นโยบายของรัฐในการจัดการกับปัญหาคนไร้สัญชาติ


การให้สัญชาติไทยแก่คนต่างด้าวอาจกระทบกับความมั่นคงของชาติ
ข้อดีของนโยบาย 1.เป็นการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ม.4เรื่องการรับรองศักดิ์ศรีความเป็มนุษย์ เพราะการที่รัฐบาลไทยให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงปิยนุช ซึ่งบิดาและมารดามีสถานะเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยผิดกฏหมาย นอกจากนี้บิดาและมารดาก็ได้เสียชีวิตลงแล้ว ปัจจุบันเด็กหญิงปิยนุชอยู่ในความอุปการะของคนไทย ดังนั้นการให้สัญชาติไทยแก่เด็กหญิงปิยนุช จึงเป็นการปฎิบัติตามรัฐธรรมมูญ มาตรา 4 เรื่องการรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมาตรา 30 ว่าด้วยความเสมอภาคของบุคคล ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์นั้นไม่ได้พิจารณาเฉพาะคนที่มีศัญชาติไทยเท่านั้น แต่ต้องปฏิบัติกับคนชาติอื่นหรือคนไร้สัญชาติเช่นเดียวกัน 2.เป็นการเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลประการหนึ่งคือ การมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา ซึ่งหากรัฐบาลไทยไม่ให้สัญชาติแก่เด็กหญิงปิยนุชจะทำให้เด็กหญิงปิยนุชไม่สามารถได้รับการศึกษาตามระบบการศึกษาของไทยได้ นั่นคือไม่มีสิทธิที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนของไทย เพราะไม่มีสัญชาติไทยนั่นเอง 3. ถึงแม้การให้สัญชาติไทยแก่คนต่างด้าวอาจกระทบกับความมั่นคงของชาติ แต่หากมองทางด้านสังคมและจิตวิทยาของเด็กไร้สัญชาติที่เกิดในไทย ซึ่งบิดาและมารดาได้เสียชีวิตลงแล้ว เท่ากับว่าเขาก็เป็นคนไทย โดยเติบโตมาในสภาพแวดล้อม ประเพณี และวัฒนธรรมไทย เขาย่อมต้องรู้สึกว่าเขาก็เป็นคนไทยคนหนึ่ง และปฏิบัติตนเหมือนกับคนไทยคนอื่นๆ ทั่วไป ไม่สร้างปัญหาให้แก่สังคม จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการปกครองบุคคลเหล่านี้แต่อย่างใด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกรณีคนต่างด้าวที่ได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือโดยการอื่น ซึ่งมิได้เกิด เติบโต หรือซึมซับวัฒนธรรมประเพณีต่าง ๆของไทย แต่ยังคงมีความรู้สึกเป็นคนชาติดั้งเดิมของตนเองอยู่ ซึ่งบุคคลเหล่านี้อาจสร้างปัญหาสังคม หรือปัญหาในการปกครองให้แก่ประเทศไทยได้มากกว่า ข้อเสียของนโยบาย 1.คนต่างด้าวอาจใช้เป็นช่องทางที่จะทำให้บุตรของตนได้รับสัญชาติไทย เนื่องจากมีคนต่างด้าวจำนวนหนึ่งที่ต้องการให้บุตรของตนได้รับสัญชาตไทย อาจนำเอาบุตรของตนเองไปฝากคนไทยให้อุปการะเลี้ยงดู และบิดามารดาก็อาจหายสาบสูญไป ซึ่งเป็นการขัดกับ ม.7,ม7 ทวิ ของพ.ร.บ.สัญชาติ ข้อเสนอ เพื่อเป็นการป้องกันมิให้คนต่างด้าวที่เข้าเมืองไทยโดยผิดกฎหมายสามารถที่จะทำให้บุตรของตนเองได้รับสัญชาติไทย จึงขอเสนอแนวทางดังนี้ 1.ต้องมีกระบวนการพิสูจน์เด็กไร้สัญชาติที่บิดามารดาเสียชีวิตไปแล้วว่า บิดาและมารดาได้เสียชีวิตไปแล้วจริง และไม่ปรากฏว่าเด็กมีญาติอยู่ ณ ที่ใด และหากส่งเด็กกลับคืนไปยังชาติของบิดาหรือมารดา อาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของเด็ก เช่น เด็กไม่สามารถปรับตัวเข้ากับที่ใหม่ได้ เป็นต้น 2.ต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเด็กไร้สัญชาตินั้น เกิดในประเทศไทย และต้องการอยู่ในไทยเป็นการถาวรเยี่ยงคนชาติไทย 3.หากปรากฏในภายหลังว่าเด็กไร้สัญชาตินั้น บิดาหรือมารดายังมีชีวิตอยู่ โดยยังมิได้เสียชีวิตแต่ประการใด จะต้องดำเนินการถอนสัญชาติไทยทันที
หมายเลขบันทึก: 46048เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท