10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ครั้งที่ 7


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันจันทร์ นี้ (26 กันยายน 2554) ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 7 (กลุ่มภาคเหนือ)

ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี” ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยายที่ผ่านแล้ว ทั้งหมด 6 ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/457772)

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459160)

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459981

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/460608

ครั้งที่ 5  บรรยายในวันที่ 19 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461450

ครั้งที่ 6 บรรยายในวันที่ 22 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461922

ผมจะนำสาระดี ๆ และภาพบรรยากาศมาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ

 

หมายเลขบันทึก: 462291เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2011 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยายโดยทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “บทบาทของผู้นำต่อการค้าเสรี”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 26 กันยายน 2554

• ถ้าเราจะอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้า ต้องรู้ว่าอาเซียนเสรีคืออะไร

• ตอนบ่ายคุยกัน ถ้าเราจะปรับตัวเราเอง ใช้โอกาสจากการมีอาเซียนเสรีต้องทำอะไรบ้าง

• การมีอาเซียนเสรีอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นความจำเป็น

สรุป Quotation

• โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่มีอะไรแน่นอน การมานั่งอยู่ที่นี่เราต้องพร้อมจัดการกับความไม่แน่นอน ถ้ามีปัญญาหมายความว่าเราอยู่ได้

• การอยู่รอดในสังคมอยู่ที่คุณภาพของคน คนในห้องนี้คือผู้นำ ท่านต้องมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล อะไรเกิดขึ้นกับอาเซียนท่านต้องรู้ และที่สำคัญที่สุดคือลูกบ้านของท่าน และคน 66 ล้านคนต้องรู้ว่าเราต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น อย่างน้อย 16 ประเทศ สิ่งหนึ่งที่เราต้องวางตัวเองคือ เราต้องค้นหาตัวเองว่าเรามีอะไรดี ถ้าเราไม่ดีจริงเราไม่รู้ว่าอยู่มาได้อย่างไร ศักยภาพการแข่งขันของประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของคน เราต้องไปสร้างปัญญาให้แก่ชาวบ้านของเรา

• สินค้าเมื่อเปิดเสรีต้องมีมาตรฐานมีความเป็นเลิศ เราต้องสามารถพัฒนาผู้นำในห้องนี้

• ทรัพยากรในโลกหรือในประเทศเมื่อเห็นว่าคนสำคัญที่สุดเราชนะ เพราะถ้าคนไม่เก่ง ไม่ดี มีแต่สาธารณูปโภค ถนน หนทางคงไม่รอด

• การอยู่กับอาเซียนเสรีได้ต้องหันมาดูตัวเอง ดูทรัพยากรมนุษย์ในชุมชนของท่าน

• อาเซียนเสรีครั้งนี้เปิดต้องให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ ไม่ใช่ให้คนที่รวยอยู่แล้วได้ประโยชน์ คนจนก็ต้องได้ประโยชน์ด้วย ถ้าก.พาณิชย์ไม่มาหาคุณ ก็จะเจอปัญหาเช่นเดียวกับโชวห่วยที่หายไป

• ถ้าเราพัฒนาคนให้มีคุณภาพ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น พึ่งตนเอง อย่างหลายคนเข้าใจปราชญ์ชาวบ้าน การที่เราสนใจ มาร่วมกันคิด ร่วมกันทำประเทศเราจะอยู่รอด

• ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เครื่องจักร ประเทศอยู่ได้เพราะว่าเราต้องสนใจทรัพยากร การเปิดเสรีได้เราต้องมีความสามารถที่แข่งกับสิงคโปร์ อิสราเอล

• ผู้นำในห้องนี้ต้องคิดไกล คิดถึงโลก คิดถึงอาเซียน แล้วดูว่าชุมชนได้อะไร แต่ถ้าเราคิดถึงแต่จังหวัดเรา ชุมชนเรา เราก็จะไปไม่รอด

• ในการเปิดอาเซียนเสรีในครั้งนี้ได้มาด้วยทัศนคติของเรา ว่าเราเป็นประเทศแบบไหน

• ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สิ่งสำคัญที่สุดคืออยู่ข้างในเรา ไม่ได้วัดจากตึก หรือข้างนอก แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์

• อีกไม่กี่ปีจะมีคนมาทำ Home Stay ที่เมืองไทย การที่ผู้นำในห้องนี้มีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น พร้อมที่จะเรียนรู้ จะช่วยในการเข้าสู่อาเซียนได้มาก

วัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ

อยากให้ตัวตนของท่านค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน แล้วดึงออกมา

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำในท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง

2. เวลาอยู่อบรมอย่างให้มีความรู้สึกว่ามาหาความรู้ร่วมกัน และมีความสุขในการเรียน สร้างแรงบันดาลใจ

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง ถามว่าตัวเองเป็นผู้นำเพื่ออะไร ถามตัวเองว่ามาที่นี่เราดีขึ้นหรือไม่ ต้องรู้จริงว่าอะไรเกิดขึ้นกับอาเซียน เพราะท่านต้องไปเล่าให้คนลูกน้อง ให้ชาวบ้านฟัง

4. ถ้ามีโอกาส มีจุดแข็งของชุมชนเราต้องขยายมัน อาเซียนเสรีตลาดกว้างขึ้น อาจมีเป็นพันพันล้านคน

5. อย่างทำงานคนเดียว ทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น สร้าง Networking ขึ้นมา เราต้องมีพันธมิตร พันธมิตรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือกระทรวงพาณิชย์ ส่งออกกี่เปอร์เซนต์ กระจายรายได้จริงหรือไม่ ต้องการให้ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากอาเซียนเสรี

6. ถ้าเห็นว่ามีปัจจัยเสี่ยง เพราะเราไปขายเขาได้ เขาก็มาขายเราได้เช่นกัน ถ้ามีโอกาสเพิ่มและลดความเสี่ยงได้ เราก็จะอยู่รอด เวลาเรามองอาเซียนเสรีเราต้องมองซ้อนไป เพราะข้างบนคือ WTO อยากให้ท่านมองการเข้าสู่อาเซียนเสรีเป็นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ในโลกาภิวัตน์

7. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

8. ทำให้ท่านเป็นผู้ถ่ายทอด แต่ไม่ใช่ถ่ายทอดแค่ไปสอน เราอาจแนะนำเขาด้วยให้เขาได้ประโยชน์จริง ๆ

…………………………………..

10ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี “ฝึก Training for Trainers”

1. ใน10 ประเทศ ประเทศที่อยู่ทางใต้ของเราเป็นประเทศที่สูสีกับเรา หรือรวยกว่าเรา อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน แต่ที่ยากจนคือลาว เขมร พม่า และอีกอย่างเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อน ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าศึกษากฎหมายพวกนี้ให้ดี การค้า การลงทุนต้องรู้เขารู้เรา กฎระเบียบ Non Tariff Barrier เราต้องเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้าให้ดี ท้องถิ่นต้องมีคนรู้กฎระเบียบมาตรฐานการค้าให้ดี ต้องให้ท้องถิ่นรู้เรื่องอาเซียนเสรีอย่างจริงจัง และเรื่องภาษาอาเซียน ตลาดเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 590 ล้านคน

2. ข้อตกลงร่วมมือในอาเซียนเสรี มี 3 สาขาใหญ่คือ

- เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

- สังคมและวัฒนธรรม มันคือการกระตุ้นให้ประเทศแต่ละประเทศมีการค้าเชิงวัฒนธรรมเพราะประเทศทุกประเทศจะไม่เหมือนกัน แต่ละประเทศมีวัฒนธรรมไม่เหมือนกัน ซึ่งก็คือแหล่งรายได้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เราต้องรักษาความเป็นวัฒนธรรมของประเทศไทยไว้ให้ได้ ยิ่งในท้องถิ่นแต่ละท้องถิ่น จุดแข็งของท่านคือวัฒนธรรม เมื่อมีจุดแข็งแล้ว เหลืออยู่อย่างเดียวคือเรื่องรายได้ ตัวอย่างสิงคโปร์ทำหน้าที่เป็นคนกลาง ดังนั้นผู้นำท้องถิ่นอย่าเสียเปรียบสิงคโปร์ เงินที่จะได้ต้องมาจากภูมิปัญญาของเรา เมื่อเห็นคนที่ฉลาดกว่าท่านต้องต่อรองให้ได้และบอกชาวบ้านให้ได้ว่าความเป็นไทยมีมูลค่ามหาศาล ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับมีฟาร์ม ถ้าเรามีสินค้าแต่คนไม่เห็นคุณค่าเราจะเหมือนขายสาโท ดังนั้นจึงควรให้ความสนใจเรื่องทุนทางวัฒนธรรมให้ดี และให้บวกกับการบริหารจัดการและบวกกับความเป็นผู้นำ เพราะท่านคือผู้นำของการเปลี่ยนแปลง ถ้ามีสินค้าต้องมีมูลค่าเพิ่ม ถ้าเปิดเสรีอาเซียน กำไรที่ได้รับต้องมากกว่าตอนไม่เปิดเสรีอาเซียน และกำไรต้องเป็นของคุณอย่าให้คนอื่นมาแย่งไป ตัวอย่างระบบ Logistics มีการติดตั้งซอฟต์แวร์สามารถคำนวณว่ารถอยู่ที่ไหน รุ่น 7 จึงขอเน้นเรื่องภาวะผู้นำ กับการบริหารจัดการยุคใหม่

ปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อนต้องรู้ ต้องรู้เรื่องการค้าการลงทุนด้วย อย่าให้การค้าการลงทุนอยู่ในหอการค้าจังหวัด

- ความมั่นคงทางการเมือง ความมั่นคงไม่ใช่เรื่องทหารอีกต่อไป เป็นเรื่องยาเสพติด การค้ามนุษย์ และแรงงานต่างด้าว ต้องมีนโยบายชัดเจน ว่าให้ลูกแรงงานต่างด้าวเป็นคนไทยหรือไม่

3. ไทยต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อย แต่ไม่ละเลยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเรา

• เสรี แปลว่าสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้วจะไม่มีการกีดกันทางด้านภาษีศุลกากร กรมที่เหนื่อยที่สุดคือกรมที่ดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า สุขอนามัย ทุกคนต้องมีเสรีเฉพาะเรื่องภาษีศุลกากร เราต้องเข้าใจกฎระเบียบเหล่านี้มากขึ้น

• ในขณะเดียวกันถ้าประเทศอื่นในอาเซียนเก่งกว่าประเทศเรา เขาก็มาแย่งงานเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ ธุรกิจที่เราเคยมีอยู่ ก็อยู่ไม่ได้

• การเปิดเสรีเรื่องการลงทุน Rule of origin อยากรู้ว่าสินค้าผลิตที่ประเทศอะไร ถ้าเรามี โควต้ามากแล้ว เราก็สามารถขอยืมการผลิตที่ลาว เขมรได้ Rule of origin ก็จะเป็นของอาเซียน ดังนั้นท้องถิ่นควรคิดที่จะร่วมมือการลงทุนในประเทศอื่นด้วย แต่ต้องคำนึงถึง ห่วงโซ่อุปทาน ต้องสามารถควบคุมมาตรฐานได้ ตั้งแต่ผลิตที่ฟาร์ม ผ่านกระบวนการ แล้วไปถึงผู้บริโภค ดังนั้นการทำธุรกิจการเกษตรที่จะขายต่อไปต้องระวังเรื่องนี้มาก ๆ

• ต้องให้อบจ. อบต. เทศบาลได้รู้ด้วย

• มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน มีคนอื่น ๆ แข่งกับเรา เช่นมัคคุเทศก์เข้ามาไทยมากขึ้น แต่ถ้าเราเก่งเราก็สามารถไปทำงานต่างประเทศได้

• สรุปมีการเคลื่อนย้ายสินค้าบริการ เคลื่อนย้ายทุน และ เคลื่อนย้ายแรงงาน ตัวอย่างข้อดี ถ้ามีวิศวกรเก่ง ๆ มาทำงานที่ได้มากขึ้น

• พยาบาลมีจุดอ่อนคือภาษาต่างประเทศไม่ดี ต้องส่งไปเรียนวิชาชีพที่มีภาษาอาเซียนด้วย จึงอยากให้มองไปไกล ๆ ด้วย

• อาเซียนไม่ได้อยู่คนเดียว มีเพื่อนอาเซียน + 6 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เซ็นสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น

4. เมื่อท่านเห็นภาพดังกล่าว วิเคราะห์ว่ามีอะไรเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวท่าน

• ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็น ทั้งโอกาสและการคุกคาม เพิ่มโอกาส หลีกเลี่ยงการคุกคามที่มีความเสี่ยงให้ได้ ที่สำคัญที่สุดในวันนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้มั่นใจตัวเองว่าเราจะอยู่รอด ย้อนกลับไปถึงความเป็นประเทศของไทย อย่าคิดว่า ลบมากกว่าบวก ในอาเซียนการแข่งขันบวกความร่วมมือด้วย ดังนั้นการร่วมมือกันเท่ากับการแข่งขัน มี Competition + Collaboration ท้องถิ่นทำงานร่วมกับอาเซียนไม่ใช่แข่งขันอย่างเดียว ชุมชนต้องการเด็กไปเรียนที่อินโดฯ เวียดนาม ฟิลิปปินส์แล้ว ประเทศอ่อนแอด้านเศรษฐกิจมากกว่าเราไม่ใช่ว่าเขาร่วมมือกับเราไม่ได้ เราต้องเรียนรู้การลดคอรัปชั่นกับประเทศเหล่านั้นให้ได้ ไม่ใช่เฉพาะการค้า การลงทุน

• อาเซียนเสรี มีโครงการช่วยท้องถิ่น

5. การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเรื่อง

- การเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ ว่าอาเซียนเสรีคืออะไรแน่ ต่อไปนี้จะทำงานร่วมกับ 10 ประเทศ มีการเคลื่อนย้ายประชากร เคลื่อนย้ายทุน ผู้นำในห้องนี้ต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้ใฝ่รู้

- เมื่อมีโอกาส จะต้องฉกฉวยให้ได้ ยกตัวอย่างที่เก่งมา 2-3 เรื่อง ตลาดกว้างขึ้น เปลี่ยนจาก 66 ล้านคนมาเป็น 590 ล้านคน คือโอกาสมหาศาล โดยเฉพาะอาเซียน + 6 ยิ่งมหาศาล

6. การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือปรับทัศนคติ ต่อไปนี้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้วเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องอยู่ในสังคมอาเซียน ต้องอยู่ร่วมกัน แต่ต้องเป็น 1 คอมมิวนิตี้ การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปให้ชุมชนในแนวกว้าง อยู่ที่ท่านจะกระจายความรู้ไปอย่างไร

7. สิ่งสำคัญที่สุดคือคงความเป็นไทยไว้ คงความเป็นท้องถิ่นไว้ ต้องรักษาภูมิปัญญาของเราไว้ได้ อย่าให้ภูมิปัญญาภาคเหนือถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำ ต้องมีความสามารถให้เยาวชนตัดสินได้ว่าสิ่งที่เข้ามาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เราต้องรักษาความเป็นไทยไว้ และนั่นคือเงิน ต้องทำการเกษตร ต้องทำการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสมุนไพรที่มีคุณภาพ คนถึงซื้อจากเรา แต่ถ้าเราเก่งเรื่องรถยนต์อีกไม่นานก็เจ้งเพราะเราไม่มีภูมิปัญญาที่แท้จริง อยากให้โรงเรียนท้องถิ่นมีการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมอาเซียน เน้นเรื่องการรู้เขารู้เรา มีสอนภาษาอาเซียน

8. การให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ให้ดูว่าตัวท่านมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ แล้วจะถ่ายทอดให้ท้องถิ่นได้อย่างไร K มาจาก ทุนคือ Capital

8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• ทุนมนุษย์หมายถึงต้องเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ต้องมีการลงทุน มีวิธีการเรียนรู้

• ทุนปัญญาหมายถึงคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

• ทุนจริยธรรม ทำเพื่อโปร่งใส่ สมดุล

• ถ้าผู้นำในห้องนี้มีทุนทางวัฒนธรรม เราต้องมีคุณค่าให้คนยกย่องเรา การท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นมา การควบคุมอารมณ์ให้ได้

• เครือข่ายต้องกว้างขึ้น

• ทำอะไรวันนี้ต้องอยู่รอดในระยะยาว ต้องให้ลูกบ้านท่านรอดด้วย

• ต้องมีเทคโนโลยีสารสนเทศ

• ถ้าเราเก่งจริง ต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ในอาเซียนเสรีทัศนคติที่สำคัญคือความมั่นใจในตัวเอง เน้นการอยู่ร่วมกัน แล้วคิดบวก บางครั้งอาจมีการสร้างกระแสอาเซียนเสรีว่าเราสามารถสู้ได้

• ในอนาคตคนต้องมีความคิดสร้างสรรค์ + ความรู้+ สร้างนวัตกรรม ทำอะไรใหม่ ๆ เสมอ นวัตกรรมในท้องถิ่น มี 1.สินค้าบริการ 2.การบริหารจัดการ 3.การศึกษา 4.เรื่องเกี่ยวข้องกับสังคมทั่วไป ไม่ได้แปลว่าต้องมีสินค้าใหม่ ๆ

• แล้วเราต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ อย่าให้อารมณ์โกรธ เกลียด มีจิตใจสงบนิ่ง

• ตัวเราต้องมีวัฒนธรรม มีวิถีชีวิต ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์เป็นมูลค่าของเรา

10. ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

• รู้จริง อยู่กับความจริง อยู่ภายใต้ความสามารถที่จะจัดการได้ เช่นมีวรรณเกษตร สามารถจัดการเอง และเก็บกินเองได้

สรุป

• แนวคิด 10 ประเด็นเป็นเครื่องมือ หรือเบ็ดตกปลาที่จะจัดการกับอาเซียนเสรี ซึ่งเริ่มขึ้นจากตัวท่านเองในฐานะที่เป็นผู้นำ

• หนทางที่เดินมีอุปสรรคและขรุขระบ้าง ดังนั้นต้องฝึกไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าฟังแล้ววันนี้เก่งทันที่ ต้องรู้ให้จริง

• ผู้นำในห้องต้องหวังดี ร่วมกันทำ ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วท้องถิ่นจะก้าวไปข้างหน้า สู่อาเซียนเสรีได้อย่างเข้มแข็ง มีกรมเจรจาการค้า กรมการปกครองท้องถิ่น แล้ว ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วท่าน ร่วมกัน

สุดท้าย .. เสนอแนะวิธีการถ่ายทอดไปให้ประชาชนท้องถิ่น 6 ประเด็น

1.เตรียมการพูดและหัวข้อให้ดี รู้ให้จริงก่อน ถ่ายทอดให้ได้ ให้เขาคิดแล้วเอาไปทำ อาเซียนคืออะไร จุดอ่อน จุดแข็งคืออะไร

2. เข้าใจเสียก่อนว่าอาเซียนคืออะไร มี 3 แท่งคือ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน, สังคมวัฒนธรรม ,ความมั่นคงทางการเมือง

3. สำคัญต่อท้องถิ่นอย่างไร

4. โอกาสคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร

5. วิธีการนำเสนอใช้ 2 R’s เกี่ยวกับความจริง บริบทของท้องถิ่นคืออะไร และตรงประเด็นกับเขา ประเด็นที่สำคัญต่อชาวบ้านคืออะไร

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ อย่าให้เบื่อ เน้นวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s 1.มีการกระตุ้นให้คิด 2.สร้างบรรยากาศให้การเรียนสนุก ให้เขาสนใจ 3.เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น มีการปะทะกันทางปัญญา กระตุ้นให้ใฝ่รู้ 4.เขาต้องเป็นคนใฝ่รู้ โดยเริ่มจากตัวท่านก่อน เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เมื่อคุณไม่อยู่แล้วชาวบ้านต้องหารือกัน ถกเถียงกัน อบต.ที่เทศบาลต้องเต็มไปด้วยปัญญา

• ความเป็นเลิศจริง ๆ พื้นฐานอยู่ที่ท้องถิ่น

Workshop

ให้เวลา 2 นาที คุยกับคนในโต๊ะสรุปในช่วงเช้าสิ่งที่ได้ฟังจากอาจารย์จีระ

จังหวัดอุตรดิตถ์

• ที่เมืองลับแลมีศักยภาพเรื่องทุเรียนมากที่สุด ตอนนี้เริ่มสอนภาษาจีนแล้ว แต่มีปัญหาคือเวียดนามกับเขมรเริ่มปลูกทุเรียนมาก ส่วนที่น่าสนใจเพราะอยู่ใกล้ตรงสี่แยกอินโดจีนมองเห็นว่าน่าจะมีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมมาก มีแหล่งท่องเที่ยวมาก เป็นศักยภาพหนึ่งดึงอาเซียนก่อนไปเชียงใหม่ เชียงราย

• น่าจะมีเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมวิถีพุทธ

• ดร.จีระ บอกว่า..จังหวัดนี้ใกล้พิษณุโลกซึ่งเป็น East West Corridor ผ่านไปดานัง ซึ่งจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ใกล้พิษณุโลก น่าได้ประโยชน์ จึงจำเป็นควรถ่ายทอดสู่ท้องถิ่นให้ได้ดี เรื่องวิถีพุทธเป็นเรื่องที่ดีมาก อยากฝากเรื่องการวางแผน จัดการ สร้างมูลค่าได้

จังหวัดพิษณุโลก

• เป็นคณะกรรมการสี่แยกอินโดจีน มีโอกาสไปที่ดานัง เวียดนาม แล้วรู้สึกวิตกกังวลว่า เป็นห่วงเรื่องภาษา ตอนไปเวียดนาม มีหลายเรื่องที่ไม่คิดว่าจะพูดได้ เจอคนแก่ขายข้าวโพดต้มพูดภาษาไทยได้ จึงกลับมาเชิญคณะกรรมการมาคุยกันเรื่องภาษา จึงอยากจ้างคนในหมู่บ้านที่รู้ภาษาจีน กับเขมร มาสอนภาษาให้ท้องถิ่นก่อนอันดับแรก โดยเฉพาะเวียดนามพูดได้ 4-6 ภาษาด้วยกัน ทำให้เราวิตกกังวลมาก ส่วนอีกเรื่องคือเวียดนามส่งข้าวอันดับ 1 ของโลก แต่ข้าวสู้ไทยไม่ได้ ไทยคุณภาพดีแต่ปริมาณไม่เพิ่ม

• สิ่งที่เป็นห่วงคือเชิญครูผู้บริหารคนไหนพูดภาษาอังกฤษได้ ให้พูดกับนักเรียนทุกเรื่อง ทุกวัน แล้วทำให้ครูเก่งขึ้น และนักเรียนก็จะรู้มากขึ้น

• การเปิดเสรีมี 2 ด้านคือ ความเจริญ และด้านลบ

จังหวัดหนองคาย

• การเปิดการค้าเสรีมีส่วนดีส่วนเสียอะไร แล้วการปรับไปเตรียมตัวเตรียมใจพูดให้พี่น้องประชาชน จะไปพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือทุนมนุษย์ในเบื้องแรก เราเสียเปรียบเรื่องภาษาเป็นเรื่องจริง ภาษาอื่นรู้น้อยมากคือจุดอ่อนที่ปรับปรุง ส่วนเรื่องสินค้าอื่น ๆ มาจากประเทศจีน เกาหลี เวียดนาม ราคาถูกบ้างแพงบ้าง ต้องหันมองว่าของไทยจะปรับปรุงอะไร

• รถไฟความเร็วสูงจากจีน ลาว แล้วเชื่อมมาที่หนองคาย จะมีการเปิดแน่นอน เราจึงต้องดูว่าท้องถิ่นมีอะไรที่เราจะให้บริการอะไร เช่นคนจีนชอบผลไม้ที่ไทย เช่นจะปลูกทุเรียนที่หนองคาย

• แนวคิดดังกล่าวทำได้หมด แต่ขึ้นอยู่กับทรัพยากรมนุษย์ที่จะต้องพัฒนาก่อน การพัฒนาที่ยั่งยืนที่สุดคือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ดร.จีระฝาก 2 เรื่อง

• จอห์น เอฟ เคนาดี มีแนวคิดบอกว่าจะส่งคนไปโลกพระจันทร์ อเมริกาทุ่มทุกอย่างมาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลกระทบปรากฎว่าส่งผลดีต่ออเมริกา แต่พอเหตุการณ์ 9/11 ตึกถล่ม บุช กลับส่งคนไปรบต่อ ผลที่ตามมาคือ...

• ถ้าเราสามารถปรับทัศนคติเรื่องอาเซียนเสรี ว่าอันนี้มาแล้ว แล้วเราจัดการมันได้ ก็จะอยู่รอด แต่ถ้าเราบ้าอำนาจ บ้าเงิน ก็จะมีปัญหา ถ้าเราลงทุนเรื่องโรงเรียนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ก็จะทำให้ไทยเข้าสู่อาเซียนเสรีได้อย่างเข้มแข็งมากขึ้น

• ทุกประเทศในโลกให้ท้องถิ่นเป็นใหญ่อยู่ทุกแห่ง เพราะท้องถิ่นจะรู้ปัญหามากที่สุด ถ้าชาวบ้านมีคนแนะนำว่าอาเซียนต้องมีภาษา ต้องพร้อม คิดเป็น วิเคราะห์เป็น มีนวัตกรรม คิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ ไม่ใช่อะไรแล้วแต่ท่านครับ

• สรุปคืออาเซียนเสรีคือปรากฎการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้แต่จัดการได้ อยู่ที่เราระดมความคิด การปะทะทางปัญญาต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปประมวลให้ได้ อาเซียนเสรีมีประโยชน์ต่อเรา ต้องพยายามค้นคว้า ทำให้มนุษย์มีศักยภาพสูงขึ้น ฝึกฝนและวางแผน ถ้าจะเป็นฟุตบอลโลก เราต้องพัฒนาตนเอง ต้องทบทวนว่าเราเกิดมาเพื่ออะไร ถ้าอยากอยู่รอดในอาเซียนเสรีต้องมีมาตรฐานสูงขึ้น

Workshop

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

จังหวัดโคราช

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

1. ทุนทางวัฒนธรรม เพราะมีภาษาโคราช เพลงโคราช อนุสาวรีย์ย่าโม ประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ โคราชเป็นเมืองใหญ่ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เชิงธรรมชาติ เขาใหญ่ วังน้ำเขียว ศิลปวัฒนธรรม ปราสาทหินพิมาย โบราณคดีมีบ้านปราสาท ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด่านเกวียน

2. มีมหาวิทยาลัยเยอะ โรงเรียนต่าง ๆ มาก

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

ใช้องค์กรและมหาวิทยาลัยเป็นศูนย์ขับเคลื่อนสร้างศูนย์อาเซียน

ดร.จีระ เสนอว่าธรรมศาสตร์เป็นองค์กรที่สร้างสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ก็ยังช่วยอยู่

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

เอาศูนย์ถ่ายทอด ลงลึกโดยผลิตสื่อผ่านเสียงตามสายถึงชุมชน ถึงชาวบ้าน

ดร.จีระ ใช้ IT ในการถ่ายทอดและให้เขามีส่วนร่วมด้วย

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1. โคราชเป็นเมืองใหญ่ เมืองเกษตร มีมันสำปะหลังเป็นแหล่งผลิตใหญ่ อยากรู้ลึก ๆ

2. มีมันสำปะหลัง มีอ้อย มีข้าวอยู่ อยากรู้เรื่องพลังงานทดแทนของอาเซียนจะไปในทิศทางใด

ดร.จีระ จะเสนอความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

วิจัยเรื่องการทำพลังงานทดแทน

• ดร.จีระ บอกว่างานวิจัยที่จะเกิดกับท้องถิ่นน่าจะเกิดตรงจุดอาเซียนเสรี เช่นที่พูดถึงมันสำปะหลัง อ้อย ข้าว ข้าวที่มีอยู่มีหลายชนิด บางพันธุ์มีมูลค่าเพิ่ม ต้องมีการจดลิขสิทธิ์ ประเด็นที่สำคัญมากคือชุมชนต้องรู้เรื่องทรัพย์สินทางปัญญา

จังหวัดแพร่

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดอ่อน

1. ทางสังคม เป็นเรื่องการคมนาคม ผังเมือง แต่มีข้อดีคือถ้าอนาคตเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จังหวัดแพร่เป็นจุดศูนย์กลางเชื่อมภาคเหนือกับภาคอื่น ๆ ซึ่งรัฐบาลอนุมัติให้สร้างแล้ว กำลังศึกษาเส้นทางอยู่ จังหวัดแพร่กำลังปรับปรุงเส้นทางอยู่มากมาย

2. ความรู้ ปัญญา ประเทศไทยมีจุดอ่อนคือไม่เก่งภาษาไม่เคยเป็นเมืองขึ้น จึงรู้แต่ภาษาของเรา ดังนั้นเราต้องเน้นในเรื่องภาษาสากล และกลุ่มอาเซียน

จุดแข็ง

1. ทางสังคม คนเหนือมีจิตใจโอบอ้อมอารี มีจริยธรรม ดีงาม มีจิตใจอ่อนไหว ต้อนรับนักท่องเที่ยวได้ มีความสุภาพอ่อนน้อม

2. วัฒนธรรม มีมากมาย โดยเฉพาะภูมิปัญญาท้องถิ่น มีสินค้าโอทอปที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศคือ ม่อฮ่อม ที่เราต้องเตรียมพัฒนาหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ พัฒนาเป็นสินค้าเพื่อขายสู่ประชาคมอาเซียนในโอกาสต่อไป ม่อฮ่อม จังหวัดแพร่พัฒนาในมหาวิทยาลัยเกษตร เรื่องสี คุณภาพ การย้อม ก.พาณิชย์ ดูเรื่องการออกแบบ การดีไซน์ต่าง ๆ ปัจจุบันม่อฮ่อม ก้าวสู่สากลได้ จึงสามารถนำเงินสู่ประเทศได้มาก

3. ประตูสู่ล้านนา เส้นทางคมนาคมต่าง ๆ ผ่านจังหวัดแพร่ถ้ามีการพัฒนาขึ้น ไม่ว่าทางรถไฟ ถนน การเชื่อมต่อต่าง ๆ เชื่อว่าในปี 2558 จังหวัดแพร่จะพัฒนา เจริญ และเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

• แหล่งท่องเที่ยว และศูนย์กลางคมนาคม ปัจจุบันนี้มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งวัฒนธรรม คือการจัดงานปรีดีจำฟ้า เป็นชาวไทยญวณ มีนักท่องเที่ยวชมมากมาย เป็นแหล่งศาสนา มีพระธาตุช่อแฮ สำหรับเกิดปีเสือ

• จุดอ่อนกับการแก้ไข เรื่องการต้อนรับต้องปรับปรุง พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว โดยดึงให้นักท่องเที่ยวให้อยู่นานที่สุด นำเงินตรามาใช้จ่ายที่จังหวัดแพร่

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1. การรับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและเอกชน ร่วมให้ความรู้ความเข้าใจ ทั้งวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ สิ่งที่ต้องให้ความรู้ผ่านในชุมชนต้องผ่านอปท. ต้องผ่านสื่อรัฐบาล ทุกรูปแบบ

2. ใช้สื่อต่าง ๆ

3.ผ่านสถานศึกษาทุกระดับ

ดร.จีระเสนอในอนาคตให้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่น

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

แต่ละประเทศมีอะไร เขาต้องการอะไร ซึ่งส่วนนี้เราจะได้รู้เขา รู้เรา

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

เรื่องผลกระทบกับการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนว่าเราเข้าไปแล้วได้อะไร เสียอะไร

จังหวัดนครสวรรค์

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

ถ้าเปรียบเทียบนครสวรรค์กับ 10 ประเทศ เราก็ไม่ด้อยกว่า

จุดอ่อน

• ทุนมนุษย์ เพราะใน 15 อำเภอ ในเขตเมืองมีความเจริญ แตกต่างกับชนบทค่อนข้างสูง คุณภาพคนมีจุดอ่อน

• เรื่องทุนทางปัญญาต่าง ๆ เกษตรปฐมภูมิ พวกข้าว พวกอ้อย เป็นเกษตรไม่ใช่อุตสาหกรรม

จุดแข็ง

• อู่ข้าว อู่น้ำ เป็น Hub ของข้าว

• บึงบรเพ็ด ประเพณีแห่มังกร เป็นวัฒนธรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

• เสนอให้มีการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ให้เอกชนมีส่วนร่วมพัฒนากับชุมชนหรือประชาชน เช่น CP เบทาโกร เข้ามาถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อยกสถานะองค์กรให้เข้มแข็ง ทั้งด้านผลผลิต และการประกันภัย ดึงให้เป็นเกษตรอุตสาหกรรม

• นครสวรรค์เป็นประตูสู่ภาคเหนือ อาหารอร่อย เนื่องจากมีอาหารจีนที่อร่อย เน้นเรื่องครัวของอาเซียน

• ดร.จีระบอกว่าเวลาพูดถึงเกษตรอุตสาหกรรมระวังอย่าให้ธุรกิจใหญ่กินคุณ เพราะเป้าหมายคือกระจายรายได้ ไม่อยากให้ก.พาณิชย์เน้นเฉพาะธุรกิจใหญ่ ถ้าไม่แปรรูปเกษตร อยากสอนให้คนอยู่ร่วมกับชุมชน เสนอทฤษฎีสะพานเชื่อมโยง แต่พอข้ามสะพานไปแล้ว 2 ฝ่ายชนะทั้งคู่

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

• เราจะดูว่าการผสมผสานสู่องค์กรท้องถิ่นได้อย่างไร อาเซียนมีสิงคโปร์ พม่าเก่งเรื่องอังกฤษ เราเอาจุดแข็งเพื่อพัฒนา

• ดร.จีระ บอกว่าขึ้นอยู่กับทฤษฎีการเจรจาต่อรอง ถ้าเจรจาดีจะช่วยได้

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. การเมืองเป็นปัจจัยต้นที่ก่อให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจสังคม วิจัยเรื่องการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง ให้ตรงกับนายกเทศมนตรีโดยตรง ถ้ามีการบริหารเหมือนนายกเทศบาล ผลงานวิจัยนายกเทศมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งจากสภาอยู่ไม่ครบเทอม เพื่อให้อำนาจการเมืองเข้มแข็งส่งผลกับเศรษฐกิจ สังคม

2. การวิจัยภาคเกษตรอุตสาหกรรม ทฤษฎี Bridge สู่ภาคชุมชน น่าสู้กับอาเซียนได้

3. การวิจัยเรื่องการผสมผสานด้านการบริหารจัดการ เอากฎหมายมาให้มีบทบาทในภาครัฐกับการบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

• ที่ประทับใจมากคือทุกกลุ่มเข้าใจที่อาจารย์สอนได้ดี อยากเสนอให้มองเรื่องการคุกคามด้วย อยากให้ดูเรื่องภาษาคอมพิวเตอร์ด้วย การรู้จริง มีที่พูดถึงม่อฮ่อม ใครก็ตามที่เก่งเรื่องนี้ ชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ทำแผนที่ภูมิปัญญาให้ชัดเจน ให้นึกถึงกางเกงยีนส์คิดอย่างไรขายได้ทั่วโลก ยิ่งขาดยิ่งแพง จึงอยากให้คิดแบบนี้กับม่อฮ่อมบ้าง อาจเน้นเรื่องการออกแบบให้มีความแตกต่างและน่าสนใจเพื่อขายได้ทั่วโลกเป็นการพัฒนาภูมิปัญญาโดยการมองจากความต้องการ คือทุกอย่างต้องมีเรื่องราว ม่อฮ่อมเกิดอย่างไร ท่านต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนจะได้สู้เขาได้

ท่านที่ปรึกษาฯ

• ประเด็นเกี่ยวกับศักยภาพของประเทศไทยเรื่องสินค้าเกษตร มีความกังวลเรื่องสินค้าเกษตรว่าประเทศเพื่อนบ้านแข่งกับเรา เนื่องจากเราไปไกลมากแล้ว เพราะเราพัฒนาคุณภาพดีมาก เนื้อคุณภาพของทุเรียนในเพื่อนบ้านสู้เราไม่ได้ เราต้องรักษาจุดเด่น และภาพลักษณ์ของเราไว้ให้ดี ตัวอย่างมะละกอแขกดำมีที่ไหนอร่อยเหมือนเมืองไทยบ้างไม่มี ปัจจุบันไม่มี เราต้องพัฒนาจุดแข็งให้แข็งขึ้นเรื่อย ๆ แล้วไม่มีใครตามเราได้

• ศักยภาพด้านการท่องเที่ยว เรามีศักยภาพโดดเด่นในภูมิภาคนี้ แต่ต้องมีการลงทุน ต้องไปดูว่าเราจะพัฒนาการลงทุนด้านการท่องเที่ยวอย่างไร โดยดูจากจุดแข็งของเรา อาจเป็นการดูจากทุนท้องถิ่นก็ได้ การสร้างพัฒนาการท่องเที่ยวต้องมีการลงทุน ต้องศึกษาให้ดีว่าเรามีศักยภาพอย่างไร อาจดึงต่างประเทศเข้ามาร่วมลงทุนด้วย ตัวอย่างมีบริษัทนวดแผนไทยทำดีมาก มาตรฐานไทยแท้ การบริหารจัดการดีมาก แต่ราคาแพงมาก เป้าหมายคือคนต่างชาติ สิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเวลาเข้ามานวด เขามีการสอนในเรื่องการทำจิตให้ว่าง เรื่องการใช้หลักวิปัสสนา เข้ามาด้วย ทำให้คนมาเที่ยวรู้สึกถึงความสงบและจิตใจดี

• ไทยมีจุดแข็งหลายอย่างที่เมื่อคนต่างชาติมาทำแล้วดีกว่าคนไทยเนื่องจากเข้าใจความรู้ในการพัฒนา มีแหล่งเงินทุน มีการบริหารจัดการที่ดี

• จุดเด่นของภาคอีสาน กับภาคเหนือ อยากให้มองไปที่ประเทศจีน ใช้กวางสี เป็นประตูสู่อาเซียน เขามีการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงผ่านประเทศไทย ภาคเหนือ ภาค

กลุ่มจังหวัดหนองคาย

กลุ่มจังหวัดหนองคาย

ทฤษฎี 8K’s 5K’s

1. จุดแข็ง

  • เป็นเมืองน่าอยู่อยู่อันดับ 7 ของโลก
  • มีการพัฒนาเมืองหนองคายให้เป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 1 ของภาคอีสาน
  • เป็นประตูสู่การค้าระหว่างไทยสู่อินโดจีน โดยเชื่อมโยงกับลาว จีน พม่า เวียดนาม
  • เป็นเมืองที่รุ่งเรืองทางด้านจริยธรรม วัฒนธรรม และศาสนา โดยมีวัด มหาวิทยาลัยสงฆ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ สถานศึกษาทางด้านศาสนา
  • เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งท่องเที่ยวและปรากฏการณ์ บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นที่สนใจมองประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะปรากฏการณ์เป็นประจำทุกปีในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
  • พิจารณาแล้วมีความเห็นว่า  มีความสัมพันธ์กับทฤษฎี 8K’s และ 5K’s

2. จุดอ่อน

  • ด้านภาษา
  • ระยะทางห่างไกลจากเมืองหลวงประเทศไทย
  • งบประมาณในการพัฒนาไม่เพียงพอที่จะบริหารงาน

แนวทางการพัฒนา

1.  ส่งเสริมการเรียน การสอน ด้านภาษา เพื่อรองรับกลุ่มอาเซียน

2. ให้ความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน เพื่อรองรับและความตื่นตัวกันการแข่งขันโดยการให้มีส่วนร่วมของกลุ่มร่วมของประชาชน

2.  จุดแข็งของท้องถิ่น

                1. จังหวัดหนองคายเป็นเมืองน่าอยู่อันดับ 7 ของโลก

                2. เป็นประตูการค้าสู่อินโดจีน

                3. สินค้า พืชและทางการเกษตร ยางพารา ไม้ผล มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน

วิธีการแก้ไขปัญหาจุดอ่อน

                1. ส่งเสริมด้านการศึกษาด้านภาษา เพื่อใช้ในการสื่อสาร

                2  พัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ มาตรฐาน

3.  วิธีการถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร

            1. เตรียมการพูดเรื่อง AEC สู่ชุมชน

            2 เน้นคุณภาพของสินค้าและบริการ

            3 ความสำคัญของสังคมและวัฒนธรรม

4 ถ้าต้องการเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก

            1 ขยายเครือข่ายความรู้ด้าน AEC ให้ประชาชนอย่างทั่วถึง

            2. ศึกษาระเบียบ กฎหมายเรื่อง AEC ให้ชัดเจน

            3 ศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง AEC ต่อร้านค้าชุมชนต่อผลผลิตทางการเกษตรของชุมชน

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อเสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

            1 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

            2 ผลกระทบด้านวัฒนธรรม สังคม

            3 ผลกระทบด้านการเมือง

 

จุดแข็ง จ.เชียงราย

 1. ทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) มีภาษาและวัฒนธรรม ประเพณีที่โดดเด่นเป็นของตนเอง ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเจิ้ง รำดาบ กลองสะบัดชัย และมีชนเผ่าหลานเผ่า เช่น ม้ง อิ้วเมี้ยน อาซ่า เป็นต้น

2 ทุนทางปัญญา (Intellectual capital)

2.1 มีปราชญ์ชาวบ้าน ในหลายด้าน เช่น การรักษาแผนโบราณ การจักรสาน การทอผ้า

2.2  มีสถานศึกษา ครบทุกระดับ ตั้งแต่ ปฐมวัย อุดมศึกษา

จุดอ่อน จ.เชียงราย

1 ทุนมนุษย์ (Human Capital)

                ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ไม่จำเป็นจะต้องดิ้นรน และแสงหาเพื่อการดำรงชีวิตประกอบกับยืดติดกับวิถีชีวิตดั้งเดิม

2. จุดแข็ง

1 การท่องเที่ยว วัฒนธรรม ทางธรรมชาติและศูนย์การเรียนรู้

2 สภาพภูมิประเทศเอื้อต่อการพัฒนา ในด้าน

            1 ด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว เชื่อมโยงถึงจีน จึงทำให้มีอัตราการค้าชายแดนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในแต่ละปี

            2 ด้านสังคม มีการเชื่อมความสัมพันธ์กับในระดับท้องถิ่น

            3 การขนส่งสินค้า ทั้ง 3 ทาง ทางเรือ ทางบก และทางอากาศ

จุดอ่อน

1 การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างผิดกฎหมาย เกิดผลกระทบตามมาหลายด้าน อาทิ  ยาเสพติด ประชากรแฝงเพิ่มขึ้น สาธารณาสุข ปัญหาอาชญากรรม

2 ทัศนคติของคนเมือง

  • ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง
  • การรับวัฒนธรรมต่างถิ่น โดยไม่ตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น

วิธีปัญหา

                1 ให้ความรู้กับชาวเชียงราย ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการให้ตระหนักถึงผลกระทบรวมถึงประชาชนให้เฝ้าการเข้ามาของแรงงาน ผิดกฎหมาย

                2 ปลูกจิตสำนึก ทัศนคติให้กับประชาชนตั้งแต่เด็ก

เชื่อมโยงงานโครงการในระดับท้องถิ่น และภูมิภาค

            3.1 สร้างตามเข้าใจเกี่ยวกับ AEC ให้กับแกนนำทุกระดับ

            3.2 อปท.ทุกแห่งในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อต่างๆ อาทิ เช่น Internet วิทยุชุม

            3.3.  รอความร่วมมือสถานศึกษาให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชน

ความสำเร็จ ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ AEC เพื่อเตรียมพร้อมและรับต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอนาคต

4. 

                1. ภาครัฐมีแนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไร

            2 การนำเข้าและส่งออก มีวิธีการขั้นตอนอย่างไร

            3  แนวโน้มการเข้ามาลงทุนในพื้นที่จังหวัด

 

 

1 ทฤษฎี 8K’s และ 5k’s

จุดอ่อน

  • ขาดความชำนาญด้านสารสนเทศ
  • การลงทุนระยะยาว พัฒนาสายพันธุ์ของทุเรียน
  • ไม่พัฒนา ตลาด การขน

  จุดแข็ง

  • ทุนมนุษย์ มีความสามารถ คิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา
  • ปัญญา การใช้ภูมิปัญญาสมุนไพรในการรักษาสุขภาพ
  • วิธีพุทธในการท่องเที่ยว

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมี 2 เรื่อง

  • การท่องเที่ยว ด่านหูคู่ อ.บ้านโคก จ.อุตรดิตถ์
  • ผลไม้ ทุเรียน หลง หลิน

ข้อเสนอแนะแก้ปัญหาจุดอ่อน

  • การคมนาคมโลจิติกส์ ควรสร้างถนนเชื่อมต่อกันประเทศลาว เวียดนาม จีน
  • ผลไม้ออกผลผลิตไม่ได้ตามความต้องการของท้องตลาดควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น เกษตรแผนใหม่

3.  วิธีการถ่ายทอด

                1.ลานนิทานความรู้

            2  ผ่านเวทีประชาคม ชุมชนหมู่บ้าน

            3 ปราชญ์ชาวบ้าน

            4 ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทุกระดับ

4.

                1. เสนอสร้างเว็ปไซด์เกี่ยวกับการค้าเสรีระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล

            2  ให้ความรู้พื้นฐานระดับ ประถม มัธยม และอุดมศึกษา

            3. โทรทัศน์ช่องท้องถิ่น นสพ.ท้องถิ่นและระบไอทีต่างๆในท้องถิ่น

5. ถ้าจะทำการวิจัยต่อควรทำ

            1 วิจัยการตลาด

            2  วิจัยคุณภาพสินค้า

            3 แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

จุดแข็ง

1 ทุนมนุษย์ มีความรักพวกพ้วง

2 ทุนทางปัญญา ภูมปัญญาท้องถิ่น มีสถานศึกษาหลายแหล่ง มน.มรภ.พิบูลย์สงคราม ม.เทคโนโลยีราชมงคลล้านนา)

3 ทุนทางจริยธรรม มีประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม

4 ทุนแห่งความสุข เป็นเมืองที่สวย

5. ทุนทางสังคม รักความสงบ มีพี่น้องและร้านอาหารพร้อมให้บริการ

6 ทุนแห่งความยั่งยืน ยึดมั่นใน 3 สถาบันหลัก ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

7 ทุนทาง IT ใช้อินเตอร์เน็ทในทางเศรษฐกิจ

8 ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

 

จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นในทฤษฎี 8K’s และ 5 K’s

จุดอ่อน

1 ขี้เกียจ ไม่ชอบงานที่ออกกำลังมาก (ไม่ขยัน)

2 ไม่แสวงหาความรู้ไม่ชอบอ่าน หนังสือ ไม่ถ่ายทอดภูมิปัญญา

3 ยังขาดคุณธรรม จริยธรรม

4 ภาวะค่าครองชีพทำให้ขาดความสุข

5 ทุนทางสังคม ไม่มีความเอื้ออาทรต่อกัน

6. ทุนทาง IT ยังไม่ทั่วถึง

7. ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ขาดความรู้ระดับแรงงานมีฝีมือ เช่น วิศวกร

8 ทุนแห่งการสร้างสรรค์

9 ทุนทางความรู้ มีสถาบันทางการศึกษาระดับอุดมศึกษา

10 ทุนทางนวัตกรรม

11 ทุนทางอารณ์

12 ทุนทางนวัตกรรม

 

จุดแข็งของท้องถิ่น

  • มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และทางประวัติศาสตร์ คือจัดทำแผนที่ท่องเที่ยว
  • มีงบประมาณที่จะเตรียมความพร้อมให้ประชาชนทราบและเข้าใจเรื่อง AEC

วิธีการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน

  • จัดเวทีประชาคม เชิญผู้มีความรู้ ความเข้าใจ AEC มาเสวนา และรับฟังความคิดเห็น
  • ประชุมชี้แจงในโอกาสต่างๆ
  • ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ตามสื่อ เช่น การกระจายข่าว วิทยุชุมชน

4. 

  • ให้กระทรวงพาณิชย์ จัดอบรมให้ความรู้ ตามระดับ หรือกลุ่มอาชีพ
  • ขอให้มีการทำ MOU ร่วมกันทุกหน่วยงานระดับส่วนกลางแล้วนำมาเผยแพร่เป็นการทั่วไปให้มีความเข้าใจตรงกันไปในทิศทางเดียวกัน)

5. หัวข้อวิจัย

            จุดอ่อน จุดแข็ง และโอกาสที่คนพิษณุโลก จะต้องปรับปรุงเพื่อให้มีความได้เปรียบ (มีโอกาสดีกว่าชาติอื่นๆ) ที่เกี่ยวข้องกับประชาคมอาเซียน ในฐานะเป็นจังหวัดสี่แยกอินโดจีน

 

จุดแข็ง

1.ทุนทางวัฒนธรรม

  • ภาษาโคราช+เพลงโคราช
  • มโหรีโคราช
  • อนุสาวรีย์คุณย่าโมเป็นศูนย์กลางรวมใจของชาวโคราช
    และเป็นแหล่งท่องเที่ยว
  • ประเพณีแห่งเทียนเข้าพรรษา

2. การท่องเที่ยว เขาใหญ่ วงน้ำเขียว

3. การศึกษามีมหาวิทยาลัย วิทยาลัย
อาชีวศึกษา อุดมศึกษา ที่ได้มาตฐานและมีชื่อเสียงหลายแห่ง

จุดอ่อน

ทุนทางความรู้
ประชาชนท้องถิ่นไม่มีความรู้ภาษาอื่น เช่น ภาษาอังกฤษ จีน
และภาษาของประเทศในอาเซียน

ยังไม่มีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้ในชีวิตในชีวิตประจำวันและติดต่ออาเซียนเสรี

ข้อเสนอแนะ

ขอความร่วมมือสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน
ร่วมกับ อบต.ในจังหวัดเป็นหน่วยหลักขับเคลื่อนศูนย์ทางภาษา (ASEAN)และสารสนเท

จัดทั้งทูตอาสา AEC เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

เชิญผู้มีความรู้หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมาให้ความรู้ เช่น ดร.จีระ

ทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ AEC

 



จุดแข็ง

ขยัน

  • มีน้ำใจโอบอ้อมอารี
  • มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมบุญบั้งไฟ มีชนเผ่าหลาหลายวัฒนธรรมผู้ไท ยอ ลาว
  • มีความรักความสามัคคีในชุมชน
  • เป็นสังคมเกษตรกรรม
  • เป็นเส้นทางเศรษฐกิจ ลาว-เวียดนาม ผ่านมุกดาหารสู่ท่าเรือแหลงฉบัง
  • มีพืชเกษตรอินทรีย์และยางพารา

จุดอ่อน

  • ขาดทักษะการทำงานเป็นทีม
  • ขาดความรู้ด้าน IT
  • ไม่มีสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่
  • มีการอพยพแรงงานไปนอกพื้นที่
  • มีการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมประเพณี
  • ขาดความรู้ความเข้าใจผลกระทบที่เกิดจาก AEC

ข้อ 2

  • ให้การศึกษาเรื่อง AEC ทั้งในระบบและนอกระบบ
  • ส่งเสริมเรื่องการเกษตรและอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างงานในท้องถิ่น

ข้อ 3

  • สร้างความรู้พื้นฐานเรื่อง AEC ให้กับบุคลากรของการปกครองส่วนท้องถิ่น
    เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและสามารถถ่ายทอดไปสู่ชุชนได้
  • ให้โรงเรียนทุกโรงเรียนในพื้นที่กำหนดหลักสูตรการเรียนรู้เรื่อง AEC
  • ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่หลากหลายเพื่อกระจายข่าวให้เขาถึงชุมชนเช่นวิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เอกสาร
  • ข้อ 4 มีสินค้าและบริการอะไรบ้างที่จะเปิดเสรีและมีกฎระเบียบ กฏหมายของแต่ละประเทศอย่างไรในการนำสินค้าเข้าไปประเทศนั้นๆ
  • แนวทางการส่งเสริมโดยภาครัฐและเอกชนอย่างไร
  • วัฒนธรรม ประเพณี และภาษาอาชีพ

ข้อ 5

  • การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรในอาเซียน
  • การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมและการอนุรักษ์
  • การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายระดับท้องถิ่นของอาเซียน



 

จุดอ่อน

ประชาชนโดยรวมขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องอาเซียน

จุดแข็ง

ประชาชนมีอาชีพเรื่องการเกษตรโดยเฉพาะการทำนาและมีสภาพดินที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีหุงขึ้นหมอและเนื้อนิ่มรสชาติดีมีกลิ่นหอม

การถ่านทอดความรู้สู่ชุมชน

จัดทำเป็นแผนแม่บทของจังหวัดโดยใช้ชุมชนในระดับตำบลและหมู่บ้านมีส่วนร่วมและเห็นควรให้มีเจ้าหน้าทีรับผิดชอบในเรื่องอาเซียน

การทำวิจัย

เรื่องการปลูกข้าวหอมมะลิ ให้ทีคุณภาพดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท