การบริหารจัดการชุมชน


ด้วยมิใช่เป็นผู้ที่ก้มหน้าก้มตาทำงานไปวันๆ กับผู้ป่วยซึ่งมีมากมายขึ้นทุกวัน นพ.บุญรัก ธำรงลักษณ์กุล เป็นตัวอย่างของนักบริหารจัดการและนักพัฒนาที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

คุณ สุนทรี  นาคะเสถียร  ได้มีโอกาสเล่าสู่กันฟังว่า

ด้วยมิใช่เป็นผู้ที่ก้มหน้าก้มตาทำงานไปวันๆ กับผู้ป่วยซึ่งมีมากมายขึ้นทุกวัน นพ.บุญรัก  ธำรงลักษณ์กุล  เป็นตัวอย่างของนักบริหารจัดการและนักพัฒนาที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

ท่านเป็นผู้เป็นเบาหวานต้องงดน้ำ งดอาหาร มาเจาะเลือดตอนเช้า และนั่งรอตรวจอย่างกระสับกระส่าย โดยเสียเวลาเสียโอกาสจากการที่อาจพลาดการขายผลไม้ซึ่งเป็นตลาดเช้า ท่านร่วมคิดกับทีมงานและชุมชนเพื่อหาแนวทางแก้ไขและพัฒนา จนได้งบประมาณจาก อบต. ซื้อเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือดประจำไว้ใน 8 หมู่บ้าน และจัดอบรม อสม. หมู่บ้านละ 3-4 คน ให้ตรวจเลือดเป็น (ขอบอก…ตรวจเป็นแบบถูกเทคนิคทุกขั้นตอนด้วยค่ะ ไม่ต้องกังวลเรื่องความแม่นยำ เพราะยังมีการ calibrate เครื่องเป็นระยะๆ อีกด้วย)

ที่ชุมชนจะมีรายชื่อผู้เป็นเบาหวานและกำหนดนัดหมายในการตรวจเลือด หากครบกำหนดนัด ตรวจฟรี แต่หากอยากรู้เพิ่มเติมวัน-เวลาอื่น เพื่อติดตามผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือหมู่ญาติพี่น้อง ผู้สนใจอยากรู้ระดับน้ำตาลในเลือด ก็สามารถตรวจได้ด้วยราคาย่อมเยาว์เพียง 30 บาท บางคนว่า “เสียเงินดีกว่าคนไม่เสียเงิน เพราะคนที่ไม่เสียเงินแสดงว่าเป็นเบาหวานแล้ว” จะเห็นว่าทัศนคติต่อการใส่ใจดูแลสุขภาพในเชิงป้องกันโรคของชุมชนก้าวหน้าไปไกลทีเดียว ทั้งนี้ด้วยแรงส่งเสริมของระบบบริหารจัดการนั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 4570เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2005 16:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท