บ้านทุ่งขาม ชุมชนแห่งการเรียนรู้


โครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียงพ้นความยากจนบ้านทุ่งขาม
    • ชุนชนบ้านทุ่งขาม เป็นชุมชนที่มีวิถีชีวิต แบบเรียบง่าย แบบพออยู่พอกิน ชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนลำไย ทำสวนส้ม ปลูกผักสวนครัว ปลูกพริก และเลี้ยงสัตว์ มีการพัฒนาอาชีพ แบบตามมีตามเกิด ตามที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รุ่นต่อรุ่น
    • ชาวบ้านทุ่งขามมีวิธ๊การจัดการความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดซึ่งกันและกัน สำหรับการตัดสินใจจะใช้ประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจ
    •  ชาวบ้านส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองเพื่อให้อยู่ดีกินดี มีรายได้อย่างพอเพียง
    • ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคาจึง ได้เลือกบ้านทุ่งขาม หมู่ 6 นี้ ดำเนินโครงการจัดการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อสร้างความเข้มแข็ง เศรษฐกิจพอเพียงพ้นความยากจน
    • การดำเนินโครงการเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน ทีมงานประกอบด้วยไปด้วยแกนนำชุมชน ประชาชนและภาคีเครือข่าย ได้แก่เกษตรอำเภอ พัฒนาชุมชนอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ โรงเรียนบ้านทุ่งขาม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และองค์การบริหารส่วนตำบล
    • การดำเนินงานโครงการฯใช้รูปแบบการจัดเวทีประชาคมทั้งหมด 9 ครั้งด้วยกัน
      • เวทีที่ 1 ปรึกษาหารือร่วมกับผู้นำภาคี เพื่อดำเนินการจัดกิจกรรมโครงการ
      • เวทีที่ 2 จัดเวทีระดมสมองในการจัดทำแผนชุมชน
      •  เวทีที่ 3 จัดประชาวิจารณ์แผนชุมชน กำหนดเป้าหมายการพัฒนาตามความต้องการด้านต่าง ๆ 
      • เวทีที่ 4 กำหนดแผนปฏิบัติการธุรกิจและครัวเรือน
      •  เวทีที่ 5 จัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาสวัสดิการสังคมและชุมชนและแผนปฏิบัติการพัฒนาศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
      • เวทีที่ 6 ทบทวนแผนชุมชนบ้านทุ่งขาม เพื่อวางแผนการดำเนินงานต่อไป
      • เวทีที่ 7 ประชุม ทบทวนการปฏิบัติงานตามแผนชุมชน
      •  เวทีที่ 8 จัดทำผังชุมชน
      • เวทีที่ 9 ทบทวนแผนชุมชนบ้านทุ่งขามครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

การศึกษานอกโรงเรียนกับการพัฒนากระบวนการเรียนรู้บ้านทุ่งขาม

  • การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อยกระดับการศึกษาให้กับชาวบ้านทุ่งขามนั้น ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเกาะคา ได้นำเอาทุกกิจกรรมที่ได้ดำเนินการในโครงการฯ จากการจัดเวทีประชม ทุกเวที การจัดกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการทางด้านพัฒนาอาชีพ ด้านสวัสดิการทางสังคมและชุมชน และด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม มาบูรณาการกับวิถีชีวิตของชาวบ้านทุ่งขาม
  • จัดเป็นกระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขามเพื่อยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน ซึ่งมี 5 หลักสูตรได้แก่

1.หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม กลุ่มเลี้ยงปลากระชัง

2.หลักสูตรการเรียนการสอนบูรณาการแบบวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม กลุ่มลำไย

3.หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม กลุ่มพริก

4.หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม กลุ่มผักปลอดสารพิษ

5.หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม กลุ่มสวนส้ม

  • การเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิต ทำให้ชาวบ้านทุ่งขามเกิดกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  •  เนื่องจากการเรียนรู้นั้นเกิดจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านพัฒนาอาชีพของตนเอง การมีส่วนร่วมในด้านพัฒนาสวัสดิการสังคมชุมชน และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ศาสนา และประเพณี
  • หน่วยการเรียนรู้จึงเป็นหน่วยการเรียนรู้ที่เป็นวิถีชีวิตจริงของชาวบ้าน เป็นสิ่งที่ชาวบ้านต้องการเรียนรู้ ต้องการศึกษาเพื่อทำให้มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น
  • เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่ต้องมีห้องเรียน ห้องเรียนคือชุมชน คือการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้าน
  • ชุมชนทุ่งขามจึงเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เป็นชุมชนที่น่าอยู่ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง และมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยมีศูนย์รวมจิตใจคือเจ้านายน้าบ่าว ศาลเจ้าพ่อโดง และพระธาตุดอยฮาง
  •  หลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม ·เป็นหลักสูตรที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวิเคระห์สภาพปัญหา ความต้องการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยร่วมกันจัดทำแผนชุมชน แผนปฏิบัติการ ตามความต้องการในการพัฒนาด้านอาชีพ ด้านสวัสดิการสังคมและชุมชน และด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันเรียนรู้ เติมเต็มในสิ่งที่ยังขาดตามวิถีชีวิตของตนเอง
  • ขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนแบบบูรณาการวิถีชีวิตหน่วยการเรียนรู้:สะสมหน่วยกิตบ้านทุ่งขาม ใช้รูปแบบทุ่งขามโมเดลซึ่งมี 9 ขั้นตอน ·

ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ

24 สิงหาคม 2549

หมายเลขบันทึก: 46227เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นโครงการที่ดีมากเลยค่ะ ถ้ามีโอกาสดีๆ จะขออนุญาติแวะเยี่ยมชมหมู่บ้านต้นแบบนะคะ เพื่อเป็นวิทยาทาน และจะนำมาพั?นาชุมชนของบตัวเองต่อไปน่ะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท