10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ครั้งที่ 9


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้ (1 ตุลาคม 2554) ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 9 (กลุ่มภาคกลาง)

ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี” ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยายที่ผ่านแล้ว ทั้งหมด 8 ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/457772)

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459160)

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459981

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/460608

ครั้งที่ 5  บรรยายในวันที่ 19 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461450

ครั้งที่ 6 บรรยายในวันที่ 22 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461922

ครั้งที่ 7 บรรยายในวันที่ 26 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/462291

ครั้งที่ 8 บรรยายในวันที่ 29 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/463104

 

ภาพบรรยากาศครั้งที่ 9

 

หมายเลขบันทึก: 463267เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2011 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ความรู้ความเข้าใจเรื่องอาเซียนอยู่ที่ระดับ 8 เพราะว่า

  1. พื้นที่เป็นจุดผ่านเศรฐกิจการค้า
  2. สินค้าและบริการที่สร้างรายได้คือการส่งออกอัญมณีและบริการด้านท่องเที่ยว
  3. จุดที่ตั้งใกล้ท่าเรือ

ทฤษฎี 8k 5k

จุดเเข็ง ทุนมนุษย์มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชำนาญการผลิตมีคุณภาพ มีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่สืบทอดต่อกันมา

จุดอ่อน ขาดความรู้เรื่อง IT, ขาดความคิดส้รางสรรค์, ขาดทักษะเรื่องภาษา

วิธีพัฒนาจุดอ่อน

  1. ตั้งศูนย์สอนภาษาประจำท้องถิ่น
  2. ส่งเสริมให้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาพัฒนาระบบการทำงาน
  3. ประสานงานหน่วยงานที่มีความรู้เพื่อมาสร้างความเข้าใจเเละศึกษาดูงาน

การถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน

  1. อบรมให้ความรู้ผู้นำชุมชน เพื่อให้ผู้นำ นำไปถ่ายทอดเเละสร้างความเข้าใจให้ประชาชนในทอ้งถิ่น
  2. ศึกษาดูงานในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อให้ทราบว่าสินค้าที่อยู่ในชุมชนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตลาดอาเซียนได้อย่างไร
  3. จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เรื่องอาเซียน

ความสำเร็จที่จะได้รับคือ เมื่อผู้นำให้ความรู้ความเข้าใจเเก่ชุมชน ประชาชนจะเกิดความรู้เเละตื่นตัว ปรับตัว ในด้านการผลิตให้มีคุณภาพมากขึ้น เข้าใจกลุ่มลูกค้าและการตลาดในกลุ่มอาเซียน

งานวิจัย

  1. การสร้างเครือข่ายชุมชนอาเซียนในจังหวัดนนทบุรี
  2. ความพร้อมของชุมชนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
  3. ทัศนคติ อปท.ต่ออาเซียนเสรี
จังหวัดเพชรบูรณ์

ควารู้เรื่องอาเซียนอยู่ที่ระดับ 6

ในทฤษฎี 5k 8k

จุดอ่อนคือ

  1. ทุนทาง IT ขาดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีไปสู่ท้องถิ่น
  2. ทุนทางความคิดสร้างสรรค์ สินค้าบริการยังเป็นเเบบเดิม
  3. ทุนทางนวัตกรรม

จุดเเข็ง

  1. ทุนทางปัญญา มีภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ทุนทางสังคม
  3. ทุนวัฒนธรรม
  4. ทุนแห่งความสุข

เพราะว่ามีประเพณีวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมา มีทรัพยากรธรรมชาติด้านการท่องเที่ยว

การเเสวงหาโอกาสเพื่อก้าวไปในอาเซียนเสรี

  1. ด้านเศรษฐกิจ

เนื่องจาก เศรษฐกิจในชุมชนเป้นไปในรูปแบบพึ่งพากันเองในชุมชน จึงได้ปรับเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ การเข้าสู่อาเซียนโดยใช้ภูปัญญาท้องถิ่นเเละวัตถุดิบที่อยู่ในทอ้งถิ่นสร้างผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเเละพัฒนาคุณภาพ ทั้งนี้ยังต้องอาศัยหน่วยงานทีมีความรู้เข้ามาช่วยเเนะนำเพื่อไปสู่ความสำเร็จ

   2.  ด้านสังคม อปท.ต้องสร้างความรู้ให่ชุมชนในการปรับตัวเเละยอมรับการเปลี่ยนเเปลงที่มีการเเข่งขันสูง

   3. วัฒนธรรม เนื่องจากการก้าวเข้าสู่อาเซียนเสรีจะมีการเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนมากขึ้น จึงต้องเร่งส่งเสริมให้คนท้องถิ่นรักษาวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตัวเองไว้ เพื่อไม่ให้วัฒนธรรมเกิดการกลาย เเต่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างชาติให้ได้เพื่อสร้างความเข้าใจในฐานะที่เราเป็นผู้ผลิต

การถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน

  1. ส่งเสริมให้ชุมชนเข้าใจความหมายของอาเซียนเสรี โดยการจัดการอบรมในเบื้องต้น เเละสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องอาเซียนเสรีเพื่อให้ประชาชนหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง
  2. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีการส่งเสริม สร้างความเข้าใจเรื่องการผลิตสินค้าเเละบริการ การลงทุน เพื่อขยายทั้งฐานการตลาดเเละฐานการผลิต

วิจัยที่เหมาะสมกับท้องถิ่นคือ

  1. ผลกระทบจากอาเซียนเสรีกับสังคมและวัมนธรรมของชุมชนดั่งเดิม
  2. ปัญหาของสินค้าเเละบริการของชุมชนที่จะนำเข้าสู่ตลาดอาเซียน
  3. ทรัพยากรมนุษย์กับการเปลี่ยนเเปลงของอาเซียนเสรี

 

คำเเนะนำของวิทยากร

คำแนะนำคุณพิชภูรีย์

• ข้อมูลทุกกลุ่มขาดความรู้พื้นฐานที่ยังไม่แน่นพอ เเต่สิ่งที่ดีคือภูมิปัญญาทอ้งถิ่น ต้องกลับไปศึกษาจากภูมปัญญาท้องถิ่นให้ดี เช่น การเกษตรต้องสร้างเรื่องราวเพื่อสร้างจุดขาย และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

• สิ่งที่ต้องปรับคือการหาความรู้ใหม่ๆ เพื่อการปรับตัวในยุคของการเปลี่ยนแปลง เพื่อประยุกต์ใช้กับสิ่งทีมีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อขยายฐานการตลาดและการลงทุน

• เชื่อมโยงเสาบริการให้กับการท่องเที่ยวในภูมิภาค

• นำองค์ความรู้พื้นฐานมาก่อความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสู่สร้างนวัตกรรม

• การสร้างเครือข่ายเพื่อประสานความร่วมมือในการสร้างสินค้า สิ่งที่สำคัญคือความจริงใจ การเติมเต็มในสิ่งที่ขาดซึ่งกันเเละกัน เพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีและมีประสิทธิภาพสูง

• ในการเคลื่อนย้ายคน สินค้า บริการ ในท้องถิ่น ต้องดูว่าท้องถิ่นเรามีจุดเเข็งอะไรเเละต้องพัฒนาให้ได้มาตฐาน เเละความต้องการของตลาดใหม่ๆ เพื่อไม่ใช้เกิดคู่เเข่ง

• สิ่งที่เราได้เปรียบกว่าชาติอื่นในอาเซียนคือเรามี 3 สถาบัน ทำให้สังคมไทยเข้มแข็ง และสามารถต่อสู้กับต่างชาติได้

ท่านที่ปรึกษาสินชัย

  • ท้องถิ่นขาดความรู้ความเข้าใจเรื่อง AEC เเต่การอบรมวันนี้เป็นการปูพื้นในภาพรวมแต่ช่วงต่อไปจะลงลึกในแต่ละจังหวัด
  • อาเซียนเสรีคือ การรวมตัวกันทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน, การเมืองความมั่นคง, สังคมและวัฒนธรรม
  • เราต้องปรับตัวเพื่อรองรับผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้นและต้องศึกษาในแต่ละภูมิภาคว่ามีอะไรที่เป็นจุดเด่นในการเปิด AEC        
  • สิ่งที่เห็นพ้องกันคือเรื่องจุดแข็งการท่องเที่ยวและทางด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมให้จัดศูนย์การเรียนรู้เรื่องอาเซียนในแต่ละจังหวัด หรือ ตำบล เพื่อส่งเสริมทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาเเละประวัติศาสตร์

อ.ภัทรชัย

  • จุดเด่น 4 เสาของไทย ชาติศาสนา พระมหากษัติย์ ประชาธิปไตยอย่าง
  • ศูนย์เรียนรู้เรื่องอาเซียนเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน
  • เราต้องสร้างผู้นำที่ดีเพื่อปรับให้ชุมชนรับมือเข้าไปสู่การเปลี่ยนแปลง ASEAN

A = Awareness, Alignment ,Attempt, Achievement

S = System Approch, Sustainability, Services, Sufficiency Economy, Smile

E = Exist, Evolution Execllence Education

A = Analysis, Active Praticipation, Application

N = Norms, Nation ‘s Safety 

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “บทบาทของผู้นำต่อการค้าเสรี”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 1 ตุลาคม 2554

• ได้อ่านบทความเรื่องการที่ประเทศจีนตัดสินใจเปิดประเทศเพราะจะเกิดการพัฒนาในเรื่องสินค้าในโลก ขอเสนอว่าการที่เราต้องเปิดประเทศจึงต้องมีการปรับพฤติกรรมให้มีการแข่งขันและรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สินค้าต้องมีคุณภาพและมาตรฐานมากขึ้น การเปิดประเทศของไทยไม่ว่าจะรวยหรือจนต้องพัฒนาศักยภาพให้เข้าใจและรู้จักตลาดเสรี

• อบต.ต้องอยู่กับประชาชน ต้องปรับทัศนคติเพื่อเปิดรับเรื่องภายนอกและสามารถเอามาใช้ได้กับท้องถิ่น เมื่อเปิดอาเซียนเสรีท้องถิ่นต้องได้ประโยชน์ ไม่ให้คนต่างชาติมาใช้ประโยชน์จากท้องถิ่นเรา

ท้องถิ่นต้องเข้าใจว่า

• การเปิดประเทศต้องเข้าใจโลกปัจจุบัน ต้องเข้าใจว่าปัจจุบันศักยภาพอยู่ที่จีนและอินเดียที่กำลังเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจมีกำลังซื้อ แต่ยุโรปกำลังจะพังเหมือนคนแก่ที่กำลังจะหมดแรง

• วันนี้เมื่อได้ความรู้แล้วต้องนำไปต่อยอดกับท้องถิ่น ยกตัวอย่างเมื่อครั้งที่แล้ว 3 จังหวัดภาคใต้จะใช้เศรษฐกิจจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมาแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง เพราะถ้าเมื่อเศรษฐกิจดีคนจะมีงานทำปัญหาความขัดแย้งจะลดลง

• คนทุกคนในท้องถิ่นเป็นทุนมนุษย์ เพราะท้องถิ่นมีภูมิปัญญาและมีความหลากหลาย คือวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ต่างชาติต้องการ

• ท้องถิ่นต้องใช้ระบบห่วงโซ่อุปทาน เริ่มจากท้องถิ่นไปสู่ผู้บริโภคต่างชาติ

• ถ้าเปิดประเทศต้องถือว่าได้ สิ่งแรกคือได้รับแรงบันดาลใจว่าเราต้องแข่งขัน ต้องใช้โอกาส จังหวะ ความเป็นท้องถิ่น แล้วท้องถิ่นในเมืองไทยคือความหลากหลาย ความหลากหลายคือสิ่งที่คนต่างชาติอยากมาประเทศไทย ความหลากหลายสิ่งนี้คือวัฒนธรรม

• ห่วงโซ่อุปทาน ทุกอย่างเริ่มที่ท้องถิ่นได้แต่ไปจบที่ผู้บริโภค ทุกคนในโลกคือลูกค้าของคุณ

• ประเด็นแรกคือเปิดเสรีมีประโยชน์แล้วมีประโยชน์ต่อท่าน

• ภาวะผู้นำ คนในห้องนี้รับตำแหน่งเป็นผู้นำ อย่างน้อยต้องถามตัวเองว่าในเรื่องอาเซียนเสรีจะทำอะไร ? คนเป็นผู้นำในอาเซียนเสรีควรมีลักษณะอย่างไร ? ทำไมผู้นำถึงแตกต่างกับผู้บริหารธรรมดา สิ่งแรกคือต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

• ต้องรู้ว่าอะไรเกิดขึ้นในโลก โอกาสมาต้องรู้จักฉกฉวย อันตรายมาต้องรู้จักวางแผนถึงชนะ ผู้นำต้องคิดเป็น วิเคราะห์เป็น รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงคืออะไร แล้วอาเซียนเสรีคืออะไร

• ในวันนี้ข้อสำคัญก่อนที่จะเริ่มคือ มีคำถามว่าถ้าเราจะเป็นผู้นำที่ดีเราจะต้องทำอะไรในเรื่องอาเซียนเสรี ?

• พัฒนาผู้นำที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง และการคิดให้เป็นระบบว่าอาเซียนเสรี มีโอกาสและการคุกคามอย่างไร แล้วนึกถึงลูกบ้านของคุณเยอะ ๆ เปิดโอกาสให้คนเข้ามามีส่วนร่วม

• ในประเทศไทยเราผิดพลาดเพราะคนในอดีตยากจนเลยไม่เรียนหนังสือ แล้วบางคนที่ไอคิวสูงสุดแต่ขาดโอกาสตอนเป็นเด็ก ... การเรียนคือแรงบันดาลใจเพื่อช่วยประเทืองปัญญา การฟังคนเก่งเยอะ ๆ จะทำให้มีพลังขึ้นมา

สรุป Quotation

• โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่มีอะไรแน่นอน ผู้นำที่ดีต้องบริหารความเร็ว การเปลี่ยนแปลง และความไม่แน่นอนว่ามีอะไรเกิดขึ้น ต้องไม่อวิชชา (คือรู้ไม่ทันเขา รู้ไม่จริง อยู่ในสังคมที่ไม่ใฝ่รู้) ดังนั้นจะจัดการเปลี่ยนแปลงได้ต้องมีความรู้ และต้องรู้สด และข้ามศาสตร์

• ความสามารถในการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ เราต้องถามตัวเองว่าเรามีคุณภาพหรือยัง ถ้ายังไม่มีก็หามัน เรียกว่าการปลูก การปลูกคือการเรียนรู้ตลอดชีวิต เราต้องมีความสามารถในการเรียนรู้ตลอดชีวิต คุณภาพสำคัญที่สุด และเรื่องทุนมนุษย์เราต้องดูว่าขาดอะไร การปลูกทุนมนุษย์มี 2 อย่างคือการปลูกตั้งแต่วัยเด็ก และพอสำเร็จการศึกษาแล้วปัญญายังอยู่ใน DNA หรือไม่? อยู่ในสายเลือด จิตวิญญาณหรือไม่? สิงคโปร์รายได้ต่อหัวมากกว่าประเทศไทย 14 เท่า ถามว่าสิงคโปร์เก่งเพราะอะไร ? คำตอบคือ เพราะ..คนเก่ง สิงคโปร์มีคนที่สามารถทำธุรกิจข้ามชาติได้ และมีผู้นำที่มีคุณธรรม จริยธรรม สูง อย่างลี กวน ยู

• ถ้าเราจะมีความสามารถในการแข่งขัน เราต้องมีสินค้าที่มีคุณภาพและราคาที่แข่งกับคนอื่นเขาได้ แรงงานของเรามีจำนวนเยอะแต่ประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากเราไม่ได้มีการพัฒนาอย่างแท้จริง การเกษตรเรามีผลผลิตสูงแต่ผลผลิตต่อไร่ยังไม่เยอะ แต่กลับเป็นการขยายพื้นที่การปลูก ตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมากมาย

• เชื่อมั่นว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ดังนั้นปรัชญาของการอยู่รอดในอนาคต คือต้องหันมาดูทรัพยากรมนุษย์ของเรา

• ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรือ อิสราเอล ประเทศอยู่ได้เพราะว่าเราต้องสนใจทรัพยากร การเปิดเสรีได้เราต้องมีความสามารถที่แข่งกับสิงคโปร์ อิสราเอล เป็นต้น ไทยเป็นสังคมบ้าวัตถุ สังคม อำนาจแต่ไม่ได้บ้าการเป็นทรัพยากรมนุษย์

• คิดระดับประเทศ Think Global Act Local ผู้นำในห้องนี้ต้องคิดไกล คิดถึงโลก คิดถึงอาเซียน แล้วดูว่าชุมชนได้อะไร แต่ถ้าเราคิดถึงแต่จังหวัดเรา ชุมชนเรา เราก็จะไปไม่รอด

ควรเรียนวิชาทางภูมิศาสตร์ เช่นรู้ว่าแต่ละประเทศอยู่ที่ไหน อยากให้ดูฟิลิปปินส์ด้วย

เมื่อมองกว้างแล้วก็ลงมาที่ท้องถิ่นท่าน มีโอกาสให้ฉกฉวย และหลีกเลี่ยงการคุกคาม

• สิ่งที่มองไม่เห็น ความคิดสร้างสรรค์ ความฉลาดเฉลียว และจินตนาการของมนุษย์ อย่าทำตัวแล้วแต่ท่าน...อย่ารู้อย่างเดียว ต้องปรับตัวก่อนว่าจะทำอย่างไร นายกฯ ทั้งหลายต้องทำตัวให้คล่อง ต้องทำตัวให้เป็นผู้ประกอบการ ต่อไปนี้ชุมชนคือธุรกิจ ข้อเสียคือทำตัวเป็นนักธุรกิจไม่เป็น แต่หาเงินเป็น ต่อไปนี้ ต้องให้มันสมองอยู่ที่ชาวบ้าน คนฉลาดอยู่ที่ชาวบ้านเยอะ เพียงแต่เราไม่เคยถามเขา ให้เขาพูดและเค้นความเป็นเลิศออกมา

• ขอให้เน้นและสนใจเรื่องวิจัยมากขึ้น

วัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ

อยากให้ตัวตนของท่านค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน แล้วดึงออกมา

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำในท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง การมีโลกทัศน์กว้างจะได้เปรียบ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเราเราต้องมอง Macro ไว้ก่อน

2. ต้องการให้นั่งฟังแล้วเกิดพลัง เกิดความรู้สึกและกระตุ้นความเป็นเลิศขึ้นมา สร้างแรงบันดาลใจ

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง ถามว่าตัวเองเป็นผู้นำเพื่ออะไร ตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของอาเซียนเสรี ค้นหาตัวเองว่าช่องว่างของอาเซียนเสรีอยู่ตรงไหน แล้วให้ช่องว่างลดลง

4. แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น เห็นอาเซียนเสรีแล้วอย่ากลัว ต้องคิดว่าเราจะต้องคิดยุทธศาสตร์ที่จะให้ชุมชนของเรามีส่วนร่วมกับการขยาย คุณได้เปรียบเพราะมีภูมิปัญญา รู้วัฒนธรรม แต่เสียเปรียบตรงที่ไม่รู้ว่าตลาดโลกต้องการอะไร สังเกตตัวอย่างของญี่ปุ่น OTOP ใช้เวลาเป็น 100 ปีกว่าจะสำเร็จ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบางครั้งถูกนายทุนต่างชาติมาใช้ ดังนั้นจึงต้องเก็บวัฒนธรรมของชาติไว้แล้วแปลมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องคิดที่จะให้การกระจายรายได้มาถึงคุณด้วย สิ่งสำคัญคือต้องให้คนของเรามีรายได้ สิ่งแรกสำคัญสุดคือต้องเพิ่มรายได้ อาเซียนต้องไม่มาลดรายได้

5. อย่าทำงานคนเดียว ขาดอะไรให้สร้างเครือข่าย อย่าคิดคนเดียว ท้องถิ่นต้องมีเพื่อนเป็นพันธมิตรมากขึ้นเรียกว่า Networking

6. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยทางลบแน่นอน เช่นหอม กระเทียม ขายสู้จีนไม่ได้ มีการหลั่งไหลของแรงงาน วัฒนธรรมที่ไม่พึงปรารถนา และโรคภัยไข้เจ็บทางชายแดน ถ้าเรารู้ปัจจัยทางลบคืออะไร เราต้องระมัดระวัง ภาษาเราอ่อนคือภาษาอังกฤษ แต่ที่สำคัญคือภาษาอาเซียนเราไม่รู้เช่นกัน ต่างกับที่ชาวต่างชาติเขารู้ภาษาเรา

7. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

8. ทำให้ท่านเป็นผู้ถ่ายทอด แต่ไม่ใช่ถ่ายทอดแค่ไปสอน เราอาจแนะนำเขาด้วยให้เขาได้ประโยชน์จริง ๆ Training for Trainer ไม่ใช่ให้ความรู้อย่างเดียว หรือสอนอย่างเดียว บางครั้งต้องจัด Workshop ด้วย

…………………………………..

10ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี “ฝึก Training for Trainers”

1. ใน10 ประเทศ ประเทศที่อยู่ทางใต้ของเราเป็นประเทศที่สูสีกับเรา หรือรวยกว่าเรา อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน ถ้าประเทศเหล่านั้นจะเข้ามาเราต้องเตรียมตัวคือ ต้องเจรจาต่อรองให้เป็น ต้องใช้ทรัพยากรในประเทศและรู้กฎหมายในประเทศของเรา คนในจังหวัดภาคกลางต้องทำธุรกิจร่วมกิบสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนได้ อยากให้คนในห้องนี้มีโปรเจคร่วมกับฟิลิปปินส์มากขึ้น.... แต่ที่ยากจนคือลาว เขมร พม่า และอีกอย่างเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อน เราชนะเศรษฐกิจ แต่ไม่ชนะวัฒนธรรม ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าศึกษากฎหมายพวกนี้ให้ดี การค้า การลงทุนต้องรู้เขารู้เรา กฎระเบียบ Non Tariff Barrier เราต้องเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้าให้ดี ท้องถิ่นต้องมีคนรู้กฎระเบียบมาตรฐานการค้าให้ดี ต้องให้ท้องถิ่นรู้เรื่องอาเซียนเสรีอย่างจริงจัง และเรื่องภาษาอาเซียน ตลาดเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 590 ล้านคน

2. ข้อตกลงร่วมมือในอาเซียนเสรี มี 3 สาขาใหญ่คือ ประเทศไทยต้องทำทั้ง 3 อย่าง เพราะมีทั้งโอกาสและการคุกคาม เป็นประโยชน์และเชื่อมโยงกันแต่ในสาขาที่ 2 มีการคุกคามเยอะหน่อย

- เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การค้ามีทั้งสินค้าบริการเป็นหลัก ส่วนเรื่องคนคือมีการเคลื่อนย้ายคน ถ้ามีคนเก่ง เราก็ส่งคนไปทำงานที่ประเทศอื่นได้ เป็นมืออาชีพ Professional ถ้าเราถูกซื้อตัวไปทำงานที่ต่างประเทศมาก ประเทศเราก็มีปัญหา ประเทศเราไม่ได้มีคนเก่งเยอะนัก ดังนั้นการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเรื่องหนึ่งที่ท้องถิ่นให้ความสนใจ

- สังคมและวัฒนธรรม ประเทศไทยได้เปรียบสิงคโปร์มากเพราะเรามีภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ ไม่ว่า วัฒนธรรม สมุนไพร การท่องเที่ยว แต่ทำอย่างไรให้เขาซื้อสินค้าเราคือทำให้มีสินค้าที่มีมาตรฐานสูงขึ้น ทำด้านสุขภาพอนามัย ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลขยะ

ของไทยบางครั้งยังไม่ได้มองโอกาส บางท้องถิ่นไม่ได้ส่งออก ถ้าการคุกคามทางลบมากกว่าทางบวก ท้องถิ่นจะแย่ ตอนบ่ายอยากให้เน้นเรื่องวิจัยและพัฒนา การหาความรู้ร่วมกัน ทิ้งประเด็นไว้ตอนบ่ายวันนี้คือโจทย์ที่จะทำให้เราไปวิเคราะห์ต่อ

- ความมั่นคงทางการเมือง เรื่องยาเสพติดเป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง การค้ามนุษย์ ปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัย ปัญหาเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ประเทศไทยอีกไม่นานจะมีปัญหาทางการเมืองมหาศาลคือแรงงานต่างด้าว นักธุรกิจ หรือชุมชนใช้แรงงานต่างด้าวมากเกินไปตามชายแดน เกิดพม่าพัฒนาประเทศเมื่อไรก็จะดึงแรงงานกลับ ถ้าพม่าไม่ดึงกลับ ปัญหาต่อไปคือจะให้เขาเป็นคนไทยหรือไม่?

3. ไทยต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อย แต่ไม่ละเลยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเรา

• เสรี แปลว่าสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว ต้องศึกษาให้ดีว่าตกลงในเรื่องใดบ้างแม้ว่าไม่มีการกีดกันทางด้านภาษีศุลกากร Non Tariff Barrier แต่มีการกีดกันด้านอื่น เช่น สารพิษ สารเคมี ต่าง ๆ โรคต่าง ๆ ดังนั้นต้องศึกษาในเรื่องกฎระเบียบ และมาตรฐานของสินค้าต่าง ๆ เช่นสินค้าเกษตรต้องมีสุขอนามัยได้รับการยอมรับสูงสุด เพราะเมื่อไรก็ตามผู้บริโภคทานแล้วท้องเสีย ฟ้องเราจะเสร็จเลย มีการลดภาษีศุลกากรใกล้ 0 แต่มีการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ยังมีเรื่องสุขอนามัย ฯลฯ เราต้องมีการป้องกันไม่ให้เขาเข้ามามากเกินไป ตัวอย่างเช่นสินค้าเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร อัญมณี สมุนไพร ฯลฯ จึงอยากให้โลกทัศน์เปิดกว้างตลอดเวลา อะไรที่รู้จริงให้เก็บไว้ อะไรรู้ไม่จริงก็ถาม

• ในขณะเดียวกันถ้าเราไปได้ เขาก็มาหาเราได้ ... ประเทศอื่นในอาเซียนเก่งกว่าประเทศเรา เขาก็มาแย่งงานเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ ธุรกิจที่เราเคยมีอยู่ ก็อยู่ไม่ได้ เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับโชวห่วย ถ้าบางเรื่องหายในท้องถิ่น เราก็ไปเพิ่มอีกเรื่องหนึ่ง ตัวที่จะชนะคือ สินค้าวัฒนธรรม กับสินค้าเกษตร แต่ที่จะเสียเปรียบคือสินค้าอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามเราต้องมีการปรับตัว สร้างมูลค่าเพิ่ม มาตรฐาน ต้องมีคุณภาพที่ดี แต่ถ้าผู้นำเป็นคนที่ไม่สนใจ ไม่หาความรู้ก็จะสู้เขาไม่ได้

• การเปิดเสรีทางด้านการลงทุน ประเทศไทยมีทุนมากกว่าก็สามารถลงทุนในประเทศเหล่านี้ได้ อีกหน่อย Value Chain อาจข้ามประเทศได้ เราจะมีแหล่งกำเนิดสินค้าเพิ่มขึ้น มีการรวมตัวกันเป็นแหล่งกำเนิดสินค้าอาเซียนได้ อย่าถือว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายในการหาความรู้ ขอให้ตั้งใจ และสนใจ ต้องมีการพัฒนามากขึ้นเรื่อย ๆ การศึกษาต้องมีการปรับตัวให้รองรับอาเซียนเสรี

• นอกจากอาเซียนแล้ว เรายังไปเซ็นสัญญากับอีก 6 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เซ็นสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น มีตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ ? ประเทศไทยแต่ก่อนส่งออกไปที่อเมริกา ยุโรปเป็นหลัก แต่กรีก อิตาลีตอนนี้มีปัญหา เครื่องจักรปัจจุบันย้ายไปที่อาเซียนเรียบร้อยแล้ว เรียกว่า Intra Asian Trade ประเทศตะวันตกไม่มีความหมายเหมือนแต่ก่อน ไทยยังขาดภาษาเรื่องพูดภาษาเขมร เวียดนาม พม่า ฯลฯ

4. เมื่อท่านเห็นภาพดังกล่าว วิเคราะห์ว่ามีอะไรเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวท่าน

• ถ้าผู้นำรู้จะมีโอกาสฉกฉวยให้เกิดประโยชน์จริง ๆ ขอให้นำไปปฏิบัติจริง เมื่อเรารู้แล้ว เราต้องพัฒนาสินค้าเราอย่างบ้าคลั่ง ต้องทำวิจัย ดูวิธีการส่งออก บรรจุหีบห่อ มีมาตรฐาน อย่างไปจีน ต้องรู้เขารู้เรา ดังนั้นเรื่องมาตรฐาน คุณภาพสำคัญ

• จะหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร ต้องมั่นใจว่าท้องถิ่นทำได้และทำได้ดีด้วย ผู้นำท้องถิ่นต้องสามารถปรับตัวได้

• ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ข้อเสียของคนไทยคือชอบตาม ไม่ค่อยคิดว่า โอกาสและการคุกคามคืออะไร เพิ่มโอกาส หลีกเลี่ยงการคุกคามที่มีความเสี่ยงให้ได้

• ที่สำคัญที่สุดในวันนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้มั่นใจตัวเองว่าเราจะอยู่รอด ย้อนกลับไปถึงความเป็นประเทศของไทย อย่าคิดว่า ลบมากกว่าบวก ในอาเซียนการแข่งขันบวกความร่วมมือด้วย ดังนั้นการร่วมมือกันเท่ากับการแข่งขัน มี Competition + Collaboration ท้องถิ่นทำงานร่วมกับอาเซียนไม่ใช่แข่งขันอย่างเดียว ชุมชนต้องการเด็กไปเรียนที่อินโดฯ เวียดนาม ฟิลิปปินส์แล้ว ประเทศอ่อนแอด้านเศรษฐกิจมากกว่าเราไม่ใช่ว่าเขาร่วมมือกับเราไม่ได้ เราต้องเรียนรู้การลดคอรัปชั่นกับประเทศเหล่านั้นให้ได้ ไม่ใช่เฉพาะการค้า การลงทุน

• วิชาสำคัญที่สุดคือ รู้เขา รู้เรา และวิชาเจรจาต่อรอง ต้องมีจังหวะการเข้าการออกที่ดี ต้องแน่ใจว่าเรารู้สิ่งที่ควรจะได้หรือที่เรียกว่า Win-Win เราไม่ต้องไปทำให้เขาได้มากกว่าเราในทุกเรื่อง

• อาเซียนเสรี มีโครงการช่วยท้องถิ่น การกระจายรายได้ทำให้มีฐานะดีขึ้น

5. การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเรื่อง

- การเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ ว่าอาเซียนเสรีคืออะไรแน่ โอกาสแรกคือตลาดกว้างขึ้น ต่อไปนี้จะทำงานร่วมกับ 10 ประเทศ มีการเคลื่อนย้ายประชากร เคลื่อนย้ายทุน ผู้นำในห้องนี้ต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้ใฝ่รู้

- การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือปรับทัศนคติ ต่อไปนี้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้วเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องอยู่ในสังคมอาเซียน ต้องอยู่ร่วมกัน แต่ต้องเป็น 1 คอมมิวนิตี้ การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปให้ชุมชนในแนวกว้าง อยู่ที่ท่านจะกระจายความรู้ไปอย่างไร

6. สิ่งสำคัญที่สุดคือคงความเป็นไทยไว้ คงความเป็นท้องถิ่นไว้ ต้องรักษาภูมิปัญญาของเราไว้ได้ อย่าให้ภูมิปัญญาภาคเหนือถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำ ต้องมีความสามารถให้เยาวชนตัดสินได้ว่าสิ่งที่เข้ามาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เราต้องรักษาความเป็นไทยไว้ และนั่นคือเงิน ต้องทำการเกษตร ต้องทำการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสมุนไพรที่มีคุณภาพ คนถึงซื้อจากเรา แต่ถ้าเราเก่งเรื่องรถยนต์อีกไม่นานก็เจ้งเพราะเราไม่มีภูมิปัญญาที่แท้จริง

7. ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้อยากให้โรงเรียนท้องถิ่นมีการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมอาเซียน เน้นเรื่องการรู้เขารู้เรา มีสอนภาษาอาเซียน

8. การให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ เสนอให้มีคนดูแลอาเซียนพิเศษในระดับท้องถิ่น มีการสอนภาษาอาเซียนทุกอำเภอในจังหวัดโคราช

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ให้ดูว่าตัวท่านมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ แล้วจะถ่ายทอดให้ท้องถิ่นได้อย่างไร K มาจาก ทุนคือ Capital

8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• ทุนมนุษย์ สิ่งแรกคือหัวใจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ 2-8 คือทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ต้องมีการลงทุน มีวิธีการเรียนรู้

• ทุนปัญญาหมายถึงคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

• ทุนจริยธรรม เป็นคนดี มีเหตุมีผล ทำอะไรจริง ซื่อตรง ทำเพื่อส่วนรวม

• ทำงานอย่างมีความสุข มีชีวิตที่มีความสุข มีความสมดุล

• ลองสังเกตเครือข่ายในอบต. อบจ. Network ระดับประเทศ

• ให้สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นประโยชน์ระยะยาว

• ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็น

• อยากให้ท้องถิ่นมี 3 อย่างพร้อมกันคือทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ในอาเซียนเสรีทัศนคติที่สำคัญคือความมั่นใจในตัวเอง เน้นการอยู่ร่วมกัน แล้วคิดบวก บางครั้งอาจมีการสร้างกระแสอาเซียนเสรีว่าเราสามารถสู้ได้

• มีความคิดสร้างสรรค์ แล้วต้องนำไปร่วมกับความรู้ แล้วเอาความรู้ใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ทำให้สำเร็จ ปรุงใหม่ แต่งใหม่ บรรจุภัณฑ์ใหม่

• วัฒนธรรมมาจากประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา วิถีชีวิตของเรา

• ทุนทางอารมณ์ต้องดี ควบคุมความนิ่งของเราให้ได้ อย่าเครียด ทำตัวให้มีสติ มีสมาธิที่จะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้

ข้อที่อยากจะฝากไว้คือ ผู้นำในห้องนี้ มีหรือยัง ? มีแล้วไปถ่ายทอดให้ชาวบ้าน

10. ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

• รู้จริง อยู่กับความจริง อยู่ภายใต้ความสามารถที่จะจัดการได้ เช่นมีวรรณเกษตร สามารถจัดการเอง และเก็บกินเองได้

• ถ้ามีโอกาสขยายธุรกิจ ต้องมีความรู้ ความพร้อม คุณธรรม อย่าทำอย่างโลภ ให้อยู่อย่างพอเพียง แล้วคิดว่าจะอยู่รอดได้ในระยะยาว

สรุป

• แนวคิด 10 ประเด็นเป็นบันไดขั้นแรก ที่จะจัดการกับอาเซียนเสรี ซึ่งเริ่มขึ้นจากตัวท่านเองในฐานะที่เป็นผู้นำ

• หนทางที่เดินมีอุปสรรคและขรุขระบ้าง ดังนั้นต้องฝึกไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าฟังแล้ววันนี้เก่งทันที่ ต้องรู้ให้จริง

• ผู้นำในห้องต้องหวังดี มีแรงบันดาลใจ ใช้ปัญญาให้เป็น ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไปข้างหน้า สู่อาเซียนเสรีได้อย่างเข้มแข็ง มีกรมเจรจาการค้า กรมการปกครองท้องถิ่น แล้ว ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วท่าน ร่วมกัน

สุดท้าย .. เสนอแนะวิธีการถ่ายทอดไปให้ประชาชนท้องถิ่น 6 ประเด็น

1.เตรียมการพูดและหัวข้อให้ดี รู้ให้จริงก่อน ถ่ายทอดให้ได้ ให้เขาคิดแล้วเอาไปทำ

2. เน้นว่าประชาคมอาเซียนคืออะไร มี 3 แท่งคือ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน, สังคมวัฒนธรรม ,ความมั่นคงทางการเมือง

3. สำคัญต่อท้องถิ่นอย่างไร

4. โอกาสคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร มีโอกาสแล้วนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมให้ได้ มีทุนมนุษย์และมีการบริหารจัดการที่ดี นักรัฐศาสตร์ที่ดีคือรู้เรื่องการบริหารจัดการได้

5. วิธีการนำเสนอใช้ 2 R’s คือเน้นความจริง บริบทของท้องถิ่นคืออะไร และตรงประเด็นกับเขา ประเด็นที่สำคัญต่อชาวบ้านคืออะไร

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s 1.มีการกระตุ้นให้คิด 2.สร้างบรรยากาศให้การเรียนสนุก 3.เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น มีการปะทะกันทางปัญญา กระตุ้นให้ใฝ่รู้ 4.เขาต้องเป็นคนใฝ่รู้ โดยเริ่มจากตัวท่านก่อน เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เมื่อคุณไม่อยู่แล้วชาวบ้านต้องหารือกัน ถกเถียงกัน อบต.ที่เทศบาลต้องเต็มไปด้วยปัญญา

Workshop

ให้เวลา 2 นาที คุยกับคนในโต๊ะสรุปในช่วงเช้าสิ่งที่ได้ฟังจากอาจารย์จีระ

จังหวัดอุดรธานี

• ข้อสงสัยคือการเปิดการค้าอาเซียนเสรีมีประโยชน์และมีทางลบด้วย ทางลบคือถ้าทุกประเทศเปิดเสรี ภาษีเป็น 0 แล้วเราจะเอาเงินจากที่ไหนมาเป็นสวัสดิการต่อคนในประเทศเพียงพอหรือไม่ ?

• ดร.จีระ บอกว่ารายได้ของเมืองไทยในก.คลังอยู่ที่กรมสรรพากร เป็นภาษีนิติบุคคล กับ VAT ถึงเราไม่เปิดอาเซียนเสรี WTO ก็มาบังคับว่าสินค้าส่วนใหญ่จะ 0 อยู่แล้ว ศุลกากรไม่ใช่ตัวหลักในการจัดเก็บภาษี ถ้าขยายการทำงานเพิ่มขึ้น VAT จะเพิ่มขึ้น ไทยเป็นประเทศเดียวที่ VAT ต่ำที่สุดในโลก ล่าสุดประเทศจีน VAT 17 % , VAT มาจากการบริโภค เงินที่ได้จากภาษีอยู่ที่กรมสรรพสามิตส่วนหนึ่งแล้วอีกส่วนอยู่ที่กรมสรรพากรด้วย ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีคนทำงาน 30 ล้านคน แต่เสียภาษีรายได้แค่ 5 ล้านคน

• ทางเศรษฐศาสตร์พบว่า มีการค้าดีกว่าไม่มี เศรษฐกิจที่จีนดีขึ้น เพิ่มขึ้น เพราะมาจากการเปิดประเทศ

ความคิดเห็นที่ 2

• ในปี 2558 เราจะเริ่มเปิดอาเซียนเสรีแล้ว ในฐานะประชาชนคนไทยมีความพร้อมมากน้อยแค่ไหนในการเตรียมความพร้อมการเปิดอาเซียนเสรี

• ดร.จีระ บอกว่า เราต้องระมัด ระวัง ปัญหาสังคม การเมืองไม่ให้เสียต่อระบบเศรษฐกิจ เราต้องนำ 3 แท่งมาวิเคราะห์ให้รอบคอบ ให้ชายแดนคุยกับตำรวจให้ดี อย่าฮั้วกับเขา ถ้ามีคอรัปชั่นมากกว่าเดิม เราจะเสียมากขึ้น ให้ผลประโยชน์กระจายต่อประชาชน อย่าให้คอรัปชั่นเกิดในชายแดน คนคุมคือตำรวจ แบ่งเป็นพื้นที่ ในฐานะที่เป็นผู้นำท้องถิ่น ท่านต้องช่วย ในเมื่อสถานการณ์เป็นเหมือนเดิม นั่นคือประโยชน์ทับซ้อน แต่ในวันนี้เราต้องให้ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนส่วนใหญ่ นอกจากเรื่อง เศรษฐกิจการค้าให้เรามองใน 3 ส่วนหลักเพิ่มขึ้นด้วย ต้องเอาจุดแข็งมามากกว่าจุดอ่อน ต้องทำให้ชาวบ้านได้ด้วยเช่นกัน

ความคิดเห็นที่ 3

• เดี๋ยวนี้ประเทศไทยมีปัญหาในทรัพยากรมนุษย์ เรื่องวินัยก็มีปัญหา ตั้งแต่เกิดก็มีปัญหา ในท้องถิ่นชุมชน ชาวบ้านยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับอาเซียนเสรีเลย รู้เพียงแค่จะผลิตอย่างเดียวแต่ผลิตโดยไม่มีมาตรฐาน จึงทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับต่างชาติได้

• ดร.จีระ บอกว่ายากเพราะว่าเราจะยกระดับการแข่งขันอยู่ในอาเซียนเสรี โลกไม่ได้เปลี่ยนทันที สุภาษิตจีนเคยสอนไว้ “ปลูกแตงกวาใช้เวลา 3 เดือน ปลูกมะม่วงใช้เวลา 5 ปี ปลูกมนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิต” เพราะฉะนั้นเราควรเริ่มตั้งแต่วันนี้

• พฤติกรรมของชาวบ้านต้องเปลี่ยน แต่ผู้นำอย่างท่านก็ต้องเปลี่ยนก่อน เราต้องยอมรับให้ตัวเราเข้าใจมากขึ้น แล้วแบ่งปันความรู้ให้คนอื่นมากสุด

เราต้องสู้กับเงิน การเมือง อำนาจต่าง ๆ

ท่านที่ปรึกษาฯ สินธร

• ประเด็นที่ได้คือการที่เราจะแข่งขันไปอาเซียนเสรี เราต้องมาสำรวจตัวเองว่ามีอะไรบ้างที่มีปัญหา ปัญหาที่เรามีอยู่ การกระทำที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ ไม่ว่ามาตรฐานสินค้า บริการ จัดการ สิ่งที่ผิดกฎหมายต้องมีการแก้ไข ไม่เช่นนั้นจะมีช่องโหว่เยอะ ไม่เช่นนั้นประเทศชาติเสียประโยชน์ ต้องเป็นสิ่งที่ช่วยกัน มีการพัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน ปราศจากการทุจริต คอรัปชั่น มีธรรมาภิบาล และจริยธรรมกำกับด้วยจึงจะแข่งขันได้มากขึ้น

คุณภัทรชัย

• ใช้หลัก 4 C เกี่ยวกับการยกเครื่อง

• C1- Concept คือกรอบความคิด และแนวความคิดเป็นสำคัญ เรื่อง Think Global Act Local เป็นเรื่องสำคัญ ตามองดาว เท้าติดดิน การเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

• C2 - Customer คนไทย 67 ล้านคน ถ้ารวมอาเซียน 590 ล้านคน ขณะนี้มี + 3+6+8 ประมาณ 3,000 ล้านคน ครึ่งหนึ่งประชากรโลก ครึ่งหนึ่งอยู่ที่อาเซียน + 3+6+8

• C3 – Change การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ได้ การเปลี่ยนแปลงมี 3 เรื่อง เรื่องแรกคือ เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ซึ่งเป็นบริบทของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องที่สอง สังคม วัฒนธรรม เป็นเรื่องข้ามชาติ มีทั้งพึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา เรื่องที่สามเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเมือง โลกมีผลกระทบ โดยเฉพาะสื่อทางวีดิทัศน์ดีมาก ๆ ควรเผยแพร่ และ Write แผ่น

• C4 - Competition & Collaboration การแข่งขัน ดังนั้นยุคนี้เป็นยุคการแข่งขันที่รุนแรง คนแข็งแรงเท่านั้นอยู่ได้ คนไม่แข็งแรงจะล้มหายตายจากไป การเปิด 7-eleven ,Lotus ทำให้โชวห่วยจากหายไป เป็นต้น

• แนวทางการพัฒนาประเทศไทยเพื่อแข่งขันกับนานาประเทศด้วยการเทียบเคียง มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง , เรื่อง PMQA แต่อปท.ยังไม่ได้ขับเคลื่อน ดังนั้นจึงอยู่ที่ผู้นำ

• เล่มที่สองเกี่ยวกับ อปท. อบจ. เทศบาล

• การพัฒนาหมู่บ้านละ 1 ล้านทำอย่างไรให้ยั่งยืน มีการจัดอบรมที่สมุทรปราการประมาณ 4 รุ่น

• การพัฒนาต้องอิงเกณฑ์ ไม่ใช่อิงกลุ่ม หรืออิงกู

• มหาวิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชนและท้องถิ่น มีหลักสูตรการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เรียนฟรี เรื่อง..ผู้ประกอบการสังคม Social Entrepreneur

Workshop

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น(ให้คะแนน ระดับ 0 – 10 และบอกเหตุผล มา 3 ข้อ)

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

3. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

จังหวัดลำปาง

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น(ให้คะแนน ระดับ 0 – 10 และบอกเหตุผล มา 3 ข้อ)

ระดับ 6 เพราะ

1.ท้องถิ่นยังขาดความรู้ความเข้าใจในบริบทของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าด้านบวกหรือด้านลบ

2.ยังขาดกลไกของภาครัฐที่เชื่อมโยงสู่ท้องถิ่นจากระดับบนสู่ล่าง

3.อปท.ยังมองภารกิจในด้านของภารกิจของมหาดไทยเท่านั้น

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง คือ ความหลากหลาย และวิถีชีวิตของชุมชน

จุดอ่อน คือ ภูมิปัญญาของท้องถิ่นกระจัดกระจายเป็นส่วน ๆ ขาดการบูรณาการร่วมกัน

วิธีแก้ไขจุดอ่อน

1. สร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนให้มีศักยภาพในเรื่องของทักษะ ทัศนคติ กฎ กติกา

2. ทำให้ประชาชนมีความเป็นพลเมืองมากขึ้น

3. พัฒนาข้าราชการท้องถิ่นให้มีความรู้ และมีประสิทธิภาพและเป็นข้าราชการมืออาชีพ

3. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1.อปท.ย่อมรู้สภาพปัญหาและความต้องการของคนในท้องถิ่นเป็นอย่างดี

2.ในการที่จะส่งเสริมแข่งขันและก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนได้เป็นอย่างดี

วิธีแก้ไข

1.สร้างองค์ความรู้ในการเชื่อมโยงระหว่างท้องถิ่นและอาเซียน

จุดแข็ง

1. ภารกิจตามอำนาจหน้าที่ครอบคลุมข้อตกลงร่วมมือทั้ง 3 สาขาใหญ่ของอาเซียน วิธีแก้ไข

1. สร้างความตระหนักรู้ให้แก่บุคลากรของอปท.ให้มีจิตสำนึก

2. ให้บุคลากรของ อปท.เปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีคิด วิธีการทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงขของระบบโลกาภิวัตน์

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่น โดยการบูรณาการร่วมกันทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชน

2.อบรมให้ความรู้ กฎระเบียบ ปัญหา อุปสรรค

3.มีการถ่ายทอดให้ชาวบ้านรับรู้โดยภาษาท้องถิ่น

ความสำเร็จ

1.ชาวบ้านมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. การเรียนรู้ร่วมกันของชุมชนท้องถิ่นในการทำธุรกิจกับประชาคมอาเซียน

2. ผลกระทบทางสังคมในการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน

3. ผลได้ผลเสียในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียน

กลุ่มจังหวัดระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว

จังหวัดระยอง ปราจีนบุรี สระแก้ว

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น(ให้คะแนน ระดับ 0 – 10 และบอกเหตุผล มา 3 ข้อ)

0 คะแนน เพราะ

1.ประชาชนกับกรมเจรจาการค้าต่างประเทศแทบจะไม่รู้จักกันเลย ก่อนหน้านี้ กรมเจรจาการค้าต่างประเทศรู้จักแต่ผู้ประกอบการ (อาจจะเฉพาะรายใหญ่ ๆ อย่างเช่น CP ,ปูนซีเมนต์ เป็นต้น)

2.ขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลข่าวสาร บทบาท หน้าที่ หรือการเตรียมตัวให้พร้อมรับมือการค้าแบบเสรี

3. ประชาชนยังไม่รู้ข้อดี ข้อเสียของ FTA ยังไม่ทราบผลกระทบต่ออาชีพของตัวเอง

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

ทุนทางสังคม,ทุนมนุษย์,ทุนทางวัฒนธรรม

จุดอ่อน

ทุนทาง IT, ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ, ทุนแห่งการสร้างสรรค์ , ทุนทางนวัตกรรม, ทุนทางอารมณ์

วิธีการพัฒนาจุดอ่อน

หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องเร่งสร้างแรงจูงใจ ประชาสัมพันธ์ พัฒนาความรู้ ความสามารถของบุคลากรทุกภาคส่วนของ อปท. ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการที่จะสามารถพัฒนาให้จุดอ่อนที่มีอยู่หมดไป และเข้าถึงความเป็นอาเซียนเสรี ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

3. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง – สินค้าทางการเกษตรที่เป็นที่ต้องการของประชาชนทั่วโลก

- แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น ทะเล, น้ำตก

จุดอ่อน - คุณภาพของสินค้า วิธีแก้ไข ต้องมีการให้มีความรู้มากถึงจัดสรร

- ประชาชนต้องมีการพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของประชาคมอาเซียน

- แหล่งท่องเที่ยว วิธีแก้ไข ความต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นมีจิตสำนึกในการรักษาแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงการให้การยอมรับนักท่องเที่ยวให้เกิดความรู้ ประทับใจอยากมาท่องเที่ยวในสถานที่เดิม ๆ โดยเกิดความรู้สึกในการต้อนรับภาคประชาชนในท้องถิ่น

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1. การให้ความรู้แก่ชุมชนในท้องถิ่นในเรื่องอาเซียนเสรีว่ามีความสำคัญมากเพียงใด

2. ประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อทุกแขนงให้ชุมชนในท้องถิ่น ได้รับทราบและเกิดความตื่นตัว เนื่องจากความพร้อมที่จะระดับการเปิดอาเซียนเสรี

3. กระตุ้นให้ร่วมโครงการทุกส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกหลักในการถ่ายทอดความรู้ให้อปท.ทุกแห่งได้รับรู้และเข้าใจ

ความสำเร็จที่คาดหวังได้

1. ชุมชนในท้องถิ่นมีความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญของอาเซียนเสรี

2. ชุมชนเกิดความตื่นตัวและมีการปรับตัวให้รับกับอาเซียนเสรี

3. อปท.สามารถที่จะนำสินค้า บริการของท้องถิ่นไปต่อยอดสร้างรายได้ให้กับชุมชนนท้องถิ่นมากขึ้น

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. เรื่องสำรวจความรู้ ความเข้าใจของชุมชนในท้องถิ่น

2. เรื่องแนวทางการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ให้การมีการสินค้าและบริการให้มีความเป็นเลิศ

3. เรื่องแนวทางการกระจายสินค้าและบริการของท้องถิ่น ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประชาคมอาเซียน

กลุ่มจังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด

จังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น(ให้คะแนน ระดับ 0 – 10 และบอกเหตุผล มา 3 ข้อ)

6 คะแนน เพราะ

1.ประชาชนในท้องถิ่น ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ AEC

2.ผลกระทบส่วนได้ ส่วนเสียที่มีต่อท้องถิ่นมีไม่มาก

3.ข้อจำกัดในเรื่องบทบาท อำนาจหน้าที่ของอปท.

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

ทุนทางสังคม สังคมมีความเอื้ออาทร / ทุนทางวัฒนธรรม

จุดอ่อน

ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

3. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

โอกาส ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ได้แก่ การเผยแพร่วัฒนธรรมทางสังคม่ของคนในชุมชนท้องถิ่นให้ประชาคมโลก โดยเฉพาะประชาคมอาเซียนได้รู้จักมากขึ้น

ความเสี่ยง ที่ต้องหลีกเลี่ยง ได้แก่ การเคลื่อนย้ายของแรงงานต่างชาติที่มีฐานเงิน ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าแรงงานไทย

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.ประชุมสัมมนากลุ่มผู้นำชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น

2.ประชาสัมพันธ์ทางสื่อทุกรูปแบบ

3.จัดเป็นวิชาเสริมในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. ผลกระทบ / ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อประชาคมอาเซียน

2. การนำผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่ตลาดอาเซียนอย่างยั่งยืน

3. ความคาดหวังของประชาชนจากการทำการค้าเสรี

กลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ

จังหวัดฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น(ให้คะแนน ระดับ 0 – 10 และบอกเหตุผล มา 3 ข้อ)

9 คะแนน เพราะ

1.การผลิตสินค้าท้องถิ่น เช่น OTOP สามารถนำผลผลิตส่งออกไปโดยไม่ต้องเสียหาย ช่วยลดต้นทุนการนำไปปรับใช้ในการผลิตสินค้า โดยเฉพาะเงื่อนไขต่าง ๆ คืออะไรในอาเซียน

2.ธุรกิจการบริการ เช่น การท่องเที่ยว การบริการต่าง ๆ การธนาคาร การดูแลสุขภาพ การลงทุนจากประเทศสมาชิก ทำให้มีฐานลูกค้าให้มากขึ้น

3.การเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างประเทศ

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดอ่อน

คือทุนมนุษย์ ทุนทางจริยธรรม ทุนทาง IT ทุนแห่งการสร้างสรรค์ ทุนทางนวัตกรรม

จุดแข็ง

คือทุนทางปัญญา ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ทุนทางอารมณ์ ทุนทางวัฒนธรรม

เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

เสริมสร้างความรู้ให้กับประชาชนในท้องถิ่นให้เข้าใจ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน การจัดทำแผนชุมชน กลุ่มส่งเสริมอาชีพ อสพ.ที่ท้องถิ่นดูแลอยู่

3. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1. ทรัพยากรในท้องถิ่น ,ผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ผลไม้ มะพร้าว กุ้ง ปลา

2. แหล่งท่องเที่ยว เช่น วัดหลวงพ่อโสธร ,ตลาดน้ำ ,วัดหลวงพ่อโต,พระสมุทรเจดีย์

3. วัฒนธรรม เช่น การแข่งเรือยาว สงกรานต์พระประแดง ประเพณีโยนบัว

จุดอ่อน

1. คุณภาพสินค้า บริการ ต้องมีการปรับปรุง

2. การประชาสัมพันธ์ ,การบริหารจัดการ เช่นที่จอดรถ

4. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1. ให้ความรู้ประชาชนในท้องถิ่น ถึงคำนิยามของอาเซียนเสรีคืออะไร ประชาชนในท้องถิ่นจะต้องทำอย่างไร และชุมชนจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง

2. ดูจุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร แล้วหาแนวทางพัฒนาจุดแข็งของท้องถิ่นไปสู่เป้าหมาย

3. ทำการศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาคุณภาพของสินค้าและบริการ เพื่อให้เป็นมาตรฐานสากล

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. การบริหารจัดการด้านผลผลิต พร้อมทั้งคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์

2. สินค้า OTOP สู่ช่องทางการจำหน่ายสินค้า

3. การพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อทำอย่างไรให้ไปสู่ผู้ใช้บริการได้มากที่สุด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท