ความสำคัญของการมีเจ้าภาพ


ทำให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในแต่ละตัวชี้วัด ทำให้สะดวกในการติดตามและประเมินผล

         ช่วงบ่ายของวันจันทร์ที่ 26 ก.ย. 48 มีการประชุมเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจและเตรียมพร้อมรับการประเมินจาก กพร. ที่กำหนดจะมา site visit ประมาณวันที่ 18 เดือนหน้า (18 ต.ค. 48) ผมต้องเป็นประธานในที่ประชุมแทนท่านรองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา (ดร.สำราญ ทองแพง) มีผู้ที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมกันพร้อมหน้าพร้อมตา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในสำนักงานอธิการบดี ที่พิเศษหน่อยคราวนี้คือ ท่านรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต (รวมด้านศิลปวัฒนธรรมด้วย) (ผศ.ชาลี ทองเรือง) ก็มาเข้าร่วมประชุมด้วย

         เนื่องจากเคยมีการประชุมกันมาเป็นระยะ ๆ จึงไม่จำเป็นต้องชี้แจงทำความเข้าใจกันมาก พูดคุยกันถึงความก้าวหน้าได้เลย ได้ข้อสรุปที่ค่อนข้างชัดเจนในแต่ละประเด็น ในแต่ละตัวชี้วัด เสร็จแล้วนัดพูดคุยกันอีกครั้งในเช้า (10.00 น. -12.00 น.) ของวันจันทร์ที่ 3 ต.ค. 48 ที่เดิม (ห้องประชุมชั้น 2 ตึกมิ่งขวัญ)

         ผมให้ข้อสังเกตว่าที่พูดคุยกันได้ง่าย สรุปประเด็นได้ชัดเจนก็เนื่องมาจากในแต่ละตัวชี้วัดของ กพร. นั้น กพร.กำหนดว่าต้องมีผู้รับผิดชอบกำกับดูแล (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นรองอธิการบดีที่รับผิดชอบด้านนั้นๆ) และต้องระบุผู้เก็บรวบรวมข้อมูล (ส่วนใหญ่เป็น ผอ.กอง หรือ หน.ฝ่ายที่รับผิดชอบในด้านนั้นๆ) ด้วย ทำให้มีเจ้าภาพที่ชัดเจนในแต่ละตัวชี้วัด ทำให้สะดวกในการติดตามและประเมินผล

         วิธีการของ กพร. นี้ทาง มน. เองไม่ถือว่าเป็นของแปลกหรือใหม่อะไร เนื่องจาก IQA ของ มน. ทำกันมาตั้งแต่ปี 44 แล้ว โดยเฉพาะระดับคณะและหน่วยงานต่าง ๆ จะคุ้นเคยกับวิธีนี้เป็นอย่างดี แต่ว่าในระดับมหาวิทยาลัยและสภามหาวิทยาลัยอาจจะยังไม่ค่อยจะคุ้นเคย คงต้องใช้เวลาสักพัก


         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

คำสำคัญ (Tags): #kpis#ก.พ.ร.#เจ้าภาพ
หมายเลขบันทึก: 4600เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2005 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท