ความคิด ‘ปิดสวิตช์' ขณะกะพริบตา


นักวิจัยพบหลายส่วนในสมอง “ปิดสวิตช์” ชั่วคราวขณะกะพริบตา ทำให้เราไม่ทันสังเกตเวลาที่เราทำกิริยาดังกล่าว แม้ว่ายังมีแสงเล็ดลอดเข้าถึงดวงตาก็ตาม

นักวิจัยจากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน (University College London ) ศึกษาเรื่องนี้โดยใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาพิเศษเพื่อ ศึกษาปฏิกิริยาจากการกะพริบตาที่มีต่อสมอง อุปกรณ์ที่ว่าทำจากเคเบิลใยแก้วนำแสง ซึ่งจะนำไปติดไว้ในปากอาสาสมัครที่สวมหน้ากากกันแสง และนอนอยู่บนเครื่องสแกนสมองด้วยสนามแม่เหล็กที่ชื่อ fMRI (functional magnetic resonance imaging)

ขั้นตอนก็คือ เคเบิลใยแก้วนำแสงจะฉายแสงจัดจ้าผ่านเพดานปากไปที่ลูกตา ทำให้บริเวณหัวตาสว่างเป็นสีแดงเรืองๆ ซึ่งเท่ากับว่าแสงยังคงตกกระทบเรจินาแม้ขณะที่อาสาสมัครกะพริบตา ณ จุดนั้น นักวิจัยจึงทำการตรวจสอบปฏิกิริยาของการกะพริบตาต่อกิจกรรมในสมอง

สิ่งที่พบคือ การกะพริบตาจะไปกดทับกิจกรรมของสมองในส่วนที่เกี่ยวกับการมองเห็น และส่วนอื่นๆ ที่เรียกว่า แพริเอตทัล (parietal) ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการคิดที่ซับซ้อน และส่วนพรีฟรอนทัล (prefrontal) ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาความนึกคิด ซึ่งปกติแล้วสมองส่วนต่างๆ เหล่านี้จะทำงานเมื่อคนมองเห็นภาพหรือวัตถุ

เดวินา บริสโทว์ (Davina Bristow) จากสถาบันประสาทวิทยาแห่งยูซีแอลเอ (UCL's Institute of Neurology) อธิบายว่า คนเราต้องกะพริบตาเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น โดยคนส่วนใหญ่กะพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อนาที และแต่ละครั้งกินเวลาเฉลี่ย 100-150 มิลลิวินาที (เศษ 1 ส่วนพันของวินาที) หมายความว่าปีๆ หนึ่งเราใช้เวลากะพริบตาเบ็ดเสร็จอย่างน้อย 9 วัน

“เราจะสังเกตได้ทันทีถ้าโลกภายนอกมืดลงกระทันหัน โดยเฉพาะถ้ามันเกิดขึ้นทุก 2 วินาที แต่เราเกือบไม่รู้ตัวเวลากระพริบตา ถึงจะทำให้ปริมาณแสงที่เข้าตาลดลงเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น ภาพของโลกจึงไม่ขาดตอนเวลาเรากะพริบตา”

“นอกจากนั้น การที่การกะพริบตาไปกดทับสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น อาจเป็นกลไกป้องกันสมองจากการรับรู้ว่าหนังตาปิดลงมาคลุมตาดำระหว่างกะพริบตา และโลกกำลังจะมืดลง”

ผลการศึกษานี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสารเคอร์เรนต์ไบโอโลจี (Current Biology) เล่มล่าสุด โดยได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิเวลคัม ทรัสต์

                                                                                               บทความจาก : ผู้จัดการออนไลน์

คำสำคัญ (Tags): #rsu#ite#ima
หมายเลขบันทึก: 45891เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชอบมากๆ เลยนะ  เรื่องนี้  ถ้าแพรวเจอเรื่องประมาณนี้อีกก็เอามา Up load ไว้อีกนะคับ  ขอบคุณคับสำหรับข้อมูลดีๆ ที่ให้ความรู้  ชอบมากๆคับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท