AIC ชุมชนดูแลผู้ป่วยซึมเศร้า


ผลักดันให้เกิดการคืนกลับ "คนดี"...สู่สังคม

เช้าวันนี้...ตื่นมาด้วยความสดใส...
กับแสงแดด...ที่สาดส่องมา...หลังจากหลายวันได้หลบหายไปหลังก้อยเมฆฝน
...

       วันนี้ที่เราคนทำงานลงพื้นที่ โดยมีน้องหนุ่ย น้องหนิง และพี่เขียว...ร่วมกับทางสถานีอนามัยตำบล และแกนนำชาวบ้าน ทำโครงการ AIC ที่ต่อเนื่องจากครั้งก่อนที่เราไปทำ Focus group ในเรื่อง การดูแลและฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย...โดยให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น...ในทุกกระบวนการ

       พื้นที่การลงที่ต่อเนื่องนี้ที่ ต.ห้องข่า ที่อัตราการฆ่าตัวตายมากที่สุดในเขต อ.เมือง จากครั้งก่อนที่เราลงไปทำ focus group นั้นพบว่ามีหลายปัจจัยที่เป็นสาเหตุ แต่คนดูแลหรือ care giver ต่างไม่เข้าใจถึงวิธีการหรือการสังเกตคนในครอบครัวตนเองว่ามีภาวะซึมเศร้า...และชุมชนต่างที่จะต้องการเข้ามามีบทบาทที่จะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทางสาธารณสุข...ในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ด้วย

       จากเมื่อวันก่อนทางกลุ่มงานได้ลงไปประสานกับทางพื้นที่ เพื่อหารือปรึกษากับทางนายก อบต. ท่านเสนอให้มีแกนนำหมู่บ้านเข้ามาร่วมเป็นคนขับเคลื่อนร่วมกับ อสม.ในหมู่บ้านและตำบล เพื่อช่วยเหลือกันอีกแรงในการที่ผลักดันให้เกิดการคืนกลับ "คนดี"...ที่ป่วยทางด้านจิต..นี้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติทั่วไป ซึ่งไม่เน้นว่าต้องเป็นโรคใดโรคหนึ่งเท่านั้น...

...
จากการนำร่องโครงการลงพื้นที่เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมนี้...ดิฉันได้นำมาขยายผลในการดำเนินการต่ออีกในหลายพื้นที่ที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของเรา...

 

หมายเลขบันทึก: 46091เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2006 07:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อืมม์ ประเด็นนี้น่าสนใจนะ เพราะปีที่แล้วผมส่ง ผู้เข้าอบรม ผบต. ลงไปฝักงานแห่งหนึ่งที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงในอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ปรากฎว่าปัญหาค่อนข้างซับซ้อน ทำเอา ผู้อบรมบอกว่า "อาจารย์ พี่อยากจะลาตายแล้วเนี่ย" 

จากการวิเคราะห์ก็พบสาเหตุหลายอย่าง ทั้งเรืองการเจ็บปว่ยทางกาย (หลายคนติดเชือ่ HIV)  สภาพครอบครัว (ครอบครัวเดียว หย่าร้าง) สังคม (ชุมชนโรงงาน) และอื่นๆ  อ้อ และที่สำคัญนะ จนท. ขาดทักษะในการประเมินและให้การดูแล crisis intervetion อีกทั้งขาดทักษะในการให้คำปรึกษา

ทำให้ผมคิดอยู่นะว่า ถ้าเราต้องรับผิดชอบพื้นที่นี้ จะทำโครงการป้องกันคนฆ่าตัวตายได้ยังไง

คุณคนไกลบ้าน...

ตั้งแต่คุณเข้ามากะปุ๋มว่าบันทึกก็ปุ๋มใน Blog คนเล่าเรื่องจิตเวชนี้คึกคักและต่อยอดมากขึ้นนะคะ...หลังจากเงียบๆ..เหงาๆ...มานาน..

ขอบคุณมากนะคะ...ที่มาช่วยเติมเต็ม...

 

วันนี้เราเพิ่งเสร็จสิ้นโครงการเพิ่มเติมความรู้คะ...

และมีการขยายผลตั้งเป็นเครือข่าย...คนทำงานในชุมชน โดยมี อสม. เป็นแก่นนำ อบต. และครอบครัวที่อาสาสมัครเข้าร่วมคะ...

...

ถือว่าเป็นการเดินทางที่ต่อเนื่องมาจากปีก่อน...และมีการขยายผลเป็นรูปธรรมชัดขึ้น...

สำหรับในส่วนบุคลากรนั้น...เราเพิ่งจัดอบรม...ความรู้เพิ่มเติมให้ในทักษะและการประเมิน...ซึ่งในส่วนนี้จริงๆแล้วเราทำทุกปีนะคะ...แต่ก็มีปัจจัยอื่นมาแทรก..อย่างที่คุณคนไกลบ้านว่านั่นแหละคะ...

...

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น...เราค่อยๆพัฒนาไปคะ...ด้วยความโชคดีที่เรามีทีมทำงานกันด้วยใจจริงๆ คะ...ต้องขอบคุณน้องหนุ่ย น้องหนิง ป้าเขียว พี่เบิร์ด พี่หน่อยน้อย พี่นาง และพี่หน่อยใหญ่...ที่ทุกคนรักกันและทำงานเป็นทีมอย่างดียิ่งคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท