ขั้นตอนการผลิตนม & Queen


..........เก็บมาฝากจากการไปทริป..
การผลิตผึ้งนางพญา และ การผลิตรอยัลเจลลี่
กรรมวิธีในการผลิต
การผลิตผึ้งนางพญาและการผลิตรอยัลเจลลี่ 
  1. ขั้นตอนการผลิตนางพญา
 
  1. คัดเลือกรังแม่พันธุ์ .ควีนไข่ดี หนอนเจลลี่มาก
-          สร้าง Drone ก่อนผลิตนางพญาไม่ต่ำกว่า 20 วัน 
  1. เลือกรังพี่เลี้ยง หนึ่งรังมี 8 คอน แยกเอาควีนออก

 -แผ่นปิดแก่ 

- แผ่นปิดอ่อน

 -แผ่นเปล่า(แผ่นสำหรับให้ควีนมีพื้นที่วางไข่) 

- แผ่นหนอน - แผ่นไข่

□ แผ่นสำหรับผลิตนางพญา

 - คอนอาหาร    

 - แผ่น ซีลบรู๊ด 

- แผ่นปิด   

3 วันวางไข่ 1 แฟรมวงจรมันประมาณ 24 วัน

 3. เตรียมหลอดสำหรับเลี้ยงตัวหนอนนางพญา มีแถวละ 15 หลอด 3 แถวหลอดไม่ติดกัน 

4. รองก้นหลอดด้วยรอยัลเจลลี่เพื่อเร่งการสร้างรอยัลเจลลี่ของผึ้งงาน จึงจะทำการเขี่ยตัวหนอนมาใส่หลดที่เตรียมไว้โดยใช้ขนเป็ดหรือขนห่านให้ตัวหนอนลอยอยู่บนรอยัลเจลลี่(ไข่ใช้เวลา 3 วันในการฝักเป็นตัวหนอน)

 5. นำคอนหลอดนางพญาที่เขี่ยเสร็จใส่ลงในรังที่เตรียมไว้ในระหว่างนี้เมื่อนำคอนไปใส่เพื่อผลิตผึ้งนางพญา ไปใส่ไว้ในรัง ผึ้งงานจะนำรอยัลเยลลี่มาป้อนให้กับตัวหนอน 

6. ต้องให้น้ำตาลทุกวันจนถึงระยะดักแด้แล้วจึงเปลี่ยนเป็นให้ 3วัน/ครั้ง 

7. เมื่อครบ 10 นับตั้งแต่การเขี่ยตัวหนอนเราจะนำคอนดังกล่าวมาแยกผึ้งนางพญาเอาไปใส่ติดกับกล่องกักขังนางพญา เมื่อทำการติดเสร็จเราก็นำไปฝากเลี้ยงที่รังเดิมจนครบอายุ 16 วันผึ้งนางพญาก็จะออกจากรวง  

2. ขั้นตอนการผลิตนมผึ้ง 

  1. ขั้นตอนการเตรียมการ

 1.1 เตรียมสภาพผึ้งให้พร้อมที่จะผลิตนม

-          มีผึ้งในวัยต่างๆ แน่น ควรมี 7 คอนขึ้นไป

-          ภายในรังต้องมีอาหารสมบรูณ์การเตรียมผึ้งหลังจากเก็บน้ำหวาน 

1.2 เตรียมสถานที่วางผึ้ง-เป็นสถานที่อยู่ใกล้แหล่งอาหารที่สมบรูณ์ 

1.3 เตรียมวัสดุอุปกรณ์

- คอนติหลอดนมผึ้ง

- มีดปาดไขผึ้ง

- คีมครีบหนอน

- ที่ย้ายตัวหนอน

- ถุงกรองนมผึ้ง

- ภาชนะบรรจุนมผึ้ง

- ที่ตักนมผึ้ง

2. ขั้นตอนการทำ 

2.1 คัดเลือกรัง(ไม่ต้องนำนางพญาออก) 

2.2 เลือกรังพี่เลี้ยง ใน 1 รังมี 8 คอน 

การจัดรัง

-          แผ่นปิดแก่

-          แผ่นปิดอ่อน

-          แผ่นเปล่า(แผ่นไข่)

-          แผ่นหนอน

-          แผ่นไข่

-          แผ่นสำหรับใส่คอนเพื่อผลิตนมผึ้ง

-          คอนอาหาร

-          แผ่น ซีลบรู๊ด

-          แผ่นปิด-

           2.3 เตรียมหลอดสำหรับทำนมผึ้ง มีทั้งหมด 3 แถวๆละ 30 หลอดแต่ละหลอดอยู่ชิดกัน รองก้นหลอดด้วยรอยัลเจลลี่เพื่อเร่งการสร้างรอยัลเจลลี่ของผึ้งงานในระยะเวลา3 วันเมื่อนำคอนไปใส่เพื่อผลิตนมผึ้ง 3 วัน ผึ้งงานจะนำรอยัลเยลลี่มาป้อนให้กับตัวหนอน 

2.4 ย้ายตัวหนอนใส่หลอดนมผึ้งตัวหนอนต้องอายุไม่เกิน 3 วัน ใส่หลอดละ 1 ตัวต้องระวังในขั้นตอนนี้เพราะตัวหนอนอาจตายได้เมื่อย้ายตัวหนอนจนครบแล้วนำคอนนมผึ้งกลับไปใส่ไว้ในรังตำแหน่งเดิมโดยคว่ำหลอด รอเวลาเก็บนมผึ้ง 

2.5 การนำคอนนมผึ้งออกมาเก็บนมผึ้ง- หลังจากนำคอนนมผึ้งใส่ไว้ 3 วันเมื่อนำคอนไปใส่เพื่อผลิตนมผึ้ง 3 วัน จึงนำคอนผึ้งออกจากรังโดยเขย่าเอาตัวผึ้งออกและใช้แปรงปัดผึ้งส่วนที่เหลืออกให้หมด- ปาดไขผึ้งออกจากถ้วยนมผึ้ง  

2.6 คีบตัวหนอนออกก่อนที่จะทำการตักนมด้วยความระมัดระวัง  หลังจากนั้นตักนมผึ้งออกจากหลอดโดยตักใส่ภาชนะที่เตรียมไว้จนมีปริมาณมากพอแล้วบรรจุใส่ถุงพลาสติกถุงละ 1 กก.นำไปแช่ในกล่องเก็บความเย็นชั่วคราวเพื่อรอจำหน่ายต่อไป3. การย้ายตัวหนอนเพื่อผลิตครั้งต่อไปไม่ต้องรอพื้นอีกให้ทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาได้เลย 

ความแตกต่างของการผลิตนางพญากับการทำนมผึ้ง   

          Queen           Royal jelly 

1.การคัดเลือกรัง

ควีน.รังที่จะเลี้ยงต้องเอาผึ้งนางพญาออก

ทำนม.รังที่จะเลี้ยงไม่ต้องเอาผึ้งนางพญาออก

2. จำนวนหลอด

ควีน.1 แถวมี 15 หลอดห่างๆกัน มี3 แถว

ทำนม. 1 แถวมี 30 หลอดติดกันมี 3 แถว

3.ตัวหนอน

ควีน.ต้องคัดเลือกประวัติหนอนที่สมบรูณ์

ทำนม.ไม่ต้องคัดเลือกตัวหนอน

4.ตัวผู้

ควีน.เราต้องเตรียมตัวผู้ก่อนผลิตควีน.ไม่ต่ำกว่า 20 วัน

ทำนม. ไม่สนใจตัวผู้

คำสำคัญ (Tags): #ขั้นตอน
หมายเลขบันทึก: 46114เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 00:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ข้อคิดเห็น
สีหานาถ เมื่อ อ. 15 ส.ค. 2549 @ 11:39 จาก 202.12.97.120   ลบ

 ไม่ทราบว่ามีผลวิเคราะห์ ทางไภชนาการ ระหว่าง ผึ้งธรรมชาติกับผึ้งเลี้ยง หรือไม่ ไม่มั่นใจว่าผึ้งที่เลี้ยงด้วยนำตาล จะมีผลกับผู้บริโภค ที่มีโรคประจำตัว เช่นเบาหวาน เป็นต้น

Lemonhoney เมื่อ อ. 20 ส.ค. 2549 @ 15:03 จาก 61.19.231.4   ลบ

ok. pease wait

 

Lemonhoney เมื่อ อ. 22 ส.ค. 2549 @ 21:11 จาก 202.28.21.4   ลบ

ตอบคำถาม คุณสีหานาถ

ผึ้งที่เลี้ยงด้วยน้ำตาลมีผลต่อคนเป็นโรคเบาหวานค่ะเพราะรอยัลเจลลี่มีส่วนผสมของน้ำตาลที่ผึ้งกินเข้าไป

....ต้องขอโทษด้วยนะค่ะที่ตอบคำถามช้าไป...

นมผึ้งเป็นส่วนผสมมาจากเกสรและน้ำหวานหรือน้ำตาลมีรสชาติเปรี้ยวและเผ็ดไม่มีความหวานเลยครับผมดีต่อสุขภาพครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท