ความหมายของ PDCA วงจรการบริหารงานคุณภาพ


วงจรการบริหารงานคุณภาพ , PDCA, การวางแผน, การปฏิบัติตามขั้นตอน,การตวจสอบ ,การปรับปรุงแก้ไข

   วงจรการบริหารงานคุณภาพ  PDCA

         ในวงการศึกษามักจะมีคำถามถามคณะครูว่าในสถานศึกษาได้มีการดำเนินงานตามขั้นตอน PDCA หรือไม่  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประเมินคุณภาพภายนอก   จากผู้ที่มาทำการประเมินในนามของ สมศ.

           จากประสบการที่เคยไปเป็นวิทยากรบรรยายในเรื่องการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาพบว่าหลายสถานศึกษาไม่แจ่มแจ้งในรายละเอียดของ  คำย่อ PDCA จึงนำความหมายของ  PDCA  มาให้ทราบเป็นเบื้องต้นดังนี้

PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย
                 P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น
                 D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง
                 C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด
                A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือ ถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
                เมื่อได้วางแผนงาน (P) นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A) การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA

                 สถานศึกษาใดดำเนินตามขั้นตอนวงจรการบริหารงานคุณภาพ  PDCAคือมี การวางแผน การปฏิบัติตามขั้นตอน     การตวจสอบ และดำเนินการปรับปรุงแก้ไข  นั่นแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ถูกต้องและสามารถมองเห็นอัตลักษณ์ตัวตนของสถานศึกษาได้ชัดเจนขึ้น
               

หมายเลขบันทึก: 458284เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2011 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

แวะมาเยี่ยมครับ วันก่อนได้คุยกันในที่ประชุมคณะกรรมการระดับท้องถิ่นที่เทศบาลตำบลน้ำน้อย เรื่องโครงการครูสอนดี ขอบคุณที่ระลึกถึงกันครับ ตอนนี้ผมอยู่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เอาใจช่วยด้วยนะครับ

คนทำความดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานของครู จะมีความปลอดภัยตลอดครับ ขอเป็นกำลังใจครับ

Thank you for the meaning of PDCA approach. (PDCA: Plan, Do, Check, Amend?)

I think something is missing in PDCA.

There are no "Data Collection", no "Problem Definition", no "Verification of the Cause of the Problem", ...

I have looked at 4 ariya-sacca as a "proven" approach for problem solving.

By replacing "dukkha" with "problem" we see that a process (loop):

Do we have a problem?

1) What is the problem?

2) What is the cause of this problem?

3) What is the (chosen) solution?

4) What is the course of actions (to perform to achieve the result)

[after execution of actions, we return to the 'top question': Do we have a problem?

and repeat until we answer "No".]

would be more "logical".

        ขอขอบคุณ คุณ sr [IP: 124.177.96.197] ที่ได้แสดงคคามเห็นที่เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยเหตุดังกล่าวก็เลยต้องแปลให้มวลสมาชิกทราบด้วย แปลถูกหรือผิด ก็ถือว่าความรู้คนแปลมีมาตรฐานการแปลที่พอจะบอกสถานะทางภาษาว่ามากน้อยแค่ไหนก็แล้วกัน

        (ข้อความที่แปลจากความคิดเห็นด้านบน)ขอขอบคุณสำหรับความหมายของวิธีการ PDCA (PDCA : Plan, Do, Check, อัพเดท?)

         ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ขาดหายไปใน PDCA ไม่มี"การเก็บรวบรวมข้อมูล","ไม่มีนิยามปัญหา","ไม่มีการตรวจสอบสาเหตุของปัญหา"ที่จะมี ... ผมมองที่ 4 อริยะ - sacca เป็นวิธีการ"พิสูจน์"ในการแก้ปัญหา โดยการแทนที่"dukkha"กับ"ปัญหา"เราจะเห็นว่ากระบวนการ (Loop) ที่อยู่ : เราจะมีปัญหาหรือไม่

       1) ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออะไร?

       2) สาเหตุของปัญหานี้คืออะไร?

       3) แก้ปัญหา (เลือก) คืออะไร?

       4) เป็นหลักสูตรของการกระทำ (การดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลคืออะไร)

       [หลังจากที่การดำเนินการของการกระทำของเรากลับไปที่'คำถามด้านบน': เรามีปัญหาหรือไม่ และทำซ้ำจนกว่าเราตอบ"ไม่".] จะมีมากขึ้น"ตรรกะ"

        ถ้ามีความรู้ที่จะขยายเพิ่มเติมเพื่อเป็นประโยชน์กับผมและมวลสมาชิก ....จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท