การเรียนรู้ออกแบบ Power point


อย่าลืมว่าตัวหลักของการนาเสนอสื่อ คือ ผู้นาเสนอไม่ใช่เพาเวอร์พอยท์

การเรียนรู้หลักการออกแบบและการใช้งาน Power Point เพื่อให้การออกแบบการใช้งานโปรแกรมนาเสนอมีประสิทธิภาพ ขอแนะนาหลักในการออกแบบลาดับของสไลด์ในเพาเวอร์พอยท์ที่เหมาะสม ดังนี้
1. จัดทาสไลด์ตามลาดับของเนื้อหาหรือการบรรยาย ไม่สลับไปสลับมา
2.เริ่มสไลด์แรกด้วยการแสดงชื่อเรื่องที่จะนาเสนอพร้อมทั้งชื่อของผู้นาเสนอและข้อมูลเพื่อติดต่อ
3. สไลด์ถัดไปควรบอกผู้ฟังว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังครั้งนี้คืออะไร หรือแสดงวัตถุประสงค์ในการนาเสนอ
4. ต่อมาเป็นสไลด์ที่แสดงหัวข้อในการนาเสนอ
5. หลังจากนั้นจะเป็นส่วนของเนื้อหาที่เรียงลาดับตามหัวข้อที่กาหนด
6. สไลด์สุดท้าย ควรเป็นการสรุป/ทบทวน เพื่อย้าเนื้อหาสาคัญของการนาเสนอครั้งนี้
7. อาจเพิ่มสไลด์สุดท้ายด้วยข้อความง่ายๆ เช่น “Question?” หรือ “ช่วงถาม-ตอบ” เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังถามคาถามหรือร่วมอภิปราย
8. เพื่อเป็นการป้องกันการสับสน ควรใส่หัวข้อเรื่องทุกสไลด์ และใส่หมายเลขสไลด์เพื่อช่วยให้ผู้ฟังอ้างอิงได้
9. ขนาดของตัวอักษร สีและพื้นหลังของสไลด์ การใช้ขนาดและสีของตัวอักษรรวมถึงสีพื้นหลังที่ไม่เหมาะสม ทาให้อ่านยากหรือมองเห็นไม่ชัดเจน
การเลือกรูปแบบ ขนาดตัวอักษร และสีที่เหมาะสม
1. เลือกใช้รูปแบบตัวอักษรที่มีหัวเพื่อให้อ่านง่าย และไม่ควรใช้ตัวอักษรเกิน 2 แบบในแต่ละ สไลด์
2. ควรใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่เพื่อให้มองเห็นได้ง่าย โดยภาษาไทยควรใช้ประมาณ 36-50 พอยต์ (Point) สาหรับเนื้อหาและ 60 พอยต์ สาหรับหัวข้อเรื่อง
3. ใช้ตัวหนาหรือตัวขีดเส้นใต้ในการเน้นข้อความ ดีกว่าใช้ตัวเอียงเพราะอ่านได้ง่ายกว่า หรือถ้าจะใส่เงาให้ตัวอักษร เงาของตัวอักษรควรเข้มกว่าสีพื้น
4. ไม่ควรใช้ข้อความภาษาอังกฤษแบบตัวใหญ่ทั้งหมด (Capitalize) เพราะจะอ่านได้ยากยกเว้นคาสั้นๆ ที่เป็นหัวข้อหรือต้องการเน้น

5. ใช้พื้นหลังที่สีตัดกันกับตัวอักษร เช่น พื้นมืดตัวอักษรสว่าง หรือ ตัวอักษรสว่างพื้นมืดโดยทั่วไปนิยมใช้สีฟ้าหรือสีดากับสีขาวหรือสีเหลือง แต่สีตัดกันบางคู่ก็ไม่เหมาะสม เช่น สีเขียวกับสีแดงเพราะจะทาให้ผู้ชมปวดตา
6. ควรใช้พื้นหลังสีเข้มกับห้องที่มีผู้ฟังนั่งไม่เกิน 20 ฟุต หากไกลกว่านั้นไม่ควรใช้ (ใช้สีสว่างแทน)
7. หลีกเลี่ยงพื้นหลังที่ยากต่อการอ่าน เช่น เป็นภาพ มีลวดลาย หรือมีสีเหมือนกับตัวอักษร
8. ควรใช้รูปแบบตัวอักษร ขนาด รวมทั้งสีตัวอักษรและพื้นหลังแบบเดียวกันตลอดทุกสไลด์
9. การใช้สีเพื่อการตกแต่งมากเกินไป นอกจากทาให้เสียเวลาในการผลิตแล้วยังจะทาให้น่าราคาญต่อการอ่านด้วย
10. ดูแล้วเข้าใจยาก เพราะมีข้อมูลหรือตัวอักษรมากเกินไปใน 1 สไลด์ผู้นาเสนอหลายคนมักจะเข้าใจว่า การบรรจุข้อมูลลงไปในเพาเวอร์พอยท์ แต่ละสไลด์มากๆจะทาให้การนาเสนอดูน่าเชื่อถือจริงๆ แล้วไม่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้ฟังต้องเสียเวลาในการอ่านซึ่งจะทาให้ลดความสนใจในการฟังผู้นาเสนอลง และอย่าลืมว่าตัวหลักของการนาเสนอสื่อ คือ ผู้นาเสนอไม่ใช่เพาเวอร์พอยท์
ลักษณะของสไลด์ที่ดี
1. ควรจะบรรจุข้อความที่เป็นใจความสาคัญสั้นและกะทัดรัด
2. ใช้รูปภาพหรือรูปแบบอื่นที่น่าสนใจแทนข้อความล้วนๆ เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
3.แต่ละสไลด์ควรมีเพียงประเด็นใดประเด็นหนึ่งหากมากกว่านั้นก็นาเสนอที่ละประเด็น
4. การแสดงผลพิเศษ (Effect) เพื่อดึงดูดความสนใจ

หมายเลขบันทึก: 461410เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2011 19:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ..นกน้อย ปานทอง

เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยค่ะ ปกติทำพาวเวอร์พอยต์ก็มักจะทำตามใจฉัน

มิได้คิดจะทำตามใจผู้ดู ได้อ่านวันนี้แล้วได้ความรู้สำหรับการทำสไลด์ไปนำเสนอเพิ่มขึ้น

 

สวัสดีค่ะ...คุณครูเล็ก

ขอบคุณนะคะที่แวะมาอ่าน ปกติก็ทำตามใจฉันเหมือนกันแหละค่ะ

เพราะทำตามใจคนดูทุกครั้งคงไม่ไหวหรอกค่ะ

ความรู้นี้ก็เป็นผลพลอยได้จากการเรียนวิชาการนำเสนอสารภาษาไทยด้วยคอมฯ

เลยเอามาฝากกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท