KM ที่รัก ตอนที่46 " บทความทางวิชาการ" เรื่องเล่าเร้าพลัง


"การเขียนงานวิชาการเบื้องต้น"

                       ทำไมเราจึงต้องอาศัยตำราต่างประเทศในการเรียนการสอน และอ้างอิง  เราทุกคนเคยเรียนประวัติศาสตร์มา เราลองย้อนกลับไปดูในอดีตเราจะเห็นได้ว่า วิชาสำคัญๆ เช่น ทางการแพทย์    ทางกฎหมาย  ทางวิทยาศาสตร์    ความรู้ทางอุตสาหกรรม   วิชาเหล่านี้เราต้องใช้ตำราจากต่างประเทศใช้ในการเรียนการสอนแม้ว่าช่วงหลังๆ  ประเทศไทยเรา  เริ่มมีการเขียนหนังสือบ้างแต่หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยส่วนมาก  คนต่างชาติเป็นคนเขียนบันทึกเอาไว้ เสียเป็นส่วนมาก  คนไทยพูดเก่ง  ทำเก่ง แต่ไม่ชอบเขียน  ไม่ชอบบันทึก  วิบากกรรมจึงตกมาถึงรุ่นพวกเรา(เห็นด้วยหรือเปล่าครับ)

                                  ผมได้มีโอกาส เข้าร่วมประชุม สัมมาทางวิชาการ ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในเรื่องการเขียนรายงานการวิจัย   และการเขียนงานวิชาการเบื้องต้น  มีนักวิชาการที่มีประสบการณ์มากมาย เรื่องที่น่าสนใจมากคือ การเขียนบทความทางวิชาการ  เพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ โดยผศ.ดร.กนกวรรณ  มะโนรมย์   เนื่องจากเงื่อนไข ของนักศึกษาที่จะจบ(ป.โท และ ป.เอก) จะต้องมีผลงานการเขียน บทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการ ซึ่งจะเป็นการยกระดับ  ความสามารถทางวิชาการ ของนักศึกษาเป็นที่ยอมรับของสังคม

                                    จะเขียนบทความทางวิชาการ...เราจะเริ่มตรงไหนดี     สิ่งแรกที่ต้องคำนึงก็คือ  เรื่องของเราที่เขียนจะเขียนให้ใครอ่าน????...การเขียนจะต้องเป็นประเด็นที่ที่แคบและชัดเจน  ไม่กว้างจนหาจุดเน้นไม่ได้   และที่สำคัญจะต้องมีการเรียบเรียงและร้อยเรียงคำพูดไห้สอดรับกันอย่างกลมกลืน เป็นเนื้อเดียวกัน    การใช้ภาษาก็สำคัญบทความที่ดีจะต้องอ่านง่าย เหมาะกับเนื้อเรื่อง  เหมาะกับคนอ่าน  ส่วนเทคนิคการนำเสนอ อาจจะ เริ่มจากจุดเล็กๆ ที่น่าสนใจ เชื่อมโยงไปหาจุดใหญ่  หรืออาจจะจับอารมณ์ ของสังคมขณะนั้น หรือเหตุการณ์ ประวัติศาตร์  ที่อยู่ในความทรงจำของคน  และสิ่งที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี                                       จะทำอย่างไร  โครงเรื่องที่เขียนจึงจะชัดเจน

                                                      -๑  ควรลำดับหัวข้อสำคัญให้ชัดเจน

                                                        ๑ ไม่เขียนเหมือน คนบ่น

                                                        ๑ ไม่ปล่อยไห้ผู้อ่าน เสียเวลา หากว่าจะเจอหัวใจ  

                                         จะมีกลวิธีการเขียนอย่างไร??? 

                                                         ๑ เลือกเรื่องที่รู้ดีที่สุด

                                                         ๑ งดเว้นการใส่อารมณ์

                                                         ๑ แยกแยะข้อมูล/ความเห็น

                                                         ๑ ไม่ชี้ขาด แต่นำเสนออย่างมีเหตุผล

                                                         ๑ ข้อมูลเชื่อถือ ตรวจสอบได้

                                          จะตั้งชื่ออย่างไร ให้น่าสนใจ

                                                         ๑ ตั้งชื่อตรงกับเนื้อเรื่อง

                                                         ๑ คำคล้องจอง

                                                          คำกริยาที่เรียกความสนใจ

                                                         ๑ ใช้คำตรงกันข้าม

                                                         ๑ คำพังเพย

                  อะไรละ..ครับที่จะทำไห้ เจ้าของวารสารทางวิชาการ ตกลงนำเอา บทความทางวิชาการของเรา ลงตีพิมพ์ เผยแพร่  สิ่งที่คนเขียนบทความ ต้องคำนึงถึงอย่างมากคือ  บทความวิชาการ ต้องผ่านการ Review & editor   เพื่อตอบคำถามว่า มีการจัดการความสมดุลย์ ระหว่างความคิด ทฤษฎี และข้อมูล  สิ่งสำคัญอีประการหนึ่งคือ  บทความนี้น่าจะตีพิมพ์ ในวารสารอะไรและระดับไหน สุดท้ายสำคัญจริงๆ คือ งานที่จะส่งต้องเป็น DraFt  ที่มีความสมบูรณ์ ที่สุด ไม่ใช่ส่งงานที่กว้าง หรือยังหาประเด็นไม่ชัด....ครับผม             
หมายเลขบันทึก: 46022เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2006 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท