บทบาทของผู้นำท้องถิ่น : บนเวทีการค้าเสรี แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 1


สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

                วันที่ 5 กันยายน 2554 ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ บรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “บทบาทของผู้นำท้องถิ่น : บนเวทีการค้าเสรี” เวลา 10.30 -  15.30 น. ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยาย ทั้งหมด 4 ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554

ในครั้งนี้ ผมจะบรรยายเกี่ยวกับ 10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น (Fact)
  • “The Net worth of Microsoft is 5% physical assets, 95% human imagination”        
วัตถุประสงค์วันนี้  คือเปิดโลกทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง
  • สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำท้องถิ่นมองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง สนุกกับการฟังในวันนี้
  • กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง และไปถึงองค์กรของเราว่าจะปรับตัวกับอาเซียนอย่างไร ฟังและคิดไปด้วย และพร้อมที่จะทำให้องค์กรท้องถิ่นปรับตัวให้ทันเหตุการณ์
  • แสวงหาโอกาสใหม่ที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน / ชุมชน
  • มองการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ สร้างเครือข่าย (Networks)
  • ลดปัจจัยทางลบที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นในอนาคต
  • มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป
ผมขอขอบคุณหน่วยงาน 2 หน่วยงาน คือ
  • กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้มีโอกาสไปพูดให้มหาวิทยาลัยนครพนมให้กับผู้นำท้องถิ่นเรื่องการปรับตัวเพื่อรองรับอาเซียนเสรี 2015 – ผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดกาฬสินธุ์กว่า 52 คน ก็ได้ตอบรับว่า การเปิดเสรีอาเซียน – เป็นทั้งโอกาสและเป็นทั้งการคุกคาม

          ดังนั้น ผู้นำท้องถิ่นทุก ๆ จังหวัดต้องเข้าใจและใช้โอกาสให้เป็นประโยชนกาฬสินธุ์โมเดล – มีผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มขายข้าวหอมมะลิไปที่เวียดนาม แล้วโดยไม่ต้องผ่านทางลาว

          ผมจะขอเริ่ม..10 ประเด็นที่ต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี

(1)   ประเทศในอาเซียนมี 10 ประเทศ ประกอบด้วย

ไทย

มาเลเซีย

ฟิลิปปินส์

อินโดนีเซีย

สิงคโปร์

บรูไน

ลาว

กัมพูชา

เวียดนาม

พม่า

การรวมตัวอาเซียนเริ่มที่ประเทศไทย.. เป็นผู้ริเริ่ม

2.จุดเริ่มต้นของอาเซียน

เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 รมว.กต. อินโดนีเซีย (นายอาดัม มาลิก) มาเลเซีย (ตุน อับดุล ราซัก บิน ฮุสเซน) ฟิลิปปินส์ (นายนาซิโซ รามอส) สิงคโปร์ (นายเอส ราชารัตนัม) และไทย (พันเอก ถนัด คอมันตร์ ลงนาม ใน ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration)

ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่

  • เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน
  • สังคมและวัฒนธรรม
  • ความมั่นคงทางการเมือง

           และสำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEANConnectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน

          3. ในวันนี้อยากให้ผู้นำสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อยแต่ก็ไม่ละเลยเรื่องภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมของเรา

  • เสรี แปลว่า สินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว จะไม่มีการกีดกัน ประเทศใดเก่งก็สามารถไปขายสินค้าหรือบริการในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาเซียนได้โดยไม่มีภาษีศุลกากร
  • แต่ขณะเดียวกัน.. ถ้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนเก่งกว่าประเทศไทย เขาก็เข้ามาแข่งกับประเทศเราได้   ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ.. ธุรกิจบางอย่างก็จะหายไป

นอกจากนั้น.. ยังเปิดเสรีเรื่องการลงทุน  เช่น ประเทศใดมีความสามารถในการระดมทุนการเงินมากกว่าประเทศอื่น ก็เข้าไปลงทุนในประเทศเหล่านั้นได้ เช่น ถ้าสิงคโปร์มีทุนมากกว่าก็สามารถนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยได้

ยิ่งไปกว่านั้นยังเปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศอาเซียนด้วย เช่น ถ้าคนไทยเก่งก็สามารถไปทำงานในอาเซียนได้ และคนมาเลเซียก็อาจจะมาทำงานแข่งกับคนไทยได้ คนไทยก็อาจจะตกงานได้ หากไม่พัฒนาทุนมนุษย์

4. นอกจาก อาเซียน แล้วควรจะเข้าใน ..อาเซียน+6 มีอะไรบ้าง?

ซึ่งหมายความว่า ประเทศสำคัญ ๆ ในโลกยังให้ความสนใจที่จะทำงานกับประเทศในอาเซียน

เมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้ว.. สิ่งที่สำคัญที่สุดในวันนี้ ก็คือ ค้นหาตัวท่าน

  • ต้องคิด วิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น เตรียมพร้อม และสำคัญที่สุดจะฉกฉวยโอกาส และหลีกเลี่ยงการคุกคามอย่างไร?
  • ก่อนที่จะมีอาเซียนเสรี ก็มีการเปิดประเทศที่กำหนดโดยองค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หรือการเซ็นสัญญาเปิดเขตการค้าเสรีเฉพาะ (FTA) เช่น ไทย – อินเดีย, ไทย – จีน มาแล้ว ซึ่งในอดีตจุดอ่อน ก็คือ รัฐบาลยังไม่ได้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ทำให้ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะผู้นำท้องถิ่นบางกลุ่มได้ แต่บางกลุ่มเสีย เช่น ผู้ส่งออกได้ แรงงานมีคุณภาพได้เพราะมีทักษะ และภาษาดีกว่า มีรายได้เพิ่มขึ้น แต่ธุรกิจเล็ก เช่น โชห่วย ต้องปิดตัวไป.. วันนี้จึงเป็นจุดที่สำคัญที่ได้มาแบ่งปันความรู้กัน

5. ในการปรับตัวของผู้นำท้องถิ่นในวันนี้

  • สิ่งแรกก็คือ เข้าใจ ศึกษาให้ถ่องแท้
  •  โอกาสที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง อยู่ที่ว่าผู้นำจะฉกฉวยอย่างไร?
    • โอกาสแรก คือ เรื่องการขยายของตลาด เฉพาะอาเซียน อย่างเดียวก็เพิ่มประชากร/ผู้บริโภคเพิ่มจาก 64 ล้านคน เป็น 500 ล้านคน.. ถ้านับอาเซียน+6 ก็มีผู้บริโภคเพิ่มขึ้นหลายพันล้านคน
    • การปรับตัวที่สำคัญที่สุด ก็คือ เรื่องทัศนคติ คือ ประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิม จะเป็นประเทศที่ต้องอยู่ร่วมกับประเทศอื่น ๆ อีก รวม 10 ประเทศ - ผู้นำท้องถิ่นไม่ใช่แค่ผู้นำของอำเภอหรือตำบล ในประเทศไทยอีกต่อไป จะต้องเป็นผู้นำในชุมชนเดียว (One Community) คือ ชุมชนอาเซียน

6. รักษาภูมิปัญญาและรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย

            แต่ที่สำคัญที่สุด ถึงเราจะเป็นชุมชนอาเซียน แต่เราก็ต้องคงไว้ที่ภูมิปัญญาและรากเหง้าความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในอนาคตก็จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น หากมีบริหารจัดการที่ดี

7. ต้องพัฒนา คนไทย ให้ สื่อสาร ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้

ถึงเวลาแล้วที่ท้องถิ่นต้องพร้อมมากขึ้นในเรื่องภาษา ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน และยิ่งไปกว่านั้นภาษาคอมพิวเตอร์ ที่จะคุยแลกเปลี่ยนกับชาวอาเซียนด้วยกัน 

            ต้องสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้การดูแลของ อบจ. / เทศบาล และอบต. สนใจการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาอื่น ๆ เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้โดยเร็วที่สุด

8. การปรับตัวที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ ความใฝ่รู้

คือ สร้างให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ เปิดเวทีให้ชาวบ้านได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกันไม่ใช่ผู้นำสั่งการให้ทำตามสั่งอย่างเดียว – ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นก็ต้องมีความใฝ่รู้ด้วย และต้องมีเจ้าหน้าที่ดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวกับ “อาเซียน” เป็นพิเศษ

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์

ในการอยู่รอดและแข่งขันได้ในวันนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของข้าราชการท้องถิ่น รวมทั้งประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชน หรือ หลายๆ คนอาจเรียกว่า รากหญ้า ผมขอเสนอแนวคิดการพัฒนาคุณภาพของทุนมนุษย์ 8K’s และ 5 K’s ของผม ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่นอยู่รอด และก้าวไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน

สรุป..ผมหวังว่าแนวคิดทั้ง10 ประเด็นที่นำเสนอในวันนี้..จะเป็นบันไดขั้นแรกที่เราจะสามารถเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

        ถ้าผู้นำสนใจถึงจะเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก แต่ผมรู้ว่า ผู้นำในห้องนี้ มีสติปัญญา และหวังดี ถ้ามีแรงบันดาลใจ ร่วมมือกันทำงาน ใกล้ชิดกับประชาชนแล้วคงจะช่วยกันพัฒนาท้องถิ่นของเราให้ก้าวไปสู่การเสรีอาเซียนได้อย่างเข้มแข็ง..โดยจะมีกรมเจรจาการค้าระหว่าประเทศ+ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และผมจะช่วยกันเป็นแนวร่วมครับ

          ภาพบรรยากาศในการบรรยาย

หมายเลขบันทึก: 457772เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2011 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โรงเรียนภายใต้การดูแลของสำนักการศึกษากทม มีการพัฒนาภาษาต่างประเทศ ทั้งอังกฤษ + ภาษาจีน เพื่อสร้างทุนมนุษย์ของประเทศไทยให้มีความสามารถเรื่องภาษาให้ได้แต่งบประมาณจ้างบริษัทที่รับครูฟิลิิปปินส์ ซึ่งบางคนยังออกสำเนียงไปทางตากาล็อค ออกเสียงไม่ชัดเจนเท่าไหร่ บางทีฟังไม่ออกทำให้การเรียนไม่น่าสนใจ และงบไม่ต่อเนื่อง ณ ตอนนี้ งบประมาณหมด ครูต่างชาติก็ต้องหยุดไป ครูไทยดูแลชั่วโมงนี้แทน

จากบรรยายหัวข้อ “บทบาทของผู้นำท้องถิ่น : บนเวทีการค้าเสรี” ของท่านอาจารย์ น่าสนใจมากค่ะ นับว่าเป็นการพัฒนาคุณภาพทุกระดับของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ของท้องถิ่น ตั้งแต่ข้าราชการท้องถิ่น ประชาชน เกษตรกร และธุรกิจในระดับชุมชนซึ่งต้องกระทุ้ง กระตุ้นบ่อย ๆ เพราะเขายังขาดประสบการณ์ ความกล้าแสดงออก ขาดความมั่นใจ และจะมีผู้นำทีมืโอกาสอย่างนี้สักกี่คนที่ได้ซึมซับ หรือได้รับกำลังใจ ที่จะสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งและนำเอาความรู้ความสามารถที่ได้ไปพัฒนาให้ท้องถิ่นของตนเองพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าได้อย่างยั่งยืนตลอดไป ถือว่าเป็นโอกาสดีของท้องถิ่นที่ทำให้เขามองเห็นความสำคัญในทรัพยากรที่มีอยู่ และเป็นโอกาสใหม่ที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน / ชุมชน

เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรอบรู้ AEC”

วันที่ 5 กันยายน 2554

นายขวัญชัย วงศ์นิติกร อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

• การปรับตัวของ อปท.ในอนาคต ถ้ายกเป็นมหานครเหมือนกทม.ก็สามารถตัดสินใจให้บ้านเมืองบริหารจัดการท้องถิ่นได้

• อยากได้ อปท.ชายแดน และเมืองท่ามาเรียนรู้ด้าน AECเนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงจาก Logistics มากกว่าส่วนกลางในกรณีการเปิดเสรีอาเซียน

• เน้นการเตรียมตัวให้พร้อมและปรับระบบให้ทุกอย่างไปอยุ่ในท้องถิ่น ก็จะช่วยพัฒนาได้อย่างดี อย่างเช่นในอนาคตใช้ E-Tax ในการกำหนดโครงสร้างภาษีทั้งหมดทั้งที่ตรงนั้น ให้ดูแลการบริหารจัดการอย่างโปร่งใสให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทุกอย่างต้องมีระบบการบริหารที่เป็นมาตรฐานโลกยอมรับได้

• ต้องสามารถช่วยเหลือประชาชน ในการปรับระบบสาธารณูปโภคให้กว้างขวางเพื่อดูแลประชาชนต่อไป และสามารถมีอำนาจในการปกครองด้วยตนเองได้ในอนาคต

• ทำงานเป็น International ให้ได้ สามารถเจรจากับต่างประเทศได้ เกิดการสื่อสาร สั้น ง่ายกระชับ เกิดพลังให้อปท.เข้มแข็งมากขึ้น

• เห็นอนาคต ชีวิต รายได้ และความจำเป็นในการปรับตัวเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

• ในกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ให้ทำงานในลักษณะมุมมองของอาเซียน ใส่หมวกอาเซียนไว้ว่าตลาดรวมกันเป็นหนึ่ง ทำรายการ 108 คำถาม คำตอบ ถ้ามีคำถามก็จะทำเพื่อเผยแพร่ได้

“บทบาทของผู้นำท้องถิ่น : บนเวทีการค้าเสรี” โดย ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การประชุมมีความเป็นเลิศ 3 เรื่อง

1. Value Added อาเซียนเสรีเพิ่มมูลค่าองค์กร ตัวเอง ธุรกิจ จริงหรือไม่ ค้นหาภูมิปัญญาท้องถิ่นเรา สิ่งแรกคือเราต้องถามว่าเราจะหลีกเลี่ยงจุดอ่อนของเราได้อย่างไร แต่จุดอ่อนจำเป็นที่ต้องวิเคราะห์กัน

2. Value Creation การจับมือก็จะเกิด Idea ใหม่ ๆ ขึ้นมา ในเวลาที่อยู่ด้วยกันถึงตอนบ่าย น่าจะมีความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา ต้องรู้ว่าจุดแข็งคืออะไร ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ มูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการคิด

3. Value Diversity ความหลากหลายทางมูลค่า เราจะเกิดความหลากหลายใน 10 ประเทศ + อาเซียน+6

สิ่งที่น่าสนใจคืออยากให้คุยกับเพื่อน ๆ ร่วมกันแสดงความเห็น ในที่ประชุมใหญ่

ตอนบ่าย จัดเป็นโต๊ะ โต๊ะละ 15 คน ให้ทุกโต๊ะ Present

สรุป Quotations

• ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหนของโลก เราไม่อยู่นิ่งเฉย ๆ เราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าเราจะอยู่รอดในการเปลี่ยนแปลงเราต้องหันมาดูคุณค่าของทุนมนุษย์หรือทรัพยากรมนุษย์

• สำคัญที่สุดในวันนี้คือสนใจทุกเรื่องแต่ที่สำคัญคือสนใจตัวเองหรือผู้นำ ตัวท่านเองตัวลูกน้องตัวประชาชนในพื้นที่มีปัญหาหรือไม่ ถ้าไม่พร้อมเขาก็สู้กับคนอื่นไม่ได้ ดังนั้นเรื่องทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับตัวท่าน

• เรามีแรงงานเยอะ แต่คุณภาพแรงงานน้อย ผลผลิตต่อหน่วยหรือต่อไร่ต่ำ คือใช้ทรัพยากรเยอะ แต่เราไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าเรามีความมั่งคั่ง เราต้องไม่มั่งคั่งจากเงินเท่านั้น เราต้องมั่งคั่งจากปัญญาของเรา ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงอาเซียนคือโอกาสของเรา อยากให้ดูตัวอย่างของ บริษัทปูนซีเมนต์ ท่านพารณ กับ ดร.จีระ จึงมีปรัชญาความเชื่อคือให้ความสนใจคน เนื่องจากบางทีเราบ้าเงิน บ้าตำแหน่งมากเกินไป จริง ๆ แล้วควรให้ความสำคัญกับคนมากกว่า

• ทรัพยากรไม่ใช่เงิน สิ่งของ เครื่องจักร แต่เป็นคน ให้ดูตัวอย่างที่สิงคโปร์

• คิดระดับโลก แต่ก็โยงมาถึงท้องถิ่นของเราให้ได้

• มูลค่าของธุรกิจในอนาคตมาจากมันสมองของมนุษย์ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเปลี่ยนเป็นเงินได้ทั้งนั้น มีภูมิปัญญาเยอะ แต่ต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วย

วัตถุประสงค์ในวันนี้คือ

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง

2. สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้นำท้องถิ่นมองโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง สนุกกับการฟังในวันนี้

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง และไปถึงองค์กรของเราว่าจะปรับตัวกับอาเซียนอย่างไร ฟังและคิดไปด้วย และพร้อมที่จะทำให้องค์กรท้องถิ่นปรับตัวให้ทันเหตุการณ์

4. แสวงหาโอกาสใหม่ที่จะเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน / ชุมชน

5. มองการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ สร้างเครือข่าย (Networks)

6. ลดปัจจัยทางลบที่จะเกิดขึ้นกับท้องถิ่นในอนาคต

7. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

อยากให้ท่านเอาใจใส่กับโอกาสที่เกิดขึ้น ให้ระวังนายทุนใหญ่ให้ดี อย่าเป็นเบี้ยล่างของนายทุน เพราะศูนย์กลางอาเซียน อยู่ที่ลาว เขมร เวียดนาม จีนตอนใต้

กฎ 10 ข้อ ที่ควรรู้

1. ประเทศไทยมีลูกค้าเพิ่มขึ้นจาก 64 ล้าน เป็น 500 กว่าล้านคน คำถามคือ ถ้าท้องถิ่นมีคุณภาพ ท้องถิ่นจะมีโอกาสขยายมูลค่า ถ้าไม่มีคุณภาพก็เปิดโอกาสให้คนอื่นแข่งกับเรา

2. ไทยเหนือ กว่า ลาว เขมร พม่า เวียดนาม แต่เป็นรองสิงคโปร์

3. ประเทศไทยไปเซ็นกับประเทศคู่เจรจา ยักษ์ใหญ่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แสดงว่าหลายประเทศในโลกอยากมาที่นี่ แต่ก่อนอื่นเราต้องมองที่อาเซียนเสียก่อน ถ้ากลับมาในประเด็นของอาเซียน ปัจจัยทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขมรในอดีต ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเวียดนามในอดีต

ผู้นำท้องถิ่นที่อยู่ชายแดนสิ่งแรกที่ต้องระวังคือการพูดถึงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อย่ารื้อฟื้น ให้พูดเชิงบวก โดยเฉพาะประเทศที่ด้อยกว่าเรา

มีการเชื่อมโยงกันอยู่ 3 สาขาใหญ่ เรียกว่า Asean Connectivity เชื่อมโยงเข้าหากันคือ - เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

- สังคมและวัฒนธรรม

- ความมั่นคงทางการเมือง

สรุปคือความมั่งคั่งเกิดจากตัวท่าน ไม่ใช่หอการค้า ประเด็นคือเราจะเดินไปที่จุดนั้นอย่างมีคุณภาพได้อย่างไร ตัวอย่าง ที่ระยองโรงงานใหญ่ ๆ ตั้งที่ อบต. แสดงให้เห็นว่าท่านยึดเวทีทั้งหลาย คนในห้องนี้ต้องค้นหาตัวเองว่า ถ้าขาดอะไรก็เติมเข้ามา ให้เรียนรู้จากความจริง ถ้าไม่มีสามารถยืมได้ อยู่ที่การฝึกความคิดของเรา

การเปิดเสรีการลงทุนคือ สินค้าและบริการไม่มีภาษี สุขภาพ อนามัย และกฎระเบียบต่าง ๆ ต้องรู้จักเขาให้ดี การมีทุนจากต่างประเทศเข้ามา เราต้องมีความสามารถในการจัดการทุนเหล่านั้น เราต้องเรียนวิชาเจรจาต่อรองให้มาก ๆ คนท้องถิ่นต้องมีความสามารถเรื่องภาษา เรื่องการเจรจาต่อรอง แต่เขาจะรู้ความเป็นมาทั้งหมดได้อย่างไร เราต้องมีความสามารถในการรองรับเขาให้ได้

และเมื่อเห็นภาพดังกล่าวแล้วต้องคิดวิเคราะห์ว่าอะไรเกิดขึ้น ต้องรู้จักฉกฉวยโอกาศและหลีกเลี่ยงการคุกคาม และถ้าเกิดมีผลกระทบในท้องถิ่นจะจัดการอย่างไร ท้องถิ่นต้องรู้จัก กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ต้องรู้จักปกป้อง

4. การที่มีอาเซียนเสรี หรือสมาคมอาเซียน ไทยมีการเซ็นสัญญาปรับดุลการค้าระหว่างประเทศ เซ็นเขตการค้าเสรี FTA แล้วเราก็ค่อยมาเซ็นอาเซียนเสรี แต่ก่อนไม่เคยปรึกษาท้องถิ่น แต่ปัจจุบันปรึกษาท้องถิ่นแล้ว ดังนั้น เราควรเตรียมการวางแผนก่อนการเปิดอาเซียนเสรีใน 3 ปี 4 เดือน และหลังจากเปิดแล้วเราต้องพัฒนาคนตลอดเวลา เพราะหลังจากนั้นอีก 10 ปี 20 ปี ต่างประเทศค่อยคืบคลานเข้ามา

ดังนั้น ควรมีแผนการรองรับการเปิดเสรี และการเตรียมพัฒนาหลังจากเปิดอาเซียนเสรี คือ 1. ทำใจเป็นคนมีวัฒนธรรมนานาชาติเสียก่อน 2.เป็นคนที่มีมืออาชีพ ทำงานเป็น Professionalism 3. มีทัศนคติที่ยอมรับว่าเราไม่ใช่คนไทยอีกต่อไป เราเรียกเราว่าเป็นคนอาเซียน แต่ยังมีความเป็นไทยอยู่ สิ่งเหล่านี้ได้มีการวิจัยไปบ้างแล้ว ... ให้ผู้นำในห้องนี้เขียนสิ่งที่อยากจะทำในช่วงบ่ายนี้ เรื่องการปรับตัวให้สู้กับอาเซียนเสรีนี้

5.การปรับผู้นำท้องถิ่นในวันนี้คือ รู้ให้จริง โอกาสมีอะไรบ้าง การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือการปรับเรื่องทัศนคติของเรา เราจะทิ้งความเชื่อเก่า ๆ ได้หรือไม่ ต้องปรับทัศนคติว่าประเทศไทยจะไม่เหมือนเดิมแล้ว วิชาที่ยากที่สุดคือวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง ขอให้มีโครงการสร้างศักยภาพชุมชนเหล่านั้น

6. รักษาภูมิปัญญา และรากเหง้าหรือความเป็นตัวตนของท้องถิ่นไทย

ท้องถิ่นมีมูลค่าเพิ่ม 1.เพิ่มสิ่งที่มีอยู่แล้วมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น 2. มีความคิดใหม่ ๆ ร่วมกับคนอื่น เช่นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เกษตร ฯลฯ สิ่งที่มีอยู่แล้วสร้างเป็นนวัตกรรม สิ่งที่มีอยู่แล้วในอนาคตจะเพิ่มจากวัฒนธรรมท้องถิ่น ดังนั้นมูลค่าเพิ่มกับการบริหารจัดการที่ดี

7. ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ-ภาษาอาเซียนได้

อีก 20 ปีข้างหน้าการศึกษาส่วนมากจะอยู่ในท้องถิ่น

8. อยากให้ท้องถิ่นเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ต้องทำตัวเป็นที่ปรึกษา เป็นผู้ฝึก เป็นโค้ช มีเจ้าหน้าที่ระดับท้องถิ่นที่รู้เรื่องอาเซียนคนหนึ่ง เป็นผู้รู้จริง ปรึกษาหารือได้

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ตัวท่านเองมีคุณลักษณะเหล่านี้หรือไม่

ทุกคนมีทุนมนุษย์อยู่แล้ว แต่ทุนมนุษย์ในท้องถิ่นมีคุณภาพต่อไปนี้หรือไม่

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

การมีอาเซียนแล้วเราต้องอยู่รอดได้ในระยะยาว รู้จักจุดแข็งของเราให้ดี ผู้นำท้องถิ่นต้องถามตัวเองว่าติดตามข่าวสาร ข้อมูล พร้อมปรับตัวให้ท้องถิ่นอยู่รอดในระยะยาวหรือไม่ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีความรู้ ทักษะ ทัศนคติพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

ทุนทางวัฒนธรรมเท่านั้นที่ทำให้ท้องถิ่นเป็นเลิศ ต่อมาในการทำงานร่วมกับประเทศอื่น เราต้องควบคุมให้ได้เนื่องจากมีการแข่งขันเพิ่มขึ้น ต้องทำให้อารมณ์สุนทรีย์ มีความคิดเชิงบวก ถามตัวเองว่าเก่งอะไร ชอบอะไร ต้องมีความรู้ มีนวัตกรรม คิดใหม่อยู่เสมอ เอาไปทำ แล้วทำให้สำเร็จ เราต้องแข่งขันกับคนอื่น เพราะนวัตกรรมหรือความคิดสร้างสรรค์ที่ประเทศอื่นก็มี

10. การบริหารความเสี่ยงโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ถ้าเราค้นหาตัวเอง เช่น เศรษฐกิจไม่ดีเราก็ประหยัด รู้จักเก็บออมไว้บ้าง

สรุป แนวคิด 10 ประเด็นที่นำเสนอในวันนี้จะเป็นบันไดขั้นแรก ที่ฝึกให้ท่านคิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้เสียก่อน ถ้าเราเป็นชาวประมง เราจะมีเบ็ดตกปลามากกว่ามีปลา เนื่องจากมีเบ็ดตกปลามากจะทำให้หาปลาได้เยอะ อาเซียนเสรีแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีหน้าที่ประคับประคองเรา อาเซียน+6 คือโอกาสมหาศาล อย่างเช่นมังคุดส่งไปขายในซุปเปอร์มาร์เกต ต้องมีการวิจัยอย่างไร ขนส่งอย่างไรที่มังคุดไม่เน่า ถ้าเดินทางไปไกลหน่อย ประเทศไทยมีสินค้าจำนวนมาก ท่านต้องบริหารจัดการเครือข่าย หรือตัวท่านให้ได้ ดังนั้นบันไดขั้นแรกเป็นหนทางที่ขรุขระ มีอุปสรรคมาก แต่ผู้นำในห้องนี้มีสติปัญญา และรู้ ถ้ารู้จักคิดและวิเคราะห์เป็นรู้ว่าอะไรคือจุดแข็งและจุดอ่อนเราจะสามารถช่วยได้เยอะ

กระทรวงพาณิชย์ เจรจาเยอะ แต่คนไทยได้ประโยชน์จริงหรือไม่ อยากให้เป็นลักษณะของการกระจายรายได้มากกว่า พลิกปิรามิด เอาพื้นล่างมาเป็นทุนมนุษย์ด้วย สร้างปัญญาให้เขาอย่างจริงจัง อยากให้ทุกท่านมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ มีความคิด อะไรไม่รู้ ก็ให้รู้ให้จริง คิดนอกกรอบ ความจริงคนท้องถิ่นมีโอกาสมหาศาล

Workshop

จับคู่คุยกัน ในสิ่งที่อยากทำเพื่อให้เตรียมรับกับการเปิดเสรีอาเซียน

• สมนึก คำนวณ เทศบาลบางกรวย สิ่งที่อยากจะฝากคือเรื่องภาษา เคยโดนจับเรื่องเรียนจีนกลาง เพราะถูกหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ อยู่อุตฯ 40 ปี เรียน อังกฤษ ญี่ปุ่น จีนแต้จิ๋ว อยากให้เรียนอย่างน้อย 3-4 ภาษา มองว่าอนาคตประเทศจีนจะครองโลก อยากให้เรียนจีน มองว่าภาษาจีนเป็นภาษาของโลก บริหารธุรกิจด้วย และบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย อยากฝากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เรื่องการบริการการลงทุน ทางด้านการกำจัดขยะ ทำอย่างไรให้คนลงทุนมีความคล่องตัวและน่าสนใจที่จะลงทุน ลดระเบียบข้าราชการ และขั้นตอน ให้คนสนใจลงทุนมากขึ้น

• อบต.หน้าพระลาน จังหวัดราชบุรี มองว่า อาจเป็น 1 จังหวัด หรือ 2 – 3 ผลิตภัณฑ์ จึงจะสู้กับอาเซียนได้ แต่คิดว่าเป็นเรื่องยากมากกว่าจะทำได้ หน่วยงานรัฐต้องพัฒนา ส่วน One Stop Service ไม่มีหน่วยงานไหนทำได้ดีอย่างแท้จริง หน่วยงานราชการควรต้องเริ่มอย่างจริงจัง อยากให้บูรณาการคือ ส่วนบนกับส่วนล่างต้องเปิดใจให้กว้างมากกว่านี้ ผู้บริหารถ้าได้รับการเลือกตั้งมาคงอยู่ไม่ได้ คงต้องไปแน่นอน

ดร.จีระ เสริมว่า ที่เมืองกาญจน์ ผู้ว่าฯ กับท้องถิ่นจะจับมือกัน อย่างเช่นภาคใต้อาจให้สงขลาร่วมกับภูเก็ตเพื่อแข่งกับมาเลเซียและสิงคโปร์ได้เป็นต้น

ถ้าจัดแล้วอยากให้ไปปฏิรูปหน่วยราชการระดับชาติ อย่าโจมตีเฉพาะด้านบน ผู้ใหญ่ของท้องถิ่นต้องพร้อมที่จะปรับตัว

ดร.จีระบอกว่า ทั้งสองท่านที่กล่าวมามีประโยชน์คนแรก เสนอเรื่องทำด้านขยะ กับภาษา คนที่สองเน้นการรวมตัวกันของท้องถิ่น

• ปลัดเทศบาลนครอ้อมน้อย ต.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร เป็นเมืองนานาชาติ มีอุตสาหกรรม 800-900 โรง มีแรงงานเขมร พม่า ฯลฯ บางคนดูถูกกลุ่มแรงงานเหล่านี้ ทั้ง ๆ ที่จริง เป็น Internationalism พวกเขามาอยู่ปีเดียวฟังไทยรู้เรื่อง แต่เราไม่สามารถฟังภาษาเขารู้เรื่อง คือ สรุปเขารู้เรา แต่เราไม่สามารถรู้เขาได้ ได้ค้นพบหลายอย่างว่า..ผู้ประกอบการบอกว่าคนไทยไม่สู้งาน และเทศกาลเยอะ แต่คนต่างด้าวแค่ให้โอทีชั่วโมงละ 30 บาทเขาทำถวายหัว อีกอย่างภาษาอังกฤษเขาก็ดีกว่าไทยด้วย สิ่งที่ได้เรียนรู้คือเราไม่ปรับตัวไม่ได้แล้ว โรงงาน 800-900 โรง ทำอย่างไรให้สินค้าของอ้อมน้อยไปสู่กลุ่มลูกค้า 500 กว่าคน

ดร.จีระ เสริมว่า ..มีการทำ Survey คนไทยรู้เรื่องอาเซียนอันดับ 7-8 ของประเทศอื่น คือรู้ไม่จริง ข้อแรกคือห้ามแสดงความรู้สึกการไม่ให้เกียรติเขาโดยเฉพาะในชายแดนในอดีตชอบดูถูกแรงงานจากเพื่อนบ้าน คืออยากให้เน้นเรื่องการปรับเรื่องทัศนคติ เป็นห่วงมากว่าอีก 5 ปีข้างหน้าแรงงานต่างด้าวจะเป็นอย่างไรในประเทศไทย

ตอนบ่ายคิดว่าอะไรที่มองเป็นโอกาสได้ขยายออกมา อะไรเป็นการคุกคามก็เขียนออกมา การเปิดเสรี ไม่ใช่ชนะอย่างเดียว มีสิทธิเจ้งด้วยเนื่องจากผลประโยชน์ต้องมาก่อน

คำถามจาก ดร.จีระ

อยากได้ 2 ท่านมาสรุปตั้งแต่ 10 โมงครึ่งถึงเที่ยงว่ามีอะไร 2 เรื่องที่คุณได้ประโยชน์จากการพูดเรื่องอาเซียนเสรีที่ใหม่ ๆ

คนที่ 1

• เรื่องเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนต้องมีการค้าที่กว้างไกลไม่ให้กระทบกับท้องถิ่น หมายถึงออกไปได้ เขามาแล้วเราอยู่ได้

• ท้องถิ่นต้องได้ประโยชน์ และได้รับความร่วมมือจากส่วนกลาง

ดร.จีระ เสริม ท้องถิ่นต้องระมัดระวังความใหญ่โตของนักลงทุนจากต่างชาติ

คนที่ 2 จากกาญจนบุรี

• การพัฒนาอะไรก็แล้วแต่คนคือสิ่งที่สำคัญ ในท้องถิ่นการพัฒนาคนลำบากนิดหนึ่งแต่อย่างไรก็ตามต้องมีความพยายามและสร้างสรรค์ ทั้งด้านการศึกษา ภาษา อาชีพ การระดุมพลังของชุมชนมาช่วยเหลือ OTOP ให้ยั่งยืนต่อไป ที่ผ่านมาไม่สำเร็จเท่าที่ควร ขึ้นอยู่กับพื้นที่ คน รูปแบบการดำเนินงานจริงจังหรือเปล่า ทุนของปัญญาจะน้อย ปรับเรื่องทุนทางปัญญา และจริยธรรม คนไทยยังไม่พร้อมพอสมควร แต่ไทยไปเน้นเรื่องทุนลักษณะของสังคม และชนชั้นมากกว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีบ้างแต่ไม่เกิดความยั่งยืน ดังนั้นเราควรเน้นให้เกิดความยั่งยืนตรงนี้ด้วย ถ้าปัญญาเราดี เราจะอยู่รอด มีปัญญา มีจริยธรรมแล้วอยู่อย่างยั่งยืน

• การเตรียมพร้อมที่จะรองรับการเปิดเขตเศรษฐกิจที่ทวาย อปท.ทำไปแล้วเรื่องการเรียนรู้ด้านภาษา มี Website 10 ภาษา แต่ปรากฎว่าบุคลากรอาจยังไม่ทัน ต้องพยายามพัฒนาให้ดี

ดร.จีระเสริม

- การปรับตัวอาเซียนเสรี เน้นทุนมนุษย์ พูดเรื่อง 8K’s ,5K’s การพัฒนาทุนมนุษย์ในท้องถิ่น

- ทุนปัญญา วิเคราะห์ แก้ปัญหาได้ ทุนจริยธรรม ทำให้ถูกต้องแก้ความซับซ้อน และทำให้เป็นลักษณะเครือข่าย

Workshop

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนนจาก 1-10 ให้เท่าไหร่)

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? (ดูคุณลักษณะของทุนมนุษย์)

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

4. หลังจากวันนี้แล้ว เสนอโครงการใหม่ๆ มา 1 เรื่อง

กลุ่มสระบุรี และสมุทรสงคราม

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนนจาก 1-10 ให้เท่าไหร่)

• ให้ลำดับที่ 7 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ไม่กระทบกับปัญหานี้มากนัก ที่กระทบคือเรื่องของข้าวที่อาจเกี่ยวเนื่องกับแรงงานบ้าง

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? (ดูคุณลักษณะของทุนมนุษย์)

• จุดแข็ง ทุนมนุษย์ ทุนจริยธรรม ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม

• จุดอ่อน ทุนทางปัญญา แพ้หลายประเทศตัวอย่างเช่น วัดไอเดีย หรือความรู้ ไม่สูงมากนักอยู่ในระดับกลางถึงต่ำ

• ทุนแห่งความยั่งยืน ภาครัฐพยายามให้หลายโครงการ ขอเสร็จแล้วอีกไม่นานกลุ่มไม่ยั่งยืน ถือว่าเป็นจุดอ่อน

• ทุนทางไอที เดิมประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ไอทีจึงไม่ถนัดมากนัก เด็กและเยาวชนใช้ในความไม่สร้างสรรค์และไม่เกิดประโยชน์มากนัก การนำไอทีไม่เต็มเม็ด เต็มหน่วย

• ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ไทยยังแพ้ในส่วนของเวียดนาม จีน

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

• ทางด้านเศรษฐกิจต้องพยายามสร้างเครือข่ายให้มาก และให้ส่งเสริมการสร้างความภูมิใจในแง่เป็นไทย เช่นการถือหุ้น ที่ดิน หรือการซื้อขายในปัจจุบัน ในอนาคตเมื่อมีการค้าเสรีเกิดขึ้นคนจีนสามารถซื้อได้

• ในเรื่องเศรษฐกิจ เรื่อง Branding ของสินค้า เรื่องคุณค่า และผลิตภัณฑ์ต้องปรับ

• ดร.จีระเสริมว่า คนไทยเป็น Nominee ต่างชาติ แต่การเปิดเสรีไม่ได้อนุมัติ ยกเว้นคนไทยแต่งงานกับฝรั่ง ถ้าเกิดมี Nominee มากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ดินในเมืองไทยจะอยู่ในมือต่างชาติเยอะมาก อยากให้ประเด็นไว้ว่า ถ้ามีการเปิดเสรีอยากให้เป็นคนไทยอยู่ กฎหมายทุกกฎหมายไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนตามอาเซียนเสรี ความเป็นไทยเปลี่ยนเป็นโครงการและเศรษฐกิจที่มีคุณค่าของคุณ จะมีเสนอแนะหรือไม่ว่าจะทำอย่างไร ประเด็นอยู่กับอาจารย์จีระ คือ เรื่องมูลค่าเพิ่ม คือถ้าเก่งจะสามารถทำที่ไหนก็ได้ มีภาษา มีความคิด แต่ขาดปัญญา ไม่ได้ ต้องสอนให้รู้จักคิด

4. หลังจากวันนี้แล้ว เสนอโครงการใหม่ๆ มา 1 เรื่อง

• คนไทยรักษาไว้แต่ภาพลักษณ์เฉย ๆ มีอะไรหลายอย่างไทยปกปิดก็จริงแต่ปกปิดไม่มิด อยากให้เสนอบ่อนคาสิโนที่ถูกกฎหมาย

• ดร.จีระ เสนอ ว่า หลีกวนยู เกลียดการพนันมากแต่ปรากฎว่ามีคาสิโนเกิดขึ้นที่สิงคโปร์ ซึ่งจริง ๆ ก็ต้องมีมาตรฐานที่ดีให้เหมือนที่อื่น

กลุ่ม นนทบุรี อ่างทอง

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนนจาก 1-10 ให้เท่าไหร่)

• ให้คะแนน 5 เนื่องจากมีปัญหาในพื้นที่ที่เราต้องนำมาแก้ไข

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? (ดูคุณลักษณะของทุนมนุษย์)

• จุดแข็ง คือทุนทางวัฒนธรรม เนื่องจากทั้ง 2 จังหวัดมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมาก เป็น Image ในสายตาชาวต่างประเทศ มีเทศกาลสงกรานต์ ปีใหม่ ลอยกระทง ซึ่งต่างประเทศให้ความสนใจมาก อุปนิสัยใจคอ มีอุปนิสัยอ่อนน้อมถ่อมตน มีการให้บริการทางด้านโรงแรม โรงพยาบาลหรือ สปามาก

• จุดอ่อน ในภาวะทางสังคมมีความแตกแยกกัน เช่น ระดับสี จริยธรรมอ่อนแอ จุดอ่อนอีกอย่างหนึ่งคือทุนทางปัญญา

• ดร.จีระ บอกว่า ทุนที่จะมาจะมาจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ระวังเรื่องภาวะโลกร้อน และสารพิษต่าง ๆ

• พยาบาลของไทยนอกจากเก่งแล้วยังอ่อนน้อมด้วย การรักษาพยาบาลของไทยถือว่าเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก สังเกตได้จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์มีต่างประเทศเต็มหมดเลย

• การเรียนหนังสือ ถ้าคิดไม่เป็นก็จะไปไม่รอด ดังนั้น ควรเรียนแบบคิดให้เป็น อาเซียนเสรี มีทั้งโอกาสและการคุกคาม ทำอย่างไรให้การค้าระหว่างประเทศเป็นประโยชน์ต่อคนไทยจริง ๆ ปัญญาคนละเรื่องกับปริญญา เด็กบ้านนอกก็คิดเป็นได้ ปราชญ์บ้านนอกก็คิดเป็นได้ พระฉลาดกว่าดร. ส่วนใหญ่ไทยชอบบ้าเรียนแต่ไม่บ้าคิด จริง ๆ เราต้องคิดเยอะ ๆ อย่างโค้ชจะสอนให้เราคิดอย่างเป็นระบบ

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

• โอกาสคือจะมีศูนย์กระจายสินค้าและศูนย์การท่องเที่ยวของทั้งสองจังหวัด ท่องเที่ยวต้องมีศูนย์กลางระดับจังหวัด

• อุปสรรค ความเสี่ยง ถ้ามีการเคลื่อนย้ายแรงงานของประเทศเพื่อนบ้าน

• ความมั่นคง อาชญากรรม และโรคติดต่อ

• ดร.จีระ เสริมว่าปัจจุบันมีการรับรองมาตรฐานวิชาชีพอยู่ ถ้าไทยเก่งจริงสามารถไปเมืองนอกด้วย แล้วคนเก่งจากเมืองนอกก็สามารถเข้ามาในไทยได้ เช่น สิงคโปร์

4. หลังจากวันนี้แล้ว เสนอโครงการใหม่ๆ มา 1 เรื่อง

• เป็น Hub ของโรงพยาบาลที่ให้การรักษา และเป็น Hub ของโรงแรมที่พักอาศัย

มล.ชาญโชติ เสนอในมุมมอง 8K’s ,5K’s มีคนชุมชนจริง ๆ เท่าไหร่ แล้วคนลงทุนต่างถิ่น อยากให้มองในชีวิตความเป็นสุข ถ้าเป็นผู้นำชุมชนอยากให้โฟกันที่คนไม่ใช่ธุรกิจ คนจะเป็นผู้ควบคุม ต้องให้คนเข้าอยู่ในชุมชนได้ สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ดิน ปัญหาคือเจ้าของชุมชนจะบริหารอย่างไร ที่ดินต่อไปจะไปอยู่ในมือของใครบ้างทำอย่างไรให้คนกลับเข้ามา อยากให้โฟกัสที่คนของชุมชนจริง ๆ ได้ประโยชน์อะไร การลงทุนมีทั้งดีและไม่ดี การเคลื่อนย้ายแรงงานมีต่างถิ่นเข้ามา จึงเป็นตัวแปร การเปิดเสรีอาเซียน ปัจจุบันยิ่งกว่าการเปิดเสรีอีกเยอะ การเปิดจริง ๆ น้อยกว่านี้เยอะ เสรีอย่าคิดว่าเสรีจริง ๆ มันมีกฎหมายของประเทศ ที่ดินเป็นอย่างไรบ้าง ท่านไม่ต้องเอาใจใส่กับกฎหมายเท่าไหร่ กฎหมายไล่ภาคธุรกิจไม่ทัน

ท่านที่ปรึกษา สินทร กัณธวงศ์ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ 1...Think Global Act Regional ทำให้เรามองอะไรที่ใกล้ตัวมากขึ้น เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเราจะอยู่ร่วมกันเป็นชุมชน ต้องปรับตัวและแก้ไข

กลุ่มที่ 1 บอกว่าการแก้ไขผลกระทบทางลบจะพยายามรวมกลุ่มกันสร้างเครือข่าย อันนี้เห็นด้วย แต่มีส่วนที่อยากเสริมคือ ในส่วนของทางราชการมีแนวทางแก้หรือช่วยเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น รู้ว่าสาขาไหนได้รับผลกระทบ ให้รวมกลุ่มแล้วยื่นขอไป ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ มีหลายอุตสาหกรรมรวมตัว ไม่อนุมัติให้เป็นนายผู้ประกอบการ สิ่งที่ให้ความช่วยเหลือคือให้เงินลงทุน ท่านจะพัฒนาและบริหารในส่วนภูมิภาคอย่างไร และทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มเศรษฐกิจอาเซียน

ท่านที่ปรึกษา ฉัตรชัย เลื่อมประเสริฐ นักวิชาการพาณิชย์เชี่ยวชาญ เน้นเรื่องการสร้างเครือข่ายจะช่วยเกื้อหนุนในแต่ละจังหวัด อย่างเช่นภาคตะวันออก มีผลไม้เยอะ ส่งไปที่ภาคอีสาน เวลากลับมาจะมีอะไรกลับมาหรือไม่ เน้นการร่วมมืออย่างเต็มที่ในระดับท้องถิ่นที่จะสามารถร่วมมือกับข้างนอกได้

ดร.จีระ เสริมว่า ทุนเครือข่าย มีเครือข่ายระหว่างประเทศ เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่ายชุมชน

ท่องเที่ยวทีดัง ๆ ใครได้ประโยชน์ บางคนทำงานเพื่อเงิน บางคนให้เงินทำงานให้เรา เราเสียเปรียบตรงที่เราทำงานเพื่อเงิน บางคนทำงานเฉย ๆ เงินก็งอก ดังนั้นทุนมนุษย์ในชุมชนคือตัวท่าน แล้วต้องดูราชการ ท้องถิ่นท่าน ประชาชน มีเกษตร บริการ ราชการด้วย

กาญจนบุรี จันทบุรี ชัยนาท ราชบุรี

1. ความสำคัญของอาเซียนเสรีกับการปรับตัวของท้องถิ่น (ให้คะแนนจาก 1-10 ให้เท่าไหร่)

• 10 คะแนน

2. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? (ดูคุณลักษณะของทุนมนุษย์)

• จุดอ่อน ด้านภาษา การศึกษา ทุนทางปัญญา มีชุมชนหลายเผ่า ภาษาที่ยังอ่อน ยังไม่ให้ความสำคัญ

• จุดแข็ง ทุนทางวัฒนธรรม การรวมกลุ่ม ทุนทางอารมณ์ คือพร้อมตลอด

3. ในการแสวงหาโอกาสในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมมีอะไรบ้างที่เป็นโอกาส และมีอะไรบ้างที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องหลีกเลี่ยง(ผลกระทบทางลบ)

• มีการส่งเสริม และสร้างเสริมวัฒนธรรม พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างชุมชนหลายเผ่า

• ด้านความเสี่ยง มีการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเดิม เช่นการผลิตผ้าทำด้วยมือ หรืออาจมีเทคโนโลยีมาเสริม

4. หลังจากวันนี้แล้ว เสนอโครงการใหม่ๆ มา 1 เรื่อง

• โครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่อาเซียน เช่น จังหวัดกาญจนบุรี ให้คนในชุมชนเป็นไกด์พาเที่ยว

• ดร.จีระ เสริมว่า กฟผ. สนใจด้านการพัฒนาทุนมนุษย์มาเป็นระยะเวลา 8 ปี สกย. ก็ให้ความสนใจ ล่าสุดก็ Logistics ถ้าเรามีทุนทางปัญญา เครือข่าย ไอทีเพิ่มขึ้นจะทำให้ศักยภาพของมนุษย์ดีขึ้น ถ้าคนไหนมีความรู้จบปริญญาตรีต้องดีกว่าคนจบ ม.6 คนจบม.6 ถ้าคิดเป็นจะเป็นที่มาของทุนทางวัฒนธรรม ภาคเกษตร มีผลผลิต มีวัฒนธรรม มีความรู้ มูลค่าเพิ่ม แต่ไทยเอาเกษตรไปอยู่กระทรวงเกษตร มีเรื่องแมลง พันธุ์พืช แหล่งน้ำ แต่ไม่ดูวิถีชีวิตมนุษย์เลย วัดจากเงินเป็นหลัก แต่ฝรั่งอยากดูวิถีชีวิต เช่น วิธีการปลูกข้าว เป็นต้น อยากให้ดูตัวอย่างโครงการปริญญาเอกที่ ม.มหาสารคาม โครงการวัฒนธรรมศาสตร์ สรุปคือ เราต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกัน อย่างดร.จีระ ก็มีทุนทางความสุขที่ได้ฟัง มีบรรยากาศการเรียนที่ดีคือแบ่งปันกัน

• ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ไทยมีทุนทางวัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่มากแต่ขาดความจริงจังที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

• ดร.จีระ เสริมว่าเมื่อมีอุปสรรคแล้วต้องเอาชนะให้ได้ ต้องมีความรู้และใฝ่รู้

• ทฤษฎี 2 R’s คือ Reality and Relevance กระทบตัวเรา แล้วรู้จักฉกฉวย

ถึง คุณวาสนา รังสร้อย

คุณเป็นครู กทม.ที่เก่งมากครับ

ผมได้อ่านข้อคิดเห็นแล้ว  2 ครั้ง ชอบที่ติดตามได้อย่างใกล้ชิด ผมอยากคุยเพิ่มเติม ครับ ขอให้โทรกลับมา ที่ มูลนิธิฯ 02 619 0512 – 3 ครับ

ขณะนี้ผมสอน ป.เอก อยุ่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา มีครู กทม. อยู่ 3 ท่าน ถ้าอย่างไรก็สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ ลิงก์ Blog ข้างล่างนี้ครับ

http://www.gotoknow.org/blog/chiraphd/456520

 

เรียน ดร.จิระ

ผมได้ติดตามงานของอาจารย์แล้วนำมาปรับใช้กับงานของผม

ได้ประโยชน์มากครับโดยเฉพาะกับงานวิจัยป.เอก สาขาพัฒนา

ทรัพยากรณ์มนุษย์ ม.รามคำแหง เรื่อง"การพัฒนามาตรฐานอาชีพ

ช่างทำผมไทย"ของผม

ท้ายนี้ผมขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่สร้างผลงานดีๆ

ให้ผมได้ศึกษาและผมขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์อาจารย์ด้วยคนนะครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศักดิ์ ชลาชล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท