สิทธิบัตรกับการวิจัย


ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักวิจัยของ มน. กำลังเขียนข้อเสนอการวิจัยสำหรับขอรับทุนจากงบประมาณแผ่นดินปี 2550 และทุนวิจัยจากเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนล่างอยู่พอดี จึงอยากเสนอแนะให้นักวิจัยลองตั้งต้นการเขียนข้อเสนอโครงการโดยการค้นคว้าฐานความรู้เดิมจากทั้งในรูปของวารสารและสิทธิบัตรด้วยครับ เพื่อเราจะได้มีโอกาสที่จะมีผลงานด้านสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาด้านอื่น ๆ กันเพิ่มมากขึ้น

         วันจันทร์ที่ 26 ก.ย. 48 มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสืบค้นข้อมูลเอกสารสิทธิบัตรและต่อยอดเทคโนโลยีเพื่อพัฒนางานวิจัย” ที่ชั้น 2 ตึก CITCOMS โดยท่านอาจารย์ปราโมทย์ ธรรมรัตน์ และทีมงานจาก ม.เกษตรศาสตร์ กรุณามาช่วยเป็นวิทยากร

         ผมเป็นคนกล่าวรายงานให้กับท่านอธิการบดีในพิธีเปิด ผู้เข้าร่วมประชุมมีประมาณ 50 คน มากกว่าที่ผมคาดไว้มาก เนื่องจากเป็นช่วงตรงกับการสอบ อาจารย์ส่วนใหญ่ต้องคุมสอบกัน ท่านคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ (รศ.พูนพงษ์ งามเกษม) และท่านคณบดีคณะสหเวชศาสตร์คนใหม่ (รศ.มาลินี ธนารุณ) ก็เข้าร่วมประชุมด้วย จำได้ว่าปี 48 นี้ มีการจดลิขสิทธิ์โดยท่านคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ 2 เรื่อง มีเรื่องที่ท่านอาจารย์มาลินีอยากจะจดสิทธิบัตร 1-2 เรื่อง ท่านอาจารย์แดง (ผศ.ดร.อัษฎางค์ พลนอก) จากคณะเภสัชศาสตร์ก็มาเข้าร่วมเนื่องจากมีเรื่องที่อยากจะจดสิทธิบัตรเช่นกัน

         ก่อนกล่าวรายงานผมลองค้นข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ประกอบการรายงาน พบว่าในปี 2546 จำนวนสิทธิบัตรของไทยคือ 65 เมื่อเทียบกับ เกาหลี (34,052) และญี่ปุ่น (123,978) และพบว่า นักวิจัยไทยส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงฐานความรู้เดิมที่อยู่ในรูปของ “สิทธิบัตร” ส่วนใหญ่สืบค้นความรู้เดิมจากการตีพิมพ์ในวารสารเป็นหลัก จึงเป็นเหตุให้งานวิจัยซ้ำซ้อน ใช้เวลามาก และต้องใช้ต้นทุนสูง นักวิจัยยังไม่ค่อยเข้าใจถึงประโยชน์ของแหล่งข้อมูลนี้ ทั้ง ๆ ที่สามารถสืบค้นได้ง่ายด้วยระบบสืบค้นข้อมูลทาง Internet

         ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักวิจัยของ มน. กำลังเขียนข้อเสนอการวิจัยสำหรับขอรับทุนจากงบประมาณแผ่นดินปี 2550 และทุนวิจัย จากเครือข่ายการวิจัยภาคเหนือตอนล่างอยู่พอดี จึงอยากเสนอแนะให้นักวิจัยลองตั้งต้นการเขียนข้อเสนอโครงการโดยการค้นคว้าฐานความรู้เดิมจากทั้งในรูปของวารสารและสิทธิบัตรด้วยครับ เพื่อเราจะได้มีโอกาสที่จะมีผลงานด้านสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาด้านอื่น ๆ กันเพิ่มมากขึ้น

         เรื่องฐานข้อมูลสิทธิบัตรอาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับนักวิจัยบางท่าน จึงขอแนะนำให้ลองเริ่มต้นที่ toryod.com หรือโทรมา (1649) หรือมาพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่หน่วยทรัพย์สินทางปัญญา ที่ชั้น 6 ตึก CITCOMS ก็ได้ครับ

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 4595เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2005 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท