CSR : 3 เรียนรู้จาก Novartis Foundation for Sustainable Development


         ดร. จิรายุ  อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์   กรุณาส่งเอกสารเกี่ยวกับ CSR คือ The McKinsey Quarterly 2006 Number 3  ตีพิมพ์เรื่อง One business's committment to society : An interview with the president of the Novartis Foundation for Sustainable Development เขียนโดย Gautam Kumra   จากการสัมภาษณ์ Klaus M. Leisinger ผู้เป็น President ของมูลนิธิดังกล่าว

         ผมอ่านบทความนี้แล้วก็เกิดความรู้สึกว่า Novartis เป็นบริษัทยาข้ามชาติ   ดังนั้นกิจกรรม CSR ของเขาจึงเป็น CSR ข้ามชาติ

เขาใช้วิธีตั้งมูลนิธิขึ้นมาทำงาน CSR โดยมี 3 หน้าที่
1. เป็น think tank ให้คำแนะนำบริษัท Novartis เพื่อให้บริษัทเข้าใจมุมมองอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มุมมองของบริษัทยา  เช่น  มุมมองของ NGO,  มุมมองขององค์การระหว่างประเทศ,  มุมมองด้านสิทธิมนุษยชน  เป็นต้น
2. ทำหน้าที่เชื่อมโยงเครือข่าย   ซึ่งเขาโยงกับ UN และกับ NGO บางองค์กร
3. บริหารโครงการแก้ไขปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ

         อ่านดูแล้วกิจกรรมของมูลนิธินี้ก็เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัท Novartis

         ผมมองว่านี่ไม่ใช่โมเดลสำหรับบริษัทใหญ่ ๆ ในประเทศไทย   เราน่าจะทำได้ดีกว่านี้   หลักการใหญ่คืออย่าเน้นสร้างภาพให้แก่บริษัท   ให้เน้นสร้างรูปแบบที่เข้าไปชักชวนให้ชาวบ้าน/ชุมชนริเริ่มกิจกรรมเพื่อเศรษฐกิจ - สังคมที่พอเพียงและยั่งยืน   เป็นสังคม/ชุมชนที่ยั่งยืนต่อเนื่องอย่างเป็นพลวัตได้ด้วยการเรียนรู้  สร้างความรู้  จัดการความรู้ได้ด้วยตนเอง

วิจารณ์  พานิช
 17 ส.ค.49

หมายเลขบันทึก: 45757เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2006 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 09:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท