กระบวนทัศน์ (Paradigm)


กระบวนทัศน์ (Paradigm)

ความหมายของกระบวนทัศน์ (Paradigm)

        คำว่า กระบวนทัศน์ (Paradigm) เป็นคำศัพท์ที่ Thomas S. Kuhn ได้นำเสนอและเผยแพร่เมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513) อีกทั้งจากการประชุมทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1974 และจากการประชุมทางด้านการบริหารรัฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1975 เป็นผลให้นักวิชาการสนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนทัศน์มากขึ้น

นักวิชาการได้ให้ความหมายของกระบวนทัศน์ไว้หลายความหมาย ดังนี้

          Thomas S. Kuhn กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง ผลสำเร็จทางด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Achievement) ที่นักวิชาการนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมองค์การ นโยบาย โครงสร้าง กระบวนการ เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริหาร

         Robert T. Holt & John M. Richardson กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง แบบแผน หรือกรอบเค้าโครงที่กำหนดรูปแบบและแนวทางการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ (1) แนวความคิดเชิงทฤษฎี (2) ทฤษฎี (3) กฎ (4) ปัญหา (5) ข้อเสนอแนะ

           เฉลิมพล ศรีหงษ์ กล่าวว่า กระบวนทัศน์ หมายถึง การกำหนดแก่นของปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาในลักษณะภาพรวม ซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการที่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และใช้เป็นพื้นฐานร่วมกันในการศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ หรืออธิบายรายละเอียดต่อไป

          กล่าวโดยสรุปกระบวนทัศน์ หมายถึง ตัวแบบ รูปแบบ กรอบแนวความคิด แนวทางการศึกษา ที่ใช้วิธีการทางด้าน วิทยาศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการศึกษา และแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการ ณ ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนทัศน์ (paradigm)
หมายเลขบันทึก: 458404เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท