มุมมองจากคนไม่รู้เรื่องระบบเศรษฐศาสตร์: ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจชุมชนไม่ได้อยู่ที่เงินหรือรายได้


ระบบเศรษฐกิจในชุมชนชนบทของไทย มีกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติแทรกอยู่ที่คนภายนอกจากต่างระบบวัฒนธรรมอาจมองไม่เห็น ก็คือการแจก ทำบุญ ทำทาน ในเบื้องต้นที่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และฐานทรัพยากรแห่งการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน

ระบบเศรษฐกิจชุมชน เมื่อมองจากภายนอกก็อาจเป็นเพียงการผลิตเพื่อบริโภคและขาย อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างปนกัน แท้ที่จริงแล้วระบบเศรษฐกิจในชุมชนในชนบทของไทย มีกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติแทรกอยู่ที่คนภายนอกจากต่างระบบวัฒนธรรมอาจมองไม่เห็น ก็คือการให้ แจกจ่าย ทำบุญ ทำทาน ในเบื้องต้นที่จำเป็นต้องมีเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางสังคม และฐานทรัพยากรแห่งการพึ่งพิงซึ่งกันและกัน  ต่อจากนี้ก็จะเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อชดเชยทรัพยากรที่ยังจำเป็นต้องใช้ แต่ไม่มีในระดับครัวเรือนหรือชุมชน แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในระดับชุมชนต่างถิ่นมากกว่า เพราะในชุมชนเดียวกันจะเป็นการแจก หรือทำทานมากกว่าการแลก การแลกนี้ถือเป็นระบบการขยายฐานทรัพยากรให้กว้างขวางขึ้นไปอีก ซึ่งทำให้เกิดการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพราะการและเปลี่ยนทำให้ได้เพื่อน อาจจะน้อยกว่าการแจก แต่ก็ดีกว่าการขาย การทำเช่นนี้เป็นระบบเดิมของชุมชนที่เข้มแข็งมาจากฐานราก ที่ทางเครือข่ายปราชญ์กำลังพัฒนาอยู่อย่างเอาจริง

เมื่อมีการพัฒนาเศรษฐกิจแบบค้าขายขึ้นมา ได้เป็นตัวบั่นทอนความเข้มแข็งของระบบฐานทรัพยากร มุ่งการขายให้ได้กำไรมากๆ ซื้อในราคาต่ำสุด ที่ต้องกดขี่ และเอาประโยชน์ให้ได้มากที่สุด คนที่ไม่มีอำนาจต่อรองก็มีแต่จะเสียเปรียบตลอดเวลา แม้จะขาดทุนก็ต้องยอมเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อน ประเด็นนี้เป็นสาเหตุแห่งความล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ ที่มีอำนาจต่อรองน้อย ดังที่เป็นอยู่ในชนบทไทย ฉะนั้นการย้อนกลับมาพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริจึงเป็นช่องทางที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจจากฐานราก และเข้มแข็งต่อเนื่องไปทั้งระบบ ถึงแม้จะมีการค้าเติมเข้ามาก็จะไม่ทำให้ระบบอ่อนแอ เพราะพึ่งตนเองได้และมีอำนาจต่อรอง ถ้าเสียเปรียบก็อาจจะไม่ขายก็ได้ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาบนฐานรากวัฒนธรรมไทย

หมายเลขบันทึก: 46122เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 11:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
เป็นบทความที่ดีและน่าสนใจมากเลยค่ะ แต่ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วยนะคะ ว่าความเข้มแข็งของชุมชนและเศรษฐกิจของชุมชนก็ยังต้องดูจากรายได้ด้วย เพราะแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีของชุมชน ปัญหาสังคมก็จะหมดไป ระบบการซื้อขายแลกเปลี่ยนไม่น่าจะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ จะเห็นว่าเมื่อมีการซื้อขายก็จะทำให้เกิดการกระจายรายได้ซึ่ง เป็นตัวกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจดี โครงการตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างความแข็งแรงเป็นรากฐานของการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างมั่นคงแบบค่อยเป็นค่อยไป และก็ยังคงมองถึงระบบสังคมไทยแบบดั้งเดิม ที่มีวัฒนธรรมแบบไทยๆ มีการเน้นในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งถ้าเราสามารถทำได้ตามนั้นก็จะช่วยให้จิตใจของคนเราเยือกเย็นขึ้นลดความรุ่มร้อนที่จะก้าวกระโดดไปตามระบบเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตตามเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ขอบคุณค่ะ
รายได้ ถ้าเป็นเศรษฐกิจ แบบบทันสมัยนิยม ก็น่าจะเป็น เงิน แต่ถ้าเป็นเศรษฐกิจพอเพียง เช่น อากาศบริสุทธิ์ มีเพื่อนบ้านที่ดีเป็นรั้วบ้านที่ดีไห้กันและกัน มีอาหารที่สด ปลอดสารพิษไว้รับประทาน มีอารมณ์ดี เหล่านี้ถือว่าเป็นราได้หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ ประเด็นสำคัญของผมก็คือ เราต้องพัฒนาจากแกนในออกมาหาแกนนอก ไม่ใช่ก้าวกระโดด จากทำกินแล้วก็เหลือขาย ซึ่งทำให้ระบบสังคมอ่อนแอ ขาดความเชื่อมโยงและพัฒนาการทางสังคม และฐานทรัพยากร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความล้มเหลวในสังคมไทยปัจจุบัน

ขอบเขตของการเศษฐกิจชุมชนประกอบด้วยอะไรบ้าง

ระบบเศรษฐศาสตร์เป็นรูปโปสเตอร์

ก็ระบบการทำมาหากิน การเป็นอยู่ในระดับชุมชน ครับ

ว่าเขามีระบบอะไรบ้างที่ต้องพึ่งพิง

รวมปัจจัยต่างๆก็จะเป็นระบบที่ต่างกันในแต่ละชุมชน

นี่คือหลักการเบื้องต้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท