จรรยาบรรณของผู้บริหาร


จรรยาบรรณของผู้บริหาร

          ผู้บริหารในวงการศึกษาจาก 2 กลุ่มใหญ่ ผู้บริหารในวงการศึกษาตามลักษณะของงานและหน่วยงานที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู หรือจรรยาบรรณวิชาชีพอื่น อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ได้ดังนี้

            1. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ที่เป็นสถานศึกษา

            2. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ที่ไม่ใช่สถานศึกษา

                นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากผู้บริหารในวงการศึกษาผู้ใด เป็นข้าราชการ หรือพนักงาน หรือลูกจ้างอื่นของรัฐ จะต้องปฏิบัติตนตาม “จรรยาบรรณกลาง ของ ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ” อีกด้วย

                จรรยาบรรณในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของ ผู้บริหาร ให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมมาก จรรยาบรรณของผู้บริหารมี ดังนี้

                1. จรรยาบรรณต่อตนเอง

                    1.1 พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และพัฒนาตน ให้มีคุณธรรม มี สุขภาพดี ทั้งกายและจิต รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการบริหารงาน

                    1.2 พึงอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม

                    1.3 พึงมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

                 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

                    2.1  พึงซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ

                    2.2  พึงใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

                    2.3  พึงละเว้นการทำธุรกิจที่อาศัยอำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ในกิจการนั้น

                 3.  จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

                    3.1   พึงซื่อสัตย์ต่อผู้รับบริการรักษาความลับและผลประโยชน์ในทางที่ถูก ของ ผู้รับบริการ

                    3.2   พึงละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ

                    3.3  พึงให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ บริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

                4.  จรรยาบรรณต่อบุคลากรในองค์การ

                    4.1   พึงมีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ

                    4.2   พึงบริหารคนด้วยระบบคุณธรรม ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

                    4.3   พึงรักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยหลักการและเหตุผล

                5.  จรรยาบรรณต่อองค์การ ชุมชน และสังคม

                    5.1 พึงให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อองค์การ

                    5.2 พึงดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์การ ย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ

                    5.3 พึงสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม

ที่มา : http://www.okkbkk.net/index.php?mo=3&art=589412

คำสำคัญ (Tags): #kmanw2
หมายเลขบันทึก: 458930เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2011 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท