การสอนแบบโครงงาน


การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงาน หรืองานวิจัยเล็กๆ สำหรับนักเรียน

                พูดถึง "โครงงาน" คำนี้อาจจะมองว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้เป็นหน้าที่ของรายวิชาวิทยาศาสตร์เนื่อง จาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์นั้นมุ่งเน้นหลักการ เหตุผล มีการตั้ง สมมติฐาน และหาวิธีการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการตรวจสอบโดยมีเหตุมีผล
                แต่หากเราได้มองดูการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน เราคงปฎิเสธไม่ได้เลยว่า การจัดทำโครงงาน เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะกระบวนการคิด การสร้างองค์ความรู้และส่งเสริมการทำงานเป็นทีม รวมทั้งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นสำคัญอย่างแท้จริง  การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานนี้เป็นอย่างไร ข้าพเจ้านำบทความทางวิชาการ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมาฝาก

                  การสอนแบบโครงงาน (Project Approach)

      โครงงาน คือ งานวิจัยของนักเรียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง โดยมีครูคอยแนะนำให้คำปรึกษา

      องค์ประกอบของโครงงาน ประกอบด้วยความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ของการศึกษา เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา วิธีดำเนินการศึกษา ผลการศึกษา และสรุปผลการศึกษา ซึ่งอาจเรียบเรียงต่อกันเหมือนวิจัยอย่างง่ายหรือแผ่นเดียวของครู หรืออาจแยกเป็นบท 4-5 บท ตามลักษณะของงานวิจัยทั่วไป โครงงานที่ดี ควรมีการสำรวจ แยกแยะ จัดหมวดหมู่ของข้อมูลให้เป็นระบบ และต้องเป็นผลการศึกษาที่เกิดจากนักเรียนเอง ครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาชี้แนะ      ประเภทของโครงงาน โดยทั่วไปแบ่งเป็น โครงงานเชิงสำรวจ  โครงงานเชิงทดลอง  โครงงานประดิษฐ์ โครงงานทดสอบสมมติฐานความรู้

      กระบวนการติดตามการทำโครงงาน ด้านคุณภาพ       ใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการติดตามผลการทำโครงงาน

P-Plan (วางแผน) เป็นการวางแผนการทำงาน การทำโครงการ

D-Do (ทำ) เป็นการลงมือทำโครงงาน สำรวจ ทดลอง สรุปผลการทดลอง การทำเล่มรายงานโครงงาน

C-Check (ตรวจสอบ) นำเสนอโครงงานให้ครูตรวจสอบ ให้คำแนะนำเพิ่มเติม

A-Act (ปรับปรุง พัฒนา) นำผลที่ได้ไปปรับปรุง พัฒนาให้โครงงานสมบูรณ์แบบ ก่อนสรุปเป็นเล่มรายงาน

        ด้านผู้เรียน ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ส่งผลให้นักเรียนได้ฝึกคิดวิเคราะห์ รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มีทักษะความรู้ที่จำเป็นตามหลักสูตร ซึ่งส่งผลให้การประเมินมาตรฐานภายนอก จาก สมศ. ดังนี้

        ข้อ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ

        ข้อ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

        ข้อ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

        การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานนี้ ไม่่ใช่เรื่องยากและไม่จำกัดอยู่แค่เพียงนักเรียนระดับมัธยมศึกษาหรือในบาง รายวิชาอย่างวิทยาศาสตร์เท่านั้น ระดับปฐมวัยหรือแม้แต่ระดับประถมศึกษาก็สามารถนำรูปแบบการสอนแบบโครงการนี้ มาสอนได้

        การเรียนการสอนแบบนี้สามารถให้นักเรียนสามารถใช้ทักษะทุกด้านของตนอย่างเต็ม ความสามารถ แม้จะเป็นหัวข้อโครงงานที่ไม่ได้ยากหรือหรูหราอะไรมากมายแต่การที่นักเรียน ได้เรียนรู้ที่จะทำโครงงาน ได้เรียนรู้ที่จะทำงานเป็นกลุ่มได้ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ นี่ต่างหากคือสิ่งที่ เป็นหัวใจของการทำโครงงาน และความรู้จะยั่งยืนในสมองของนักเรียน

 

คำสำคัญ (Tags): #โครงงาน
หมายเลขบันทึก: 460313เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2011 21:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท