามารถในการหาข้อมูลมาประกอบ

1.3.การรวบรวมข้อมูลมาประกอบ การเขียนทุกประเภทข้อมูลประกอบการเขียนเป็นสิ่งที่สำคัญและมีความจำเป็น ข้อมูลอาจจะมาจากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือ , การสัมภาษณ์บุคคล , การไปหาข้อมูลจากแหล่งที่เกิดข้อมูลโดยตรง และการค้นหาจากอินเตอร์เน็ต(Internet) 

1.4.การวางโครงเรื่อง ในการเขียนเราควรมีการวางโครงเรื่องว่าในหนังสือของเรา 1 เล่ม หรือ ในบทความของเรา 1 บท เราต้องการวางโครงเรื่องอย่างไร

 

ตัวอย่างการวางโครงเรื่อง

                                                                                ปัญหายาเสพติด

1.ความหมายของคำว่า “ ยาเสพติด ”

2.สภาพปัญหาของยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทย

3.ลักษณะของปัญหา

4.สาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหาและป้องกัน

5.ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหายาเสพติด

 

ขั้นตอนที่ 2  ขั้นลงมือเขียน

                เมื่อได้เตรียมการในขั้นตอนที่ 1 เสร็จแล้วให้ลงมือเขียนรายละเอียดตามโครงเรื่องที่วางเอาไว้ โดยมีการขยายความ การอธิบาย การยกตัวอย่าง  ให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ โดยต้องคำนึงถึง ลักษณะ รูปแบบ การนำเสนอของงานแต่ละประเภท เช่น การเขียนบทความต้องมีส่วนประกอบคือ การตั้งชื่อเรื่อง คำนำ เนื้อเรื่องและสรุป อีกทั้งต้องแสดงความคิดเห็น สอดแทรกข้อเสนอ และการวิพากษ์วิจารณ์ลงไปด้วย เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 ขั้นตอนหลังการเขียน

 สำหรับผู้ฝึกหัดเขียนใหม่ๆ เมื่อเขียนเสร็จแล้ว ควรอ่านทบทวนหลายๆ

รอบ อาจจะอ่านเสร็จแล้ว ทิ้งไว้สัก 1 อาทิตย์แล้วนำมาอ่านใหม่ เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมงานเขียนให้สมบูรณ์ขึ้น

แล้วพิจารณาว่างานเขียนของตนเองมีรูปแบบ ลักษณะ การนำเสนอตรงกับประเภทของงานเขียนหรือไม่ ตรวจดูคำผิด การใช้คำ การใช้ประโยค ภาษา งานเขียนบางประเภทต้องให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบหรืออ่านก่อน เมื่อแก้ไขสมบูรณ์แล้วจึงจัดส่งเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชนต่อไป

                การพัฒนาทักษะการเขียนจึงเป็นสิ่งที่ผู้ต้องการพัฒนางานเขียนของตนควรได้ทำความเข้าใจ ทำการศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเขียน

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นักเขียน
หมายเลขบันทึก: 463935เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2011 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 11:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท