Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

๓.ทานกัณฑ์


เป็นกัณฑ์ที่พระเวสสันดรทรงแจกมหาสัตสดกทาน คือ การแจกทานครั้งยิ่งใหญ่ ก่อนที่พระเวสสันดรพร้อมด้วยพระนางมัทรี ชาลีและกัณหาออกจากพระนคร จึงทูลขอพระราชทานโอกาสบำเพ็ญมหาสัตสดกทาน คือ การให้ทานครั้งยิ่งใหญ่ อันได้แก่ ช้าง ม้า โคนม นารี ทาสี ทาสา สรรพวัตถาภรณ์ต่างๆ รวมทั้งสุราบานอย่างละ ๗๐๐

แม้พระนางผุสดีราชเทวีมีพระดำริว่า ข่าวเดือดร้อนมาถึงลูกของเรา ลูกของเราจะทำอย่างไรหนอ เราจักไปให้รู้ความ จึงเสด็จไปด้วยสิวิกากาญจน์ ม่านปกปิดประทับที่ทวารห้องบรรทมอันมีสิริ ได้ทรงสดับเสียงสนทนาแห่งกษัตริย์ทั้งสอง คือพระเวสสันดรและพระนางมัทรี ก็พลอยทรงกันแสงคร่ำครวญ อย่างน่าสงสาร.

พระศาสดา เมื่อทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระผุสดีราชบุตรพระเจ้ามัททราช ผู้ทรงยศได้ทรงสดับ พระราชโอรสและพระสุณิสาทั้งสองปริเทวนาการ ก็ทรงพลอยคร่ำครวญละห้อยไห้ว่า เรากินยาพิษเสียดีกว่า เราโดดเหวเสียดีกว่า เอาเชือกผูกคอตายเสียดีกว่า

เหตุไฉน ชาวสีพีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดรผู้ไม่มีความผิด.
เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก ผู้ไม่มีโทษไม่ผิด ผู้รู้ไตรเพทเป็นทานบดี ควรแก่การขอ ไม่ตระหนี่. เหตุไฉน ชาวนครสีพีจึงจะให้ขับไล่เจ้าเวสสันดรลูกรัก ผู้ไม่มีโทษผิด อันพระราชาต่างด้าวทั้งหลายบูชา มีเกียรติยศ.
เหตุไฉน ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิด ผู้เลี้ยงดูบิดามารดา ประพฤติถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในราชสกุล.
เหตุไฉน ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิด ผู้เกื้อกูลแก่พระเจ้าแผ่นดิน แก่เทพเจ้า แก่พระประยูรญาติ แก่พระสหาย เกื้อกูลทั่วแว่นแคว้น.
เหตุไฉน จึงให้ขับไล่ลูกเวสสันดร ผู้ไม่มีความผิดเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชปุตตี ได้แก่ พระนางผุสดีราชธิดาของพระเจ้ามัททราช. บทว่า ปปเตยยหํ ความว่า เราพึงโดด. บทว่า รชชุยา พชฌมิยาหํ ความว่า เราพึงเอาเชือกผูกคอตายเสีย. บทว่า กสมา ความว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่อย่างนี้ เหตุไฉน ชาวสีวีจึงให้ขับไล่ลูกของเรา ผู้ไม่มีความผิดเสีย. บทว่า อชฌายิกํ ความว่า ผู้ถึงฝั่งแห่งไตรเพท คือถึงความสำเร็จในศิลปะต่างๆ.

พระนางผุสดีทรงคร่ำครวญอย่างน่าสงสาร ฉะนี้แล้ว ทรงปลอบพระโอรสและพระศรีสะใภ้ ให้อุ่นพระหฤทัย แล้วเสด็จไปเฝ้าพระเจ้าสญชัย กราบทูลว่า
ชาวสีวีให้ขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิด รัฐมณฑลของพระองค์ ก็จักเป็นเหมือนรังผึ้งร้าง เหมือนผลมะม่วงหล่นลงบนดิน ฉะนั้น พระองค์อันหมู่เสวกามาตย์ละทิ้งแล้ว จักต้องลำบากอยู่พระองค์เดียว เหมือนหงส์มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว ก็ลำบากอยู่ในเปียกตมอันไม่มีน้ำ ฉะนั้น.
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงขอกราบทูลพระองค์ว่า ประโยชน์อย่าได้ล่วงเลยพระองค์ไปเสียเลย ขอพระองค์อย่าทรงขับไล่พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีพีเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลิตานิ ได้แก่ เหมือนรวงผึ้งที่ตัวผึ้งหนีไปแล้ว. บทว่า ปติตา ฉมา ได้แก่ ผมมะม่วงสุกที่หล่นลงพื้นดิน. พระนางผุสดีทรงแสดงว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อขับไล่ลูกของเราไปอย่างนี้แล้ว แว่นแคว้นของพระองค์ก็จักสาธารณ์แก่คนทั่วไป. บทว่า นิกขีณปตโต ได้แก่ มีขนปีกหลุดร่วงแล้ว. บทว่า อปวิฏโฐ อมจเจหิ ความว่า เหล่าอำมาตย์ประมาณหกหมื่น ผู้เป็นสหชาติกับลูกของเราละทิ้งแล้ว. บทว่า วิหญญสิ แปลว่า จักลำบาก. บทว่า สีวีนํ วจนา ความว่า ขอพระองค์อย่าทรงขับไล่ลูกของเราผู้ไม่มีความผิดนั้น ตามคำของชาวสีวีเลย.

พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อเราขับไล่ลูกที่รักผู้เป็นดุจธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ เพราะฉะนั้น ถึงลูกจะเป็นที่รักกว่าชีวิตของเรา เราก็ต้องขับไล่.

เนื้อความของคาถานั้นว่า แน่ะพระน้องผุสดีผู้เจริญ เมื่อฉันขับไล่ คือเนรเทศลูกเวสสันดร ซึ่งเป็นธงชัยของชาวสีพี ก็ทำโดยเคารพยำเกรงต่อขัตติยราชประเพณีธรรมของโบราณ ในสีพีรัฐ เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ลูกเวสสันดรนั้นเป็นที่รักกว่าชีวิตของฉัน ถึงอย่างนั้น ฉันก็ต้องขับไล่.

พระนางผุสดีราชเทวีได้ทรงสดับดังนั้นก็ทรงครวญคร่ำรำพันว่า
แต่กาลก่อนๆ เหล่าทหารถือธง และเหล่าทหารม้าเป็นอาทิ ราวกะดอกกรรณิการ์อันบานแล้ว และราวกะราวป่าดอกกรรณิการ์ ไปตามเสด็จพ่อเวสสันดร ผู้เสด็จไปไหนๆ. วันนี้ พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว. เหล่าราชบุรุษผู้ห่มผ้ากัมพลเหลืองมาแต่คันธารรัฐ มีแสงสีดุจแมลงค่อมทองตามเสด็จไปไหนๆ. วันนี้ พ่อจะเสด็จไปแต่องค์เดียว. แต่ก่อนพ่อเคยเสด็จด้วยช้างที่นั่ง พระวอหรือรถที่นั่ง. วันนี้ พ่อจะต้องเสด็จไปด้วยพระบาทอย่างไรได้.
พ่อมีพระกายลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์ อันเจ้าพนักงานปลุกให้ตื่นบรรทมด้วยฟ้อนรำขับร้อง จะต้องทรงหนังเสืออันหยาบขรุขระ และถือเสียมหาบคาน อันคอนเครื่องบริขารแห่งดาบสทุกอย่าง ไปเองอย่างไรได้ ไม่มีใครนำผ้ากาสาวะและหนังเสือไป. เมื่อพ่อเสด็จเข้าสู่ป่าใหญ่ ใครจะช่วยแต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ ก็ไม่มี. เพราะเหตุไร ขัตติยบรรพชิตทั้งหลาย จะทรงผ้าเปลือกไม้ได้ อย่างไรหนอ.
แม่มัทรีจักนุ่งห่มผ้าคากรองกะไรได้ แม่มัทรีเคยทรงภูษามาแต่แคว้นกาสี และโขมพัสตร์และโกทุมพรพัสตร์. บัดนี้ จะทรงผ้าคากรองจักทำอย่างไร. แม่มัทรีเคยเสด็จไปไหนๆ ด้วยสิวิกากาญจน์ คานหามและรถที่นั่ง. วันนี้ แม่ผู้มีวรกายหาที่ติมิได้ จะต้องดำเนินไปตามวิถีด้วยพระบาท แม่มัทรีผู้มีฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อน มักมีพระหฤทัยหวั่นขวัญอ่อน สถิตอยู่ในความสุข. เสด็จไปข้างไหนก็ต้องสวมฉลองพระบาททอง. วันนี้ แม่ผู้มีอวัยวะงาม จะต้องดำเนินสู่วิถีด้วยพระบาทเปล่า แม่จะเสด็จไปไหนเคยมี สตรีนับด้วยพันนางนำเป็นแถวไปข้างหน้า. วันนี้ แม่ผู้โฉมงามจะต้องเสด็จไปสู่ราวไพรแต่องค์เดียว. แม่มัทรีได้ยินเสียงสุนัขป่า ก็จะสะดุ้งตกพระหฤทัยก่อนทันที หรือได้ยินเสียงนกเค้าอินทสโคตรผู้ร้องอยู่ ก็จะสะดุ้งกลัวองค์สั่น ดุจแม่มดสั่นอยู่ ฉะนั้น.
วันนี้ แม่ผู้มีรูปงามเป็นผู้ขลาดไปสู่แนวป่า ตัวแม่เองจักหมกไหม้ ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้เปล่าจากลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่นั้นๆ เหมือนนางนกมีลูกถูกเบียดเบียนเห็นแต่รังเปล่า ฉะนั้น. ตัวแม่จักหมกไหม้ด้วยความทุกข์นาน เพราะอาศัยวังนี้ว่างจากพระลูกรัก ตัวแม่แลไม่เห็นลูกรัก ก็จักผอมผิวเหลือง จักแล่นไปในที่นั้นๆ เปรียบดังนางนกเขามีลูกถูกเบียดเบียนแล้วเห็นแต่รังเปล่า หรือเปรียบเหมือนนางนกจากพรากตกในเปือกตมไม่มีน้ำ ฉะนั้น.
เมื่อหม่อมฉันพิลาปอยู่อย่างนี้ ถ้าพระองค์ยังจะขับไล่ พระราชโอรสผู้ไม่มีความผิดนั้นเสียจากแว่นแคว้น หม่อมฉันเห็นจะต้องสละชีวิตเสียเป็นแน่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กณิการาว ความว่า เป็นราวกะดอกกรรณิการ์ที่บานดีแล้ว เพราะประดับด้วยเครื่องอลังการ อันเป็นสุวรรณวัตถาภรณ์. บทว่า ยายนตมนุยายนติ ความว่า ตามเสด็จพระเวสสันดร ผู้เสด็จเพื่อต้องการประพาสสวนอุทยาน เป็นต้น. บทว่า สวาชเชโกว ความว่า วันนี้พระเวสสันดรจักเสด็จไปพระองค์เดียวเท่านั้น. บทว่า อนีกานิ ได้แก่ มีกองช้างเป็นต้น. บทว่า คนธารา ปณฑุกมพลา ความว่า ผ้ากัมพลแดงที่เสนานุ่งห่มมีค่าแสนหนึ่ง เกิดที่คันธารรัฐ. บทว่า หาริติ ความว่า แบกไป. บทว่า ปสิสนตํ ได้แก่ เมื่อพระเวสสันดรเสด็จเข้าไปอยู่. บทว่า กสมา จีรํ น พชฌเร ความว่า ใครๆที่แต่งตัวได้ จะช่วยแต่งองค์ด้วยผ้าเปลือกไม้ ก็ไม่มี เพราะอะไร. บทว่า ราชปพพชิตา ได้แก่ พวกกษัตริย์บวช. บทว่า โขมโกทุมพรานิ ได้แก่ ผ้าสาฎกที่เกิดในโขมรัฐและในโกทุมพรรัฐ.
บทว่า สา กถชช ตัดบทเป็น สา กถํ อชช. บทว่า อนุจจงคี ได้แก่ ผู้มีพระวรกายไม่มีที่ตำหนิคือหาที่ติมิได้. บทว่า ปีฬมานาว ความว่า หวั่นไหวเสด็จไปเหมือนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า อสสุ ในบทเป็นต้นว่า ยสสุ อิตถีสหสส เป็นนิบาต ความว่า ใด. ปาฐะว่า ยาสา ก็มี. บทว่า สิวาย ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก. บทว่า ปุเร ความว่า อยู่ในพระนครในกาลก่อน. บทว่า อินทสโคตสส ได้แก่ โกสิยโคตร. บทว่า วาริณีว ได้แก่ เหมือนยักษทาสีที่เทวดาสิง. บทว่า ทุกเขน ได้แก่ ทุกข์ คือความโศกเพราะความพลัดพรากจากบุตร. บทว่า อาคมมิมํ ปุรํ ความว่า เมื่อลูกไปแล้ว แม่มาวังนี้ คือวังของลูก. บทว่า ปิเย ปุตเต ท่านกล่าวหมายพระเวสสันดรและพระนางมัทรี. บทว่า หตจฉาปา ได้แก่ มีลูก คือลูกน้อยถูกเบียดเบียนแล้ว. บทว่า ปพพาเชสิ จ นํ รฏฐา ความว่าถ้าพระองค์ยังจะขับไล่ลูกเวสสันดรนั้นจากแว่นแคว้น.

เหล่าสีพีกัญญาของพระเจ้ากรุงสญชัยทั้งปวง ได้ยินเสียงคร่ำครวญของพระนางผุสดีเทวี ก็ประชุมกันร้องไห้ ส่วนราชบริจาริกานารีทั้งหลายในพระราชนิเวศน์ของพระเวสสันดร ได้ยินเสียงเหล่าราชบริจาริกาของพระเจ้ากรุงสญชัยร้องไห้ ต่างก็ร้องไห้ไปตามกัน คนหนึ่งในราชสกุลทั้งสองที่สามารถระทรงตนไว้ได้ ไม่มีเลย ต่างทอดกายาร่ำพิไรรำพัน ดุจหมู่ไม้รังต้องลมย่ำยีก็ล้มลงตามกัน ฉะนั้น.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เหล่าสีพีกัญญาทั้งปวงในพระราชวัง ได้ฟังสุรเสียงของพระนางผุสดีทรงกันแสง ก็ประชุมกันประคองแขนทั้งสองร้องไห้ เหล่าราชบุตรราชบุตรี ชายา พระสนม พระกุมาร พ่อค้า พราหมณ์ กองช้าง กองม้า กองรถ กองราบ ฝ่ายข้างวังพระเวสสันดร ก็พากันลงนอนยกแขนทั้งสองร้องไห้ ประหนึ่งหมู่ไม้รังต้องลมประหารย่ำยี ก็ล้มลงตามกัน ฉะนั้น.
แต่นั้นเมื่อราตรีสว่าง ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระเวสสันดรก็เสด็จมาสู่โรงทาน ทรงบำเพ็ญทาน โดยพระโองการว่า เจ้าทั้งหลายจงให้ผ้าห่มแก่เหล่าผู้ต้องการผ้านุ่งห่ม น้ำเมาแก่พวกนักเลงสุรา โภชนาหารแก่เหล่าผู้ต้องการโภชนาหาร โดยชอบทีเดียว. อย่าเบียดเบียนเหล่าวณิพก ผู้มาในที่นี้แม้แต่คนหนึ่ง จงให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำ พวกนี้เราบูชาแล้ว จงให้ยินดีกลับไป.
ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว วณิพกเหล่านั้นเป็นดังคนเมา คนเหน็ดเหนื่อย ลงนั่งปรับทุกข์กันว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ชาวสีพีเหมือนตัดเสีย ซึ่งต้นไม้ที่ให้ผลต่างๆ ที่ทรงผลต่างๆ ที่ให้ความใคร่ทั้งปวง ที่นำมาซึ่งรส คือความใคร่ทั้งปวง เพราะพวกเขาขับไล่พระเวสสันดร ผู้หาความผิดมิได้จากรัฐมณฑล. ในเมื่อพระเวสสันดรมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญเสด็จออกแล้ว เหล่าคนแก่ คนหนุ่ม และคนกลางคนทั้งหมด ภูต แม่มด ขันที สตรีของพระราชา สตรีในพระนคร พราหมณ์ สมณะ และเหล่าวณิพกอื่นๆ ประคองแขนทั้งสองร้องไห้ว่า
ดูเถอะ พระราชาเป็นอธรรม. พระเวสสันดรเป็นผู้อันมหาชนในเมืองของตนบูชาแล้ว ต้องเสด็จออกจากเมืองของพระองค์ โดยต้องการตามคำของชาวสีวี.
พระเวสสันดรมหาสัตว์นั้นพระราชทานช้าง ๗๐๐ เชือก ล้วนประดับด้วยคชาลังการ มีเครื่องรัดกลางตัวแล้วไปด้วยทอง คลุมด้วยเครื่องประดับทอง มีนายหัตถาจารย์ขี่ประจำ ถือโตมรและขอ.
ม้า ๗๐๐ ตัว สรรพไปด้วยอัศวาภรณ์เป็นชาติม้าอาชาไนยสินธพ เป็นพาหนะว่องไว มีนายอัศวาจารย์ขี่ประจำ ห่มเกราะถือธนู.
รถ ๗๐๐ คัน อันมั่นคงมีธงปักแล้ว หุ้มหนังเสือเหลืองเสือโคร่งประดับสรรพาลังการ มีคนขับประจำถือธนูห่มเกราะ.
สตรี ๗๐๐ คน คนหนึ่งๆ อยู่ในรถ สวมสร้อยทองคำประดับกายแล้วไปด้วยทองคำ มีอลังการสีเหลือง นุ่งห่มผ้าสีเหลือง ประดับอาภรณ์สีเหลือง มีดวงตาใหญ่ ยิ้มแย้มก่อนจึงพูด มีตะโพกงามบั้นเอวบาง.
โคนม ๗๐๐ ตัว ล้วนแต่งเครื่องเงินทาสี ๗๐๐ คน ทาส ๗๐๐ คน (พระองค์ทรงบำเพ็ญทานเห็นปานนี้) ต้องเสด็จออกจากแคว้นของพระองค์.
พระราชาเวสสันดรพระราชทานช้างม้ารถ และสตรีอันตกแต่งแล้ว ต้องนิราศจากแคว้นของพระองค์.
ในเมื่อมหาทาน อันพระเวสสันดรพระราชทานแล้ว พสุธาดลก็กัมปนาทหวาดหวั่นไหว และพระราชาเวสสันดรทรงกระทำอัญชลี นิราศจากแคว้นของพระองค์ นั่นเป็นมหัศจรรย์อันน่าสยดสยอง ให้ขนพองสยองเกล้า ได้เกิดมีแล้วในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิกญฺญา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สตรีทั้งหลายของพระเจ้าสญชัยราชาแห่งชาวสีวีแม้ทั้งปวง ได้ฟังเสียงคร่ำครวญของพระนางผุสดีแล้ว ประชุมกันคร่ำครวญร้องไห้. บทว่า เวสสนตรนิเวสเน ความว่า เหล่าชนฝ่ายข้างวังแม้ของพระเวสสันดร ได้ฟังเสียงคร่ำครวญของสตรีทั้งหลายในวังของพระเจ้าสญชัยนั้น ก็คร่ำครวญไปตามกัน. ในราชสกุลทั้งสอง ไม่มีใครๆที่สามารถจะดำรงอยู่ได้ตามภาวะของตน ต่างล้มลงเกลือกกลิ้งไปมา คร่ำครวญ ดุจหมู่ไม้รังโค่นลงด้วยกำลังลม ฉะนั้น.
บทว่า ตโต รตยา วิวสเน ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อราตรีนั้นล่วงไป ดวงอาทิตย์ขึ้นแล้ว พวกขวนขวายในทานได้กราบทูลแด่พระเวสสันดรว่า ทานได้จัดเสร็จแล้ว. ลำดับนั้น พระราชาเวสสันดรทรงสรงสนานแต่เช้าทีเดียว ประดับด้วยสรรพาลังการ เสวยโภชนาหารรสอร่อย แวดล้อมไปด้วยมหาชน เสด็จเข้าสู่โรงทาน เพื่อพระราชทานสัตตสดกมหาทาน. บทว่า เทถ ความว่า พระเวสสันดรเสด็จไปในที่นั้นแล้ว เมื่อตรัสสั่งเหล่าอำมาตย์หกหมื่น ได้ตรัสอย่างนี้. บทว่า วารุณึ ความว่า พระเวสสันดรทรงทราบว่า การให้น้ำเมาเป็นทานไร้ผล แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงดำริว่า พวกนักเลงสุรามาถึงโรงทานแล้ว อย่าได้กล่าวว่า ไม่ได้ดื่มสุราในโรงทานของพระเวสสันดร ดังนี้จึงให้พระราชทาน. บทว่า วนิพพเก ความว่า บรรดาเหล่าชนวณิพกผู้ขอ พวกท่านอย่าได้เบียดเบียนใครๆ แม้คนหนึ่ง. บทว่า ปฏิปูชิตา ความว่า พระเวสสันดรตรัสว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้ที่เราบูชาแล้ว จงกระทำอย่างที่เขาไปสรรเสริญเรา. พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตสดกมหาทาน คือ ช้าง ๗๐๐ เชือกมีเครื่องประดับทอง มีธงทอง คลุมด้วยข่ายทอง. ม้า ๗๐๐ ตัว ก็เหมือนอย่างนั้นแล รถ ๗๐๐ คันหุ้มด้วยหนังราชสีห์เป็นต้น วิจิตรด้วยรัตนะต่างๆ มีธงทอง. สตรีมีขัตติยกัญญาเป็นต้น ๗๐๐ คนประดับด้วยสรรพาลังการทรงรูปอันอุดม. แม่โคนม ๗๐๐ ตัวซึ่งเป็นหัวหน้าโคผู้ประเสริฐ รีดน้ำนมได้วันละหม้อ. ทาสี ๗๐๐ คนผู้ได้รับการฝึกหัดศึกษาดีแล้ว. ทาส ๗๐๐ คนก็เหมือนอย่างนั้น พร้อมเครื่องดื่มและโภชนาหารหาประมาณมิได้ ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบริจาคทานอยู่อย่างนี้ ชาวนครเชตุดร มีกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น ต่างร่ำพิไรรำพันว่า ข้าแต่พระเวสสันดรผู้เป็นเจ้า ชาวสีพีรัฐขับพระองค์ผู้ทรงบริจาคทานเสียจากรัฐมณฑล พระองค์ก็ยังทรงบริจาคทานอีก เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ครั้งนั้น เสียงกึกก้องโกลาหลน่าหวาดเสียว เป็นไปในพระนครนั้นว่า ชาวพระนครสีพีจะขับไล่พระเวสสันดรเพราะทรงบริจาคทาน ขอให้พระองค์ทรงได้บริจาคทานอีกเถิด.

ฝ่ายเหล่าผู้รับทานได้รับทานแล้ว ก็พากันรำพึงว่า ได้ยินว่า บัดนี้ พระราชาเวสสันดรจักเสด็จเข้าสู่ป่า ทำพวกเราให้หมดที่พึ่ง จำเดิมแต่นี้ พวกเราจักไปหาใคร รำพึงฉะนี้ก็นอนกลิ้งเกลือกไปมา ประหนึ่งว่ามีเท้าขาดคร่ำครวญด้วยเสียงอันดัง.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญจะเสด็จออก วณิพกเหล่านั้นก็ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา ดุจคนเมาหรือคนเหน็ดเหนื่อย ฉะนั้น. ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สุ อักษรในบทว่า เต สุ มตตา นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่า วณิพกเหล่านั้น. บทว่า มตา กิลนตาว ความว่า เป็นผู้ราวกะคนเมาและราวกะคนเหน็ดเหนื่อย. บทว่า สมปตนติ ความว่า ล้มลงบนพื้นดินกลิ้งเกลือกไปมา. บทว่า อจเฉจฉํ วต แปลว่า ตัดแล้วหนอ. บทว่า ยถา แปลว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า อติยกขา ได้แก่ หมอผีบ้าง แม่มดบ้าง. บทว่า เวสสวรา ได้แก่ พวกขันทีผู้ดูแลฝ่ายใน. บทว่า วจนตเถน ได้แก่ เพราะเหตุแห่งถ้อยคำ. บทว่า สมหา รฏฺฐา นิรชชติ ความว่า ออกไปจากแคว้นของพระองค์. บทว่า คามณีเยภิ ได้แก่ อาจารย์ฝึกช้าง. บทว่า ชาติเย ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยชาติ. บทว่า คามณีเยภิ ได้แก่ อาจารย์ฝึกม้า. บทว่า อินทิยาจาปธาริภิ ได้แก่ ผู้ทรงไว้ซึ่งเกราะและธนู. บทว่า ทีเป อโถปิ เวยยคเฆ ได้แก่ หุ้มด้วยหนังเสือเหลืองและหนังเสือโคร่ง. บทว่า เอกเมกา รเถ ฐิตา ความว่า ได้ยินว่า พระเวสสันดรได้พระราชทานนางแก้วคนหนึ่งๆ ยืนอยู่บนรถ มีทาสี ๘ คน แวดล้อม. บทว่า นิกขรชชูหิ ได้แก่ สร้อยที่สำเร็จด้วยเส้นทองคำ. บทว่า อาฬารปปมุขา ได้แก่ มีดวงตาใหญ่. บทว่า หสุลา ได้แก่ ยิ้มแย้มก่อนจึงพูด. บทว่า สุสญฺฐา ได้แก่ มีตะโพกผึ่งผาย. บทว่า ตนุมชฌิมา ได้แก่ มีเอวบาง. บทว่า กํส ในบทว่า กํสุปาธาริโน นี้เป็นชื่อของเงิน ความว่า ได้พระราชทานพร้อมด้วยภาชนะใส่น้ำนมที่สำเร็จด้วยเงิน. บทว่า ปทินนมหิ ได้แก่ ให้อยู่. บทว่า สมกมปถ ความว่า หวั่นไหวด้วยอานุภาพแห่งทาน. บทว่า ยํ ปฐชลีกโต ความว่า พระราชาเวสสันดรพระราชทานมหาทาน แล้วประคองอัญชลีนมัสการทานของพระองค์ ได้ทรงกระทำอัญชลีอธิษฐานว่า ขอทานนี้จงเป็นปัจจัยแห่งพระสัพพัญญุตญาณของเรา ทีเดียว. แม้ข้อนั้นก็ได้เป็นมหัศจรรย์น่าสยดสยอง นั่นแล. อธิบายว่า แผ่นดินได้หวั่นไหวในขณะนั้น. บทว่า นิรชชติ ความว่า แม้พระเวสสันดรได้พระราชทานถึงอย่างนี้แล้ว ก็ยังต้องเสด็จนิราศไป ไม่มีใครๆ จะห้ามพระองค์ได้.

ก็ในกาลนั้น เทวดาทั้งหลายแจ้งแก่พระราชาในพื้นชมพูทวีปว่า พระเวสสันดรทรงบำเพ็ญมหาทาน มีพระราชทานนางขัตติยกัญญาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น กษัตริย์ทั้งหลายจึงเสด็จมาด้วยเทวานุภาพ รับนางขัตติยกัญญาเหล่านั้น แล้วหลีกไป.
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร เป็นต้น รับพระราชทานบริจาคของพระเวสสันดร แล้วหลีกไป ด้วยประการฉะนี้. พระเวสสันดรทรงบริจาคทานอยู่จนถึงเวลาเย็น พระองค์จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงดำริว่า เราจักถวายบังคมลาพระชนกพระชนนีไปในวันพรุ่งนี้ จึงเสด็จไปสู่ที่ประทับของพระชนกพระชนนีด้วยรถที่นั่งอันตกแต่งแล้ว. ฝ่ายพระนางมัทรีก็ทรงคิดว่า แม้เราก็จักโดยเสด็จพระสวามี จักยังพระสัสสุและพระสสุระให้ทรงอนุญาตเสียด้วย จึงเสด็จไปพร้อมพระเวสสันดร. พระมหาสัตว์ถวายบังคมพระราชบิดา แล้วกราบทูลความที่พระองค์จะเสด็จไป.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรกราบทูลพระเจ้าสญชัย ผู้วรธรรมิกราชว่า พระองค์โปรดให้หม่อมฉันออกจากเชตุดรราชธานี หม่อมฉันขอทูลลาไปเขาวงกต ชนทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีแล้วในอดีต หรือจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยกามทั้งหลาย ย่อมไปสู่ยมโลก หม่อมฉันได้บริจาคทานในวังของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น จึงนิราศจากแคว้นของตนโดยความประสงค์ตามคำของชาวสีพี หม่อมฉันจักเสวยความทุกข์นั้นในป่าที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญทั้งหลาย เชิญพระองค์จมอยู่ในเปือกตม คือกามเถิด พระเจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมมิกํ วรํ ได้แก่ ผู้สูงสุดในระหว่างพระราชาผู้ทรงธรรมทั้งหลาย. บทว่า อวรุทธสิ ความว่า นำออกจากแว่นแคว้น. บทว่า ภูตา ได้แก่ อดีตกาล. บทว่า ภวิสสเร ความว่า ชนเหล่าใดจักมีในอนาคต และเกิดในปัจจุบัน. บทว่า โสหํ สเก อภิสสึ ความว่า หม่อมฉันนั้นชื่อว่าเบียดเบียนชาวเมืองของตน ทำอะไร. บทว่า ยชมาโน ได้แก่ บริจาคทาน. บทว่า สเก ปุเร ได้แก่ ในปราสาทของตน แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั้นบริจาคทาน. บทว่า นิรชชหํ ได้แก่ เมื่อหม่อมฉันออก. บทว่า อฆนตํ ความว่า หม่อมฉันจักเสวยทุกข์ที่ผู้อยู่ในป่าพึงเสวยนั้น. บทว่า ปงกมหิ ความว่า พระเวสสันดรทูลว่า แต่พระองค์จะจมอยู่ในเปือกตม คือกาม.

พระมหาสัตว์ทูลกับพระชนกด้วย ๔ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว เสด็จไปเฝ้าพระชนนี ถวายบังคมแล้ว เมื่อจะทรงขออนุญาตบรรพชา จึงตรัสว่า
ข้าแต่เสด็จแม่ ขอพระองค์ทรงอนุญาตแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันขอบวช หม่อมฉันบริจาคทานในวังของตน ยังชื่อว่าเบียดเบียนตนและคนอื่น หม่อมฉันจะออกไปจากแคว้นของตน โดยประสงค์ตามคำของชาวสีพี หม่อมฉันจะเสวยทุกข์นั้นในป่า ที่เกลื่อนด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัยแล้ว หม่อมฉันบำเพ็ญบุญทั้งหลาย จะไปเขาวงกต.

พระนางผุสดีได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ลูกรัก แม่อนุญาตลูก บรรพชาจงสำเร็จแก่ลูก ก็แต่แม่มัทรีกัลยาณีผู้มีตะโพกงามเอวบาง จงอยู่กับบุตรธิดา แม่จะทำอะไรในป่าได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมิชฌตุ ความว่า จงมีความสำเร็จด้วยฌาน. บทว่า อจฉตํ ความว่า พระนางผุสดีตรัสว่า จงอยู่ คือจงมีในที่นี้แหละ.

พระเวสสันดรตรัสว่า
หม่อมฉันไม่อาจจะพาแม้ทาสีไปสู่ป่าโดยที่เขาไม่ปรารถนา ถ้าเขาปรารถนาจะตามหม่อมฉันไป ก็จงไป ถ้าไม่ปรารถนาก็จงอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกามา ความว่า ข้าแต่เสด็จแม่ เสด็จแม่ตรัสอะไรอย่างนั้น แม้ทาสีหม่อมฉันก็ไม่อาจจะพาไป โดยที่เขาไม่ปรารถนา.

ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับพระดำรัสแห่งพระราชโอรส ก็ทรงคล้อยตาม เพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา.

พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ต่อแต่นั้น พระเจ้ากรุงสญชัยมหาราชทรงคล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสาว่า
แน่ะแม่ผู้มีสรีระอันประพรมด้วยแก่นจันทน์ แม่อย่าได้ทรงธุลีละออง และของเปรอะเปื้อนเลย แม่เคยทรงภูษาของชาวกาสี แล้วจะมาทรงผ้าคากรอง การอยู่ในป่าเป็นทุกข์ แน่ะแม่ผู้มีลักษณะงาม แม่อย่าไปเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปชชถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้ากรุงสญชยได้ทรงสดับถ้อยดำรัสของพระราชโอรสแล้ว ได้ทรงคล้อยตามเพื่อทรงวิงวอนพระสุณิสา. บทว่า มา จนทนสมาจเร ความว่า แน่ะแม่ผู้มีสรีระที่ประพรมด้วยจันทน์แดง. บทว่า มา หิ ตวํ ลกขเณคมิ ความว่า แน่ะแม่ผู้ประกอบด้วยลักษณะอันงาม แม่อย่าไปป่าเลย.

พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ได้กราบทูลพระสสุระว่า หม่อมฉันไม่ปรารถนาความสุข ที่ต้องพรากจากพระเวสสันดรของหม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพรวิ ความว่า ได้กราบทูล คือได้กราบเรียนพระสสุระนั้น.

พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้ยังแคว้นแห่งชาวสีพีให้เจริญ ได้ตรัสกะพระมัทรีว่า แน่ะแม่มัทรี แม่จงพิจารณา สัตว์เหล่าใดมีอยู่ในป่าที่บุคคลทนได้ยาก คือตั๊กแตน บุ้ง เหลือบ ยุง แมลง ผึ้ง มีมาก สัตว์แม้เหล่านั้นพึงเบียดเบียนแม่ในป่านั้น ความเบียดเบียนนั้นเป็นความทุกข์ยิ่งจะพึงมีแก่แม่ แม่จงดูสัตว์เหล่าอื่นอีกที่น่ากลัว อาศัยอยู่ที่แม่น้ำ คืองู ชื่อว่างูเหลือมไม่มีพิษแต่มันมีกำลังมาก มันรัดคนหรือมฤค ที่มาใกล้มันด้วยขนดให้อยู่ในอำนาจของมัน ยังสัตว์เหล่าอื่น ดำดังผมที่เกล้า ชื่อว่าหมี เป็นมฤคนำความทุกข์มา คนที่มันเห็นแล้วขึ้ต้นไม้ก็ไม่พ้นมัน ฝูงกระบือมักขวิดชนเอาด้วยเขามีปลายแหลม เที่ยวอยู่ราวป่าริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุม.
พระแม่มัทรีเป็นเหมือนแม่โคนมอยากได้ลูก เห็นโคไปตามฝูงมฤคในไพรสณฑ์ จักทำอย่างไร เมื่อแม่มัทรีไม่รู้จักเขตไพรสณฑ์ ภัยใหญ่จักมีแก่แม่ เพราะเห็นฝูงลิง น่ากลัวพิลึก มันลงมาในทางที่เดินยาก แม่มัทรีครั้งยังอยู่ในวัง แม่ไปถึงเขาวงกตจักทำอย่างไร ฝูงสกุณชาติจับอยู่ในเวลากลางวัน ป่าใหญ่ก็จักเหมือนบันลือขึ้น แม่จะอยากไปในราวไพรนั้น ทำไม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพรวิ ความว่า ได้ตรัสกะพระสุณิสานั้น. บทว่า อปเร ปสส สนตาเส ความว่า จงดู คือจงเห็นเหตุที่ให้เกิดภัยที่น่าหวาดสะดุ้ง. บทว่า นทีนูปนิเสวิตา ความว่า อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโดยสถานที่ใกล้. บทว่า อวิสา ได้แก่ ปราศจากพิษ. บทว่า อปิจาสนนํ ความว่า ใกล้ คือมาสัมผัสสรีระของตน. บทว่า อฆมมิคา ได้แก่ มฤคที่ทำความลำบาก อธิบายว่า มฤคที่นำความทุกข์มาให้. บทว่า นทึ โสตุมพรํ ปติ ได้แก่ ที่ริมฝั่งแม่น้ำชื่อโสตุมพระ. บทว่า ยูถานํ ได้แก่ ซึ่งฝูง ปาฐะ อย่างนี้แหละ. บทว่า เธนุว วจฉคิทธาว ความว่า เธอเป็นเหมือนแม่โคนมอยากได้ลูก เมื่อไม่เห็นลูกๆของเธอ จักทำอย่างไร. ก็ ว อักษรในบทว่า วจฉคิทธาว นี้เป็นเพียงนิบาตเท่านั้น. บทว่า สมปติเต ได้แก่ ลงมา. บทว่า โฆเร ได้แก่ มีรูปแปลกน่าสะพึงกลัว. บทว่า ปลวงคเม ได้แก่ ฝูงลิง. บทว่า อเขตตญฺญาย ได้แก่ ไม่ฉลาดในภูมิประเทศในป่า. บทว่า ภวิตนเต ความว่า จักมีแก่เธอ. บทว่า ยา ตฺวํ สิวาย สุตฺวาน ความว่า ได้ยินเสียงของสุนัขจิ้งจอก. บทว่า มหุ ความว่า แม้เมื่ออยู่ในเมืองก็ตกใจบ่อยๆ. บทว่า สุณเตว ได้แก่ เหมือนบันลือ คือส่งเสียง.

พระนางมัทรีราชบุตรีผู้งามทั่วองค์ ได้กราบทูลพระเจ้ากรุงสญชัยว่า หม่อมฉันทราบภยันตรายเหล่านั้นว่า เป็นภัยเฉพาะหม่อมฉันในไพรสณฑ์ แต่หม่อมฉันจะสู้ทนต่อภัยทั้งปวงนั้นไป คือจักบรรเทา แหวกต้นเป้ง หญ้าคา หญ้าคมบาง แฝก หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้องไปด้วยอุระ จักนำเสด็จพระภัสดาไปมิให้ยาก.
กุมารีได้สามีด้วยการประพฤติวัตรเป็นอันมาก เช่นด้วยตรากตรำท้องมิให้ใหญ่ด้วยวิธีกินอาหารแต่น้อย รู้ว่าสตรีมีบั้นเอวกว้างสีข้างผายได้สามี จึงเอาไม้สัณฐานเหมือนคางโคค่อยๆ บุบทุบบั้นเอว เอาผ้ารีดสีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก หรือด้วยทนผิงไฟแม้ในฤดูร้อน ขัดสีกายด้วยน้ำในฤดูหนาว ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน.
อนึ่ง บุรุษไม่สมควรอยู่ร่วมกับสตรีหม้ายที่เขาทิ้งแล้ว บุรุษไรเล่าจะจับมือถือแขนสตรีหม้าย ที่เขาไม่ต้องการคร่ามา เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมของสตรีหม้ายมา แล้วเอาเท้าเขี่ยให้ล้มลง ณ พื้น ให้ทุกข์เป็นอันมากไม่ใช่น้อย แล้วไม่หลีกไป เหล่าบุรุษต้องการสตรีหม้ายผู้มีผิวขาว ถือตัวว่ารูปงามเลิศ ให้ทรัพย์เล็กน้อยฉุดคร่าสตรีหม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดุจฝูงกาตอมจิกคร่านกเค้าไป ฉะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง สตรีหม้ายเมื่ออยู่ในสกุลญาติอันมั่งคั่ง รุ่งเรืองด้วยภาชนะทองคำ ไม่พึงได้ซึ่งคำกล่าวล่วงเกินแต่หมู่พี่น้องและเหล่าสหายว่า หญิงผู้หาผัวมิได้นี้ ต้องตกหนักแก่พวกเราตลอดชีวิต ฉะนี้ไม่มีเลย.
แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่าดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาปกครองก็สูญเปล่า สตรีแม้มีพี่น้องตั้ง ๑๐ คน ถ้าเป็นหม้ายก็สูญหาย. ธงเป็นเครื่องปรากฏแห่งราชรถ. ควันเป็นเครื่องปรากฏแห่งไฟ. พระราชาเป็นเครื่องปรากฏแห่งแว่นแคว้น. ภัสดาเป็นเครื่องปรากฏแห่งสตรี. ความเป็นหม้ายเป็นอาการเตรียมตรมในโลก หม่อมฉันจักต้องไปอย่างแน่นอน.
สตรีใดเข็ญใจก็ร่วมทุกข์กับสามีผู้เข็ญใจ ในคราวถึงทุกข์. สตรีใดมั่งมี มีเกียรติ ก็ร่วมสุขด้วยสามีผู้มั่งมีในคราวถึงสุข เทวดาและมนุษย์ย่อมสรรเสริญสตรีนั้น เพราะสตรีนั้นทำกรรมที่ทำได้โดยยาก หม่อมฉันจะนุ่งห่มผ้ากาสายะตามเสด็จพระภัสดาทุกเมื่อ ความเป็นหม้ายแห่งสตรีผู้มีแผ่นดินไม่แยก ก็ไม่เป็นที่ยินดี อีกประการหนึ่ง หม่อมฉันไม่ปรารถนาแผ่นดินที่ทรงไว้ ซึ่งทรัพย์เป็นอันมากมีสาครเป็นที่สุด เต็มไปด้วยรัตนะต่างๆ แต่พรากจากพระเวสสันดรผู้ภัสดา.
สตรีใดในเมื่อสามีทุกข์ร้อน ย่อมอยากได้ความสุขเพื่อตน สตรีนั้นเด็ดจริงหนอ หัวใจของหญิงเหล่านั้นเป็นอย่างไรหนอ เมื่อพระเวสสันดรมหาราชเจ้าผู้ยังสีพีรัฐให้เจริญ เสด็จออกพระนคร หม่อมฉันจักโดยเสด็จพระองค์ เพราะพระองค์ทรงประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวงแก่เกล้ากระหม่อมฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมพรวิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระนางมัทรีได้สดับพระดำรัสของพระเจ้ากรุงสญชัยแล้วได้ทูลตอบพระเจ้ากรุงสญชัยนั้น. บทว่า อภิสมโภสสํ ได้แก่ จักสู้ทน คือจักอดกลั้น. บทว่า โปตกิลํ ได้แก่ หญ้าคมบาง. บทว่า ปนูทเหสสามิ ความว่า หม่อมฉันจักแหวกไปทางข้างหน้าพระเวสสันดร. บทว่า อุทรสสุปโรเธน ได้แก่ การงด คือกินอาหารแต่น้อย. บทว่า โคหนุเวฏฺฐเนน ความว่า เหล่ากุมาริการู้ว่า สตรีที่มีบั้นเอวกว้างและสีข้างผายย่อมได้สามี จึงเอาไม้มีสัณฐานเหมือนคางโคค่อยๆ ทุบบั้นเอว เอาผ้ารัดสีข้างทั้งสองให้ผึ่งผายออก ย่อมได้สามี.
บทว่า กฏกํ ได้แก่ ไม่น่ายินดี. บทว่า คจฉญฺญว ได้แก่ จักไปแน่นอน. บทว่า อปปตโต ความว่า ไม่สมควรจะบริโภคของที่เป็นเดนของหญิงหม้ายนั้นทีเดียว. บทว่า โย นํ ความว่า บุรุษใดมีชาติต่ำจับมือทั้งสองฉุดคร่าหญิงหม้ายนั้นผู้ไม่ปรารถนาเลย. บทว่า เกสคคหณมุกเขปา ภูมยา จ ปริมุมภนา ความว่า เหล่าบุรุษจิกหย่อมผมหญิงไม่มีสามี เขี่ยให้ล้มลง ณ พื้น ดูหมิ่นล่วงเกินหญิงเหล่านั้น. บทว่า ทตวา จ ความว่า บุรุษอื่นยังให้ความทุกข์เป็นอันมาก คือมิใช่น้อยเห็นปานนี้แก่หญิงไม่มีสามี. บทว่า โน ปกกมติ ความว่า เป็นผู้ปราศจากความรังเกียจยืนแลดูหญิงนั้น. บทว่า สกกจฉวี ได้แก่ มีผิวพรรณที่ถูด้วยจุรณสำหรับอาบ. บทว่า เวธเวรา แปลว่า ผู้มีความต้องการหญิงหม้าย. บทว่า ทตวา ได้แก่ ให้ทรัพย์มีประมาณน้อยอะไรๆ ก็ตาม. บทว่า สุภคคมานิโน ได้แก่ เข้าใจตัวว่าพวกเรางามเลิศ. บทว่า อกามํ ได้แก่ หญิงหม้าย คือหญิงไม่มีสามีผู้ไม่ปรารถนานั้น. บทว่า อุลูกญเญว วายสา ความว่า เหมือนฝูงกาจิกคร่านกเค้า. บทว่า กํสปปชโชตเน ได้แก่ รุ่งเรืองด้วยภาชนะทอง. บทว่า วสํ ได้แก่ อยู่ในสกุลญาติแม้เห็นปานนั้น. บทว่า เ

คำสำคัญ (Tags): #มหาสัตสดกทาน
หมายเลขบันทึก: 462540เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2011 09:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

กัณฑ์ทานกัณฑ์ ประดับด้วยคาถา ๒๐๙ คาถา

เนื้อความเป็นของสำนักวัดถนน จังหวัดอ่างทอง มิได้ระบุชื่อผู้นิพนธ์

กัณฑ์นี้มีจำนวนพระคาถามากที่สุดในจำนวนมหาชาติทั้ง ๑๓ กัณฑ์

เพลงประจำกัณฑ์ คือ เพลง “พระยาโศก”

ประกอบกิริยาโศกสลดรันทดใจของพระบรมวงศานุวงศ์

ที่ พระเวสสันดร ถูกเนรเทศออกจากเมือง

ข้อคิดจากกัณฑ์

พึงยอมเสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

เนื้อความโดยย่อ

เมื่อพระเวสสันดรทรงบริจาค สัตสดกมหาทาน

เป็นทาน ๗ สิ่ง สิ่งละ ๗๐๐ ตามที่ทรงทูลขอพระเจ้ากรุงสญชัยพระราชบิดาแล้ว

ทรงนำเสด็จพระนางมัทรี และสองพระกุมารกราบทูลลาพระบิดา

พระเจ้ากรุงสญชัยทรงทัดทานมิให้นางมัทรีและพระนัดดาที้งสองไว้

พระนางมัทรีก็ไม่ทรงยอมอีก

ด้วยทรงตั้งพระทัยมั่นที่จะขอตามเสด็จพระสวามี

ไปพร้อมพระโอรสพระธิดา ทรงกราบทูลว่า

เมื่อเป็นมเหสีแล้วก็ถือพระองค์เป็นประดุจทาสทาสี

ย่อมจงรักภักดีต่อพระสวามี

ขอตามเสด็จไปปรนนิบัติประหนึ่งทาสติดตามรับใช้

มิยอมให้พระสวามีไปตกระกำลำบาก

ทุกข์ยากพระวรกายแต่เพียงลำพัง

ส่วนพระโอรสธิดาเป็นประดุจแก้วตาดวงใจจะทอดทิ้งเสียกระไรได้

พระเจ้ากรุงสญชัยต้องทรงเลิกทัดทานในที่สุด

เมื่อ พระเวสสันดร ทรงกราบบังคมทูลลาพระชนกชนนีแล้ว

ทรงเบิกแก้วแหวนเวินทอง บรรทุกราชรถเทียมม้า

และทรงโปรยเป็นทานไปตลอดทาง

แม้แต่รถทรง ม้าเทียมรถทรง

ก็ประทานให้แก่พราหมณ์ที่มาทูลขอไปจนหมดสิ้น

แล้วทั้งสองพระองค์ทรงอุ้มพระโอรสและพระธิดา

ทรงพระดำเนินไปสู่มรรคาเบื้องหน้า

พระโบราณจารย์เจ้า ได้แสดงอานิสงส์แห่งการบูชาในเวสสันดรชาดกไว้โดยลำดับดังนี้

ผู้บูชากัณฑ์ทานกัณฑ์ (กัณฑ์ ที่๓)

จะบริบูรณ์ด้วยแก้วแหวนเงินทอง ทาส ทาสี และสัตว์ สองเท้า สี่เท้า

ครั้นตายแล้วจะได้ไปเกิดในฉกามาพจรสวรรค์

มีนางเทพอัปสรแวดล้อมมากมาย

เสวยสุขอยูในปราสาทแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนามหาเวสสันดรชาดก ซึ่งประดับด้วยคาถาประมาณ ๑,๐๐๐ คาถานี้มาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มหาเมฆก็ยังฝนโบกขรพรรษให้ตก ในที่ประชุมแห่งพระประยูรญาติของเรา อย่างนี้เหมือนกัน.

ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

พราหมณ์ชูชกในกาลนั้น คือ ภิกษุเทวทัต.

นางอมิตตตาปนา คือ นางจิญจมาณวิกา.

พรานเจตบุตร คือ ภิกษุฉันนะ.

อัจจุตดาบส คือ ภิกษุสารีบุตร.

ท้าวสักกเทวราช คือ ภิกษุอนุรุทธะ.

พระเจ้าสญชัยนรินทรราช คือ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช.

พระนางผุสดีเทวี คือ พระนางสิริมหามายา.

พระนางมัทรีเทวี คือ ยโสธราพิมพา มารดาราหุล.

ชาลีกุมาร คือ ราหุล.

กัณหาชินา คือ ภิกษุณีอุบลวรรณา.

ราชบริษัทนอกนี้ คือ พุทธบริษัท.

ก็พระเวสสันดรราช คือ เราเองผู้สัมมาสัมพุทธเจ้า แล.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท