การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า


การวิจัยเชิงนโยบาย เชิงระบบ ต้องการมุมมองที่ลึกซึ้ง ในการตีความข้อมูล

         ผมรู้สึกเหมือนเป็นนักเรียนนั่งเรียนรู้เรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมการ สวรส.  เมื่อวันที่ 22 ส.ค.49

ระบบหลักประกันสุขภาพมี 3 ระบบ
1. สวัสดิการข้าราชการ
2. ประกันสังคม (ผู้ใช้แรงงาน)
3. โครงการ 30 บาท

         สวปก. (สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ สวรส. ตั้งขึ้น   ได้เข้ามาเสนอผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ

         คุณหมอสุวิทย์  วิบุลผลประเสริฐ  อภิปรายว่าโครงการ 30 บาทเป็นระบบ progressive taxation คือเก็บจากคนรวยมากกว่า   เอาเงินมาช่วยคนจน

         ถ้าคิดหาเงินมาใช้ในโครงการหลักประกันสุขภาพโดยการเพิ่ม VAT หรือเพิ่มภาษีบุหรี่ สุรา   ก็จะกลายเป็นการสร้างระบบ regressive taxation คือเก็บเอาภาษีจากผู้บริโภคที่ส่วนใหญ่เป็นคนจน   เป็นการลดความเป็นธรรมในสังคม

         ที่ประชุมคุยกันลึกมากโดยผู้รู้จริงในเรื่องนี้   โดยเน้นการมองระบบที่เพิ่มความเป็นธรรม (equity) ในสังคม

         มีผลการวิจัยว่า พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถเป็นคุณต่อบริษัทประกัน   ไม่ใช่ต่อผู้เอาประกัน   เป็นกฎหมายอัปยศที่น่าอับอายต่อรัฐบาลและสภาที่ออกกฎหมายนี้   ผู้ประสบภัยจากรถกลับต้องไปเป็นภาระของกองทุนประกันสังคมและของโครงการ 30 บาท

ที่ประชุมจึงลงมติให้ทำ 2 เรื่องในด้าน พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ
1. การเคลื่อนไหวทางสังคมต่อสาธารณะให้รับรู้ความไม่เป็นธรรมนี้
2. การเสนอรัฐบาลให้แก้ไขกฎหมายนี้   ซึ่งจะลดภาระเงินภาษีลงไปปีละ 2 - 3 พันล้านบาท

         ผู้รู้เขาบอกว่ากฎหมายนี้ออกมาบังคับเจ้าของรถทุกคน   ให้เอาเงินไปให้กำไรแก่บริษัท   เป็นประเทศเดียวที่มีกฎหมายแบบนี้   ผลการวิจัยบอกว่าค่าเอาประกันปีละ 7 พันล้านบาท   โดยทางบริษัทประกันใช้เงินนี้ด้านการบริหารจัดการถึง 41 %  เป็นเงินตอบแทนผู้เอาประกัน 51%   การที่ค่าบริหารจัดการสูงถึง 41% ฟ้องว่าเป็นการเอาประโยชน์สูงเกินพอดี

         จะมีการนำข้อค้นพบนี้บอกให้สาธารณชนให้รับรู้ต่อไป

วิจารณ์  พานิช
 23 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 46161เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 13:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีเพื่อน ที่อยู่ในวงการ บริษัทประกันภัย  บอกว่า

เบี้ยประกันภัย พรบ บุคคลที่สาม  เป็นแหล่งรายได้ กำไรที่สำคัญ ของ บริษัท ประกันภัย  เน้น รถยนต์  มี loss ratio ต่ำ

แต่ loss ratio  จยย สูงกว่า 

หาก กฏหมายบ้านเรา แก้ ให้ เยาวชน 18 ปี  เป็นผู้มีวุฒิภาวะเพียงพอ  ขับขี่ จยย ได้  จึงมีสิทธิได้ใบขับขี่  การบาดเจ็บเสียชีวิต จาก จยย  คงลดลงได้อีก

แล้วหาก ปล่อยให้เด็ก ขับขี่ จยย ก่อยวัย บาดเจ็บ ก็ใช้ พรบ คุ้มครองสิทธิเด็ก ลงโทษ ผู้ปกครอง เสียบ้าง  เด็กไทย ก็จะขี่ จยย ลดลง    บาดเจ็บลดลง  เบี้ยประกัน ส่ง ก็ยิ่งลดลงได้ไปอีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท