เทคโนโลยีที่เกียวข้องกับ GIS


GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

ในการพัฒนาฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของประเทศไทย พบว่าต้องอาศัยเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบแผนที่ และฐานข้อมูล คือ

รีโมทเซนซิง remote sensing เป็นการสำรวจจากระยะไกลด้วยการใช้อากาศยานขึ้นถ่ายภาพในอวกาศ และใช้อุปกรณ์ในการบันทึกสัญญาณมายังภาคพื้นดิน

 ระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดภูมิศาสตร์ global positioning system นิยมเรียกย่อๆ ว่า gps ใช้กำหนดตำแหน่งพื้นที่ที่เราต้องการออกสำรวจ เพื่อนำมาวางบนแผนที่ที่มีพิกัด เพื่อตรวจสอบ หรือบันทึกลงสู่ระบบแผนที่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ geographic information systems นิยมเรียกว่า จีไอเอส GIS เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ที่มีพิกัดภูมิศาสตร์อ้างอิงตำแหน่งได้ สามารถนำมาเรียกค้นคืน เพื่อการจัดการ บริหารพื้นที่ได้อย่างสะดวก และเหมาะสม หรือตั้งเงื่อนไขตามที่เราต้องการ

ระบบภูมิสารสนเทศ

 

 

หมายเลขบันทึก: 46224เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2006 00:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ยินดีที่ได้ร่วมพูดคุยกับอาจารย์ในวันนี้นะค่ะ ขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ GotoKnow เพื่อร่วมกันสร้างคลังความรู้เชิงปฏิบัติของประเทศไทยค่ะ

ยินดีที่ได้เข้ามาเวปไซต์ที่เป็นแหล่งรวมความรู้สู่สังคมไทยเช่นนี้ครับ

เป็นกำลังใจให้ อาจารย์และทีมงานในการพัฒนาสิ่งดีๆให้สังคมไทยต่อไปครับ

เทคโนโลยีการสำรวจด้วยดาวเทียม

Rs01

ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงพื้นที่ในชนบทที่ห่างไกล เพื่อจะลงสำรวจ ได้โดยจากการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจทรัพยากร Satellite

ปัจจุบันมีอยู่หลายดวง ของแต่ละประเทศที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีรีโมทเซนซิ่ง และมีให้เลือกใช้อย่างเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงาน

เราเคยใช้ Google Earth ก็คงเห็นว่า มีบางพื้นที่ที่มีรายละเอียดของภาพไม่ชัดเจน และบางพื้นที่แสดงได้อย่างชัดเจน

ส่วนที่ไม่ชัดเจนใช้รายละเอียดของดาวเทียมที่มีคุณสมบัติแสดงผลได้ในรายละเอียดปานกลาง คือ landsat มีขนาด 30 เมตร

และส่วนที่แสดงผลได้ชัดเจน อาจจะมีในส่วนของ IKONOS (1 เมตร) หรือ QUICKBIRD (0.61 เมตร)

ดังนั้นทำให้การสำรวจในปัจจุบันในทุกพื้นที่มีความเป็นไปได้สูง และสำรวจได้รวดเร็ว

ขอบคุณสำหรับความรู้ในวันนั้นนะค่ะ อาจารย์ช่วยเปิดโลกทัศน์ของดิฉันด้าน GIS เยอะเลยค่ะ

จะติดตามอ่านบล็อกของอาจารย์อย่างสม่ำเสมอค่ะ

รูปแบบการสำรวจจากระยะไกล เราสามารถใช้เทคโนโลยีที่หลากหลายรูปแบบ โดยเลือกได้ตามความเหมาะสมของงบประมาณ เช่น การเลือกใช้อากาศยานต่างๆ ตั้งแต่ บอลลูน เครื่องบินบังคับ เครื่องบิน กระสวยอวกาศ จนถึง ดาวเทียม

แล้วเราต้องออกแบบกล้องสำหรับการบันทึกข้อมูลจากระยะไกล ที่ต้องติดไปกับอากาศยานเหล่านั้น เพื่อได้ข้อมูลที่ถ่ายจากที่สูง มองลงสู่พื้นผิวโลก เราจะเห็นพื้นผิว สิ่งที่ปกคลุมโลก

Rs05multistage

แต่จะชัดหรือไม่ มากน้อยกว่ากันเพียงใด อยู่ที่เทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ ว่าสามารถบันทึกได้คมชัดเพียงใด และรายละเอียดของภาพที่บันทึกได้เท่าใด

ส่วนใหญ่ ยิ่งบินใกล้พื้นผิวโลกมากเท่าไหร่ ยิ่งคมชัดมากเท่านั้น (แต่ไม่เสมอไป บางครั้งมีโอกาสในด้านเทคโนโลยีของการผลิตเลนส์ หรือการซูมภาพ ก็สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบันทึกภาพได้เช่นกัน

ปัจจุบันจึงมีหลายประเทศผู้นำทางเทคโนโลยีอวกาศ เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินเดีย ปัจจุบันก็มีมากมายหลายประเทศที่กำลังจะพัฒนาเทคโนโลยีในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติให้มากขึ้น

ยุคแรกมุ่งสำรวจทรัพยากร

ยุคหลังก็เริ่มผลิตในเชิงการค้า พาณิชย์มากขึ้น

Satellites01

ตอนนี้เลยมีดาวเทียมอยู่มากมายที่ล่องลอยอยู่เหนืออวกาศ ที่เราเห็นนะครับ

การผลิตดาวเทียมไม่เพียงแค่ผลิตเท่านั้น แต่ต้องมีเคโนโลยี และสถานที่ยิงดาวเทียมขึ้นไปสู่ห้วงอวกาศ

ดังนั้นประเทศใดในโลก ที่มีสถานียิงขีปนาวุธ วิสัยไกล ได้ก็ได้เปรียบ ยิงดาวเทียมขึ้นไป หรือรับจ้างยิง ในราคาก็ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทไทย ละกันต่อการยิงหนึ่งครั้ง

ในราวปี พศ. 2550 ประเทศไทยเราก็สามารถผลิตดาวเทียมโดยทีมวิศวกร จาก สทอภ. ที่ได้ไปเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ร่วมกับประเทศฝรั่งเศส ก็ได้เตรียม ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรของไทย ชื่อ THEOS ประเทศไทยเราก็จะมีข้อมูลจากการสำรวจ เป็นของเราเอง ต้องลุ้นกันว่าจะยิงขึ้นไปสำเร็จหรือไม่

ไว้โอกาสถัดไปจะพูดถึงประเด็นคุ้มค่ากับเงินที่ลงทุนหรือไม่ต่อไป

 

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อผ่านขั้นตอนการส่งขึ้นไปสู่อวกาศแล้ว

Rs01

ก็จะล่องลอยตามวงโคจร ที่ทีมวิศวกร ได้ออกแบบ และคำนวน เส้นทางการโคจร เพื่อให้เกิดวงโคจรที่กลับมา ณ ตำแหน่งเดิมในเวลาที่คงที่ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ ได้ต่อไป

ดาวเทียมแต่ละประเทศก็จะมีวงโคจรไม่เหมือนกัน เนื่องจากการคำนวน ของระดับความสูงของวงโคจร ไม่เหมือนกัน เทคโนโลยีที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การสำรวจก็มีโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลภาพพื้นดินในเวลาที่ต่างๆ กัน

 

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติขึ้นไปอยู่บนอวกาศ แล้วทำอะไรได้บ้าง

Rs04remote-sensing-instruments

ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ แบ่งตามเทคโนโลยีในการสำรวจออกเป็น 2 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 เป็นดาวเทียม Passive Remote Sensing เป็นเทคโนโลยี ที่สามารถถ่ายภาพในเวลากลางวันได้ดีกว่า ในเวลากลางคืน เนื่องจากต้องอาศัย พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ เช่น LANDSAT, SPOT, IKONOS, QUICKBIRD, THEOS เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 เป็นดาวเทียม Active Remote Sensing เป็นเทคโนโลยี ที่สามารถถ่ายภาพได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน โดยไม่อาศัยพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากดวงอาทิตย์ เช่น ERS, JERS, RADASAT เป็นต้น

ปัญหาบางพื้นที่ไม่สามารถ บินถ่ายภาพทะลุเมฆได้ โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคใต้ เราสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้โดยใช้ข้อมูลจาก Active Remote Sensing ในการถ่ายสำรวจ และจะยุ่งยากสำหรับมือใหม่ คือตอนแปลผลลัพธ์ของภาพ ซึ่งไม่เหมือนกับ Passive Remote Sensing

ประเทศไทย นิยมใช้ Passive Remote Sensing เพราะแปลได้ง่ายกว่า แสดงผลออกมาก็พอทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นอะไรบ้าง แม้ไม่สามารถแปลได้ละเอียดในชนิดของพืชพรรณ ในเบื้องต้น โดยแค่เพียงแสดงผลผ่านแม่สีทางแสง แดง เขียว น้ำเงิน

 

Passive Remote Sensing

Rs02

กระบวนการในการสำรวจระยะไกลในรูปแบบ Passive Remote Sensing

การบันทึกภาพบนดาวเทียม จะต้องอาศัยแสงจากดวงอาทิตย์ อีกนัยหนึ่งคือ พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro magnetic) ของดวงอาทิตย์  ขอเรียกว่า EM

พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electro magnetic) จะผ่านอุปสรรคอันแรกคือ ชั้นบรรยากาศ ไม่ว่าจะเป็นละอองน้ำ เมฆ โอโซน เป็นต้น กว่าจะทะลุผ่านบรรยากาศมาได้ ก็มากระทบกับวัตถุต่างๆ บนโลก ดังรูป

วัตถุบนโลก จะดูดซับ บ้าง ส่งต่อพลังงานบ้าง หรือสะท้อนกลับไปยังบรรยากาศบ้าง

ในส่วนที่สะท้อนกลับบรรยากาศ ก็จะบันทึกได้จากอากาศยาน หรือดาวเทียม ที่กำลังบินสำรวจผ่านพื้นที่นั้นๆ ในเวลาที่มีดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่จะเป็นช่วงเช้าสำหรับเมืองไทย

เราก็ได้ภาพที่ถ่ายทอดสัญญาณจากดาวเทียมมายังสถานีรับภาคพื้นดินต่อไป เพื่อให้ผู้ใช้ข้อมูลนำไปใช้ประโยชน์ต่อไปครับ

ผลลัพธ์ที่ผู้ใช้สามารถนำไปใช้ได้

Rs03high

เป็นตัวอย่างการแสดงผลจากข้อมูลดาวเทียมหลายช่วงคลื่น แต่รายละเอียดสูง เพื่อจะสามารถนำไปใช้ในการต่างๆ ได้เช่น การวางผังเมือง การติดตามการกระจายของเมือง การวางแผนการจราจร การจัดการทรัพยากรต่างๆ ได้ ฯลฯ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท