เส้นทางสู่ความสำเร็จ ข้อที่ 6


Take good care of your body and your mind. They are basic requirements for success. จงดูแลร่างกายและจิตใจให้ดี เพราะนี่คือเงื่อนไขขั้นพื้นฐานของการได้มาซึ่งความสำเร็จ

           มาถึงข้อสุดท้ายแล้วครับ ....สำหรับผมแล้วข้อนี้เป็นข้อที่สำคัญจริงๆ ครับ ...เพราะเรากำลังพูดถึงรากฐานที่สำคัญของสิ่งที่เรียกว่า ความสำเร็จ ถึงแม้ว่านิยามคำว่า ความสำเร็จ ของแต่ละท่านนั้นจะแตกต่างกันไป บางท่านอาจจะใช้ ชื่อเสียงเกียรติยศ  หรือใช้ เงิน เป็น “KPI” (ตัวชี้วัด) หรือบางท่านอาจจะใช้ ความสุข เป็นตัวตั้ง  ....ไม่ว่านิยามของคำว่า ความสำเร็จ จะเป็นอะไร ....หากร่างกายและจิตใจไม่พร้อมแล้วล่ะก็ ....สิ่งที่มุ่งหวังไว้นั้นคงจะเป็นไปได้ยากจริงๆ ....ผมพูดว่า ยาก นะครับ ไม่ได้บอกว่า เป็นไปไม่ได้ หรือ “IMPOSSIBLE” มีคนเคยบอกผมว่าคำว่า IMPOSSIBLE นั้นมาจากคำว่า “I ’m Possible” ครับ

           หากร่างกายและจิตใจพร้อม เรื่องยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย ทุกอย่างก็จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น การดูแลร่างกายและจิตใจนั้น มีวิธีการที่แตกต่างและตรงข้ามกันอย่างเห็นได้ชัด กายต้องการการเคลื่อนไหว หากขาดการเคลื่อนไหว ไม่ได้ออกกำลังกาย กล้ามเนื้ออวัยวะต่างๆ ไม่ได้ทำหน้าที่ของมัน ร่างกายก็จะขาดพลัง กล้ามเนื้อไม่ได้รับการพัฒนา จะเห็นได้ว่าการพัฒนาทางร่างกายต้องอาศัยการเคลื่อนไหวเป็นสำคัญ ในขณะที่การพัฒนาจิตใจนั้นกลับต้องทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม

           ใจที่นิ่งเป็นสิ่งที่มีพลัง ในขณะที่เราอาบน้ำชำระล้างร่างกายทุกเช้าค่ำเป็นประจำทุกวัน ...ในแต่ละวันนั้นเราได้ชำระล้างจิตใจของเราบ้างหรือไม่ ....ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์ ภาวนา ทำสมาธิ ฝึกสติ รำมวยจีน หรือฝึกโยคะก็ตาม ....สำหรับตัวผมเอง รู้สึกว่าได้ปล่อยปละละเลยเรื่องการดูแลกาย ดูแลใจมาเป็นเวลาช้านาน ...จะปล่อยให้เวลาผ่านไปอย่างที่เคยผ่านมาไม่ได้อีกแล้ว !!

           แต่ก่อนผมเคยคิดว่า ถ้าผมทำได้ตามที่เขียนมาทั้ง 6 ข้อนี้ ในที่สุดแล้ว "ถนนสายนี้" ก็คงจะพาผมไปสู่ที่หมาย ที่มีป้ายติดไว้ว่า ความสำเร็จอยู่ที่ตรงนี้ ...ผมเข้าใจไปผิดถนัดครับ เพราะความสำเร็จไม่ได้รออยู่ที่ตรงสุดถนนนั้น หากแต่ว่าความสำเร็จนั้นอยู่ ที่นี่ อยู่ ตรงนี้ ครับ ...อย่างที่เราได้ยินกันว่า “Here & Now” นั่นแหละครับ ลองผวนคำดูซิครับ เฮียร์ นาว ก็คือ ฮาวร์ เนียร์ HOW NEAR!! ความสำเร็จที่ว่านี้ ถ้าเรามีการดูแลรักษากายและใจให้ดี ระลึกรู้ เห็นการเคลื่อนไหว (ทั้งกายและใจ) เราก็จะได้พบกับ ความสำเร็จ ที่อยู่ใกล้แค่นี้เองครับ !!!

หมายเลขบันทึก: 46128เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เป็นสัจจะทุกประการค่ะ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ค่ะ

  • ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ
  • ผมขออนุญาตนำหลักการทั้ง 6 ข้อไปปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอครับ
  • ถ้าได้ผลหรือมีข้อขัดข้องประการใดจะขออนุญาตนำมาแลกเปลี่ยนและต่อยอดในคราวถัดไปครับ

พยายามดูอยู่ทุกวันค่ะ            ขอบคุณสำหรับธรรมะที่ดีๆค่ะ   

 

  • ขอบพระคุณสำหรับสิ่งดี ๆที่อาจารย์คัดสรรมาให้อ่านเป็นประจำ จะพยายามนำไปปฏิบัตินะคะ

 ใจที่นิ่งเป็นสิ่งที่มีพลัง และแก้ปัญหาได้ค่ะ พยายามทำและได้ผลแล้วค่ะ

   ติดตามอ่านด้วยความชื่นชม และศรัทธาครับ
   อาจารย์นำสัจธรรมที่ทรงค้นพบมาแล้วกว่า 2500 ปี มาสื่อได้อย่างน่าสนใจ  ด้วยวาทกรรมใหม่ ร่วมสมัย  และเหนืออื่นใด ด้วยจิตใจ รักผู้อื่น อย่างที่ใครๆอ่านก็ย่อมรู้สึกได้
  • คลิ๊ก..ติดใจกับคำ ๆ นี้ค่ะ “Here & Now” เฮียร์ นาว ก็คือ ฮาวร์ เนียร์ HOW NEAR!!
  • ติดตามอ่านบันทึกมาจนถึงข้อที่ 6 นี้ได้เรียนรู้ ลีลาการเล่นคำแล้ว เข้าใจลึกซึ้งค่ะว่าทำไมใครๆ ก็ชื่นชมและติดใจเทคนิคการใช้คำของอาจารย์
  • ขอบคุณอาจารย์ที่จุดประกายความสุขค่ะ

ขอบคุณทุกท่านเช่นกันครับ...

การที่เราได้มีโอกาสอ่านธรรมวันละนิดจิตก็จะนิ่งทำให้เราได้อะไรมากมายมหาศาลถ้าทุกคนสามารถฝึกจิตให้นิ่งและสงบได้ เปรียบเสมือน "น้ำที่อยู่ในแก้วใส ๆ " เฉกเช่นเดียวกับ จิตใจคนเราถ้าน้ำขุ่นย่อมเหมือนใจขุ่น เดือดอยู่ตลอดเวลา

แต่ถ้ามีปัญหาแล้วหยุดคิดสักนิดคนรู้ว่าปัญหาต่าง ๆ สามารถแก้ไขได้ ด้วยปัญญา และ สติ  ด้วยมันสมองที่รู้จักวิเคราะห์ปัญหานั้น ๆ ให้กระจ่าง เราก็จะรู้เหตุของปัญหานำมาซึ่งการแก้ไขต่อไป

แต่ถ้าเราเดือดอยู่ตลอดเวลา ก็เหมือนกับน้ำเดือดมีแต่จะร้อนระอุ ใครก็ไม่สามารถจับหรือแตะต้องได้เพราะความร้อนอาจทำให้เกิดอันตราย เฉกเช่น ใจคนที่มีแต่ความเดือดดาลตลอดเวลา ไม่สามารถคิดอะไรในขณะนั้น

แต่ถ้าใจเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็งก็เหมือนกัน เฉยชานิ่งจนเกินไปทำให้อาจเสียหาย เหมือนกับน้ำแข็งที่แช่ในช่องแช่แข็ง  แทนที่ปัญหานั้น ๆ จะได้รับการแก้ไขกับปล่อยให้ผ่านเลยไป เฉกเช่น คำว่าปัญหาเรื้อรังมานานเกินจะเยี่ยวยาฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น

ดังเช่นคำสอนของพระพุทธเจ้าในศาสนาพุทธว่าให้ทุกคนเดินสายกลางเข้าไว้ ไม่ร้อน ไม่เย็น จนเกินไป

เหมือนกันเดินทาง ให้เดินสายกลางแล้วจะไม่หลงทาง เปรียบเสมือนตาชั่ง เราต้องควรชั่งใจของเราตลอดเวลาว่า เอียงซ้ายหรือขวาจนเกินไป

บางคนบอกว่า พูดได้แต่ทำไม่ได้ เพราะไม่ทำต่างหาก ขอยืนยันเมื่อทำได้แล้วต้องรักษาให้สม่ำเสมอเพราะดิฉันได้ปฎิบัติแล้วจึงอยากบอกบุญต่อ ให้กับผู้ที่ยังไม่เคยฝึกหรือลองทำดูก่อนที่จะบอกว่ายาก

"จงเชื่อมั่นในตนเองว่าทำได้แล้วคุณจะทำได้ทันที"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท