การพัฒนาทักษะการสร้างภาพศิลป์สร้างสรรค์ ด้วยชุดแบบฝึก


นักเรียนส่วนมากต้องการงานที่ท้าทาย แปลกใหม่ จึงได้คิดนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเรียนวิชาศิลปะ คือ นวัตกรรมชุดแบบฝึกการพัฒนาทักษะการสร้างภาพศิลป์สร้างสรรค์

ความเป็นมา  การเรียนรู้วิชาศิลปะ ผู้เรียนต้องมีความรัก ความสนใจ ฝึกฝน เพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง จึงจะประสบผลสำเร็จ นักเรียนส่วนมากต้องการงานที่ท้าทาย แปลกใหม่ จึงได้คิดนวัตกรรมขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาการเรียนวิชาศิลปะ คือ นวัตกรรมชุดแบบฝึกการพัฒนาทักษะการสร้างภาพศิลป์สร้างสรรค์  โดยไม่ละพื้นฐานของศิลปะ แต่จะคงไว้ในเรื่องการวาดภาพระบายสี และเพิ่มเติมด้วยเรื่องการสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ที่จะนำมาแต่งแต้มผลงานให้ดูแปลกใหม่ แปลกตา ท้าทายความสามารถจากความคิด จินตนาการหนึ่งในสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่ควรมีในการนำเศษวัสดุรอบตัวมาประยุกต์ใช้อีกทั้งเป็นการปลูกฝังนิสัยการรักษาสิ่งแวดล้อมตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียนได้ด้วย
ความมุ่งหมาย  นักเรียนมีผลงานการสร้างภาพศิลป์สร้างสรรค์เป็นที่ประจักษ์ สามารถคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ มีความรัก ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในงานศิลปะ
วัตถุประสงค์
1.  เพื่อให้นักเรียนสร้างงานศิลป์สร้างสรรค์ได้
2.  เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
3.  เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในงานศิลปะ

วิธีดำเนินงาน 

            1.  ศึกษาหลักสูตร สถานศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานตัวชี้วัด

            2.  วิเคราะห์ผู้เรียน

            3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนที่หลากหลาย เช่น การเรียนแบบร่วมมือ(Co-operative Learning) การสอนแบบโครงงาน การออกแบบสื่อนวัตกรรม ชุดแบบฝึกการพัฒนาทักษะการสร้างภาพศิลป์สร้างสรรค์

            4.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้

            5.  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ฝึกปฏิบัติจริง

            6.  วัดและประเมินผลตามสภาพจริง สอดคล้องกับธรรมชาติวิชา

            7.  ขั้นปรับปรุง พัฒนา โดยนำผลจากการวัด ประเมินผลมาพัฒนากิจกรรมต่อไป

ผลการดำเนินการพัฒนา (เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ) 

          เชิงปริมาณ 

                        นักเรียนชั้น ป.5 จำนวน 18 คน สามารถสร้างงานศิลป์สร้างสรรค์ ตามความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้

          เชิงคุณภาพ

  1. นักเรียนสามารถสร้างงานศิลป์สร้างสรรค์ ตามความคิดและจินตนาการได้อย่างหลากหลาย มีความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อม รู้จักประยุกต์ใช้เศษวัสดุมาสร้างงานศิลปะ ให้เกิดคุณค่า มีความภาคภูมิใจในผลงาน เห็นคุณค่าของงานศิลปะ
  2. ผู้ปกครองนักเรียน มีความภาคภูมิใจในตัวนักเรียนที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พัฒนาทักษะความสามารถด้านศิลปะอย่างต่อเนื่อง และผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม โดยเป็นฝ่ายสนับสนุน ช่วยจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ให้บุตรหลาน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะด้านศิลปะอย่างยั่งยืน โดยมีปัจจัยสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากโรงเรียนบ้านเตาปูน (พิไชยาประชานุกูล) ในการจัดตั้งชมรมศิลปะ เพื่อพัฒนาผู้เรียนตามความถนัด ความสนใจ ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข

นอกจากนี้ กิจกรรมในโรงเรียน เช่น การแข่งขันการวาดภาพในวันสำคัญต่าง ๆ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นักเรียนฝึกฝนตัวเองอยู่เสมอ การแข่งขันในเวทีระดับต่าง ๆ เช่น ระดับกลุ่มเครือข่ายการศึกษายมเหนือ การแข่งขันกิจกรรมของโรงเรียนสองพิทยาคม  องค์การบริหารส่วนตำบลเตาปูนและหน่วยงานอื่น  ผลงาน ใบเกียรติบัตรของนักเรียนในรุ่นก่อน ๆ เป็นแรงผลักดันให้นักเรียนรุ่นหลังมีความมุ่งมั่นตั้งใจ

อีกทั้ง กำลังใจจากผู้ปกครอง คณะครูและชุมชนที่ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนเป็นอย่างดี ส่งผลให้นักเรียนมีผลงานด้านศิลปะเป็นที่ประจักษ์ สร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองและโรงเรียนด้วยความภาคภูมิใจ


 
หมายเลขบันทึก: 461752เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท