มหาวิทยาลัยเพื่อการค้าหรือเพื่อสังคม


เมื่อ 21 ส.ค.2549 ที่ ม.ธรรมศาสตร์ ในการอภิปรายทางวิชาการเรื่อง มหาวิทยาลัยเพื่อการค้าหรือเพื่อสังคม มีประเด็นที่น่าสนในดังนี้

นายจอน อึ้งภากรณ์ รักษาการ สว. กทม. " คุณภาพการศึกษาไทยแย่มานานแล้วและไม่ได้พัฒนาขึ้น ขณะที่การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยก็สนองตอบธุรกิจมากกว่ารับใช้สังคม แม้แต่ประเทศอังกฤษเองพบว่า มีธุรกิจการเขียนบทความให้กับนักศึกษาในราคา 1 แสนบาท ส่วนประเทศไทยมีธุรกิจการ
ติว การขายข้อสอบบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยรามคำแหง  เรื่องการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ต้องออกนอกระบบราชการจริงๆ ไม่ใช่ระบบบริหารงานแบบเผด็จการ โดยกลุ่มของกรรมการสภากับอธิการบดี ส่วนกรณีร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยบูรพา ส.ว. พยายามแก้ไขในประเด็นที่ต้องการให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยมาจากชุมชน  เนื่องจาก พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยนอกระบบนั้นให้อำนาจกับผู้บริหารสูงมาก อธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาที่เหนืออาจารย์ ที่ดูเป็นระบบอธิการบดีซีอีโอ"

นายพิภพ ธงไชย กรรมการมูลนิธิเด็ก " มหาวิทยาลัยไทยเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการค้า เพราะระบบการศึกษาของไทยเป็นระบบการศึกษาเพื่อเลื่อนฐานะ โดยใช้ใบปริญญา อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ใช่ผู้คงแก่เรียนอีกต่อไป แต่เป็นผู้ประกอบการทางวิชา ทำหน้าที่ขายวิชา ไม่ได้สร้างความรู้ วิจัยใหม่ๆให้เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ "

* *

รายละเอียดข่าวชิ้นเล็กๆ แต่ทำให้หลายคนที่กาฬสินธุ์ เกิดคำถามขึ้นมาว่า  ที่ไหนที่จะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆแก่ผู้เรียนบ้าง เพราะตอนที่ไปเรียนได้ความรู้ใหม่

- แต่หลังจากเรียนจบแล้ว ..ก็ลืม
- เวลาผ่านไป ไม่มีความรู้ติดตัวเลย
- ทำอย่างไร คนที่ไม่ได้อยู่ในวงการศึกษา วงการวิชาการ เมื่อเรียนจบแล้ว จึงจะสามารถคิดวิเคราะห์ความรู้ใหม่ๆได้เอง
- เมื่ออ่านรายละเอียดหลักสูตรก่อนที่จะตัดสินใจเรียน จะรู้ได้อย่างไรว่า หลักสูตรที่จะเรียน เป็นหลักสูตรเพื่อเลื่อนวิทยฐานะ หรือเพื่อการได้รับความรู้ใหม่ๆ นำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริงๆ

ข้อคิดเห็นของหลายๆคนที่กาฬสินธุ์ โดยสรุปบอกว่า คงต้องพึ่งตัวเอง ขวนขวายเรียนรู้ด้วยตัวเองให้เต็มที่ เพราะอาจารย์มหาวิทยาลัย เป็นเพียงผู้ชี้แนวทางให้ผู้เรียน ตัดสินใจฝึกฝน ค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตัวเอง.



หมายเลขบันทึก: 46296เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

  Sad เรียนท่าน บอนFree

 อาการน่าเป็นห่วง

 Pouty  มหาวิทยาลัยหลายแห่งขยายเครือข่ายเปิดสถาบันข้ามห้วย ข้ามจังหวัด ข้ามภาค

 ปริมาณ หรือ คุณภาพ

 ขยายโอกาสการศึกษา หรือ ฉวยโอกาสการหารายได้

 น่าคิดครับ

 กรรมการสภามหาวิทยาลัย ต้อง "ได้คิด และ คิดได้"





"อาจารย์สอนให้รู้วิธีจับปลา" แต่การจับปลา " ผู้เรียนต้องหากลวิธีจับปลาเอง เปรียบดั่งว่า อาจารย์สอนวิธีการใช้ศาสตราวุธแต่ผู้ใช้ต้องหาวิธีการ ทำอย่างไรที่จะยิงกระสุนออกจากลำกล้องได้

1.คิดได้

2.คิดเป็น

3.ปรับใช้

4.เรียนรู้จากสิ่งที่เคยรู้และไม่รู้

ปรากฏการณ์แบบนี้ น่าเป็นห่วงมาก เพราะการศึกษาเป็นพื้นฐานงานพัฒนา

หากงานด้านการศึกษา อ่อนด้อย แล้วเราจะก้าวสู่อนาคตที่ดีได้อย่างไร

ผมพอเห็นปรากฏการณ์แบบที่ว่า ทั่วไปหมด ไม่เว้นแต่จังหวัดเล็ก ๆ ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ที่บ้านผม...ยิ่งโดนสถาบันซ้ำเติมเข้าไปอีก

บอกว่าขยายโอกาสทางการศึกษา แต่ดูๆไป เหมือนกับ การขยายธุรกิจการศึกษา ... 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท