สำหรับนักศึกษารายวิชา การเป็นผู้ประกอบการ นะจ๊ะ


รายวิชา การเป็นผู้ประกอบการ!!! ตอบดีมารางวัล

*** มุมนี้ สำหรับนักศึกษาในรายวิชา การเป็นผู้ประกอบการ***

คำถาม:

"นักศึกษาคิดว่า ผู้ประกอบการในปัจจุบันนี้ควรมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรบ้างจ๊ะ ยกตัวอย่างธุรกิจประกอบด้วย"

**อย่าลืม ใส่ชื่อ นามสกุล / รหัสประจำตัว / กลุ่มเรียน มาด้วยนะจ๊ะ**

หมายเลขบันทึก: 461673เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2011 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (110)
นางสาว อัมรินทร์ เรืองศรี

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารองค์กรไปสู่แนวคิดใหม่ และต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

ระดับความรับผิดชอบทางสังคม

น.ส อัมรินทร์ เรืองศรี การจัดการทั่วไปห้อง1 524407042

นาย ธเนศ หยุดยั้ง การจัดการทั่วไป กลุ่ม1 524407049

หน่ยงงานต่างๆเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำ CSR กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีการรับรู้ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เห็นได้จากการขานรับกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมโดย “การให้” ผ่านรูปแบบของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆในกลุ่มดังกล่าวมีน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง อาทิ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย Young Thai Artist Award รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้านกีฬา จัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย และจัดแข่งขันวอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย

เช่น

สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

นางสาว นารีรัตน์ กันยา การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 524407010

ในปัจจุบันผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะองค์การ หน่วยงาน หรือธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างเช่นเราจะเห็นได้จากห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆหลายแห่ง เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโครที่หันกลับมามองสังคม โดยนำส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากยอดขายมาช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส หรืออย่างช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยต่างๆ อย่างเช่นตอนนี้ประเทศเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมอยู่ จะเห็นได้ว่ามีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยเหลืออย่างมากมาย เช่น หน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และบริษัทธุรกิจต่างๆอีกมากมาย เป็นต้น ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆที่กล่าวถึงนอกจากจะได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์ของตนเองอีกด้วย รวมถึงธุรกิจหลายๆธุรกิจที่ตอนนี้เริ่มหันกับมาสนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งบางหน่วยงานหรือบางธุรกิจถึงกับมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปในองค์การของตนเองด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่นมีการใช้ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ มีของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เช่นกระดาษบางครั้งอาจใช้ไปหน้าเดียวก็จะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เป็นต้น

นางสาวชมภูนุช สิทธิเขตการ กลุ่ม 2 รหัส 524407125
  • ผู้ประกอบการในปัจจุบันต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นประการแรกในการดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมาจนเกินไป หรือหากกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็ควรจะชดเชยให้สิ่งแวดล้อมกลับมามีสภาพเหมือนเดิมหรือใกล้เคียงแบบเดิมมากที่สุด
  • ยกตัวอย่างเช่น การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มีการจัดสร้างสวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บนพื้นที่ 60 ไร่ เพื่อให้เป็นพื้นที่สีเขียว เสมือนปอดธรรมชาติของชาวระยอง การจัดสร้างสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ เทศบาลเมืองมาบตาพุด เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นสถานที่พักผ่อนออกกำลังกายของชาวระยอง และดำเนินโครงการระยองเมืองสีเขียว ร่วมกับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ มาบตาพุด หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ชุมชนในพื้นที่โดยรอบ ปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มเติมพื้นที่สีเขียว ให้แก่ จ.ระยอง
นางสาวราตรี ตั้งไพร กลุ่ม 2 รหัส 524407084

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้จากการทำ CSR จะเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้กับอุตสาหกรรมที่ทำการติดต่อค้าขายกับประเทศในกลุ่ม อียู และกลุ่มประเทศ OECD ที่ได้ทำข้อตกลงด้าน CSR เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเสนอให้ประเทศในกลุ่มทำการติดต่อค้าขายกับประเทศคู่ค้าที่ทำ CSR เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าภาคอุตสาหกรรมใดยังไม่มีมาตรฐานหรือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับ CSR คาดว่าในอนาคตอาจจะประสบปัญหาลำบากได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจกลายมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศเหล่านี้ก็เป็นได้

เยาวลักษณ์ ช่วยบำรุง การจัดการทั่วไป ก.2 524407080

ต้องไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจยังคงใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นความสำคัญ หรือโรงงานยังคงปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ถึงแม้ว่าจะใช้เงินมากมายในการดำเนินกิจกรรมต่อสังคม แต่เราคงไม่สามารถกล่าวอ้างได้เต็มปากว่าเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแจริง

เช่น บริษัท ออสก้าโฮลดิ้ง จำกัด มีความรับผิดชอบต่อสังคมได้ทำอย่างต่อเนื่อง ด้านสังคม ได้ทำกระเป๋าเพื่อน้อง เพื่อแจกเด้กที่ขาดแคลนกระเป๋าในชนบท

นางสาวหทัยชนก ฮั่นตระกูล การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัส 524407097

ในการดำเนินกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ให้ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น องค์กรจะต้องมีการวางแผนที่ดี มีการปฏิบัติอย่างเต็มที่ และสม่ำเสมอ ปรับความไม่รู้ให้เป็นความรู้ จากความรู้ให้เป็นความเข้าใจ จากความเข้าใจให้เป็นการตระหนัก จากการตระหนักให้เป็นสำนึกรับผิดชอบ จากสำนึกรับผิดชอบให้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ จากธรรมเนียมปฏิบัติให้เป็นระเบียบ จากระเบียบให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามขององค์กรในที่สุด

นางสาวละอองทิพย์ สีเเดง การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 รหัส 524407086

1.มีความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมในธุรกิจที่ดำเนินการทั้งภายในเเละภายนอกเเละมีวิสัยทัศน์ที่ดี

2.มีความตระหนักเเละเข้าใจในสิ่งที่ถูกต้องเเละดีงามเเละสามารถแก้ไขปัญหาอุปสรรคได้ทันทีเมื่อเกิดปัญหา

3.มีความริเริ่มสร้างสรรค์และการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อให้ทันต่อเศรษฐกิจในสังคมปัจจุบัน

เช่น บริษัท เบียร์ไทย (1991) จำกัด ช่วยเหลือผู้ยากไร้หรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆเช่นปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วม

นางสาวณัฏสินี ศิริพันธ์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 524407064

ธุรกิจ เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการมุ่งแสวงหาผลกำไร ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะ ความยั่งยืนของธุรกิจจะเกิดได้ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

น.ส.ศุภวรรณ เมฆเลื่อม

ผู้ประกอบการต้องระมัดระวัง ไม่เอาสิ่งแปลกปลอมแบบใหม่ที่เป็นพิษต่อเยาวชน หรือค่านิยมที่ถูกต้องตั้งแต่ตั้งเดิม เราต้องไม่ให้ธุรกิจของเรามากระทบ หรือแปรเปลี่ยนวิถีชีวิตของคน ในประเทศ ซึ่งเป็นวิถีดี สงบสุข อยู่แล้ว โดยมุ่งแต่ธุรกิจของตัวเอง ซึ่งไม่ถูกต้อง ขัดต่อหลักจริยธรรม ในแง่ของบริษัทจำเป็นต้องดำรงตน เป็นพลเมืองที่ดี ซึ่งหมายถึง ถึงแม้ว่าบริษัทจะเป็นนิติบุคคลที่ไม่มีชีวิต จิตใจ ทางคณะกรรมการ ผู้บริหาร เป็นมนุษย์ มีความรู้สึก มีจิตใจ

น.ส.ศุภวรรณ เมฆเลื่อม

นางสาว ศุภวรรณ เมฆเลื่อม

การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 รหัส 524407031

นางสาวณัฏสินี ศิริพันธ์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 524407064

ผู้ประกอบการในปัจจุบันที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การทำให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร มีทั้งสังคมภายในเรื่องพนักงาน คู่ธุรกิจ แล้วต่างขยายออกไปข้างนอก การรับผิดชอบต่สังคม ไม่ใช่แต่เอาเงินไปบริจาคแล้วจบ ต้องคิดในมุมกว้างมากกว่านั้น ต้องมองถึงผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างประเทศด้วย หนังสือขอความช่วยเหลือเข้ามาทุกวันเราจะทำอย่างไร เรามองอย่างไร งบประมาณไม่มากแต่จิตสำนึกสำคัญกว่า

การมองด้านนโยบายรับผิดชอบต่อสังคมหลักความยั่งยืน 3 ประการ การประเมินผลภาวะสังคม กำกับดูแลและรายงาน

ความครอบครองค่านิยมและนโยบายบริษัท เป็นองค์กรที่ดีรับผิดชอบสมาชิกที่ดีในสังคม คุณภาพ นวัตกรรม การเงินมั่นคง เปิดกว้าง ยอมรับนับถือ เกื้อกูลกันและให้โอกาสพนักงานในการพัฒนาตนเอง

การบริจาคมากๆ จะทำให้เขามีนิสัยชอบขอมากกว่าการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเอง

การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม

นโยบายบริษัทมีด้านคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

ด้านคุณภาพต้องมีมาตฐานคุณภาพปรับปรุงผลิตภัณฑ์บริการ

ด้านชีวอนามัยตรวจสุขภาพก่อนทำงานความเสี่ยงในอยู่ในระดับยอมรับได้ทำให้พนักงานยอมรับก่อนเขาจะทำตามได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่ดูดี ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่มีผลกระทบ ใช้ทรัพยากรอย่างอนุรักษ์ ใช้ขี้เถ้าถ่านมาทดแทน เอาขยะมาเผาเพื่อนช่วยกำจัดขยะให้สังคม

อย่างเช่น ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม

นางสาวสิริวรรณ อ่อนพรม

นางสาวสิริวรรณ อ่อนพรม การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407035

บทบาทในทางบวกของแต่ละบุคคล หรือหน่วยในสังคมมีลักษณะหลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่นระดับรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยต้องให้หลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทธุรกิจต้องมีความเคารพและต้องส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของตนโดยตรง หรือโดยการจ้างผ่านระบบอื่นๆ ภายนอก และสำหรับประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน่วยในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และโลก

น.ส.จริยา ลิลาจันทร์ 544407134 กลุ่ม 3

การเป็นผู้ประกอบการที่ดีในปัจจุบันนี้ควรที่จะนำหลักจริยธรรมเข้ามาใช้ด้วย โดยการไม่เอาเปรียบลูกค้า มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ไม่คตโกง ตัวอย่างเช่น สินค้าประเภทอาหาร เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเรื่องของอาหารเป็นการบริโภคเข้าสู่ร่ายกายโดยตรง ถ้าสินค้าไม่ได้มาตราฐานผู้บริโภคอาจมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้

นางสาว จินตนา อิทร์อ่อน รหัส 524407004 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการมุ่งแสวงหาผลกำไร ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะ ความยั่งยืนของธุรกิจจะเกิดได้ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

น.ส.อัมพร พรมมา การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 รหัส 524407041

การเป็นผู้ประกอบการนั้น จะต้องมีการมีการสร้างงาน สร้างความเจริญ พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐนำภาษีประเภทต่าง ๆ จากภาคธุรกิจไปพัฒนาสังคม ธุรกิจจึงต้องมีจริยธรรมและจะต้องดูแลไม่ให้ธุรกิจเสียหายหรือมีผลกระทบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในหลายประเด็นปัญหาหรือรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ การดำเนินขององค์กรธุรกิจอยู่นอกเหนือข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ การส่งเสริมการจ้างแรงงาน ตลอดจนการดูแลป้องกันสภาพแวดล้อมที่นอกเหนือจากข้อบังคับทางกฎหมาย ให้การช่วยเหลือในกิจกรรมด้านการกุศลสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

น.ส อัมพร พรมมา

การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1

รหัส 524407041

ผู้ประกอบการในปัจจุบันที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ยกตัวอย่าง ธุรกิจไอศกรีมศรีมาลา

ที่ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคม

1.นำวัตถุดิษที่เป็นธรรมชาติมาใช้ในการผลิต

2.นำวัตถุดิษที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เกิดประโยชน์

3.ไม่เอาสิ่งแปลกปลอมมาใช้ในการผลิต

4.ไม่เอาเปรียบลูกค้า

5.มีความใส่ใจกับลูกค้า

6.นโยบายบริษัทมีด้านคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

น.ส.มาริสา ชูชีพ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา 524407079

ผู้ประกอบการทุกท่านที่ต้องการให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน  ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ธุรกิจใดที่มุ่งแต่สร้างกำไรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผลสังคมส่วนใหญ่ธุรกิจนั้นๆ ก็คงอยู่ไม่ได้ผลนอกจาก ความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ธุรกิจต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สภาพเดิมจนรุ่นลูกหลาน ธุรกิจต้องบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ หรือระดับต่ำ ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งมีผู้ประกอบการมักง่ายจำนวนมากที่พยายามบีบต้นทุน หรือลดต้นทุน โดยที่ไม่มีการลงทุนในการติดตั้งระบบ หรือเครื่องจักรที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก จริยธรรม ของผู้ประกอบการว่ามีมากขนาดไหน หรือเอาใจใส่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัทต้องคำนึง การรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ไม่ให้การดำเนินธุรกิจของตัวเองไปกระทบกับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม เพราะถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเกิดผลเสีย ทำให้บกพร่องต่อหน้าที่ ในฐานะนิติบุคคลที่ดีของประเทศ วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ก็จะเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

ตัวอย่างเช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย ที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ ด้านการศึกษา รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้านกีฬา และด้านสิ่งแวดล้อม

น.ส.มาริษา สกุลไทย การจัดการทั่วไป กลุ่ม 3 รหัส 544407160

นางสาวจิราภรณ์ นันเขียว 524407005 การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1

1.ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม

2.ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ

3.ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization

4.ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

5.ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง

6.สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

ข้าพเจ้าคิดว่าในปัจจุบันนี้เราควรที่จะให้ความสำคัญและใส่ใจกับคำว่า ลดโลกร้อน SAVE WORLD SAVE LIFE เป็นอย่างมากแม้แต่ผู้ประกอบการต่างๆก็จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัย และ การดำรงชีวิตของคนในสังคมให้มากที่สุด โดยเฉพาะผู้ประกอบการด้านโรงงานอุตสาหรรม

ดังนั้น ผู้ประกอบการทั้งหลายควรที่จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ให้ความสำคัญและใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

 อย่างเช่น บริษัทดูปองท์ในสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการลดการใช้สารเคมี โดยการใช้การล้างหัวฉีดน้ำแรงดันสูงแทนการล้างด้วยสารละลายหรือสารเคมี บริษัทซีร็อกซ์ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อนำสารสกัดจากเปลือกส้มมาใช้แทนสารละลายที่เป็นพิษ"

นางสาวรุ่งอรุณ ชะอุ้ม การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 524407022

นางสาวรสสุคนธ์ คู่ควร

นางสาวรสสุคนธ์ คู่ควร การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407021

คนส่วนใหญ่มักจะมองเป็นเรื่องภายในองค์กร แต่ในสภาพที่กว้างกว่าธุรกิจมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งหมายรวมถึงลูกค้า ผู้ใช้บริการ คู่ค้า หน่วยงานของรัฐตลอดจนสังคมและชุมชน ธุรกิจจึงเป็นหน่วยเล็ก ๆ หน่วยหนึ่งของสังคม มีการสร้างงาน สร้างความเจริญ พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐนำภาษีประเภทต่าง ๆ จากภาคธุรกิจไปพัฒนาสังคม ธุรกิจจึงต้องมีจริยธรรมและจะต้องดูแลไม่ให้ธุรกิจเสียหายหรือมีผลกระทบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในหลายประเด็นปัญหาหรือรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ การดำเนินขององค์กรธุรกิจอยู่นอกเหนือข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ การส่งเสริมการจ้างแรงงาน ตลอดจนการดูแลป้องกันสภาพแวดล้อมที่นอกเหนือจากข้อบังคับทางกฎหมาย ให้การช่วยเหลือในกิจกรรมด้านการกุศลสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

นางสาววิภาณี เกิดช่าง การจัดการทั่วไปกลุ่มที่ 1 รหัสนักศึกษา 524407026

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนจะต้องสร้างทัศนคติ และจิตสำนึกที่ดีให้พนักงานทุกคนในบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือสังคมทั้งในด้านการศึกษา และการส่งเสริมอาชีพการส่งเสริมวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีชุมชน สนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพพื้นฐาน อีกทั้งยังต้องประสานร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรภายนอกต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูรณาการดำเนินงานด้านรับผิดชอบต่อสังคม จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ตัวอย่างเช่น บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (โรงงานแม่พลอย) มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยสู่ผู้บริโภค ควบคู่กับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ รวมทั้งแนวปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง ยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีจริยธรรม ละเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน

นายสุทธิพงษ์ อยู่นิ่ม การจัการทั่วไปกลุ่ม 1 รหัส 524407055

เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินกิจกรรม ความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจัง และต่อเนื่องบริษัทฯ และพนักงานจึงมีส่วนร่วม ในการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส การมีส่วนร่วม และพัฒนาชุมชน เพื่อการพัฒนาอย่างยิ่งยืนสืบไป นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม

ตัวอย่างเช่น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะเป็นสายการบินแห่งชาติและเป็นสายการบินชั้นนำตระหนักในความรับผิดชอบต่อประเทศและสังคมโลกในการรักษาสิ่งแวดล้อม บริษัทฯ จึงมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจการบินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม

นางสาวนุจนาถ ตาลป๊อก

นางสาวนุจนาถ ตาลป๊อก การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407012

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

นางสาวอุบล พันธ์นุช การจัดการทั่วไป ก.2/52 รหัสนักศึกษา 524407099

เมื่อพูดถึงจริยธรรม คนส่วนใหญ่มักจะมองเป็นเรื่องภายในองค์กร แต่ในสภาพที่กว้างกว่าธุรกิจมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งหมายรวมถึงลูกค้า ผู้ใช้บริการ คู่ค้า หน่วยงานของรัฐตลอดจนสังคมและชุมชน ธุรกิจจึงเป็นหน่วยเล็ก ๆ หน่วยหนึ่งของสังคม มีการสร้างงาน สร้างความเจริญ พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐนำภาษีประเภทต่าง ๆ จากภาคธุรกิจไปพัฒนาสังคม ธุรกิจจึงต้องมีจริยธรรมและจะต้องดูแลไม่ให้ธุรกิจเสียหายหรือมีผลกระทบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในหลายประเด็นปัญหาหรือรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ การดำเนินขององค์กรธุรกิจอยู่นอกเหนือข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ การส่งเสริมการจ้างแรงงาน ตลอดจนการดูแลป้องกันสภาพแวดล้อมที่นอกเหนือจากข้อบังคับทางกฎหมาย ให้การช่วยเหลือในกิจกรรมด้านการกุศลสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มบริษัททัชวู๊ดเป็นบริษัท “สามมิติของธุรกิจที่ยั่งยืน” เรามุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ สังคม, สิ่งแวดล้อม และ เศรษฐกิจ อย่างกลมกลืน ในขณะเดียวกันยังรักษาหลักของ บรรษัทภิบาล มีความรับผิดชอบ และแนวทางในการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด เรารับผิดชอบต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ อย่างจริงจัง

***สังคม เป็นแรงขับเคลื่อนอยู่เบื้องหลังธุรกิจแบบสามมิติ สังคมมีหน้าที่รับผิดชอบอยู่ในส่วนของการวิเคราะห์ดำเนินการตามที่ได้มีการร้องขอ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีและสมบูรณ์แบบ การตัดสินใจทุก ๆ อย่างแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของเราที่มีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และชุมชนที่เราอยู่อาศัย

***ด้านสิ่งแวดล้อม โลกเป็นบ้านของเรา เป็นสถานที่ที่เราต้องดำรงชีวิตอยู่ และเป็นความหวัง ความฝันของเรา เราไม่สามารถที่จะย้ายไปอาศัยอยู่ในสถานที่อื่นได้ ดังนั้นเราจึงต้องรักษาและเคารพบ้านของเรา หากเรายังต้องการที่จะให้โลกเป็นสถานที่ที่เป็นความหวังและความฝันของเรา

***เศรษฐกิจ มีการดำเนินการปลูกแปลงสวนป่าใน 3 ประเทศ และมีสำนักงานขายใน 10 ประเทศ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ให้มีผลตอบแทนรายปีตรงกับความต้องการของลูกค้า ในขณะนี้มีแปลงส่วนป่าจำนวน 30 แปลง ซึ่งเพาะปลูกต้นไม้ทั้งหมด 7 สายพันธุ์ ภายในกลุ่มบริษัททัชวู๊ดและผู้ปลูกที่เป็นคู่สัญญาจากภายนอก การให้คำแนะนำเฉพาะทางจากผู้เชี่ยวชาญ เทคโนโลยีในการทำป่าไม้ การวิจัยและพัฒนา การผลิต การตลาดและการแจกจ่ายสินค้าป่าไม้ มีพนักงานในกลุ่มบริษัทกว่า 600 คน กำไรเป็นสิ่งที่เราควรได้รับจากการประกอบธุรกิจบนโลกใบนี้ที่เราอาศัยอยู่ ผลประโยชน์ตรงนี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้พื้นที่จำนวนมากของป่าตามธรรมชาติต้องถูกทำลายไป และทำไมการปลูกป่าจัดการจึงช่วยหยุดการทำลายป่าตามธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปในวันข้างหน้าได้ การปลูกป่าจัดการนั้นช่วยให้มีแหล่งทรัพยาการทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ

นางสาว สุภาภรณ์ ทวีศรีสมวงศ์ เอกการจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รหัส 524407038

มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR) เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนจะต้องสร้างทัศนคติ และจิตสำนึกที่ดีให้พนักงานทุกคนในบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือสังคมทั้งในด้านการศึกษา และการส่งเสริมอาชีพการส่งเสริมวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีชุมชน

เช่น บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

นางสาวชไมพร พรมตา การจัดการทั่วไปกลุ่ม.3 รหัส 544407137

1. การปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงรุกและเชิง รับอย่างต่อเนื่อง

2. การเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล

3. การยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

4. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรแสดงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบอย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล

5. ความโปร่งใส

6. การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีความพยายามอย่างต่อเนื่องใน “การบรรลุความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ทำให้ความต้องการของคนรุ่นอนาคตเสีย

7. การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม

8. หลักการป้องกันล่วงหน้า ควรทำการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างรอบคอบในการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายและ รักษาผลประโยชน์ของตน

9. หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน

10. หลักการเคารพต่อความหลากหลาย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรจ้างงานโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ เพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง

จะเห็นได้ว่าบทบาทของความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ ได้มีความสำคัญยิ่งในการเป็นกลไก และเครื่องมือในการสร้างคุณค่าให้แก่องค์กร และเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจตลอดจนเป็นการลดช่องว่างระหว่าง ผู้ผลิตกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน เนื่องจากความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจไม่ใช่เพียงการบริจาคเป็นครั้ง คราว หรือเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์ แต่เป็นการสร้างคุณค่าต่อสังคมรวมถึงการพัฒนาธุรกิจให้ยั่งยืน

ตัวอย่าง

บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

อนุพงค์ (โตโต้ซัง) จันทร์แสน 544407178

มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR)

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทหรือ ซีเอสอาร์ (อังกฤษ: corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ

หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน

ความรับผิดชอบทางสังคมหลากหลายมิติความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้

1.ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม

2.ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ

3.ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization

4.ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

5.ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง

6.สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

นางสาว วศินี เงินแจ้ง

ผู้ประกอบการ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะเห็นว่าการทำธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงามในตัวมันเองและควรกระทำ แม้ว่าในบางครั้งอาจทำให็ธุรกิจได้กำไรน้อยลงไปบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะการที่บริษัทจะแสวงหากำไรได้มากบริษัทจำเป็นต้องมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาของสังคม ให้ประชาชนเกิดความเชื่อถือในธุรกิจของเราและถือว่าบริษัทของเราได้ช่วยเหลือและตอบแทนประชาชน

ตัวอย่่าง เช่น

1.ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม

2.ความรับผิดชอบต่อสุขภาพและสวัสดิการของประชาชน

3.ความรับผิดชอบด้านสังคม

4.ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

5.ความรับผิดชอบด้านจริยธรรมและกฎหมาย

ตัวอย่าง

คุณทรง บุลสุข ซึ่งเป็นผู้วางรากฐาน และบุกเบิก บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน)มีแนวคิดที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการบริหารธุรกิจเพียงอย่างเดียว แต่ยังยืนยันเจตนารมณ์ในการผลักดันบริษัทเสริมสุขฯ ให้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสังคมให้ดียิ่งขึ้น ด้วยสำนึกว่าบริษัทเสริมสุขฯ อยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน จนถือเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และมีความตั้งใจที่จะพัฒนาสังคมในหลาย ๆ ด้าน เช่น ด้านการศึกษา ดังนั้น ในปี 2506 จึงเป็นปีแห่งการเริ่มต้นที่ บริษัทเสริมสุขฯ ได้จัดสรรทุนจำนวนหนึ่งมอบให้มูลนิธิช่วยนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยม ที่เรียนดีแต่ยากจน ให้ได้เข้าศึกษาต่อในขั้นมหาวิทยาลัย จนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ภายหลังได้มีการจัดตั้ง มูลนิธิ ทรง บุลสุข ขึ้นในปี 2533 เพื่อเป็นเกียรติแก่ คุณทรง บุลสุข อดีตประธานกิตติมศักดิ์ ของบริษัท เสริมสุขฯ และทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมสืบเนื่องตลอดมา

นางสาว วศินี เงินแจ้ง การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 รหัส 524407121

นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมของ โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี

มีหลักการกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ประกอบด้วยหลัก 7 ประการ ดังนี้

1. การกำกับดูแลองค์กร บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบที่ดีของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการ ดำเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าและ ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงการบริหารจัดการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นสากลและเป็น ประโยชน์ต่อสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและดำรงรักษาความเป็นเสิศในคุณธรรมอันเป็นคุณ ค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนำ  

 2. สิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและ เสรีภาพด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ ส่งเสริมความเสมอภาค ไม่แบ่งแยกเพศและชนชั้น ไม่ใช้แรงงานเด็ก และต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ 

 3. การปฏิบัติด้านแรงงาน  บริษัทฯ  มีการกำกับดูแลให้ค่าจ้างอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอุตสาห-กรรมของไทย   การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และการจัดระเบียบองค์กรนั้นจะดำเนินการอย่างรับผิดชอบโดยอยู่ภายใต้กรอบแห่ง กฎหมายไทย รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยสำหรับพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โดยพยายามให้ทุกคนปลอดจากอุบัติเหตุและอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 

 4. สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น มีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมต่างๆขององค์กร ทั้งนี้เพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ 

 5. การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและ มีจริยธรรม ใส่ใจในการปฎิบัติตามกฎหมาย เคารพกฎระเบียบของสังคม และเป็นองค์กรที่มีความ    เป็นกลางทางการเมือง 

 6. ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้จัดหา มุ่งเน้นการบริการที่ดีเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า มีความจริงใจต่อการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า รวมทั้งพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผลิต และ/หรือการบริการ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าและการบริการในลักษณะเดียวกันนี้จากองค์กร ผู้จัดหาสินค้า  โดยมุ่งเน้นที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าและผู้จัดหา 

 7. การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน บริษัทฯ จะพิจารณาความต้องการของชุมชน ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่นรอบสถาน ประกอบการในด้านการพัฒนา- การศึกษา วัฒนธรรม สังคม และมีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมทำงานอาสาสมัคร และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วม กับชุมชน

น.ส สุพัฒน์ชา  ด่อนแผ้ว การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา524407092

การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

การดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบการ แต่ในทางกลับกันการดำเนินการที่ดีนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ประกอบการด้วย หรือเป็นการดำเนินการที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์

เช่น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

การดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบการ แต่ในทางกลับกันการดำเนินการที่ดีนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ประกอบการด้วย หรือเป็นการดำเนินการที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์

เช่น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

นายประณต กอไม้ รหัส 524407106 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2

นพวรรณ เชิดชู 524407069 การจัดการ 2

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

เช่นธูรกิจ (ปตท) นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด พัฒนาสังคม โดยใช้กลยุทธ์ 4 “E”      

     บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัดมุ่งที่จะพัฒนาสังคม โดยใช้กลยุทธ์ 4 “E” คือ การศึกษา หรือ Education สิ่งแวดล้อม หรือ Environment การอนุรักษ์พลังงาน หรือ Energy Conservation และ การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ Employee Engagement Education - ด้านการศึกษา เชฟรอนเชื่อมั่นว่าการพัฒนาคุณภาพของเยาวชนเพื่อเป็นกำลังสำคัญในอนาคตเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทุกประเทศ ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาของเยาวชนและชุมชน เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการศึกษาของไทย โดยสนับสนุน จัดตั้งและดำเนินโครงการต่าง ๆ มาตลอดระยะเวลากว่า 10 ปี และได้ร่วมมือกับ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เพื่อจัดตั้งหลักสูตรมหาบัณฑิตธรณีศาสตร์ปิโตรเลียมเป็นครั้งแรกของประเทศไทยและของภูมิภาค ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการด้านการศึกษาที่ดำเนินการในปี 2552 ได้แก่ การมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง การสนับสนุนค่ายเยาวชนด้านวิชาการของชมรมนิสิตนักศึกษาต่าง ๆ เช่น ค่ายธรณีวิทยา และธรณีฟิสิกส์ ค่ายนิเวศวิทยาทางทะลภาคฤดูร้อน ค่ายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ “รากแก้ว” ค่ายพัฒนาทักษะวิทยากรน้อย” โดยกลุ่มเยาวชนมหาสดัม จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่จัดขึ้นเพื่ออบรมถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศศึกษาในกลุ่มเยาวชนด้วยกัน เป็นต้น การสนับสนุนโครงการ Petroleum Summer School ซึ่งจัดโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน, กิจกรรมการกุศลเพื่อน้องๆ ผู้ด้อยโอกาสที่มูลนิธิส่งเสริมการพัฒนาบุคคล, โครงการหนังสือคือโลก มอบชั้นวางพร้อมหนังสือให้โรงเรียนต่าง ๆ ในจังหวัดชลบุรี สงขลา และนครศรีธรรมราช, ทุนการศึกษา “ป่ารักษ์เลสาบ” ให้แก่นักเรียนที่อยู่ในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการป่ารักษ์เลสาบ, การมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนพิการโรงเรียนอาชีวพระมหาไถ่, และ โครงการสนับสนุนศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น Environment - ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของโลกถือเป็นภารกิจสำคัญสำหรับเชฟรอน รวมถึงการมุ่งมั่นพัฒนาและรักษาแหล่งทรัพยากรพลังงานของไทยและทั่วโลกให้มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพสูงสุด เชฟรอนได้ริเริ่มจัดทำโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายโครงการ โดยมีโครงการสำคัญที่ดำเนินการในปี 2552 ได้แก่ โครงการโรงเรียนเครือข่ายเชฟรอน พลังใจ พลังคน ซึ่งเป็นโครงการระยะยาวต่อเนื่อง 3 ปี เพื่อสนับสนุนโครงการด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนในด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและรู้คุณค่าของทรัพยากรในโรงเรียนทั่วประเทศ, โครงการ “ป่ารักษ์เลสาบ” เพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนทะเลสาบสงขลา, โครงการรักษ์ป่าชายเลนสทิงหม้อ ตามแนวพระราชดำริ เพื่อร่วมส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศป่าชายเลนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชน, โครงการปลูกปะการังถวายในหลวง เพื่อฟื้นฟูปะการังในอ่าวไทย และสร้างจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับประชาชนทั่วไป, โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ, โครงการมอบเงินสนับสนุนโครงการก่อสร้างสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำสงขลา, กิจกรรมค่ายรักษ์โลก รักษ์พลังงาน รักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน และกองทุนส่งเสริมการขยายพัฒนาสัตว์น้ำสู่อ่าวไทย Energy Conservation - การอนุรักษ์พลังงาน ในฐานะที่เชฟรอนเป็นบริษัทพลังงานชั้นนำระดับโลกที่จัดหาแหล่งทรัพยากรให้แก่ประเทศไทย เราตระหนักดีว่าบริษัทมีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ทรัพยากรพลังงานอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ทรัพยากรอันทรงคุณค่าเหล่านี้ตกทอดสู่ชนรุ่นหลังสืบไป โดยเราเดินหน้าจัดกิจกรรมหลายประเภทเพื่อกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พลังงาน เช่น โครงการประหยัดพลังงานของชาวสงขลา การจัดพิมพ์หนังสือการ์ตูน "เชฟรอนแมน" การมอบทุนการศึกษาแก่เยาวชนดีเด่นที่มีพฤติกรรมแสดงถึงการช่วยประหยัดพลังงานทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน และโครงการบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่งเสริมให้ชุมชนคัดแยกขยะและนำมาผ่านกระบวนการเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน Employee Engagement - การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม เป็นอีกภารกิจหนึ่งที่บริษัทฯ ยึดถือและสำนึกในการมีส่วนร่วมแบ่งเบาความทุกข์ยากและความเดือดร้อนของพี่น้องชาวไทยในภาวะวิกฤตต่าง ๆ เท่าที่ฐานะของภาคเอกชนหนึ่งจะพึงกระทำ อันได้แก่ โครงการรวมพลังรักต้านภัยเอดส์ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัย เป็นต้น และเนื่องจากสงขลา สัตหีบ และนครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่ตั้งของสำนักงานสาขาของเชฟรอน บริษัทฯ จึงเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนที่นี่เป็นหลัก โครงการที่ดำเนินการในปี 2552 ได้แก่ โครงการผ่าตัดเด็กปากแหว่ง-เพดานโหว่ และค่ายแก้ไขการพูด ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างเชฟรอนและมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม, โครงการเชฟรอน แคร์ส ฟอร์ คิดส์ ช่วยเหลือเด็กๆ ที่ด้อยโอกาสในชุมชนแออัดทั่วกรุงเทพฯ, การมอบเงินช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอชไอวีที่สงขลา กิจกรรมสร้างอาคารเรียนโดยพนักงานเพื่อมอบให้แก่โรงเรียนปากน้ำเก่า จังหวัดนครศรีธรรมราช, กองทุนสนับสนุนโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช และโรงพยาบาลท่าศาลา เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อนให้ได้รับโอกาสด้านการรักษาพยาบาล, โครงการโครงการเชฟรอนชวนคนคอนออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ, กิจกรรมออฟชอร์มาราธอนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อร่วมสนับสนุนโครงการช่วยเหลือผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ของทางโรงพยาบาลทันตกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งการสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาของชุมชนชาวพุทธและมุสลิม เป็นต้น

น.ส สุพัฒน์ชา . ด่อนแผ้ว การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา 524407092
นางสาวนิตยา เกตุบำรุง การจัดการทั่งไปกลุ่ม 2 524407072

ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

บริษัทต่างๆ ที่อยู่ในเมืองหรือ บ.ใหญ่ อาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ มากนัก หรือ เป็นบริษัทที่มีสาขามากมายทั่วประเทศ ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง โดยการบริจาค ทำกิจกรรม หรือสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไข และพัฒนาสังคม ในประเด็นที่ บริษัทเกี่ยวข้อง สนใจ ซึ่งถือเป็นการแสดงบทบาทผู้นำทางธุรกิจ ต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างชัดเจนและควรเป็นอย่างยิ่งที่จะวัด ผลได้ จึงจำเป็นทีจะต้องมีการวางแผน และการหาพันธมิตรในการปฏิบัติงานที่ดี ซึ่งจะนำมาสู่ภาพลักษณ์ที่ดี Corporate Citizenship ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและคุณค่าของบริษัทในมุมมองของ ผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โครงการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจจราจร

ความเป็นมาของโครงการฯ

เนื่องด้วยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความตั้งใจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จัดทำโครงการอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและชุมชนอย่างดีเสมอมา ซึ่งโครงการต่างๆสอดคล้องสมตามเจตนารมณ์ที่ทางบริษัทฯได้ตั้งไว้ ดังนั้นในปี 2545 เอไอเอสจึงได้จัดทำโครงการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจจราจรขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญความพร้อมของอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานจราจร ที่จะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งๆขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้สัญจรใช้รถใช้ถนนในท้ายที่สุด

วัตถุประสงค์

1) เพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร

2) เพื่อความสะดวกในการสัญจรของประชาชน

3) เพื่อความคล่องตัวของการจราจร รวมถึงการช่วยลดปัญหามลภาวะในทางอ้อม

4) เพื่อเป็นการลดงบประมาณของภาครัฐฯ ที่มีอยู่จำกัด

กลุ่มเป้าหมาย

1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

2) ประชาชนผู้สัญจรใช้รถใช้ถนน

สิ่งที่คาดว่าได้รับ

1) สามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร และการสัญจรของประชาชน

ผู้สัญจรใช้รถใช้ถนนได้ในระดับหนึ่ง

2) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเอไอเอสกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

3) เอไอเอสได้ทำสิ่งที่ดีในการเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก

นางสาววัชราภรณ์ จันทร์สุริย์ การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา 524407092

นางสาวัชราภรณ์ จันทร์สุริย์

ดีแทค และ บจ. กว่า 40 องค์กรธุรกิจ ในนาม CSR Club สมาคม บริษัทจดทะเบียนไทย เครือข่ายองค์กรที่ทำงานขับเคลื่อนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมพลองค์กรทำดี พร้อมสร้างเครือข่าย CSR และยกระดับความรับผิดชอบต่อสังคม โดยร่วมกับชาวบ้านในชุมชนตำบลพังราด รวม 747 คน เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้ประเทศไทย กับกิจกรรม "ห้องเรียน...ป่าชายเลน" โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ณ เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเลนประแสร์-พังราด ตำบลพังราด อำเภอแกลง จังหวัดระยอง โดยร่วมกันปลูกพันธ์ไม้ชายเลน อาทิต้น แสม และโกงกางใบใหญ่ จำนวน 12,000 ต้น สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนได้ทั้งสิ้น 18 ไร่

นางสาววัชราภรณ์ จันทร์สุริย์ รหัส524407129 การจัดการทั่วไปกลุ่ม2

ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม

บริษัทต่างๆ ที่อยู่ในเมืองหรือ บ.ใหญ่ อาจไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ มากนัก หรือ เป็นบริษัทที่มีสาขามากมายทั่วประเทศ ดังนั้นบริษัทเหล่านี้จึงควรแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในวงกว้าง โดยการบริจาค ทำกิจกรรม หรือสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไข และพัฒนาสังคม ในประเด็นที่ บริษัทเกี่ยวข้อง สนใจ ซึ่งถือเป็นการแสดงบทบาทผู้นำทางธุรกิจ ต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมอย่างชัดเจนและควรเป็นอย่างยิ่งที่จะวัด ผลได้ จึงจำเป็นทีจะต้องมีการวางแผน และการหาพันธมิตรในการปฏิบัติงานที่ดี ซึ่งจะนำมาสู่ภาพลักษณ์ที่ดี Corporate Citizenship ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความไว้วางใจและคุณค่าของบริษัทในมุมมองของ ผู้บริโภคและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เช่น AIS

โครงการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจจราจร

ความเป็นมาของโครงการฯ

เนื่องด้วยบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความตั้งใจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่จัดทำโครงการอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและชุมชนอย่างดีเสมอมา ซึ่งโครงการต่างๆสอดคล้องสมตามเจตนารมณ์ที่ทางบริษัทฯได้ตั้งไว้ ดังนั้นในปี 2545 เอไอเอสจึงได้จัดทำโครงการจัดหาอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติงานตำรวจจราจรขึ้น เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญความพร้อมของอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานจราจร ที่จะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งๆขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้สัญจรใช้รถใช้ถนนในท้ายที่สุด

วัตถุประสงค์

1) เพื่อความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร

2) เพื่อความสะดวกในการสัญจรของประชาชน

3) เพื่อความคล่องตัวของการจราจร รวมถึงการช่วยลดปัญหามลภาวะในทางอ้อม

4) เพื่อเป็นการลดงบประมาณของภาครัฐฯ ที่มีอยู่จำกัด

กลุ่มเป้าหมาย

1) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

2) ประชาชนผู้สัญจรใช้รถใช้ถนน

สิ่งที่คาดว่าได้รับ

1) สามารถอำนวยความสะดวกในการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร และการสัญจรของประชาชน

ผู้สัญจรใช้รถใช้ถนนได้ในระดับหนึ่ง

2) ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเอไอเอสกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

3) เอไอเอสได้ทำสิ่งที่ดีในการเอื้อประโยชน์ต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติ

ปี 2545 บริษัทฯได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญความพร้อมของอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานจราจร ที่จะส่งผลให้การปฏิบัติงานการจราจรมีประสิทธิภาพเพิ่มยิ่งๆขึ้น ทำให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนผู้สัญจรในการใช้รถใช้ถนน โดยในเบื้องต้นจัดทำตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจรบริเวณแยกต่างๆ ปัจจุบันมีการจัดทำและติดตั้งแล้วเสร็จดังนี้

กรุงเทพฯ จำนวน 1 แห่ง

บริเวณแยกวิสุทธิกษัตริย์ ใต้สะพานพระราม 8

ต่างจังหวัดทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

รวม 42 จังหวัด จำนวน 102 แห่ง

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก

นางสาววัชราภรณ์ จันทร์สุริย์ การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา 524407129

นาย ทศพร ดีนา การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 รหัส 524407048

"ธุรกิจที่บอกว่ารับผิดชอบนั้นต้องไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจยังคงใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นความสำคัญ หรือโรงงานยังคงปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ถึงแม้ว่าจะใช้เงินมากมายในการดำเนินกิจกรรมต่อสังคม แต่เราคงไม่สามารถกล่าวอ้างได้เต็มปากว่าเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง"

นางสาวเพชรมณี ชมเมือง

ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน: ผู้จัดการเรนฟอเรสท์ รีสอร์ท

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการมุ่งแสวงหาผลกำไร ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะ ความยั่งยืนของธุรกิจจะเกิดได้ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับเนื้อหาในการบรรยาย เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยยกกรณีศึกษาจากเรนฟอเรสท์ รีสอร์ทแกนนำในการก่อตั้งชมรมรักษ์ลำน้ำเข็ก ซึ่งบรรยายโดย คุณณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ผู้จัดการเรสฟอเรสท์ รีสอร์ท

คุณณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ได้ให้คำจำกัดความว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ก็เหมือนกับการออกกำลัง ที่เราจะต้องเสียสละเวลา เสียสละแรงกาย แต่สิ่งที่เราได้รับคือ การมีสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การทำดีกับสังคมก็เช่นเดียวกัน เราต้องรู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม แต่สิ่งที่เราจะได้กลับคืนมาก็คือความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเราเติบโตอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท ได้มีการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ส่วนด้วยกันคือ ชุมชน สิ่งแวดล้อมและพนักงาน เมื่อสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล และชุมชนได้รับการเอาใจใส่ นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าย่อมประทับใจบอกต่อและกลับมาใช้บริการอีก เนื่องจาก ลูกค้าจะให้การสนับสนุนองค์ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม นอกจากนี้ พนักงานของเรายังเกิดความภักดีกับองค์กรมากขึ้น เพราะ เราใช้การจ้างงานจากคนในพื้นที่ เราทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนที่ครอบครัวของพนักงานอาศัยอยู่ให้ดีขึ้น และผลพลอยได้ที่ธุรกิจจะได้รับก็คือ กิจการเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกับชมรมรักษ์ลำน้ำเข็ก เช่น ล่องแก่งเก็บขยะ พัฒนาความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น สามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท โทรศัพท์ 055-293085-6

จากที่ได้รับความรู้จาก คุณณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ผู้จัดการเรนฟอเรสท์รีสอร์ท ได้ให้ข้อคิดว่า "ธุรกิจอยู่ได้ เพราะสังคมและสิ่งแวดล้อม การเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ จะนำมาซึ่งความยั่งยืน"

นางสาวเพชรมณี ชมเมือง โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัส 524407076

นายณัฐพล จอมมาลัย รหัส 524407044 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)

ธุรกิจประกันภัย

กิจกรรมในด้านความรับผิดชอบต่อสังคม

นอกเหนือไปจากความมุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุดด้วยการให้บริการประกันวินาศภัยแบบมืออาชีพแล้ว บริษัทฯ ยังได้ดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม :

ด้านสังคม

บริษัทฯได้จัดให้มีโครงการต่าง ๆ ทั้งโครงการต่อเนื่องและโครงการใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่ดีของสังคมที่ร่วมรับผิดชอบและเสียสละต่อส่วนรวม อาทิเช่น การบริจาคโลหิต การมอบทุนการศึกษาและการบริจาคเงินสร้างโรงเรียนในชนบท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อเด็ก และเยาวชน D.E.K. Program (Developing Education for Kids)

ด้านสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ได้ตรวจติดตามการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และได้ลดการใช้พลังงานของบริษัทฯ ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลดการใช้กระดาษและไฟฟ้าลงได้อย่างมาก

**นายณัฐพล จอมมาลัย รหัส 524407044 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)**

ปุณยนุช หอมสมบัติ 524407075 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2

ธุรกิจ โด ดี โด (ติ๊กชีโร่)

สิ่งที่ผู้ประกอบการควรมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคม

1.รักษาสิ่งแวดล้อม โดยใช้สีถั่วเหลืองในการทำสีกล่องใส่โดนัด

2. ช่วยลดราคา เพื่อที่จะซื้อกินได้ทุกคน

3. ถุงพลาสติก ผลิตถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสะลายได้เองตามธรรมชาติ จากแสงที่มาจากดวกอาทิตย์

4. ใช้ แต่ผลิตภัณท์ที่ดี เช่นใช่แป้งที่ดี ใช่วัตถุดิษที่ดีๆ มาทำโดนัดที่ดีๆๆ

นางสาว ปุณยนุช  หอมสมบัติ  การจัดการทั่วไป  กลุ่ม 2   รหัส 524407075

น.ส.พัชริดา ศรีบุญมา

ธุรกิจ กระดาษ I der geen

ความรับผิดชอบต่อสังคม

กระดาษไอเดีย ลดการใช้ต้นไม้ กระดาษคุณภาพดี เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

กระดาษไอเดีย ร่วมสร้างมหานครหนังสือ

กระดาษไอเดีย ร่วมเผยเคล็ดลับความสำเร็จจากกลยุทธ์การตลาดแบบยั่งยืน

กระดาษไอเดีย หนุนการคิดเพื่อสิ่งที่ดีกว่า ร่วมยินดีกับก้าวสู่ปีที่ 20 แห่งการพิทักษ์ทรัพย์สินทางปัญญา

กระดาษไอเดีย ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ตอบสนองทุกความต้องการที่เหนือกว่า

กระดาษไอเดียร่วมใจช่วยชาวญี่ปุ่น

กระดาษไอเดีย ร่วมสนับสนุนการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก

กระดาษไอเดีย กรีน ส่งต่อความห่วงใยถึงสิ่งแวดล้อม

กระดาษไอเดีย กรีน ร่วมฟื้นฟูโรงเรียนประสบภัยน้ำท่วม

Idea Green เชิญชวนคู่รักเพ้นท์ถุงผ้าลดโลกร้อนเป็นของขวัญวาเลนไทน์

นางสาวพัชริดา ศรีบุญมา

M

M M

M M M

M M M M

M M M M M

ความรับผดชอบต่อสังคมข้างบนนะคะ

นางสาวพัชริดา ศรีบุญมา 524407013 การจัการทั่วไป /1 ธุรกิจ กระดาษไอเดีย

นางสาววิภาวรรณ เดชชิด การจัดการทั่วไป 1 524407027

หากเปรียบเทียบธุรกิจเป็นเหมือนเรือ ชุมชนและสังคมในฐานะผู้บริโภคก็เปรียบเสมือนน้ำที่ช่วยพยุงเรือนั่นเอง ถ้าไม่มีน้ำช่วยหนุนส่งเรือก็ไม่สามารถแล่นได้

การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ไม่เพียงเป็นประโยชน์จากการคืนกำไรกับสังคม แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

หลายองค์กรในปัจจุบันมีการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือการพัฒนาเยาวชน

อาทิ โครงการลูกโลกสีเขียวของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมดูนกของบริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทโตโยต้า

นางสาววิภาวรรณ เดชชิด การจัดการทั่วไป 1 524407027

คิดว่าคำเปรียบนี้เป็นยังไงบ้างจ๊ะ เพื่อน ๆ ๆ

นางสาวณัฏสินี ศิริพันธ์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 524407064

บริษัท (CSR)

เหตุใดจึงมีมาตรฐานและข้อแนะนำต่างๆ ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเกิดขึ้น? ความจริงก็คือสถานการณ์ในโลกปัจจุบันมีการแข่งขันสูงขึ้น ประกอบกับสังคมปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งในด้านกฏหมายและมาตรการต่างๆ ส่วนในโลกธุรกิจนั้น เหล่าผู้ประกอบการโดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ และบริษัทข้ามชาติ ต้องการแสดงตนว่ามีมาตรฐานการประกอบการที่สูง ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมการเติบโตของบริษัท ในขณะเดียวกันสังคมก็เล็งเห็นว่าผู้ประกอบการบางรายอาจให้ความสำคัญกับผลประกอบการทางธุรกิจเป็นหลัก จนละเลยต่อจริยธรรม จรรยาบรรณทางธุรกิจ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นหลายฝ่ายจึงเกิดการสังเกตการณ์และตั้งคำถามขึ้นต่อพฤติกรรมต่างๆ ของบริษัทเหล่านั้น เป็นที่มาของการเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างมาตรฐานและข้อแนะนำ เพื่อให้องค์กรธุรกิจมีความรับผิดชอบต่อสังคม

ถือเป็นความถ้าทายใหม่สำหรับวงการธุรกิจทั่วโลก โดยกระแสดังกล่าวส่งผลเร็วและเด่นชัดที่สุดต่อบริษัทข้ามชาติที่เริมดำเนินโยบายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ด้วยการผสมผสานเป้าหมายทางด้านเศรษกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน และการที่ปัจจุบันตลาดการค้าโลกเปิดกว้างสำหรับการแข่งขันเสรีนั้น การพิจารณาการลงทุนของผู้ลงทุนจึงเป็นตัวช่วยเร่งให้บริษัทขนาดใหญ่ดำเนินนโยบายที่สอดคล้องกับข้อแนะนำและมาตรฐานการประกอบการสากลมากขึ้น

นางสาวณัฏสินี ศิริพันธ์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 2 524407064

บริษัท เทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (โรงงานแม่พลอย) มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และความปลอดภัยสู่ผู้บริโภค ควบคู่กับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยการปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อกำหนดอื่นๆ รวมทั้งแนวปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง ยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ มีจริยธรรม ละเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน

เพื่อให้เกิดการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นไปตามเจตนารมณ์ จะต้องสร้างทัศนคติ และจิตสำนึกที่ดีให้พนักงานทุกคนในบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การช่วยเหลือสังคมทั้งในด้านการศึกษา และการส่งเสริมอาชีพการส่งเสริมวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยีชุมชน สนับสนุนการเข้าถึงบริการสุขภาพพื้นฐาน อีกทั้งยังต้องประสานร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรภายนอกต่าง ๆ เพื่อเป็นการบูรณาการดำเนินงานด้านรับผิดชอบต่อสังคม จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารองค์กรไปสู่แนวคิดใหม่ และต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

ระดับความรับผิดชอบทางสังคม

น.ส จิตรา อำพร การจัดการทั่วไปห้อง1 524407003

ผู้ประกอบการในปัจจุบันที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

การทำให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ความรับผิดชอบต่อสังคมคืออะไร มีทั้งสังคมภายในเรื่องพนักงาน คู่ธุรกิจ แล้วต่างขยายออกไปข้างนอก การรับผิดชอบต่สังคม ไม่ใช่แต่เอาเงินไปบริจาคแล้วจบ ต้องคิดในมุมกว้างมากกว่านั้น ต้องมองถึงผู้ถือหุ้นที่เป็นชาวต่างประเทศด้วย หนังสือขอความช่วยเหลือเข้ามาทุกวันเราจะทำอย่างไร เรามองอย่างไร งบประมาณไม่มากแต่จิตสำนึกสำคัญกว่า

การมองด้านนโยบายรับผิดชอบต่อสังคมหลักความยั่งยืน 3 ประการ การประเมินผลภาวะสังคม กำกับดูแลและรายงาน

ความครอบครองค่านิยมและนโยบายบริษัท เป็นองค์กรที่ดีรับผิดชอบสมาชิกที่ดีในสังคม คุณภาพ นวัตกรรม การเงินมั่นคง เปิดกว้าง ยอมรับนับถือ เกื้อกูลกันและให้โอกาสพนักงานในการพัฒนาตนเอง

การบริจาคมากๆ จะทำให้เขามีนิสัยชอบขอมากกว่าการส่งเสริมให้พึ่งพาตนเอง

การเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม

นโยบายบริษัทมีด้านคุณภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม

ด้านคุณภาพต้องมีมาตฐานคุณภาพปรับปรุงผลิตภัณฑ์บริการ

ด้านชีวอนามัยตรวจสุขภาพก่อนทำงานความเสี่ยงในอยู่ในระดับยอมรับได้ทำให้พนักงานยอมรับก่อนเขาจะทำตามได้ดี

ด้านสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่ดูดี ใช้ทรัพยากรคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่มีผลกระทบ ใช้ทรัพยากรอย่างอนุรักษ์ ใช้ขี้เถ้าถ่านมาทดแทน เอาขยะมาเผาเพื่อนช่วยกำจัดขยะให้สังคม

อย่างเช่น ธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม

(นางสาว เสาวลักษณ์ จะปิน การจัดการทั่วไป กลุ่ม 4/54 รหัส 544407219)

นางสาวอนุสสรา นาใจเย็น การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รหัส 524407039

เครื่องสำอางยูเซอริน

ยูเซอรินมีการบริหารจัดการแบบยั่งยืน และคำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม

และสังคม การทำงานของเราไม่ได้ดูจากความสำเร็จทางด้านธุรกิจเท่านั้น แต่คำนึงถึงการ

รักษาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

อีกด้วย ที่ยูเซอริน เรามีวัฒนธรรม ในการทำงานที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นความยุติธรรม

การมอบโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และต่อต้านการแบ่งแยกและความไม่ซื่อสัตย์

“มีชีวิตอย่างมีคุณค่า ทั้งในวันนี้และในวันหน้า” เป็นหลักการที่ยูเซอรินยึดปฏิบัติต่อสังคม

เช่นเดียวกับหลักการของ UN’s International Charter of Human Rights และมุ่งมั่นที่

จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้กำลังของยูเซอริน

การดำเนินการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด เราีมี

การพัฒนาด้านความปลอดภัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เป้าหมาย “จำนวนอุบัติเหตุ

เป็นศูนย์”

ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัว

และวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆ

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน

การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

การดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบการ แต่ในทางกลับกันการดำเนินการที่ดีนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ประกอบการด้วย หรือเป็นการดำเนินการที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หรือโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility; CSR) ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์ที่จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งสร้างและสืบสานความสัมพันธ์อันดีที่เกิดจากการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน

นางสาวชุลีพร ใบทับทิม การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รัหัส 524407120

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารองค์กรไปสู่แนวคิดใหม่ และต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

ยูเซอรินมีการบริหารจัดการแบบยั่งยืน และคำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม

และสังคม การทำงานของเราไม่ได้ดูจากความสำเร็จทางด้านธุรกิจเท่านั้น แต่คำนึงถึงการ

รักษาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

อีกด้วย ที่ยูเซอริน เรามีวัฒนธรรม ในการทำงานที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นความยุติธรรม

การมอบโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และต่อต้านการแบ่งแยกและความไม่ซื่อสัตย์

“มีชีวิตอย่างมีคุณค่า ทั้งในวันนี้และในวันหน้า” เป็นหลักการที่ยูเซอรินยึดปฏิบัติต่อสังคม

เช่นเดียวกับหลักการของ UN’s International Charter of Human Rights และมุ่งมั่นที่

จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้กำลังของยูเซอริน

การดำเนินการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด เราีมี

การพัฒนาด้านความปลอดภัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เป้าหมาย “จำนวนอุบัติเหตุ

เป็นศูนย์”

ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัว

และวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆ

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน

นอกเหนือจากนั้น เราได้ค้นหาวิธีการและเป้าหมายที่สามารถวัดผลจากโครงการต่างๆ ได้จริง

มีการทบทวนและปรับปรุงโครงการกับเหล่าผู้ถือหุ้น ขององค์กรอย่างต่อเนื่องและเปิดเผย

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบัน จึงต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารองค์กรไปสู่แนวคิดใหม่ และต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

ยูเซอรินมีการบริหารจัดการแบบยั่งยืน และคำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม

และสังคม การทำงานของเราไม่ได้ดูจากความสำเร็จทางด้านธุรกิจเท่านั้น แต่คำนึงถึงการ

รักษาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

อีกด้วย ที่ยูเซอริน เรามีวัฒนธรรม ในการทำงานที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นความยุติธรรม

การมอบโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และต่อต้านการแบ่งแยกและความไม่ซื่อสัตย์

“มีชีวิตอย่างมีคุณค่า ทั้งในวันนี้และในวันหน้า” เป็นหลักการที่ยูเซอรินยึดปฏิบัติต่อสังคม

เช่นเดียวกับหลักการของ UN’s International Charter of Human Rights และมุ่งมั่นที่

จะช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนภายใต้กำลังของยูเซอริน

การดำเนินการเพื่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางธุรกิจทั้งหมด เราีมี

การพัฒนาด้านความปลอดภัยของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้เป้าหมาย “จำนวนอุบัติเหตุ

เป็นศูนย์”

ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัว

และวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆ

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน

นอกเหนือจากนั้น เราได้ค้นหาวิธีการและเป้าหมายที่สามารถวัดผลจากโครงการต่างๆ ได้จริง

มีการทบทวนและปรับปรุงโครงการกับเหล่าผู้ถือหุ้น ขององค์กรอย่างต่อเนื่องและเปิดเผย

นางสาวสุวิมล ศรีสัง การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รหัส 524407119

การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

บริษัท เชฟรอนมีส่วนร่วมสร้างกิจกรรมในชุมชนที่เราเข้าไปดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่สัตหีบและสงขลา รวมไปถึงพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย โดยเราได้รับความร่วมมืออย่างดีเยี่ยมจากหน่วยงานราชการและองค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ จนทำให้เชฟรอนสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนเหล่านั้นด้วยดีเสมอมา

สำหรับในประเทศไทย เราสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนด้านการพัฒนาการศึกษาของไทย การให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทย การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย กิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และกิจกรรมการกุศลเพื่อการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ

นอกจากนี้ เชฟรอนยังเน้นการพัฒนาสังคมไปในด้านต่างๆ โดยใช้กลยุทธ์ 4 “E” คือ การศึกษา หรือ Education สิ่งแวดล้อม หรือ Environment การอนุรักษ์พลังงาน หรือ Energy Conservation และ การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ Employee Engagement

นางสาวศศิธร สิงสถิตย์ การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รหัส 524407029

น.ส สริพร ศรีดา การจัดการทั่วไป 4/54

<p>1. หน้าที่ขององค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการทุกท่านต้องการกำไร แต่การทำผลกำไรอย่างไร โดยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ถือหุ้นไม่เพียงพอ เพราะการที่ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน ต้องรับผิดชอบต่อสังคม ในปัจจุบันนี้เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ธุรกิจใดที่มุ่งแต่สร้างกำไรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผลสังคมส่วนใหญ่ธุรกิจนั้นๆ ก็คงอยู่ไม่ได้ผลนอกจาก ความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ธุรกิจต้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้คงอยู่สภาพเดิมจนรุ่นลูกหลาน ธุรกิจต้องบริหารจัดการผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในเกณฑ์ หรือระดับต่ำ ที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งมีผู้ประกอบการมักง่ายจำนวนมากที่พยายามบีบต้นทุน หรือลดต้นทุน โดยที่ไม่มีการลงทุนในการติดตั้งระบบ หรือเครื่องจักรที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจิตสำนึก จริยธรรม ของผู้ประกอบการว่ามีมากขนาดไหน หรือเอาใจใส่ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริษัทต้องคำนึง การรักษาขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม ไม่ให้การดำเนินธุรกิจของตัวเองไปกระทบกับขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีอันดีงาม เพราะถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเกิดผลเสีย ทำให้บกพร่องต่อหน้าที่ ในฐานะนิติบุคคลที่ดีของประเทศ วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา ก็จะเป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก

2. หลักจริยธรรมสำหรับผู้ประกอบการ หลักยึดเหนี่ยวที่ผู้ประกอบการต้องมีคือ เรื่องของคุณธรรม ผู้ประกอบการต้องทำในสิ่งที่ถูกต้อง ตรงไปตรงมา มีความชื่อสัตย์ ทำทุกอย่างต้องมีความโปร่งใส และทำถูกต้องตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบได้ มีแหล่งอ้างอิง เพราะฉะนั้นในการที่แสดงว่าเรามีคุณธรรม ผู้ประกอบการต้องมี 2 จุดใหญ่ ด้วยกันคือ

1. ด้านบริหารจัดการทุกรูปแบบ เช่น บัญชี การผลิต การขาย ต้องอยู่บนความถูกต้อง มีความโปร่งใส และมีคุณธรรม อีกอย่างหนึ่ง คือ ระบบการเงิน ถ้าบริษัทท่านจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจำเป็นต้องเสนอการเงินในปัจจุบันรูปแบบที่สมบูรณ์ ถูกต้อง เพื่อประโยชน์กับนักลงทุนได้อ้างอิง และพิจารณาว่าสมควรลงทุน หรือไม่ ถ้าหากตัวเลขที่บอกไปไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้ประกอบการตระหนักให้ดี

2. ผู้ประกอบการ และพนักงาน ที่ดี จำเป็นต้องปฎิบัติอย่างเสมอภาค และเป็นธรรมทุกกรณี ถ้าพูดถึงผู้ถือหุ้น ท่านต้องปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่ รายย่อย อย่างเท่าเทียม และเสมอภาค เหมือนกัน โดยเฉพาะกับผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มักไม่มีสิทธิ์ มีเสียง หรือไม่มีตัวแทนเข้าไปปกป้องสิทธิของตัวเอง ท่านในฐานะผู้บริหาร ท่านต้องมีความยุติธรรม

บริษัท Abul Khair Steel Products Ltd (เหล็กและเหล็กกล้า, บังกลาเทศ)

บริษัท Abul Khair Steel Products Ltd (เหล็กและเหล็กกล้า, บังกลาเทศ)

จากการที่ได้ร่วมประชุมกับผู้บริหารระดับสูง และ การประเมินสถานภาพการบริหารจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม

ของบริษัทโดยใช้ Energy Management Matrix ส่งผลให้มีการริเริ่มบริหารจัดการการใช้พลังงาน และ สิ่งแวดล้อมอย่างไม่

เป็นทางการภายในบริษัท โดยจัดทำเป็นข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารดำเนินการสนับสนุนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในภาพ

รวมดังต่อไปนี้:

 จัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยมีการระบุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และ

ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

 จัดทำแผนภูมิการบังคับบัญชาของบริษัทซึ่งมีการระบุความรับผิดชอบในด้านพลังงาน และ สิ่งแวดล้อม อย่างชัดเจน

 วางแผนดำเนินการเพื่อให้เกิดการตื่นตัว ตลอดจนส่งเสริม ให้พนักงานฝ่ายผลิตร่วมกันจัดทำแนวทางการปรับปรุง

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของบริษัท

 จัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดการตรวจสอบกระบวนการผลิตซึ่งรวมถึงการนำเสนอข้อมูลจากฝ่ายผลิตถึงผู้บริหาร

ระดับสูง

 ปรับปรุงการปฏิบัติงานตามระบบการจัดการภายในที่ดี (Good housekeeping) เพื่อป้องกันดิน และ แหล่งน้ำใต้ดินจาก

การปนเปื้อน

 พัฒนาระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมไว้เพื่อรองรับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 14001ในอนาคต

บทเรียนที่ได้รับ: การประชุมกับผู้บริหารระดับสูงทำให้สามารถกำหนดสิ่งที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการเพื่อให้มีการปรับ

ปรุงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องไปในอนาคต

นางสาวชลธิชา สามงามยา การจัดการทั่วไป 4/54 186

ISO26000 ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม

มาตรฐานที่กำลังได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการในบ้านเราในขณะนี้คงหนีไม่พ้น ISO 26000 มาตรฐานสากลที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยไม่มีการบังคับ เป็นเพียงแนวปฏิบัติด้วยความสมัครใจ โดยมาตรฐานฉบับนี้มีแผนจะประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2553 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ส่งผลให้ ISO 26000 ถูกจับตามองจากผู้ประกอบการในทุกๆ อุตสาหกรรม

ISO 26000 ไม่ใช่เป็นเรื่องของกระแสที่ผ่านมาและผ่านไปแต่เป็นเรื่องของการรับผิดชอบต่อสังคมโลกในระยะยาว หากผู้บริหารองค์กรหยิบยกเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กร เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายบริษัท ไม่เพียงแต่จะเกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจของท่านแต่จะยังเป็นการคืนประโยชน์ไปสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมอีกด้วยและหากทุกหน่วยงานทุกองค์กรต่างร่วมกันคนละไม้คนละมือในการรับผิดชอบต่อสังคมโลกก็จะการพัฒนาอย่างยั่งยืน(sustainable Development) ดังวัตถุประสงค์ของ ISO 26000 ที่ได้วางไว้

บริษัทในเครืออินโดรามา เวนเจอร์ส 4 บริษัท ได้รับรางวัลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW) ก้าวแรกสู่ ISO 26000

Backมกราคม 25, 2554

กรุงเทพฯ - 25 มกราคม 2554 - บริษัทในเครืออินโดรามา เวนเจอร์ส 4 บริษัทได้รับได้รับรางวัลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-DIW) จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

เกียรติบัตรจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมนี้เป็นการริเริ่มสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและถือเป็นก้าวแรกสู่เกณฑ์มาตรฐานสากล ISO 26000 ทั้งนี้การทำให้ได้ตามมาตรฐานถือเป็นเรื่องยาก แต่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทที่ต้องการเป็นองค์กรที่มีมาตรฐานระดับสูงด้านความรับผิดชอบต่อสังคมพิธีมอบรางวัลดังกล่าวถูกจัดขึ้น ณ โรงแรมเดอะแกรนด์โฟสวิงส์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

บริษัทในเครือ อินโดรามา เวนเจอร์ส ทั้ง 4 บริษัทได้จัดกิจกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยพิจารณาให้มีความเหมาะสมกับสังคมและสิ่งแวดล้อมบริเวณใกล้เคียง บริษัท ทีพีที ปิโตรเคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดระยอง ได้จัดโครงการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่นอกชายฝั่งโดยร่วมกับกลุ่มประมงเรือเล็กหนองแฟบจังหวัดระยองปล่อยพันุธ์สัตว์น้ำ ได้แก่ หอยหวาน กุ้งแช่บ๊วยและปูจำนวนนับล้านตัวที่บริเวณชายฝั่งหนองแฟบ กิจกรรมดังกล่าวของบริษัท ทีพีที เป็นการช่วยเหลือธุรกิจกลุ่มประมงเรือเล็กให้อยู่รอด อีกทั้งยังเป็นการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้มีความเหมาะสม นอกจากนี้โครงการธนาคารขยะของบริษัท ทีพีที ณ โรงเรียนหนองแฟบ ถือเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มุ่งเน้นการช่วยเหลือชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น การนำขยะมาขายที่ธนาคารขยะยังจะช่วยให้เด็ก ๆ มีรายได้เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับตนเองอีกด้วยและทางบริษัทก็ร่วมสบทบทุนด้วย

บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม จำกัด ในจังหวัดระยองได้จัดการฝึกอบรมและให้ความรู้เรื่องการดับไฟแก่คนในชุมชนบริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดกิจกรรมสอนภาษาอังกฤษให้แก่เด็กๆในชุมชนโดยได้รับเกียรติจากภรรยาของผู้บริหารระดับสูงอาสาเป็นวิทยากรสอนภาษาอังกฤษเพื่อเสริมสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพให้แก่เด็กๆ

ในชุมชนนอกจากนี้บริษัทยังได้เล็งเห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันกับชุมชนมุสลิมในท้องถิ่นจัดกิจกรรมทำความสะอาดและทาสีมัสยิดโดยได้รับความร่วมมือจากพนักงานทำให้กิจกรรมสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

บริษัท อินโดรามา โพลีเอสเตอร์ อินดัสตรี้ส์ จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครปฐม จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้รอบบริเวณโรงงานและทำปุ๋ยหมัก อีกทั้งยังจัดให้มีการซ่อมแซมและทาสีอุปกรณ์ในสนามเด็กเล่นโดยมีพนักงานร่วมกิจกรรม ณ โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ โรงเรียนคลองทางหลวง และหมู่บ้านเกษมเพชรวิลเลจซึ่งเป็นชุมชนใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสร้างอาชีพเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนใกล้โรงงาน โดยการสนับสนุนอุปกรณ์ที่มีอยู่ในโรงงานให้แก่ชุมชมแคแถวในการทำตุ๊กตากลิ่นหอมการบูรเพื่อช่วยในการดับกลิ่น อีกทั้งยังสอนการถนอมอาหารวิธีง่าย ๆ ด้วยการทำไข่เค็มอีกด้วย

นางสาววิลาวัลย์ ทองน้อย การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 524407028

ผู้ประกอบการควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.นี้มุ่งเน้นในเรื่องการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่องมุ่งไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ และเป็นผู้นำในภูมิภาคด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีการดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั้งยืน

นางสาวนริศรา มณีรอด เอกการจัดการทั่วไป 2 รหัส 524407070

 

จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม สังคม (Society) คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของบุคคล โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่ในสังคมแตกต่างกัน มีการ แบ่งงานกันทำ มีสิทธิและเสรีภาพในฐานะการเป็นพลเมืองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม จึงต้องมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าหรือมีความสงบสุข มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อสังคมดังนี้ 6.1 ไม่ประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมทั้งด้านจิตใจและด้านศีลธรรม ซึ่งมีผลให้คนในสังคมขาดคุณธรรม ตลอดจนเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดให้แก่คนในสังคม เช่น การเปิดบ่อนการพนัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เช่น รับซื้อของโจร เป็นต้น 6.2 ไม่ทำธุรกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ค้าไม้เถื่อน การรุกล้ำที่สาธารณะ การปล่อย น้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น 6.3 มีการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งด้านเสียง สีและกลิ่น เช่น มีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสีย การเก็บรักษาและทำลายวัตถุมีพิษต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย ด้านอื่น ๆ เป็นต้น 6.4 ให้ความเคารพในสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือธุรกิจอื่น ด้วยการไม่ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับ อนุญาต 6.5 ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมโดยการสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อความน่าอยู่ของสังคม เช่น ร่วมจัดทำศาลาพักผู้โดยสาร ร่วมปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ ฯลฯ 6.6 สร้างงานแก่คนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น

ตัวอย่าง

  • สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association - PDA) ก่อตั้งโดยนายมีชัย วีระไวทยะ เมื่อปี 2517
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ที่ทำการค้นคว้าวิจัยและศึกษาด้านสมุนไพร มีเป้าหมายเพื่อทำให้สมุนไพรเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้างจนสามารถใช้เป็น ยาทดแทนยาจากต่างประเทศ
  • โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2540 เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย มีพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นที่ปรึกษาสูงสุด และมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียน การเรียนการสอนของโรงเรียนเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวมโดยมีแนวทางพุทธศาสนาและธรรมชาติเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐานให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  • บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เช่น รายการความรู้คือประทีป รายการทุ่งแสงตะวัน ฯ
  • บริษัท ร่วมทุนชนบท จำกัด (Rural Capital Partners Co.,Ltd) เป็นกิจการที่ทำการลงทุนกับกิจการและโครงการในชนบททั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งรูปแบบการร่วมลงทุน (Venture Capital) และการให้กู้ยืม
  • บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด บริษัทพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2551 เน้นการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการสร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วยรูปแบบธุรกิจการเน้นทำงานกับองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก
  • บริษัท โธธมีเดีย จำกัด เป็นบริษัทสร้างสื่อประชาสัมพันธ์บนอินเทอร์เน็ต เน้นสร้างผลกระทบต่อสังคมด้วยสื่อใหม่ เป็นผู้ผลิตรายการดูโอคอร์ ซึ่งเป็นรายการข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
  • ฟิ้ว เป็นชุมชนออนไลน์ที่ผลิตโดยเครือข่ายสื่อใหม่สร้างสรรค์ร่วมกับนิตยสารไบโอสโคป นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อทางเลือก ทั้งไทยและต่างประเทศ และให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อเองแบบง่ายๆ รวมไปถึงสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจ
  • ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์อิสระบนเว็บไซต์ เกิดขึ้นจากการก่อตั้งของคณะบุคคล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา นักกิจกรรมสังคม นักวิชาการด้านสื่อมวลชน โดยมาจากการริเริ่มของจอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภา มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดทำเว็บไซต์วารสารข่าวและสาระบันเทิงสำหรับ ประชาชนทั่วๆ ไป ให้ได้มีมุมมองที่รอบด้านในการติดตามข่าวสาร และเป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับประชาชนทุกระดับ ดำเนินการแบบไม่แสวงผลกำไร
  • บริษัท สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการทำการวิจัยประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
  • คิวบิกครีเอทีฟ ริเริ่มขึ้นในปี 2545 โดยนักเรียนมัธยมปลาย ปัจจุบันเป็นองค์กรที่เน้นการพัฒนาเยาวชนไทย ใน 3 มิติสำคัญ ได้แก่ ชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ มีอาสาสมัครเข้าร่วมทำงานกว่า 100 คน
  • บริษัท สยามบ้านดิน จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและสร้างบ้านดินที่เป็นมิตรต่อชีวิตและสิ่งแวด ล้อม ดำเนินกิจกรรมภายใต้ อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
  • บริษัท โคโค่บอร์ด จำกัด ประกอบธุรกิจไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและแปรรูป เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ชาวสวนและสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชน
  • บริษัท ไทยคราฟท์ แฟร์ เทรด จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 ทำกิจการค้าหัตถกรรมโดยผู้ผลิตในแต่ละชุมชนทั่วประเทศ เน้นการขายที่ราคาเป็นธรรมกับผู้ซื้อและรับซื้อในค่าแรงที่เหมาะสมกับผู้ ผลิต เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรงเรียนอนันตรักษ์การบริบาล ตั้งอยู่ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเป้าหมายที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ เพื่อออกไปช่วยเหลือสังคม
  • สยามกรีนฟาร์ม เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ ด้วยระบบการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์
  • พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่อง เป็นองค์กรที่ดำเนิน โครงการฟื้นฟูประเทศไทย และสังคม โดยใช้หลักธรรม เข้าศึกษาข้อมูลที่ http://picasaweb.google.co.th/ssomkiert
นางสาวนริศรา มณีรอด เอกการจัดการทั่วไป 2 รหัส 524407070

จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม สังคม (Society) คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของบุคคล โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่ในสังคมแตกต่างกัน มีการ แบ่งงานกันทำ มีสิทธิและเสรีภาพในฐานะการเป็นพลเมืองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม จึงต้องมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าหรือมีความสงบสุข มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อสังคมดังนี้ 6.1 ไม่ประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมทั้งด้านจิตใจและด้านศีลธรรม ซึ่งมีผลให้คนในสังคมขาดคุณธรรม ตลอดจนเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดให้แก่คนในสังคม เช่น การเปิดบ่อนการพนัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เช่น รับซื้อของโจร เป็นต้น 6.2 ไม่ทำธุรกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ค้าไม้เถื่อน การรุกล้ำที่สาธารณะ การปล่อย น้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น 6.3 มีการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งด้านเสียง สีและกลิ่น เช่น มีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสีย การเก็บรักษาและทำลายวัตถุมีพิษต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย ด้านอื่น ๆ เป็นต้น 6.4 ให้ความเคารพในสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือธุรกิจอื่น ด้วยการไม่ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับ อนุญาต 6.5 ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมโดยการสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อความน่าอยู่ของสังคม เช่น ร่วมจัดทำศาลาพักผู้โดยสาร ร่วมปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ ฯลฯ 6.6 สร้างงานแก่คนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น

ตัวอย่าง

  • สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association - PDA) ก่อตั้งโดยนายมีชัย วีระไวทยะ เมื่อปี 2517
  • โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี เป็นโรงพยาบาลของรัฐ ที่ทำการค้นคว้าวิจัยและศึกษาด้านสมุนไพร มีเป้าหมายเพื่อทำให้สมุนไพรเป็นที่ยอมรับของสังคมในวงกว้างจนสามารถใช้เป็น ยาทดแทนยาจากต่างประเทศ
  • โรงเรียนรุ่งอรุณ เป็นโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2540 เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงมัธยมปลาย มีพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เป็นที่ปรึกษาสูงสุด และมี ศ.นพ.ประเวศ วะสี เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียน การเรียนการสอนของโรงเรียนเน้นการเรียนรู้แบบองค์รวมโดยมีแนวทางพุทธศาสนาและธรรมชาติเป็นธรรมชาติเป็นพื้นฐานให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
  • บริษัท ป่าใหญ่ครีเอชั่น จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เช่น รายการความรู้คือประทีป รายการทุ่งแสงตะวัน ฯ
  • บริษัท ร่วมทุนชนบท จำกัด (Rural Capital Partners Co.,Ltd) เป็นกิจการที่ทำการลงทุนกับกิจการและโครงการในชนบททั่วประเทศ ซึ่งมีทั้งรูปแบบการร่วมลงทุน (Venture Capital) และการให้กู้ยืม
  • บริษัท โอเพ่นดรีม จำกัด บริษัทพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2551 เน้นการนำเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการสร้างนวัตกรรมทางสังคมด้วยรูปแบบธุรกิจการเน้นทำงานกับองค์กรที่ทำประโยชน์เพื่อสังคมเป็นหลัก
  • บริษัท โธธมีเดีย จำกัด เป็นบริษัทสร้างสื่อประชาสัมพันธ์บนอินเทอร์เน็ต เน้นสร้างผลกระทบต่อสังคมด้วยสื่อใหม่ เป็นผู้ผลิตรายการดูโอคอร์ ซึ่งเป็นรายการข่าวเทคโนโลยีสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต
  • ฟิ้ว เป็นชุมชนออนไลน์ที่ผลิตโดยเครือข่ายสื่อใหม่สร้างสรรค์ร่วมกับนิตยสารไบโอสโคป นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับสื่อทางเลือก ทั้งไทยและต่างประเทศ และให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อเองแบบง่ายๆ รวมไปถึงสัมภาษณ์บุคคลที่น่าสนใจ
  • ประชาไท เป็นหนังสือพิมพ์อิสระบนเว็บไซต์ เกิดขึ้นจากการก่อตั้งของคณะบุคคล ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภา นักกิจกรรมสังคม นักวิชาการด้านสื่อมวลชน โดยมาจากการริเริ่มของจอน อึ๊งภากรณ์ สมาชิกวุฒิสภา มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการจัดทำเว็บไซต์วารสารข่าวและสาระบันเทิงสำหรับ ประชาชนทั่วๆ ไป ให้ได้มีมุมมองที่รอบด้านในการติดตามข่าวสาร และเป็นช่องทางการสื่อสารสำหรับประชาชนทุกระดับ ดำเนินการแบบไม่แสวงผลกำไร
  • บริษัท สยามอินเทลลิเจนซ์ยูนิต จำกัด เป็นบริษัทที่ให้บริการทำการวิจัยประเด็นทางสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ
  • คิวบิกครีเอทีฟ ริเริ่มขึ้นในปี 2545 โดยนักเรียนมัธยมปลาย ปัจจุบันเป็นองค์กรที่เน้นการพัฒนาเยาวชนไทย ใน 3 มิติสำคัญ ได้แก่ ชีวิต การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์ มีอาสาสมัครเข้าร่วมทำงานกว่า 100 คน
  • บริษัท สยามบ้านดิน จำกัด เป็นผู้เชี่ยวชาญการออกแบบและสร้างบ้านดินที่เป็นมิตรต่อชีวิตและสิ่งแวด ล้อม ดำเนินกิจกรรมภายใต้ อาศรมวงศ์สนิท มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป
  • บริษัท โคโค่บอร์ด จำกัด ประกอบธุรกิจไม้อัดจากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและแปรรูป เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ชาวสวนและสร้างงานสร้างอาชีพแก่ชุมชน
  • บริษัท ไทยคราฟท์ แฟร์ เทรด จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2535 ทำกิจการค้าหัตถกรรมโดยผู้ผลิตในแต่ละชุมชนทั่วประเทศ เน้นการขายที่ราคาเป็นธรรมกับผู้ซื้อและรับซื้อในค่าแรงที่เหมาะสมกับผู้ ผลิต เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • โรงเรียนอนันตรักษ์การบริบาล ตั้งอยู่ที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีเป้าหมายที่จะสร้างบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพ เพื่อออกไปช่วยเหลือสังคม
  • สยามกรีนฟาร์ม เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผักปลอดสารพิษ ด้วยระบบการปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์
  • พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่อง เป็นองค์กรที่ดำเนิน โครงการฟื้นฟูประเทศไทย และสังคม โดยใช้หลักธรรม เข้าศึกษาข้อมูลที่ http://picasaweb.google.co.th/ssomkiert

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

ตัวอย่างเช่น บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

หนึ่งในนโยบายของบริษัท

• ภายใต้โครงการทูตไบเออร์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยความร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UNEP) เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกจาก 19ประเทศทั่วโลกเดินทางไป ทัศนศึกษาเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่สำนักงานใหญ่ของไบเออร์ ในเมืองเลเวอร์คูเซ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนา โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชน ในความพยายามร่วมกันทั่วโลกเพื่อปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

• สนับสนุนการประกวดวาดภาพเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับ UNEP เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงออกถึงความกลัวและความหวังของพวกเขาในเรื่องสิ่งแวดล้อม เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมของทุกปี

• ร่วมกับสถาบันเกอเธ่สนับสนุน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้" เพื่อส่งเสริมความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาในอนาคต

• สนับสนุนการสัมมนาในหัวข้อ "การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับวัตถุอันตรายโดยวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม" จัดโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรความร่วมมือ ทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ)

• สนับสนุนโครงการ "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติตั้งแต่ปี 2547" ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมทางนวัตกรรม และสร้างความตระหนักด้านนวัตกรรม ในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป

• ร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ซึ่งมุ่งดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในประเทศไทยตลอดจนสนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

• เปิดตัวโครงการ "ไบเออร์รวมใจ ใช้ถุงผ้า ท้าโลกร้อน" โดยถุงผ้ากว่า 1,000 ใบได้แจกจ่ายให้กับ พนักงานทุกคนเพื่อสร้างความตระหนักในการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับ โครงการเพื่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศของไบเออร์ระดับโลก

• ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาและ บุคลากรของ วิทยาลัยเทคนิคระยอง เป็นระยะเวลา ปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2553 จำนวน 10 ทุน พร้อมทั้งจัด ให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนและ สื่อมัลติมีเดีย เพื่อเพิ่มการพัฒนาทักษะของนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคระยอง

• ร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติในการให้การสนับสนุนโครงการ "เรียนรู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็งตับ" โดยมุ่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคมะเร็งตับให้แก่ประชาชน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ปี (ปี 2552-2554) โดยเริ่มโครงการนำร่องที่ใช้ชื่อว่า "กินสุกแซบหลาย ต้านภัยมะเร็งตับ" ซึ่งจะมีการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ และการลงพื้นที่ เช่น การให้ความรู้เรื่องการป้องกันการเกิดมะเร็งตับแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยคณะหมอลำที่มีชื่อเสียง "เสียงอีสาน"

• ศูนย์การผลิตเม็ดพลาสติกโพลีคาร์บอเนตของไบเออร์ไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2552 ประเภทการบริหารความปลอดภัย โดยไบเออร์ไทยเป็น 1 ใน 112 บริษัทที่เข้ารับ การพิจารณาคัดเลือกรางวัลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็น 1 ใน 5 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือก ให้ได้รับรางวัลในประเภทนี้

• ศูนย์การผลิตที่บางปูของไบเออร์ไทยได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งจัดโดยการนิคม อุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปูและชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นำหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในการดำเนินงาน

ปัจจุบันกระแสการเรียกร้องของประชาชนให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากที่ผ่านมาทุกองค์กรมุ่งเน้นแต่เพียงผลผลิต (Output) และการสร้างผลกำไร (Profit) จนทำให้ละเลยและมองข้ามเรื่องสิ่งแวดล้อมชุมชน ผู้บริโภค และสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการนำพาธุรกิจสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่มีส่วนทำให้สังคมได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรม การผลิตมากที่สุด ดังนั้นความตื่นตัวในกระแสการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR) ของภาคอุตสาหกรรมจึงมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือใหญ่ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำ CSR กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีการรับรู้ใน เรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เห็นได้จากการขานรับกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมโดย “การให้” ผ่าน รูปแบบของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆในกลุ่มดังกล่าวมีน้อยมากเมื่อเทียบกับ กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง อาทิ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย Young Thai Artist Award รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง ต่อเนื่อง ด้านกีฬา จัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย และจัดแข่งขันวอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย ชิงชนะเลิศยุวชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการ Do It Clean เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ในส่วนของบุคลากร เครือซิเมนต์ไทยได้มีการจัดอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถอยู่สม่ำเสมอ สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ น.ส สุธัญ

ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคม

การมีบทบาทอย่างบวก

บทบาทในทางบวกของแต่ละบุคคล หรือหน่วยในสังคมมีลักษณะหลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่นระดับรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยต้องให้หลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทธุรกิจต้องมีความเคารพและต้องส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของตนโดยตรง หรือโดยการจ้างผ่านระบบอื่นๆ ภายนอก และสำหรับประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน่วยในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และโลก

การมีบทบาทอย่างลบ

การมีหน้าที่ในทางลบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำเมื่อบุคคลนั้นๆ ต้องอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบในสังคม ในครอบครัว ชุมชน องค์กร และการเป็นประชากรของประเทศและโลก แต่ในบางส่วนหมายถึงการเข้าไปมีบทบาททำให้สิ่งที่ไม่ควรกระทำได้เกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่เพียงรับผิดชอบต่อตนเอง แต่กระทำในลักษณะที่ทำให้ไม่เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นโดยใคร ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดงานในองค์กรที่เรียกว่า Non Governmental Organizations หรือ NGOs เป็นการเข้าไปมีบทบาทอย่างเตรียมการณ์ และกระทำอย่างมองการณ์ไกล (Proactive)

ธุรกิจเพื่อสังคม

ธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate social responsibility - CSR) เป็นคำบัญญัติที่อธิบายหน้าทีขององค์กรใดๆ ที่จะต้องมีหน้าทีต่อผู้มีส่วนร่วมในกิจการของตน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม และก็สามารถอยู่ได้ในฐานะองค์กรธุรกิจ ซึ่งหลักนี้เรียกได้ว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development)

บริษัทและองค์กรธุรกิจมีหลายกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้เสียกับองค์กร และมีผลจากการตัดสินใจดำเนินการขององค์กร ทั้งต่อท้องถิ่นและในระดับโลกกว้าง กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมได้ร่วมเสียนี้ได้แก่ คนงาน ลูกค้า คนส่งสินค้า ผลิตสินค้าให้บริษัท องค์กรในชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ องค์กรที่เป็นลูกหรือเครือข่าย องค์กรที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Joint Venture Partners) ชาวบ้านในชุมชน ผู้ลงทุน ผู้เป็นเจ้าของหุ้น หรือผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น

ข้อโต้แย้ง

ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีหลากหลาย แต่ละฝ่ายมีความคิดไม่เหมือนกันธุรกิจมีความรับผิดชอบหรือ

Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์แนวทุนนิยมใหม่ ผู้รับรางวัลโนเบล ในบทความที่มีชื่อเสียงของเขา The Social Responsibility of Business is to Increase Profits ได้ให้ความเห็นและหลักการรับผิดชอบว่า “ธุรกิจไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอื่นใด ธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องทำให้ธุรกิจของตนเองนั้นมีกำไร และขณะเดียวกันต้องไม่กระทำการหรือร่วมในกิจกรรมหลอกลวง และคดโกง (deception and fraud) เขาให้ความเห็นว่า เมื่อธุรกิจได้กระทำการให้ได้อย่างมีกำไรให้ได้มากที่สุดนั้น ธุรกิจได้กระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว การที่ธุรกิจสามารถทำกำไร และยังอยู่ในสังคมได้อย่างยาวนานนั้น เท่ากับเป็นการเกื้อหนุนสังคมไปด้วยแล้วในตัว และเป็นประโยชน์ต่อสังคมแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

อย่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

กลุ่มผู้มีความเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน (Litertarians) ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่า “คือการไม่ต้องทำอะไรเลย” เพราะการกระทำนั้นหลายอย่างเป็นตัวไปสร้างปัญหาให้กับสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม คือการที่บุคคล ธุรกิจไม่ควรไปใช้การกระทำที่ไปบังคับผู้อื่นด้วยกำลังหรือการหลอกลวงต่อกัน และทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน

การดูว่าใช้เงินของเรา ทรัพยากรของเรา แต่ความจริงแล้ว มันคือทรัพยากรของสังคม และของโลก

การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้นมีความหมายกินกว้าง

อย่าเบียดเบียนสังคม

มีอีกหลายฝ่ายที่เชื่อว่า โลกในทุกวันนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ดำรงอยู่ได้ เพราะเราได้มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้โลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Risk for Sustainable Development) การคิดค้น การสร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์ การใช้พลังงานอย่างมากมาย ทรัพยากรถูกทำลายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีผลมาจากการที่มนุษย์พยายามทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจและตีความตามที่มนุษย์เป็นอันมากเห็น

แนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การที่เรามีฐานะดี แต่เราก็มีหน้าที่ที่จะรักษาสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรมาก สิ้นเปลือง ก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมาก การใช้รถยนต์ส่วนตัวมาก ก็หมายถึงต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดลงไปอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่สิบปี และนอกจากนี้คือการทำให้โลกเข้าสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก โลกจะร้อนขึ้นทุกปี น้ำแข็งในขั้วโลกจะเริ่มละลายมากขึ้น น้ำจะท่วมในบริเวณริมทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ

การที่มนุษย์จะรับผิดชอบต่อสังคม คือทำให้ผู้อื่นที่ทุกข์ยากและขาดแคลนจริงๆ ให้มาก แต่ต้องไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัว ทำตัวให้กินอยู่ง่าย กินแต่พอเพียง ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อย เพื่อให้ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวและคงอยู่ในโลกได้เป็นเวลายาวนาน หรือตลอดไป

แนวทางเน้นสิ่งแวดล้อม (Environment)

ประชาชน

สำหรับประชาชน และเยาวชนทั่วไป คิดง่ายๆ และทำอย่างง่ายๆ และก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ดังนี้

รับผิดชอบในการกระทำของตน

ความตระหนักและยอมรับในผลของการกระทำและการตัดสินใจของตน คิดจะทำอะไร ต้องทำอย่างยอมรับในผลที่จะเกิดขึ้น (recognition and acceptance of the consequences of each action and decision one undertakes )

- การใช้ห้องน้ำสาธารณะแล้วไม่ดูแลความสะอาด

- การทำลายสิ่งของสาธารณะด้วยความคึกคะนอง

- การฉีดสเปรย์ตาม กำแพง สะพาน สถานที่ต่างๆ

- การเขียนบัตรสนเท่ห์ จดหมายข่มขู่

- การเข้าไปทำลายระบบความปลอดภัย ล้วงความลับ ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นๆ

- การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ สื่อผ่านอินเตอร์เน็ต

- การโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไม่รับผิดชอบ

เอื้ออาทรต่อผู้อื่น

การมีทัศนคติที่เอื้ออาทร ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (caring attitude towards self and others)

- การเอื้ออาทรต่อผู้อ่อนแอกว่า ผู้ใหญ่ คนชรา เด็ก สตรีมีครรภ์

- การเอื้ออาทรต่อคนเดินทาง นักท่องเที่ยว

มุ่งมั่นและเข้มแข็ง

การมีความรู้สึกที่จะสามารถควบคุมชีวิตและชะตากรรมของตนและมนุษย์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่คิดและมองอย่างหมดอาลัยตายอยาก (sense of control and competence)

- การไม่ท้อแท้และเดียวดาย เมื่อมีปัญหา ก็ต้องคิดว่ามันมีทางแก้ปัญหา หากปัญหานั้นๆ ไม่ใช่เพียงของเราคนเดียว เราก็ต้องหาทางร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อแก่ปัญหานั้น ต้องไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและเดียวดาย

- การเข้าไปมีส่วนร่วม แม้สิ่งที่กระทำจะไม่เห็นผลในระยะเวลาอันใกล้

- การกล้าคิดและมีส่วนร่วมอย่าง Practive ไม่ปล่อยให้ตนเองและคนอื่นๆ เป็นไปโดยไม่นำพา

ยอมรับในความแตกต่าง

ความตระหนักและยอมรับในความแตกต่างของบุคคลและวัฒนธรรม

(recognition and acceptance of individual and cultural diversity)

- ความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ วัย การศึกษา และวัฒนธรรม ในโลกนี้มีความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งด้วยเพศ เชื้อชาติ วัย และอื่นๆ แต่การยอมรับและให้ความเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน นับเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมที่นับวันจะมีแต่ความหลากหลายมากขึ้น

เคารพสิทธิมนุษยชน

ความตระหนักในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้งของตนเองและผู้อื่น

(recognition of basic human rights of self and others)

- การยึดในหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้มีการยอมรับกันโดยสากล เช่นปฏิญญาที่ได้ประกาศแล้วในสหประชาชาติ

ตัวอย่าง

- ถมที่บ้านตนเองหนีน้ำท่วม แต่ดินที่ถมไปปิดทางระบายน้ำของคนอื่นๆ ไปทำให้น้ำบ้านตนเองไหลไปสู่ที่ต่ำในบ้านคนอื่นๆ

- ทำถนนสำหรับเมืองของตน แต่ไปปิดทางน้ำ ทางระบายน้ำของเมืองอื่นๆ หรือทำให้เกิดน้ำท่วม

- การตัดต้นไม้ในป่า ทำให้ไม่มีความสมดุลในธรรมชาติ น้ำท่วมในฤดูน้ำ น้ำแล้งในช่วงฤดูแล้ง

เปิดรับความคิดใหม่

ความสามารถในการเปิดรับความคิดใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และสำหรับการมีสัมพันธ์กับคนที่แปลกใหม่ และแตกต่างจากตน (the ability to be open to new ideas, experiences, and people)

ไม่ติดยึดกับความคิดเก่าๆ และทำให้ไม่เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดผลเสียหาย เสียโอกาสต่อคนอื่นๆ

ตัวอย่าง

เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ไม่ยอมพัฒนา ไม่ยอมเสียสละเพื่อการพัฒนาหนทาง ตนเองเสียโอกาส คนอื่นๆ เสียโอกาส

ขันอาสาเพื่อสังคม

ความเข้าใจในความสำคัญของการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมและชุมชน (understanding of the importance of volunteering in social and community activities)

- การเสียสละด้านเงินทอง

- การเสียสละด้านเวลา

- การเสียสละช่วยใช้ในทางปัญญา

- การให้กำลังใจ และให้ความสำคัญต่อคนที่เขาได้กระทำการในสิ่งที่ดี

เข้ารับหน้าที่

ความสามารถในการทดลองกระทำในกิจกรรมและบทบาทของผู้ใหญ่ในสังคม (ability to engage in experimentation with various adult roles)

- การเข้าร่วมในสังคมมีบทบาทหน้าที่

- ในองค์กร ชุมชน ในบ้านเรือน

พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ

การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในสังคม

(development of leadership, communication, and social skills)

- ทักษะในการเป็นผู้นำ การต้องตัดสินใจ

- ทักษะในการสื่อสาร การรับฟัง การนำเสนอ

- ทักษะในการมีมนุษยสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม

  • ผู้ประกอบการมีความสำคัญต่อธุรกิจหลายๆด้าน มีส่วนช่วยเหลือในการพัฒนาประเทศในด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแต่บทบาทของธุรกิจแตกกันไปตามประเภทของธุรกิจมีความสำคัญหลายประการดังนี้
  • 1 .เปิดโอกาสให้มีการประกอบ ธุรกิจชุมชนเป็นช่องทาง และโอกาสสำหรับผู้ที่ต้องการในประกอบธุรกิจด้วยตนเองและพิสูน์ความส ามารถโดยเข้าร่วมประกอบธุรกิจชุมชนซึ่งใช้ทุนน้อยเน้นการสร้างงานในท้องถิ่นที่เป็นหลักสำคัญ
  • 2 .สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน  ธุรกิจชุมชนยิ่งมีจำนวนมากขึ้นเท่าไรจะก่อให้เกิดการกระจายอำนาจทางเศษฐกิจ  ช่วยลดปัญหาทางสังคม  มีอัตราการว่างงานน้อยลง
  • 3 .ความมั่นคงของประเทศจะมีเพิ่มขึ้น  ประชาขนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นสุขสงบ มีรายได้ดี  มีงานทำ
  • 4 .ลดปัญหาสังคมที่เป็นภัยคุกคามประเทศชาติ  ทำให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย สมาชิกในรายได้เพิ่มขึ้น  มีความเข้มแข็ง  ช่วยให้เกิดเป็นสัมคมร่มเย็นเป็นสุข
  • 5 .ธุรกิจ  มีความยั่งยืน โดยยึดหลัก  คุณธรรม ทัศนคติที่ดี  ความสามัคคีในหมู่คณะ  มีการบริการที่โปร่งใส
  • สุรป   ในยกตัวอย่างของดิฉัน   กลุ่มหมู่บ้านมีการร่วมตัวในชุมชนช่วยการสร้างธุรกิจ  การทำ   สิ่งของที่เลือกใช้  หรือ  วัสดุธรรมชาติที่เลือกใช้  มากทำให้มีรายได้ทำให้คนไม่ว่างงาน  มีเงินเลือกใช้  ไม่เดือดร้อนทางการเงิน  ทำให้ไม่เกิดปัญหาทางสังคมและประเทศชาติ  จึงทำให้เกิดมีความรักใคร่ปองดองกัน  และช่วยเหลือกัน  ซึ่งตอนคนไทยไม่ค่อยรักกัน  เพราะนั้นการสร้างงาน  อาจทำ  คนไทยมารัก  และสามัคคีกัน  ปัญหาทางสังคมและประเทศชาติ จะไปหมดไปค่ะ

น.ส.  สโรชา  นาไข่  เลขที่34  รัหสประจำตัว  544407213  การจัดการทั่วไป เทียบโอน   กลุ่ม  4/54  ห้องเจฟฟี่นะคร้าอาจารย์

นางสวา ลัดดาวัลย์ ขันตีแก้ว

นางสาว ลัดดาวัลย์ ขันตีแก้ว การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 524407024

ในปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนมากมักจะมองข้ามปัญหาของโลกเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากและมักจะไม่ค่อยสนใจสิ่งแวดล้อมกันมากนักข้าพเจ้าจึงคิดว่าผู้ประกอบการควรหันมาสนใจโลกเราให้มากขึ้น เช่นการจัดทำโครงการ การแก่ปัญหาโลกร้อนเพราะตอนนี้เป็นปัญหาอย่างมากของโลกเราในปํจจุบัน และผู้ประกอบการควรหันมาเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากก่าวประโยชน์ส่าวตนเอง และใส่ใจความสำคัญขอองโลกเราให้มากขึ้น

ในปัจจุบันผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะองค์การ หน่วยงาน หรือธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างเช่นเราจะเห็นได้จากห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆหลายแห่ง เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโครที่หันกลับมามองสังคม โดยนำส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากยอดขายมาช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส หรืออย่างช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยต่างๆ อย่างเช่นตอนนี้ประเทศเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมอยู่ จะเห็นได้ว่ามีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยเหลืออย่างมากมาย เช่น หน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และบริษัทธุรกิจต่างๆอีกมากมาย เป็นต้น ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆที่กล่าวถึงนอกจากจะได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์ของตนเองอีกด้วย รวมถึงธุรกิจหลายๆธุรกิจที่ตอนนี้เริ่มหันกับมาสนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งบางหน่วยงานหรือบางธุรกิจถึงกับมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปในองค์การของตนเองด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่นมีการใช้ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ มีของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เช่นกระดาษบางครั้งอาจใช้ไปหน้าเดียวก็จะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เป็นต้น

(นางสาว พรพิมล ปานมณี การจัดการทั่วไป กลุ่ม 3/54 รหัส 544407154)

         ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคม

การมีบทบาทอย่างบวก

          บทบาทในทางบวกของแต่ละบุคคล หรือหน่วยในสังคมมีลักษณะหลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่นระดับรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยต้องให้หลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทธุรกิจต้องมีความเคารพและต้องส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของตนโดยตรง หรือโดยการจ้างผ่านระบบอื่นๆ ภายนอก และสำหรับประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน่วยในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และโลก
การมีบทบาทอย่างลบ

การมีหน้าที่ในทางลบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำเมื่อบุคคลนั้นๆ ต้องอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบในสังคม ในครอบครัว ชุมชน องค์กร และการเป็นประชากรของประเทศและโลก แต่ในบางส่วนหมายถึงการเข้าไปมีบทบาททำให้สิ่งที่ไม่ควรกระทำได้เกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่เพียงรับผิดชอบต่อตนเอง แต่กระทำในลักษณะที่ทำให้ไม่เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นโดยใคร ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดงานในองค์กรที่เรียกว่า Non Governmental Organizations หรือ NGOs เป็นการเข้าไปมีบทบาทอย่างเตรียมการณ์ และกระทำอย่างมองการณ์ไกล (Proactive)

ธุรกิจเพื่อสังคม

          ธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate social responsibility - CSR) เป็นคำบัญญัติที่อธิบายหน้าทีขององค์กรใดๆ ที่จะต้องมีหน้าทีต่อผู้มีส่วนร่วมในกิจการของตน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม และก็สามารถอยู่ได้ในฐานะองค์กรธุรกิจ ซึ่งหลักนี้เรียกได้ว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development)

บริษัทและองค์กรธุรกิจมีหลายกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้เสียกับองค์กร และมีผลจากการตัดสินใจดำเนินการขององค์กร ทั้งต่อท้องถิ่นและในระดับโลกกว้าง กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมได้ร่วมเสียนี้ได้แก่ คนงาน ลูกค้า คนส่งสินค้า ผลิตสินค้าให้บริษัท องค์กรในชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ องค์กรที่เป็นลูกหรือเครือข่าย องค์กรที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Joint Venture Partners) ชาวบ้านในชุมชน ผู้ลงทุน ผู้เป็นเจ้าของหุ้น หรือผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น
ข้อโต้แย้ง

ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีหลากหลาย แต่ละฝ่ายมีความคิดไม่เหมือนกันธุรกิจมีความรับผิดชอบหรือ

Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์แนวทุนนิยมใหม่ ผู้รับรางวัลโนเบล ในบทความที่มีชื่อเสียงของเขา The Social Responsibility of Business is to Increase Profits  ได้ให้ความเห็นและหลักการรับผิดชอบว่า “ธุรกิจไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอื่นใด ธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องทำให้ธุรกิจของตนเองนั้นมีกำไร และขณะเดียวกันต้องไม่กระทำการหรือร่วมในกิจกรรมหลอกลวง และคดโกง (deception and fraud) เขาให้ความเห็นว่า เมื่อธุรกิจได้กระทำการให้ได้อย่างมีกำไรให้ได้มากที่สุดนั้น ธุรกิจได้กระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว การที่ธุรกิจสามารถทำกำไร และยังอยู่ในสังคมได้อย่างยาวนานนั้น เท่ากับเป็นการเกื้อหนุนสังคมไปด้วยแล้วในตัว และเป็นประโยชน์ต่อสังคมแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

อย่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น

         กลุ่มผู้มีความเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน (Litertarians) ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่า “คือการไม่ต้องทำอะไรเลย” เพราะการกระทำนั้นหลายอย่างเป็นตัวไปสร้างปัญหาให้กับสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม คือการที่บุคคล ธุรกิจไม่ควรไปใช้การกระทำที่ไปบังคับผู้อื่นด้วยกำลังหรือการหลอกลวงต่อกัน และทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน

การดูว่าใช้เงินของเรา ทรัพยากรของเรา แต่ความจริงแล้ว มันคือทรัพยากรของสังคม และของโลก การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้นมีความหมายกินกว้าง

อย่าเบียดเบียนสังคม

          มีอีกหลายฝ่ายที่เชื่อว่า โลกในทุกวันนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ดำรงอยู่ได้ เพราะเราได้มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้โลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Risk for Sustainable Development) การคิดค้น การสร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์ การใช้พลังงานอย่างมากมาย ทรัพยากรถูกทำลายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีผลมาจากการที่มนุษย์พยายามทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจและตีความตามที่มนุษย์เป็นอันมากเห็น

แนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การที่เรามีฐานะดี แต่เราก็มีหน้าที่ที่จะรักษาสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรมาก สิ้นเปลือง ก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมาก การใช้รถยนต์ส่วนตัวมาก ก็หมายถึงต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดลงไปอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่สิบปี และนอกจากนี้คือการทำให้โลกเข้าสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก โลกจะร้อนขึ้นทุกปี น้ำแข็งในขั้วโลกจะเริ่มละลายมากขึ้น น้ำจะท่วมในบริเวณริมทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ

การที่มนุษย์จะรับผิดชอบต่อสังคม คือทำให้ผู้อื่นที่ทุกข์ยากและขาดแคลนจริงๆ ให้มาก แต่ต้องไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัว ทำตัวให้กินอยู่ง่าย กินแต่พอเพียง ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อย เพื่อให้ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวและคงอยู่ในโลกได้เป็นเวลายาวนาน หรือตลอดไป

แนวทางเน้นสิ่งแวดล้อม (Environment)

ประชาชน

          สำหรับประชาชน และเยาวชนทั่วไป คิดง่ายๆ และทำอย่างง่ายๆ และก็เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้ดังนี้
           รับผิดชอบในการกระทำของตน

ความตระหนักและยอมรับในผลของการกระทำและการตัดสินใจของตน คิดจะทำอะไร ต้องทำอย่างยอมรับในผลที่จะเกิดขึ้น (recognition and acceptance of the consequences of each action and decision one undertakes )

-         การใช้ห้องน้ำสาธารณะแล้วไม่ดูแลความสะอาด
-         การทำลายสิ่งของสาธารณะด้วยความคึกคะนอง
-         การฉีดสเปรย์ตาม กำแพง สะพาน สถานที่ต่างๆ
-         การเขียนบัตรสนเท่ห์ จดหมายข่มขู่
-         การเข้าไปทำลายระบบความปลอดภัย ล้วงความลับ ไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นๆ
-         การเขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ สื่อผ่านอินเตอร์เน็ต
-         การโฆษณาชวนเชื่อ อย่างไม่รับผิดชอบ

เอื้ออาทรต่อผู้อื่น

        การมีทัศนคติที่เอื้ออาทร ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (caring attitude towards self and others)
-         การเอื้ออาทรต่อผู้อ่อนแอกว่า ผู้ใหญ่ คนชรา เด็ก สตรีมีครรภ์
-         การเอื้ออาทรต่อคนเดินทาง นักท่องเที่ยว

มุ่งมั่นและเข้มแข็ง

การมีความรู้สึกที่จะสามารถควบคุมชีวิตและชะตากรรมของตนและมนุษย์อื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่คิดและมองอย่างหมดอาลัยตายอยาก (sense of control and competence)

-         การไม่ท้อแท้และเดียวดาย เมื่อมีปัญหา ก็ต้องคิดว่ามันมีทางแก้ปัญหา หากปัญหานั้นๆ ไม่ใช่เพียงของเราคนเดียว เราก็ต้องหาทางร่วมกับคนอื่นๆ เพื่อแก่ปัญหานั้น ต้องไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยวและเดียวดาย
-         การเข้าไปมีส่วนร่วม แม้สิ่งที่กระทำจะไม่เห็นผลในระยะเวลาอันใกล้
-         การกล้าคิดและมีส่วนร่วมอย่าง Practive ไม่ปล่อยให้ตนเองและคนอื่นๆ เป็นไปโดยไม่นำพา
ยอมรับในความแตกต่าง

ความตระหนักและยอมรับในความแตกต่างของบุคคลและวัฒนธรรม 
(recognition and acceptance of individual and cultural diversity)

-         ความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ วัย การศึกษา และวัฒนธรรม ในโลกนี้มีความแตกต่างของมนุษย์ ทั้งด้วยเพศ เชื้อชาติ วัย และอื่นๆ แต่การยอมรับและให้ความเคารพในความเป็นมนุษย์ของกันและกัน นับเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิตในสังคมที่นับวันจะมีแต่ความหลากหลายมากขึ้น
เคารพสิทธิมนุษยชน

ความตระหนักในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานทั้งของตนเองและผู้อื่น 
(recognition of basic human rights of self and others)

-         การยึดในหลักการสิทธิมนุษยชนที่ได้มีการยอมรับกันโดยสากล เช่นปฏิญญาที่ได้ประกาศแล้วในสหประชาชาติ

ตัวอย่าง

-         ถมที่บ้านตนเองหนีน้ำท่วม แต่ดินที่ถมไปปิดทางระบายน้ำของคนอื่นๆ ไปทำให้น้ำบ้านตนเองไหลไปสู่ที่ต่ำในบ้านคนอื่นๆ
-         ทำถนนสำหรับเมืองของตน แต่ไปปิดทางน้ำ ทางระบายน้ำของเมืองอื่นๆ หรือทำให้เกิดน้ำท่วม
-         การตัดต้นไม้ในป่า ทำให้ไม่มีความสมดุลในธรรมชาติ น้ำท่วมในฤดูน้ำ น้ำแล้งในช่วงฤดูแล้ง
เปิดรับความคิดใหม่
ความสามารถในการเปิดรับความคิดใหม่ ประสบการณ์ใหม่ และสำหรับการมีสัมพันธ์กับคนที่แปลกใหม่ และแตกต่างจากตน (the ability to be open to new ideas, experiences, and people)
ไม่ติดยึดกับความคิดเก่าๆ และทำให้ไม่เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดผลเสียหาย เสียโอกาสต่อคนอื่นๆ

ตัวอย่าง

เป็นเจ้าของที่ดิน แต่ไม่ยอมพัฒนา ไม่ยอมเสียสละเพื่อการพัฒนาหนทาง ตนเองเสียโอกาส คนอื่นๆ เสียโอกาส

ขันอาสาเพื่อสังคม

ความเข้าใจในความสำคัญของการทำงานอาสาสมัครเพื่อสังคมและชุมชน  (understanding of the importance of volunteering in social and community activities)

-         การเสียสละด้านเงินทอง
-         การเสียสละด้านเวลา
-         การเสียสละช่วยใช้ในทางปัญญา
-         การให้กำลังใจ และให้ความสำคัญต่อคนที่เขาได้กระทำการในสิ่งที่ดี

เข้ารับหน้าที่

ความสามารถในการทดลองกระทำในกิจกรรมและบทบาทของผู้ใหญ่ในสังคม (ability to engage in experimentation with various adult roles)

-         การเข้าร่วมในสังคมมีบทบาทหน้าที่
-         ในองค์กร ชุมชน ในบ้านเรือน
พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ

การพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำ การสื่อสาร และการมีส่วนร่วมในสังคม 
(development of leadership, communication, and social skills)

-         ทักษะในการเป็นผู้นำ การต้องตัดสินใจ
-         ทักษะในการสื่อสาร การรับฟัง การนำเสนอ
-         ทักษะในการมีมนุษยสัมพันธ์ การเจรจาต่อรอง การประนีประนอม
 

ตัวอย่างจากนานาประเทศ 

รายงานได้บอกกล่าวถึงตัวอย่างกิจกรรมที่บริษัทที่เป็นสมาชิกได้ดำเนินงานในภูมิภาคต่างๆ ของโลก  รวมทั้งได้ระบุถึงประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในที่นี้จะยกมาเพียง 3 ตัวอย่าง  ดังต่อไปนี้

(1)   บริษัท Unilever Ceylon ได้สนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพสำหรับเยาวชนในเมือง Galgamuwa ประเทศศรีลังกา ด้วยการสนับสนุนเงินเพื่อพัฒนาและดำเนินงานศูนย์ฝึกวิชาชีพสำหรับเยาวชน (เช่น ด้านเครื่องกล  ช่างไม้ และอิเล็คทรอนิกส์) โดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น องค์กรที่รับผิดชอบด้านการฝึกงานของศรีลังกา ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินสนับสนุนรายเดือนให้แก่ผู้รับการฝึก และมีธนาคารจัดหาเงินกู้ เพื่อก่อตั้งธุรกิจขนาดเล็กให้แก่ผู้ผ่านการฝึกงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การสนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่เยาวชนของศรีลังกา เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัท

 (2)  บริษัท Deloitte & Touche ได้ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเหตุผลว่าเหตุใดพนักงานที่เป็นสตรีจึงมีน้อย และมีอัตราการพ้นจากการเป็นพนักงานสูงกว่าบุรุษ และจัดทำโครงการเพื่อธำรงรักษาพนักงานหญิงที่มีความสามารถสูง   รวมทั้งส่งเสริมโอกาสของความก้าวหน้าในอาชีพ  โดยวิธีการจัดให้มีพี่เลี้ยงช่วยให้คำแนะนำการทำงาน (mentoring) และวางแผนอาชีพ (career planning) โครงการนี้ มีประธานกรรมการและ CEO เป็นผู้นำ ผลปรากฏว่าการปรับปรุงเรื่องการธำรงรักษาพนักงานสตรีในกลุ่มวิชาชีพ ทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียง  ทั้งในด้านการแก้ปัญหาด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพของพนักงานสตรี และในด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน โดยได้เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของอเมริกา และในเดือนมกราคม 1999  นิตยสาร Fortune ได้จัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วย ลำดับที่ 8  ในจำนวน 100  บริษัทของอเมริกา

 (3)  บริษัท WMC Limited ได้ช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาให้แก่ชาวชุมชนบริเวณเหมืองทองแดงที่ชื่อว่า Tampakan Copper Project ที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เหมืองดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่แถบภูเขาที่มีฝนตกชุก เหนือขึ้นไปจากพื้นที่ที่มีพลเมืองอยู่หนาแน่น และยังเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการพลังทลาย ดังนั้น จึงเป็นเหมืองที่กลุ่ม NGO ได้ตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด

การให้คำปรึกษาแนะนำครอบคลุมทั้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การฝึกฝนทักษะอาชีพ สุขภาพ การศึกษา ที่พักอาศัย รวมทั้งการย้ายถิ่นฐาน และค่าชดเชยต่าง ๆ    งานเหล่านี้เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นในหมู่ผู้มีส่วนได้เสีย และได้ช่วยให้ชุมชนได้มีการทำการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งการตรวจสอบติดตามด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทต้องทำอย่างโปร่งใสในทุกขั้นตอน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ปรับมาตรฐานการดำรงชีพ และสร้างโอกาสในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนจำนวนมากในชุมชน

 



 

นางสาวสิริวรรณ อ่อนพรม การจัดการทั่วไป กลุ่มที่ 1 524407035

ธุรกิจจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ อุดมการณ์หรือวิสัยทัศน์องค์กรจะต้องแน่วแน่ เรนฟอเรสท์เน้นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เพราะ เราอยู่ร่วมกับธรรมชาติ ซึ่งสามารถปรับรูปแบบการบริหารกิจกรรมภายในและนอกองค์กรเพื่อธรรมชาติได้เช่น กิจกรรมล่องแก่งเก็บขยะ เป็นต้น

ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคม

กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการมุ่งแสวงหาผลกำไร ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะ ความยั่งยืนของธุรกิจจะเกิดได้ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับเนื้อหาในการบรรยาย เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยยกกรณีศึกษาจากเรนฟอเรสท์ รีสอร์ทแกนนำในการก่อตั้งชมรมรักษ์ลำน้ำเข็ก ซึ่งบรรยายโดย คุณณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ผู้จัดการเรสฟอเรสท์ รีสอร์ท

แผนการตลาด

รวมกลุ่มพันธมิตรการค้า 4 Nature & Heritage Design Resorts เพื่อทำโปรโมชั่นร่วมกันเพิ่มช่องทางการตลาด คือ ธาราบุรี รีสอร์ท, เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท, เมทนีดล รีสอร์ท, ภูนาคำรีสอร์ท

กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของธุรกิจ

ผู้จัดทำ : นางสาวสิริวรรณ อ่อนพรม การจัดการทั่วไป กลุ่มที่ 1 524407035

น.ส.ณัฐฐินันท์ พิทักนาคตระกูล การจัดการทั่วไป 1 (524407007)

โดยธรรมชาติของคนเเล้ว ธรรมชาติมีพื้นของความซื่อสัตย์ เพราะคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต เสมอต้นเสมอปลายจะได้รับความไว้วางใจเเละความน่าเชื่อถือ ทั้งต่อด้านการทำธุรกิจ เเละภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

..บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด..

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเป็นพลเมือง ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจะยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีคุณธรรมตลอดจนส่งเสริมให้พนักงาน ปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมจนได้รับการยอมรับจากสังคม

จรรยาบรรณ ของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

1. เคารพกฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานต่างๆ

2. เคารพ และคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของบุคคล

3. ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานป้องกันอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4. ไม่รับและไม่ให้ประโยชน์ใดๆ เพื่อการตอบแทนทางธุรกิจโดยไม่ชอบธรรม

5. ไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการขัดแย้งกันของผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท และผลประโยชน์ส่วนตัว

6. จัดซื้อและจัดจ้าง อย่างเป็นธรรมและเปิดเผย จัดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี

7. ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของบริษัท ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัท

8. สื่อสารกับสังคมอย่างเปิดเผย ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง รับฟังความคิดเห็นและความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย

9. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐ อย่างเหมาะสม โปร่งใส และสุจริต

10. ร่วมมือกับชุมชนและองค์กรสาธารณะประโยชน์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย

11. ทำธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยความเคารพในกฏหมายระเบียบ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศคู่ค้า

ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคม การมีบทบาทอย่างบวก บทบาทในทางบวกของแต่ละบุคคล หรือหน่วยในสังคมมีลักษณะหลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่นระดับรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยต้องให้หลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทธุรกิจต้องมีความเคารพและต้องส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของตนโดยตรง หรือโดยการจ้างผ่านระบบอื่นๆ ภายนอก และสำหรับประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน่วยในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และโลก การมีบทบาทอย่างลบ การมีหน้าที่ในทางลบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำเมื่อบุคคลนั้นๆ ต้องอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบในสังคม ในครอบครัว ชุมชน องค์กร และการเป็นประชากรของประเทศและโลก แต่ในบางส่วนหมายถึงการเข้าไปมีบทบาททำให้สิ่งที่ไม่ควรกระทำได้เกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่เพียงรับผิดชอบต่อตนเอง แต่กระทำในลักษณะที่ทำให้ไม่เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นโดยใคร ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดงานในองค์กรที่เรียกว่า Non Governmental Organizations หรือ NGOs เป็นการเข้าไปมีบทบาทอย่างเตรียมการณ์ และกระทำอย่างมองการณ์ไกล (Proactive) ธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate social responsibility - CSR) เป็นคำบัญญัติที่อธิบายหน้าทีขององค์กรใดๆ ที่จะต้องมีหน้าทีต่อผู้มีส่วนร่วมในกิจการของตน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม และก็สามารถอยู่ได้ในฐานะองค์กรธุรกิจ ซึ่งหลักนี้เรียกได้ว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) บริษัทและองค์กรธุรกิจมีหลายกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้เสียกับองค์กร และมีผลจากการตัดสินใจดำเนินการขององค์กร ทั้งต่อท้องถิ่นและในระดับโลกกว้าง กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมได้ร่วมเสียนี้ได้แก่ คนงาน ลูกค้า คนส่งสินค้า ผลิตสินค้าให้บริษัท องค์กรในชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ องค์กรที่เป็นลูกหรือเครือข่าย องค์กรที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Joint Venture Partners) ชาวบ้านในชุมชน ผู้ลงทุน ผู้เป็นเจ้าของหุ้น หรือผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น ข้อโต้แย้ง ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีหลากหลาย แต่ละฝ่ายมีความคิดไม่เหมือนกันธุรกิจมีความรับผิดชอบหรือ Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์แนวทุนนิยมใหม่ ผู้รับรางวัลโนเบล ในบทความที่มีชื่อเสียงของเขา The Social Responsibility of Business is to Increase Profits ได้ให้ความเห็นและหลักการรับผิดชอบว่า “ธุรกิจไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอื่นใด ธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องทำให้ธุรกิจของตนเองนั้นมีกำไร และขณะเดียวกันต้องไม่กระทำการหรือร่วมในกิจกรรมหลอกลวง และคดโกง (deception and fraud) เขาให้ความเห็นว่า เมื่อธุรกิจได้กระทำการให้ได้อย่างมีกำไรให้ได้มากที่สุดนั้น ธุรกิจได้กระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว การที่ธุรกิจสามารถทำกำไร และยังอยู่ในสังคมได้อย่างยาวนานนั้น เท่ากับเป็นการเกื้อหนุนสังคมไปด้วยแล้วในตัว และเป็นประโยชน์ต่อสังคมแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น กลุ่มผู้มีความเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน (Litertarians) ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่า “คือการไม่ต้องทำอะไรเลย” เพราะการกระทำนั้นหลายอย่างเป็นตัวไปสร้างปัญหาให้กับสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม คือการที่บุคคล ธุรกิจไม่ควรไปใช้การกระทำที่ไปบังคับผู้อื่นด้วยกำลังหรือการหลอกลวงต่อกัน และทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน การดูว่าใช้เงินของเรา ทรัพยากรของเรา แต่ความจริงแล้ว มันคือทรัพยากรของสังคม และของโลก การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้นมีความหมายกินกว้าง อย่าเบียดเบียนสังคม มีอีกหลายฝ่ายที่เชื่อว่า โลกในทุกวันนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ดำรงอยู่ได้ เพราะเราได้มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้โลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Risk for Sustainable Development) การคิดค้น การสร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์ การใช้พลังงานอย่างมากมาย ทรัพยากรถูกทำลายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีผลมาจากการที่มนุษย์พยายามทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจและตีความตามที่มนุษย์เป็นอันมากเห็น แนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การที่เรามีฐานะดี แต่เราก็มีหน้าที่ที่จะรักษาสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรมาก สิ้นเปลือง ก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมาก การใช้รถยนต์ส่วนตัวมาก ก็หมายถึงต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดลงไปอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่สิบปี และนอกจากนี้คือการทำให้โลกเข้าสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก โลกจะร้อนขึ้นทุกปี น้ำแข็งในขั้วโลกจะเริ่มละลายมากขึ้น น้ำจะท่วมในบริเวณริมทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ การที่มนุษย์จะรับผิดชอบต่อสังคม คือทำให้ผู้อื่นที่ทุกข์ยากและขาดแคลนจริงๆ ให้มาก แต่ต้องไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัว ทำตัวให้กินอยู่ง่าย กินแต่พอเพียง ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อย เพื่อให้ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวและคงอยู่ในโลกได้เป็นเวลายาวนาน หรือตลอดไป

ตัวอย่างจากนานาประเทศ

รายงานได้บอกกล่าวถึงตัวอย่างกิจกรรมที่บริษัทที่เป็นสมาชิกได้ดำเนินงานในภูมิภาคต่างๆ ของโลก  รวมทั้งได้ระบุถึงประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในที่นี้จะยกมาเพียง 3 ตัวอย่าง  ดังต่อไปนี้

(1)   บริษัท Unilever Ceylon ได้สนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพสำหรับเยาวชนในเมือง Galgamuwa ประเทศศรีลังกา ด้วยการสนับสนุนเงินเพื่อพัฒนาและดำเนินงานศูนย์ฝึกวิชาชีพสำหรับเยาวชน (เช่น ด้านเครื่องกล  ช่างไม้ และอิเล็คทรอนิกส์) โดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น องค์กรที่รับผิดชอบด้านการฝึกงานของศรีลังกา ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินสนับสนุนรายเดือนให้แก่ผู้รับการฝึก และมีธนาคารจัดหาเงินกู้ เพื่อก่อตั้งธุรกิจขนาดเล็กให้แก่ผู้ผ่านการฝึกงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การสนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่เยาวชนของศรีลังกา เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัท

 (2)  บริษัท Deloitte & Touche ได้ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเหตุผลว่าเหตุใดพนักงานที่เป็นสตรีจึงมีน้อย และมีอัตราการพ้นจากการเป็นพนักงานสูงกว่าบุรุษ และจัดทำโครงการเพื่อธำรงรักษาพนักงานหญิงที่มีความสามารถสูง   รวมทั้งส่งเสริมโอกาสของความก้าวหน้าในอาชีพ  โดยวิธีการจัดให้มีพี่เลี้ยงช่วยให้คำแนะนำการทำงาน (mentoring) และวางแผนอาชีพ (career planning) โครงการนี้ มีประธานกรรมการและ CEO เป็นผู้นำ ผลปรากฏว่าการปรับปรุงเรื่องการธำรงรักษาพนักงานสตรีในกลุ่มวิชาชีพ ทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียง  ทั้งในด้านการแก้ปัญหาด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพของพนักงานสตรี และในด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน โดยได้เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของอเมริกา และในเดือนมกราคม 1999  นิตยสาร Fortune ได้จัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วย ลำดับที่ 8  ในจำนวน 100  บริษัทของอเมริกา

 (3)  บริษัท WMC Limited ได้ช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาให้แก่ชาวชุมชนบริเวณเหมืองทองแดงที่ชื่อว่า Tampakan Copper Project ที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เหมืองดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่แถบภูเขาที่มีฝนตกชุก เหนือขึ้นไปจากพื้นที่ที่มีพลเมืองอยู่หนาแน่น และยังเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการพลังทลาย ดังนั้น จึงเป็นเหมืองที่กลุ่ม NGO ได้ตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด

การให้คำปรึกษาแนะนำครอบคลุมทั้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การฝึกฝนทักษะอาชีพ สุขภาพ การศึกษา ที่พักอาศัย รวมทั้งการย้ายถิ่นฐาน และค่าชดเชยต่าง ๆ    งานเหล่านี้เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นในหมู่ผู้มีส่วนได้เสีย และได้ช่วยให้ชุมชนได้มีการทำการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งการตรวจสอบติดตามด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทต้องทำอย่างโปร่งใสในทุกขั้นตอน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ปรับมาตรฐานการดำรงชีพ และสร้างโอกาสในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนจำนวนมากในชุมชน 

รหัส 544407131


ความรับผิดชอบต่อสังคม (Social responsibility) หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคม การมีบทบาทอย่างบวก บทบาทในทางบวกของแต่ละบุคคล หรือหน่วยในสังคมมีลักษณะหลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลำดับ เช่นระดับรัฐมีหน้าที่ต่อประชาชน โดยต้องให้หลักประกันในสิทธิขั้นพื้นฐานตามระบอบประชาธิปไตย บริษัทธุรกิจต้องมีความเคารพและต้องส่งเสริมให้เกิดการรักษาสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของคนทำงาน ไม่ว่าจะเป็นคนทำงานเป็นลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของตนโดยตรง หรือโดยการจ้างผ่านระบบอื่นๆ ภายนอก และสำหรับประชาชน ก็ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบต่อหน่วยในสังคมที่ตนดำรงอยู่ ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และโลก การมีบทบาทอย่างลบ การมีหน้าที่ในทางลบต่อความรับผิดชอบต่อสังคม คือ การไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำเมื่อบุคคลนั้นๆ ต้องอยู่ในตำแหน่งรับผิดชอบในสังคม ในครอบครัว ชุมชน องค์กร และการเป็นประชากรของประเทศและโลก แต่ในบางส่วนหมายถึงการเข้าไปมีบทบาททำให้สิ่งที่ไม่ควรกระทำได้เกิดขึ้นด้วย ไม่ใช่เพียงรับผิดชอบต่อตนเอง แต่กระทำในลักษณะที่ทำให้ไม่เกิดพฤติกรรมเหล่านั้นในสังคม ไม่ว่าจะเป็นโดยใคร ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเกิดงานในองค์กรที่เรียกว่า Non Governmental Organizations หรือ NGOs เป็นการเข้าไปมีบทบาทอย่างเตรียมการณ์ และกระทำอย่างมองการณ์ไกล (Proactive) ธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจเพื่อสังคม (Corporate social responsibility - CSR) เป็นคำบัญญัติที่อธิบายหน้าทีขององค์กรใดๆ ที่จะต้องมีหน้าทีต่อผู้มีส่วนร่วมในกิจการของตน เพื่อทำให้ธุรกิจนั้นดำเนินไปได้อย่างยั่งยืน และเป็นประโยชน์ต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยรวม และก็สามารถอยู่ได้ในฐานะองค์กรธุรกิจ ซึ่งหลักนี้เรียกได้ว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) บริษัทและองค์กรธุรกิจมีหลายกลุ่มที่มีส่วนร่วมได้เสียกับองค์กร และมีผลจากการตัดสินใจดำเนินการขององค์กร ทั้งต่อท้องถิ่นและในระดับโลกกว้าง กลุ่มคนที่มีส่วนร่วมได้ร่วมเสียนี้ได้แก่ คนงาน ลูกค้า คนส่งสินค้า ผลิตสินค้าให้บริษัท องค์กรในชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ องค์กรที่เป็นลูกหรือเครือข่าย องค์กรที่เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Joint Venture Partners) ชาวบ้านในชุมชน ผู้ลงทุน ผู้เป็นเจ้าของหุ้น หรือผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น ข้อโต้แย้ง ความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นมีหลากหลาย แต่ละฝ่ายมีความคิดไม่เหมือนกันธุรกิจมีความรับผิดชอบหรือ Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์แนวทุนนิยมใหม่ ผู้รับรางวัลโนเบล ในบทความที่มีชื่อเสียงของเขา The Social Responsibility of Business is to Increase Profits ได้ให้ความเห็นและหลักการรับผิดชอบว่า “ธุรกิจไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอื่นใด ธุรกิจนั้นมีหน้าที่ต้องทำให้ธุรกิจของตนเองนั้นมีกำไร และขณะเดียวกันต้องไม่กระทำการหรือร่วมในกิจกรรมหลอกลวง และคดโกง (deception and fraud) เขาให้ความเห็นว่า เมื่อธุรกิจได้กระทำการให้ได้อย่างมีกำไรให้ได้มากที่สุดนั้น ธุรกิจได้กระทำการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมแล้ว การที่ธุรกิจสามารถทำกำไร และยังอยู่ในสังคมได้อย่างยาวนานนั้น เท่ากับเป็นการเกื้อหนุนสังคมไปด้วยแล้วในตัว และเป็นประโยชน์ต่อสังคมแวดล้อมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่าสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น กลุ่มผู้มีความเชื่อในเรื่องสิทธิเสรีภาพประชาชน (Litertarians) ได้ให้ความหมายของความรับผิดชอบต่อสังคมว่า “คือการไม่ต้องทำอะไรเลย” เพราะการกระทำนั้นหลายอย่างเป็นตัวไปสร้างปัญหาให้กับสังคม ความรับผิดชอบต่อสังคม คือการที่บุคคล ธุรกิจไม่ควรไปใช้การกระทำที่ไปบังคับผู้อื่นด้วยกำลังหรือการหลอกลวงต่อกัน และทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อน การดูว่าใช้เงินของเรา ทรัพยากรของเรา แต่ความจริงแล้ว มันคือทรัพยากรของสังคม และของโลก การไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นนั้นมีความหมายกินกว้าง อย่าเบียดเบียนสังคม มีอีกหลายฝ่ายที่เชื่อว่า โลกในทุกวันนี้มีความเสี่ยงที่จะไม่ดำรงอยู่ได้ เพราะเราได้มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้โลกไม่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน (Risk for Sustainable Development) การคิดค้น การสร้างความสะดวกสบายให้มนุษย์ การใช้พลังงานอย่างมากมาย ทรัพยากรถูกทำลายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมมีผลมาจากการที่มนุษย์พยายามทำให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นความเข้าใจและตีความตามที่มนุษย์เป็นอันมากเห็น แนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ หรือเศรษฐกิจพอเพียงนั้น การที่เรามีฐานะดี แต่เราก็มีหน้าที่ที่จะรักษาสภาพแวดล้อม การใช้ทรัพยากรมาก สิ้นเปลือง ก็มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมาก การใช้รถยนต์ส่วนตัวมาก ก็หมายถึงต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังจะหมดลงไปอย่างรวดเร็วในอีกไม่กี่สิบปี และนอกจากนี้คือการทำให้โลกเข้าสู่ปรากฏการณ์เรือนกระจก โลกจะร้อนขึ้นทุกปี น้ำแข็งในขั้วโลกจะเริ่มละลายมากขึ้น น้ำจะท่วมในบริเวณริมทะเลมากขึ้นเรื่อยๆ การที่มนุษย์จะรับผิดชอบต่อสังคม คือทำให้ผู้อื่นที่ทุกข์ยากและขาดแคลนจริงๆ ให้มาก แต่ต้องไม่แสวงหาความสะดวกสบายส่วนตัว ทำตัวให้กินอยู่ง่าย กินแต่พอเพียง ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้น้อย เพื่อให้ธรรมชาติสามารถฟื้นตัวและคงอยู่ในโลกได้เป็นเวลายาวนาน หรือตลอดไป

ตัวอย่างจากนานาประเทศ 

รายงานได้บอกกล่าวถึงตัวอย่างกิจกรรมที่บริษัทที่เป็นสมาชิกได้ดำเนินงานในภูมิภาคต่างๆ ของโลก  รวมทั้งได้ระบุถึงประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งในที่นี้จะยกมาเพียง 3 ตัวอย่าง  ดังต่อไปนี้

(1)   บริษัท Unilever Ceylon ได้สนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพสำหรับเยาวชนในเมือง Galgamuwa ประเทศศรีลังกา ด้วยการสนับสนุนเงินเพื่อพัฒนาและดำเนินงานศูนย์ฝึกวิชาชีพสำหรับเยาวชน (เช่น ด้านเครื่องกล  ช่างไม้ และอิเล็คทรอนิกส์) โดยร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ในท้องถิ่น เช่น องค์กรที่รับผิดชอบด้านการฝึกงานของศรีลังกา ซึ่งเป็นผู้จ่ายเงินสนับสนุนรายเดือนให้แก่ผู้รับการฝึก และมีธนาคารจัดหาเงินกู้ เพื่อก่อตั้งธุรกิจขนาดเล็กให้แก่ผู้ผ่านการฝึกงาน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ การสนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพให้แก่เยาวชนของศรีลังกา เป็นการสร้างชื่อเสียงให้แก่บริษัท

 (2)  บริษัท Deloitte & Touche ได้ก่อตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาเหตุผลว่าเหตุใดพนักงานที่เป็นสตรีจึงมีน้อย และมีอัตราการพ้นจากการเป็นพนักงานสูงกว่าบุรุษ และจัดทำโครงการเพื่อธำรงรักษาพนักงานหญิงที่มีความสามารถสูง   รวมทั้งส่งเสริมโอกาสของความก้าวหน้าในอาชีพ  โดยวิธีการจัดให้มีพี่เลี้ยงช่วยให้คำแนะนำการทำงาน (mentoring) และวางแผนอาชีพ (career planning) โครงการนี้ มีประธานกรรมการและ CEO เป็นผู้นำ ผลปรากฏว่าการปรับปรุงเรื่องการธำรงรักษาพนักงานสตรีในกลุ่มวิชาชีพ ทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทชั้นนำที่มีชื่อเสียง  ทั้งในด้านการแก้ปัญหาด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพของพนักงานสตรี และในด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมในการทำงาน โดยได้เป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของอเมริกา และในเดือนมกราคม 1999  นิตยสาร Fortune ได้จัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานด้วย ลำดับที่ 8  ในจำนวน 100  บริษัทของอเมริกา

 (3)  บริษัท WMC Limited ได้ช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาให้แก่ชาวชุมชนบริเวณเหมืองทองแดงที่ชื่อว่า Tampakan Copper Project ที่เกาะมินดาเนา ประเทศฟิลิปปินส์ เหมืองดังกล่าว ตั้งอยู่ในพื้นที่แถบภูเขาที่มีฝนตกชุก เหนือขึ้นไปจากพื้นที่ที่มีพลเมืองอยู่หนาแน่น และยังเป็นพื้นที่ที่ง่ายต่อการพลังทลาย ดังนั้น จึงเป็นเหมืองที่กลุ่ม NGO ได้ตรวจสอบติดตามอย่างใกล้ชิด

การให้คำปรึกษาแนะนำครอบคลุมทั้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม การฝึกฝนทักษะอาชีพ สุขภาพ การศึกษา ที่พักอาศัย รวมทั้งการย้ายถิ่นฐาน และค่าชดเชยต่าง ๆ    งานเหล่านี้เป็นการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่นในหมู่ผู้มีส่วนได้เสีย และได้ช่วยให้ชุมชนได้มีการทำการเกษตรแบบยั่งยืน รวมทั้งการตรวจสอบติดตามด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทต้องทำอย่างโปร่งใสในทุกขั้นตอน

ประโยชน์ที่ได้รับ คือ ได้ปรับมาตรฐานการดำรงชีพ และสร้างโอกาสในด้านต่าง ๆ ให้แก่ผู้คนจำนวนมากในชุมชน 

รหัส 544407131

 

นางสาว จริญญา รัตนวิจิตร การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1/52 524407002

ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง การที่คนและสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นรัฐ รัฐบาล องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ หรือเล็ก องค์กรอื่นๆ หรือบุคคล ล้วนต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ทั้งในทางลบ (Negative) อันหมายถึง ไม่กระทำในสิ่งที่ไม่พึงกระทำ และความรับผิดชอบในทางบวก (Positive) หมายถึงพึงกระทำในสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อยังประโยชน์ให้แก่สังคมแวดล้อม ในแต่ละระดับและหน่วยของสังคมเช่น ห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี มีการแจกของให้กับเด็กนักเรียนที่อยากจนที่ต่างจังหวัด

นางสาว จริญญา รัตนวิจิตร การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1/52 524407002

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หรือโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility; CSR) ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง มีเจตนารมณ์ที่จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งสร้างและสืบสานความสัมพันธ์อันดีที่เกิดจากการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน

นโยบายนี้ มีหลักการกำหนดไว้เพื่อเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน ประกอบด้วยหลัก 7 ประการ ดังนี้

1. การกำกับดูแลองค์กร บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบที่ดีของโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ด้วยการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินธุรกิจ เพิ่มมูลค่าและ ส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์กร รวมถึงการบริหารจัดการตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นสากลและเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายและดำรงรักษาความเป็นเสิศในคุณธรรมอันเป็นคุณค่าพื้นฐานขององค์กรชั้นนำ

2. สิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพด้วยการไม่เลือกปฏิบัติ ส่งเสริมความเสมอภาค ไม่แบ่งแยกเพศและชนชั้น ไม่ใช้แรงงานเด็ก และต่อต้านการคอรัปชั่นทุกรูปแบบ

3. การปฏิบัติด้านแรงงาน บริษัทฯ มีการกำกับดูแลให้ค่าจ้างอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับอุตสาห-กรรมของไทย การปรับปรุง เปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และการจัดระเบียบองค์กรนั้นจะดำเนินการอย่างรับผิดชอบโดยอยู่ภายใต้กรอบแห่งกฎหมายไทย รวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด สร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความปลอดภัยสำหรับพนักงาน ผู้รับเหมา และผู้มาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี โดยพยายามให้ทุกคนปลอดจากอุบัติเหตุและอันตรายใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้

4. สิ่งแวดล้อม บริษัทฯ มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น มีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในกิจกรรมต่างๆขององค์กร ทั้งนี้เพื่อรักษาและดำรงไว้ซึ่งระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมของชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่

5. การดำเนินงานอย่างเป็นธรรม บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมและ มีจริยธรรม ใส่ใจในการปฎิบัติตามกฎหมาย เคารพกฎระเบียบของสังคม และเป็นองค์กรที่มีความ เป็นกลางทางการเมือง

6. ความสัมพันธ์กับลูกค้าและผู้จัดหา มุ่งเน้นการบริการที่ดีเพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า มีความจริงใจต่อการจัดการข้อร้องเรียนของลูกค้า รวมทั้งพยายามที่จะแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการผลิต และ/หรือการบริการ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ มีความคาดหวังที่จะได้รับสินค้าและการบริการในลักษณะเดียวกันนี้จากองค์กรผู้จัดหาสินค้า โดยมุ่งเน้นที่จะคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้าและผู้จัดหา

7. การมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน บริษัทฯ จะพิจารณาความต้องการของชุมชน ส่งเสริมบุคลากรเพื่อเป็นหุ้นส่วนกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่นรอบสถานประกอบการในด้านการพัฒนา- การศึกษา วัฒนธรรม สังคม และมีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมทำงานอาสาสมัคร และกิจกรรมสาธารณประโยชน์ร่วม กับชุมชน

นางสาว จริญญา รัตนวิจิตร การจัดการทั่วไปกลุ่ม1/52 524407002

บริษัททรูมูฟ

ในการดำเนินการตามและโดยสอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯคณะกรรมการบริษัทฯ เห็นสมควรให้กำหนดนโยบายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมดัง ต่อไปนี้

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

บริษัทสนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์การใช้พลังงานน้ำ เชื้อเพลิง และกระดาษอย่างมีประสิทธิภาพ

•ดำเนินนโยบายให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน

•ส่งเสริมและอนุรักษ์การใช้พลังงาน

ผู้ประกอบการในยุคปัจจุบัน ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดในการบริหารองค์กรไปสู่แนวคิดใหม่ และต้องมีการขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงามีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอมรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคนระดับความรับผิดชอบทางสังคม

1. เป็นความรับผิดชอบทางจริยธรรม = ที่บุคคลหรือองค์กร “ควรกระทำ” หรือ “ควรจะดำเนินการ” หรือ “พึงปฏิบัติ” ซึ่งอาจเป็นความเชื่อทางสังคม เช่น การถือศีล การทำบุญตามประเพณี

2. เป็นความรับผิดชอบที่เกิดจากจิตสำนึก = ของบุคคลหรือองค์กร ไม่ต้องมีใครบอก ไม่ต้องมีใครคาดหวัง แต่เป็นเพราะมีจิตสำนึกและความปรารถนา ถือว่าเป็น “สิ่งที่น่าจะทำ” หรือ “อาจจะทำ” เช่น อาจจะปรับราคาสินค้าลดลง เมื่อต้นทุนต่ำลง

3. เป็นความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ = ที่บุคคลหรือองค์กรถือว่าเป็น “สิ่งที่ต้องทำ” เช่น การหารายได้มาจุนเจือผู้ถือหุ้น หรือหาเงินคืนให้เจ้าหนี้

4. เป็นความรับผิดชอบต่อตัวบทกฎหมาย = ที่บุคคลหรือองค์กรถือว่า “จำเป็นต้องทำ” อยู่ภายใต้กฎระเบียบ กฎหมาย กฎเกณฑ์ของทางราชการ เช่น การเสียภาษีให้ถูกต้อง และตามเวลาที่กำหนด

(ยกตัวอย่างธุรกิจ)

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองเรื่องนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทมีความชัดเจนว่า บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

นางสาว จริญญา รัตนวิจิตร การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1/52 524407002

บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิตจำกัด

ตลอดระยะเวลาที่เราดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เชฟรอนมีส่วนร่วมสร้างกิจกรรมในชุมชนที่เราเข้าไปดำเนินงานอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งในพื้นที่สัตหีบและสงขลา รวมไปถึงพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทยอีกด้วย โดยเราได้รับความร่วมมืออย่างดีเยี่ยมจากหน่วยงานราชการและองค์กรท้องถิ่นต่าง ๆ จนทำให้เชฟรอนสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนเหล่านั้นด้วยดีเสมอมาสำหรับในประเทศไทย เราสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบ อาทิ การเป็นผู้สนับสนุนกิจกรรมด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนด้านการพัฒนาการศึกษาของไทย การให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนไทย การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัย กิจกรรมส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และกิจกรรมการกุศลเพื่อการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ

นอกจากนี้ เชฟรอนยังเน้นการพัฒนาสังคมไปในด้านต่างๆ โดยใช้กลยุทธ์ 4 “E” คือ การศึกษา หรือ Education สิ่งแวดล้อม หรือ Environment การอนุรักษ์พลังงาน หรือ Energy Conservation และ การส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ Employee Engagement

นางสาว จริญญา รัตนวิจิตร การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1/52 524407002

บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน)ยึดมั่นและให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ด้วยการคำนึงถึงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการและสังคมโดยรวม มีแนวทางการบริหารงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจ และมีการบริหารจัดการกิจกรรมด้านความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโอกาสการดำเนินธุรกิจให้เติบโตและสังคมที่ยั่งยืน โดยมีกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ ปตท.สผ. ที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ตามนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคม ปตท.สผ.

การปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัย.ความมั่นคง.สุขอนามัย.และสิ่งแวดล้อมหรือ.SSHE.ให้กับพนักงาน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง.และผู้ร่วมทุน.ได้ดำเนินไปอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง.ด้วยคำขวัญ “Take SSHE to your heart, make it part of your life” ซึ่งมุ่งที่จะส่งเสริมความปลอดภัยในกระบวนการทำงาน และปลูกฝังให้ทุกคนคำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตประจำวันอยู่ทุกเมื่อ

ปตท.สผ. ยึดมั่นในหลักการ“จากทรัพย์ในดิน สู่สินทางปัญญา พัฒนาสิ่งแวดล้อม” เป็น ปรัชญา ในการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสังคม เราลงทุนในโครงการเพื่อสังคมโดยรวมและเพื่อพัฒนาชุมชนหลายโครงการ โดยประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การศึกษา พร้อมกับธำรงรักษาสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมให้คงอยู่

คู่สังคมไทย

ความรับผิดชอบต่อสังคม บริษัท บางจาก (มหาชน)

บางจาก ธุรกิจที่ยั่งยืน เติบโตไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อมและสังคม เติบโตไปบนวิถีของการดำรงไว้ซึ่งคุณค่า คุณประโยชน์ ความสุขที่แบ่งปัน อันมีรากฐานอยู่บนวิถีไทยที่เอื้อต่อทุกชีวิต ใส่ใจต่อทุกคุณภาพ ในทุกสิ่งที่ทำ หลอมรวมงานและชีวิตเป็นวัฒนธรรม เลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกชีวิต เพราะตระหนักดีว่า เราเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตทั้งมวล

แนวคิดการดำเนินงาน อยางรับผิดชอบตอสังคม

จากมติคณะรัฐมนตรีของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งมีความมุ่งหมายในการก่อตั้ง บริษัท บางจาก ฯ ให้บริษัท ฯ มีภารกิจสำคัญในการดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมไทย  เพื่อให้สามารถบรรลุภารกิจทั้ง 2 ด้านดังกล่าว นับจากการก่อตั้งในปี 2528 ถึงปัจจุบัน คณะผู้บริหารและพนักงานของบริษัท บางจาก (มหาชน) ได้ร่วมมือกันพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อให้ธุรกิจมั่นคง ขณะเดียวกันได้สร้างสรรค์รูปธรรมของการสร้างประโยชน์ต่อสังคมซึ่งกระบวนการขยายธุรกิจให้เติบโต มั่นคงและ ดำเนินไปโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบที่พึงมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สังคมและสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นได้จากการปลูกฝังและยึดมั่นในวัฒนธรรมการเป็น “คนดี มีความรู้ เป็นประโยชน์” และมุ่งมั่นในอันที่จะ “พัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนไปกับสิ่งแวดล้อมและสังคม”ดำเนินงานอย่างโปร่งใส สร้างสมดุลย์ระหว่าง “มูลค่า” คือ การสร้างผลกำไรให้ธุรกิจ ไปพร้อมกับ สร้าง“คุณค่า” คือการเป็นประโยชน์ รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กันไปทั้ง 3 ด้าน ให้กับพนักงานและผู้บริหารนับตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาร่วมงานกับบริษัทฯ

นางสาวสุพัฒน์ชา  ด่อนแผ้ว  การจัดการทั่วไป กลุ่ม 2 รหัสนักศึกษา 524407092

น.ส.ธัณย์จิรา โพธิ์พันธ์ (524407068) การจัดการทั่วไป 2

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะในเรื่องการสร้างความยั่งยืนกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ซึ่งถูกกำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ของบริษัท ความรับผิดชอบที่บริษัททำจึงคำนึงถึงผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกภาคส่วน ตั้งแต่การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยในการดำเนินการนั้นมีกิจกรรมเพื่อสังคมในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม กีฬา ศิลปะ วัฒนธรรม และดูแลชุมชนบริเวณใกล้เคียงกับโรงงาน รวมถึงชุมชนภายนอก

"...เราทำทุกเรื่องตั้งแต่การดูแลสินค้าให้มีคุณภาพ หัวใจสำคัญที่สุดในการรับผิดชอบต่อสังคมของเรา คือ การแสดงความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง..." นายประเสริฐ กล่าว

น.ส.ธัณย์จิรา โพธิ์พันธ์ 524407068 การจัดการทั่วไป 2

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองเรื่องนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทมีความชัดเจนว่า บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

"ในเชิงธุรกิจการแข่งขันไม่ใช่แค่เรื่องสินค้าและราคา แต่ทุกวันนี้มีการมองในเรื่องภาพลักษณ์ ถึงวันนี้เราเชื่อว่าลูกค้าที่ซื้อน้ำมันของเราไม่ได้ซื้อเพราะของถูก แต่ซื้อเพราะสิ่งที่เราเป็นมากกว่านั้น..." ดร.อนุสรณ์ กล่าว

น.ส.ธัณย์จิรา โพธิ์พันธ์ 524407068 การจัดการทั่วไป 2

เนื่องจากการดำเนินกิจการขององค์การเภสัชกรรมนั้น ไม่สามารถแยกออกจากสังคม

จึงไม่อาจจะดำเนินกิจการเพียงมุ่งหวังแต่ผลกำไรโดยละเลยสังคมได้ เพราะเมื่อสังคมประสบ

ปัญหาต่าง ๆ เช่น สิ่งแวดล้อม การว่างงาน การศึกษา หรือแม้แต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติฯลฯ

ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการทั้งทางตรงและทางอ้อม การแสดงออกถึงความ

รับผิดชอบต่อสังคมขององค์การเภสัชกรรม นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนา

สังคมให้บรรเทาจากภาวะปัญหาต่าง ๆ แล้ว ยังส่งผลดีต่อการดำเนินกิจการในอีกหลายด้าน

เช่น ช่วยส่งเสริมยอดจำหน่ายให้แก่องค์การ (ในอนาคต) เสริมสร้างภาพลักษณ์ และความ

ศรัทธาของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์ ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างองค์กรกับชุมชน ก่อให้เกิด

ความสามัคคีขึ้นภายในองค์กร ตลอดจนสร้างความแข็งแกร่งของยี่ห้อผลิตภัณฑ์ (Brand)

อันจะนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าขององค์การและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

องค์การเภสัชกรรมในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและสังคม และมีเจตนาที่จะ

ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้นำแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม

(Corporate Social Responsibility : CSR) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินกิจการ โดย

ยึดหลักการที่เป็นแนวทางปฏิบัติและมาตรฐานทาง CSR ที่เป็นสากล เช่น UN Global

Compact , OECD Guideline , ISO 26000 , GRI (Global Reporting Initiative) และ

แนวนโยบายในการดำเนินกิจการขององค์กรชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้งขององค์การเภสัชกรรมเอง

มาใช้เป็นแนวทางในการที่จะประสานทรัพยากรในองค์การเภสัชกรรม ให้เกิดประสิทธิภาพ

สูงสุด อันจะนำไปสู่ความเข้าใจและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และพัฒนา

ไปสู่รูปแบบกิจกรรมของตนเองอย่างมีกลยุทธ์ สร้างสรรค์ และเกิดการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

ถาวร โดยได้กำหนดองค์ประกอบแนวทางในการดำเนินกิจการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม

ไว้ด้วยกัน 8 ประการดังนี้

1) นโยบายทั่วไป

2) นโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี

3) สิทธิมนุษยชน

4) ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน

5) สิ่งแวดล้อม

6) การใส่ใจต่อผู้บริโภค

7) การดำเนินกิจการอย่างเป็นธรรม

8) การแบ่งปันสู่ชุมชนและสังคม

นางสาวจุฑาทิพย์ มาใบ รหัส 544407183 54/4

ผู้บริหารหรือผู้ประการจะต้องรับผิดชอบในการกำกนดวิสัยทัส ภาคกิจนโยบาย เป้าหมายค่านิยมขององค์การ

เพื่อให้บริหารจัดการภายในองค์การให้มีประสิทธิภาพในด้านต่าง ๆ ได้แก่

1. ด้านนโยบายหลักขององค์การ

2. ด้านการจ้างงาาน

3. ด้านการรับผิดชอบต่อสังคม

4. ด้านสิงแวดล้อม

5. ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน

ตัวอย่างเช่น

บริษัทฯ เริ่มเปิดสถานีบริการน้ำมันที่ผลิตได้จากโรงกลั่นของบางจาก ในปี 2535 และได้มีการขยายสถานีบริการและธุรกิจเสริมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันสะอาดที่ดีต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาบริการที่เพิ่มความสะดวกเป็นประโยชน์ สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค พร้อมกับมีนโยบายที่จะให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ร่วมไปถึงการเชิญชวนให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่สถานีบริการน้ำมันของบางจาก บนแนวคิด

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการพัฒนา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและความพึงพอใจสูงสุด โดยมีนโยบายส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตาม หรือสูงกว่าความคาดหมายของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้องเพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์แก่ลูกค้า โดยไม่มีการกล่าวเกินความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ หรือเงื่อนไขใดๆ ของสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้พนักงานพึงรักษาความลับของลูกค้าและไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของ

1. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค : บริษัทฯ เน้นการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสะอาดที่ต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม ลดสารก่อมะเร็ง เขม่า ควันดำและฝุ่นละอองที่เกิดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โดยบริษัทฯ พยายามพัฒนาให้ได้คุณภาพดีกว่าและจำหน่ายก่อนเวลาที่ภาครัฐกำหนด ทั้งนี้ทุกผลิตภัณฑ์จะจำหน่ายในราคาสมเหตุผล ด้วยตระหนักดีว่าน้ำมันเป็นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป การจะเกิดขึ้นใหม่ต้องใช้เวลานานนับล้านปี ดังนั้นเพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงมีนโยบายและได้มีการรณรงค์กระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคประหยัดการใช้น้ำมันด้วยวิธีต่างๆ

ขณะเดียวกันเนื่องจากมีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น บริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตและส่งเสริมการจำหน่ายพลังงานทดแทน โดยเฉพาะ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล อันเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ซึ่งได้ทรงคิดค้นและพัฒนามานานล่วงหน้ากว่า 20 ปี ปัจจุบันสถานีบริการบางจาก มีการจำหน่ายพลังงานทดแทนครบทุกประเภท ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์E10 E20 และ E85 น้ำมันไบโอดีเซลB5 EURO IV รวมไปถึงก๊าซNGV ด้วย

2. ด้านการบริการ : บริษัทฯ มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องให้ครบทุกความต้องการ โดยใช้แนวทางการพัฒนาจากผลการสำรวจวิจัยจากลูกค้าที่บริการ และประชาชน ทั้งในด้านการพัฒนาและขยานสถานีบริการให้มากเพียงพอสะดวกในการใช้บริการ รวมไปถึงการร่วมกับผู้ประกอบการสถานีบริการบางจากดูแลความสะอาดของสถานีบริการ ห้องน้ำ การจัดให้มีสวนหย่อมที่สวยงามเพื่อเป็นจุดพักผ่อน มีร้านสะดวกซื้อ มีบริการล้างรถ ซ่อมรถ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคในชุมชนนั้นและขนาดของสถานีบริการ ขณะเดียวกันได้พยายามพัฒนาเรื่องของ ความรวดเร็วในการบริการ นำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต การออกใบเสร็จอัตโนมัติ การทำป้ายอิเลคทรอนิคแสดงจำนวนน้ำมันที่เติม แยกออกมาจากตู้จ่ายให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเติมน้ำมันไม่ครบปริมาณ รวมไปถึงการพัฒนาสถานีบริการ Self Serve ซึ่งเป็นสถานีบริการรูปแบบใหม่ที่ให้ความประหยัดเพราะได้รับส่วนลดราคาน้ำมันจากการเติมเอง ในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน เป็นต้น

3. การเชื่อมโยงผู้บริโภคกับการสนับสนุนช่วยเหลือสังคมผ่านสินค้าและบริการที่สถานีบริการบางจาก ปัจจุบัน บางจาก มีเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันกว่า 1000 แห่งทั่วประเทศซึ่งเป็นจุดที่มีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก บริษัทฯ ได้สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์ในด้านการให้ความรู้ หรือสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ ที่ต่อเศรษฐกิจประเทศ ช่วยลดโลกร้อน และมีส่วนสนับสนุนสร้างรายได้ให้เกษตรกร หรือการร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของบริษัทฯ ซึ่งจะมีการนำสินค้าเกษตร / สินค้าชุมชนมาเป็นของสมนาคุณ รวมไปถึงการร่วมกับบัตรสมาชิกแก๊สโซฮอล์คลับ ซึ่งมีช่องทางให้เลือกในการนำเงินส่วนลดจากการเติมน้ำมันไปบริจาคให้กับมูลนิธิที่ขาดแคลนด้านเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4. ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้บริโภค ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี นอกเหนือจากการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล การบริการที่ปลอดภัย ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องต่อความต้องการแล้ว บริษัทฯ คำนึงถึงสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของลูกค้า และได้พยายามดูแลให้ครอบคลุม โดย

การจัดการทั่วไป 4/54

นาย ณัฐพล ตั้งใจ การจัดการทั่วไป ก.1 524407045

ปัจจุบันกระแสการเรียกร้องของประชาชนให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมได้มีมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากที่ผ่านมาทุกองค์กรมุ่งเน้นแต่เพียงผลผลิต (Output) และการสร้างผลกำไร (Profit) จนทำให้ละเลยและมองข้ามเรื่องสิ่งแวดล้อมชุมชน ผู้บริโภค และสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการนำพาธุรกิจสู่ความยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะในภาคการผลิตที่มีส่วนทำให้สังคมได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจกรรมการผลิตมากที่สุด

ดังนั้นความตื่นตัวในกระแสการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility : CSR)

ของภาคอุตสาหกรรมจึงมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือใหญ่ เริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการทำ CSR กันมากขึ้น แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่ ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลางและกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีการรับรู้ในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย เห็นได้จากการขานรับกระแสความรับผิดชอบต่อสังคมโดย “การให้” ผ่านรูปแบบของกิจกรรมหรือโครงการต่างๆในกลุ่มดังกล่าวมีน้อยมากเมื่อเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ตัวอย่างเช่น บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเครือซิเมนต์ไทย ซึ่งเป็นบริษัทแรกๆ ในประเทศไทยที่มีการทำกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง อาทิ ด้านการศึกษา ได้มีการจัดค่ายวิทยาศาสตร์เยาวชนช้างเผือกซิเมนต์ไทย Young Thai Artist Award รวมถึงการมอบทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้านกีฬา จัดการแข่งขันแบดมินตันเครือซิเมนต์ไทยชิงชนะเลิศเยาวชนแห่งประเทศไทย และจัดแข่งขันวอลเลย์บอลเครือซิเมนต์ไทย

ชิงชนะเลิศยุวชนแห่งประเทศไทย เป็นต้น สำหรับด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีโครงการ Do It Clean เพื่อสร้างจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ในส่วนของบุคลากร เครือซิเมนต์ไทยได้มีการจัดอบรมพนักงานให้มีความรู้ความสามารถอยู่สม่ำเสมอ

สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

ประโยชน์ที่ได้จากการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

นอกจากนี้ประโยชน์ที่ได้จากการทำ CSR จะเห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้กับอุตสาหกรรมที่ทำการติดต่อค้าขายกับประเทศในกลุ่ม อียู และกลุ่มประเทศ OECD ที่ได้ทำข้อตกลงด้าน CSR เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเสนอให้ประเทศในกลุ่มทำการติดต่อค้าขายกับประเทศคู่ค้าที่ทำ CSR เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าภาคอุตสาหกรรมใดยังไม่มีมาตรฐานหรือการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับ CSR คาดว่าในอนาคตอาจจะประสบปัญหาลำบากได้ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวอาจกลายมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าของประเทศเหล่านี้ก็เป็นได้

จรรยาบรรณของผู้ประกอบธุรกิจต่อสังคม สังคม (Society) คือ การอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของบุคคล โดยแต่ละคนจะมีหน้าที่ในสังคมแตกต่างกัน มีการ แบ่งงานกันทำ มีสิทธิและเสรีภาพในฐานะการเป็นพลเมืองเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจก็ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของ สังคม จึงต้องมีส่วนร่วมช่วยพัฒนาสังคมให้เจริญก้าวหน้าหรือมีความสงบสุข มีส่วนรับผิดชอบกับสภาพแวดล้อมและกิจกรรม ต่าง ๆ ในสังคม ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจจึงควรมีจรรยาบรรณต่อสังคมดังนี้ 6.1 ไม่ประกอบธุรกิจที่ทำให้สังคมเสื่อมทั้งด้านจิตใจและด้านศีลธรรม ซึ่งมีผลให้คนในสังคมขาดคุณธรรม ตลอดจนเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดให้แก่คนในสังคม เช่น การเปิดบ่อนการพนัน ทำธุรกิจที่สนับสนุนให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เช่น รับซื้อของโจร เป็นต้น 6.2 ไม่ทำธุรกิจที่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ค้าไม้เถื่อน การรุกล้ำที่สาธารณะ การปล่อย น้ำเสียลงแม่น้ำลำคลอง เป็นต้น 6.3 มีการป้องกันไม่ให้ธุรกิจเป็นต้นเหตุให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมทั้งด้านเสียง สีและกลิ่น เช่น มีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสีย การเก็บรักษาและทำลายวัตถุมีพิษต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย และการรักษาความปลอดภัย ด้านอื่น ๆ เป็นต้น 6.4 ให้ความเคารพในสิทธิทางปัญญาของบุคคลอื่นหรือธุรกิจอื่น ด้วยการไม่ลอกเลียนแบบโดยไม่ได้รับ อนุญาต 6.5 ให้ความร่วมมือกับทุกฝ่ายในชุมชนเพื่อสร้างสรรค์สังคมโดยการสละเวลา กำลังกาย กำลังทรัพย์ เพื่อความน่าอยู่ของสังคม เช่น ร่วมจัดทำศาลาพักผู้โดยสาร ร่วมปลูกต้นไม้ในสวนสาธารณะ ฯลฯ 6.6 สร้างงานแก่คนในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีรายได้ ทำให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น

นางสาว ศศิธร สิงห์สถิตย์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407042

บริษัทฯ เริ่มเปิดสถานีบริการน้ำมันที่ผลิตได้จากโรงกลั่นของบางจาก ในปี 2535 และได้มีการขยายสถานีบริการและธุรกิจเสริมที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคมาอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันสะอาดที่ดีต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนาบริการที่เพิ่มความสะดวกเป็นประโยชน์ สอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค พร้อมกับมีนโยบายที่จะให้ความรู้ สร้างความตระหนัก ร่วมไปถึงการเชิญชวนให้ลูกค้าผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ผ่านกิจกรรมต่างๆ ที่สถานีบริการน้ำมันของบางจาก บนแนวคิด

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการพัฒนา คุณภาพของผลิตภัณฑ์ และการบริการให้ดียิ่งๆ ขึ้น เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นและความพึงพอใจสูงสุด โดยมีนโยบายส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตรงตาม หรือสูงกว่าความคาดหมายของลูกค้า ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นธรรม และให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ถูกต้องเพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์แก่ลูกค้า โดยไม่มีการกล่าวเกินความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพ ปริมาณ หรือเงื่อนไขใดๆ ของสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้พนักงานพึงรักษาความลับของลูกค้าและไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของ

1. ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อผู้บริโภค : บริษัทฯ เน้นการผลิตและจำหน่ายน้ำมันสะอาดที่ต่อการใช้งานและสิ่งแวดล้อม ลดสารก่อมะเร็ง เขม่า ควันดำและฝุ่นละอองที่เกิดการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ โดยบริษัทฯ พยายามพัฒนาให้ได้คุณภาพดีกว่าและจำหน่ายก่อนเวลาที่ภาครัฐกำหนด ทั้งนี้ทุกผลิตภัณฑ์จะจำหน่ายในราคาสมเหตุผล ด้วยตระหนักดีว่าน้ำมันเป็นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม น้ำมันเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดสิ้นไป การจะเกิดขึ้นใหม่ต้องใช้เวลานานนับล้านปี ดังนั้นเพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืน บริษัทฯ จึงมีนโยบายและได้มีการรณรงค์กระตุ้นเตือนให้ผู้บริโภคประหยัดการใช้น้ำมันด้วยวิธีต่างๆ

ขณะเดียวกันเนื่องจากมีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ และมีราคาสูงขึ้นตามลำดับ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้มากขึ้น บริษัทฯ ได้พัฒนาผลิตและส่งเสริมการจำหน่ายพลังงานทดแทน โดยเฉพาะ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซล อันเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ซึ่งได้ทรงคิดค้นและพัฒนามานานล่วงหน้ากว่า 20 ปี ปัจจุบันสถานีบริการบางจาก มีการจำหน่ายพลังงานทดแทนครบทุกประเภท ได้แก่ น้ำมันแก๊สโซฮอล์E10 E20 และ E85 น้ำมันไบโอดีเซลB5 EURO IV รวมไปถึงก๊าซNGV ด้วย

2. ด้านการบริการ : บริษัทฯ มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่องให้ครบทุกความต้องการ โดยใช้แนวทางการพัฒนาจากผลการสำรวจวิจัยจากลูกค้าที่บริการ และประชาชน ทั้งในด้านการพัฒนาและขยานสถานีบริการให้มากเพียงพอสะดวกในการใช้บริการ รวมไปถึงการร่วมกับผู้ประกอบการสถานีบริการบางจากดูแลความสะอาดของสถานีบริการ ห้องน้ำ การจัดให้มีสวนหย่อมที่สวยงามเพื่อเป็นจุดพักผ่อน มีร้านสะดวกซื้อ มีบริการล้างรถ ซ่อมรถ เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ฯลฯ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคในชุมชนนั้นและขนาดของสถานีบริการ ขณะเดียวกันได้พยายามพัฒนาเรื่องของ ความรวดเร็วในการบริการ นำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้เพื่อตอบสนองต่อการดำเนินชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น บัตรเครดิต การออกใบเสร็จอัตโนมัติ การทำป้ายอิเลคทรอนิคแสดงจำนวนน้ำมันที่เติม แยกออกมาจากตู้จ่ายให้ผู้ใช้บริการเห็นได้ชัดเจน เพื่อป้องกันการเติมน้ำมันไม่ครบปริมาณ รวมไปถึงการพัฒนาสถานีบริการ Self Serve ซึ่งเป็นสถานีบริการรูปแบบใหม่ที่ให้ความประหยัดเพราะได้รับส่วนลดราคาน้ำมันจากการเติมเอง ในภาวะเศรษฐกิจเช่นปัจจุบัน เป็นต้น

3. การเชื่อมโยงผู้บริโภคกับการสนับสนุนช่วยเหลือสังคมผ่านสินค้าและบริการที่สถานีบริการบางจาก ปัจจุบัน บางจาก มีเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันกว่า 1000 แห่งทั่วประเทศซึ่งเป็นจุดที่มีประชาชนมาใช้บริการจำนวนมาก บริษัทฯ ได้สร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่สามารถเป็นประโยชน์ในด้านการให้ความรู้ หรือสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสังคมผ่านการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันไบโอดีเซลและแก๊สโซฮอล์ ที่ต่อเศรษฐกิจประเทศ ช่วยลดโลกร้อน และมีส่วนสนับสนุนสร้างรายได้ให้เกษตรกร หรือการร่วมกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของบริษัทฯ ซึ่งจะมีการนำสินค้าเกษตร / สินค้าชุมชนมาเป็นของสมนาคุณ รวมไปถึงการร่วมกับบัตรสมาชิกแก๊สโซฮอล์คลับ ซึ่งมีช่องทางให้เลือกในการนำเงินส่วนลดจากการเติมน้ำมันไปบริจาคให้กับมูลนิธิที่ขาดแคลนด้านเด็ก ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

4. ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิ์ของผู้บริโภค ปัจจุบันบริษัทฯ มีลูกค้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี นอกเหนือจากการพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากล การบริการที่ปลอดภัย ดีต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องต่อความต้องการแล้ว บริษัทฯ คำนึงถึงสิทธิ์และความเป็นส่วนตัวของลูกค้า และได้พยายามดูแลให้ครอบคลุม

นางสาว สุวิมล ศรีสัง การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407119

การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่ได้โดยอย่างแรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรในด้านสังคม กระแสการต่อต้านจากคนในพื้นที่ลดน้อยลง พนักงานได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี รวมถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นจากผู้บริโภคที่หันมาเลือกซื้อสินค้ากับองค์กรที่ให้ความสำคัญกับ CSR มากกว่าคู่แข่งที่ไม่ได้ทำ CSR ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่พบว่า ผู้บริโภคชาวไทยร้อยละ 90 ยินดีซื้อสินค้า หากสินค้าเหล่านั้นมีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม

ตัวอย่างเช่น บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด

หนึ่งในนโยบายของบริษัท

• ภายใต้โครงการทูตไบเออร์เพื่อสิ่งแวดล้อมโดยความร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อม แห่งสหประชาชาติ (UNEP) เยาวชนที่ได้รับคัดเลือกจาก 19ประเทศทั่วโลกเดินทางไป ทัศนศึกษาเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ที่สำนักงานใหญ่ของไบเออร์ ในเมืองเลเวอร์คูเซ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคอุตสาหกรรมในประเทศพัฒนา โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่เยาวชน ในความพยายามร่วมกันทั่วโลกเพื่อปกป้องและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

• สนับสนุนการประกวดวาดภาพเพื่อสิ่งแวดล้อมสำหรับเด็ก ซึ่งจัดขึ้นร่วมกับ UNEP เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้แสดงออกถึงความกลัวและความหวังของพวกเขาในเรื่องสิ่งแวดล้อม เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมของทุกปี

• ร่วมกับสถาบันเกอเธ่สนับสนุน "เทศกาลภาพยนตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้" เพื่อส่งเสริมความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาในอนาคต

• สนับสนุนการสัมมนาในหัวข้อ "การบริหารจัดการความเสี่ยงสำหรับวัตถุอันตรายโดยวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม" จัดโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์กรความร่วมมือ ทางวิชาการของเยอรมัน (GTZ)

• สนับสนุนโครงการ "รางวัลนวัตกรรมแห่งชาติตั้งแต่ปี 2547" ของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมทางนวัตกรรม และสร้างความตระหนักด้านนวัตกรรม ในภาคอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป

• ร่วมเป็นสมาชิกคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมไทย (TBCSD) ซึ่งมุ่งดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจในประเทศไทยตลอดจนสนับสนุนกลยุทธ์การพัฒนา ประเทศอย่างยั่งยืน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

• เปิดตัวโครงการ "ไบเออร์รวมใจ ใช้ถุงผ้า ท้าโลกร้อน" โดยถุงผ้ากว่า 1,000 ใบได้แจกจ่ายให้กับ พนักงานทุกคนเพื่อสร้างความตระหนักในการปกป้องสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับ โครงการเพื่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศของไบเออร์ระดับโลก

• ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เพื่อสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาและ บุคลากรของ วิทยาลัยเทคนิคระยอง เป็นระยะเวลา ปีการศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2553 จำนวน 10 ทุน พร้อมทั้งจัด ให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติ รวมถึงการจัดหาอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนและ สื่อมัลติมีเดีย เพื่อเพิ่มการพัฒนาทักษะของนักศึกษาและบุคลากรของวิทยาลัยเทคนิคระยอง

• ร่วมมือกับมูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติในการให้การสนับสนุนโครงการ "เรียนรู้เท่าทัน ป้องกันมะเร็งตับ" โดยมุ่งสร้างความตระหนักในการป้องกันโรคมะเร็งตับให้แก่ประชาชน เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ปี (ปี 2552-2554) โดยเริ่มโครงการนำร่องที่ใช้ชื่อว่า "กินสุกแซบหลาย ต้านภัยมะเร็งตับ" ซึ่งจะมีการจัดฝึกอบรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.)รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆ และการลงพื้นที่ เช่น การให้ความรู้เรื่องการป้องกันการเกิดมะเร็งตับแก่กลุ่มเป้าหมาย โดยคณะหมอลำที่มีชื่อเสียง "เสียงอีสาน"

• ศูนย์การผลิตเม็ดพลาสติกโพลีคาร์บอเนตของไบเออร์ไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น ประจำปี 2552 ประเภทการบริหารความปลอดภัย โดยไบเออร์ไทยเป็น 1 ใน 112 บริษัทที่เข้ารับ การพิจารณาคัดเลือกรางวัลโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็น 1 ใน 5 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือก ให้ได้รับรางวัลในประเภทนี้

• ศูนย์การผลิตที่บางปูของไบเออร์ไทยได้รับรางวัลธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมซึ่งจัดโดยการนิคม อุตสาหกรรมบางปู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ประกอบการ ในนิคมอุตสาหกรรมบางปูและชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ นำหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้ในการดำเนินงาน

นางสาว ชุลีพร ใบทับทิม การจัดการทั่วไปกลุ่ม1 524407120

นางสาวจิราภรณ์ นันเขียว 524407005 การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1

โดยธรรมชาติของคนเเล้ว ธรรมชาติมีพื้นของความซื่อสัตย์ เพราะคนที่มีความซื่อสัตย์สุจริต เสมอต้นเสมอปลายจะได้รับความไว้วางใจเเละความน่าเชื่อถือ ทั้งต่อด้านการทำธุรกิจ เเละภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร

ผู้บริหารองค์กรในยุคปัจจุบันต้องขยายแนวคิดนี้ไปสู่พนักงานภายในองค์กร ให้พนักงานมีความตระหนักและความเข้าใจถึงปัญหาด้านจริยธรรมที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การมีความตระหนักและความเข้าใจที่ดีที่ถูกต้อง จะช่วยให้องค์กรอยู่รอดและเจริญเติบโต และได้รับการยอบรับจากสังคม การประกอบการขององค์กรธุรกิจ จึงเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป็นศูนย์รวมของการดำเนินงานเพื่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมจึงเกี่ยวข้องกับทุกคน

..บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด..

โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย มุ่งมั่นเป็นพลเมือง ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยจะยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและมีคุณธรรมตลอดจนส่งเสริมให้พนักงาน ปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรมจนได้รับการยอมรับจากสังคม

จรรยาบรรณ ของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

1. เคารพกฏหมาย กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานต่างๆ

2. เคารพ และคุ้มครอง สิทธิและเสรีภาพของบุคคล

3. ส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงานป้องกันอุบัติเหตุและความเจ็บป่วย และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

4. ไม่รับและไม่ให้ประโยชน์ใดๆ เพื่อการตอบแทนทางธุรกิจโดยไม่ชอบธรรม

5. ไม่ทำการใดๆ ที่เป็นการขัดแย้งกันของผลประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัท และผลประโยชน์ส่วนตัว

6. จัดซื้อและจัดจ้าง อย่างเป็นธรรมและเปิดเผย จัดให้มีการแข่งขันอย่างเสรี

7. ดูแลรักษาและใช้ทรัพย์สินของบริษัท ในทางที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของบริษัท

8. สื่อสารกับสังคมอย่างเปิดเผย ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง รับฟังความคิดเห็นและความต้องการผู้มีส่วนได้เสีย

9. ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับภาครัฐ อย่างเหมาะสม โปร่งใส และสุจริต

10. ร่วมมือกับชุมชนและองค์กรสาธารณะประโยชน์ พัฒนาสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย

11. ทำธุรกิจระหว่างประเทศ ด้วยความเคารพในกฏหมายระเบียบ วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศคู่ค้า

ธุรกิจโออิชิมึความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนี้

โครงการ “ให้” อิ่มท้องเพิ่มรอยยิ้ม

โครงการ “ให้” อิ่มท้องเพิ่มรอยยิ้ม ได้รับเกียรติจากดาราชั้นนำ ลิเดีย-ศรัณย์รัตน์ วิสุทธิธาดา ชาย-ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ หมอก้อง-สรวิชญ์ สุบุญ กระแต-ศุภักษร ไชยมงคล โดนัท-มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ หยวน-นิธิชัย ยศอมรสุนทร ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2554

โออิชิ กรุ๊ป ขอชวนคุณร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการ "ให้" ไปยังผู้ด้อยโอกาสของมูลนิธิต่างๆ ให้ได้รับหนึ่งอิ่มพร้อมรอยยิ้ม กับหนึ่งมื้อจากการแบ่งปันการ "ให้" โดยสมทบทุนผ่านกล่องรับบริจาคหน้าร้านทุกสาขา และเชิญร่วมเดินทางไป "ให้" กับเรา

โครงการ “ให้” มีจุดเริ่มต้นจากการให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนเฉพาะหน้าแก่ผู้ประสบภัยจากเหตุกาณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในประเทศญี่ปุน ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยระดมเงินจากผู้บริจาคชาวไทยผ่านกล่องรับบริจาคร้านอาหารในเครือโออิชิทั่วประเทศ และการกด “LIKE ในหน้าเฟสบุ๊คจากพี่น้องชาวไทย ผ่านทาง facebook.com/oishigroup โดยได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากกลุ่มแฟนเพจที่เข้ามาคลิก LIKE ถึงกว่า 4 แสนครั้ง ทั้งนี้ ได้นำรายได้ทั้งหมดมอบให้แก่สถานทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ตลอดจนการมอบเงินให้แก่ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เพื่อสนับสนุนแผนฟื้นฟูช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ในเวลาต่อมา

“เพื่อเป็นการสานต่อเจตนารมณ์ ในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการ "ให้" อย่างแท้จริงและต่อเนื่อง ในวันนี้ โออิชิ กรุ๊ป จึงได้เปิดตัวโครงการ “ให้” อิ่มท้องเพิ่มรอยยิ้ม ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้ โครงการ “ให้” เพื่อช่วยเหลือเยียวยา และต้องการแบ่งเบาภาระทางสังคม ที่มีต่อผู้ด้อยโอกาส ซึ่งเป็นเด็ก สตรี คนชรา โดยเราเองต้องการเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นในสังคม ในการช่วยสนับสนุนการ “ให้” ให้ขยายไปในวงกว้าง ตลอดจนสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการส่งต่อการ “ให้” ไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยนอกจากการสนับสนุนทางด้านเงินบริจาคผ่านเครือข่ายร้านอาหารของเราที่มีถึงกว่า 120 แห่งทั่วประเทศแล้ว เรายังอยากเชิญชวนให้ผู้มีจิตอาสา เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือสนับสนุนด้านอื่นๆ เช่นกิจกรรมอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสเหล่านี้ โดยในที่สุด เราเชื่อว่า หนึ่งคนให้ ถึงหลายคนรับ...จะส่งผลกลับมาสร้างความสุขใจ ที่ประเมินมูลค่าไม่ได้กับผู้ให้” นายไพศาล กล่าวเพิ่มเติม

ทั้งนี้ โครงการ “ให้” อิ่มท้องเพิ่มรอยยิ้ม ซึ่งเป็นโครงการย่อย ภายใต้โครงการหลัก “ให้” ยังได้รับเกียรติจากดาราชั้นนำ ลิเดีย-ศรัณย์รัตน์ วิสุทธิธาดา ชาย-ชาตโยดม หิรัญยัษฐิติ หมอก้อง-สรวิชญ์ สุบุญ กระแต-ศุภักษร ไชยมงคล โดนัท-มนัสนันท์ พันเลิศวงศ์สกุล และ หยวน-นิธิชัย ยศอมรสุนทร พร้อมด้วยลูกค้า และพนักงานอาสาสมัครของโออิชิ กรุ๊ป ที่มีจิตอาสา รวมตัวกันเข้าร่วมภารกิจ "ให้" ในครั้งนี้ โดยทางโออิชิจะนำผลิตภัณฑ์ในเครือ ทั้งอาหารและเครื่องดื่มไปจัดเลี้ยงอาหารกลางวันให้แก่เด็ก สตรี และคนชราผู้ด้อยโอกาส ขององค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ ทั้ง 6 แห่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมไปถึงการสนับสนุนช่องทางในการระดมทุน ผ่านกล่องรับบริจาคให้แก่องค์กรสาธารณกุศลดังกล่าว ที่ตั้งอยู่ ณ จุดชำระค่าสินค้าและบริการ ในร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือโออิชิ ที่มีถึงกว่า 120 แห่งทั่วประเทศ

โครงการ “ให้” อิ่มท้องเพิ่มรอยยิ้ม มีระยะเวลาดำเนินโครงการต่อเนื่องรวม 6 เดือน ระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2554 โดยจะเดินทางมอบรอยยิ้มและความสุขให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ณ องค์กรสาธารณกุศลต่าง ๆ เดือนละ 1 องค์กร รวม 6 องค์กร ได้แก่

- มูลนิธิบ้านมหาเมฆ กรุงเทพฯ

- บ้านครูมุ้ย อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

- สถานสงเคราะห์เด็กชายปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

- บ้านพักคนชราบางเขนมูลนิธิธารนุเคราะห์ กรุงเทพฯ

- บ้านฉุกเฉิน กรุงเทพฯ

- บ้านนกขมิ้น กรุงเทพฯ

นางสาวศิรประภา ด่อนแผ้ว การจัดการทั่วไปกลุ่ม /1 524407030

ความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน: ผู้จัดการเรนฟอเรสท์ รีสอร์ท

 กระแสความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจในปัจจุบัน ได้ผลักดันให้องค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจต่อปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกเหนือไปจากการมุ่งแสวงหาผลกำไร ถ้าหากผู้ประกอบการธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และให้ความสำคัญในการดำเนินนโยบาย สิ่งนี้จะสร้างความมั่นคงในการดำเนินธุรกิจมากยิ่งขึ้น เพราะ ความยั่งยืนของธุรกิจจะเกิดได้ต่อเมื่อมีความยั่งยืนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สำหรับเนื้อหาในการบรรยาย เป็นการบรรยายเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมสู่การพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยยกกรณีศึกษาจากเรนฟอเรสท์ รีสอร์ทแกนนำในการก่อตั้งชมรมรักษ์ลำน้ำเข็ก

 ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ ก็เหมือนกับการออกกำลัง ที่เราจะต้องเสียสละเวลา เสียสละแรงกาย แต่สิ่งที่เราได้รับคือ การมีสุขภาพที่ดี อายุยืนยาว การทำดีกับสังคมก็เช่นเดียวกัน เราต้องรู้จักการเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อส่วนรวม แต่สิ่งที่เราจะได้กลับคืนมาก็คือความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่มีส่วนช่วยให้ธุรกิจเราเติบโตอยู่ได้อย่างยั่งยืน
          เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท ได้มีการจัดการความรับผิดชอบต่อสังคม 3 ส่วนด้วยกันคือ ชุมชน สิ่งแวดล้อมและพนักงาน เมื่อสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแล และชุมชนได้รับการเอาใจใส่ นักท่องเที่ยวหรือลูกค้าย่อมประทับใจบอกต่อและกลับมาใช้บริการอีก เนื่องจาก ลูกค้าจะให้การสนับสนุนองค์ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม นอกจากนี้ พนักงานของเรายังเกิดความภักดีกับองค์กรมากขึ้น เพราะ เราใช้การจ้างงานจากคนในพื้นที่ เราทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนที่ครอบครัวของพนักงานอาศัยอยู่ให้ดีขึ้น และผลพลอยได้ที่ธุรกิจจะได้รับก็คือ กิจการเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
          สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคมกับชมรมรักษ์ลำน้ำเข็ก เช่น ล่องแก่งเก็บขยะ พัฒนาความสะอาดแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น สามารถติดต่อเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ เรนฟอเรสท์ รีสอร์ท โทรศัพท์ 055-293085-6
          จากที่ได้รับความรู้จาก คุณณัฐวัฒน์ วัฒนาประสิทธิ์ ผู้จัดการเรนฟอเรสท์รีสอร์ท ได้ให้ข้อคิดว่า "ธุรกิจอยู่ได้ เพราะสังคมและสิ่งแวดล้อม การเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน ระหว่างธรรมชาติและมนุษย์ จะนำมาซึ่งความยั่งยืน"

นางสาวรุ่งอรุณ  ชะอุ้ม การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 รหัส 524407022

 

นางสาวปิยะฉัตร โพธิ์ผา การจัดการทั่วไป ก.2 524407074

ในปัจจุบันผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆเริ่มกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น โดยเฉพาะองค์การ หน่วยงาน หรือธุรกิจต่างๆ ตัวอย่างเช่นเราจะเห็นได้จากห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆหลายแห่ง เช่น บิ๊กซี โลตัส แมคโครที่หันกลับมามองสังคม โดยนำส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากยอดขายมาช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส หรืออย่างช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยต่างๆ อย่างเช่นตอนนี้ประเทศเรากำลังประสบปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมอยู่ จะเห็นได้ว่ามีหน่วยงานต่างๆเข้ามาช่วยเหลืออย่างมากมาย เช่น หน่วยงานของภาครัฐ หน่วยงานของสถานีโทรทัศน์ต่างๆ และบริษัทธุรกิจต่างๆอีกมากมาย เป็นต้น ทั้งนี้หน่วยงานต่างๆที่กล่าวถึงนอกจากจะได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพพจน์ที่ดีต่อองค์ของตนเองอีกด้วย รวมถึงธุรกิจหลายๆธุรกิจที่ตอนนี้เริ่มหันกับมาสนใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ซึ่งบางหน่วยงานหรือบางธุรกิจถึงกับมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าไปในองค์การของตนเองด้วย นอกจากนี้ยังมีการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เช่นมีการใช้ถุงพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ มีของที่ใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เช่นกระดาษบางครั้งอาจใช้ไปหน้าเดียวก็จะนำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง เป็นต้น

นางสาว จินตนา อิทร์อ่อน รหัส 524407004 การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1

บริษัทมิตซุยแอนด์คัมปนี (ไทยแลนด์) จำกัด กับกิจกรรม CSR

CSR ในการบริหารองค์กร

เนื่องจากบริษัทมิตซุยแอนด์คัมปนี (ไทยแลนด์) จำกัดเป็นบริษัทย่อยในเครือมิตซุย ดังนั้นบริษัทฯ จึงได้รับเอาหลักบรรษัทภิบาล (Corporate Governance) หลักการควบคุมภายในองค์กร (Internal Control) และแผนงานการปฎิบัติตามกฎระเบียบ (Global Compliance Program) มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการบริหารองค์กร โดยบริษัทฯ ได้จัดการอบรมแผนงานการปฎิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance Program) หลักเกณฑ์ในการดำเนินธุรกิจ (Code of Conduct) และการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ Yoi-Shigoto (good quality work) ขึ้นเป็นระยะ ๆ ให้แก่พนักงานในทุกระดับชั้น ทั้งนี้เพี่อให้มั่นใจว่าพนักงานของมิตซุยทุก ๆคนจะมีความรู้และคุ้นแคยกับกฎระเบียบต่าง ๆ และจะสามารถปฏิบัติภาระหน้าที่ประจำวันตามกฎระเบียบอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายและหลักจรรยาขององค์กร

การทำประโยชน์แก่สังคม : (Social Contribution) โครงการห้องสมุดมิตซุย

จากหลักปรัชญาในการบริหารของมิตซุยที่มุ่งพัฒนาตนเองและผู้ร่วมงานให้บรรลุศักยภาพสูงสุดนั้น บริษัทฯ เชื่อว่าการศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ดังนั้นกิจกรรมการทำประโยชน์แก่สังคมของเราจึงมุ่งในด้านการ ศึกษา

เนื่องจากห้องสมุดของโรงเรียนประถมส่วนใหญ่ที่อยู่ในชนบทของประเทศไทยมีสภาพทรุดโทรม อีกทั้งยังขาดแคลนหนังสืออ่านที่เหมาะสมสำหรับเด็กนักเรียน บริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการห้องสมุดมิตซุยขึ้นในปีค.ศ. 2006 ในวาระครบรอบ 100 ปีของการก่อตั้งบริษัทมิตซุยแอนด์คัมปนี (ไทยแลนด์) จำกัด ขึ้นในประเทศไทย

โครงการห้องสมุดมิตซุยได้ดำเนินไปอย่างเข้มแข็งและจริงจัง โดยยึดถือหลัก Yoi-Shigoto (good quality work) โดยโรงเรียนใดที่ยังไม่มีห้องสมุดเป็นเอกเทศ บริษัทฯ ก็ได้จัดสร้างอาคารห้องสมุดให้ สำหรับโรงเรียนที่มีห้องสมุดอยู่แล้ว บริษัทฯ ก็ได้ทำการปรับปรุงห้องสมุดให้มีบรรยาการเหมาะสมแก่การอ่านหนังสือ พร้อมทั้งจัดหาหนังสือสำหรับเด็กนักเรียน จวบจนปัจจุบัน บริษัทฯ ได้บริจาคห้องสุมดให้แก่โรงเรียนจำนวนทั้งสิ้น 12 โรงเรียน ดังรายชื่อต่อไปนี้ โรงเรียนบ้านห้วยพลู จังหวัดฉะเชิงเทรา โรงเรียนบ้านปราสาท จังหวัดสุรินทร์ โรงเรียนบ้านห้วยไร่สามัคคี จังหวัดเชียงราย โรงเรียนวัดน้ำพุ จังหวัดอ่างทอง โรงเรียนวัดสิงห์ จังหวัดนนทบุรี โรงเรียนบ้านซับไทรทอง จังหวัดนครราชสีมา โรงเรียนบ้านนาไก่เขี่ย จังหวัดพิษณุโลก โรงเรียนบ้านควนนกหว้า จังหวัดพัทลุง โรงเรียนบ้านท่าหนองเทา จังหวัดอุดรธานี โรงเรียนอนุบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โรงเรียนวัดแสลง จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนบ้านหนองตาเย็น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

นางสาวณัฏสินี ศิริพันธ์ การจัดการทั่วไป ก.2 524407064

บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

ปตท. ถือว่าการบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม มีความสำคัญ และจำเป็นต่อธุรกิจ โดยมุ่งมั่นส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานในองค์กรดำเนินงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ โดยมีแนวทางยึดถือและปฏิบัติ ดังนี้

มุ่งเน้นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร ด้วยกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ปฏิบัติตามกฎหมายในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง โดยถือเป็นบรรทัดฐานเบื้องต้น ถือว่าความปลอดภัยเป็นหัวใจในการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นการบริหารความเสี่ยงและ ควบคุมความสูญเสียจากอุบัติเหตุ อัคคีภัย ทรัพย์สินเสียหาย การละเมิดระบบรักษาความปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล ดูแลในเรื่องอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุ การบาดเจ็บ หรือการเจ็บป่วยจากการทำงาน

ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ผู้บริหารทุกหน่วยงานมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้เป็นไปตามนโยบายและเป้าหมายที่กำหนด

น.ส. ลลิตา นวลทิม การจัดการทั่วไป 2 รหัส 524407085

นางสาวทิพยาภรณ์ อินทร์ภู่ รหัส 527704009 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเพื่อสังคมมาตลอด โดยใช้แนวคิดที่ว่า ทุกๆวันของ CP คือ CSR โดยเกือบ 90 ปีแล้ว ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ ดำเนินธุรกิจบนหลักปรัชญา 3 ประโยชน์ของประธานธนินท์ เจียรวนนท์ นั่นคือ ธุรกิจที่ทำต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อบริษัท นับเป็นการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมมาอย่างยาวนาน ซีพีเอฟนำปรัชญานี้มาถ่ายทอดเป็นวัฒนธรรมองค์กร หรือ Core Value ซึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องมาก่อน คือ การตอบแทนคุณแผ่นดิน

โครงการซีพีเอฟเพื่อชีวิตยั่งยืน ซีพีเอฟร่วมกับองค์กรสาธารณกุศล คือ มูลนิธิพัฒนาชีวิตชนบท เพื่อสานต่อเจตนารมณ์ การดำเนินกิจกรรมด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน ให้สอดคล้องกับแนวพระราชดำริ ผ่านการประสานงานกับทุกหน่วยงานในองค์กร และหน่วยงานภายนอกหลายภาคส่วน ตลอดจนอาสาสมัคร องค์กรเอกชนและสาธารณกุศล นอกจากนี้ ได้ร่วมสนับสนุน Business Unit ต่างๆ เพื่อริเริ่มและสานต่อกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมในด้านต่างๆ ซีพีเอฟถือกำเนิดโครงการและกิจกรรมหลากหลาย ทุกโครงการจะผ่านการวางกลยุทธ์ ที่ให้ความสำคัญและคำนึงถึงลูกค้า สิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม ผู้ถือหุ้น พนักงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด สิ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การเป็นบรรษัทภิบาล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในระยะยาว โครงการซีพีเอฟเพื่อชีวิตยั่งยืน แบ่งเป็น 6 ด้านหลัก

1. ด้านสุขภาพเเละอนามัยผู้บริโภค

2. ด้านสาธารณประโยชน์

3. ด้านรักษ์สิ่งเเวดล้อมและพลังงาน

4. ด้านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

5. ด้านกีฬา

6. ด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี

***นางสาวทิพยาภรณ์ อินทร์ภู่ รหัส 527704009 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)***

นางสาวอารี นิ่มชัยพงศ์ 524407118 การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1

สิ่งที่มีคุณค่าที่สุดของความรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม หรือ "CSR" ที่องค์กรระดับโลกเชื่อมั่นว่าจะนำพาธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ไปสู่ความยั่งยืนร่วมกันนั้น ไม่ได้อยู่ที่หลักการที่พยายามสร้างความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจเท่านั้น

หากแต่เป็น "ผล" ของการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นร่วมมือร่วมใจกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ

การตั้งใจทำอย่างจริงจังและจริงใจนี้เองที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และนำองค์กรธุรกิจไปสู่การเติบโตในสังคมได้อย่างเป็นสุขและยั่งยืน คำถามก็คือ ทำอย่างไร

สำหรับบริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

นางสาวนิภาพร ตุ้มพงศ์ รหัส 524407011 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)

Eucerin

ยูเซอรินมีการบริหารจัดการแบบยั่งยืน และคำนึงถึงความรับผิดชอบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม

และสังคม การทำงานของเราไม่ได้ดูจากความสำเร็จทางด้านธุรกิจเท่านั้น แต่คำนึงถึงการ

รักษาสิ่งแวดล้อมความปลอดภัยในการทำงาน และการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม

อีกด้วย ที่ยูเซอริน เรามีวัฒนธรรม ในการทำงานที่มีพื้นฐานมาจากความเชื่อมั่นความยุติธรรม

การมอบโอกาสในการพัฒนาที่เท่าเทียมกัน และต่อต้านการแบ่งแยกและความไม่ซื่อสัตย์

ความรับผิดชอบต่อสังคมของเรามุ่งเน้นไปยังสามด้านหลักๆ อันได้แก่ การศึกษา ครอบครัว

และวัฒนธรรม โดยมุ่งพัฒนาโอกาสของเยาวชน เรามีการร่วมมือกันในระยะยาวกับองค์กรต่างๆ

เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการของเราให้เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละชุมชน

นางสาวนิภาพร ตุ้มพงศ์ รหัส 524407011 การจัดการทั่วไป(กลุ่ม 1)

นางสาวเรขา อาจองค์ การจัดการทั่วไปกลุ่ม 1 รหัส 524407023

การให้เพื่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นสามารถทำได้อย่างหลากหลาย การให้เงินบริจาคตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงลักษณะหนึ่งที่มีมานานแล้วเท่านั้น ปัจจุบันแนวคิดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดด้านการให้ต่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นก็คือสิ่งที่เรียกกว่า ‘การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate social responsibility)’ ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามเราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจรูปแบบ กลไก และประโยชน์ของ CSR อย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้ CSR กลายเป็นเพียงกระแสฮิตทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หรือการที่ภาคธุรกิจอาจจะเข้าใจ CSR ว่าเป็นลักษณะการสร้างภาพชนิดหนึ่งหรือเป็นมาตรฐานอุตสาหะกรรมอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น

ตัวอย่าง เช่น บริษัท ซีรอกซ์ ผูผลิตเครื่องถ่ายเอกสาร พัฒนาสายการผลิตรูปแบบใหม่ เอาเครื่องเก่ามาแลกเครื่องใหม่ ผู้ใช้ก็จะได้ใช้ของคุณภาพดี ราคาประหยัดขึ้น ในขณะที่บริษัทฯ ก็สามารถนำอุปกรณ์ อะไหล่จากเครื่องเก่า มาใช้ใหม่ หรือดัดแปลง นำกลับไปใช้แล้วใช้อีกให้คุ้มค่าอย่างที่สุด ลดต้นทุน ลดขยะสู่สิ่งแวดล้อม แนวคิดนี้ ทำให้ ซีรอกซ์ ลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 500 ล้านดอลลาร์ ต่อปี ซึ่งถือเป็น 2.5% ของยอดายของบริษัท และด้วยแนวคิดนี้ทำให้ ซีรอกซ์สามารถดำรงอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ ทั้งๆ ที่นวัตกรรมเครื่องพิมพ์ ออกมาแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมาก (ซึ่งถ้ายังใช้วิธี ใช้แล้วทิ้ง เก่าแล้วเลิกใช้ ไม่รับเปลี่ยนหรือคืน ประชาชนคงเลิกใช้ และบริษัท ซีรอกซ์คงล้มละลายไปนานแล้ว)

จากกรณี ซีรอกซ์ พบว่า การที่บริษัทเกื้อประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นจุดขายที่พิเศษ Unique Advantage ของบริษัทที่ยากจะมีใครมาโจมตี หรือแข่งขัน เพราะ การเน้นที่คุณภาพสินค้าอย่างเดียวเมื่อถูกพัฒนามาจนถึงที่สุดแล้ว ก็ต้องมาแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ ด้วยราคา Pricing แต่ถ้าเราแข่งที่ “นวัตกรรม” ซึ่งยากที่คู่แข่งจะตามได้

นางสาว ภัทรวิจิตรา ปารี 524407016 การจัดการทั่วไป กลุ่ม1

การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม

(Corporate Social Responsibility –CSR)

บางจาก แก๊สโซฮอล

ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม

ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ

ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization

ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง

สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

นางสาวพิศิพร ทัศนา การจัดการทั่วไป กลุ่ม 1 524407014

เราทุกคนต้องรัยผิดชอบต่อสังคนร่วมกัน เพราะเราอยู่ด้วยกันเป็นสังคม

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองเรื่องนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทมีความชัดเจนว่า บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

นางสาว วัลภา เสาเอี่ยม การจัดการทั่วไป กลุ่ม1 524407025

บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หรือโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี มีนโยบายดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม(Corporate Social Responsibility; CSR) ด้วยความตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและชุมชนโดยรอบ รวมทั้งใส่ใจดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง  มีเจตนารมณ์ที่จะทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมุ่งสร้างและสืบสานความสัมพันธ์อันดีที่เกิดจากการยอมรับและไว้วางใจซึ่งกันและกัน คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ชุมชนที่บริษัทฯ ประกอบกิจการอยู่ ลูกค้า คู่ค้า และหน่วยงานภาครัฐตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติ พร้อมทั้งสร้างทัศนคติและวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้พนักงานมีความรับผิดชอบต่อสังคมที่อยู่ร่วมกัน       

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้

  1. ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม
  2. ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ
  3. ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization
  4. ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์
  5. ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง
  6. สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

 

ผู้ประกอบการควรมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยการทำประโยชน์เพื่อสังคมไม่เห็นแก่ตัวและทำประโยชน์ให้กับสังคม

การขับเคลื่อนเรื่อง CSR ไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างที่หลายคนเข้าใจ หากแต่ให้ความสำคัญในเรื่องความยั่งยืน ด้วยการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ซึ่งเป็น 3 ปัจจัยสำคัญของการรับผิดชอบต่อสังคม

ขณะที่ ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทมองเรื่องนี้เป็นเหมือนวัฒนธรรมองค์กรที่บริษัทมีความชัดเจนว่า บางจากฯ เป็นบริษัทคนไทยที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม ที่สำคัญการรับผิดชอบต่อสังคม ไม่จำเป็นต้องใช้เงินมาก ไม่เช่นนั้นในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจบริษัทคงไม่สามารถทำได้ แต่องค์กรมีคนและมีของ ตัวอย่างคือ โครงการสนุกทางวิทยาศาสตร์กับน้ำมันบางจาก ที่บริษัทเปิดโรงกลั่นน้ำมันให้เด็กเข้าชม ซึ่งสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้เด็ก กิจกรรมเพื่อสังคมแบบนี้ไม่ต้องใช้เงิน แต่ใช้สิ่งที่มีอยู่ตอบแทนให้กับสังคม

นางสาวณัฐพร ชัยวัน รหัส 524407066

การจัดการทั่วไปกลุ่ม2

นางสาว สุทิสา กิจสติ การจัดการทั่วไป กลุ่ม1 524407036

Corporate Social Responsibility : CSR หมายถึง การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ภายใต้แนวคิด “ ทุกองค์การควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ”

การดำเนินการของธุรกิจจะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ “ องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎหมายและเสียภาษีหรือไม่ ? แต่จะรวมไปถึง "องค์กรจะปฏิบัติต่อลูกจ้างพนักงานอย่างไร? ใส่ใจลูกค้า ผู้บริโภค หรือเปล่า? ใส่ใจที่จะปกป้องดูแลสภาพแวดล้อมหรือไม่? ”

การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม

Stakeholder คือ คน กลุ่มคน และองค์กร ที่มีความเกี่ยวข้องประสานงานกัน และได้รับผลประโยชน์ขององค์กร

- stakeholders ที่มีความสนิทสนมกัน และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจนั้น เรียกว่า Primary Stakeholders

- stakeholders ที่มีความเกี่ยวข้อง และผลประโยชน์โดยอ้อมกับธุรกิจนั้น เรียกว่า Secondary Stakeholders

CSR มุ่งวางพื้นฐานด้านค่านิยม (Value) และวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์การ อย่างจริงใจ เป็นการวางรากฐานด้านความรับผิดชอบต่อตนเองของบุคคลกรในองค์กรทุกระดับชั้น โดยการปลูกฝังค่านิยมด้านศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งแนวทางการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นรากฐานที่จะนำบุคลากรไปสู่พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม

.....และเมื่อทุกคนสามารถหล่อหลอมพฤติกรรมดังกล่าวร่วมกันได้ก็จะทำให้เกิดค่านิยมร่วมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-Share Value)ขึ้นในองค์การ โดยค่านิยมดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้บุคคลากรในองค์การสะท้อนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ภายนอกได้อย่างเป็นธรรมชาติ

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISOได้จัดทำข้อเสนอการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) คือ ISO 26000 เนื่องจากแนวโน้มของโลกในอนาคตจะมีการยอมรับมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ให้เป็นนโยบายสาธารณะของประเทศ

การศึกษาถึงแนวโน้ม และการเชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรให้เข้ากับกระแสต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่ง อาจเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินงานขององค์กรประสบความสำเร็จก็ว่าได้

บันได 3 ขั้น" ... สู่ธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม

โดยนายอานันท์ ปันยารชุน กล่าวในงานปาฐกถา "ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์ใหม่ของธุรกิจไทย"

"การดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบการ แต่ในทางกลับกันการดำเนินการที่ดีนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ประกอบการด้วย หรือเป็นการดำเนินการที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์ (win-win solution)"

พร้อมทั้งเสนอแนวคิด "บันได 3 ขั้น" ในการสร้างให้ธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์

ต้องเริ่มจากข้างใน

"บันไดขั้นแรก" ธุรกิจต้องพัฒนาตนเองเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

"ธุรกิจที่บอกว่ารับผิดชอบนั้นต้องไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจยังคงใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นความสำคัญ หรือโรงงานยังคงปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ถึงแม้ว่าจะใช้เงินมากมายในการดำเนินกิจกรรมต่อสังคม แต่เราคงไม่สามารถกล่าวอ้างได้เต็มปากว่าเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง"

สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมองการบูรณาการหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 หรือระบบการจัดการสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแนวทางการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น การลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย การลดการใช้น้ำและพลังงาน การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย ฯลฯ การดำเนินการที่ว่านอกจากจะเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังลดการสูญเสียภายในองค์กรไปพร้อมๆ กัน

"...ธุรกิจในโลกวันนี้ตื่นตัวเรื่องนี้อย่างมาก อย่างบริษัทดูปองท์ในสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการลดการใช้สารเคมี โดยการใช้การล้างหัวฉีดน้ำแรงดันสูงแทนการล้างด้วยสารละลายหรือสารเคมี บริษัทซีร็อกซ์ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อนำสารสกัดจากเปลือกส้มมาใช้แทนสารละลายที่เป็นพิษ"

เชื่อมโยงสู่สังคม

บันไดขั้นที่สอง ธุรกิจต้องสร้างชุมชนน่าอยู่และสังคมเข้มแข็ง "

เมื่อก้าวผ่าน บันไดขั้นแรก ในการพัฒนาองค์กรกับสังคมให้สอดคล้องกันแล้ว องค์กรจะต้องมองไปสู่ภายนอกในการประสานเชื่อมโยงองค์กรเข้าสู่ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นบท บาทสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าธุรกิจและสังคมไม่สามารถแยกจากกันได้"

"หากเปรียบเทียบธุรกิจเป็นเหมือนเรือ ชุมชนและสังคมในฐานะผู้บริโภคก็เปรียบเสมือนน้ำที่ช่วยพยุงเรือนั่นเอง ถ้าไม่มีน้ำช่วยหนุนส่งเรือก็ไม่สามารถแล่นได้"

การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ไม่เพียงเป็นประโยชน์จากการคืนกำไรกับสังคม แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย

"หลายองค์กรในปัจจุบันมีการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือการพัฒนาเยาวชน"

อาทิ โครงการลูกโลกสีเขียวของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมดูนกของบริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทโตโยต้า

ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์

"บันไดขั้นที่ 3" คือการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

เพราะการใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารจากองค์กรไปสู่สังคม ซึ่งจะมีผลไม่เพียงเผยแพร่ผลงานขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบ หากแต่เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกระตุ้นเตือนสังคมในการให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น

"บันไดขั้นที่ 3" จึงเป็นบันไดที่สร้างผลประโยชน์ใน 2 ทาง ประการหนึ่งเป็นการสร้างความนิยมและสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ประการหนึ่งยังทำบทบาทในฐานะการเป็นสื่อการเรียนรู้

"สื่อสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เสมือนเป็นการศึกษานอกโรงเรียนที่จะเป็นการปลูกฝังแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาไปสู่สังคมที่ยั่งยืนในระยะยาว..."

การพัฒนาที่ไม่ได้หมายความถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล !!!

นางสาว อรุณโรจน์ พวงโต การจัดการทั่วไป กลุ่ม1 524407040

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท [1] หรือ ซีเอสอาร์ (อังกฤษ: corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ

หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน

[แก้]ความรับผิดชอบทางสังคมหลากหลายมิติ

ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัทมีหลากหลายด้าน ดังต่อไปนี้

ด้านสิ่งแวดล้อม - ธุรกิจอาจก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหลากหลายรูปแบบ อาจก่อมลภาวะต่ออากาศ มลภาวะทางเสียง ต่อแม่น้ำลำคลอง ต่อน้ำฝน ต่อน้ำผิวดิน เป็นต้น เช่นธุรกิจสารเคมีอาจก่อพิษภัยทั้งในลักษณะพิษที่เกิดทันทีอย่างเฉียบพลัน หรือค่อยๆ สะสมพิษร้ายทีละน้อยๆ เกิดผลกระทบแบบเรื้อรัง หรือตายผ่อนส่ง ธุรกิจที่ก่อผลร้ายเช่นนี้ต้องมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดผลร้ายอย่างได้ผล จึงจะถือว่ารับผิดชอบต่อสังคม

ด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ธุรกิจอาจแย่งใช้น้ำจากแหล่งน้ำเดียวกันกับชุมชน อาจใช้ทรัพยากรธรรมชาติชนิดที่ใช้แล้วหมด ธุรกิจจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อชุมชนโดยรอบ และต่อสังคมในภาพรวม ที่จะไม่ก่อปัญหาแบบไร้ความรับผิดชอบ

ด้านความเป็นธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ - การจ่ายค่าแรง ค่าจ้าง ค่าชดเชย ค่าดูแลสุขภาพ อย่างเป็นธรรม การจัดสถานที่ทำงานให้เป็น healthy workplace และ happy workplace การจัดให้เป็น learning organization

ด้านจิตวิญญาณของผู้คน - ธุรกิจที่มุงผลกำไรสูง มองความสำเร็จที่ผลกำไร มองความสามารถคู่กับผลได้ทางวัตถุ และเงินเดือน มีแนวโน้มที่จะสร้างวัฒนธรรมวัตถุนิยมสุดขั้ว เพิ่มพูนความโลภ หย่อนด้านจิตวิญญาณ หย่อนด้านความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์

ด้านความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจ - ทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต และรักษาผลประโยชน์ตามหลัก BSC - Balanced Score Card คือต่อผู้ถือหุ้น ต่อลูกค้าหรือคู่ค้า ต่อพนักงาน และต่อสังคมวงกว้าง

สำคัญที่จิตสำนึก ที่แสดงออกทางการปฏิบัติ และมีคำอธิบาย

[แก้]ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคมในมิติของความเป็นมนุษย์

มิติของความเป็นมนุษย์ คือความเคารพ เห็นคุณค่า ซึ่งกันและกัน สร้างความสัมพันธ์ในลักษณะมนุษย์สัมผัสมนุษย์ อย่างคนที่เท่าเทียมกัน เห็นอกเห็นใจกัน นี่คือสัมผัสที่ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีภาพของความยิ่งใหญ่และทันสมัย ควรได้สร้างขึ้น ผ่านกิจกรรม ธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม (CSR)

รัสมี ศรีเจริญ 54407201 4/54

ธุรกิจร้าน The pizza company

การให้เพื่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นสามารถทำได้อย่างหลากหลาย การให้เงินบริจาคตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงลักษณะหนึ่งที่มีมานานแล้วเท่านั้น ปัจจุบันแนวคิดที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดด้านการให้ต่อสังคมโดยภาคธุรกิจนั้นก็คือสิ่งที่เรียกกว่า ‘การรับผิดชอบของธุรกิจต่อสังคม (Corporate social responsibility)’ ซึ่งเป็นแนวคิดทางธุรกิจที่กำลังกลายเป็นกระแสไปทั่วโลก อย่างไรก็ตามเราจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจรูปแบบ กลไก และประโยชน์ของ CSR อย่างแท้จริง เพื่อไม่ให้ CSR กลายเป็นเพียงกระแสฮิตทางธุรกิจที่เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว หรือการที่ภาคธุรกิจอาจจะเข้าใจ CSR ว่าเป็นลักษณะการสร้างภาพชนิดหนึ่งหรือเป็นมาตรฐานอุตสาหะกรรมอีกอย่างหนึ่งเท่านั้น

น.ส.รัศมี ศรีเจริญ 544407201 4/54

นางสาวละอองดาว เปรมกมล การจัดการทั่วไป 54/4 544407203

มาตรฐานการแสดงความรับผิดชอบของผู้ประกอบการต่อสังคม

สำหรับขอบเขตการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น ยังไม่ได้มีการกำหนดเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการที่ชัดเจน ดังนั้นแต่ละอุตสาหกรรมจึงมีแนวทางในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมที่แตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำมาตรฐานความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม (Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Works : CSR-DIW) เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกกลุ่มอุตสาหกรรมนำไปปฏิบัติและพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 26000 ที่คาดว่าจะประกาศใช้ภายในปี พ.ศ. 2553 โดยมาตรฐานความรับผิดชอบของโรงงานอุตสาหกรรมต่อสังคม (CSR-DIW) มีหลักการอยู่ 10 ประการ คือ

1. การปฏิบัติตามกฎหมาย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรตั้งใจที่จะปฏิบัติตามกฎหมายทั้งในเชิงรุกและเชิงรับอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ครอบคลุมถึงการรับผิดชอบต่อการกระทำที่เป็นเรื่องส่วนตัวของสมาชิกของโรงงานอุตสาหกรรม

2. การเคารพต่อแนวปฏิบัติสากล ผู้ประกอบอุตสาหกรรมควรที่จะยอมปฏิบัติตามสนธิสัญญาสากลคำสั่ง คำประกาศ อนุสัญญา มติ และข้อแนะนำ ที่ได้รับการรับรองจากองค์กรระดับประเทศที่เกี่ยวข้องกับโรงงานอุตสาหกรรมนั้นๆ

3. การยอมรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรยอมรับว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจมีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินการผลิตภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์พลอยได้ของกิจกรรมของตน โดยควรหารือและเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมของโรงงานอุตสาหกรรม และให้ได้รับทราบถึงนโยบายข้อเสนอ และการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อข้อมูลต่างๆ เช่น นโยบาย ข้อเสนอ และการตัดสินใจที่มีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการชี้บ่งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียการกำหนดวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสาร และการพิจารณาความเห็นที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้มีส่วนเสีย

4. ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรแสดงและอธิบายให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้ทราบอย่างชัดเจนและสมเหตุสมผลถึงหน้าที่ นโยบาย การตัดสินใจและการกระทำที่โรงงานอุตสาหกรรมรับผิดชอบและผลกระทบที่มีหรืออาจมีต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โรงงานอุตสาหกรรมควรแสดงถึงวัตถุประสงค์และความก้าวหน้า ความสำเร็จและความล้มเหลว และอุปสรรคและโอกาสของโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควรมีการรายงานอย่างสม่ำเสมอด้วยความระมัดระวัง โดยคำนึงถึงในแง่การค้าหรือความปลอดภัยอื่นๆ

5. ความโปร่งใส ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีความตั้งใจในการเปิดเผยโครงสร้างภายใน นโยบาย

กฎระเบียบ วิธีป้องกันความรับผิดชอบ กระบวนการตัดสินใจ และข้อมูลอื่นๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

6. การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีความพยายามอย่างต่อเนื่องใน “การบรรลุความต้องการในปัจจุบันโดยไม่ทำให้ความต้องการของคนรุ่นอนาคตเสียไป” การพัฒนาอย่างยั่งยืนอาจพิจารณาได้หลายมิติ ทั้งด้านสังคม (รวมถึงด้านวัฒนธรรม) สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ซึ่งควรเป็นไปอย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่เป้าหมาย ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง โดยคำนึงถึงสวัสดิภาพของสังคมโลกทั้งในปัจจุบันและอนาคต และเพื่อการจัดการความอุดมสมบูรณ์และทรัพยากรธรรมชาติ

7. การปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรมีการบริหารจัดการและดำเนินการกิจกรรมของตนในลักษณะที่มีศีลธรรมจรรยาและน่าชื่นชมยกย่อง ซึ่งประกอบด้วยความจริงใจ ความซื่อสัตย์และความซื่อตรง ตัวอย่างของการปฏิบัติที่ไม่มีจริยธรรม เช่น คอร์รัปชัน ความไม่ซื่อสัตย์ การบิดเบือน การข่มขู่ การเลือกปฏิบัติ และการเล่นพรรคเล่นพวก

8. หลักการป้องกันล่วงหน้า ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ควรทำการคาดการณ์ล่วงหน้าอย่างรอบคอบในการกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายและรักษาผลประโยชน์ของตน ในกรณีที่มีความเสี่ยงการป้องกันล่วงหน้าสำคัญอย่างยิ่งในกรณีที่มีความเสี่ยงหรือความเสียหายร้ายแรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อสุขภาพและทรัพย์สินของมนุษย์ หรือต่อสิ่งแวดล้อม การป้องกันล่วงหน้าควรพิจารณาผลลัพธ์ของการดำเนินการในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งควรมีข้อมูลและองค์ความรู้ครบถ้วนมารองรับก่อนตัดสินใจดำเนินกิจกรรมใดๆ เครื่องมือสำคัญสำหรับการใช้หลักการนี้ คือ การประเมินความเสี่ยง และการทบทวนอย่างรอบคอบ

9. หลักการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรดำเนินนโยบายและกิจกรรมที่สอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและประกาศจากองค์กรระดับสากล

10. หลักการเคารพต่อความหลากหลาย ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมควรจ้างงานโดยไม่เลือกปฏิบัติในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว ศาสนา อายุ เพศ หรือความคิดเห็นทางการเมือง

ตัวอย่าง

บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ชัดเจนมากในด้านการช่วยเหลือชุมชน โดยใช้ร้านมินิมาร์ทในปั๊มบางจากเป็นสถานที่แสดงสินค้าชุมชน และยังจัดกิจกรรมประกวด “ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากภูมิปัญญาไทย” นอกจากนี้ยังมีโครงการ “ปันเงินเดือน” จากพนักงานมาเป็นกองทุนในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ซึ่งจะนำมาสบทบกับเงินหนึ่งสตางค์ ที่ได้จากการเติมน้ำมันทุกๆ หนึ่งลิตร(ซึ่งเป็นส่วนของผลกำไรของบริษัท ไม่ได้ไปเพิ่มในราคาน้ำมัน) จะปันเข้าสู่กองทุน เพื่อนำไปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่อไป ซึ่งการปัน “เศษ” เงินจากพนักงานและผลกำไรของบริษัท เป็นแนวคิดที่น่าสนใจมากในการทำ CSR ในระดับการบริจาค (Philanthrophy) เพราะได้ให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้า พนักงาน และชุมชนที่ได้รับการช่วยเหลือในรูปของกิจกรรม หรือทุนสนับสนุนต่างๆ

วรรณนิษา กล่อมดี 4/54 204

ปั้มน้ำมัน

เมื่อพูดถึงจริยธรรม คนส่วนใหญ่มักจะมองเป็นเรื่องภายในองค์กร แต่ในสภาพที่กว้างกว่าธุรกิจมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในการดำเนินธุรกิจด้วย ซึ่งหมายรวมถึงลูกค้า ผู้ใช้บริการ คู่ค้า หน่วยงานของรัฐตลอดจนสังคมและชุมชน ธุรกิจจึงเป็นหน่วยเล็ก ๆ หน่วยหนึ่งของสังคม มีการสร้างงาน สร้างความเจริญ พัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐนำภาษีประเภทต่าง ๆ จากภาคธุรกิจไปพัฒนาสังคม ธุรกิจจึงต้องมีจริยธรรมและจะต้องดูแลไม่ให้ธุรกิจเสียหายหรือมีผลกระทบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในหลายประเด็นปัญหาหรือรูปแบบการดำเนินงานของธุรกิจ การดำเนินขององค์กรธุรกิจอยู่นอกเหนือข้อบังคับทางกฎหมาย เช่น การผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพ การส่งเสริมการจ้างแรงงาน ตลอดจนการดูแลป้องกันสภาพแวดล้อมที่นอกเหนือจากข้อบังคับทางกฎหมาย ให้การช่วยเหลือในกิจกรรมด้านการกุศลสาธารณประโยชน์ เป็นต้น

น.ส.วรรณนิษา กล่อมดี 544407204 4/54

นางสาวชนากานต์ แก้ววิเชียร รหัส 544407184 การจัดการทั่วไป 4/54)

Corporate Social Responsibility : CSR การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ภายใต้แนวคิด ทุกองค์การควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม

ตัวอย่าง : บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง

• ความเป็นมาในการทำ CSR ของบริษัทฯและวิสัยทัศน์

การทำ CSR มีมาแล้วตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง โดยผู้ถือหุ้นหลักที่มีสิทธิในการบริหารงานบริษัทฯ คือ บริษัท Holcim ผู้ผลิตปูนรายใหญ่ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเรื่อง Corporate Social Responsibility เป็นไปตามมาตรฐานยุโรป และ GRI ดังนั้นปูนซีเมนต์นครหลวงจึงมีพันธกิจในการทำประโยชน์ให้แก่สังคมและให้ความสำคัญกับการทำ CSR มากพอๆ กับผลประโยชน์ทางการค้า ด้วยเหตุผลคือ บริษัทฯตระหนักว่า หากต้องการให้ธุรกิจของตนเติบโตได้ในระยะยาว จำเป็นที่จะต้องให้สังคมและผู้บริโภคมีสวัสดิภาพที่ดี สามารถเติบโตพัฒนาไปด้วยพร้อมๆ กัน และมีการเกื้อหนุนกันระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อ รวมทั้งสังคมรอบด้าน

ทั้งนี้กระทั่งปูนซีเมนต์นครหลวงได้จัดกิจกรรมการพัฒนาชุมชนเรื่อยมา จนกระทั่งได้มาทำงานด้านสังคมที่เกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยผ่าน CSR Club โดยมีคุณคันธนิธิ์ สุคนทรัพย์ เข้ามารับตำแหน่งรองประธาน CSR Club เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งคุณคันธนิธิ์ได้รับแต่งตั้งในตำแหน่งรองประธานด้านธุรกิจสัมพันธ์ของ ปูนซีเมนต์นครหลวงเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งในปีนั้นได้มีการแต่งตั้ง CEO คนใหม่ คือ คุณฟิลิป อาร์โต้ อดีตผู้บริหารบริษัทข้ามชาติ ที่เคยทำงานมาในหลายประเทศ ทั้งยุโรปและออสเตรเลีย ผู้บริหารทั้งสองท่านคือ คุณฟิลิปและคุณคันธนิธิ์ต่างเคยมีประสบการณ์ด้าน CSR มาก่อน และมีความตระหนักถึงความสำคัญของ sustainable development จึงมีความคิดที่จะพัฒนานโยบายของบริษัทฯไปในทางนี้อย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น

• นโยบาย CSR ของบริษัทฯ

ขณะนี้ย่างเข้าครบรอบ 40 ปี ของบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง บริษัทฯมีความตั้งใจจะเน้นยุทธศาสตร์ด้าน CSR ใหม่ โดยเน้นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือ stakeholders ของบริษัทฯ ซึ่งต่างจากเดิมที่ไม่ได้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายในการทำกิจกรรมในเชิงส่งเสริมพัฒนา โดยบริษัทฯได้แบ่ง stakeholders ออกเป็น 4 รายใหญ่ คือ พนักงาน ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ และชุมชน (โดยไม่ทิ้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มอื่นๆ เช่น NGO หน่วยงานราชการ เป็นต้น) ผลที่ตามมาคือ บริษัทฯจะคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้เป็นหลักเมื่อต้องทำการตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับระบบการผลิต ทุกครั้งที่เลือกพัฒนาโครงการหรือกิจกรรมด้าน CSR บริษัทฯจะถือผลประโยชน์ของทั้ง 4 stakeholders นี้เป็นสำคัญ ส่งผลให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย

• การทำตามมาตรฐานสากล และการนำมาปรับใช้กับบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวงไทย

สำหรับบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง การอยู่ภายใต้การควบคุมบริหารงานของผู้ถือหุ้นใหญ่ Holcim ซึ่งเป็นบริษัทฯผู้ถือหุ้นที่เป็นสากลนั้น จำเป็นจะต้องเตรียมข้อมูลด้านกระบวนการผลิตที่แม่นยำ และมีวิธีการคำนวณตัวเลขชี้แจงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งการผลิตที่ปลอดภัยต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบของ Corporate Social Responsibility ที่ Holcim ต้องการ ดังนั้นสำหรับปูนซีเมนต์นครหลวง บริษัทฯจำเป็นต้องคำนึงถึงมาตรฐานสากลในการบริหารการผลิตอยู่เป็นหลัก

สิ่งสำคัญที่ต้องทำคือการรายงานวัตถุดิบและขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และมีผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดย 82% ของเครื่องจักรที่ปูนซีเมนต์นครหลวงใช้นั้นได้มาตรฐานการประหยัดพลังงานและมีประสิทธิภาพการใช้เครื่องจักรสูง

นอกจากนี้บริษัทฯได้พัฒนา Green Labels ตามมาตรฐานไทยของ Thailand Greenhouse Gas Organization (TGO) และ Thailand Environment Institute (TEI) ซึ่งได้ระบุไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯจะต้องผ่านกระบวนการผลิตโดยมีอัตราการปล่อยคาร์บอนในอากาศ (carbon emission) ลดลงอย่างน้อย 10% ในระยะย้อนหลัง 5 ปี สำหรับเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ทางปูนซีเมนต์นครหลวงมีผลิตภัณฑ์ที่ได้ carbon level อยู่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนลดลง เฉลี่ยประมาณ 20-24% นอกจากนี้ยังมีอีกหลายผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีอัตราการปล่อยคาร์บอนน้อยกว่า 4 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และกำลังรอการทำ Green Label อยู่

ด้านมาตรฐานสากล บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม Holcim ที่ถือเป็นหนึ่งใน 10 บริษัทปูนซีเมนต์ชั้นนำของโลก อันเป็นสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (BCSD) และ 10 ผู้ประกอบการดังกล่าวยังเป็นผู้สร้าง CSI- The Cement Sustainability Initiative ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ที่มีความคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องการทำตามข้อตกลง “แนวทางการลงบันทึกและรายงานก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์” ตามทิศทางของข้อตกลงก๊าซเรือนกระจกของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสถาบันทรัพยากรโลก ส่วนเป้าหมายอื่นๆ ของกลุ่ม CSI คือ การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในทุกกระบวนการของการดำเนินธุรกิจ อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของพนักงาน ความรับผิดชอบด้านการใช้เชื้อเพลิงและวัตถุดิบ การจัดการด้านสภาวะอากาศ การลดการปล่อยก๊าซต่างๆ และการลดผลกระทบต่อชุมชนท้องถิ่น

ล่าสุด ทางปูนซีเมนต์นครหลวง ได้ยึดหลักการดำเนินงานให้สอดคล้องกับพิธีสารเกียวโต หรือ Kyoto Protocol ซึ่งเป็นข้อตกลงนานาชาติที่มีเป้าหมายในการลดมลพิษทางอากาศด้วยวิธีต่างๆ เช่น การใช้พลังงานทดแทน เป็นต้น

• การจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ที่ผ่านมาบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง มีการจัดทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2549 โดยยึดแบบรายงานจากบริษัท Holcim ผู้ถือหุ้นหลัก เป็นตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลพร้อมทั้งจัดทำด้วยตัวเอง ต่อมาผู้บริหารชุดใหม่ดังที่กล่าวมาข้างต้น มีการตั้งเป้าในระยะยาวให้จัดทำรายงานทุกๆ ปี โดยจะตีพิมพ์รายงานสำหรับปี พ.ศ.2552 ในปีนี้ ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทฯยังได้ลงทุนจ้างบริษัทยักษ์ใหญ่ด้าน consulting ทางสังคม สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัย คือบริษัท Environmental Resources Management (ERM) เพื่อวางเกณฑ์มาตรฐานในการทำรายงานให้ถูกต้องตามเกณฑ์ของ GRI และให้บริษัท Price Waterhouse Cooper เป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าวอีกด้วย

คุณคันธนิธิ์ รองประธานด้านธุรกิจสัมพันธ์ของ ปูนซีเมนต์นครหลวง ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจสำหรับบริษัทที่สนใจจะทำรายงานการอย่างยั่งยืนว่า ควรใช้ตัวอย่างจากบริษัทไทยที่ริเริ่มทางด้านCSR และ sustainable reporting มาก่อนแล้ว โดยควรเริ่มจากสิ่งใกล้ตัวที่สามารถทำได้เลย แล้วค่อยพัฒนาไปสู่มาตรฐานสากลอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยให้ศึกษาแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืน และวิธีทำ sustainability report ให้เข้าใจถ่องแท้ โดยสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การทำงานดังกล่าวกับบริษัทอื่นๆ ที่ทำมาแล้ว

• ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainability reporting) ที่เกิดกับบริษัทฯ และสังคมในวงกว้าง

คุณคันธนิธิ์กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่บริษัทฯจะได้จากการทำรายงาน Sustainability report คือ ความไว้วางใจจากผู้ถือหุ้นและลูกค้า รวมทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในสังคม ว่าเป็นผู้ผลิตที่มีการประกอบการโปร่งใส คำนึงถึงการปกป้องรักษาสิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค และสังคมโดยรวม การมีข้อมูลการประกอบการที่โปร่งใส และสามารถนำตัวเลขมาเปิดเผยนำเสนอได้เพื่อพิสูจน์ว่ามีส่วนร่วมในการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมและชุมชน ทำให้บริษัทฯมีความน่าเชื่อถือในการลงทุน ถือเป็นประโยชน์มหาศาลที่ช่วยทำให้บริษัทฯสามารถอยู่ได้และมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว

• ตัวอย่างโครงการพัฒนา CSR ที่ประสบความสำเร็จ

การทำกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง ที่ผ่านมาเป็นไปในหลายด้าน ทั้งด้านการพัฒนารักษาชุมชน ด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาบุคลากรของบริษัทฯ ทางบริษัทฯมีความเห็นว่า ไม่ควรให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการเงินเพียงอย่างเดียว แต่ควรนำบริษัทฯและพนักงานให้เข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ เพื่อจะได้เกิดการสานสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทฯและผู้อื่นในสังคม และระหว่างบุคลากรของบริษัทฯเองด้วย ตัวอย่างเช่น

• โครงการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านเทคนิค

• โครงการพัฒนาศักยภาพของผู้นำและการกำหนดแผนเพื่อความเติบโตในสายอาชีพ

• โครงการให้คำปรึกษาและการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากรของลูกค้าของบริษัทฯ

• โครงการฝึกอาชีพและเสริมทักษะของชุมชน

• โครงการปลูกต้นไม้ในชุมชน

• โครงการก่อสร้างห้องสมุดชุมชน

• โครงการสร้างนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

• โครงการอุทยานศึกษา การฟื้นฟูระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมพุแคเฉลิมพระเกียรติร่วมกับกรมป่าไม้และจังหวัดสระบุรี

• การสนับสนุนให้รถบรรทุกปูนซีเมนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ

• โครงการความปลอดภัยในการจัดส่งของ ‘อินทรีย์โลจิสติกส์’

• การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสำหรับพนักงานและผู้รับเหมา การสนับสนุนการออกค่ายพัฒนาชนบทระหว่างปิดภาคเรียนแก่นิสิตนักศึกษาทั่วประเทศ ฯลฯ

รายละเอียดโครงการอื่นๆ ที่บริษัทฯได้มีส่วนร่วมมากมาย สามารถหาอ่านได้จาก รายงานพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ปี พ.ศ.2549

โครงการที่ บจก. ปูนซีเมนต์นครหลวงมีความภาคภูมิใจมากอันหนึ่ง คือ “โครงการ 80 พรรษา 880 ฝายอินทรีย์สร้างถวายในหลวง” ซึ่งบริษัทฯมีโครงการสร้างฝายใน 3 จังหวัดภาคเหนือ ขณะนี้เข้าสู่ปีที่ 3 โดยที่ผ่านมาได้สร้างฝายไปแล้วกว่า 2,300 ฝาย และในปีที่ 3 ได้ตั้งเป้าการสร้างฝายไว้มากกว่า 1,200 ฝาย นอกจากนี้บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง ยังมอบเงินสนับสนุนโครงการแก่มูลนิธิชัยพัฒนาเป็นจำนวนทั้งหมด 9,000,000 บาท ด้วยกัน และมีแผนที่จะร่วมกันกับร.พ. บำรุงราษฏ์ ในการอาสารักษาผู้ป่วยในชุมชน

บริเวณพื้นที่สร้างฝายอีกด้วย

นางสาวชนากานต์ แก้ววิเชียร รหัส 544407184 การจัดการทั่วไป 4/54)

ขนิษฐา พรมราช การจัดการทั่วไป กลุ่ม 4 รหัส 54407231

ตัวอย่าง ธุกิจ บริษัท ยูนิลีเวอร์

 ตัวอย่าง โครงการ

โครงการ "ยูนิลีเวอร์ แฟมิลี่ เลิร์นนิ่ง เซ็นเตอร์" เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับ เด็กเล็กและครอบครัวแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา และฉลองครบรอบ 72 ปี ของการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ใน ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2547 โครงการ "ปรับปรุงสวนร่มไม้ยูนิลีเวอร์" ในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2547 โครงการ "ปรับปรุงสวนสาธารณะใน 46 จังหวัดทั่วประเทศ" โดยร่วมมือกับ สมาคมแม่บ้านมหาดไทย เพื่อฟื้นฟูสวนสาธารณะทั่วประเทศ ให้อยู่ในสภาพดี ให้ความร่มรื่นแก่ชาวไทย โดยสอดคล้องกับเจตนารมณ์และจุดยืนของบริษัทฯ ในการสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของชาวไทย ในปี พ.ศ. 2547 Corporate Social Responsibility : CSR หมายถึง การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม มอบประโยชน์ให้กับสังคมโดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทน ภายใต้แนวคิด “ ทุกองค์การควรมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือและพัฒนาสังคม ” การดำเนินการของธุรกิจจะไม่จำกัดอยู่เพียงแค่ “ องค์กรของคุณปฏิบัติตามกฎหมายและเสียภาษีหรือไม่ ? แต่จะรวมไปถึง "องค์กรจะปฏิบัติต่อลูกจ้างพนักงานอย่างไร? ใส่ใจลูกค้า ผู้บริโภค หรือเปล่า? ใส่ใจที่จะปกป้องดูแลสภาพแวดล้อมหรือไม่? ” การบริหารองค์กรให้ยั่งยืน ผู้บริหารจะต้องให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือ Stakeholder ต่าง ๆ เช่น การดูแลผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น การดูแลพนักงาน ลูกค้า ชุมชน ไปจนถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม Stakeholder คือ คน กลุ่มคน และองค์กร ที่มีความเกี่ยวข้องประสานงานกัน และได้รับผลประโยชน์ขององค์กร - stakeholders ที่มีความสนิทสนมกัน และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจนั้น เรียกว่า Primary Stakeholders - stakeholders ที่มีความเกี่ยวข้อง และผลประโยชน์โดยอ้อมกับธุรกิจนั้น เรียกว่า Secondary Stakeholders CSR มุ่งวางพื้นฐานด้านค่านิยม (Value) และวัฒนธรรมที่ดีภายในองค์การ อย่างจริงใจ เป็นการวางรากฐานด้านความรับผิดชอบต่อตนเองของบุคคลกรในองค์กรทุกระดับชั้น โดยการปลูกฝังค่านิยมด้านศีลธรรม คุณธรรม และจริยธรรม รวมทั้งแนวทางการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเป็นรากฐานที่จะนำบุคลากรไปสู่พฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม .....และเมื่อทุกคนสามารถหล่อหลอมพฤติกรรมดังกล่าวร่วมกันได้ก็จะทำให้เกิดค่านิยมร่วมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR-Share Value)ขึ้นในองค์การ โดยค่านิยมดังกล่าวจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้บุคคลากรในองค์การสะท้อนพฤติกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ภายนอกได้อย่างเป็นธรรมชาติ องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization) หรือ ISOได้จัดทำข้อเสนอการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) คือ ISO 26000 เนื่องจากแนวโน้มของโลกในอนาคตจะมีการยอมรับมาตรฐานสากลว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม (Social Responsibility) ให้เป็นนโยบายสาธารณะของประเทศ การศึกษาถึงแนวโน้ม และการเชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรให้เข้ากับกระแสต่างๆที่กำลังเกิดขึ้น หรือจะเกิดขึ้นในอนาคต ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่ง อาจเรียกได้ว่าเป็นองค์ประกอบหลักอย่างหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินงานขององค์กรประสบความสำเร็จก็ว่าได้ บันได 3 ขั้น" ... สู่ธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม โดยนายอานันท์ ปันยารชุน กล่าวในงานปาฐกถา "ห่วงใยสังคมและสิ่งแวดล้อม ภาพลักษณ์ใหม่ของธุรกิจไทย" "การดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นไม่ใช่ภาระของผู้ประกอบการ แต่ในทางกลับกันการดำเนินการที่ดีนั้นจะให้ผลตอบแทนกลับคืนสู่ผู้ประกอบการด้วย หรือเป็นการดำเนินการที่ทุกฝ่ายสมประโยชน์ (win-win solution)" พร้อมทั้งเสนอแนวคิด "บันได 3 ขั้น" ในการสร้างให้ธุรกิจแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสมบูรณ์ ต้องเริ่มจากข้างใน "บันไดขั้นแรก" ธุรกิจต้องพัฒนาตนเองเพื่อดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน "ธุรกิจที่บอกว่ารับผิดชอบนั้นต้องไม่เบียดเบียนสังคมและสิ่งแวดล้อม หากธุรกิจยังคงใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างสิ้นเปลืองโดยไม่เห็นความสำคัญ หรือโรงงานยังคงปล่อยมลพิษที่เป็นอันตรายสู่สิ่งแวดล้อมและชุมชน ถึงแม้ว่าจะใช้เงินมากมายในการดำเนินกิจกรรมต่อสังคม แต่เราคงไม่สามารถกล่าวอ้างได้เต็มปากว่าเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคมอย่างแท้จริง" สิ่งที่ต้องทำคือ ต้องมองการบูรณาการหลักการของความรับผิดชอบต่อสังคมเข้าสู่กระบวนการทางธุรกิจอย่างเหมาะสม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ISO 14000 หรือระบบการจัดการสำหรับโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อม รวมถึงแนวทางการป้องกันมลพิษที่แหล่งกำเนิด เช่น การลดใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย การลดการใช้น้ำและพลังงาน การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดของเสีย ฯลฯ การดำเนินการที่ว่านอกจากจะเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังลดการสูญเสียภายในองค์กรไปพร้อมๆ กัน "...ธุรกิจในโลกวันนี้ตื่นตัวเรื่องนี้อย่างมาก อย่างบริษัทดูปองท์ในสหรัฐอเมริกามีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการลดการใช้สารเคมี โดยการใช้การล้างหัวฉีดน้ำแรงดันสูงแทนการล้างด้วยสารละลายหรือสารเคมี บริษัทซีร็อกซ์ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อนำสารสกัดจากเปลือกส้มมาใช้แทนสารละลายที่เป็นพิษ" เชื่อมโยงสู่สังคม บันไดขั้นที่สอง ธุรกิจต้องสร้างชุมชนน่าอยู่และสังคมเข้มแข็ง " เมื่อก้าวผ่าน บันไดขั้นแรก ในการพัฒนาองค์กรกับสังคมให้สอดคล้องกันแล้ว องค์กรจะต้องมองไปสู่ภายนอกในการประสานเชื่อมโยงองค์กรเข้าสู่ชุมชนและสังคม ซึ่งเป็นบท บาทสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่าธุรกิจและสังคมไม่สามารถแยกจากกันได้" "หากเปรียบเทียบธุรกิจเป็นเหมือนเรือ ชุมชนและสังคมในฐานะผู้บริโภคก็เปรียบเสมือนน้ำที่ช่วยพยุงเรือนั่นเอง ถ้าไม่มีน้ำช่วยหนุนส่งเรือก็ไม่สามารถแล่นได้" การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและสังคม ไม่เพียงเป็นประโยชน์จากการคืนกำไรกับสังคม แต่ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรอย่างยั่งยืนในระยะยาวอีกด้วย "หลายองค์กรในปัจจุบันมีการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสังคมหลายรูปแบบ ทั้งการสร้างศักยภาพชุมชนในการมีส่วนร่วมของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน หรือการพัฒนาเยาวชน" อาทิ โครงการลูกโลกสีเขียวของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งสนับสนุนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนในการดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม กิจกรรมดูนกของบริษัทบางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมของกลุ่มบริษัทโตโยต้า ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ "บันไดขั้นที่ 3" คือการใช้สื่อสร้างสรรค์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะการใช้สื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการสื่อสารจากองค์กรไปสู่สังคม ซึ่งจะมีผลไม่เพียงเผยแพร่ผลงานขององค์กรในการแสดงความรับผิดชอบ หากแต่เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการกระตุ้นเตือนสังคมในการให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และการรับผิดชอบต่อสังคมให้มากขึ้น "บันไดขั้นที่ 3" จึงเป็นบันไดที่สร้างผลประโยชน์ใน 2 ทาง ประการหนึ่งเป็นการสร้างความนิยมและสร้างความโดดเด่นเหนือคู่แข่ง ประการหนึ่งยังทำบทบาทในฐานะการเป็นสื่อการเรียนรู้ "สื่อสร้างสรรค์จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เสมือนเป็นการศึกษานอกโรงเรียนที่จะเป็นการปลูกฝังแนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่จะพัฒนาไปสู่สังคมที่ยั่งยืนในระยะยาว..." การพัฒนาที่ไม่ได้หมายความถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจแต่เพียงอย่างเดียว แต่จะต้องพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล !!!

นางสาว ณัฐชนันท์ สารีเรือง การจัดการทั่วไป ก.2 524407088

ปัจจุบันผู้ประกอบการควรมีความรับผิดชอบต่อสังคนด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุดเพราะสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันนี้เริ่มลดน้อยลงอาจเกิดจากการสร้างโรงงานต่างๆหรือการสร้างสถานประกอบการต่างๆมากมายและยังมีการทำลายสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆที่ปล่อยควันพิษหรือสารพิษบนอากาศและปล่อยนำเสียลงแหล่งนำทำให้ปลาตายนำเน่าเสียสังคมจึงดูเสื่อมโทรมดังนั้นทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคจึงควรช่วยกันบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนตลอดไป

นางสาว ณัฐชนันท์ สารีเรือง การจัดการทั่วไป ก.2 524407088

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท