กลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ


การวิจัยเชิงคุณภาพมุ่งการตีความเพื่อทำความเข้าใจความหมายของพฤติกรรม หรืออธิบายปรากฏการณ์ในทัศนะของผู้ที่ถูกศึกษา โดยมีจุดยืนอยู่บนบริบทของปรากฏการณ์หรือของผู้คนที่ศึกษา

ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ

             วันนี้ขอสรุปเนื้อหาที่อาจารย์นันทิยา หุตานุวัต มอบหมายให้ไปอ่านตำรา "ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ" (ชาย  โพธิสิตา: 2549)  ในหัวข้อ "ลักษณะเชิงกลยุทธ์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ" ดังนี้

             1.  เป็นการวิจัยที่ทำในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติ (Natural Setting)  

                -    เป็นการศึกษาพฤติกรรมหรือปรากฏการณ์ในขณะที่สิ่งเหล่านั้นกำลังดำเนินอยู่ตามสภาพธรรมชาติ นักวิจัยจะเฝ้าสังเกตและจดบันทึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและดำเนินไปแบบ "สดๆ"

                 -   สถานการณ์นั้นต้องไม่ถูกแต่งเติมเสริมแต่ง (จัดฉาก)ตามความต้องการของนักวิจัย

                 -  วิธีการได้มาของข้อมูลควรมีลักษณะปลายเปิดให้คำตอบปรากฏขึ้นเองตามธรรมชาติและลักษระเฉพาะของผู้ให้ข้อมูลแต่ละคน

              2. ใช้แนวทางอุปนัย โดยเริ่มจากสิ่งที่จำเพาะเจาะจงหรือข้อมูลจากประชากรเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป หรือ การตั้งสมมติฐานควรตั้งขึ้นมาจากข้อมูลมากกว่าที่จะตั้งจากทฤษฎีที่มีอยู่ก่อน

              3. เน้นการทำความเข้าใจแบบองค์รวม ( Holistic Perspective)  เป็นการทำความเข้าใจปรากฏการณ์ที่ศึกษาอย่างเป็นองค์รวม ที่สิ่งต่าง ๆ มีความสัมพันธ์แบบหลายมิติต่อกัน ภายในบริบทที่ระบบนั้นเป็นอยู่ โยค้นหาว่าภายในระบบนั้นมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และส่วนประกอบเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

              4. ใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นหลัก ( Qualitative Data)  เป็นข้อมูลทุกรูปแบบที่เป็นข้อความ (text)  อยู่ในรูปของคำพูด หรือที่ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวเลข และเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ที่สามารถสื่อข้อมูลได้ และที่มาของแหล่งข้อมูล ก็ได้จากการทำงานในภาคสนาม (fieldwork)  และที่สำคัญนักวิจัยควรใช้ทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณประกอบกัน เพื่อให้บรรลุถึงความเข้าใจในประเด็นที่ศึกษาอย่างรอบด้านและเป็นองค์รวม

             5.  นักวิจัยเชิงคุณภาพติดต่อโดยตรงกับกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย (Direct contact with Participants)  คือการเข้าใปมีความสัมพันธ์โดยตรงกับกลุ่มประชากรเป้าหมายของการวิจัย นักวิจัยจะได้สร้างความคุ้นเคยและความไว้วางใจจากกลุ่มประชากร ซึ่งส่งผลดีต่อการเข้าถึงข้อมูลและคุณภาพของข้อมูล

             ยังมีอีกหลายข้อ จะนำเสนอต่อในวันพรุ่งนี้ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 45815เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท